การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2552 ตอนที่ 7 สไตล์ LTC ของ ศูนย์ฯ 8


ของศูนย์ฯ จะใช้วิธีค้นหา เพราะว่า รูปแบบมีอยู่ในพื้นที่เยอะแล้ว เราก็จะไปค้นหาว่า ของพื้นที่จะมีที่ดีดี ที่ไหน น่าจะดีกว่า ที่เราเริ่มทำเอง เพราะของดีดี ก็จะมีให้เห็นอยู่

 

ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ - คุณนัยนา มาเล่าให้ฟัง

ศูนย์ฯ มีการดำเนินงานที่ รพ.สวรรคประชารักษ์ และ รพ.ท่าตะโก กิจกรรมจะมีการอบรม การไปดูงานที่ รพ.พระนั่งเกล้า เพื่อให้แกนนำได้พัฒนา และมีเวทีแลกเปลี่ยนว่าจะกลับมาทำอะไร ได้ความตั้งใจสูง และกำหนด spect ของอาสาสมัครในเขตรับผิดชอบ โดยให้จังหวัดทำ ได้แห่งละ 30 คน

และมาคุยกันว่า จะทำพื้นที่ไหน จังหวัดให้ร่วมกันทำที่ รพ.ท่าตะโก มีการคัดเลือกพื้นที่ และทำใน 2 พื้นที่ หมู่ 2 กับหมู่ 5 เพราะว่า เขามีแกนนำชุมชน เครือข่ายเข้มแข็ง ท้องถิ่นมีส่วนร่วม มีผู้สูงอายุค่อนข้างมาก มีการอบรมอาสาสมัคร 30 คน วางแผน ใช้กระบวนการ 5 ขั้นตอน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ก็คือ สำรวจกลไกหลัก ประชาคม วิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข ทำแผนชุมชน ปฏิบัติตามแผน และประเมินผล

ใช้เรื่องของหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จะมีการวิเคราะห์คน ทุน ความรู้ในพื้นที่ 2 หมู่ที่จะนำร่อง เขาจะมีการสำรวจกลไก ดูว่าคนเป็นอย่างไร มีความรู้อย่างไร ทุนเท่าไร มีการสร้างเวทีชุมชน มีการชี้แจงสถานการณ์ปัญหา และมีการจัดกิจกรรมตามกระบวนการ AIC วิเคราะห์ปัญหา และมีการ ลปรร. และจากประเด็น ลปรร. ก็จะมีการประชุมกลุ่ม ว่า สถานการณ์ปัจจุบัน อนาคต จะเป็นอย่างไร และจัดทำแผนว่า ใน 2 หมู่บ้าน จากการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทาง เขาจะทำอย่างไรเพื่อที่จะดูแล ผส. ระยะยาว ก็มีแผนที่จะทำโดยใช้งบประมาณว่าจะดำเนินการอย่างไร ระยะเวลาเท่าไร

ในการปฏิบัติตามแผน เขาก็มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชมรมฯ พัฒนาชมรม ให้ความรู้ แกนนำ และมีการเยี่ยมเยียนโดยอาสาสมัคร ที่อบรมไปแล้ว 1 คน ก็ต้องดูแลผู้สูงอายุจำนวน 9 คน

จากการประเมินผล เขามีการติดตามอาสาสมัคร และมีเวที ลปรร.

และจากการนำรูปแบบลงไปใน 2 หมู่บ้าน สิ่งที่ได้จากการดำเนินการ ได้การมีส่วนร่วมจากเครือข่ายในพื้นที่ และเกิดคณะกรรมที่เป็นรูปธรรม นีนโยบายชัดเจน มีการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ เอกชน แกนนำองค์กร และมีดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเพิ่มขึ้น เนื่องจากเรามีการอบรม อสม. เพิ่มขึ้น ทำให้เรามีเจ้าหน้าที่ที่จะดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

ปัจจัยความสำเร็จของพื้นที่นำร่อง คือ เนื่องจากผู้รับผิดชอบในพื้นที่ให้ความสนใจ เพราะเขาสมัครใจ เจ้าหน้าที่และแกนนำที่เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจ และสนใจในการดำเนินงาน แกนนำผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดี และมีความสามารถในการดำเนินงาน และมีเวที ลปรร. มีการติดตามอย่างสม่ำเสมอ และชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดการทำกิจกรรม

ปัญหาอุปสรรค จากการไปติดตาม พบว่า มีแกนนำจำนวนน้อย และจิตอาสาจริงๆ ก็ไม่ค่อยมี เครื่องมือไม่มี ต้องไปขอยืมอนามัย เจ้าหน้าที่ในพื้นที่รับงานหลายด้าน และงบประมาณ Defend ได้น้อย ไม่มีรายงานในพื้นที่ที่แยกผู้สูงอายุ เรื่องการพัฒนาองค์ความรู้ ไม่ค่อยมีให้กับพื้นที่

ปี 2552 จะมีการฟื้นฟูมากขึ้น แกนนำบอกว่า อสม. มีน้อย จะมีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ สร้างขวัญและกำลังในเรื่องค่าตอบแทน

ของศูนย์ฯ จะมีการจัดอบรมเพิ่มเติม และกำหนด spect ใหม่ เอา สอ. 5 คน และจัดเวที ลปรร. เรื่องข้อมูล โดยจะเชิญตัวแทน แกนนำในสถานบริการของแต่ละจังหวัด ของ สอ. สสอ. รพ. พม. วัด ที่เป็นเครือข่าย มาคุยเรื่องข้อมูลผู้สูงอายุ ว่ามีข้อมูลใดบ้าง และจะเก็บอย่างไร และทำเครื่องมือที่จะเก็บข้อมูล ในสถานบริการที่มีอยู่แล้ว มีการสำรวจข้อมูลสภาวะผู้สูงอายุ และขยายรูปแบบ

ของศูนย์ฯ จะใช้วิธีค้นหา เพราะว่า รูปแบบมีอยู่ในพื้นที่เยอะแล้ว เราก็จะไปค้นหาว่า ของพื้นที่จะมีที่ดีดี ที่ไหน น่าจะดีกว่า ที่เราเริ่มทำเอง เพราะของดีดี ก็จะมีให้เห็นอยู่

รวมเรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2552

  

หมายเลขบันทึก: 250889เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2009 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

  • การให้ความร่วมมือของพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
  • ปกติ อสม.จะมีทุกหมู่บ้าน  ทำไมที่นี่มีน้อยเนอะ...ต้องเพิ่มแล้วละ
  • จะได้แนวร่วมเพิ่ม
  • P
  • ที่นี่เขาลองนำร่องค่ะ เจ๊
  • เขาบอกว่า ทำตาม order เป็นการเริ่มต้น
  • แต่เห็นปีหน้าจะขยาย
  • และ อ.หมอนู ก็เห็นด้วยกับที่บอกว่า จะไป ค้น คว้า หา ดาว ในพื้นที่ด้วยค่ะ เพราะเขาก็ทำกันอยู่แล้วด้วยละ
  • อนาคต ท่าจะไปโลดนะ
  • แถวๆพยุหะคีรี บ้านหนู มีพ่อคุณกมลกาญจน์สาว..พสว. ศูนย์8เป็นประธานผู้สูงอายุน่ะ แล้วมีแม่เราเป็นสมาชิกกับเขาด้วยนะ
  • แต่รายละเอียดต้องถามพ่อคุณกมลกาญจน์ ค่ะ
  • เห็นแม่เคยไปกลับมาก็สนุกสนานกันดี
  • P
  • แบบนี้ ต้องไปลงงาน พยุหะคีรี แล้ว
  • เพราะว่า อย่างน้อยก็จะมี เส้น เป็นคุณแม่หนู กบ นะ และ คุณพ่อ พสว. ศูนย์ฯ 8 ด้วยนะ
  • แต่ตอนนี้ เห็นอะไรขึ้นมาแล้ว เห็นเขามี หมู่บ้านสุขภาพดี อะไรประมาณนี้ละ ที่เขาบอกว่า พื้นที่ของ รพ.ยุพราช เขาทำกัน น่าสนนะ เพราะว่า ถ้ามีงานเช่นนี้ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเราท่าจะง่าย ... รพ.พ่อแม่ เอาด้วยมะ ไปลุยเรื่องเด็ก กับผู้เฒ่ากันเลย นะ นะ น้องกบ
  • ปีนี้ ถ้า ฤกษ์ สะดวก จะได้ไปเที่ยว ศูนย์ฯ 8 อีกแล้วละ
  • มาชวนแม่หมอ
  • ไปกินมะม่วงพันธุ์ใหม่
  • ที่บ้านลูกชาย ดร.

 

  • ขำๆ  เลยเอามะม่วงพันธุ์ขจิตเสวยมาฝาก
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • สงสัยไม่ค่อยหวาน 
  • มันส์ อย่างเดียว
  • เลยขายไม่ออก
  • 5555555555555  เอิ๊ก

 

  • P
  • อ้าว เขาไปขายมะม่วงตั้งแต่เมื่อไร
  • เห็นเพิ่งเอาบวบอกมาให้ดูแหมบๆ ... สงสัยจะท้าให้คนไปชมถึงบ้าน
  • เดี๋ยวจะตามไปดูนะจ้ะ
  • ไปเที่ยวหาดจ้าวหลาว เมืองจันท์ กันไหม ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท