บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ (8) 9 กลุ่ม Super Stars


 

กลับมาถอดบทเรียนกันแล้วค่ะ ตอนนี้ ที่ประชุมแบ่งกลุ่มกัน 9 กลุ่ม สำหรับ 9 จังหวัด ...

กลุ่มจังหวัดเชียงใหม่ มี อ.เอก (จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร) เป็น FA และ น้องยาคนสวย (ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่) เป็น Notetaker

กลุ่มจังหวัดลำปาง มี อ.หนานเกียรติ (อ.เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร) เป็น FA และ พี่น้อย (ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่) เป็น Note taker

กลุ่มจังหวัดชัยภูมิ มี adayday (อ.พุทธิพร อินทรสงเคราะห์) เป็น FA และ พี่รุ่ง (ศูนย์อนามัยที่ 5 นครศรีธรรมราช) และ น้องบี cherry (สำนักทันตฯ) เป็น Note taker

กลุ่มจังหวัดอำนาจเจริญ มี อ.เกียง (วิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล) เป็น FA และ หมอโซ่ (ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี) เป็น Note taker

กลุ่มจังหวัดราชบุรี มี อ.สุพจน์ เสือขำ เป็น FA และ หมอยุ้ย (ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี) เป็น Note taker

กลุ่มจังหวัดตราด มี อ.อะหลั่ย (ก้ญญารัช วงศ์ภูคา) เป็น FA และ หมอลิ้ม (ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี) กับ หมอย้ง angel (สำนักทันตฯ) เป็น Note taker

กลุ่มจังหวัดนครศรีธรรมราช มี วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- (อ.นเรศ หอมหวล) เป็น FA และ หมอเปิ้ล (ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช) + น้อง nok (สำนักทันตฯ) เป็น Note taker

กลุ่มจังหวัดตรัง มี ครูคิม (อ.นพวรรณ พงศ์เจริญ) เป็น FA และน้องเปี๊ยก (สำนักทันตฯ) เป็น Note taker

กลุ่มจังหวัดสตูล มี Mr.Direct (อ.ดิเรก หมานมานะ) เป็น FA และ น้องแก้ว (สำนักทันตฯ) เป็น Note taker

ประเด็นคำถามเพื่อการพูดคุย 4 ขั้นตอนค่ะ

คำถามข้อที่ 1 (30-40 นาที)

  • ท่านเข้ามาในโครงการนี้ได้อย่างไร ... แต่ละท่านมีบทบาทอะไรบ้าง
  • อะไรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ท่านเข้ามาร่วมในโครงการ ... ทำให้เราได้เรียนรู้เพื่อน เข้าใจตัวตนของแต่ละคน และอาจไม่คาดหวังเขามาก
  • เป้าหมายที่คาดหวังของโครงการ ... แต่ละจังหวัดอาจมีเป้าหมายที่ต่างกัน เป็นไปตามบริบทของจังหวัด

คำถามข้อที่ 2 (1 ชั่วโมง)

  • สภาพความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงของโครงการเป็นอย่างไร
    “การสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการ กับความคาดหวัง” ตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่าง และหลังดำเนินการ ... โดยเล่าปรากฎการณ์
    พิจารณา : ปัจจัยนำเข้า ต้นทุนทางสังคม ทีมงาน/กิจกรรม กระบวนการ / ผลลัพธ์ที่ออกมา

คำถามข้อที่ 3 (1 ชั่วโมง 30 นาที)

  • ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ... เราจะเริ่มเห็นอะไรที่สำเร็จ หรือไม่สำเร็จ
    (วิเคราะห์ ปัจจัยเงื่อนไข ที่ทำให้สำเร็จ และไม่สำเร็จ การวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน

คำถามข้อที่ 4 (1-2 ชั่วโมง)

  • มีบทเรียนอะไรบ้าง / ท่านได้เรียนรู้อะไรจากการทำโครงการนี้
    (สังเคราะห์บทเรียนร่วมกัน)
  • มีข้อเสนอแนะอะไร หากต้องการทำโครงการนี้อีกในอนาคต (SARs)
    (อาจเขียนเป็น แนวทาง / กลยุทธ์ / นวัตกรรมใหม่)

รวมเรื่อง บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

  

หมายเลขบันทึก: 387389เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2010 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ลุงวอญ่า...ดูสมบูรณ์มากนะคะ จำไม่ได้

หมอนนเลี้ยงดีเกินไปหรือเปล่า

สวัสดีค่ะ

เย็นนี้ได้ต้อนรับสองหนุ่มที่พิษณุโลกค่ะ  พวกเรายังติดค้างคาใจคุยกันเรื่องถอดบทเรียนกันต่ออีก  ได้ความรู้เพิ่มค่ะ 

  • P
  • เห็นว่า 1 หนุ่ม ป่วยไปแล้วหรือคะ ครูพี่คิม
  • ให้พักผ่อนเยอะๆ ด้วยนะคะ
  • เริ่มเข้มข้นแล้ว
  • งานนี้ FA ท่าจะงานหนัก
  • เพราะตามไปอ่าน แต่ละคนเขียนดีจริง ๆ ค่ะ
  • P
  • FA น่ารักทุกคนเลยค่ะ รับประกัน ... คุณภาพคับแก้ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท