อันเนื่องมาจาก ตัวชี้วัดที่ 15 ก.พ.ร. (ตอน 1)


ปี 2552 ตัวชี้วัด ก.พ.ร. ที่ 15  ระดับความสำเร็จของแผนพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา

เป็นหัวข้อเรื่องที่เราสมาชิกเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) มีนัดหมายภายใน 1 เดือนข้างหน้านี้
 
เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่ "หิน" ในความคิดของดิฉันที่ว่า "หิน"  นั่นคือ แผนพัฒนาบุคลากรของเราแต่ละปีในองค์กรขนาดใหญ่ของดิฉันมาจากคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรที่เราออกแบบไว้เป็นการพัฒนาแต่ละด้าน  สายวิชาการเน้นเพิ่มพูนศักยภาพด้านการเรียนการสอน
สายสนับสนุน เน้นเพิ่มพูนศักยภาพเพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น ความคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์ การคิดเชิงระบบ การบริหารเอกสารสำนักงาน การบริหารความเสี่ยง  เครื่องมือคุณภาพ เป็นต้น
สายบริหาร เน้นการบริหารจัดการ เช่น การสอนงาน การกำกับดูแล จริยธรรมการเป็นต้นแบบ  การบริหารเวลา  เป็นต้น

หลักสูตรพัฒนาทั้งหมด มาจากคณะกรรมการที่ดูแลการพัฒนาบุคลากรแต่ละด้าน(คนละกลุุ่มกรรมการ)  แต่ละกลุ่มกรรมการคิดอยู่บนพื้นฐาน เพิ่มพูนทักษะ เพิ่มพูนความสามารถในการทำงานให้องค์กร  

ประกอบกับ ผลการทำงานถูกวัดแบบหลวมๆ ในระบบราชการ  การให้ค่าตอบแทน ใชัระบบ PC  เป็นขั้นเพิ่มตามอายุการทำงานแบบเท่าๆกัน(ต่างกันไม่กี่บาทในแต่ละคน) 

เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ก็ถูกกำหนดไว้หลวมๆ  ไม่มีการเขียนชัดเจนดิฉันเองเข้ามาในระบบ รับรู้ว่าความก้าวหน้าของดิฉันเป็นไปอย่างไรก็จากการ...เห็นรุ่นพี่ๆ เขามีทางเดินกันอย่างนั้นเข้าเรื่อง..การพัฒนาบุคลากร......ในเมื่อค่าตอบแทนไม่ได้ขึ้นตามความสามารถ  การวัดความเติบโตขององค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลกำไรที่เป็นเกี่ยวข้อง สืบเนื่อง หรือเป็นผลมาจากการลงทุนในการพัฒนาสมรรถนะของบุคคลให้แตกต่างจากองค์กรคู่แข่งขัน 

ผลสืบเนื่องที่สำคัญ.."การพัฒนาบุคลากรจึงไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อพัฒนาคนให้เก่ง ให้ดี ให้มีศักยภาพมากที่สุด ไม่ใช่เพื่อแข่งขัน... กลายเป็นการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะ "แบบปูพรม" หรือพูดให้ง่ายว่า ไม่ได้เป็นเพื่อแนวการวางแผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan (IDP) "

แล้วยังไง.....

ก็เจ้าตัวชี้วัดที่ 15 ปีปัจจุบัน  จุดมุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาบุคลากร รายบุคคล Individual Development Plan (หวังผลแค่ข้ามปีรอบ 12 เดือนของการดำเนินการ   โดยใช้ Model Competency  มาจับ) 

ดิฉันรับฟังตัวชี้วัดที่เปลี่ยนใหม่นี้เมื่อ  มกราคม 2552  เข้าใจว่าเจตนารมย์ดูเหมือนต้องการจะรื้อระบบการพัฒนาบุคลากรแบบที่จัดพัฒนากันแบบหว่านแบบปูพรม...ที่ไม่้เฉียด..ทฤษฎีการพัฒนารายบุคคลเลยสักนิด   ในฐานะที่อยู่ในแวดวง HRD ก็ออกจะดีใจถือเป็นการวางระบบการพัฒนาบุคลกรที่ถูกทิศถูกทาง ออกแบบเพื่อแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ ทั้งที่วันนั้นพอเห็นแนวทางการทำงานเลาๆ ว่าจะต้องเดินทางไหน ตั้งอกตั้งใจทำมันอย่างไร

แผนพัฒนาบุคลกรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แต่ละรอบปีงบประมาณ  เราดำเนินการเสร็จสิ้นและอนุมัติแผนกันตั้งแต่กันยายน ของแต่ละปี  เพิ่งมาทราบแนวทางของ ก.พ.ร. เมื่อ มกราคม 2552  ปีนี้ 

แค่ ประเด็นที่ 1 สถาบันอุดมศึกษามีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ และสมรรถนะ (Competencies) ที่ต้องการของบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละตำแหน่งที่สอดคล้องกับภารกิจ ลักษณะงานความจำเป็นของสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายงานเพื่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ ในการประเมินความต้องการจำเป็น (Needs  assessment) เพื่อการพัฒนาของบุคลากรฯที่จะช่วยให้บุคลากรฯ สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ     

ประเด็นที่ 2 สถาบันอุดมศึกษานำข้อมูลตามประเด็นที่ 1 คือความต้องการจำเป็นของบุคลากรฯมาวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสมรรถนะปัจจุบัน เปรียบเทียบกับสมรรถนะเป้าหมายที่สถาบันอุดมศึกษาต้องการ และนำมาจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร พร้อมทั้ง ทบทวนกระบวนการจัดการความรู้ที่ได้กำหนดไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มาปรับปรุงให้มีความเหมาะสมสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยเชื่อมโยงการจัดการความรู้กับการพัฒนาบุคลากรฯ ให้สอดคล้องกับสมรรถนะหลัก ค่านิยม และวัฒนธรรมการทำงานของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแผนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจหรือจากสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน  แค่ 2 ประเด็นนี้....ยังหืดขึ้นคอเลย


หากจะให้เป็นไปตามที่ต้องการตามประเด็นต่างๆ ที่ระบุไว้ นั่นหมายถึง...

ทางที่ 1 ต้องรอผลในปี 2553   ถึงจะวัดตามประเด็นเหล่านั้นได้  ก็เล่นมาออกประเด็นตัวชี้วัดต่างๆ ตอนที่แผนงานปี 52 อนุมัติเสร็จสรรพไปหมดแล้ว

อีกทาง  เราต้องถอยหลังไปทำแผน ปี 2552 ใหม่  ตามประเด็น ก.พ.ร. ในเดือนมกราคม 52
หรืออาจมีสถาบันไหนที่ทำตาม ประเด็นที่ ก.พ.ร.กำหนดไว้แล้วก็ได้ ม.อ. อาจไม่ได้ทำแนวนี้ก็ไม่แน่

ดิฉันขอ ตัดตอน นะคะ เนื่องจากมันยาว...ไปแล้ว....

อ่านตอนที่ 2 ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 274345เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 00:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ส่งกำลังใจมาให้คนขยัน ค่อยๆปรับไปค่ะ

งานท้าทาย อาจจะต้องทำแบบลัดขั้นตอนบ้าง ก็คงได้นะคะ

แต่จะหาวิธีลัดอย่างไร

คิดว่าอาจต้องปรับแผนค่ะ

มีคนขยันแบบนี้ ชาติเจริญค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องจิ๊บ

  • ครูอ้อยมาส่งกำลังใจให้คนขยันค่ะ
  • มีความสำเร็จ อย่างสวยงามนะคะ

รักษาสุขภาพด้วย ครูอ้อยคิดถึงเสมอค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณใบบุญ ตามไปอ่านตอนที่ 2 ด้วยนะคะ เพิ่งบันทึกเสร็จเมื่อสักครู่นี่เองเอง

งานยากจัง ขนาดแค่อ่านก็ยังปวดหัว แล้วคนทำจะขนาดไหน

เป็นกำลังใจให้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท