ประสานความคิด เนรมิตผู้สูงวัยภาคเหนือฟันดี (5) พิธีเปิดการประชุม


ในอนาคตผมคิดว่า ชมรมผู้สูงอายุทั้งหมด ก็คงสามารถคิดรูปแบบ และกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมา ของตัวเอง และสามารถที่จะเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับในพื้นที่ ในภาคอื่นๆ และคงจะไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องของสุขภาพในช่องปาก หรือเรื่องการสูญเสียฟัน ในอนาคตก็จะสามารถครอบคลุมไปในทุกกิจกรรม และทำให้สังคมของผู้สูงอายุมีศักยภาพ ของประเทศไทยในวันข้างหน้า ไปสู่ความผาสุขที่ยั่งยืน

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการ "ประสานความคิด เนรมิตผู้สูงวัยภาคเหนือฟันดี" ครั้งนี้ จัด ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง จังหวัดลำปาง ท่านรองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์ประดิษฐ์ วินิจจะกูล เป็นประธานในพิธีเปิดค่ะ

พิธีเปิดการประชุมในวันนี้ (21 ธค.52) เริ่มด้วย การฉาย VCD โครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

นายแพทย์ศิริชัย ภัทรนุทราภรณ์ นพ.สสจ.ลำปาง กล่าวต้อนรับประธาน และผู้เข้าร่วมประชุม ... แนะนำจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นจังหวัดที่เก่าแก่ อายุ 1,330 ปี โดยประมาณ มีศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นเอกลักษณ์ล้านนาไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ธรรมชาติที่สวยงาม ดังคำขวัญ "ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกร ฝึกช้างให้ลือโลก" และลำปาง เป็นนครแห่งความผาสุข ...

ผอ.ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ นพ.ชัยพร พรหมสิงห์ กล่าวรายงานชี้แจงความเป็นมาของโครงการ ...

  • กรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาการสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุ ตามโครงการฟันเทียมพระราชทาน ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน โดยจัดบริการใส่ฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป และได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยชมรมผู้สูงอายุต้นแบบ ในพื้นที่ภาคเหนือ 2 จังหวัด คือลำปาง และเชียงใหม่
  • ซึ่งพบว่า มีความเป็นไปได้ในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม สมาชิกชมรมสามารถดูแลอนามัยช่องปากได้ด้วยตนเอง มีความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน และมีการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ในการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยเฉพาะที่จังหวัดลำปาง ได้มีการขยายเครือข่ายการจัดกิจกรรมดังกล่าวอย่างรวดเร็ว และจะมีต้นแบบครบทุกอำเภอในปี 2553
  • ในโอกาสอันเป็นมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี 2554 นอกเหนือจากการจัดบริการใส่ฟันเทียมแก่ผู้สูงอายุแล้ว กรมอนามัยเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จึงได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 อำเภอ 1 ชมรม ให้สามารถจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลอนามัยช่องปากด้วยตนเองของสมาชิก และพึ่งพาบริการจากภาครัฐตามความจำเป็น โดยมุ่งหวังว่า ให้กลุ่มผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสม
  • การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ประสานความคิด เนรมิตผู้สูงวัยภาคเหนือฟันดี” ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ ประกอบด้วย แกนนำชมรมฯ บุคลากรสาธารณสุข และทันตบุคลากร ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถนำรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุไปปรับใช้อย่างเหมาะสมกับชมรมของตนเอง รวมทั้งเป็นต้นแบบในการขยายเครือข่ายไปยังชมรมอื่นในจังหวัดต่อไป

ในครั้งนี้ ท่านประธานได้มอบเกียรติบัตรให้แก่

  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง ... จังหวัดต้นแบบการบริหารจัดการดีเด่น ในการสร้างเสริมความเข้มแข็ง ให้แก่ชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
  • ชมรมผู้สูงอายุต้นแบบดีเด่น ด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
    - ชมรมผู้สูงอายุ ต.ท่ากว้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    - ชมรมผู้สูงอายุ รพ.หางดง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    - ชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ฮาว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
    - ชมรมผู้สูงอายุบ้านศิลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง
    - ชมรมผู้สูงอายุบ้านตะเคียนทอง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
    - ชมรมผู้สูงอายุวัดศรีหลวง ต.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
    - ชมรมผู้สูงอายุวัดบ้านโฮ่งหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
    - ชมรมผู้สูงอายุ ต.น้ำรัด อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่
    - ชมรมผู้สูงอายุ อ.เมือง จ.ลำปาง

และท่านประธานการประชุม นพ.ประดิษฐ์ วินิจจะกูล รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวเปิดการประชุม

ประเด็นที่ท่านประธานได้กล่าวถึง ก็คือ "... ทุกท่านคงได้ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงมีความห่วงใยราษฎรทุกหมู่เหล่า และในเรื่องของผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มบุคคลที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญ เพราะฉะนั้น โครงการต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ ผมเชื่อว่า คงจะเริ่มมีออกมาเรื่อยๆ แต่โครงการไม่สำคัญเท่ากับผู้ที่จะร่วมทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้สูงอายุ

เพราะฉะนั้น ในเรื่องของงานวันนี้ วัตถุประสงค์จริงๆ ก็จะเป็นเรื่องที่อยากจะเผยแพร่กิจกรรมที่ได้เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่ต่างๆ โดยผู้สูงอายุเอง ในส่วนของเจ้าหน้าที่ ผมคิดว่า คงเป็นองค์ประกอบ อาจจะให้ข้อมูลได้ว่า ตอนนี้เกิดปัญหาอะไรขึ้นมา และสาเหตุของปัญหานั้นมีอะไรบ้าง แต่แนวทาง หรือวิชาการที่จะให้ได้ผลจริงๆ นั้น ก็คงจะเป็นตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น จะต้องเป็นผู้ที่คิด และทำขึ้นมาให้เหมาะสม ตอนนี้เราก็ได้มีแบบอย่างขึ้นมาพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่

ในอนาคตผมคิดว่า ชมรมผู้สูงอายุทั้งหมด ก็คงสามารถคิดรูปแบบ และกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมา ของตัวเอง และสามารถที่จะเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับในพื้นที่ ในภาคอื่นๆ และคงจะไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องของสุขภาพในช่องปาก หรือเรื่องการสูญเสียฟัน ในอนาคตก็จะสามารถครอบคลุมไปในทุกกิจกรรม และทำให้สังคมของผู้สูงอายุมีศักยภาพ ของประเทศไทยในวันข้างหน้า ไปสู่ความผาสุขที่ยั่งยืน

รวมเรื่อง ประสานความคิด เนรมิตผู้สูงวัยภาคเหนือฟันดี

 

หมายเลขบันทึก: 322974เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2009 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เล่าเรื่องด้วยภาพได้ดีมากนะคะ (แบบนี้เค้าทำไม่เป็นจ้า)

  • P
  • หัดทำได้แล้วเจ้า สนุก และได้บรรยากาศดีนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท