โรคทรัพย์จาง(2)


ยามที่เรามีเงินมีทอง ผู้คนต่างก็แสดงความรักความเคารพเรา เรียกพี่บ้าง เรียกพ่อบ้าง ลุงบ้าง ป้าบ้าง แต่ยามที่เราจนคนที่เคยเรียกเราว่าพี่ เรียกว่าพ่อ ว่าลุงว่าป้าก็หายไปหมด

     

            สุภาษิตภาษาอีสานสอนว่า "มีเงินเขาเอิ้นน้อง มีทองเขาเอิ้นพี่ ทุกข์เพิ่นบ่ว่าดี มีเพิ่นจั่งเอิ้นพี่น้อง ลุงป้าจั่งว่าหลาน" หมายถึงยามที่เรามีเงินมีทอง ผู้คนต่างก็แสดงความรักความเคารพเรา เรียกพี่บ้าง เรียกพ่อบ้าง ลุงบ้าง ป้าบ้าง แต่ยามที่เราจนคนที่เคยเรียกเราว่าพี่ เรียกว่าพ่อ ว่าลุงว่าป้าก็หายไปหมด...บางครั้งภรรยาก็พลอยไปกะเขาด้วยทิ้งกันยามจน ระยะทางพิสูจน์ม้า การเวลาพิสูจน์คน ภรรยาถ้ายามจนยังยอมร่วมทุกข์คือภรรยาที่ดีใครมีก็ควรถนอมไว้...แต่ส่วนมากเวลาสามีจนหรือป่วยนานมันทิ้งไปเฉย...ถ้าคนเรามีสมองไว้คิด มีสติไว้ฉุดรั้ง สังคมทุกวันนี้คงไม่เป็นแบบนี้....
         ความจนเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการแต่มันก็คลานมาสู่เรา บางครั้งก็ถาโถมเข้ามาใส่เมื่อไม่มีเงินพอใช้สิ่งที่คนหลายคนเลือกคือการกู้หนี้หรือยืมเงินมาใช้ เมื่อเป็นหนี้ถ้าสามารถหาเงินมาใช้หนี้ได้ก็ดีไป แต่ถ้าใช้ไม่ทัน ดอกเบี้ยก็เริ่มมากขึ้น บางคนหาทางหนีด้วยการฆ่าตัวตาย บางคนเลือกทางประท้วงให้รัฐบาลช่วย ตนเองสร้างอยากให้คนอื่นแก้  "ยามหอมไม่ให้เห็น ยามเหม็นจึงให้พบ"
          ทางพระพุทธศาสนากล่าวถึงความทุกข์ที่เกิดจากการเป็นหนี้และผลพวงที่ทุกข์เกิดเพราะเราไม่มีทรัพย์ไว้ใน พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ อิณสูตร อังคุตตรนิกาย ฉกนิบาต ข้อที่ ๔๕ กล่าวสรุปความได้ว่า "ความยากจนเป็นทุกข์ของชาวบ้าน ผู้ยากจนเข็ญใจย่อมกู้หนี้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ของชาวบ้าน การใช้ดอกเบี้ย ไม่มีเงินให้ดอกเบี้ยแล้วเขาทวงหนี้ก็เป็นทุกข์  การถูกแจ้งความฟ้องว่าไม่จ่ายหนี้ก็เป็นทุกข์ ติดคุกเพราะไม่มีเงินใช้หนี้ก็เป็นทุกข์"   ขบวนการเป็นหนี้มักเริ่มต้นและจบแบบนี้แต่บางคนก็สามารถตัดปัญหาไม่ให้ถูกฟ้องเป็นคดีความ ถือว่าเป็นความสามารถของบุคคล
            ทำอย่างไรเราจะไม่จน ไม่เป็นหนี้ เรื่องนี้คิดเองครับ เราคงต้องขยันทำมาหากิน ใช้เงินอย่างประหยัด ให้แต่ละเดือนเหลือบ้างเผื่อเวลาแก่จะได้มีใช้บ้าง ไม่งั้นก็จะทุกข์เหมือนพระพุทธเจ้าตรัสไว้ เราเป็นชาวพุทธ วิธีดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงสรุปไว้ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑-๑๒ ดังนี้ :-
                ๑. ด้านการผลิตเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเราต้องอาศัยปัจจัย ๔ คืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การผลิตให้ยึดหลักขยันหา รักษาเงิน(ออม) ไม่เพลินจ่าย ได้เพื่อนดี 
                 ๑.๑  ความขยันในการทำงานต้องไม่มีข้ออ้างว่าหนาว ร้อน ค่ำ เช้า หิว กระหาย ต้องทำงานตามหน้าที่ หนักเอาเบาสู้ หนักช่วยกันหาบ หยาบช่วยกันดึงเพราะว่าชีวิตดีอย่างเดียวไม่พอ
          ๒.  ด้านการออมทรัพย์ เมื่อหามาได้ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์และออมไว้บ้าง  การใช้ทรัพย์ที่ไม่เกิดประโยชน์ทางศาสนาชี้ว่าได้แก่การใช้ซื้อน้ำเมา เที่ยว เล่นพนัน คบคนชั่ว ขี้เกียจทำงานแต่ไม่ขี้เกียจกิน  ไม่บ้าเครื่องสำอางเกินไป บางคนแต่งตัวจ่ายเดือนละสองสามพัน...(รัฐปาลสูตร พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓) พุทธเจ้าตรัสว่า "โลกคือมนุษย์นี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสตัณหา แม้ความแก่ชราลากไปสู่ความตายก็ไม่คิดถึง"...คนรวยแล้วก็ไม่รู้จักให้ทานมีแต่กอบโกยสั่งสม รัฐบาลก็อยากมีบริษัทเป็นของตน..ตายไปทรัพย์ก็ไม่สามารถตามไปได้... ...(พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑สิงคาลกสูตร ฉบับสยามรัฐข้อที่ ๑๙๗ ฉบับมหาจุฬาลงกรณณราชวิทยาลัยข้อที่ ๒๖๕ )
                ...เมื่อบุคคลสั่มสมโภคทรัพย์หรือออมโภคสมบัติอยู่ เหมือนแมลงผึ้งสร้างรัง โภคสมบัติย่อมถึงความสั่งสมดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสมโภคสมบัติได้อย่างนี้แล้ว พึงแบ่งโภคสมบัติออกเป็นสี่ส่วน เขาย่อมสมานมิตรไว้ได้ พึงใช้สอย โภคสมบัติด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน  พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย หมายว่าจักมีไว้ในยามอันตราย ดังนี้ ฯ   
         สรุปความในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าสอนการใช้ทรัพย์หรือเมื่อเราทำงานมีเงินแล้วควรจัดสรรทรัพย์ที่เราหามาได้โดยสุจริตแล้วให้แบ่งการใช้ทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วนคือ  
      1. ส่วนที่ 1 ใช้จ่ายเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครัว ดูแลคนที่เกี่ยวข้องและทำประโยชน์ คือทำบุญกุศล  ค่าใช้จ่ายส่วนนี้คือ 25 % ของรายได้ทั้งเดือน
      2.ส่วนที่ 2  - 3 ใช้ลงทุนประกอบการงาน  ลงทุนประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้คือรายได้ครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดคือ 50 % ของรายได้
      3.ส่วนที่ ๔ เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็นคือเก็บไว้เป็นหลักประกันชีวิตและกิจการคราวจำเป็น  25 % ของรายได้ 
             การใช้ทรัพย์เป็นสิ่งที่ทุกคนควรนำมาคิดตรักหนักให้รอบคอบเพราะเป็นสิ่งสำคัญ เงินหายากนะเวลาใช้ก็ต้องใช้ให้มีรายเหลือบ้างดิ การใช้เงินเหล่านี้เป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา อย่าให้สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกระดาษเปื้อนหมึกหรือเป็นเพียงสิ่งผ่านตาหรือเป็นม่านบังตา โดยเราไม่เข้าใจอย่างแท้จริงถ่องแท้.

        

หมายเลขบันทึก: 132152เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2007 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นด้วยค่ะ

ระยะทางพิสูจน์ม้า

กาลเวลาพิสูจน์คน

นี่หรือคือใจคน ยอมทนตามเวลา

นโยบายประหยัด

1.แบ่งเก็บ 10% จากเงินเดือน ฝากธนาคารทุกเดือน จาก กบข.

2.4:3:3  ใช้ 40% เก็บ 30%  ,30% ที่เหลือคิดเอาก็แล้วกัน

  • ตามมาอ่านเรื่องทรัพย์จางค่ะ
  • เดี๋ยวนี้ปรับแนวคิดใหม่แล้วค่ะ.....จากมีเงินเหลือค่อยเก็บออม....ตอนนี้หักคอ (ตัดใจ) เก็บออมเงินก่อน....เหลือเท่าไหร่จ่ายตามที่มี

ขอบคุณค่ะ

      ขยันหาเงิน อดทน  อดออม

      ช่วยเหลือสังคม

      ใช้ชีวิตแบบคนจน

      จะรวยและมีความสุข ครับ 

 สวัสดีค่ะอาจารย์  แวะมาร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ

วิธีป้องกันและรักษาโรคทรัพย์จาง  (เขตปลอดไวรัส (Money Philia) )

ขยัน  ประหยัด  อดทน  อดออม  มีน้อยใช้น้อย  มีมากเก็บมาก

30 : 30 : 20 : 20 :

30  %  เก็บ , ออม

30  %  ใช้จ่ายส่วนรวม (ค่าสาธารณูปโภค  อุปโภค  บริโภคต่างๆ)

20  %  ใช้จ่ายส่วนตัว

20  %  เก็บ , ออม

<<<<  เห็นไหมละคะเราสามารถมีเงินเก็บตั้ง  2  ส่วน  รับรองค่ะวิธีนี้ปลอดภัยจากไวรัสทรัพย์จางแน่นอนค่ะ>>>

สวัสดีครับคุณพวงเพชร

  • ขอบคุณครับสำหรับสูตรการใช้เงินที่เสนอแนะ
  • นโยบายประหยัด

    1.แบ่งเก็บ 10% จากเงินเดือน ฝากธนาคารทุกเดือน จาก กบข.

    2.หรือแบ่งใช้เป็น 40:30:30  ใช้ 40% เก็บ 30%  ,30% ที่เหลือคิดเอาก็แล้วกัน

 

สวัสดีครับPGutjang

  • การใช้เงินเดี๋ยวนี้ปรับแนวคิดใหม่แล้วค่ะ.....จากมีเงินเหลือค่อยเก็บออม....ตอนนี้หักคอ (ตัดใจ) เก็บออมเงินก่อน....เหลือเท่าไหร่จ่ายตามที่มี
  • เป็นแนวคิดที่น่าสนใจครับ ลองปรับใช้ดูครับ

สวัสดีครับPนาย วรชัย หลักคำ

  • ขอบคุณที่เสนอแนวคิด ขยันหาเงิน อดทน  อดออม  ช่วยเหลือสังคม ใช้ชีวิตแบบคนจน  จะรวยและมีความสุข
  • ลองเปรียบเทียบกับคำสอนพระพุทธเจ้าแล้วปรับใช้ดูครับ ทุกอย่างดีเสมอเพียงแต่ทำจริง
                  

 

สวัสดีคุณมนุษย์เงินเดือน

  • เห็นด้วยกับแนวคิดการอดออมครับ ผู้อ่านจะลองนำไปใช้
  • ขยัน  ประหยัด  อดทน  อดออม  มีน้อยใช้น้อย  มีมากเก็บมาก ใช้สูตร 30 : 30 : 20 : 20 :

  • 30  %  เก็บ , ออม

  • 30  %  ใช้จ่ายส่วนรวม (ค่าสาธารณูปโภค  อุปโภค  บริโภคต่างๆ)

  • 20  %  ใช้จ่ายส่วนตัว

  • 20  %  เก็บ , ออม เราสามารถมีเงินเก็บตั้ง  2  ส่วน  วิธีนี้ปลอดภัยจากไวรัสทรัพย์จางแน่นอน

  • ใครคิดว่สูตรไหนดีก็ลองใช้ครับผม ดีทุกแนวคิด

 6  วิธีเก็บเงินให้อยู่...ตั้งแต่เป็นนักเรียน

1. เปิดบัญชีธนาคารให้เหมาะ

บรรดานักเรียนต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ แน่นอนอยู่แล้วต้องรับเงินเดือนจากพ่อแม่ แนะนำให้เปิดบัญชี ATM ในสาขาของกรุงเทพฯ เพราะถ้าเปิดบัญชีในจังหวัดที่บ้าน ต้องเสียค่าบริการเวลากดเงินข้ามเขตอีก กดทีละ 30 บาท ก็คูณเข้าไปสิคะ กว่าจะหมดปีเงินหายไปหลายอยู่นา

2. "เงินเราไปไหน"

ใช้ถามตัวเองบ่อยๆ เวลาใช้เงินไม่อยากลืมต้องทำบัญชีรับจ่าย เก็บบิลเวลาซื้อของ และเอาสมุดเงินฝากไปอัพเดทเพื่อเช็คยอดล่าสุดบ่อยๆ

3. อยู่ห่างๆเพื่อนมือเติบ

ไม่ได้แนะนำให้เป็นคนปฎิเสธสังคม แต่ให้เลือกกลุ่มเพื่อที่ไปกินข้าว ช้อปปิ้งสักหน่อย ถ้าคุณอยู่กลุ่มเพื่อนกินใหญ่ใช้โต กินข้าวเย็นมื้อละหลายร้อย คุณก็ต้องแชร์จ่ายเท่าๆกัน เงินเดือนนักเรียนของคุณมีเท่าไรถึงจะพอล่ะคะ

4. ระวัง!! บิลค่าโทรศัพท์

ค่าใช้จ่ายรายใหญ่สุดของหนุ่มสาววัยนี้เตือนสติตัวเองเวลาคุยให้ดี ตั้งเสียเตือนเป็นรายนาทีไว้ก็ได้ หรือเลือกโปรโมชั่นที่เหมาะกับตัวเองที่สุด

5. ใช้บัตรนักเรียน นักศึกษาให้มีค่าที่สุด

ทั้งค่าอาหาร ค่าเข้าพิพิธพัณฑ์ หรือเวลาไปเมืองนอก ใช้เป็นส่วนลดได้ดีที่สุด ช่วงที่อยู่มหาวิทยาลัย รายจ่ายที่คุณประหยัดได้ดีที่สุดคือ หนังสือและฟิตเนส เข้าห้องสมุดและโรงยิมเข้าไว้

6. ออมเงินรายเดือน

10% ของเงินได้จากพ่อแม่เก็บเป็นฝากประจำไว้เลย แล้วลองดูสิว่า พอรับปริญญาแล้วคุณมีเงินก้นถุงอีกเท่าไร!

สวัสดีคับคุณsky

  • อ่านบทนี้แล้วทำให้อึ้งไปเลย ต้องชมครับว่าแนวคิดนี้ถือเป็นแนคิดแบบสมัยใหม่ไม่ต้องอ้างพระไตรปิฏกแต่ก็อนุโลมเข้าในคำสอนที่บรรพบุรุษสอนไว้
  • ผมจะพยายามขอนำมาตราไว้ในดวงจิต ชั่วชีวิตไม่คิดลืมเผื่อมีโอกาสแต่งงานจะได้นำมาปรับปรุงใช้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท