รวมเรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2552


 

2 วันนี้ ไปเข้าก๊วน Long term care ของ อาจารย์หมอนู (อิอิ ศัพท์ใหม่ ได้จากที่ประชุม น่ารักมาก) และคณะ ทีมสูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ และทีมสูงอายุ ของศูนย์อนามัยที่ 1-12 มาลับสมอง ลองปัญญา นำเรื่องมาเล่าสู่กันฟัง ก็คือ การดำเนินงานของศูนย์อนามัย ในเรื่อง Long Term Care ซึ่งก็คือ การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน กิจกรรมที่ศูนย์ทำกับจังหวัดนำร่อง 12 จังหวัด และรับฟัง โครงการเป็นกุรุส จากส่วนกลาง ซึ่งก็ประทับใจกันไปตามๆ กันละค่ะ แบบว่า ลงเรือลำเดียวกันแล้วนะ แถมไม่มีทางลงด้วย

... อิอิ ไม่ใช่เช่นนั้น พูดเกินไป กลุ่มนี้กระชับมิตรค่ะ คุยกันด้วยบรรยากาศเป็นกันเอง หนุกหนาน ลปรร. ร่วมกัน แบบไม่มีวันเบื่อละค่ะ เพราะว่า มีหลายรสชาติ ... จริงๆ

นำเรื่องด้วย โครงการของสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ปี 2552 ดีกว่า (... แบบว่า ประทับใจ งานแบบจ๊าบๆ ทั้งน้านเลย) นั่นก็คือ

  1. โครงการเฝ้าระวังด้านสุขภาพผู้สูงอายุไทย
  2. โครงการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานด้านการดูแลผู้สูงอายุ
  3. โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care)
  4. โครงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  5. โครงการพัฒนาศักยภาพพันธมิตรภาคีเครือข่าย ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  6. โครงการพัฒนาระบบการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  7. โครงการผลิตและเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  8. โครงการ "สุดยอดผู้สูงอายุ 80 ปี ชีวีมีสุข"
  9. โครงการสร้างอาชีพการดูแลเด็ก และผู้สูงอายุในชุมชน สำหรับผู้ถูกเลิกจ้าง ผู้ว่างงาน และผู้ที่จบการศึกษาใหม่

และเรื่องเล่าอื่นๆ อีกมากมายจะตามมา

 

 

หมายเลขบันทึก: 247986เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2009 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มัทสังเกตเห็นคนพูดถึง long term care (LTC) สับสนกับ home health care มาหลายทีแล้วค่ะ

LTC แปลว่าการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวนั้นน่าจะถูกต้องแล้ว ซึ่ง LTC มันมี spectrum ของมันที่รวมหลายๆ setting เข้าด้วยกัน home health care เป็นเพียง subset ย่อย

ใหญ่ๆแล้วจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

1. ที่บ้าน (home)

2. ในชุมชน (in the community) เช่น ที่ adult day care, ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ, rehabilitation centre/ward ใน รพ.

3. ที่สถาน/บ้านพักผู้สูงอายุ/รพ.ระยะยาว (in residential facilities) เช่นที่ assisted living residence, transitional units,  nursing homes, extended care wards, respite/hospice care facilities ไปจนถึง palliative care units

โดยที่มันจะต่อเชื่อมโยงกันหมด โดยผู้ป้วย 1 คนจะมี case manager ที่คอยดูแลไม่ว่าจะได้รับการดูแลที่ไหน จะเริ่ม LTC ก็ตอนที่ต้องได้รับการประเมิน  Activity of Daily Living หรือ IADL

วันนี้เท่านี้ก่อนนะคะ มีคนมาซ่อมคอม!

  • P
  • เป็นความจริงค่ะ ที่ Home health care เป็น subset ของ Long term care
  • ตอนนี้ ทางกรมอนามัย โดย งานผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมฯ ก็กำลังหารูปแบบ Home health care ที่มีการทำกันอยู่แล้ว ในการให้บริการ Long term care
  • เท่าที่ติดตามงานเขาทำกันมา เรื่องนี้ยังปนๆ กันอยู่ แต่ทีมสูงอายุของกรมฯ ก็กำลังเดินหน้าต่อค่ะ ว่าด้วยเรื่องของการประเมินหลายๆ อย่าง รวมทั้ง IADL ด้วยค่ะ
  • อยู่ที่นี่ไม่มีข้อมูล เลยยังหามาเล่าไม่ได้ค่ะ ว่า มีการประเมินในเรื่องอะไรบ้าง

ไปดูงานที่ญึ่ปุ่นมาหลายปี ติดตามเรื่อง LTC พบว่า government ทุกฝ่ายเอาใจใส่ ตอนนี้ merg เข้ากับระบบประกันสุขภาพเรียบร้อย ไป หลายปี เรียกว่า Long term care insurance

เขาแบ่งผู้สูงอายุเป็นหลายระดับ โยใช้ ADL เป็นฐานแบ่ง แล้วกำหนดการดูแล ในแต่ละระดับ คล้าย ๆ ที่กรมอนามัยประกาศไว้ แต่เด็ดสุด เขาผนวกเข้าไปใน national insurance ไม่ใช่ได้ทุกอย่าง มี maximum standard care อยากได้เพิ่ม และคุณภาพดี ต่องจ่ายเอง ไม่งั้นรัฐบาลเจ๊ง ทำไปหลายปี จนมาพบปัญหาขาดผู้ดูแล เพราะคนญึ่ปุ่นไม่สนใจ JTEPA เลยให้เงินหลายสำนัก หลายสถาบัน ของไทย มาผลิตผู้ดูแลส่งออกไปญึ่ปุ่น..

  • สวัสดีค่ะ คุณดวง
  • เราก็ฝันไว้ว่า ผู้สูงอายุของเราจะได้รับการดูแลร่วมกันในชุมชน และด้วยชุมชนค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท