Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี (4) "การเปลี่ยนแปลงเพื่อความสุขในการทำงาน" ... เรื่องของคน


... เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะทำให้มีความสุขในการทำงาน อันแรกสุดน่ากลัวจะต้องจัดการความทุกข์ให้ได้เสียก่อน

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ค่ะ ท่านให้เกียรติมาปาฐกถาพิเศษ ถอดความแล้วได้เนื้อหาน่ารู้มากมายจริงๆ ค่ะ ขออนุญาติแยกหลายบันทึกหน่อยนะคะ ถ้าลงคราวเดียว เดี๋ยวอ่านกันเหนื่อยไปนะคะ ... OK กันนะคะ

 

อ.จรัส ท่านได้กล่าวไว้ว่า

... รู้สึกว่าดี ที่ อ.หมอวิจารณ์มาทำในเรื่องของการจัดการความรู้ ตั้งแต่ 5 ปีก่อน และมา 5 ปีหลัง มีความรู้สึกว่า มีสภาพต่างๆ เกิดขึ้น มีการเคลื่อนไหวต่างๆ เกิดขึ้น และสิ่งที่ปรากฎชัดคือ พลังของพัฒนา ...

เมื่อเช้าถามเขาว่า มีคนเข้ามาร่วมงานเท่าไร เข้าใจว่าผู้จัดคาดการณ์ผิดด้วยซ้ำ คิดว่าคนจะน้อยกว่านี้ แต่ไม่ใช่ ... ทั้งหมดนี้เป็นพลังของทุกคน ที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งเพื่ออะไรผมไม่แน่ใจ ... ก็คงจะเป็นหนทางที่มีความหมาย หนทางที่พวกเรารู้ด้วยใจ อาจไม่ได้รู้ด้วยคำจำกัดความ

ผมก็แก่ตามเวลา แต่ยังไม่รู้สึกว่าแก่ ก็อาจเพราะว่า ทำงานอย่างมีความสุข ... ก็คิดว่า อาจจะมีส่วนจริงตรงที่ว่า ไม่เคยเครียด ไม่รู้สึกว่างานที่รับมามีปัญหาอะไร งานที่ผ่านมามีความสุขทั้งสิ้น ก็เลยคิดว่า จะคุยกับท่าน โดยไม่ได้มองว่าทฤษฎีเป็นอย่างไร แต่ ... ประสบการณ์มีเป็นอย่างไร

เรื่องความสุขในการทำงานนั้น ที่ผ่านมา ประสบมาอาจเป็นความทุกข์ในการทำงาน ก็เป็นของคนอื่นซะเยอะที่อยู่ในประสบการณ์ เพราะว่ามีคนมาเล่า มาบ่น มาปรึกษา หรือแม้แต่ร้องเรียนเรื่องความทุกข์ของเขาทั้งหลาย และมีความทุกข์อยู่มากมายในการที่เราจะทำงาน ... เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะทำให้มีความสุขในการทำงาน อันแรกสุดน่ากลัวจะต้องจัดการความทุกข์ให้ได้เสียก่อน

ผมมานึกดูว่า ความทุกข์ต่างๆ ที่ได้เคยเห็นมาเป็นอย่างไร ที่เห็นชัดๆ ก็มี 2 องค์ประกอบ หนึ่งคือ เรื่องของคน คือ ตัวเอง ตัวผู้ที่มีความทุกข์นั้น และอีกอย่างหนึ่งคือ สิ่งแวดล้อมข้าง ซึ่งทำให้เกิดความทุกข์ บางส่วนเป็นทุกข์จริง บางส่วนเป็นทุกข์จากมุมมอง

“ความทุกข์มาจากอะไรบ้าง” เท่าที่ฟังอยู่

  • อันหนึ่งคือ สิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวหลัก ก็คือ คน คนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมข้าง
  • งาน
  • เงิน
  • สิ่งแวดล้อม ... ระเบียบทั้งหลาย

เรื่องคนที่บ่นมากที่สุด น่าจะเป็นหัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชา ซึ่งรู้สึกว่าเป็นแหล่งความทุกข์ของคนทั้งหลายอยู่เยอะทีเดียว ตรงนี้เป็นอย่างไร ก็ลองนึกดูว่า ... หัวหน้าเป็นอย่างไรในความทุกข์สำหรับชาวบ้านเขา ... ก็มองภาพของหัวหน้าทั้งหลาย ก็มองเห็นว่า มีหลายคนเลยทีเดียว ที่เป็นหัวหน้า

  • คนหนึ่งคือ นายสำราญ ... ถ้าใครชื่นชมก็ขอโทษด้วย เพราะว่าไม่ได้หมายว่าจะเป็นแบบนั้น แต่ชื่อมันช่วยทำให้คิด นายสำราญเมื่อเป็นหัวหน้า ก็สำราญจริงๆ เดินยิ้มอยู่เรื่อย เพราะว่าได้เป็นหัวหน้า และก็ไม่ทำอะไรหรอก เพราะว่าสำราญแล้ว
  • อีกคนหนึ่งคือ คุณอำนาจ หรือ คุณเผด็จก็ได้ ใครโดนคุณอำนาจ คุณเผด็จก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เป็นทุกข์อย่างไร พวกเราคงจะพอคิดได้
  • อีกคนเป็นคุณละเอียด ก็ดีเหมือนกัน ทำให้งานเดินดี แต่ลูกน้องเดือดร้อน
  • นอกจากคุณละเอียดมีคุณระเบียบ เดินตามตัวระเบียบทุกอย่าง ก็ดีเหมือนกันที่ว่า ตนเอง และลูกน้องก็ทำงานได้สำเร็จ แต่ว่าเป็นทุกข์อยู่เยอะ
  • บางคนเป็นคุณประหยัด ความจริงคุณประหยัดก็ดี จะได้ไม่สิ้นเปลืองอะไรมากนัก แต่ลูกน้องเดือดร้อน
  • ไม่ค่อยจะมีใครสมัยนี้ชื่อคุณตระหนี่นะ แต่ว่าสมัยโบราณมี เพราะฉะนั้น ถ้าใครไปเจอคุณตระหนี่ยิ่งร้ายกว่าคุณประหยัดนิดหน่อย
  • มีอยู่บางกรณีที่เป็นคุณสมาน คุณสมานทำประโยชน์ได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในกรณีที่มีความแตกแยกอยู่ในหน่วยงานนั้น พอหัวหน้าเข้ามาเป็นคุณสมานนี่ ก็มีความสุขเพิ่มขึ้น
  • มีคุณรอด ... แต่ไม่มีใครชื่อหรอก คุณเล่ห์ เพราะว่าเราคงไม่อยากได้ และใครๆ คงไม่เลือกชื่อนั้นหรอก
  • ทำไมคนไทยจึงเลือกชื่อเหล่านี้ เพราะชื่อเหล่านี้มีความจริงอยู่ในตัวของมันเอง แต่ว่ามันก่อให้เกิดความทุกข์ได้เหมือนกัน

พอคนมาปรึกษาเรื่องหัวหน้าทำให้เกิดความทุกข์อย่างนี้แล้ว ทำยังไง ... ก็วิธีหนึ่งก็เลือกสิ บางทีมีสิทธิที่จะเลือกหัวหน้า แต่บางทีก็จะเข้างานใหม่ไปอยู่ก็น่าจะดีนะ แต่ว่า มันเปลี่ยน เลือกดีแล้วนะ แต่มันเปลี่ยน มีคนใหม่มาอีกแล้ว ก็กลายเป็นคนที่ไม่เข้าเรื่อง

คำตอบหนึ่งที่มาจากผู้ที่มีความทุกข์นี่ ก็สับเปลี่ยนหัวหน้า ก็เป็นวิธีการหนึ่งนะ แต่ว่าต้องใช้ชั้นเชิงเยอะเลย ก็มีคนไปสับเปลี่ยนได้เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ความพยายามจะเปลี่ยนหัวหน้าโดยวิธีการต่างๆ บางทีถึงกับเดินขบวน บางทีต่อต้าน แต่ที่เห็นสำเร็จได้ยากมาก ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดความทุกข์มากขึ้นเยอะ

ถ้าจะให้ได้มีความสุขพออยู่ได้ในสภาพหัวหน้าที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ทำยังไง

  • อาจจะต้องมองสภาพของเขา และเข้าใจ
  • วิธีหนึ่งคือ วิธีปลง เวลาจะปลง จะทำยังไง เพราะว่าหัวหน้าเขาก็ได้ทำกรรมดี ส่งผลในการเป็นหัวหน้า เขาทำความดีในลักษณะคุณอำนาจก็ดี คุณประหยัดก็ดี แต่ว่าบางทีมันหาความดีไม่เจอหรอก คือ ไม่ควรจะมาเป็นหรอก ความดีอยู่ที่ไหน เราก็ปลงต่อ ว่าจริงๆ ความดีมันส่งมาแล้ว ว่าเขาได้ดีมาจากด้านไหน ก็จะพอรับได้ ก็จะเป็นลูกน้องที่หมดความลำบากไปได้เหมือนกัน
  • บางคนบอก เรื่องผู้ร่วมงาน เป็นตัวเอกทำให้เกิดทุกข์ ทำให้เกิดการทะเลาะกัน คำตอบตรงนี้ ที่จะอธิบายเพื่อให้เกิดการปล่อยวางว่า ... ถ้าเจออย่างนี้จะทำอย่างไร ... ก็บอกว่า ให้รักเพื่อนอย่างที่เพื่อนเขาเป็น อย่ารักเพื่อนที่เราอยากให้เป็น มีเสมอว่า เรามีเพื่อนและอยากให้เขาเป็นอย่างที่เราอยากให้เขาดี แต่ว่าอันนั้นไม่ใช่ของจริง ทุกคนจะต้องมีความด้อยของตัวเอง อย่างใดอย่างหนึ่ง และความด้อยนั้นเขาเป็นปุถุชน เพราะฉะนั้นคนทุกคนที่ทำให้เราเป็นทุกข์ก็เป็นปุถุชน เพราะฉะนั้นอย่าไปถืออะไรมาก 

อีกปัญหาหนึ่ง คือ ปัญหาลูกน้อง มาบ่นว่าลูกน้องเป็นตัวที่ทำให้เกิดความทุกข์ มองดูก็เห็นชัดว่า มันเยอะอยู่ที่ว่าลูกน้องเป็นอย่างไรบ้าง ก็มีปัญหาว่า ก็ไล่ลูกน้องออกสิ หรือเปลี่ยนลูกน้องเสีย หรือย้ายไปทำงานอย่างอื่น ย้ายไปย้ายมาก็เจอลูกน้องอยากเก่าอีกแล้ว พวกนี้อาจต้องมองอีกมุมหนึ่ง

ก็น่าจะเป็นเรื่องของเราเองมากกว่าตัวลูกน้องนั้น เพราะว่าจะไปเปลี่ยนลูกน้อง บางทีก็ทำได้หลายๆ อย่าง วิธีหนึ่งที่ อ.หมอวิจารณ์ทำอยู่ ก็เป็นเครื่องแหย่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้เกิด KM ขึ้นมา เป็นเครื่องมือในการทำตรงนั้น แต่ว่า มันก็สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง จุดที่น่าจะต้องทำให้สำเร็จนั้น น่ากลัวต้องกลับมาทำที่ตัวเอง ตอนนี้ผมขอเลยเรื่องตรงนี้ไปก่อน ... อยู่ตอนจบของเรื่องนี้ละค่ะ

ยังไม่หมด อิอิ ... โปรดติดตามในบันทึกต่อไปนะคะ ...

รวมเรื่อง Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี

 

หมายเลขบันทึก: 150948เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2007 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรื่องที่อาจารย์หมอจรัสพูด เป็นเรื่องใกล้ตัวคนทำงาน ทั้งที่เป็นลูกน้องและหัวหน้า เป็นแง่คิดที่ฟังง่ายๆ แต่มากประโยชน์หากนำไปปฏิบัติ  

อาจารย์หมอนนทลีถอดความได้อย่างครบถ้วน ทำให้ได้ทบทวนสิ่งที่ได้ฟังอีกครั้ง  ขอบคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ

ขอบคุณมากครับ สำหรับสาระดีๆและเป็นประโยชน์

  • สวัสดีค่ะ อ.ปารมี และคุณข้ามสีทันดร
  • เป็นเรื่องเล่าของ อ.จรัส ที่ประทับใจมากๆ ตรงที่ท่านนำประสบการณ์ของท่านมาเล่าจริงๆ จึงอดไม่ได้ค่ะ ที่จะต้องมาถอดข้อความ เพื่อเล่าสู่กันฟังต่อไป
  • ขอบคุณค่ีะ

เรียนคุณหมอนนทลีครับ

ถอดความได้ละ เอียดดีมากครับ ในงานได้เจอคุณหมอแป๊บเดียวเองนะครับ  

ที่แม่เมาะมีโครงการจะสัมนาผู้บริหารให้ "เอื้อ อำนวย" ให้ลูกน้องใช้ KM และสร้างบรรยากาศที่เสริมต่อ KM ด้วย ตอนแรกยังไม่มีมุขว่าจะเอาอะไรไปบอกยังไงบ้าง ได้อ่านบันทึกนี้แล้วปิ๊งแว๊บ ว่าจะเอาบางส่วนจากที่ อ.หมอจรัส ไปใช้

ตอนบ่าย พี่ศรีวิภาพาไปเยี่ยมบู้ทกรมอนามัย ผมกะจะไปดู "น้องกบ สุวนัน" แห่งกรมอนามัย แต่ไม่ยักเห็นครับ อิอิ

  • คุณ คนเผาถ่าน คะ
  • Idea บรรเจิดค่ะ ของแม่เมาะ ... แม่เมาะเล่าเรื่องเป็นทีม เป็นกันเอง ได้อารมณ์ ได้ความมีส่วนร่วม เห็นถึงความเข้าขากันได้ดีเลยนะคะ ... แม้ว่าจะมีการแทรกคิว แซงกันคุยบ้างก็ไม่เป็นไร ได้อารมณ์สนุกสนาน แบบนี้ กรมอนามัยยังทำไม่เป็นเลยค่ะ ...
  • ถ้าปิ๊งวิธีการใหม่แล้ว ถ้าทำไปแล้ว บอกด้วยนะคะ อยากไปเรียนรู้ว่า ทำแล้วเป็นอย่างไร จุสนุกสนานแค่ไหน
  • น้องกบ สุวนันท์ จาก ศูนย์ฯ 7 ... ต้องไปหาที่นี่ค่ะ P ดอกไม้ของความหวัง 
  • แต่ เอ รู้สึกว่าเธอจะไม่ว่างแล้วนา ขอบอก อิอิ
  • คิดอะไรอยู่หรือเปล่า ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท