แบ่งปันบทความ แนวทางปฏิรูปการศึกษาชาติ(ไทย)ให้สำเร็จ รศ.สุกรี เจริญสุข


แนวทาง..ปฏิรูปการศึกษาชาติ (ไทย) ให้สำเร็จ

สุกรี เจริญสุข  มติชน วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2554 น.7

เผ้าติดตามการปฎิรูปการศึกษาไทย ก็อยากมีส่วนร่วมแสดงความเห็นบ้าง
เท่าที่คิดได้ พอมีแนวทางอยู่ จึงขอเสนอแนะในเบื้องต้นมา 2 แนวทางแรก

แนวทางแรก ให้ลดทอนอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการลง
1. โดยการลดจำนวนคนลงจาก 5000 ถึง 6000 คน ใ้ห้เหลือเพียง 500คน
ให้เหลือเฉพาะเจ้าหน้าท่ ซึ่งเป็นผู้กำกับนโยบาย โดยมีฝ่ายการเมือง
ฝ่ายเลขานุการและเสมียนเท่านั้น ส่วนบุคลากรที่เหลือทั้งหมดให้ส่งไป
ประจำการ ที่โรงเรียนขาดแคลนครูทั้งหลายในชนบท ให้ข้าราชการ
กระทรวงศึกษาธิการย้ายกลับภูมิลำเนา โดยให้รับเงินเดือนเดิม โรงเรียน
ทั้งหลายก็จะได้ครูที่มีความรู้ความสามารถสูง ครูที่มีสวัสดิการและรายได้สูง
ทำให้ครูเก่ง ๆ ที่มีความพร้อมที่จะสอบเด็กและสามารถสร้างความเจริญของ
ชาติได้

2.ลดเงินงบประมาณด้านบริหารจัดการ ให้ส่งเงินงบประมาณ(ทั้งหมด) ไปยัง
โรงเรียนและชุมชนโดยตรง ให้งานเสมียนและฝ่ายเลขานุการไปอยู่ทีโรงเรียน

3.ลดอำนาจการบริหารจัดการ ให้อำนาจการบริหารจัดการและนโยบายย่อย
ไปอยู่ที่ชุมชนและโรงเรียน ให้โรงเรียนและชุมชนบริหารจัดการด้านต่าง ๆเอง
บริหารบุคลากรครู นักเรียน งบประมาณ ทิศทาง มาตรฐานการศึกษาและคุณภาพ
การศึกษา

4.ยุบ สภาการศึกษา ยุบสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และให้ยุบสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) โดยให้ชุมชนและสังคม เป็นผู้ควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพเอาเอง

กรุณาอย่าเป็นห่วงว่าจะไม่มีคุณภาพ เพราะวิธีที่ทำอยู่ทในปัจจุบันก็ไม่มีคุณภาพ
อยู่แล้ว  เพราะเชื่อว่า ทุก ๆชุมชน่างก็อยากได้โรงเรียนของชุมชนที่ดี เมื่อชุมชน
มีเงินก็สามารถที่จะใช้ทรัพยากร(เงิน) เพื่อหาคนเก่งคนดีมาเป็นครูในโรงเรียน
เมื่อโรงเรียนมีทรัพยากร เงิน โอกาส คน อำนาจ ในการบริหารจัดการ และมีสาธารณูปโภคที่พร้อม ทุกโรงเรียนและทุกชุมชนก็จะทำให้ิ่สิ่งที่ดีที่สุด
ให้เกิดขึ้น อย่าลืมว่าจะมีเงินอีกจำนวนมหาศาล เมื่อยุบองค์กรทางการศึกษาลง

สำหรับมหาวิทยาลัยทั้งหลายนั้น ให้ยุบสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้เลย
และยกอำนาจทั้งหมดให้กับสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ตัดสิน งบประมาณนั้น มหาวิทยาลัยก็ประสานงานโดยตรงกับสำนักงบประมาณ โอนทรัพย์สินทั้งหลาย
ของสำนักงานกาอุดมศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยทั้งหลายไป บริหาร

บุคลากรและทรัพยากรที่อยุ่ในส่วนกลางทำหน้าที่บริหารการศึกษานั้น
เป็นข้าราชการระดับสูง มีการศึกษาสูง มีเงินเดือนสูง และมีสวัสดิการที่ดี
แต่ในความเป็นจริงนั้น คนเหล่านั้นทำหน้าที่เป็นเสมียนทางการศึกษา
ไม่ได้ทำหน้าที่ในการหน่วยผลิตบุคลากรหรือการสร้างคน ในทางกลับกัน
ครูที่อยู่ในโรงเรียนชนบทเป็ฯครูที่มีความรู้น้อย เงินเดือนน้อย สวัสดิการน้อย
ทำงานมาก และเป็นผู้ที่อยู่ในฝ่ายผลิตคน

ดังนั้นในการปฏิรูปการศึกษาจำเป็นจะต้องสลับบุคลากรและสลับทรัพยากร
ให้คนเก่ง คนที่มีความสามารถ คนที่ใช้เงินเยอะไปอยู่ฝ่ายผลิต และให้ที่มี
คุณภาพต่ำ การศึกษาน้อย สวัสดิการน้อย และัมีความรับผิดชอบน้อย มาอยู่
ในตำแหน่งเสมียนแทน ก็พอจะเห็นเป็นแนวทางในการปฏิรูปการศึกษา

สิ่งสำคัญที่ควรปฏิรูปเรื่องที่สอง ก็คือ ยกเลิกหลักสูตรครูปริญญาตรี ที่
มหาวิทยาลัยทั้งหลาย ที่เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต ศึกษาศาสตรบัณฑิต และยกเลิกหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต

เพราะหลักสูตรเหล่านี้เป็นหลักสูตรที่ดีสำหรับประเทศไทยเมื่อ 50 ปีมาแล้ว
(2500 - 2549) เพื่อสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้ แปลว่าเป็นหลักสูตรสร้าง
ให้เป็น ครูโหล ๆ ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้เป็นหลักสูตรที่ล้าสมัยเสียแล้ว เมื่อ
เปรียบเทียบกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน

ปัจจุบันประเทศเปลี่ยนไป มีการพันาทางการศึกษาและคนที่ีฝีมือไปมากแล้ว
ประเทศต้องการสร้างครูเฉพาะทางเป็นครูที่มีฝีมือ รู้จริงและรู้แจ้งมากว่าที่
จะรู้อะไรก็ไม่รู้(รวมทั้งไม่รู้แล้วชี้ และไม่รู้ไม่ชี้) ประเทศต้องการคนรู้เป็นผู้ชี้ ต้องการครูที่มีอุดมการณ์ ครูที่มีีประสบการณ์ และต้องการครูที่มีอำนาจทางวิชาการ

มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญทางด้านศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
ศิลปกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ บัญชี ฯลฯ ซึ่งวิชาเหล่านี้เป็นเนื้อหาสาระและแหล่งของความรู้
แล้วให้คนที่จบสาขาเหล่านี้มาเรียนรต่อในวิชาครู ในหลักสูตรการศึกษา คบ.
ศษ.บ. กศ.บ. ครูก็จะมีความรู้จริง มีวิธีการสอนที่ดี มีปริญญาที่สูงขึ้น และมีรายได้ที่เหมาะสมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างสง่างาม

เท่าที่คิดได้ 2 เรื่องนี้ที่ควรปฎิรูป เพราะทั้ง 2 เรื่องก็ทำได้ยากอยู่แล้ว ยังไม่ต้อง
ไปคิดเรื่องที่ 3 - 4 แต่ขอร้องอย่าไปถามคนที่ทำไม่ได้ (อย่าถามทางกับคนตาบอด) คนที่ไม่ีมีความสามารถ คนที่ไม่รู้ อย่าไปถามผู้ที่
เสียผลประโยชน์ เพราะคนเหล่านี้จะรวมหัวกันคัดค้านด้วยเหตุผลต่าง ๆ มากมาย
คนเหล่านี้ใช้สมอง (ความรู้และเหตุผล) ในการตัดสินปัญหามากเกินไป แต่คน
เหล่านี้ไม่คิดว่า หัวใจ ต่างหากที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า อะไรทำได้ หรืออะไรทำไม่ได้ และอย่าลืมว่าเป็นการเสียเวลาเปล่า ๆ ที่จะไปถามคนที่ทำไ่ม่ได้ แถมยังพูดมาก และมีความเห็นมากอีกต่างหาก

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาชาติทั้งหลายในปัจจุบัน ทำงาน เสมียน
ด้วยกันทั้งสิ้น ทำานประชุม ทำงานเอกสาร ทำงานวัดผล ทำรายงาน ตรวจกระดาษ เป็นผู้อำนวยการกองกระดาษ ใช้เงินจำนวนมากกับงานเสมียนฯลฯ
งานเสมียนเหล่านี้เป็นเพียงองค์ประกอบที่จะพัฒนาการศึกษา แต่ครูซึ่งเป็น
หัวใจของการศึกษาชาติ กลับไม่ได้รับการพัฒนา ไม่ได้รับการสนับสนุน รัฐบาล
กลับไปให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนงานเสมียน ให้เติบโต ยิ่งใหญ่กว่างานครู ซึ่งเป็นงานหลัก

ผู้เขียนเห็นว่า การปฏิรูปการศึกษาเพียง 2 เรื่อง ก็เพียงพอสำหรับสำหรับชาตินี้
(10-20 ปีข้างหน้า) ไม่ต้อไปทำอย่างอื่นให้เสียเ่วลา เมื่อโรงเรียนและชุมชนใด ๆ
มีความพร้อมทางด้านไหน เขาก็สามารถที่จะพันาให้โรงเรียนใุนชุมชนของเขา เพื่อความต้องการของชุมชนเองได้อยู่แล้ว และขอให้ทุกคนโชคดี

จุ๊ จุ๊...คนที่รู้ตัวว่าทำไม่ได้ให้ถอยออกไป

 

หมายเลขบันทึก: 427414เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2011 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านอาจารย์

  • มีความสุขทุกๆวันนะคะ

ทราบว่า อ.สุกรี เจริญสุข เป็นคณบดีทางด้านการดนตรี

อยู่ที่มหิดลนะครับ

เก่งมากและชื่นชม

ขอบคุณอาจารย์ที่แนะนำให้มาอ่าน

เรื่องราวเหล่านี้ผมได้เคยคุยกับ อ.สุกรีมาเหมือนกัน ไม่คิดว่าท่านจะเขียนด้วย มันส์ จริง ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท