หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ไตวายก็ออกกำลังกายได้นะ....มาซิๆ.....ขอชวนมาดูที่นี่


เริ่มต้นด้วยการสอนเรื่องเดิน ใช่แล้วไม่ต้องแปลกใจเลยนะ หนูสอนให้คนไข้เดินนับก้าวก่อน นับก้าวแล้วสังเกตดูว่าเดินกี่ก้าวจึงเหนื่อย แล้วให้คนไข้จำเอาไว้ และให้นำจำนวนก้าวนั้นมาใช้เดินต่อทุกๆวัน แล้วจดความรู้สึกเหนื่อยเอาไว้ ทำไปเดินไปเรื่อยๆ เมื่อไรที่เดินได้ก้าวตามนั้นแล้วไม่เหนื่อย ก็จะบอกให้คนไข้เพิ่มความแรงของการเดินให้เพิ่มขึ้น ในวันที่คนไข้มาฟอกไต หนูก็เพิ่มกิจกรรมให้เขาได้ทำร่วมกัน โดยเมื่อทุกคนขึ้นเตียงฟอกแล้ว ให้ทุกคนยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนเริ่มฟอกไต 15-20 นาที เมื่อฟอกไตให้เสร็จแล้ว ก่อนกลับหนูก็ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ก็หวังผลว่าค่าน้ำตาล และไขมันของคนไข้จะลดลง แต่ปรากฏว่าไม่ได้ผล สิ่งที่ได้ผลกลับเป็นคนไข้บอกว่าสบายตัวขึ้น ข้อต่อทำงานดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น

แต่เดิมหนูไม่รู้จักการออกกำลังกาย  เมื่อร.พ.มีนโยบายให้สนับสนุนการออกกำลังกายในปี 44 ก็เริ่มศึกษาเรียนรู้แล้วลองทำ เริ่มทำด้วยการหนุนให้คนไข้ที่มาที่หน่วยไตเทียมของหนูเต้นแอโรบิก 20 นาทีก่อนให้เข้าเครื่องฟอก  ตอนนั้นคนไข้ที่ให้เข้ามาล้างไตที่หน่วยของหนูมีหลายคนที่มีอายุราวๆ 40 ปีเศษ  นอกจากกิจกรรมแอโรบิกแล้ว ก็มีการนำไม้พลองมาสลับใช้ด้วย

กิจกรรมดำเนินมาได้เรื่อยๆจนกระทั่งปี 50 มีร.พ.เพิ่มเตียงของหน่วยไตเทียม  สถานที่แคบลง ไม่สะดวกที่จะจัดกิจกรรมที่หน่วย ทีนี้ก็เลยเปลี่ยนไปใช้วิธีทำให้คนไข้เข้าใจประโยชน์ของการเดินออกกำลังกาย กลับบ้านแล้วให้ไปทำที่บ้าน จดสิ่งที่ลงมือทำว่า ทำอย่างไร  ทำนานกี่นาที  ตั้งแต่วันจันทร์-พฤหัส  เรื่องที่จดก็นำมาคุยแลกเปลี่ยนกันเมื่อมาฟอกไตวันจันทร์ 


ต่อมาก็ปรับกิจกรรมอีก เพราะว่าคนรุ่นเก่าที่มาฟอกไตอยู่นั้น คนหนุ่มไปผ่าตัดเปลี่ยนไตกันหมด กลุ่มที่ยังมาฟอกไตก็มีอายุมากกว่าขึ้นแล้ว คนใหม่ที่เข้ามาฟอกที่มีอายุน้อยๆแทบไม่มีแล้ว  กิจกรรมที่ปรับไปหลังจากที่มีเตียงเพิ่มขึ้น ก็ได้แกนนำจากกลุ่มเดิม 3 คน ช่วยนำกิจกรรมทำกันเองไป 

กิจกรรมที่นำมาให้คนไข้เรียนรู้ก็ปรับมาเรื่อยๆนะ  เริ่มต้นด้วยการสอนเรื่องเดิน  ใช่แล้วไม่ต้องแปลกใจเลยนะ หนูสอนให้คนไข้เดินนับก้าวก่อน นับก้าวแล้วสังเกตดูว่าเดินกี่ก้าวจึงเหนื่อย แล้วให้คนไข้จำเอาไว้ และให้นำจำนวนก้าวนั้นมาใช้เดินต่อทุกๆวัน แล้วจดความรู้สึกเหนื่อยเอาไว้  ทำไปเดินไปเรื่อยๆ    เมื่อไรที่เดินได้ก้าวตามนั้นแล้วไม่เหนื่อย ก็จะบอกให้คนไข้เพิ่มความแรงของการเดินให้เพิ่มขึ้น

ในวันที่คนไข้มาฟอกไต หนูก็เพิ่มกิจกรรมให้เขาได้ทำร่วมกัน โดยเมื่อทุกคนขึ้นเตียงฟอกแล้ว ให้ทุกคนยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนเริ่มฟอกไต 15-20 นาที  เมื่อฟอกไตให้เสร็จแล้ว ก่อนกลับหนูก็ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ


ช่วงแรกที่เริ่มกิจกรรมเหล่านี้ หนูก็เป็นคนลงมือนำเองก่อน จนกระทั่งคนไข้ทำได้เอง แกนนำ 3 คนเขาก็เข้ามาช่วย หนูแค่จัดหาวิดิโอมาเปิดให้คนไข้เขาได้ดูไปด้วยทำไปด้วย

หนูติดตามประเมินผลอยู่ทุก 6 เดือน ทำอยู่นาน 4 ปี  ตอนที่นำกิจกรรมนี้เข้ามาในหน่วย  ก็หวังผลว่าค่าน้ำตาล และไขมันของคนไข้จะลดลง แต่ปรากฏว่าไม่ได้ผล สิ่งที่ได้ผลกลับเป็นคนไข้บอกว่าสบายตัวขึ้น ข้อต่อทำงานดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น  คนไข้ที่ร่วมกิจกรรมต่างก็ชอบที่้มีกิจกรรมนี้ให้ได้ทำ

ลองตามวัดผลการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ พบว่าดัชนีมวลกายของคนไข้ที่เข้าร่วม 12 คน ไม่เปลี่ยน แต่รอบเอวลดลง 3 คน ส่วนในญาติ 7 คนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมมีดัชนีมวลกายลดลง 1 คน และรอบเอวลดลง 2 คน

เรื่องเล่าโดย

ศิริลักษณ์ เกบุตร

พยาบาลวิชาชีพ หน่วยล้างไต ร.พ.กระบี่ อ.เมือง จ.กระบี่

หมายเลขบันทึก: 266364เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2009 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท