หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ค้นหาได้แล้ว......เคล็ดลับการเลือกผักและการจัดการผักสดให้คงคุณภาพค่ะ


ขอสรุปและนำมาเล่าสู่กันฟังเท่าที่รวบรวมได้ในเรื่องเคล็ดลับการเลือกผักและการจัดการผักสดให้คงคุณภาพค่ะ

โจทย์เรื่อง ผักสดไม่สด ใช้อะไรเป็นเกณฑ์  ทำให้ฉันคิดถึงป๊ะป๋าอีกแล้ว   ความรู้เรื่องอาหารหลายเรื่องที่มี ฉันได้มาจากเลียนและเรียนจากป๊ะป๋าเอง  

 

เมื่อตอนเป็นเด็ก  งานบ้านที่ให้ทำ  อามะจะมอบหน้าที่ปรนนิบัติป๊ะป๋าเวลากินข้าว  เมื่อป๊ะป๋านั่งลงให้เตรียมจาน พร้อมคดข้าวให้  และนั่งกินเป็นเพื่อนคอยดูแลกับข้าว   เรื่องการไปซื้อกับข้าวป๊ะป๋านั้นแหละทำหน้าที่  ซื้อมาได้แล้วช่วยกันพ่อลูก   เตรียมของสดคาวไว้ปรุงต่อไป   นานๆเข้าเมื่อฉันทำได้คล่อง  ป๊ะป๋าเพียงจ้องและคอยบอกไว้  ทำอย่างนี้นะอย่างนั้นนะลูก   เรื่องปรุงเดี๋ยวป๋ามาปรุงให้เอง    ป๊ะป๋า คือ ต้นแบบสอนกินผัก  อีกทั้งสอนให้รักอย่างไม่มีเงื่อนไข  สอนว่าให้อะไรได้ก็ให้กันไป   เรื่องกินเรื่องใหญ่ปรุงให้อร่อยลิ้น

 

ถึงแม้ที่บ้านจะไม่เคยปลูกผัก แต่ด้วยว่างานป๋านั้นคลุกกับป่า   เวลาปิดเทอมแม่ก็จะพาฉันตามไปหา    ตอนเด็กฉันก็เลยได้ตามป๊ะป๋าเข้าป่า    ตอนนี้แหละหนาที่ฉันรู้จักผักป่า  ผักบ้าน   รู้ว่าผักป่ามันซ่อนอยู่ตรงไหน  และปลูกผักบ้านนั้นง่ายอย่างไร   แต่มันก็เป็นพวกผักป่าผักปลูก จะเก็บกินลูกกินใบอย่างไร แค่เลือกว่ามันแก่มันอ่อนก็พอ   จะใช้ประสบการณ์มาเลือกซื้อผักขายว่ามันสดหรือไม่อย่างไร   มันเลยจนใจโจทย์ที่รับมา   ถามไถ่จากใครก็ไม่มีผู้ชำนาญ   เคยลองค้นเน็ตเพื่อหาคำตอบ  ใช้คำ  ผักสด นั้นหาไม่ได้     จึงลองดูใหม่ค้นใหม่อีกครั้ง  คราวนี้ใช้คำ  ผักเหี่ยวเฉา หา  น่าแปลกจริงเชียวข้อมูลกลับได้มากกว่า   เออ! เออ!  แปลกไหม ทำไมใช้คำในมุมด้านลบ  กลับมีเชื่อมโยงเอาไว้มากกว่า   อย่างนี้นี่เล่าโลกนี้จึงขาดสุข   เพราะสังคมชอบสอนคนส่วนใหญ่ให้มองมุมลบจนชินชาแล้วนี่เอง  

มาๆๆ  มาช่วยกันสร้างสังคมที่ชอบมองมุมบวก ( Positive thinking) กันดีกว่า  เพื่อให้เกิดความสุขได้ง่ายๆทุกๆวัน  ดีไหมเล่า 

นี่คือเคล็ดลับที่ไปรวบรวมมาได้ค่ะ   ขอเอามาฝากเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันค่ะ

     

ทุกวันนี้ผักที่เรารับประทานกันมีอยู่หลายประเภทมีทั้งใบ, ดอก, ต้น, ผล, เมล็ด, หัวผัก แต่หากจะแบ่ง ประเภทของผักแล้ว  ให้แบ่งเป็น  3 ประเภท อย่างนี้
1. ผักเหี่ยวเฉาง่าย (Perishable Vegetable) ได้แก่ ผักบุ้ง, ผักชี, ชะอม และผักสลัดทั้งหลาย 
 

 

 vegetable

การเลือกซื้อผัก :  ควรจะซื้อตามฤดูกาล เพราะจะได้ผักที่มีคุณค่าอาหารสูง และราคาถูกด้วย

การล้างและเก็บรักษา  :  ผักที่ปลูกมาจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่มาก ถ้าไม่ล้างก่อนที่จะเก็บในตู้เย็นจะทำให้เน่าเร็วกว่ากำหนด  จึงจำเป็นต้องล้างก่อนนำเข้าตู้เย็นทุกครั้ง  

การเก็บรักษา   ไม่ควรเก็บไว้ในถุงพลาสติก ผักก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องหายใจ ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือผ้าเปียกห่อแล้ว ค่อยนำเข้าไปแช่ในตู้เย็น   ถ้าเก็บนอกตู้เย็น เก็บในถุงพลาสติกพรมน้ำทิ้งไว้พร้อมกับเก็บอากาศในถุงไว้บางส่วน  หรือใส่น้ำห่อหุ้มรากไว้สูงไม่เกิน 1 นิ้วด้วยถุงพลาสติก เก็บได้ประมาณ 3 วันตามภาพ

vegetable

2. ผักเหี่ยวเฉาปานกลาง (Semi Perishable Vagetable) ได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ
vegetable

vegatable

 วิธีการเลือกซื้อ   ก็เหมือนกับผักทั่วๆ ไป 

การล้างและเก็บรักษา :  ผักจำพวกนี้จะมีเปลือกต้องล้างให้สะอาดและเก็บในตู้เย็น จะห่อกับหนังสือ พิมพ์ที่มีน้ำหมาดๆ ก็ได้ หรือใส่ตลับเข้าตู้เย็นก็ได้  

ผักจำพวกนี้มีผิวหนังของตัวมันเองซึ่งมันจะป้องกันความชื้น ออกมา แต่มันยังมีรูขุมขนเพราะมันต้องหายใจ  สามารถเก็บโดยไม่ต้องห่อก็ได้ แต่อย่าเก็บกับพลาสติก หรือจะใส่ตู้เย็นทั้งหัวเลยก็ได้ เช่น แตงกวา 

 

ผักที่ไม่มีอากาศหายใจ หนังก็จะเน่าจากข้างในออกมาข้างนอก แต่ถ้าได้หายใจ ตู้เย็นก็จะดูดความชื้น ออกมาหมด แล้วก็จะเหี่ยว 

 


3. ผักอยู่ทน (Staple Vegetable) ได้แก่ หัวหอม, กระเทียม, มันเทศ, ฟักทอง

ผักประเภทนี้จะมีเปลือก และปลูกใต้ดิน บางสิ่งมีผิวที่หนามากถึงอยู่ได้นาน แต่อย่างไรก็ตามมันก็จะแห้งไปเรื่อยๆ เพราะอากาศบ้านเรา ค่อนข้างร้อน        

วิธีการเลือกซื้อ    ควรหลีกเลี่ยงพวกเชื้อรา
วิธีการเก็บรักษา ผักจำพวกนี้สามารถเก็บไว้นอกตู้เย็นได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงพวกเชื้อรา

ส่วนวิธีดูคุณภาพอาหารสดมีเคล็ดว่า

อาหารสดไม่สด คุณภาพดีไม่ดี  ให้พิจารณารูป สี  กลิ่น รส

 

ผลไม้ที่คุณภาพไม่ดีจะมีเนื้อนิ่ม  ผิวมีจุด หรือรอยตำหนิ  สีไม่สด  มีเศษดินคราบสกปรก  มีรอยคราบสีขาวของวัตถุปนเปื้อนผิว

ผักที่ไม่สด จะมีเนื้อนิ่ม   เหี่ยว เฉา   มีกลิ่น  มีเศษดินใบเน่า คราบสกปรก 

ผักที่คุณภาพไม่ดี  จะมีสีซีด  มีรอยช้ำ มีรอยกระทบกระแทก  รวมทั้งผักเหล่านี้  ผักหัวที่ไม่มีส่วนหุ้มใบกันกระทบกระแทกระหว่างการขนส่ง   ผักที่วางตากแดด   ผักที่มีรอยคราบสีขาวของวัตถุปนเปื้อน  โคนต้นเน่า  รากเน่า  

เนื้อสัตว์ที่ด้อยคุณภาพ จะมีเนื้อนุ่ม ยุ่ย  มีน้ำเยิ้ม  มีสีคล้ำ  เนื้อที่วางตากลมจนสีซีด

 

ที่มา

http://www.pantown.com/board.php?id=24661&area=3&name=board6&topic=25&action=view

http://www.swu.ac.th/royal/book5/b5c4t1.html

http://www.nurse.cmu.ac.th/hf/nutrition1/vetnfruit.htm

และอีกหลาย website  ที่เก็บเกี่ยวทำความเข้าใจและนำมาสรุปไว้

 

ไชโย ทำการบ้านส่งเจ้านายเสร็จแล้ว น่าจะใช้ได้เนอะ

 

  • พืชผักที่เก็บเกี่ยวจะมีความร้อนสะสมอยู่ เนื่องจากบรรยากาศและความร้อนที่พืชผักคายออกมา การที่แหล่งผลิตพืชผักอยู่ห่างไกลจากตลาดขายส่ง ทำให้พืชผักผ่านการขนส่งหลายทอด รวมทั้งพืชผักกระทบกับความร้อนจากแสงแดด  จำเป็นต้องลดความร้อนโดยเร็ว ด้วยน้ำเย็นอุณหภูมิ 1-3 องศาเซลเซียส ปะพรมหรือ แช่นาน 15-20 นาที  หรือใช้ลมเย็นเป่า จะช่วยคงคุณภาพของผักไว้ได้ระดับหนึ่ง
  •  

     

     

     

     

    หมายเหตุ

    หมายเลขบันทึก: 181651เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (3)

    สวัสดีค่ะหมอเจ๊

    อิอิ เก่งอย่างนี้นี่เอง สงสัยต้องเป็นมือหนึ่งทำอาหารใต้ชัวร์ คริ ๆ จะรอชิมนะคะ  คิดถึงเสมอนะค่ะ แล้วพบกันที่สวนป่าจ้า

    • ดีใจที่ได้เจอกันอีกค่ะ.....
    • เอากะปิเจไปด้วยซิค่ะ.....จะลองผัดผักใส่กะปิให้ชิมค่ะ
    • เมนูนี้คิดได้เมื่อตอนเที่ยงวันนี้เองค่ะ

    มาเข้าเรียน ฝึกความละเอียดรอบครอบ ครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท