บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ (11) ฟังเรื่องเล่า ถอดบทเรียนเชียงใหม่ จาก อ.เอก


 

มาฟังกลุ่มถอดบทเรียนเล่าเรื่อง กันสักหน่อยนะคะ

เริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ - อ.(พระ)เอก มาเล่าให้ฟัง ถึงความเป็นมาของการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ค่ะ

เชียงใหม่มา 4 อำเภอ คือ สันป่าตอง หางดง สารภี และแม่แตง

บริบทของเชียงใหม่ ปี 2548 ได้ทำโครงการฟันเทียม และได้ทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด พบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนสองแสนคน คาดการณ์ว่า อีก 10 ปี ผู้สูงอายุที่เชียงใหม่จะเยอะมาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และผู้รับชอบก็มานั่งคิดกันว่า จะทำอย่างไรที่จะส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ

ในปี 2549 ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ โดยพี่ยาคนสวยและคณะ ได้นำโครงการเข้าไป เป็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ทำ 2 อำเภอนำร่อง ได้แก่ สันทราย และสารภี เนื่องจากเป็น 2 อำเภอที่มีความพร้อม และมีชมรมผู้สูงอายุที่ค่อนข้างเข้มแข็ง

กลุ่มที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเชียงใหม่ ครั้งนี้ คือ ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่ากว้าง อ.สารภี ซึ่งมีการขับเคลื่อนในเรื่องของการทำกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ก่อนที่จะมีโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยเมื่อปี 2546 มีการดำเนินการ โดยได้งบฯ จาก สสส. มาประเดิม และพยายามประคับประคองกระบวนการ กิจกรรมมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นชมรมที่เข้มแข็ง

ปี 2550 จังหวัดได้งบประมาณ สปสช. สนับสนุน จึงมีการพัฒนาศักยภาพแกนนำเพิ่มเติม ทำให้มีการทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 5 อำเภอ

สิ่งที่จะมานำเสนอ เป็น case study ก็คือ Model สารภี เรื่องของชมรมผู้สูงอายุท่ากว้าง วันนี้ประธานชมรมผู้สูงอายุมาด้วย ก็คือ คุณพ่อดี บุญมา ท่านมีบุคคลิก เป็นที่รักใคร่ของลูกหลานที่สารภี มีการเข้าไปทำกิจกรรมในโรงเรียน และมีโครงการดีดีมากมาย

Model สันป่าตอง จะมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมาด้วยตนเอง (ท่านนายกจำนงค์ อบต.บ้านแม) ท่านก็มีกลเม็ดเคล็ดลับต่างๆ ในการทำงานส่งเสริมสุขภาพ ดูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และชาวบ้านโดยรวม

Model หางดง เป็นชมรมผู้สูงอายุที่มีลักษณะเป็นรูปแบบเฉพาะของโรงพยาบาลหางดงเอง

และ โรงพยาบาลแม่แตง จะเป็นชมรมอุ้ยฮักหลาน มาทำกิจกรรมในช่วงปี 2552

รายละเอียดของกิจกรรม ก็คือ

ชมรมผู้สูงอายุสารภี ตั้งเมื่อปี 2543 ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด เมื่อปี 2546 พ่อดี บุญมา มาเป็นประธาน ก็จะมีปัญหาว่า ชาวบ้านรวมตัวกันไม่ติด ชมรมไม่ค่อยเข็มแข็ง กิจกรรมมีคนมา 2-3 คน พบปัญหาก็คือ มีชมรมแต่รวมตัวกันไม่ได้ ผู้สูงอายุป่วยเยอะแยะ เป็นโรคปวดเข่า เบาหวานกันไปหมด จึงมาระดมความคิดกัน ...

ปี 2546 ได้ของบฯ สสส. ระดมแกนนำผู้สูงอายุจำนวน 7 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2-3 ท่าน รวม 15 ท่าน ... แกนนำมาคุยกัน วิเคราะห์ศักยภาพของผู้สูงอายุว่า จะพัฒนากันอย่างไร จึงสร้างกิจกรรมขึ้นมาเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ทำกิจกรรมกันมาเรื่อยๆ และเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ

ปี 2547 พี่แดงคนสวย ประเมินเรื่องของสุขภาพองค์รวมผู้สูงอายุ งานวิชาการชิ้นนี้ ทำให้รู้ว่า หลังจากที่ชมรมฯ เข้มแข็งขึ้นมาตามลำดับ สุขภาพองค์รวมผู้สูงอายุก็ดีขึ้นด้วย แสดงว่า ตอบโจทย์ คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

ปี 2549 โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเข้ามา ทำให้มีกิจกรรมเพิ่มเติม คือ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน และอื่นๆ เช่น การให้ความรู้ เยี่ยมบ้าน แทรกงานทันตสุขภาพ งานสุขศึกษา เข้าไปในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่บ้าน

ผลลัพธ์ก็คือ เราเปลี่ยนทัศนคติผู้สูงอายุได้ และการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุก็เปลี่ยนไป

ปี 2550-2551 มาคิดกันว่าจะทำอย่างไรต่อ ... ก็คิดเข้าไปในโรงเรียนประถมศึกษา พ่อดี กับเพื่อนๆ เข้าไปทำกิจกรรมในโรงเรียนประถมฯ ได้แก่ ฟ้อนเจิงบ้าง ทำตุง เล่านิทาน … ปรากฎว่า เด็กๆ ชอบมาก พ่อดีทำกิจกรรมตรงนี้ และได้แทรกงานทันตสุขภาพเข้าไปด้วย

ปี 2553 คุยกันต่อว่า จะทำอะไรกันต่อ พ่อดีมีความคิดบรรเจิด คือ ไปทำในศูนย์เด็กดีกว่า คือ ในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ... ตอนนี้พ่อดีไปทำขนมอ่อนหวาน ขนมพื้นบ้านที่ไม่มีน้ำตาลให้เด็กทาน เล่านิทาน และแทรกงานทันตสุขภาพไปด้วย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของที่สารภี ก็คือ

  • การขับเคลื่อนด้วยตัวเอง คือ ความเป็นอิสระของผู้สูงอายุที่คิดเอง ทำเอง มีเจ้าหน้าที่คอยกำกับ ให้กำลังใจ ชมรมผู้สูงอายุจึงเติบโตได้ด้วยตนเอง และเกิดความต่อเนื่องทั้งกิจกรรม และความคิด
  • ทีมงานเข้มแข็ง ได้แก่ การมีความพร้อมของคนทำงาน ก็คือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ สำนักทันตฯ ศูนย์ฯ เขต องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียน โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้ทีมงานเข้มแข็ง ทำงานสอดคล้องกัน
  • ประธานทีมงานเข้มแข็ง มีความพร้อม ตั้งแต่ในเรื่อง การศึกษา สุขภาพ ใจ (สำคัญมาก)
  • ชุมชนเข้มแข็ง จึงทำให้มีกิจกรรมเหล่านี้หล่อเลี้ยง และช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน
  • สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ขวัญ กำลังใจ ชมรมผู้สูงอายุท่ากว้างสร้างขวัญกำลังใจให้กับสมาชิกตลอดเวลา คือ ทัศนศึกษา การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ล้วนเป็นกิจกรรมที่สร้างกำลังใจให้กับผู้สูงอายุ

ปัญหาที่เราพบ คือ ... ถามพ่อดีว่า มีปัญหาอะไรไหม ... พ่อดีบอกว่า ไม่มีปัญหา พ่อดีทำงานด้วยความสุขจริงๆ ก็เลยไม่มีปัญหา

จริงๆ มีปัญหาอันหนึ่ง ที่วิเคราะห์กัน ก็คือ ผู้สูงอายุบางส่วน เวลาเข้าไปพัฒนา จะมีทัศนคติบางอย่างของการไปชี้นำ ครอบงำทีมงาน เครือข่าย ให้ทำตามรูปแบบนั้นๆ นี้ๆ ทำให้เกิดการลดทอนพลังการทำงานของผู้สูงอายุ แต่โชคดีที่ชมรมนี้เข้มแข็ง จึงผ่านไปได้

บทเรียนที่ได้รับจากสารภี คือ

  • เจ้าหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการพัฒนาชุมชน
  • ทีมงานในพื้นที่มีความเข้มแข็ง เข้าใจเรื่องของการพัฒนาชุมชน เข้าถึง พัฒนา
  • เครือข่ายที่ขับเคลื่อนไปได้ ต้องมีการพัฒนาความรู้ หรือการจัดการความรู้อยู่ตลอดเวลา
  • ต้องพัฒนาชมรมอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
  • การคัดเลือกผู้สูงอายุที่เป็นแกนนำ ต้องดูความพร้อมเรื่องฐานะ ความรู้ด้วย และ ผู้สูงอายุท่านนั้นต้องได้รับความยอมรับจากชุมชน จะทำให้ขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุไปได้อย่างดี
  • มีการบูรณาการงานสุขภาพ เข้ากับงานส่งเสริมทันตสุขภาพด้วย
  • ผู้สูงอายุกับเด็กมีความสนิทสนมใกล้ชิดกัน เป็นข้อที่เราค้นพบว่า โครงการอุ้ยสอนหลานได้ประสบความสำเร็จ เพราะว่า เวลาผู้สูงอายุไปอยู่กับเด็กแล้ว เขาจะเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ผู้สูงอายุก็จะใช้โอกาสนี้ เป็นบทบาทของนักสุขศึกษา เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้บ้าง เป็นคุณครูบ้าง เล่านิทานเรื่องทันตสุขภาพบ้าง

อีกประเด็นที่อยากนำเสนอ คือ ทำไม อบต. บ้านแมจึงประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมผู้สูงอายุ มุมมองวิธีคิด คือ อบต. ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ผู้สูงอายุกินอิ่ม นอนอุ่น อยู่ดี กินรำ สนับสนุนงบประมาณ และการสนับสนุนของสาธารณสุขที่เร่งด่วน อบต. จะทำเลย ไม่ต้องรอทางโรงพยาบาล

ปัจจัยสำเร็จอยู่ที่

  • ผู้บริหารมีแนวคิดที่ดี การปฏิบัติจะตามมา
  • ธรรมาภิบาลใน อบต.
  • มียุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ได้ตามเป้าหมาย และกลยุทธ์เป็นเทคนิคเฉพาะของ อบต.
  • การบริหารจัดการ ทั้งงบประมาณ ทั้งคน
  • การเข้าถึงความต้องการ เข้าถึงปัญหา โดยใช้เวทีชาวบ้าน
  • ความต่อเนื่องของการแก้ไขปัญหา ท่านจำนงค์นายก 4 สมัย 16 ปี ในพื้นที่เดียว ทำให้การแก้ปัญหาดำเนินการต่อเนื่อง ตัดสินในการทำงานทั้งเร่งด่วน และไม่เร่งด่วน ทำให้ท่านตัดสินใจในเรื่องของการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
  • การเตรียมความพร้อมของการจัดสรรงบประมาณ มีการประชุมกันก่อนที่จะประชุมจริง ทำให้มีการย่นระยะเวลาต่างๆ

ท่านจำนงค์ นายก อบต. บ้านแม ได้บอกไว้ว่า "ผมอยากให้ทุกภาคส่วน ไม่ว่า เทศบาล อบต. เราไปคุยตรงนี้กับผู้บริหารเลย ว่าจะให้เราทำอย่างไร ที่จะให้กระบวนการตรงนี้ขับเคลื่อนได้ เพราะว่า ถ้าเราไม่มีเงิน ไม่มีปัจจัย ก็ไม่สามารถที่จะเด่นตรงนี้ ก็จะเป็นแนวทางต่อไป ปีหน้า ผมให้งบประมาณเพื่อไปดำเนินการนำร่อง ขยายผลต่อไป ที่บ้านแม"

รวมเรื่อง บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

  

หมายเลขบันทึก: 388164เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2010 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

ม้วนเดียว  จบเลย  ขอปรบมือให้ค่ะ  มาเก็บความรู้ของน้องเอกด้วย  ขอขอบคุณค่ะ

(พระ)เอก มาเเว้ว...

ต้องขอบคุณ อ.หมอ นนท์ ครับที่กรุณาสรุปออกมาได้ดีมากเลย ผมเองคนพูดก็พูดไป ในวันสองวันนี้ก็คุยกันเรื่องนี้โดยตลอดครับ ต้องทำให้ดีสมกับที่กองทันตฯ ไว้วางใจ :)

ทางทีมงานผมหลายท่านคึกคักเลยทีเดียวครับ 

ขอบคุณมากครับ ...

ผมเพิ่งเดินทางมาจากด่านซ้ายเมื่อคืนเองครับ วันนี้จะไปเชียงใหม่อีกครับผม

 

  • P + P
  • วิทยากรทั้งหลายก็น่ารักมากมายเลยคะ ... ต้องหาโอกาสเชิญมาอีก อิอิ
  • คุณเอกน่ะ ป่วยอยู่ รักษาสุขภาพดีดีนะคะ ยังไงก็ต้อง กินอิ่ม นอนอุ่น (แบบ สว. เชียงใหม่เลย)

หมอนนท์ คงตามอาการผมผ่าน Facebook เป็นเเน่ ที่ นั่นมีคุรหมอ คุณพยาบาล มาเยี่ยมอาการผมมากมายครับ อาการผมดีวันดีคืน

ล่าสุดหมอเด็กมา ราวด์ผ่านทาง FB เลยครับ :)

กำลังจะเดินทางออกจากที่ตั้งไปเชียงใหม่ครับผม

คือ แบบผมต้องรักษาด้วยหมอเด็กครับ :)

  • P
  • คอยเฝ้ามองอยู่ค่ะ ว่า (พระ)เอก มีคนดูแลแล้วหรือยัง
  • ปรากฎว่า ตรึม ... อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท