ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย (35) เรื่องเล่าศูนย์ 3 หมอลิ้มค่ะ


 

ช่วงบ่ายๆ ของการประชุมครั้งนี้ กลุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ค่ะ โดยกลุ่มที่หนึ่งดูแลโดยคุณอ้วนฉัตรลดา และกลุ่มที่สอง ดูแลโดยคุณวิมล โรมาค่ะ งานนี้มี Notetaker ที่ทาบทามตัวมาพร้อมสรรพก็คือ

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ คุณณิศรา นรการ และคุณสิทธิดา นิ่มศรีกุล
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ คุณกุลพร สุขุมาลตระกูล และคุณธนภรณ์ ฐิติวร

ในกลุ่ม 1 เรื่องเล่าเรื่องแรก ของการใช้ KM ในการทำงานของศูนย์อนามัยที่ 3 คุณหมอดำรง หรือหมอลิ้มมาเล่าให้ฟัง โดยเอาโจทย์จากกองทันตฯ ที่ให้ทำชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ซึ่งเป็นโครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์ของกรมอนามัยมาขยายกิจกรรม

คุณหมอลิ้มเล่าให้ฟัง ถึงการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เริ่มแรกว่า

  • เริ่มต้นตอนแรกด้วย การศึกษาทบทวนก่อนว่า ความเป็นชมรมฯ น่าจะต้องมีอะไรบ้างอยู่ในชมรมฯ และน่าจะใช้วิชาการทันตแพทย์อะไรบ้าง
  • และการจะทำ ก็คิดถึงว่า ต้องมี Pilot study ลงไปทำ
  • จึงเลือกมา 1 อำเภอ แบ่งเป็น 5 เครือข่าย ลงไปจุดประกายให้เครือข่าย ทำงานเรื่องส่งเสริมเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ ทำเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ว่า องค์ความรู้ที่เราจัดตั้งไว้ ว่ามี 5 ประเด็นที่ควรจะมี จะเป็นอย่างไรบ้าง

วิธีการกำหนดองค์ความรู้ของคุณหมอลิ้ม ก็คือ

  • ดูจากที่กองทันตฯ มีโมเดลต่างๆ ที่ทำมากับจังหวัด โดยเฉพาะท่านัด (อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี มีเรื่องเล่าที่นี่ ม่วนอ๊กม่วนใจ๋ ฮักเขี้ยวฮักหมู่ (51) คุณพ่อนายทหารเรือ เล่าเรื่องชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านัด และ ปาก คือ ประตูสู่สุขภาพผู้สูงอายุ (36) เที่ยวชมรมผู้สูงอายุท่านัด) และที่อื่น
  • ทบทวนกันว่า ที่อื่นมีอะไรบ้าง และใจเราอยากให้เกิดอะไร
  • เลยกำหนดมาเป็นประเด็นองค์ความรู้ที่ต้องการ ก็คือ
    1. ทำอย่างไร ผู้สูงอายุจึงจะดูแลความสะอาดช่องปากได้
    2. ดูแลเรื่องโภชนาการได้
    3. ทำอย่างไรผู้สูงอายุจะตรวจคัดกรองตัวเองเป็น
    4. อย่างไรจะทำให้เกิดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ เกิดการไหลเวียน และเกิดนวัตกรรมขึ้นได้
    5. ทำอย่างไรที่จะเกิดการผสมผสานบริการระหว่างโรงพยาบาล กับเครือข่าย (ก็คือ องค์ 5 กับ องค์ 6 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ)
  • ตรงนี้เป็น input ที่กำหนดขึ้นมา เป็นประเด็นองค์ความรู้ที่จะทำให้เกิดขึ้น
  • และสุดท้าย คือ ระบบการจัดสรรทรัพยากร ที่จะ support จะมีกลไกอย่างไร ที่จะให้เกิดขึ้น

จากนั้น เราเอาตรงนี้ไปให้กับผู้สูงอายุในชมรมแกนนำ กับ CUP ที่จะไปขับเคลื่อน โดย Goal ก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ ที่จะทำให้ฟันผู้สูงอายุอยู่ยืนยาว และจากการบูรณาการกันระหว่างชมรมฯ คือ Power ของประชาชนที่จะดูแลตนเอง กับการจัดบริการสุขภาพ ที่มีการ linkage ระหว่างชุมชน และโรงพยาบาลเกิดขึ้น

  • กระบวนการที่ใช้ คือ หลังจากได้ลงไปจุดประกาย ก็มีการทำแผน ใช้กระบวนการต่างๆ หลังจากนั้น ระยะหนึ่ง เราก็กลับไปประเมิน ตัวโครงการที่จะไปประเมินสังเคราะห์ จะใช้ KM ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาองค์ความรู้ตรงนั้น ว่า สิ่งที่ได้รับ ที่ได้ร่วมกันทำมาขณะนี้ มันมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
  • พอได้แล้ว จะมาช่วยกันสังเคราะห์ มาดูกิจกรรมที่ทำร่วมกัน และเล่าสิ่งที่ประทับใจ มาหาว่า อะไรคือความสำเร็จ ก็ได้ปัจจัยแห่งความสำเร็จมาชุดหนึ่ง ใช้เทคนิค แบบอาจารย์อุทัยวรรณ เอาแต่ละปัจจัยเป็น scale 5 scale สมาชิกแกนนำที่มาในวันนั้น คิดว่า ตัวเองอยู่ใน scale ไหน หาค่าเฉลี่ย และตั้งเป้าในอนาคต ว่าอนาคตโดยความรู้สึกของพื้นที่ต้องการอะไรให้เกิดขึ้น
  • จากนั้น ขยายองค์ความรู้ โดยเอาองค์ความรู้ไปขายไอเดียให้กับสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ในงานประชุมเขต จึงได้เครือข่ายทำอีก 2 จังหวัด
  • และได้ความรู้จากสมุทรปราการอีกชุดหนึ่ง

เมื่อต้นปีงบประมาณ มีการกำหนดตัวชี้วัดตามคำรับรองของกรมอนามัย เป้าหมายให้เกิดชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 1 จังหวัด 1 ชมรม จึงเอาตัวชี้วัดนี้ มาดำเนินกิจกรรม โดยเอาจังหวัดที่ทำสำเร็จ คือ ตราด และสมุทรปราการ 2 แห่ง ให้ดูภาพบริบทของตราด ที่ดำเนินกิจกรรมในภาพ CUP ใหญ่ กับสมุทรปราการที่ดำเนินกิจกรรมในภาพของ PCU ให้ดู 2 บริบทก่อน โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมที่ทำ input ข้อมูลให้ 9 จังหวัด ในเขตรับผิดชอบ และเอาข้อมูลมาทำ SRM (Strategy Root Map) ของแต่ละจังหวัด ในการทำชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก หลังจากนั้น เราก็ได้ SRM มา 9 จังหวัด

Phase ต่อไป จะทำคู่มือ เพื่อให้พื้นที่ไปคิด SRM ปลายปีก็จะมีการ ลปรร. เรื่องกระบวนการนำไปใช้ตรงนี้ อีกครั้งหนึ่ง

คุณหมอลิ้มเล่าให้ฟัง ในเรื่อง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ค่ะ ว่า

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ก็คือ จริงๆ แล้ว ผมไม่เคยทำงานผู้สูงอายุมาก่อน และผมคิดว่า ไม่จำเป็นต้องไปทำ ปัญหาของเราก็คือ เด็กวัยเรียน

แต่ปรากฎการณ์หนึ่งที่พบ ก็คือ ผู้สูงอายุมีศักยภาพ เขาช่วยเราได้อย่างเต็มที่ ทำให้เห็นพลังของผู้สูงอายุ ที่มาร่วมช่วยกันทำงาน เขาพยายามมากที่จะทำงานในเรื่องส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น ไม่น่าเชื่อว่า เขาจะเอาละครชาตรีมาแต่งเป็นเรื่องฟัน และไปเล่านิทานในโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนก็หยิบเอาผู้สูงอายุที่เล่านิทาน เป็นอันหนึ่งในองค์ประกอบเรื่องชุมชน เอามาประกวดคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพ เห็นความ linkage ของระบบสุขภาพ เชื่อมโยงในชุมชนตรงนี้

อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ เขาจะมีประเพณีรำงอบ ซึ่งเอาแปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไปติดตามงอบ และรำเซิ้ง ตามแบบของเขา ... และที่ภาคภูมิใจ คือ งานนี้เข้าตา นพ.สสจ. เอาไปโชว์ระดับภาคในเรื่องของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

รวมเรื่อง ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย

  

หมายเลขบันทึก: 328409เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2010 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผู้สูงอายุประสบการณ์สูง
  • มีเวลาพร้อมที่จะช่วย
  • เป็นบุคลากรสำคัญค่ะ
  • P
  • แล้วก๊ะหนุ่ย มีเวลามาร่วมด้วย ช่วย สว. ไหมคะเนี่ยะ
  • ปีนี้จะลงใต้ ไป ลปรร. ผู้สูงอายุภาคใต้ที่นครฯ
  • ยังนึกอยู่เลยว่า จะชวน สว. ทำแผนแบบมีส่วนร่วมได้ยังไง
  • ต้น กพ. วางแผนไปดูพื้นที่แล้วค่ะ ที่นครฯ
  • อาจต้องขอความช่วยเหลือจาก ก๊ะหนุ่ย นะค๊า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท