หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เคล็ดลับในสมุดบันทึกเล่มน้อยในงานมหกรรมเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง


สำหรับผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงอย่างเดียว การออกกำลังแบบแอโรบิกระดับปานกลางต่อเนื่องหรือเป็นระยะสั้น ๆ 10 นาทีสะสม อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5-7 วันต่อสัปดาห์ ก็สามารถช่วยลดความดันได้ดี

ขอนำเอาข้อความสั้นๆที่นายแพทย์กฤช ลี่ทองอินทร์ วิทยากรห้องออกกำลังกายได้ให้เคล็ดลับสั้นๆไว้มาบอกเล่ากัน เคล็ดนี้ได้บรรจุไว้ในสมุดบันทึกเล่มน้อยที่ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมทุกท่านได้รับไป

การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน  ภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน และโรคมะเร็งบางอย่างเท่านั้น   หากแต่ยังมีฤทธิ์เสมือนยาช่วยรักษาโรคเรื้อรังให้ทุเลาหรือดีขึ้นด้วย  


การออกกำลังที่แนะนำสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูง มีดังนี้

1. การออกกำลังแบบแอโรบิก ปริมาณและความแรงของการออกกำลังขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ต้องการ ที่สำคัญคือ การควบคุมน้ำตาลร่วมกับการคงน้ำหนัก และลดเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด แนะนำห้ออกกำลังแบบแอโรบิกระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และหรือออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับรุนแรงอย่างน้อย 90 นาทีต่อสัปดาห์  โดยแบ่งการออกกำลังเป็นอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ไม่ควรเว้นเกินกว่า 2 วัน   ถ้าออกกำลังแบบแอโรบิกระดับปานกลางถึงรุนแรงและหรือออกกำลังฝึกแรงต้านร่วมด้วย มากกว่าหรือเท่ากับ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ยิ่งลดความเสี่ยงต่อโรค หัวใจและหลอดเลือดมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงอย่างเดียว การออกกำลังแบบแอโรบิกระดับปานกลางต่อเนื่องหรือเป็นระยะสั้น ๆ 10 นาทีสะสม อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5-7 วันต่อสัปดาห์ ก็สามารถช่วยลดความดันได้ดี


2. การออกกำลังฝึกแรงต้าน  หากไม่มีข้อห้าม ผู้เป็นเบาหวานควรออกกำลังฝึกแรงต้านของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 3 วันต่อสัปดาห์ เริ่มจาก1ชุดและพัฒนาไปสู่ 3 ชุด ด้วยน้ำหนักที่สามารถยกได้ไม่เกิน 8-10 ครั้งต่อชุด ควรฝึกวิธีและท่าทางให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ   ส่วนผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง การออกกำลังฝึกแรงต้านเป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น


การจัดหรือให้คำแนะนำออกกำลังนั้นต้องคำนึงถึง ความแรง ความถี่ ระยะเวลา และประ เภทของการออกกำลัง อย่างไรก็ตาม การที่จะแนะนำหรือส่งเสริมให้บุคคลออกกำลังยังต้องคำนึง ถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความสนใจ สมรรถภาพและสุขภาพของแต่ละบุคคลด้วย   ดังนั้นกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างนิสัยการออกกำลังที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเช่นกัน   เนื่องจากผู้ที่เป็นเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงอาจมีภาวะซ่อนเร้นหรือแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดซึ่งอาจเกิดอันตรายจากการออกกำลังได้   การประเมินความเสี่ยงต่อการออกกำลังของผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

3 สิงหาคม 2552

หมายเลขบันทึก: 288132เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ไม่เจอกันนาน...สวัสดีค่ะคุณหมอ
  • องค์ความรู้มีครบถ้วนแล้ว...แต่ความยากคือเราจะทำอย่างไรกับคนไข้เบาหวาน ความดัน ที่ไม่ยอมขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกันดีละคะ
  • ที่ยากอีกอย่างคือ จะทำอย่างไรให้คนไข้เบาหวานควบคุมการรับประทานตามใจปาก  (เพราะเดี๋ยวคุณหมอก็จ่ายยาเพิ่มให้แหละน่า...)
  • เป็นโจทย์ใหญ่ให้เราคิดอยู่ทุกวันค่ะ
  • รพ.กระบี่ทำอย่างไรคะ
  • คุณ nui ค่ะ
  • .........
  • คนไข้เบาหวาน
  • เขามีเรื่องซับซ้อน
  • อยู่หลายเรื่อง
  • กว่าการให้ความรู้
  • จะแตะปมต้นเหตุได้
  • ต้องใช้ใจมากเลยค่ะ
  • .........
  • ร.พ.กระบี่ยังทำอะไรไม่ได้มาก
  • สำหรับคนที่เป็นโรคแล้ว
  • ........
  • ที่เราทำลงไปแล้ว
  • จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่น้ำหนัก/พุงเกิน
  • ........
  • ทำไปๆต่อเนื่องกัน
  • ได้ผลให้ชื่นใจ
  • ปีนี้เองค่ะ
  • ........
  • ไม่น่าเชื่อก็ต้องให้เชื่อ
  • เราชูธงโภชนาการ
  • นี่แหละเป็นหลักค่ะ
  • แล้วใช้เทคนิค KM ผสมผสาน
  • ........
  • คนที่มาเรียนรู้เขาว่าง่ายดี
  • ........
  • ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนค่ัะ

เรียนคุณหมอเจ๊ บันทึกที่คุณหมอเขียนเกี่ยวกับ KM เบาหวาน-ความดันโลหิตสูงทั้งหมด รบกวนคุณหมอใส่คำหลักเป็น KM DMHT ด้วยนะคะ จะได้อยู่กลุ่มเดียวกันกับที่คนอื่นๆ เขียนไว้

คุณหมอเขียนบันทึกได้ละเอียดดีนะคะ ขอบคุณมากๆ

  • อาจารย์ วัลลา ตันตโยทัย ค่ะ
  • ......
  • เมื่อคืนเพิ่งนึกได้
  • ตามใส่แต่ยังไม่หมด
  • ขออภัยที่ลืมใส่ tag ในบันทึกนี้ไป
  • tag แล้วนะคะ
  • ......
  • อาสาเขียนเล่าในส่วนที่
  • สัมผัสบรรยากาศด้วยตัวเองค่ะ
  • ......
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมารับความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน
  • คุณแม่ป่วยอยู่ค่ะ
  • ตอนนี้ตนเอง ไปตรวจพบเนื้องอก
  • สารพัดความรู้สึกค่ะ
  • กลัว เพราะไม่เคยมีลูกด้วยหนึ่ง สองกลัวการผ่าตัดมาก
  • พยายามทำใจให้ยอมรับในสิ่งทีเกิดค่ะ
  • แต่ก็ยังทุกข์ค่ะ
  • เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตค่ะ
  • ความเหนื่อยล้าทำให้
  • พลังใจถดถอยนะคะ
  • พักใจให้มากๆ.....ด้วยการทำตัวง่ายๆ.....ไม่ฝืนใจค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท