หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

พี่ดูช่วยเติมหน่อย....ตรงไหนหาย


เคยบันทึกไว้ว่า ทึ่งที่พ.ร.พ.ซ่อนแนวคิด PDCA ไว้ในมาตรฐาน 4 ตอนของฉบับราชสมบัติ 60 ปี เลยอยากถอดบทเรียนการทำแผนคุณภาพของเราเปรียบเทียบดูบ้าง

เคยบันทึกสรุปไว้บ้างแล้วว่า ในมาตรฐาน HA ฉบับฉลองราชสมบัติ 60 ปี มี 4 ตอน จึงอยากลองเอาร่างแผนคุณภาพที่เพิ่งทำเสร็จไปหมาดๆ ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 นี้ลองมาทบทวนว่าขาดจุดใดไปบ้างไหม ก่อนนำเข้าสู่ steering team ซึ่งก็ต้องทวนเริ่มตั้งแต่ ตอนที่ 1 และตอนที่ 4 ก่อน จึงไปทวนที่ตอนที่ 2 และ 3

ตอนที่ 1 การวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้ มี 5 ประเด็น คือ plan

ตอนที่ 2 ระบบงานสำคัญของร.พ. มี 10 ระบบ คือ Do ของระดับระบบที่มีส่วนขยายของระบบสำคัญที่เป็นพันธกิจเฉพาะในฐานะหน่วยบริการของสุขภาพ คือ กระบวนการดูแลผู้ป่วยไว้ใน ตอนที่ 3

ตอนที่ 3 กระบวนการดูแลผู้ป่วย มี 6 ระบบย่อย คือ Do ในระดับ PCT และ ระดับหน่วยงาน

ตอนที่ 4 ผลการดำเนินงาน 7 ด้านสำคัญ คือ act ที่ plan ไว้ว่าอยากให้เกิด

  • ตอนที่ 1
  • เมื่อผอก. ให้นโยบายทั้งของร.พ. ของกระทรวงสาธารณสุข สิ่งที่เกี่ยวกับทีมงาน สิ่งที่กำลังทำต่อเนื่อง สิ่งที่ให้สำคัญ
  • ศูนย์คุณภาพได้ทำหน้าที่สรุปให้มองเห็นว่านโนยายที่ได้รับการบอกเล่านั้นอะไรบ้างอยู่ในผลงาน 7 ด้านตามประเด็นที่ปรากฎในตอนที่ 4
  • กระบวนการต่อมา ผอก.ให้ทีมทั้งหมดแสดงความคิดเห็นอภิปรายตามชอบ เป็นเวลาครึ่งวัน แล้วแต่ว่าใครมอง บริบทร.พ.มุมไหนบ้าง จนชื่นปากชื่นใจกันแล้ว ศูนย์คุณภาพก็ชวนให้ช่วยกันสรุปจนได้วิสัยทัศน์คำใหม่ไว้สำหรับทำงานคุณภาพใน 5 ปีข้างหน้า และได้เข็มมุ่งในปีนี้จากเรื่องหลักๆที่ผอก.ให้ความสำคัญและทีมให้ความเห็นร่วม เป็นอันว่าตอนที่ 4 ก็ได้มาครบแล้ว
  • เสร็จไปแล้ว 2 ตอน plan เรียบร้อยหมดแล้ว act หลักๆได้มาแล้ว แต่ยังเป็นนามธรรม ยังต้องขยายให้จับต้องได้
  • เป็นอันว่า เรื่องเป้าหมาย ทิศทางใน 1 ปี สำหรับระดับร.พ.เสร็จแล้วในวันแรก พร้อมสำหรับให้วางแผนกลยุทธ์แล้ว
  • การมุ่งเน้นผู้ป่วยและสิทธิผู้ป่วย การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล และการจัดการกระบวนการ ก็เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบคือทีมนำเฉพาะด้านช่วยคิดต่อผ่านระบบงานต่างๆ
  • ตอนที่ 2 ระบบงานที่สำคัญ เป็นหน้าที่ของทีมนำเฉพาะด้านที่ต้องบอกทิศทางนำระดับหน่วยงาน เพื่อให้เกิดผล 7 ด้านที่คาดไว้
  • เริ่มจากระบบความเสี่ยง ความปลอดภัย และคุณภาพ บอกเข็มมุ่งของ risk profile ก่อนว่า มี safety goal ด้านใดที่ ร.พ. ต้องการให้ช่วยทำให้เกิด ทิศทางที่นำไว้ บูรณาการบริบทของหน่วยงานภาครัฐไว้ครบทุกด้านแล้ว
  • ทีมนำที่เหลือกำหนดเข็มมุ่งทีมละ 3 เรื่อง พร้อมผลลัพธ์ที่คาดหวังและหน่วยงานที่คาดหวังให้ร่วมทำงานให้เกิดความสำเร็จที่คาดหวัง พร้อมตัวชี้วัด และจับโยงกลับไปให้รับรู้ว่า สิ่งที่มุ่งเน้น สอดคล้องกับเข็มมุ่งร.พ.เรื่องใดใน 5 เรื่อง
  • การทำแผนขับเคลื่อนร.พ. และ action plan ของทีมนำเองที่จะติดตามผลให้กับร.พ. Do ก็ได้มาแล้ว
  • Do ครบถ้วนไหม เออ! ก็ครบนะ HRD , ENV , IC , Epidemiology , HPH , IS , Lab , PTC , เครื่องมือ
  • คงเหลือแต่ทวนสอบว่าทุกระบบกำหนดเข็มมุ่งเชิงระบบที่สอดคล้องหนุนให้เข็มมุ่งระดับร.พ.เป็นไปได้ตามที่คาดไหม
  • เสร็จแล้วการวางแผนกลยุทธ์ระดับร.พ.
  • ตอนที่ 3 กระบวนการดูแลผู้ป่วย เป็นหน้าที่ของทีม PCT แล้วซิ PCT ก้กำหนดเข็มมุ่ง 3 เรื่อง เหมือนกัน มีอะไรบ้างหนอ แว่วๆส่วนใหญ่ก็เกี่ยวกับคนไข้ตามบริบทของตนเอง ก็ OK! นะ PCT ก็ต้องเรื่อง clinical risk ใน safety goal และเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงฯ ซินะ มีแล้ว หละจากที่ฟังจากสมาชิก PCT ที่มาจาก ward ที่ออกมาเล่าให้ฟัง
  • PDCA ระดับร.พ. ครบแล้วนี่ ตอนที่ 1 Plan ตอนที่ 2 และ 3 Do และ check ตอนที่ 4 Act
  • ในตอนที่ 1 ที่ว่า การมุ่งเน้นผู้ป่วย มีแล้วในเข็มมุ่ง safety goal การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล มีแล้วในแผนเข็มมุ่งของ HRD การจัดการกระบวนการ มีแล้วใน Action plan ของทีมนำด้านต่างๆ และของ PCT ดูเหมือนยังขาดการมุ่งเน้นสิทธิผู้ป่วย
  • อ้อ! ไม่ขาดมีแล้วจากแผนเข็มมุ่งที่นักสังคมสงเคราะห์ช่วยตั้งให้เกี่ยวกับระบบการดูแลผู้พิการตามนโยบายรัฐ และแผนของนักสังคมสงเคราะห์ในหน้าที่ของหน่วยสวัสดิการสังคม
  • กี่ PDCA ละนี่ ตอนที่ 1 เชื่อมถึงตอนที่ 4 1 PDCA ใหญ่ 1 เดียวของร.พ. ครบถ้วนตามที่ถูกคาดว่าจะมีแล้ว ตัวชี้ทางว่าจะวัดก็มีแล้ว ตัวจะบอกว่าบรรลุวิสัยทัศน์ 1 ปีมีหรือยัง มีแล้วซิก็ระดับความสำเร็จที่คาดไว้ไงเล่า
  • ต่อไปที่ต้องทวนดูก็เป็น PDCA ย่อยในวงใหญ่ ดูซะหน่อยว่ามีครบหรือยัง
  • ระดับระบบมี HPH , Epidemiology , สิทธิผู้ป่วย ที่มีครบและเรียบร้อยไม่ต้องเกลาแล้ว, ตัวชี้ไปวัด OK! แล้ว ENV , IC มีแล้วและระบบอื่นๆก็มีครบ PDCA แล้ว ที่ยังดูไม่ทันก็เรื่องตัวชี้ไปวัดว่าสอดคล้องที่จะทำให้ผลสำเร็จตามเข็มมุ่งร.พ.ได้ตามที่ท้าทายไว้ไหม ถ้าไม่ช่วยหนุนก็เกลากันหน่อย
  • ระดับ PCT ตัวอย่างจากระดับหน่วยงานก็เหมือนกัน ต้องไปดูเรื่องตัวชี้วัดว่าจะไปถึงเข็มมุ่งด้าน safety goal ได้แค่ไหน
  • เออ! ยังขาดระบบหนึ่ง safety goal บอกทิศทางนำ แต่ไม่กำหนดให้รู้เลยว่า ต้องการ success แต่ละด้านระดับไหนบ้าง plan มี ก็มุมมอง risk ด้านต่างๆมีครบที่ควรมีแล้ว ตัวชี้ไปวัดมีแล้วชัด ขาดแต่เป้าหมายจะเอาความสำเร็จแค่ไหน ใครจะกำหนดละนี่ ไม่เห็นมีการเสนอเข้ามาให้รู้เลย
  • งั้นต่อไปให้ทำต่ออย่างนี้ ถ้าข้อมูลที่รวบรวมมาพิมพ์ครบหมดแล้ว ถอดข้อมูลของทุกทีมนำมาใส่ดู อาจจะได้ร่างระดับความสำเร็จคร่าวๆ แล้วค่อยส่งให้ RMT ให้ความเห็นเพื่อกำหนดใหม่ ถ้าไม่กำหนด ระบบนี้ก็จะมีแค่ plan Do check แต่จะตอบไม่ได้ว่า act หรือไม่ในแต่ละมุม อิอิ ไม่เห็นจะยาก
  • เหลืออะไรอีก อ้อ! ยังเหลือของ RM นี่แหละ grading risk เพื่อแบ่งความรับผิดชอบในการบริหาร risk ว่าส่วนไหน Risk Man ติดตามกำกับเพื่อส่งต่อให้ RMT รับผิดชอบการบริหาร CQI และส่วนไหนให้ระดับ unit profile ทีมนำ และ PCT รับผิดชอบการ CQI

ยูเรก้า แจ๋วมาก ครบหมดทุกเรื่องแล้ว ง่ายขึ้นเยอะเลย ขอบคุณแผนผังของพ.ร.พ. หน้าแรกที่สรุปความเชื่อมโยงไว้ให้เข้าใจ

อ้าวแล้วกัน ลืม MSO NSO ไปได้ยังไงนี่ NSO มีไหม- มีแล้ว ขาดของ MSO อีกแล้ว ไม่เป็นไร ไม่ยาก ส่วนใหญ่ก็ว่ากันแบบลูกทุ่งกันอยู่แล้ว ไม่เขียนก็ได้ ปีนี้แผนเข็มมุ่งของ MSO เกี่ยวกับ IS และ Epidemiology อยู่แล้ว แล้ว IS และ Epidemiology ก็มีแผนแล้ว

20 กุมภาพันธ์ 2551

หมายเลขบันทึก: 166466เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2016 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท