เพราะพี่น้องชาวนาทำนาโดยใช้ปุ๋ยเคมี แต่สุดท้ายยังต้องซื้อข้าวกิน โคกเพชรจึงต้องจัดการประชุมเสวนา ว่าด้วยเรื่องการเกษตรพอเพียงแบบอิงธรรมชาติ


   

E7 

เพราะพี่น้องชาวนาส่วนใหญ่ยังขนทั้งปุ๋ยเคมีและข้าวสารออกจากเมือง

ซึ่งเป็นภาพที่ค้านกันอย่างรุนแรง

ระหว่างความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน

กับ

การมีข้าวไม่พอกินตลอดปีของชาวนา

ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาทั้งมวลของสังคม

ทั้งจุลภาคและมหภาค

และเป็นปัญหาวกวนในลักษณะของงูกินหาง

ระหว่างความยากจนกับการศึกษา

"เพราะโง่ จึงต้องจน เพราะจน จึงต้องโง่"

"โรงเรียนจัดการศึกษาอยู่บนความยากจน ก็ด้วยความยากจนจึงเป็นเหตุแห่งความด้อยคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียน"

วนเวียนเป็นกงกรรมกงเกวียนกันอยู่อย่างนี้มาไม่รู้กี่ชั่วอายุคน

ก่อนนี้ก็ยังพอทำเนา

ราคาข้าวสารกิโลกรัมละ 10 กว่าบาท

ยังไงๆ พี่น้องก็ยังพอถูๆไถๆอยู่กันไปได้ตามมีตามเกิด

ไม่มีจริงๆ ก็ยังขอกันกินได้บ้าง ไม่ถึงกับจะต้องอดตายวายชีวีเหมือนอย่างในต่างประเทศ

E5

แต่ต่อนี้ไป

ท่ามกลางสภาววิกฤติทั้งทางด้านพลังงานและอาหารของผู้คนทั่วโลก

ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย

ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำมาแต่โบราณกาล

จวบจนปัจจุบันสมัย ก็ยิ่งใหญ่ในฐานะ"ครัวของโลก" ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุด

พี่น้องชาวนาชาวไร่ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่และฐานล่างสุดของสังคม

จะอยู่กันได้เป็นปกติสุขอยู่หรอกหรือ?

ก็ในเมื่อสมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่ายมันต่างกันลิบลับ

รายได้ของลูกเต้าที่ไปรับจ้างที่กรุงเทพฯและเมืองอุตสาหกรรมอื่นๆยังอยู่เท่าเดิม

หรือน้อยลงด้วยซ้ำหากเทียบเคียงกับภาวะเงินเฟ้อ

แต่ต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้นในทุกเรื่อง แพงขึ้นในทุกอย่าง

เพราะทุกอย่างมีต้นทุนแรกเหมือนๆกันคือ

"ค่าน้ำมันและพลังงาน"ในการผลิตและขนส่งทั้งสิ้น

********************

และหากจะพูดถึงรายได้หลักในความเป็นชาวนาก่อนหน้านี้

พี่น้องก็ทำนาด้วยต้นทุนที่แพงมหาศาลอยู่แล้ว

นอกจากยาฆ่าหญ้ายาคุมหญ้า ปุ๋ยเคมี นำมัน ฯลฯ อันเป็นปัจจัยหลักจะแพงแล้ว

"กำลังงาน" หรือ "แรงงาน" ก็ยิ่งแพงรูดมหาราช

แถมเล่นตัวอีกต่างหาก

เจ้าของนาต้องเอาใจและสนองคุณด้วยน้ำอัดลม

เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เหล้าเบียร์ หมากพลูบุหรี่

รวมทั้งข้าวปลาอาหารชั้นดีอีกต่างหาก

นั่นหมายความว่าพี่น้องเราทำนาแล้วขาดทุนแน่ๆ

E8 

ในขณะที่ผลผลิตกลับต่ำลงๆอย่างเห็นได้ชัด

อันเป็นผลมาจากการ "ทำนาซิ่ง"

ทำแบบทิ้งๆ  ทำแบบขว้างๆ ทำแบบห่างๆเหินๆ

E10  

เพราะมีภารกิจต้องรีบเดินทางเข้าเมืองหาเงินซื้อข้าวกิน

ทำให้ผลลัพท์ที่ได้  กลับกลายไปเป็นอีกเรื่อง

E4

ปรากฏการณ์ "ข้าวยืนแห้งตายทั้งกลม"

"ข้าวนอนจมรวงเรียว(เหี่ยวๆแฟบๆ)ใต้ผืนน้ำ"

และ

"นาสวยไร้ข้าวงาม  เพราะ(ชาวนา)รอน้ำฝน  จน(ข้าว)หมดแรง"

(ทั้งๆที่โดยธรรมชาติของข้าวแล้วไม่จำเป็นต้องรอ

เพราะข้าวมีความเข้มแข็งและทรหดในตัวอยู่พอควรแล้ว  ไม่งั้นพระเจ้าคงไม่สร้างมาไว้ให้เป็นอาหารของมนุษย์หรอก)

E3

ภาพสะท้อนดังกล่าวเหล่านี้  นับวันยิ่งหนาตาขึ้นทุกปีๆ

ทั้งๆที่ผลลัพท์เหล่านี้

มิได้มีสาเหตุมาจากความแปรปรวนของธรรมชาติแต่ประการใด

เพราะธรรมชาติของลมฟ้าอากาศและน้ำฝนในบริเวณประเทศไทย

เขาก็น่าจะเป็นของเขาอย่างนี้มานานนับชั่วอายุโลกแล้วล่ะ

"อยากตกก็ตก ไม่อยากตกก็ไม่ตก หรืออยากตกเบาก็ตก  อยากตกหนักก็ตก

หรืออยากทิ้งช่วงนานแค่ไหน ก็ไม่มีใครห้ามหรือไปต่อว่าได้"

แต่ทุกอย่างธรรมชาติได้ชดเชยเอาไว้ให้แล้วในตัว

....ดังนั้น....

โคกเพชรจึงต้องจัดการประชุมเสวนา

ว่าด้วยเรื่องการเกษตรพอเพียงแบบอิงธรรมชาติ

ต่อเนื่องจากประชุมเสวนาระดมพลังของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

ทั้งนี้  เพื่อให้เป็นก้าวแรกของการพัฒนาชุมชนสู่ความเข้มแข็ง

ด้วยการร่วมคิดร่วมทำให้ชุมชนระดับตำบลเป็น "สังคมแห่งการเรียนรู้"

อันหมายรวมถึง "การเรียนรู้ที่จะทำกินแบบใส่ใจดูแลและเกื้อกูลธรรมชาติ"

ในรูปแบบการทำนาอินทรีย์แบบพอเพียงอิงธรรมชาตินี้ด้วย

Thailand 

....ทั้งนี้....

โดยใช้แนวความคิด  "ยุทธศาสตร์ อบต.จุดเปลี่ยนประเทศไทย" ของท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี

ปราชญ์เมธีร่วมสมัยผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเลิศของแผ่นดินไทย  เป็นแกนหลักในการเสวนา

ซึ่งโคกเพชรคาดหวังว่า

ยุทธศาสตร์ในแนว "กัลยาณวิธี" ดังกล่าวนี้

จะเป็นแนวการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวสู่ความเจริญวัฒนาถาวรแบบพอเพียงอย่างยั่งยืนได้จริง

หากผู้คนในชุมชน "ตระหนักในหน้าที่โดยธรรมชาติ" ตามแนวคิดนี้ร่วมกัน

ดังนั้น  เราจึงได้พยายามหาโอกาสมาคุยกัน

คราวนี้ใช้โอกาสเนื่องในกิจกรรม

" 11 พฤษภา วันการศึกษาพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนบ้านโคกเพชร ครั้งที่ 3"

ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2551 ที่จะถึงนี้

ซึ่งทั้งหลายทั้งหมด

"ครูวุฒิ" ก็เพียรถามตัวเองตลอดว่า

เราฝันแบบ "เกินพอเพียง" ไปหรือเปล่าเนี่ย?

แต่สุดท้าย

ก็ตอบตัวเองทุกครั้งว่า ถ้าไม่ลองแล้วจะรู้หรือว่า "เกิน" หรือ "ไม่เกิน"

*********************

หมายเหตุ ด้านล่างนี้คือ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับการกสิกรรมอิงธรรมชาติแบบพอเพียง

บางเรื่องเปรียบเทียบกับแบบที่ชาวนาทำ  โดยเฉพาะลิงค์สุดท้ายครับ

http://www.khokpet.thaifix.com/modules.php?name=News&file=article&sid=58

http://www.khokpet.thaifix.com/modules.php?name=News&file=article&sid=51

http://www.khokpet.thaifix.com/modules.php?name=News&file=article&sid=50

http://www.khokpet.thaifix.com/modules.php?name=News&file=article&sid=47

http://www.khokpet.thaifix.com/modules.php?name=News&file=article&sid=46 

หมายเลขบันทึก: 178755เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2008 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • ตามมาดูก่อน
  • ทำไงดี
  • ชาวนาขายข้าวถูก แต่คนกินข้าวซื้อเพลง
  • พ่อค้าคนกลางได้เงิน
  • เซ็งเลย!!!!ครับ

ไวดีจัง  น้องขจิต

  • ถ้าชาวนาขืนทำอย่างเดิม
  • โรงเรียนขัการศึกษาแบบเดิม
  • พ่อค้าคนกลางก็รวยลูกเดียวอย่างเดิม
  • เพราะฉะนั้น  ถ้าไม่อยาก "เซ็ง" อย่างเดิม
  • ต้องมาร่วม "แจม" ณ เวทีนี้ให้ได้
  • ตกลงนะครับ

อ้อ... อีกอย่างนะ

  • จะขายถูกขายแพงก็ค่อยว่ากันใหม่
  • แต่ขอให้ทำนาให้ได้ข้าวก่อนดีกว่า
  • เพราะที่ผ่านมาชาวนาลงทุนสูงมากกกกกก....
  • แต่กลับได้ข้าวน้อยลงๆทุกปี  แถมคุณภาพไม่ดีอีกต่างหาก
  • ยกเว้นบางปีที่เทวดาใจดีตลอดฤดูกาล
  • ดังนั้น  11-12 พ.ค.นี้
  • มาว่ากันด้วยเรื่อง "ทำอย่างไรจะทำนาด้วยวิธีที่ลงทุนน้อยที่สุด แต่ให้ได้ข้าวดีมีคุณภาพแบบชัวร์ๆ ไม่ว่าเทวดาฟ้าดินจะใจดีหรือร้าย ในขณะที่มีตลาดปลายทางเป็นของกลุ่มชาวนาเอง"
  • อ๊ะ... ฝันอีกละ... พี่ครูวุฒิเนี่ย... เผลอไม่ได้เลย... หลับฝันตลอด...
  • อิอิ....
  • สวัสดีค่ะ ครูวุฒิ
  • มาดูเรื่องข้าวของชาวบ้าน น่ะค่ะ
  • อ่านแล้ว ซึ้งค่ะ
  • เอาใจช่วยนะคะ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่จะช่วยหนุนเสริม และพัฒนาให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • ขอบคุณค่ะ

P สวัสดีครับ คุณบัวปริ่มน้ำ

  • ขอบคุณครับ  สำหรับกำลังใจ
  • เห็นเวลาโพสต์แล้ว (01.54 น.) นอนดึกเหมือนกันนะครับ
  • สำหรับเรื่องที่เขียน  และเรื่องที่กำลังจะทำ
  • เกิดจากความสะท้อนใจในสภาพการณ์ที่พี่น้องชาวนาขาดความเอาใจใส่ต่อนา
  • ซึ่งเหมือนกันเลยตอนนี้ก็คือ การขาดการเอาใจใส่ต่อครอบครัว
  • "ข้าว" กับ "ลูกหลาน" จึงให้ผลในลักษณะเดียวกันอ่ะครับ
  • ถ้าชาวนาทำนาไม่เป็น และทำด้วยความไม่เอาใจใส่ (รวมทั้งไม่เอาใจใส่ที่จะเรียนรู้ด้วย) ในส่วนของความเป็นพ่อแม่ก็เลี้ยงลูกไม่เป็น เลี้ยงด้วยความไม่เอาใจใส่ (และไม่ยอมเรียนรู้อีกเช่นกัน) ผมว่าสังคมน่าห่วงนะครับ
  • สวัสดีครับ
  • อยากไปเรียนรู้ด้วยจริง ๆครับ
  • แต่วันที่ 12 ติดราชการจริง ๆ
  • จะคอยชมบรรยากาศทางบล๊อคนะครับ
  • เอาใจช่วย
  • เอาใจช่วยอีกแรงครับ
  • ...หนทางหมื่นลี้ เริ่มต้นที่ก้าวแรก...
  • ...กรุงโรมไม่ได้สร้างในวันเดียว...
  • ร่วมด้วยช่วยกันครับ

สวัสดีค่ะพี่ครูวุฒิ

เห็นด้วยค่ะว่าการกลับเข้าสู่ธรรมชาติเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

และทราบว่าไม่ง่ายเลยในการปรับเปลี่ยน แต่ตอนนี้ก็เป็นโอกาสอันดีอย่างหนึ่งนะคะ อย่างน้อยก็ค่าปุ๋ยลดลง

ไม่ว่าราคาข้าวจะเป็นอย่างไรเมื่อใดที่ลดค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดได้เมื่อนั้นก็มีกำไรเสมอนะคะ

ชีวิตชาวนานั้นแสนลำเค็ญ เป็นสิ่งที่รับรู้กันมานานแสนนาน ถึงอย่างนั้นอาชีพทำนาตั้งแต่อดีตมาก็เคยเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ เป็นระบบการผลิตเชิงวัฒนธรรมที่หล่อเลี้ยงสังคม ชุมชน นอกจากนั้นยังสร้างสำนึกและอุดมการณ์ดีๆ ค้ำจุนสังคม ได้ปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างมีความสุขนะคะ แม้แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจล้มละลาย เมื่อปี 2540 แรงงานถูกเลิกจ้างมากมาย ผืนนาและบ้านเกิดกลับรองรับได้อย่างเข้มแข็ง..

 

มีการวิเคราะห์ตัวอย่างชาวนามาฝากค่ะ เป็นชาวนาตำบลบางขุด อำเภอสวรรคบุรี จังหวัดชัยนาทค่ะ ที่นี่เค้าทำนาปีละ 3 ครั้ง เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อส่งออกเช่นกัน ชาวนาที่นี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ไม่มีที่นาเป็นของตนเอง โดยเฉลี่ยแล้วชาวนามีหนี้สินตั้งแต่ 100,000 300,000 บาทต่อครอบครัว สาเหตุหลักของหนี้สินเกิดจากการซื้อปัจจัยการผลิต (ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สูงสุดถึงร้อยละ52.45) ลงทุนการผลิต (รถแทรกเตอร์ รถเกี่ยว รถขนส่งและค่าน้ำมันร้อยละ 26.85) และค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่สูงขึ้นทุกปีค่ะ..

จากการศึกษาต้นทุนการทำนาในปี 2550 ของชาวนาตำบลบางขุด พบว่ามีต้นทุนการผลิตสูงถึง 3,165 บาท ต่อไร่ และมีผลผลิตตอบแทนต่อไร่ 3,850 บาท ดังนั้นชาวนาได้กำไร 685 บาทต่อไร่เท่านั้นเองนะคะ ถามว่าเงินจำนวนนี้เพียงพอหรือไม่ต่อการดำรงชีพของครอบครัวชาวนาในยุคปัจจุบัน?

 

 

ในขณะที่ราคาข้าวเปลือกในปี 2550 ที่ชาวนาขายได้คือ 5,500 บาทต่อตัน รัฐรับซื้อราคา 6,509 บาทต่อตัน ซึ่งเป็นราคาที่แตกต่างกันถึง หนึ่งพันกว่าบาท แต่ชาวนาต้องขายข้าวของตนเองออกไปเนื่องจากความขัดสนทางการเงินและปริมาณหนี้สินของครอบครัวที่มีอยู่เป็นจำนวนมากค่ะพี่ครูวุฒิ อีกทั้งหลังเก็บเกี่ยวเสร็จต้องเร่งขายข้าวทำให้ถูกหักความชื้น ราคาข้าวจึงตก ที่สำคัญ ชาวนาไม่สามารถเข้าถึงโครงการรับจำนำข้าวของรัฐที่ส่วนใหญ่มีตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ ชาวนาคนไหนที่เป็นหนี้กับธ.ก.ส. ธ.ก.ส.จะหักชำระหนี้ไว้เลยไม่มีทางได้ถือเงินจนกว่าจะไปกู้ใหม่ ชาวนาจึงไม่สามารถหลุดจากวงจรหนี้สินได้น่ะค่ะ้..เศร้านะคะ

 

ขอให้สิ่งที่พี่ครูวุฒิคิด - ทำ ประสบความสำเร็จทุกประการ บนเส้นทางที่ยาวไกลนี้นะคะ  เอาใจช่วยและจะติดตามความก้าวหน้าด้วยความสนใจเป็นล้นพ้นเลยล่ะค่ะ

P ท่าน เกษตร(อยู่)จังหวัด

  • ขออภัยที่ผมตอบช้าไป(มาก) เพราะช่วงนี้มีเวลาอยู่ที่หน้าจอน้อยมาก
  • ขอบคุณท่านมากที่ให้กำลังใจ
  • ก็ลองเรียนรู้ร่วมกันดูครับ
  • เผื่อมีทางออกสำหรับปัญหา "ความยากจนบนความอุดมสมบูรณ์"
  • ถ้าปัญหานี้ไม่ส่งผลด้านลบถึงกระบวนการ"พัฒนาคน"ของโรงเรียน และมีผลถึงความอ่อนแอของสังคมชนบท ผมก็คงไม่เดือดร้อนเท่าไหร่หรอก
  • นี่คือเหตุผลที่โรงเรียนต้องทำ แม้ไม่มีงบประมาณ ครับ
  • สวัสดีครับ

ไม่มีรูปนิโรธ
เมื่อ ส. 26 เม.ย. 2551 @ 17:54

  • ขอบคุณท่าน อ.นิโรธมากครับ  สำหรับกำลังใจที่มากมาย
  • ถ้าคนในชุมชนไม่คุยกันเรื่องนี้บ้าง ก็คงต่างคนต่างทำในแบบเดิม
  • ผลลัพท์ก็คงเหมือนเดิม
  • แต่ปัญหาคงไม่เหมือนเดิมด้วยหรอก
  • เพราะตอนนี้เห็นมันมีแต่เพิ่มขึ้นๆทุกวัน
  • ผมกลัวเด็กๆรุ่นนี้จะไม่มีที่ยืนในอนาคต(อันใกล้นี้)ครับ
  • สวัสดีครับ

P สวัสดีครับน้อง เบิร์ด

  • ขออภัยครับที่ตอบช้าไปมากจริงๆ เพราะอยู่ในช่วงของการเตรียมงาน
  • ขอบคุณน้องเบิร์ดมากเลยครับ  ที่อุตสาห์เอาข้อมูล(ที่อยากได้มาก)มาฝาก
  • ก่อนหน้านี้พยายามหาในพื้นที่แล้ว ได้แบบไม่ใคร่ชัวร์ เพราะชาวนาไม่เคยบันทึก
  • แต่ปีนี้ฝากให้ครูทุกคนขอจากญาติพี่น้องที่ใกล้ชิด  ส่วนคนที่ทำนาเอง  ก็ขอให้ลงบันทึกให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ก็หวังว่าจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมาก เพราะครูที่โรงเรียนคนหนึ่งทำนาแบบเดียวกับที่ชาวบ้านทำปกติ และก็มีการลงบันทึกที่ละเอียดมาก
  • เดี๋ยวจะได้นำมาเทียบเคียงกับข้อมูลที่น้องเบิร์ดนำมาฝาก และจะได้นำข้อมูลเหล่านี้เข้าพูดคุยกันในที่ประชุมเสวนาด้วยครับ
  • ขอบคุณน้องเบิร์ดมากๆอีกครั้ง
  • และอย่าลืมแวะมาอีกนะ
  • สวัสดีครับ
  • มาร่วมให้กำลังใจชาวนาไทย
  • มาสนับสนุนให้ทุกโรงเรียนเป็นแกนนำในการทำให้อาชีพชาวนาเป็นอาชีพที่เลี้ยงลูกหลานได้
  • และที่สำคัญทำอย่างไรชาวนาจะมีโอกาสได้กำหนดราคาผลผลิตของตัวเองซะทีนะคะ

P น้องอ๊อต naree suwan

  • ขอบคุณครับที่แวะมาร้วมให้กำลังใจกระดูกสันหลังร้าวๆที่ชื่อชาวนา (แต่ไปนาปีละไม่ถึง 1 เดือน)
  • มูลเพตุเพราะชาวนาหนีหน้าไปจากนานี่แหละ ที่ทำให้ที่นาต้องหนีหน้าชาวนาไปอยู่กับพ่อค้านายทุน
  • อีกหน่อยนายทุนท้องถิ่น  ก็จะขายให้นายทุนระดับชาติ  และนายทุนระดับชาติ ก็จะขายต่อไปให้นายทุนข้ามชาติ
  • แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร... เนี่ย....
  • สวัสดีจ้ะ

เอาเวปไซด์ธรรมะมาฝากครับ

http://www.dhammathai.org/sounds/bhodhiyanthera.php

สวัสดีวันวิสาขบูชาค่ะ ครูวุฒิ

* สบายดีนะคะ เปิดเทอมแล้ว ดีใจจัง

* นักเรียนเฮ จะได้ไปโรงเรียน คุณครูฮา ไม่ต้องเหงา

* แล้วงานนี้ จะเลื่อนไปเมื่อไหร่คะ  ..

* จะตั้งหน้าตั้งตา รอชม ติดตาม และไปเยือนค่ะ

* ชื่นชม เชื่อมั่น และ ศรัทธา ขอบคุณค่ะ

P สวัสดีครับคุณ poo

  • ขอบคุณครับที่ให้เกียรติและติดตาม
  • ช่วงเปิดเทอมก็ยุ่งๆหน่อย แต่ก็สดชื่นกระปี้กระเปล่าดีครับ
  • งานคงเลื่อนไปหลังพี่น้องชาวบ้านลงนาเสร็จก่อนครับ  เพราะช่วงนี้พี่น้องยังยุ่งๆอยู่กับการลงนา
  • ยังไงๆ  ถ้าคุณปูได้ผ่านๆมา  ก็รบกวนแวะสักนิดน๊า...  โรงเรียนอยู่ห่างจากถนนสายรางค์กู่-ตรางสวาย เพียง 200 เมตร ครับ
  • หวังว่าคงได้มีโอกาสพบกันนะครับ
  • สวัสดีครับ

·         อรุณสวัสดิ์ค่ะครูวุฒิ คุณครูใจเพชร

 

·         พรุ่งนี้จะมีประชุมสพท. เขต 2 และ เขต 3 ที่อุทุมพรพิสัยค่ะ

·         ช่วงนี้พี่น้องเค้ายุ่งกับการเตรียมพท. ลงนาจริงๆแหละค่ะ

·         อาทิตย์หน้าต้องมีประชุมต่อที่กทม.

·         ดังนั้นคงต้องรอให้หลังกลางเดือนหน้าไปเลยค่ะ

·         แต่หากมีงานที่รร. วัดโคกเพชร รบกวนอ. ช่วยปชส. ด้วยนะคะ

·         ทางหน่วยงานจะไปชมและเยี่ยมเยือนแน่นอน ขอบพระคุณค่ะ

·         เป็นกำลังใจให้ครูนะคะ มีความสุขทุกโมงยามค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท