หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ทำอย่างไรให้จูงใจให้ออกกำลังกายและทำได้ยั่งยืน


วางเป้าทีละขั้น ระยะสั้นๆและในระดับที่คนไข้รู้ว่าตัวเองทำได้ มีแบบบันทึกการติดตามให้คนไข้ใช้ร่วมกับผู้ดูแลด้วย เพื่อให้เป็นจริงได้ ไม่เน้นสมบูรณ์แบบ แต่วัดได้ เช่น วันละ 5 นาที ทุกวัน

คุณหมอกฤชเธอย้ำว่าการเริ่มให้ออกกำลังกาย ควรใช้เป้าหมายที่คนไข้เป็นคนวางแผน ไม่ใช่เป้าหมายที่หมอ-พยาบาลสั่งไปเหมือนสั่งยาให้กิน การตั้งเป้าหมายเป็นการเริ่มไปทีละขั้นตามที่คนไข้คาดว่าจะทำได้ง่าย เพิ่มไปๆเรื่อยตามที่คนไข้รู้ว่าตัวเองทำได้ นั่นแหละ จึงสามารถทำให้เกิดความสำเร็จในการจูงใจให้คนไข้ออกกำลังกายด้วยตัวเองและยั่งยืน

วางเป้าทีละขั้น ระยะสั้นๆและในระดับที่คนไข้รู้ว่าตัวเองทำได้  มีแบบบันทึกการติดตามให้คนไข้ใช้ร่วมกับผู้ดูแลด้วย เพื่อให้เป็นจริงได้ ไม่เน้นสมบูรณ์แบบ แต่วัดได้ เช่น วันละ 5 นาที  ทุกวัน , ลดน้ำหนักให้ได้ 5 กก.ใน 1 เดือน เป็นต้น

มีคำถามเรื่องการออกกำลังกายและการลดน้ำหนักสำหรับคนอ้วน ไม่มีคำตอบจากเธอหรอกนะค่ะ มีแต่คำแนะนำว่าการออกกำลังกายสำหรับคนอ้วน ควรใช้ความแรงระดับเบาถึงปานกลางแล้วแต่ความคุ้นชินและให้ใช้เวลาที่เนิ่นนานอย่างน้อย 30 นาที-1 ชั่วโมง น้ำหนักจึงจะเปลี่ยนแปลงได้


ในส่วนของการลดสัดส่วนของร่างกายที่มีขนาดใหญ่ คุณหมอกฤชให้ข้อคิดว่า ให้ดูซะก่อนว่ามันใหญ่เพราะกล้ามเนื้อหรือไขมัน ส่วนใหญ่จะใหญ่เพราะไขมันซะมากกว่า หากต้องการให้กล้ามเนื้อโตด้วยก็ให้ใช้แรงระดับหนักเร็วๆ  ถ้าต้องการให้กล้ามเนื้อไม่โตใหญ่เป็นมัดๆ ก็ให้ใช้แรงระดับหนักช้าๆ  ฟังแล้วแวบขึ้นมาเลยว่า อ้อ! การทำเร็วทำช้ามีเรื่องเกี่ยวไปถึงจุดประสงค์ที่ตั้งเป้าเอาไว้ในเรื่องขนาดกล้ามเนื้อด้วยนะ

สำหรับการเดินบนกะลาเธอแนะนำว่าไม่ใช่รูปแบบการออกกำลังกายที่เพียงพอสำหรับคนไข้ เบาหวานหรอก ไม่สามารถอธิบายในเรื่องของระดับของการออกกำลังกายได้ แล้วยังมีข้อที่พึงระวังกับการเกิดแผลที่เท้าจากเหลี่ยมคมของกะลาด้วย

เธอกล่าวถึง โยคะ โนราบิก ไม้พลองป้าบุญมี ว่าเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่นของร่างกาย ความแรงของการออกกำลังกายไม่ถึงระดับเพิ่มแรงต้านและแอโรบิก


แต่ละรอบของห้องออกกำลังกายนี้ มีผู้คนเข้ามาร่วมเรียนรู้อย่างน้อย 200 คน มีเวลาให้วิทยากรทำงานเป็นเวลา 80 นาที จึงจำเป็นต้องช่วยกันบริหารเวลาให้ตรงเพื่อไม่ให้เกินเวลา ของวันนี้ ห้องนี้จึงได้ให้บริการแลกเปลี่ยนความรู้ได้แค่ 2 รอบ

คุณหมอกฤชเธอเตรียมสไลด์มาให้มากมายแต่ไม่ได้ใช้สไลด์ทั้งหมดหรอกนะค่ะ การใช้วิธีส่งคำถามการปฏิบัติแล้วแทรกการปฏิิบัติไว้ให้หลังพูดจบ ทำให้เราใช้ช่วงกลางๆของเวลาที่มีให้ใช้ในการฝึกปฏิบัติ เสร็จกิจกรรมแล้วทุกๆคนจะนั่งลง เสียดายที่กล้องของฉันใช้ไม่ได้ จึงไม่ได้เก็บภาพการฝึกปฏิบััติในห้องมาให้ได้ชมร่วมกัน

เมื่อเวลาที่ให้ใช้จะหมดลง มีการตกลงในทีมงานไว้ว่า ขอให้ทุกคนช่วยทำ AAR  ก่อนออกจากแต่ละห้อง แต่ด้วยเวลาที่ต้องจัดการให้ลงตัว การทำ AAR ของห้องออกกำลังกายและอาหารสี่ภาคจึงถูกรวบเข้าด้วยกัน แล้วก็มีคนเข้าใจผิดไม่ได้ AAR รวมทั้งสองห้องให้ มีก็แต่ห้องออกกำลังกายเท่านั้นที่ได้ AAR ส่งมาให้

ฉันสังเกตว่าทุกคนที่มาเข้าในห้องนี้ ล้วนแต่สนใจใคร่เรียนรู้ ฉันเชื่อว่าข้อคำถามที่รวบรวมมาในตอนต้นชั่วโมงถึงแม้จะไม่ได้ถูกนำมาถามทีละข้อตรงๆ สิ่งที่ได้ชวนคุณหมอกฤชแลกเปลี่ยนก็ให้คำตอบแก่เจ้าของอย่างกระจ่างใจ

ทีมงานเราแบ่งเวลา้ 5 นาทีก่อนหมดเวลาของแต่ละรอบ ให้กลุ่มที่เข้ามาทำกิจกรรมในห้องตอบ AAR ให้ก่อนเปลี่ยนห้องเรียนรู้  

3 สิงหาคม 2552

หมายเลขบันทึก: 288112เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท