บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ (2) BAR


 

ก่อนวันประชุม ทีมงานอันมี คณะวิทยากร ทีมสำนักทันตสาธารณสุข ทีมศูนย์อนามัย ได้มารวมตัวกัน เพื่อเตรียมการด้านภารกิจที่จะมาร่วมด้วยช่วยกัน ในกิจกรรมถอดบทเรียน และเป็นการเรียนรู้ร่วมกันว่า การเตรียมการถอดบทเรียนจะต้องทำกันอย่างไร

อ.เอก (จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร) ชี้แจงภาพรวมการทำกิจกรรมกัน

การถอดบทเรียนเป็นการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง ที่สุดท้ายแล้ว ก็คือ ความสุขในกระบวนการ ถ้าเราจะได้บทเรียน ... เราก็ต้องสร้างความสุขให้กับผู้ถอดบทเรียน ยิ่งเราสามารถให้ความสุขกับเขาได้เท่าไร บทเรียนที่เราได้ก็จะเป็นบทเรียนที่จริง เหมือนกับว่า เรานั่งคุยกับเพื่อน เพื่อนเปิดใจ เราก็จะได้บทเรียนที่ดี

ทีมวิทยากรที่มาในวันนี้ ถือว่า เป็นคนนอกวงการสาธารณสุข ... สิ่งที่วิทยากรเรียนรู้ก็คือ การศึกษาจากโครงการในเวป ร่วมคืนรอยยิ้มแก่ผู้สูงวัย พบว่า กิจกรรมเยอะ ทำมามากมาย และ 9 จังหวัดที่เลือกมานี้ เป็นจังหวัดที่ทำกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุครอบคลุม ฟันเทียมพระราชทาน การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และการป้องกันโรคในช่องปาก และเป็นจังหวัดที่มี best practice มีอะไรดีดีที่จะให้เราได้เรียนรู้ ละถอดบทเรียนการดำเนินงานกัน

วิธีการที่ได้วางแผน ก็คือ แยกจังหวัดเพื่อถอดบทเรียนรายจังหวัด แล้วค่อยมารวมแลกเปลี่ยนระหว่างจังหวัด จะทำให้ได้บทเรียนที่หลากหลาย ได้แลกเปลี่ยน และต่อยอด

ครั้งนี้ เราเรียกว่า "กระบวนการการประเมินผลการถอดบทเรียน" เป็นการประเมินผลเชิงคุณภาพ เน้นการมานั่งคุยกัน และกิจกรรมแบบสบายๆ

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ก็คือ

  • เป็นการถอดบทเรียนเชิงคุณภาพจากโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
  • การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ถอดบทเรียน และผู้ได้รับการถอดบทเรียน และ
  • การนำผลการถอดบทเรียนเป็นต้นทุนในการดำเนินงานในปีต่อไป ผ่านสื่อสาธารณะ

กลุ่มเป้าหมาย 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ราชบุรี ตราด ชัยภูมิ อำนาจเจริญ ตรัง นครศรีธรรมราช และสตูล

สิ่งที่ทีมวิทยากรได้เตรียมงานกันมา ... เป็นการประชุมเตรียมการกันที่มหิดล ว่า จะทำงานเพื่อให้สำเร็จผลได้อย่างไร จึงคิดกรอบขึ้นมาว่า จะมีโครงสร้างคำถามที่จะถอดบทเรียน ถือเป็นกรอบ แต่ไม่ได้นำมาจำกัดความสุขที่จะเกิดขึ้นใน 2 วันนี้ เพียงแต่ว่า ผู้ถอดบทเรียน หรือ FA ใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนถามตามโครงสร้างการถามที่เตรียมไว้

ก็จะมีคร่าวๆ ว่า เราจะนำเรื่องการเล่าบริบท และสุดท้ายจะดูว่า บทบาทแต่ละท่านทำอะไรกันบ้าง จะได้รู้ว่า โครงการที่เราดำเนินการมา แต่ละท่านมีบทบาทฐานะอย่างไร ใครเป็นคนทำมา คนผลักดัน หรืออยู่จุดไหนของโครงการ เกิดขึ้นอย่างไร เป้าหมายอย่างไร และจะมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ หรือไม่สำเร็จด้วย รวมทั้งเรื่อง ปัญหา ที่จะหยิบยกมาคุยในบทเรียนด้วยว่า ปัญหานั้นคือปัญหาอะไร จังหวัดมีวิธีคลี่คลายปัญหานั้นๆ ได้อย่างไร เพื่อเป็นบทเรียน ที่จะเอาไปเผยแพร่ให้กับที่อื่นๆ ได้

รวมทั้งคำถามว่า บทเรียนที่ได้รับมีอะไรบ้าง ข้อค้นพบคืออะไร ท่านได้เรียนรู้อะไรจากการทำโครงการ และข้อเสนอแนะที่จะขับเคลื่อนต่อไปคืออะไร

วิธีการที่เตรียมไว้ก็คือ

  • ช่วง Home room (อ.วรภัทร เรียกเป็นลานหมู่บ้าน) จัดห้องประชุมเป็นรูปเกือกม้า แนะนำตัว มีกิจกรรมทำความรู้จัก ทำความเข้าใจในเรื่องของการถอดบทเรียน
  • แบ่ง 9 กลุ่มจังหวัด มี FA รายภาค พูดภาษาท้องถิ่น และ ลปรร. ถอดบทเรียนตามโครงสร้างคำถาม ด้วยกระบวนการที่ผ่อนคลาย จะเรียกว่า วงน้ำชา หรือ โสเหล่ หรืออื่นๆ ก็ได้ ให้เป็นกระบวนการที่เป็นธรรมชาติ และไม่เครียด
  • ช่วงท้ายวันที่สอง จะเป็นการนำเสนอแบบไขว้ประสบการณ์ ให้ทุกกลุ่มนำเสนองานที่ถอดบทเรียนด้วยกัน เพื่อมาแลกเปลี่ยนกัน
  • ปิดด้วยนำเสนอภาพรวมการสรุปบทเรียน

งานนี้ ทีม FA และ Note (หรือผู้ช่วย FA นั่นเอง) ได้แก่

  • อ.เอก / น้องยาคนสวย – เชียงใหม่
  • อ.ดิเรก / น้องแก้ว – สตูล
  • อ.วิลาวัณย์ / หมอโซ่ – อำนาจเจริญ
  • อ.กัญญารัช / หมอลิ้ม-หมอย้ง – ตราด
  • อ.สุพจน์ / หมอยุ้ย – ราชบุรี
  • อ.เดย์ / พี่รุ้ง-หมอบี – ชัยภูมิ
  • อ.หนานเกียรติ / พี่น้อย – ลำปาง
  • อ.ครูคิม / น้องเปี๊ยก – ตรัง
  • อ.นเรศ / หมอเปิ้ล-น้องนก – นครศรีธรรมราช

ผลที่ได้ ก็คือ เราจะได้บทเรียนหลักๆ ในภาพรวม จุดร่วมจุดต่าง และจะขับเคลื่อนกันอย่างไรต่อไป

อ.อะหลั่ย (กัญญารัช วงศ์ภูคา) เล่าเพิ่มเติมว่า

ช่วงของการนำเข้า สู่เรื่องของข้อเสนอแนะ (SARs) จะเจาะจงและปฏิบัติได้ สำคัญมากที่จะนำไปยกระดับเพื่อการทำงาน และพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น หรือว่า สามารถให้ทีมงานไปวางแผนที่จะเคลื่อนต่อในชุมชน หรือพื้นที่อื่นได้อีกด้วย

เราอยากให้การถอดบทเรียนได้เนื้อได้หนัง และเอากระบวนการทางวิชาการมาเคาะประเด็นจากพวกเรา เคาะภูมิปัญญา สกัดความรู้ หรือที่มีอยู่ในตัวตนของพวกเรา จากการทำงานหลายปี มีสิ่งอะไรดีดี มีอะไรต้องปรับปรุง มีอะไรที่เป็นบทเรียน หรือมีอะไรที่เป็นข้อเสนอแนะที่เจาะจง และปฏิบัติได้ ต่อไป

เทคนิคนี้สามารถทำให้กระบวนการถอดบทเรียนมีความผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียด แต่อาจจะต้องมีกรอบ ระบบคิด ที่จะชวนกันคิด และเปิดใจ ให้เราได้เรียนรู้ไว้ เพื่อเป็นตัวกำกับให้เราได้พูดคุยกัน

 

การแบ่งงานของ Facilitator ก็คือ

  • การถอดบทเรียนครั้งนี้เป็น การเรียนรู้หลังการดำเนินงาน : Retrospect (ลงลึกกว่า AAR)
  • FA มีหน้าที่นำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ อำนวยความสะดวก
  • FA ต้อง จด-จับ ประเด็น ตามโครงสร้างคำถาม ผ่านการใช้ "การเล่าเรื่อง (Story telling)" หรือวิธีการอื่นใด ที่ FA เห็นว่าเหมาะสม และเกิดบรรยากาศการเรียนรู้ไปด้วย ถอดบทเรียนไปด้วย
  • มี Note taker ที่เป็นผู้ช่วยในการบันทึก
  • มีการ บันทึเสียง โดยใช้ MP3 หรือเครื่องบันทึกเสียง (สำหรับทบทวนเนื้อหาการพูดคุยทีหลัง)
  • FA สรุปประเด็นให้กับผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกครั้ง หลังจากเสร็จสิ้นประเด็นคำถามหลัก
  • หลังจากเสร็จสิ้น กระบวนการแลกเปลี่ยนเพื่อถอดบทเรียนครั้งนี้แล้ว ผลผลิตจะได้ "เรื่องเล่า" ที่เห็นกระบวนการ, How to, เส้นทางที่เดินไปสู่ความสำเร็จ

... เข้ม ... ขนาด

รวมเรื่อง บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

 

หมายเลขบันทึก: 385615เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ.หมอนนท์

-ขอบคุณสำหรับการอำนวยความสะดวกครับ งานนี้เข้ม เเละ ต้องการบทเรียนที่มีคุณภาพครับ :)

  • P
  • งานนี้ วิทยากรกระบวนการ สำคัญมากค่ะ
  • มุมมองใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ต้องการทีเดียว
  • ขอบคุณนะคะ

น่าสนใจมาก

FA แต่บละท่าน ไม่ธรรมดานะ

  • อิอิ FA ขั้นเทพ ค่ะ ... แบบว่า ได้ทุกรูปแบบ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท