บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ (5) เรื่องน่ารู้ การถอดบทเรียน


 

คณะวิทยากร "การประชุมถอดบทเรียนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ" ครั้งนี้ มาจากหลายภาคทีเดียว ทำให้การประชุมกลุ่มในแต่ละจังหวัดของเรา ก็มีโอกาสได้ใช้เสียงในฟิล์ม ก็คือ อู้กำเมือง เว้าลาว เสียงเหน่อๆ ของภาคกลาง และแล่งใต้

คณะวิทยากรกลุ่มนี้ ได้บัญญัตินามตนเองว่า วิทยากรรวมตัวเฉพาะกิจ เพื่อการถอดบทเรียนการส่งเสริมสุขภาพข่องปากผู้สูงอายุละค่ะ มีใครบ้าง ... บอกไป ใครๆ ก็ต้องรู้จักแน่นอน

อ.เอก (จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูรMr.Direct (อ.ดิเรก หมานมานะ) อ.วิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล อ.ก้ญญารัช วงศ์ภูคา อ.สุพจน์ เสือขำ adayday (อ.พุทธิพร อินทรสงเคราะห์) หนานเกียรติ (อ.เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร) ครูคิม (อ.นพวรรณ พงศ์เจริญ) และ วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- (อ.นเรศ หอมหวล)

ฉายาวิทยากรทั้งหลาย ที่คุณเอก แนะนำตัวไว้น่ะหรือ ก็คือ ... เราเลือกวิทยากรมาจากทุกภาคครับ เพราะว่า พอเข้าเวทีเราก็จะได้ใช้ภาษาถิ่นกันไปเลย

พี่กัญญารัช – อยู่จังหวัดน่าน เป็นคนเหนือ แต่จะรับผิดชอบ จังหวัดตราด ... อิอิ พี่เขาพูดได้ทุกภาษา ... เรื่องจริ๊งน๊า

คุณวิลาวัณย์ ... พี่เกียง - เป็น NGO ทำงานภาคเอกชน เรื่องของสื่อ ภูมิลำเนาอยู่อุดรฯ รับ จังหวัด อำนาจเจริญ

คุณดิเรก บังเหรก – เป็นหนุ่มพัทลุง แต่มาอยู่ กทม. รับจังหวัดสตูล

คุณสุพจน์ – เสียงเหน่อ อยู่สมุทรสาคร รับ ราชบุรี เพราะว่าเสียงพอกัน

พี่หนาน – รับลำปาง

พี่ใหญ่ของเรามาจากพิษณุโลก อำเภอนครไทย พี่คิม คุณครูคิม นพวรรณ - ดูจังหวัดตรัง

น้องเดย์ – ทำงานบริษัทนกแอร์ และทำงานถอดบทเรียนหลายครั้ง เป็นหนุ่มอีสาน รับชัยภูมิ

บังนเรศ – แล่งใต้อย่างเดียว รับนครศรีธรรมราช ท่านเป็นคนพัทลุงโดยภรรยาครับ

คุณเอกเอง - เป็นคนนครสวรรค์ (ใช่ไหม?) แต่คุณพ่ออยู่สันป่าตอง รับเชียงใหม่

เวที ลปรร. ของเรา มีเอกลักษณ์ว่า เป็นกิจกรรมเพื่อให้เกิดความอบอุ่นครับ

 

ฉายภาพวิทยากรรวมตัวเฉพาะกิจฯ

สามสาวก่อนนะคะ

และครบทีม

เริ่มต้นกระบวนการ ด้วย อ.เอก และ อ.อะหลั่ย (ซ่อมได้ ???) ค่ะ

อ.อะหลั่ย (กัญญารัช วงศ์ภูคา) เปิดประเด็น เล่าสู่กันฟัง เรื่อง "การถอดบทเรียน"

ตอนนี้สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ... เราจะทำกันอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีคุณค่า เป็นผลิตภาพที่ดีให้สังคม และคนรุ่นต่อไป โครงการนี้ ก็จะเป็นต้นแบบหนึ่งที่ ถ้าเรามองศักยภาพของผู้สูงอายุว่า สามารถเอาวิธีการ นวัตกรรม หรือกิจกรรมเหล่านี้ ไปเผยแพร่ในพื้นที่ได้ เพราะเราเชื่อว่า ศักยภาพของผู้สูงอายุมาจากหลากหลาย ท่านผ่านประสบการณ์มาก่อน เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เราจึงเชื่อว่า ท่านเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มหาศาลให้กับคนไทย หรือสังคมไทย

ประเด็นที่เรียนรู้ และทำความเข้าใจ

ถ้าเราพูดถึงบทเรียน เรามักจะนึกถึงความผิดหวัง หรือความล้มเหลว ... แต่ความสำเร็จก็สามารถเป็นบทเรียนที่จะทำให้เราได้เรียนรู้ บอกต่อ และถ่ายทอดให้คนอื่นๆ ได้

ตั้งแต่สมัยพุทธกาล คำว่า บทเรียน จะตรงกับคำว่า สิกขาบท ... กว่าพระพุทธเจ้าจะได้สิกขาบท พระพุทธเจ้าก็ผ่านกระบวนการปฏิบัติ ลองผิดลองถูก หลายๆ ครั้ง กว่าจะตรัสรู้ ศีล สมาธิ ปัญญา ... ก็ต้องผ่านบทเรียนเหล่านี้ ซึ่งเมื่อได้บทเรียนเหล่านี้แล้ว ท่านก็ยกระดับบทเรียนที่ว่านี้ ให้เป็น สิกขาบท นั่นก็คือ เป็นบทบัญญัติ ข้อปฏิบัติ ที่จะเข้าไปสู่ ศีล สมาธิ ปัญญา

ถ้ามองในแง่กฎหมาย บทเรียนของกฎหมายที่ได้จากคำพิพากษาต่างๆ เขาก็เอามาสร้างเป็นบทบัญญัติของกฎหมาย

และวันนี้ เราจะเอาบทเรียนที่ผ่านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ มาวิเคราะห์ออกมาให้ได้ว่า ... "ที่ท่านไปทำมา มีบทเรียนอะไรบ้าง จะได้นำมาหลอมรวมกัน สังเคราะห์ให้เป็นองค์ความรู้ ที่จะเผยแพร่ และยกระดับการปฏิบัติให้ดีขึ้นในปีต่อไป

ประเด็นที่จะทำความเข้าใจในวันนี้ จะเป็นบทเรียน และการสังเคราะห์องค์ความรู้ ว่าเป็นลักษณะอย่างไร ตามแนวคิดวิชาการที่วางไว้ และนานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียน เป็นวิธีการ / เทคนิคการถอดบทเรียน และสุดท้าย เราจะเข้าสู่กระบวนการถอดบทเรียน ซึ่งเราใช้กระบวนการ Retrospect

เป้าหมายของการถอดบทเรียน "โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุครบวงจร"

  • เพื่อทบทวนกิจกรรมการดำเนินงาน / สิ่งที่ได้ทำไปแล้วของโครงการ โดยผ่านกระบวนการสกัดความรู้ หรือถอดบทเรียนที่เป็นระบบ
  • และหวังว่า การทบทวน หรือการถอดบทเรียนในครั้งนี้ เราจะได้ ลปรร. / ค้นหาวิธีคิด ความคิด วิธีการที่ดีดี best practice ระหว่างบุคคลในพื้นที่กลุ่มจังหวัด และเรียนรู้ข้ามพื้นที่
  • ที่สำคัญที่สุด เพื่อพัฒนาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายยิ่งขึ้นในปีต่อไป เป็นปีที่เราจะต้องมุ่งมั่นพัฒนาให้สำเร็จ และเป็นต้นแบบที่ดี ให้ผู้นำไปใช้ได้ต่อไป

เรื่องของการเรียนรู้

คือ การศึกษาเพื่อหาหนทางสำหรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาต่อไปข้างหน้าให้ดียิ่งขึ้นต่อๆ ไป และการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการหนึ่งที่เราไม่ได้เรียนรู้เฉยๆ แต่เราเรียนรู้อดีต เพื่อมองไปในอนาคต เพื่อประโยชน์ของอนาคต ... การเรียนรู้สามารถเรียนรู้ได้หลากหลายวิธี การแต่เรียนรู้ด้วยการทบทวนบทเรียนในอดีต และภูมิปัญญาที่มี สามารถจะนำมาพัฒนาปรับปรุงได้

ระดับของการเรียนรู้ บางทีแค่รับรู้ก็เหมือนกับได้เรียนรู้แล้ว รู้และเข้าใจก็สุดยอด แต่ที่สุดยอดมากที่สุด ก็คือ รู้ เข้าใจ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เหมือนแนวคิดของโครงการนี้ที่วางไว้ ก็คือ รู้ เข้าใจ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลช่องปากของผู้สูงอายุด้วยตัวเอง

บทเรียน (Lesson Learned)

คืออะไร ... บทเรียนในแง่ของโครงการ คือ บทสรุป ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ บทสรุปที่ได้จากกระบวนการทำงาน คือ คำอธิบายผลการทำงานที่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ และปัจจัยเงื่อนไขอะไรที่ทำให้เป็นไปอย่างนั้น

บทเรียนอีกอย่างหนึ่ง คือ ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบใหม่ที่ได้จากกระบวนการทำงาน บางอย่างเราไม่ได้เขียนไว้ในวัตถุประสงค์ แต่ว่ามันเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน และเป็นสิ่งที่ดีของโครงการ และดีมากมากด้วย ข้อค้นพบใหม่นี้ ถ้าเราไม่ละเลย และหยิบขึ้นมา ก็จะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะนำเสนอ และนำไปพัฒนาปรับปรุงในปีต่อไป

สรุปได้ว่า ... บทเรียนก็คือ ความรู้ที่เป็นทั้งบทสรุป และข้อมูลที่ค้นพบใหม่ ที่ได้จากประสบการณ์การทำงานของโครงการ

ลักษณะของบทเรียน คือ

  • อธิบายเหตุการณ์และเงื่อนไขที่เกิดขึ้น
  • บทเรียนไม่ใช่เพียงแต่การเล่าเรื่องในอดีต แต่ต้องมีคำอธิบายว่า คุณค่านั้น จะนำไปปฏิบัติต่อได้อย่างไร
  • บทเรียน ช่วยให้ ... เกิดการเรียนรู้ เพื่อไม่ให้เกิดการทำผิดซ้ำอีก

เวลาเราเขียนบทเรียน เราจะเขียนในลักษณะ “ถ้า ... เกิดเหตุอย่างนี้แล้ว จะเกิดผลอย่างนี้” เช่น ถ้าโครงการสามารถเข้าถึง และประสานกับแกนนำเครือข่ายแกนนำชมรมผู้สูงอายุตั้งแต่เริ่มแรกได้ แล้ว กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ก็จะขยายไปยังชุมชนต่อไปได้ อีกหลายชุมชน

การถอดบทเรียน (Lesson distilled) และการสังเคราะห์องค์ความรู้ สกัดมาจาก สิ่งที่ผ่านการทำงาน ผ่านคน ภูมิปัญญาที่มีเหล่านั้น

กระบวนการถอดบทเรียน จึงเป็นกระบวนการที่เอาความรู้จากการทำงานมาใช้ เป็นต้นทุนในการบริหารจัดการในเรื่องที่ยาก และซับซ้อนต่อไป หมายถึงว่า เรากำลังถอดบทเรียนเพื่อที่จะไปบริหารจัดการโครงการนี้ ในอนาคต

สิ่งที่สำคัญที่สุดของกระบวนการถอดบทเรียน คือ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน / ปรับวิธีคิด บางท่านที่อัตตาสูง หรือไม่ยอมใคร จะได้เกิดการเรียนรู้ และฟังมากขึ้น ฟังทั้งวิธีคิด วิธีการทำงาน ที่เขาทำดี อาจเลียนแบบ เพื่อยกระดับการทำงานของเรา และทำงานอย่างกว้างขวาง พูดคุย ยกระดับการปฏิบัติให้เป็นชุดความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

วงจรของการถอดบทเรียน เพื่อพัฒนาโครงการ

ความรู้ที่จะเกิดขึ้นมีทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นเราก็ได้ความรู้แล้ว (4 ปีของการดำเนินงานโครงการนี้) วันนี้ จะมารวบรวมวิเคราะห์ถอดออกมา และเป็นบทเรียน หลายๆ บทเรียนจะมาหลอมรวมกัน สังเคราะห์ขึ้นมาเป็นองค์ความรู้ เป็นชุดความรู้ นำไปเผยแพร่ หลังจากชุดความรู้ ก็สามารถนำไปทดลอง ปรับประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่ ... เสร็จแล้วก็นำมาสร้างเป็นแผนงาน แผนกลยุทธ์ จากนั้นก็นำไปใช้ และเข้าสู่วงจรของการศึกษาต่อไป

สิ่งสำคัญก็คือ

  • การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดโครงการ
  • การให้ความสำคัญกับการวางแผนเพื่อความสำเร็จในอนาคต
  • และนำบทเรียนไปวางแผน และสามารถนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติได้จริง

ประเภทของการถอดบทเรียน

  • จะมีถอดบทเรียนทั้งโครงการ ... ตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ การวางแผน กระบวนการดำเนินงาน และผลที่ได้จากโครงการ ... ตรงนี้จะเน้น ปัจจัยเงื่อนไขที่เป็นเหตุ ทำให้เกิดผล เทคนิคที่ใช้ คือ retrospect คือ การถอดบทเรียนหลังดำเนินงาน และ summative evaluation ก็คือ ถอดจากผลสรุปของการประเมินก็ได้
  • การถอดบทเรียนเฉพาะประเด็น ... เลือกประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือกลุ่มประเด็นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนายกระดับการทำงานโครงการ หรือประเด็นที่มีผลต่อการบรรลุความสำเร็จของโครงการในอนาคต เทคนิคที่ใช้ คือ AAR (After Action Review), OM (Outcome Mapping) และ EE (Empowerment Evaluation)

ขั้นตอนของการถอดบทเรียนก็คือ ... ขั้นแรกต้องมีการออกแบบการถอดบทเรียน มีการกำหนดกรอบของการถอดบทเรียน กำหนดรูปแบบ เลือกเทคนิค กำหนดปฏิทิน/ระยะเวลา ดำเนินการถอดบทเรียน ซึ่งอาจเฉพาะประเด็น หรือทั้งโครงการ หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนของการสื่อสารการถอดบทเรียน คือ การบันทึกบทเรียน เมื่อบันทึกได้ ก็จะพัฒนาเป็นชุดความรู้ สุดท้าย คือ ติดตาม นำบทเรียนไปใช้

นานาวิทยาการถอดบทเรียน

ก็คือ ระหว่างดำเนินการ เป็นลักษณะของ AAR หลังจากที่ทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมด้วยการมาประชุมหารือกันในคณะทำงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าเป็นอย่างไร จะปรับปรุงอย่างไร หลักคิดคือ ตีเหล็กกำลังร้อน ก่อนดำเนินการ เป็นลักษณะ peer assist (เพื่อนช่วยเพื่อน) และหลังดำเนินการ เป็นการถอดบทเรียนที่สามารถถอดจากพวกเรา (Retrospect) หรือถอดจากผลของการประเมิน ก็จะเป็น OM ที่นิยมใช้ประเมินดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น OM เหมาะสำหรับโครงการที่มี Innovation และดู outcome

เรื่องของการเรียนรู้จากเพื่อน (Peer Assist - PA)

  • เป็นการเรียนรู้ก่อนทำกิจกรรม หรือ Learning before doing
  • เพื่อน หมายถึง ทีมผู้ช่วย ทีมที่ปรึกษาภายนอก มาเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ เป็นทีมเยือน และทีมจังหวัดก็จะเป็นทีมเหย้า
  • ซึ่งวิธีการนี้ ได้พัฒนาจากบริษัทน้ำมันในประเทศอังกฤษ ที่มีทีมที่ปรึกษา คือ ทีมเยือน มาถ่ายทอด แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ให้ทีมเจ้าบ้าน ... หลักการก็คือ ทีมเหย้าให้ข้อมูลพื้นฐาน ทีมเยือนซักถาม เสนอมุมมอง ทีมเยือน และทีมเย้า แลกเปลี่ยนความรู้ รู้เขา – รู้เรา
  • เรียนรู้ร่วมกันวางแผนเพื่อดำเนินงานในอนาคต

อะไรที่ท่านรู้ในบริบทของท่าน อะไรที่ฉันรู้ในบริบทของฉัน อะไรที่เรารู้กันทั้งสองฝ่าย และอะไรที่เราจะร่วมกันสร้าง ท้ายที่สุดก็คือ สิ่งที่เราจะเรียนรู้ในการดำเนินงานในอนาคต

การเรียนรู้หลังการปฏิบัติการ (AAR) เป็นเทคนิคซึ่งได้รับความนิยมมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว

  • เป็นการเรียนรู้ระหว่างการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ
  • AAR พัฒนามาจากกองทัพสหรัฐ ในสงครามอิรัก การปฏิบัติการรบแต่ละครั้ง จะมาทำเหมือนแบบจำลอง AAR ทบทวนบทเรียน ความสำเร็จ ความล้มเหลว เพื่อวางแผนปฏิบัติการ หรือวางแผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ครั้งต่อไป
  • AAR ออกแบบมาเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ของคน และทีมงานระหว่างปฏิบัติการ

หัวใจสำคัญคือ

  • เปิดใจ บรรยากาศการทำ AAR ต้องไม่ทำลายคุณค่าของสมาชิกในทีมงาน
  • และทุกคนมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ร่วมกัน มากกว่าวิพากย์วิจารณ์กัน

องค์ประกอบจะมี

  • คุณอำนวยการเรียนรู้ ก็คือ FA
  • ทีมงานทุกคนที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
  • คำถามหลักสำหรับการ ลปรร. นำไปสู่ข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจง และปฏิบัติได้ (SARs - Specific Actionable Recommendation)
  • ความเป็นทางการ ในที่นี้หมายถึงรูปแบบ บรรยากาศ สถานที่
  • และการรักษาความลับ และการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

ชุดคำถามก็คือ

  • อะไรที่เรากำหนดว่าจะทำ (สิ่งที่เรากำหนดไว้ หรือคาดหวังจะให้เกิดขึ้น) เป็นชุดคำถามที่ FA จะป้อนให้คนได้ระดมความคิด
  • อะไรที่เกิดขึ้นจริง
  • ทำไมเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ก็คือ ทำไมสิ่งที่คาดหวังจะให้เกิดมันถึงได้แตกต่างไปจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราก็จะวิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนของความสำเร็จ หรือความล้มเหลวนั้น
  • และได้เรียนรู้อะไร จะทำอะไรต่อไป จะดำรงจุดแข็ง และขจัดจุดอ่อนได้อย่างไร

การเรียนรู้หลังการดำเนินงาน (Retrospect) คล้าย AAR แต่มีความลึกซึ้งมากกว่า

  • ใช้ในกรณีถอดบทเรียนทั้งโครงการ
  • ดำเนินการในช่วงที่เสร็จสิ้นโครงการแล้ว
  • เป็นการรวบรวมความรู้ในระยะยาวสำหรับทีมงาน
  • เน้นให้ผู้ร่วมกระบวนการสกัดบทเรียนการทำงานโครงการทั้งระบบ ตั้งแต่ช่วย เตรียมการ ดำเนินการ ผลลัพธ์ หรือผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการ
  • กระบวนการใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับซับซ้อนของโครงการ และประเด็นที่เราเลือกมาด้วย

วิธีวิทยาการเรียนรู้หลังการดำเนินงาน ... กำหนดหัวข้อได้แก่ ทำอะไร ? ใคร ? เป็นคนทำ ทำเมื่อไร ? ทำทำไม ? และทำอย่างไร ? วิธีการทำจะคล้าย AAR ก็คือ ทบทวนแผนงานกระบวนการ ตั้งคำถามว่าเราจะดำเนินการให้ดีขึ้นต่อไปได้อย่างไร บันทึกข้อเสนอแนะที่เจาะจงนำไปปฏิบัติได้ (SARs – Specific Action Recommendations) บางข้อเสนอที่ทำไม่ได้ก็ไม่ต้องเสนอ เสนอแต่ในสิ่งที่สามารถทำได้ และเกิดผลได้

กิจกรรมของการถอดบทเรียน ได้แก่

  • กิจกรรมอุ่นเครื่อง เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการ อาจเป็นการเตรียมเอกสาร ข้อมูลของโครงการ ผลการดำเนินงาน ให้กับสมาชิกได้ไปทำความเข้า และกิจกรรมละลายพฤติกรรม เปิดใจ และอันที่สอง คือ ทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน สรุปก่อนที่จะนำเข้าสู่กระบวนการ
  • กระบวนการถอดบทเรียน อาจใช้เทคนิคเล่าเรื่อง (Story Telling) แต่ก็อาจเป็นความเฉพาะของผู้ที่เล่าเรื่อง และให้เราปรับประยุกต์ตาม ฟังแล้วเอาไปปรับได้ ... Story Telling ที่สำคัญคือ จะเล่าอย่างไรให้เร้าพลัง ... ถอดบทเรียนจากบทเรียนที่ดี หรือการปฏิบัติที่เป็นเลิศก็ได้ … ถอดบทเรียนจากการประเมินผลของโครงการ เช่น แผนที่ผลลัพธ์ การประเมินเสริมพลัง การประเมินแบบสรุปผลของโครงการ ก็สามารถถอดสาระออกมาเป็นบทเรียนได้

ของฝากตอนท้ายของ อ.อะหลั่ย ค่ะ

“Lesson is Learned but the Damage is Irreversible / Nan dale & David Racine” ... ความเสียหาย หรือความล้มเหลว บางทีเราไม่สามารถจะทำให้มันกลับคืนมาได้ แต่ก็จะเป็นบทเรียนที่สำคัญที่ทำให้เรา ไม่ให้มีการผิดซ้ำอีก

รวมเรื่อง บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

 

หมายเลขบันทึก: 385824เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

รอดูต่อครับ กำลังทำเรื่องถอดบทเรียน กศน ครับ วิทยากรมาเต็มเลยนะครับดีจังเลย

  • P
  • อิอิ จับวิทยากร ใส่กระด้งค่ะ
  • ดูแลไม่ได้ทั่วถึงเลย ... พาวิทยากรเมาด้วย เพราะเนื้อหาเยอะแยะมากมาย

สวัสดีค่ะ

มาขอภาพสักภาพนะคะ  ขอขอบพระคุณค่ะ

  • น่าสนุกจัง วิทยากรคนคุ้นเคยกันใน blog ทั้งนั้น
  • อย่างนี้ไม่ติดตามไม่ได้แล้วละ...
  • P
  • ยินดีอย่างยิ่งเลยค่ะ ครูคิม ... ให้หมดใจเลย อิอิ
  • P
  • อิจฉามั๊ย อิอิ
  • มีคนนี้ P เขาอิจฉาไปเรียบร้อยแล้ว

สวัสดีครับคุณหมอเพื่อนร่วมทาง

ในส่วนของผมถอดบทเรียนแบบหนังตะลุง คือออกรูปบอกเรื่อง ออกพระฤาษี ออกพระอิศวร แล้วถึงจะออกเจ้าเมือง

คาดว่าไกล้รุ่งรูปอ้ายเท่งหนูนุ้ยจะได้ออกมาคุยสนทนาครับ

  • P
  • คอยชมค่ะ ... ท่าจะหนุกหนานนะคะ
  • P
  • โอ๋ โอ๋ โอ๋ โอ๋ โอ๋ .....
  • กิ๊ก กิ๊ก กิ๊ก กิ๊ก กิ๊ก .....
  • อิอิ

มาทบทวนแนวทางการถอดบทเรียนจากบันทึกนี้ครับ...

เพื่อจะได้เรียบเรียงเป็นบทเรียนตกผลึกส่งไปในรายงานนะครับ...

ขอบคุณทีมงานทุกคนด้วยครับที่ดูแลทีมวิทยากรเป็นอย่างดีครับผม...

                            

รวมทั้งผู้เข้าร่วมกระบวนการกลุ่มจากสตูลและ Note Taker จากกองทันตะด้วยครับ...

สวัสดีค่ะ

มาส่งการบ้าน และส่งภาพทีม รพ.นาโยง ตรัง ที่อบอุ่นและเป็นกันเองมากค่ะ

ขอขอบคุณน้องเปี๊ยก NOTE TAKER ค่ะ

  • P
  • บังเหรกคะ ... ภาพสวยจัง
  • ถ้ามีโอกาส เชิญมาร่วมกิจกรรมกันใหม่นะคะ
  • ขอบคุณมาก มาก ด้วยค่ะ
  • P
  • ครูคิม คะ
  • พาพี่คิมเหนื่อยเยอะแยะมากมาย แต่รู้ไหม งานนี้ พี่คิมสร้างเด็กเก่งขึ้นมา 1 คน น้องเปี๊ยกนั่นไง ตอนนี้ ขยันมากมายค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ
  • สนใจความหมายของ "บทเรียน"
  • สะดุดตากับ ๒ ประโยค แม้ยังไม่โดนใจเท่าไหร่

บทเรียนไม่ใช่เพียงแต่การเล่าเรื่องในอดีต แต่ต้องมีคำอธิบายว่า คุณค่านั้น จะนำไปปฏิบัติต่อได้อย่างไร

บทเรียน ช่วยให้ ... เกิดการเรียนรู้ เพื่อไม่ให้เกิดการทำผิดซ้ำอีก

  •  เพราะมันคือหัวใจของการเรียนรู้
  • P
  • แบบนี้ ก็ต้องสร้างประสบการณ์กันต่อไปละค่ะ
  • แล้วคำโดนใจ ก็จะออกมาเรื่อยๆ เอง ... นิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท