ศึกษาดูงานที่ สปป.ลาว กับนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์


ข้อเสนอแนะนี้อยู่บนพื้นฐานการพัฒนากฎหมายของราชอาณาจักรไทยซึ่ง สปป.ลาว ก็น่าจะสามารถนำไปประยุกต์/ปรับใช้ให้สอดคล้องกับการบริหารประเทศได้เช่นกัน

จากการศึกษาดูงานที่ผ่านมา
 
ผมมีความรู้สึกว่าภาคเอกชนไทยใน สปป.ลาว ยังไม่มีความมั่นคงเพียงพอ
อีกทั้งเสียงสะท้อนจากภาคเอกชนก็บอกว่าไม่ได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร
ทุกสิ่งทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของแต่ละบุคคล
 
แม้ภาครัฐของ สปป.ลาว จะมีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างชาติ
แต่นโยบายด้านอื่นๆก็มิได้เดินไปในทิศทางเดียวกัน
ตัวอย่างเช่นปัญหาการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินท้องถิ่นกับสกุลเงินสากลและสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้าน
หรือปัญหาการคิดคำนวณภาษี
ทั้งการคำนวณภาษีขายจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
หรือการไม่มีมาตรการแก้ไขปัญหาภาษีซ้อนจากการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน
ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่กลุ่มผู้ลงทุนต้องประสบและต้องหาทางออกตามวิถีทางของตนเอง
การรวมกลุ่มของเอกชนไทยใน สปป.ลาว ยังไม่มีความเข็มแข็งพอที่จะเสนอข้อเรียกร้องจากภาครัฐ (สปป.ลาว)
 
นอกจากนี้ระบบการศึกษาของ สปป.ลาว ก็ผลิต นศ. มาเพื่อป้อนคนเข้าสู่ภาครัฐ
และประชาชนเองก็มีแนวโน้มส่งเสริมให้ลูกหลานของตนได้เข้าทำงานในภาคราชการเพื่อรับสวัสดิการต่างๆของรัฐเช่นกัน
นอกจากนี้แล้วนักวิชาการของ สปป.ลาว ก็ยังไม่มีบทบาทหรืออิทธิพลต่อภาครัฐหรือภาคประชาชนเท่าที่ควร
 
เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ สปป.ลาว ควรนำมาคิดคำนึงว่าจะก่อให้เกิดปัญหาต่อไปในอนาคตหรือไม่
สปป.ลาว ควรส่งเสริมให้กลุ่มทุนต่างประเทศได้มีโอกาสรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคม
เช่นส่งเสริมให้มีการจัดตั้งหอการค้า หรือสภาผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำเสนอปัญหาจากภาคเอกชนสู่ภาครัฐได้โดยตรง
 
จากประสบการณ์การทำงานเป็นนิติกรที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะเจรจาข้อตกลงและการประเมินการพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ คณะที่ ๒ (กระทรวงการคลัง ยกเว้นกรมบัญชีกลาง) เห็นว่า
หากภาครัฐส่งเสริมให้ภาคเอกชนได้รวมกลุ่มกันและสามารถมีที่นั่งร่วมการประชุมเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากฎหมาย
และยอมรับฟังความเห็นทางวิชาการจากนักวิชาการไปพร้อมๆกับการกำหนดนโยบายด้วยแล้ว
จะช่วยให้กฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้นั้นสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและไม่สร้างภาระต่อผู้ปฏิบัติมากจนเกินไป
 
ต่อไปนี้คือข้อเสนอแนะ
-ปรับปรุงกฎหมายเพื่อเพิ่มโอกาสให้กับคนจน
-ปรับปรุงกฎหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
-กระจายอำนาจในการใช้บังคับกฎหมาย
-เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางเลิกกฎหมายที่สร้างภาระโดยไม่จำเป็นให้ประชาชน
-ให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียมและทันการณ์
-ปรับกฎหมายให้ทันโลกทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ
-ลดการควบคุมที่ไม่จำเป็น ปรับวิธีควบคุมให้หลากหลายขึ้น
-เพิ่มส่วนร่วมของประชาชนในการออกและใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะนี้อยู่บนพื้นฐานการพัฒนากฎหมายของราชอาณาจักรไทยซึ่ง สปป.ลาว ก็น่าจะสามารถนำไปประยุกต์/ปรับใช้ให้สอดคล้องกับการบริหารประเทศได้เช่นกัน
 
ขอแสดงความนับถือ
นรุตม์ เจียมสมบูรณ์
นิติกร 4
กองนิติการ  สำนักกฎหมาย
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

 

โปรดระบุ "ลาวศึกษา" ไว้ที่คำสำคัญของคุณด้วย

หมายเลขบันทึก: 208418เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2008 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • งานนี้ต้องเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมานั่งคุยกัน
  • เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน
  • จะได้ไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ
  • และอะไรที่สูญเปล่าจะได้ทำให้มีประโยชน์ต่อทุกคน
  • โดยเฉพาะหน่วยงานที่คิดว่าเดือดร้อนก็ควรดิ้นรนทำเรื่องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบปัญหา
  • ไม่ใช่ปล่อยให้เลยไป แล้วหน่วยงานจะทราบปัญหาที่เกิดในทางปฏิบัติได้อย่างไร
  • ดังนั้น ทุกคนที่ประสบปัญหาจึงไม่ควรนิ่งดูดายค่ะ

???

ทำไมพี่ต้อยตอบเร็วอย่างนี้คร้าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

นอต

เออ...พี่ต้อยครับ

การเรียกหน่วยงานมาประชุมหรือว่ามานั่งคุยกัน

เราอยู่ในภาคราชการก็น่าจะนึกภาพออกนะครับว่ามันยุ่งยากมากมายขนาดไหน

แล้วอีกอย่าง...

กิจกรรมอะไรที่ทำแล้วไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านบวก หรือเกิดยาก

ก็ไม่เป็นที่นิยมในวงราชการ

สำหรับผมแล้ว

ผมคิดว่าต้องเริ่มที่การรวมกลุ่มของภาคเอกชนให้ได้ก่อน

จนกระทั่งมีความสามารถในการต่อรองมากขึ้น

เหมือนคนคนเดียวตะโกน เสียงมันก็เบาฟังไม่รู้เรื่อง

หลายคนแย่งกันตะโกน เสียงดังก็จริงแต่ยิ่งฟังไม่รู้เรื่อง

มันต้องมาจับมือแล้วตะโกนออกไปพร้อมๆกันครับพี่

เสียงดังฟังชัด คนฟังก็จะรู้ได้ว่าใครต้องการอะไร

อย่างประเทศไทย

ตอนที่มีการเจรจาข้อตกลงการพัฒนากฎหมายฯ

เรามีเจ้าหน้าที่บริหารจากทั้งหอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมมาร่วมนั่งประชุม

คนเหล่านี้คือตัวแทนของภาคเอกชนที่จะส่งเสียงมาถึงภาครัฐครับพี่

นี่แหล่ะสิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเกิดขึ้นที่ สปป.ลาว เช่นกัน

นอต

  • ถ้าภาคเอกชนรวมตัวกันเกินไป ภาครัฐก็ตายนะน้อง
  • พี่ถือว่า ภาคเอกชนมีหนังสทอส่งไปที่หน่วยงานภาครัฐก็เพียงพอแล้ว
  • แค่หนังสือฉบับเดียวสำหรับหน่วยงานที่เอาใจใส่ประชาชนจริงๆ ก็ได้รับคำตอบแล้วว่า ภาครัฐจะช่วยคุณอย่างไรแล้วน้อง
  • สำหรับสำนักงานเศรษฐกิจการคลังนะ หน่วยงานอื่นไม่รู้
  • สศค. ต้องตอบหนังสือทุกบับที่ร้องเรียนมาเสมอ
  • ว่าแต่ นอต บล๊อกที่ใส่ในบันทึกของอาจารย์แหวว นอตให้บล๊อกผิด ช่วยไปแก้ด้วย link บ่ได้

การรวมกลุ่มของภาคเอกชน

เปรียบไปก็เหมือนกับบริษัทเอกชนที่ต้องมีสหภาพแรงงานมาเป็นปากเป็นเสียงให้พนักงานนั่นแหล่ะ

เพราะไม่อย่างนั้นก็จะเป็นว่ามือใครยาวสาวได้สาวเอา

KN

งั้นเรามาตะโกนด้วยกันซิคะ แบบในรูปนี้ หลายๆ เสียง ก็ดังเองค่ะ

ไปเยี่ยมท่านทูตลาวกันค่ะ ดีไหม ?

ผมหล่ะกลัวจะเหมือน ออท.

lost in translation

นอต

  • ถ้าไปพบท่านูตลาว คราวนี้คงต้องให้รายละเอียดการไปพบส่งไปอย่างละเอียดสุดๆ
  • เพื่อท่านจะได้เตรียมตัวให้พร้อม
  • และสงสัยต้องห้ามมีคำถามอื่น
  • ไม่เคยเห็นแบบนี้เลย

เสนอว่าควร

1.ทำ report จากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้ไปให้ท่านได้อ่านก่อน

ท่านจะได้พอทราบว่าเราไปที่ไหนมาบ้างเจออะไรมาบ้าง

2.รวบรวมคำถามให้เป็นหมวดหมู่

KN

ต้องส่งอาจารย์บุญมีไปทาบทามก่อนค่ะ

มีผู้ใหญ่ของคณะฯ ที่ทำงานมาสักระยะแล้วค่ะ คงต้องเตรียมตัว และความคิดมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท