การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2552 ตอนที่ 8 สไตล์ LTC ของ ศูนย์ฯ 7


"ที่โยมทำไปนี้ ส่วนใหญ่ไปเน้นเรื่องทางกาย แต่ทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่น มันคงไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คงต้องไปที่ครอบครัวเขาด้วย"

 

ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี ... น้องไก่มาเล่าให้ฟังค่ะ

ไก่บอกว่า ศูนย์ฯ 7 เลือกจังหวัดศรีสะเกษ เพราะว่าพี่เขา OK และแนวโน้มประชากรที่ศรีสะเกษ มีประมาณ 10% โดยฐานคิดก็คือ มีสถานการณ์ข้อมูลของพื้นที่ และเป็นการจัดการภายในพื้นที่เอง โดย เขาทำในกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ เหตุผลที่เลือกอย่างนี้เพราะว่า ต้องการพัฒนาเรื่องข้อมูล ให้มากกว่า ข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือที่ผู้สูงอายุ walk in เข้ามาที่โรงพยาบาล กับเวลาไปตรวจ Family folder และข้อมูลผู้สูงอายุที่ update มากที่สุด ก็คือ คนไข้เรื้อรัง ที่เข้ามารับบริการ และจังหวัดบอกว่า ยังขาดฐานข้อมูลที่เป็นระบบจริงๆ

การทำงานเยี่ยมบ้านของ พี่ๆ น้องๆ ที่ทำงาน รพช. เขาจะเอามาทำรวมกัน และมาทำเป็น แบบนี้เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพเยี่ยม แบบนี้เป็นน้อง PCU เยี่ยมได้ แบบนี้เป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุ (อผส.) ทำได้

วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ต้องการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ และเพื่อคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุกับการวางแผนพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุต่อไป

พื้นที่นำร่อง จะมีอำเภอเมือง เขตของ รพ.ศรีสะเกษ และที่อยู่ในความดูแล อำเภอศิลาลาส (สอ.หนองบัวดง) อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ (สอ.อีเซ) และอำเภอขุขันธ์ (PCU ห้วยเหนือ)

กลุ่มบุคคล ตาม spect เจ้าหน้าที่ 30 คน อผส. 60 คน ที่สำคัญคือ การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดให้การสนับสนุน จึงได้เป้าหมาย 3,000 ราย โดย อำเภอเมืองคัดกรอง 1,500 คน เพราะว่าผู้สูงอายุเยอะ และอำเภออื่นๆ อำเภอละ 500 คน

กระบวนการดำเนินงาน

ระยะที่ 1 การดำเนินงานในพื้นที่ ประสาน สสจ. เลือกพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และจัดทำโครงการ / คู่มือ

ระยะที่ 2 อบรมเจ้าหน้าที่ และ อผส. ส่วนอบรมเจ้าหน้าที่ ศูนย์เป็นแกนหลัก การอบรม อผส. เป็นบทบาทของ สสจ.

ระยะที่ 3 ให้เจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม ไปคัดกรองต่อ และเอาข้อมูลมานำเสนอผลสำรวจ และใช้เป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนารูปแบบต่อในพื้นที่ของเขาเอง โดยลักษณะของการประเมินผล คือ ให้พื้นที่ประเมินตนเอง ตามเกณฑ์ ตามแนวทางที่เราจะกำหนดให้ และส่วนหนึ่ง เราออกไปติดตามด้วย

หัวข้อของการอบรม คุยกันกับทีมนำ ก็คิดกันว่า จะเอาส่วนที่จะใช้ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษจริงๆ และวิทยากรในส่วนของเจ้าหน้าที่ ส่วนหนึ่ง ก็จะอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษเอง และบางส่วนมาจากข้างนอก ส่วนการอบรม อผส. ใช้วิทยากรของ รพ.ศรีสะเกษทั้งหมด จะมีเรื่องการประเมินสภาวะสมองเสื่อมด้วย จึงเชิญวิทยากรจากสถาบันวิทยาศาสตร์มาด้วย

ในการอบรม มีหัวข้อ เรื่อง การประเมินสุขภาพบุคคลตามแนวพุทธ จึงทำให้มีการเสนอว่า น่าจะมีการประเมินสุขภาพบุคคลแนวพุทธด้วย เพราะว่านำไปใช้ประโยชน์ได้

การประเมินเมื่อสิ้นสุดการอบรม ให้ผู้เข้าอบรมประเมินเองว่า พบว่า

  • ในรอบ 3 ปี มีแค่ครึ่งหนึ่งที่เขาเคยได้รับการอบรมในเรื่องผู้สูงอายุ
  • ความรู้ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ การดูแลสุขภาพองค์รวมตามแนวพุทธ ซึ่งนิมนต์พระมาสอน ทุกคนได้ฟังแล้วรู้สึกซาบซึ้ง เพราะพระท่านได้บอกว่า "ที่โยมทำไปนี้ ส่วนใหญ่ไปเน้นเรื่องทางกาย แต่ทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่น มันคงไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คงต้องไปที่ครอบครัวเขาด้วย" คนนั่งฟังน้ำตาซึม ... ท่านก็บอกว่า ท่านก็อยากช่วยเหลือญาติโยม
  • เรื่องการจัดสรรงบประมาณ ใช้มากที่สุดในเรื่อง ค่าตอบแทนการคัดกรอง อยู่ที่ 47% รองลงมาเป็นการอบรม และการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ส่วนการประเมินผลใช้น้อยมาก

ในเรื่องการคัดกรองผู้สูงอายุ ได้ข้อมูลคือ

  • อำเภอขุขันธ์จะใช้ อผส. สำรวจด้วย พบว่า ข้อมูลค่อนข้าง error
  • ของลาศ ใช้ อผส. และ อสม. มาช่วยนับ ประสาน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ที่เหลือ พยาบาล และนักวิชาการทำ และเขาทำเป็นฐาน ในแบบสำรวจมี 9 part เขาก็ทำเป็น 9 ฐาน ทำให้เกิดความชำนาญ ผู้สูงอายุก็เวียนไป ... นี่คือ บทเรียน ของการตรวจคัดกรองที่เขาทำได้เป็นระบบ
  • อำเภอเมือง ใช้วิธี ให้เจ้าหน้าที่ PCU หาเวลาไหนก็ได้ ในการคัดกรอง เดินออกไป ให้ อผส. เป็นคนนำทาง ไม่ได้นัดมารวมกัน

ผลการสำรวจ

ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีสถานะสุขภาพปกติ และโรคที่ผู้สูงอายุต้องการวินิจฉัยโดยแพทย์ เป็นโรคที่เห็นๆ กันอยู่ประมาณ 5 โรค top hit ภาวะพึ่งพิงใช้คำถาม ADL

มีคำถามเรื่องความจำเป็นของการใส่ฟันถามเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนความต้องการถามผู้สูงอายุ ว่าอยากใส่ฟันไหม มีค่าก้ำกึ่งกัน เพราะพอถามผู้สูงอายุ อยากใส่ฟันหรือไม่ ก็ใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ก็มี ก็จะมีการเทียบ need ในมุมมองเจ้าหน้าที่ และความรู้สึกของผู้สูงอายุว่า เป็นอย่างไรบ้าง

ภาะเสี่ยงการขาดอาหาร ใช้แบบสำรวจของสถาบันโภชนาการ แต่ค่าที่ใช้ไม่เท่ากับของกรมฯ ซึ่ง ประสานอยู่ว่า เราจะใช้อย่างไร

เรื่องสมองเสื่อม สำรวจไปทั้งหมดทุกกลุ่มอายุ อำเภอเมืองพบเยอะสุด โอกาสซึมเศร้าใช้ 15 ข้อ ของกรมสุขภาพจิต แต่ไม่ได้เชิญนักจิตวิทยามา train ให้ ก่อนที่จะใช้เครื่องมือ

การติดตามงาน ใช้ในช่วงของการฝึกอบรม และจัดประชุมเพื่อนำเสนอผลงาน และให้มีการสรุปประเมินตัวเองด้วย

ในเรื่องการใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ว่าเขาจะไปทำอะไรบ้าง ...

  • เขาอยากไปดูงานผู้สูงอายุ เน้นกลุ่มที่สุขภาพดีเป็นหลัก
  • หนองบัวดงจะทำต่อในเรื่องการพัฒนาแกนนำชุมชน
  • เขาอยากไปสนทนากับผู้สูงอายุรายหมู่บ้าน เพื่อหาความต้องการ และที่เห็นเป็นปัญหา คือ เรื่องดูแลสุขภาพช่องปาก และจะมาจัดอบรม
  • ส่วนศรีสะเกษ ขอไปใช้อบรม อผส. เพิ่ม เพราะว่า บริบทของเขาไม่เหมาะกับการนัด ผส. มาร่วมกิจกรรม เขาต้องการให้มีทีมช่วยเจ้าหน้าที่ให้ออกไปเยี่ยมเยียนมากขึ้น จะเพิ่มเป็น 100 ราย

แนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นการบูรณาการ ... ทุกคนจะพูดเหมือนกันว่า อยากให้มีศูนย์สร้างสุขในพื้นที่ คำว่า ศูนย์สร้างสุข ในพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ตั้งแต่ มีอาคารชัดเจน ใช้พื้นที่วัด และชี้ต่อไปถึงโครงการที่ผู้สูงอายุจะมีส่วนร่วมด้วย คือ ชุมชนรักป่า ซึ่งเดิมเป็นเฉพาะเด็กนักเรียน เขาบอกว่า ภูมิปัญญาผู้สูงอายุเกี่ยวกับสมุนไพรก็ยังมีเยอะ จะเอาผู้สูงอายุเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย

ที่ศรีสะเกษ จะขยายต่อที่ศูนย์โนนทรายทอง ก็จะดูเหมือนเป็นศูนย์สามวัยได้ เพราะพี่เขาบอกว่า เป็นศูนย์ที่สร้างขึ้นเองในชุมชน ให้เยาวชนมาใช้กิจกรรมในนี้ และวัยอื่นๆ ใช้ได้ด้วย และผู้สูงอายุก็จะใช้ในส่วนนี้ได้ด้วย ในการส่งเสริมสุขภาพ

สิ่งที่ได้ มีระบบการคัดกรองข้อมูลที่ละเอียดขึ้น เวลาที่เขาไปประชุม หรือ defend งาน กับพื้นที่ ท้องถิ่น อบต. เพราะว่าเขาสามารถสำรวจผู้สูงอายุได้ ทั้งหมดที่เขาดูแลอยู่

กิจกรรมที่ PCU ห้วยเหนือ เขาจะมี การทำกิจกรรมในศูนย์สร้างสุข ก็คือ การเวียนไปในหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในเขตของ อ.ห้วยเหนือ อผส. จะไปพาผู้สูงอายุสุขภาพดี และที่มีเจ็บป่วยเล็กน้อย ที่สามารถไปมาได้ มาทำกิจกรรมกลุ่มรวมกัน และ อผส. จะเป็นกลุ่มข้าราชบำนาญเกษียณ ครู เป็นหลัก และจะมีจิตใจอยากทำงาน ก็จะไปช่วยเยี่ยมบ้าน ทำให้รู้ว่า คุณตาคนนี้ไม่มีรถเข็น และอีกคนมีรถเข็น และ walker ที่ไม่มีคนใช้งาน เพราะว่า คุณพ่อ กับคุณป้าเสียชีวิตเลย ก็เลยเอามาให้คุณตาคนนี้ได้ใช้ด้วย ก็เกิดการเกื้อกูลกันเองในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

แผนปี 52

  • ประสานภาคี
  • ทำคู่มือโครงการ
  • การประเมินผล อยู่ในช่วงวิเคราะห์
    ที่เห็นชัดๆ ในการไปนิเทศติดตามงานผู้สูงอายุ ก็คือ พื้นที่เคยได้โล่ห์กรมอนามัย กิจกรรมที่ทำและทำได้อย่างต่อเนื่อง คือ การออกกำลังกาย ซึ่งเขาสามารถ design ท่าออกกำลังกายได้มากขึ้น อย่างไม้พลองป้าบุญมี ที่เรามีไม่กี่ท่า เขาสามารถเพิ่มท่าได้ ใส่ทำนองจังหวะอีสาน เข้าไปได้ ชัดมาก
  • ตอนนี้ก็ไปเสนอเรื่องทันตฯ ในชมรมเข้าไปด้วย
  • ที่จะต้องทำ คือ ทำเกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุ
  • และพัฒนาแบบสำรวจ ฐานข้อมูล

รวมเรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2552

  

หมายเลขบันทึก: 251574เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท