บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ (20) สรุปบทเรียนรวบยอด และอำลาเมืองกระบี่


 

ช่วงสรุปบทเรียน 9 จังหวัด ได้รับเกียรติจากพี่หนาน หนานเกียรติ (อ.เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร) มาช่วยสรุปในมุมมองของคนนอกวงการ ให้กับเรา พี่หนานบอกว่า

เป็นเรื่องที่ตื่นเต้นมาก เพราะว่าเจอม้านอกสายตา เพราะว่าถ้าคุยในเรื่องของทันตสาธารณสุขในกระบวนงานสุขภาพ เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในสายตาเท่าไร ในฐานะคนทั่วไป แต่พอได้ฟัง แล้วรู้สึกว่าโอ้โห มันเยอะจริงๆ สำคัญมากๆ และเป็นเรื่องหญ้าปากคอกมากๆ

สิ่งที่จะคุย เป็นข้อสรุปใหญ่ๆ ที่สังเกตได้จากบทเรียนนี้

อันแรก

คุยกันมาตั้งแต่วันแรก เราทำงานกันมาภายใต้สถานการณ์ ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าสังคมเปลี่ยน โดยเฉพาะวิถีชีวิต การกิน การบริโภคเปลี่ยนไป และมีส่วนที่เป็นผลกระทบ เมื่อก่อนก็กินผัก ข้าว น้ำตาลนิดหน่อย เดี๋ยวนี้กินน้ำตาลเยอะ กินจุบกินจิบ กินทั้งวัน ก็มีผล และเป็นกับทุกคน ไม่ได้เพียงผู้สูงอายุ

ที่สำคัญเรื่องความรู้ จริงๆ ความรู้อาจจะพอมี แต่ความตระหนักไม่มี …

ในส่วนของผู้สูงอายุ ทัศนะของผู้สูงอายุหลายเรื่อง ไม่เป็นผลดีต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ทัศนะอาจคลาดเคลื่อนไป และสถานภาพงาน มันอยู่นอกสายตา

และกลไกการทำงานเชิงป้องกัน หรือทันตสุขศึกษามีน้อย คือ ถ้าไม่เกิดโครงการนี้ คนที่ทำงานนี้ก็นับหัวได้เลย และโอกาสที่จะทำงานก็ได้แค่ข้างเตียงนิดหน่อย ถ้าจะไปถามเรื่องสุขภาพช่องปากก็คงน้อย และการทำงานแต่ละอย่างก็จะอยู่ในลักษณะของการตั้งรับ ... สถานภาพในกระบวนการสุขภาพ ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไรกันมากนัก

เส้นทางการทำงานของเรา จะเริ่มจากการทำฟันเทียม เมื่อปี 2548 ทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเมื่อปี 2549 และปี 2551 เป็นเรื่องของชุดสิทธิประโยชน์ ... เดิมเลยเราก็เข้าใจ 3 อันนี้มันจะแยกขาดออกจากกัน แต่พอเข้าไปดูก็เห็นว่า มันมีความสัมพันธ์กันอยู่บ้าง ในพื้นที่ผมคิดว่า งานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุได้ใช้สองกิจกรรม ไม่ว่าฟันเทียมพระราชทาน หรือชุดสิทธิประโยชน์ เป็นเครื่องมือ และในขณะเดียวกันกิจกรรมฟันเทียมพระราชทาน และชุดสิทธิประโยชน์ ก็อาศัยการส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุเป็นประโยชน์อยู่ด้วย

เกือบทุกที่จะเป็นภาพแบบนี้ คือ การเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของการทำงาน ไม่ว่า จากสำนักทันตฯ มาที่ศูนย์อนามัย ไปที่ สสจ. รวมเป็นกลไกการสนับสนุน และกลไกการปฏิบัติงาน ก็คือ ตั้งแต่ รพท. รพศ. แต่ส่วนใหญ่เป็น รพช. เชื่อมกับ สอ. รพ.สต. ชมรมผู้สูงอายุ

ที่ฟังมาผมพยายามดูว่า มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ อะไรบ้าง

ที่เห็นเยอะๆ มากๆ คือ

  • การเรียนรู้ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเอง เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพช่องปาก การเรียนรู้คลุมทั้งสามเรื่อง ในแง่ของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพช่องปาก ปรับทัศนคติ ผู้สูงอายุจำนวนมากเลยที่ยอมเข้ามาสู่ กระบวนการปรับทัศนคติจากเดิมที่มีหลายเรือง เช่น แค่อ้าปาก ให้คนอื่นดูก็ไม่ค่อยจะกล้าแล้ว หรือต้องถอนอย่างเดียว … ทัศนะเหล่านี้เป็นทัศนะของผู้สูงอายุจำนวนมาก แต่เรื่องเหล่านี้ได้รับการคลี่คลายในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
  • ตัวชมรมเองจะมีทักษะในการดูแลสุขภาพในช่องปากกันเอง อันนี้คิดว่า น่าจะเป็นผลงานพื้นฐานของชมรมที่ได้ทำไป

อันที่สอง

ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าปลื้มใจ เพราะว่าเดิมกลไกในการทำงานเรื่องทันตสุขศึกษา ก็จะมีอยู่แค่บุคลากรในวงการ แต่ว่าตั้งแต่ปี 2549 มา มันเริ่มมีกลไกเพิ่มมากขึ้นที่จะมาทำงานเรื่องทันตสุขศึกษา โดยเฉพาะเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ก็คือ ชมรมผู้สูงอายุ แล้วก็ขยายได้มาก ผมคิดว่า ปริมาณเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว และคุณภาพก็จะไล่ตามมาด้วย

อันที่สาม

ในแง่งานของทันตกรรม มีการขยายงานที่กว้างมากขึ้น อาจเป็นปัจจัยมาจากชมรมฯ ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนงาน และมีหลายจังหวัดที่ปรับระบบบริการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ของชาวบ้าน ของผู้สูงอายุ

ผมฟังในกลุ่มลำปาง หน่วยออกไปทำงานนอกพื้นที่ สองชั่วโมง เอาข้าวของไปเพื่อให้บริการผู้สูงอายุในหมู่บ้านบนเขาบนดอย มีภาพการปรับการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากขึ้น

และเรื่องทันตสุขศึกษา ผมเห็นว่ามีการทำงานมาแล้ว แต่ที่ฟังมา 2 วันนี้ มีความก้าวหน้าไปเยอะ เพราะเดิมเป็นคนที่อยู่ในแวดวงทันตบุคลากรเท่านั้น แต่พอผู้สูงอายุ เป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของวงการทันตสาธารณสุข

และที่สำคัญคือ ตอนนี้เท่าที่ฟัง งานทันตสาธารณสุขแต่เดิมเชื่อมไปงานอื่นก็ลำบาก แต่พอได้ยินสองวันนี้ ก็พบว่า มีการเชื่อมไปสู่ประเด็นสุขภาพอื่นๆ มากขึ้น และมีรูปธรรมหนึ่งคือ การไปเชื่อมกับเรื่องเบาหวาน เรื่องอ้วน ผมคิดว่า ถ้าเราวิเคราะห์หารากแล้ว จะเห็นรากร่วมกันของปัญหาหลายอัน ... เรื่องนี้เป็นรูปธรรมของการบูรณาการกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ

ข้อสังเกต หรือความท้าทาย

อันแรกที่เห็นได้ชัดๆ เลย ก็คือ ผู้สูงอายุเป็นช่องทางที่จะทำงานเรื่องทันตสุขภาพมาก มีศักยภาพมากที่จะมาทำงานเรื่องนี้ ผมคิดว่า เป็นเพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นทุกข์แล้ว จำนวนมากที่มีปัญหาเรื่องนี้ และไม่อยากให้ใครมีทุกข์เหมือนตนเอง ผมคิดว่า เรื่องนี้เป็นแรงจูงใจสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้ผู้สูงอายุหันมาสนใจเรื่องนี้

และด้วยความที่เป็นคนที่ พูดแล้วคนมักจะฟัง ตั้งแต่ในครอบครัว ในชุมชน ผมคิดว่า พอผู้สูงอายุเอาสารเหล่านี้ไปเผยแพร่ ก็น่าจะมีคนฟัง และน่าจะเป็นช่องทางที่ดี ... เมื่อวานนี้มีคนพูดว่า เนื้อหาเดียวกัน ระหว่างที่ผู้สูงอายุพูดกับหมอพูด เขาฟังผู้สูงอายุมากกว่า

ได้ยินเรื่องเกณฑ์กับแนวทางที่ไปจากส่วนกลาง มันก็ยังมีคำถามอยู่ว่า จริงๆ แล้วมันครอบงำ หรือเป็นตัวช่วยกันแน่ บางคนบอกว่า จะไปปิดกั้นความคิดมั๊ย หรือว่า แท้ที่จริงมันเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เราทำงานได้มากขึ้น ละเอียดขึ้น อันนี้เป็น ? ไว้

อีกอันหนึ่งผมคิดว่า ในความพยายามการทำงานในแง่ของการขยายผลในทางกว้างนี้ มันน่าจะไปได้ คือ เราก็มีบทเรียนว่า ถ้าเราไปทำงาน ขยายบทเรียนกับอำเภออื่น เราพอจะไปได้แล้ว ไม่ได้ลำบากเหมือนตอนตั้งต้นใหม่ๆ แต่ความท้าทายมันน่าจะอยู่ที่การลงลึกของกิจกรรม เช่น เราจะเพิ่มศักยภาพให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าไปมีบทบาทในการทำงานเรื่องทันตสุขภาพในวงกว้างได้อย่างไร อันนี้ผมคิดว่า เป็นความท้าทาย

อันที่สี่

ผมคิดว่าเท่าที่ฟังมา ผลงาน OK ประทับใจมากๆ แต่ว่า ถ้าเรามองตามความเป็นจริง ผมว่า เรายังตามปัญหาอยู่อีกไกล และตอนนี้มันถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมาคุยเรื่องนี้ ว่า ตอนนี้ปัญหามันไปไกลแล้วนะ งานของเรา ทำอย่างไรที่จะให้อย่างน้อยก็เป็นคู่ต่อสู้ที่มันสูสีหน่อย มันมีแนวทางไหม นี่เป็นความท้าทาย

อันที่ห้า

ด้วยความเป็นห่วง เป็นบทเรียนที่ได้ยินมาว่า ชมรมผู้สูงอายุใช้แล้วอย่าลืมพัฒนาด้วย ในวงการพัฒนาจำนวนมากที่ใช้กลุ่มแต่ละองค์กรใช้อย่างเดียว แต่ไม่พัฒนา จำนวนมากก็ฝ่อ และหายไป เพราะฉะนั้น ใช้แล้วก็พัฒนาด้วย

ส่วนนี้ อาจารย์เอกเพิ่มเติมไว้ค่ะ

การถอดบทเรียนครั้งนี้ เราได้เห็นปรากฎการณ์ส่วนหนึ่ง ... แต่บทเรียนที่เจาะลึก เราก็คงต้องไปเรียนรู้กับผู้ประสานต่อ เพื่อที่จะได้มาประติดประต่อ ทำความเข้าใจ เพราะว่าเราก็เปรียบเหมือนคนให้อาหารปลาบางทีคุ้งน้ำมันราบเรียบ เราเอาอาหารปลาโยนลงไป เราก็เห็นปลาเยอะแยะมากมาย เราก็พยายามเลือกปลาที่สมบูรณ์ ตัวที่ใหญ่ๆ ตัวที่แบบว่า ดูว่ามีสีสันแปลกตา นำขึ้นมาเรียนรู้ และเราเป็นคนนอก ฉะนั้น ในเรื่องราวเชิงลึกของทันตฯ เราก็คงต้องไปเรียนรู้ด้วย เอาพื้นฐานที่เราได้เก็บเกี่ยว และสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน 2-3 วันนี้ มาเรียบเรียง ร้อยเรียงต่อ

ช่วง 2 วัน คงได้ปิ๊งแว่บ บางเรื่องของหลายคน เราจะได้เห็นภาพการแลกเปลี่ยน ปัจเจก กับปัจเจก คนกับคน คนกับกลุ่ม เราคิดว่าแค่เวลาเท่านี้ เห็นบรรยากาศแบบนี้ก็ภูมิใจ เราอยากให้ทุกท่านได้เรียนรู้กระบวนการ และผมฝากว่า กระบวนการถอดบทเรียน อย่าใช้กรอบที่แข็งมากนัก อย่าใช้ตัวคำถามที่บีบรัด ทำให้กลุ่มอึดอัด และต้องเดินไปตามแนวทางคำถามเหล่านั้น มีความรู้สึกว่า บางทีไม่ใช่ FA ที่ไร้เทียมทาน คุยกันไปอย่างมีความสุข แบบโสเหล่กันไปเรื่อยๆ ค่อยๆ ป้อนข้อมูลกันไปเรื่อยๆ

เวลาไปทำกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ ให้เน้นเรื่องของความสุข เรื่องบทเรียนจะมาทีหลัง ให้เอาใจมาก่อนครับ ถ้าใจมาทุกอย่างก็จะได้หมดครับ

ท้ายที่สุด โดย ท่านผู้อำนวยการสำนักทันตฯ (ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย)

คิดว่า บรรยากาศคงซาบซึ้ง และประทับอยู่ในความรู้สึกของทุกๆ คนอยู่แล้ว เพราะว่าทุกคนได้ action ด้วยตัวเอง ได้คุยกันจนหูดับตับไหม้ ผมไปดูทุกกลุ่ม ทุกคนพูดหมด ไม่มีใครหยุดพูด (ใช่แล้วค่ะ เชิญรับประทานอาหารว่าง รับประทานอาหารกลางวัน ก็ไม่ค่อยมีคนขยับเลย) ... หลายกลุ่มบรรยากาศซาบซึ้ง และได้ใจมาก

ตรงนี้ เป็นบรรยากาศที่ทุกคนได้มารวมตัวกัน ได้มาแลกเปลี่ยนกัน ได้มาใช้ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ของท้องถิ่น สาธารณสุข ภาคประชน และมีวิทยากรมาเอื้ออำนวย และในการที่จะหาข้อสรุป ซึ่งข้อสรุปนั้นอาจเป็นกรอบ อาจจะแข็ง แต่คิดว่า ความนุ่มนวล กลยุทธ์ต่างๆ ก็จะอยู่ในตัวของพวกเราทุกคนอยู่แล้ว และคาดหวังว่า ความรู้ทั้งหมดที่ได้ คงได้รับการเขียนขึ้น เผยแพร่ ไปสู่จังหวัดอื่นๆ และจะได้ใช้งานกันต่อไป

รวมภาพหมู่ที่มีเล็กน้อยไปก่อนนะคะ ... รอภาพสวยงามสุดๆ จากทีมวิทยากรอยู่ค่ะ

อำลาด้วยสามสาว ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายบัญชี และฝ่ายจิปาถะค่ะ

รวมเรื่อง บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

   

หมายเลขบันทึก: 388658เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2010 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ.หนาน   บอกว่า ผู้สูงอายุเป็นช่องทางที่จะทำงานเรื่องทันตสุขภาพมาก มีศักยภาพมากที่จะมาทำงานเรื่องนี้ ผมคิดว่า เป็นเพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นทุกข์แล้ว จำนวนมากที่มีปัญหาเรื่องนี้ และไม่อยากให้ใครมีทุกข์เหมือนตนเอง ผมคิดว่า เรื่องนี้เป็นแรงจูงใจสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้ผู้สูงอายุหันมาสนใจเรื่องนี้

เจ๊ว่า   แล้วแต่มุมมอง

ถ้าส่วนตัวเองมองว่า น่าจะเริ่มที่เด็ก ตั้งแต่ฟันยังไม่ขึ้น

เพราะถ้าเราใส่ใจดี  ต่อไป  ทีมงาน ทันตสาธารณสุขในผู้สูงอายุ

ตกงานแน่ๆ   เพราะจะไม่มีคนแก่ฟันหลอไงคะ  อิอิ

  • Ico32
  • พูดอีกก็ถูกอีก
  • "มันต้องเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ ..." ประโยคนี้ ท่านอดีตอธิบดีณรงค์ศักดิ์ ได้พูดไว้ตั้งนานมาแล้ว
  • แท้ที่จริงแล้ว เราต้องเริ่มให้เกิดการเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ก็ว่าได้ แต่ทว่า ช่วงของคนมันมีหลายช่วง การเริ่มต้น ไม่สามารถเริ่มที่จุดแรกเกิดได้เท่านั้น แต่ก็ต้องเริ่มไปรายทางด้วย เพราะฉะนั้น การเริ่มแต่เด็ก หรือในครรภ์ เป็นดีที่สุด
  • แต่ตอนนี้ เรากำลังมามองมุมที่ว่า ผู้สูงอายุไปช่วยเด็กจ๊ะ ... ก็จะครบวงจรได้เลย
  • สรุปว่า อะไรดี เจ๊ ...
  • ตามเขี้ยวมา  Ico32
  • วันที่ 8-10 กันยายน จะไปร่วมงานเกษียณของกรมฯ ที่อีสาน
  • คนใต้ที่อยู่เหนือกับคนเหนือที่อยู่ กทม.ไปด้วยรึเปล่า...
  • P
  • แง แง ไม่ได้ไปอีกแล้ว ติดราชการสำคัญอ่ะ
  • แต่จะไปเชียงราย วันที่ 16-17 กย. ... ก๊ะหนุ่ย กับเจ๊เมืองเจียงใหม่ไปอ๊ะป่าว
  • มีคนได้ปิ๊กบ้านแล้วซิ
  • ช่วงนั้นติดงานอื่นเหมือนกัน น่าจะอยู่แถว ๆ  กทม.จ้า...
  • Ico32
  • ได้แต่เหยียบบ้านเกิดจ้า แต่คงได้แต่อยู่ในโรงแรมเหมือนเดิมละ
  • ก็ประชุม เกี่ยวกับเรื่อง ถ่ายทอดงานส่งเสริมฯ ของกรมอนามัย
  • อิอิ จำชื่อการประชุมไม่ได้ ... แย่จัง
  • เสียดาย เพราะว่า คุณอ้วน (KM) ก็มีโปรแกรมจัด train coaching ก็เลยไปไม่ได้อีกแล้ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท