ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

หลักสูตรเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการรุ่นที่ ๑ มหาจุฬาฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ


ทำไม? จึงต้องจัดอบรมหลักสูตรนี้

          ในการจัดการประชุมและสัมมนาทั้งในระดับชาติ และนานาชาติของมหาวิทยาลัยในหลายครั้งที่ผ่านมา เช่น การประชุมผู้นำชาวพุทธโลก การประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) และการประชุมวันวิสาขบูชาโลก ได้มีการประกาศเชิญชวนให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วไปรวมทั้งคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุม แต่ปรากฏว่ายังมีคณาจารย์และนักวิชาการทั่วไปนำเสนอบทความและได้รับการตี พิมพ์ไม่มากนัก ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดจาก "นักวิชาการไทยหลายท่านขาดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ ให้ได้มาตรฐาน" และในขณะเดียวกัน เป็นที่ประจักษ์ว่า เราไม่ได้ไม่ได้เตรียมหลักสูตรเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้สนใจใฝ่รู้ ในประเด็นเหล่านี้อย่างเพียงพอ

          ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองตอบต่อปรัชญาของมหาวิทยาลัย ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม และเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพการศึกษา จึงสมควรจัดให้มีกระบวนการในการพัฒนาคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย และบุคคลที่สนใจทั่วไปให้สามารถเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ และนำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับ นานาชาติ จึงสมควรให้มีการจัดการพัฒนาและฝึกอบรมเทคนิค การเขียนบทความทางให้ได้ มาตรฐานมากยิ่งขึ้น

     ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาและฝึกอบรมอะไร ใครเป็นวิทยากร

สัปดาห์ที่

หัวข้อบรรยาย

สาระสังเขป

วิทยากร

ปฐมนิเทศ

ชี้แจงแนวทางฝึกอบรมการเขียนบทความทางวิชาการ

ผู้อำนวยการหลักสูตร

กิจกรรมมิตรสัมพันธ์

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อสร้างบรรยายกาศกัลยาณมิตรในการเรียน

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนบทความทางวิชาการ

  • ศึกษาแนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับการเขียนบทความในแง่มุมต่างๆ เช่น ความหมาย คุณค่า ความสำคัญ เป้าหมาย เหตุผล แรงจูงใจ ประเภท องค์ประกอบ และลักษณะของบทความที่ดี

  • อภิปรายแลกเปลี่ยนเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการที่ได้มาตรฐาน

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

รศ. ดร.ชุติมา สัจจานนท์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ความสำคัญของโยนิ-โสมนสิการในการเขียนบทความทางวิชาการ

แนวทางสร้างปัญญาและวิธีการใช้ปัญญาในการเขียนบทความทางวิชาการ

พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร.
อธิการบดี มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความทางวิชาการ

นำบทความที่ดี ได้มาตรฐานมาเป็นตัวอย่างประกอบการจับประเด็น การวิจารณ์ในประเด็นต่างๆ เช่น การใช้ภาษา การให้เหตุผล การอ้างหลักฐาน ครอบคลุมถึงสารัตถภาพ เอกภาพ สัมพันธภาพ และความคงเส้นคงวา และและประเมินคุณภาพบทความทางวิชาการ

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

หลักการใช้ภาษาในการเขียนบทความ (ภาษาพูด/ภาษาเขียน/ภาษาทางวิชาการ)

 

ศึกษาหลักการและเทคนิควิธีการใช้ภาษาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในการเขียนบทความ การวรรคตอน ย่อหน้า การใช้คำเชื่อมประโยคต่างๆ

เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน

การอ้าง และการใช้เหตุผลในการเขียนบทความ

 

ศึกษาแนวคิด และวิธีการในการอ้าง และการใช้เหตุผลในการอ่านและการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อยืนยันความสมเหตุสมผลของข้ออ้าง

ศ.ดร.สมภาร พรมทา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเขียนบทความทางวิชาการ ๑ : โครงสร้าง เนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน

  • ศึกษารูปแบบ โครงสร้าง และแนวทางการกำหนดหัวข้อ เกริ่นนำ เนื้อหาหลัก และบทสรุปเกี่ยวกับการเขียนบทความทางวิชาการในเชิงทฤษฏี

  • ศึกษารูปแบบและแนวทางการอ้างอิงที่ได้มาตรฐาน

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.

รศ.ดร.ภัทรพร สิริกาญจน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเขียนบทความทางวิชาการ ๒ : เทคนิคและเครื่องมือในการเขียนบทความ

  • ศึกษาเทคนิคในการเลือกหัวข้อ การเขียนบทนำ การจัดดับความสำคัญของเนื้อหารอง และเนื้อหาหลัก เพื่อนำเนื้อหาไปสู่การแสวงหาแนวทางในการหาบทสรุปที่สอดคล้องและประสมกลมกลืน

พระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร,ดร.

รศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

ความคิดสร้างสรรค์กับการเขียนบทความทางวิชาการ

  • การสร้างความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจในการเขียนบทความทางวิชาการ

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

๑๐

การวิเคราะห์บทความทางวิชาการ

  • บทความทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา

  • บทความทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์

  • บทความทางวิชาการด้านการศึกษา

พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร.

รศ. ดร. สุริชัย หวันแก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

๑๑

การนำเสนองานของนักศึกษา

  • บทความของนักศึกษาที่มีผลงานได้รับยอมรับจากคณะกรรมการและให้นำเสนอต่อที่ประชุม

พระสุธีธรรมานุวัตร,ผศ.ดร.

ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

๑๒

การนำเสนองานของนักศึกษา

  • บทความของนักศึกษาที่มีผลงานได้รับยอมรับจากคณะกรรมการและให้นำเสนอต่อที่ประชุม

พระสุธีธรรมานุวัตร

รศ. ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

๑๓

เขียนบทความทางวิชาการอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

  • สรุปภาพรวมการของการเขียนบทความทางวิชาการ เพื่อให้แนวทางหลังจากจบหลักสูตร ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจและแรงบันดาลใจในการที่จะเป็นนักเขียนที่ทรงคุณค่าในอนาคต

ภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา

ดร.ปกป้อง จันวิทย์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ปัจฉิมนิเทศ

  • พิธีมอบวุฒิบัตรแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและปิดการอบรม

พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

 

วัน เวลา และสถานที่เรียน


       รุ่นที่ ๑ จะเริ่มเปิดเรียนวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เวลา ๑๗.๐๐-๒๐.๐๐ น. ณ ห้อง ๒๐๕  ชั้น ๒ มหามหาจุฬาฯ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ

  แหล่งรองรับบทความทางวิชาการ

       บทความของผู้เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมจะได้รับการปรับปรุง วิเคราะห์ และวิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุิฒิเพื่อเสนอเข้าตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติในวันวิสาขบูชาโลกปี ๒๕๕๓ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓

ประโยชน์ที่จะได้รับ

     ๑. สามารถเขียนบทความทางวิชาการ และวิทยานิพนธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
     ๒. ทุกบทความทีผ่านการวิพากษ์วิจารณ์ในขณะเขียนจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารของมหาวิทยาลัยในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น พุทธจักร บัณฑิตปริทรรศน์  และวารสารวิสาขบูชาโลกปี ๕๓
     ๓. ได้รับวุฒิบัตรจากการพัฒนาและฝึกอบรม

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพื่อเติมได้ที่

   สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้อง D 400  อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ถนนพหลโยธินกิโลเมตรที่ ๕๕ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์๐๓๕-๒๓๘-๐๙๘-๙, ๐๒-๒๒๖-๖๐๒๗ ต่อ ๘๐๙๘ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. ทุกวัน  ดูรายละเอียดต่างๆ ได้ที่  http://www.li.mcu.ac.th

  ผู้ประสานงานโครงการ

      นายอุทัย  วุฒิศาสตริน  นิสิตปริญญาเอกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาและและฝึกอบรมการเขียนบทความทางวิชาการ สถาัับันภาษา มจร  โทร.  ๐๘๑ ๔๘๐ ๓๓๗๔, [email protected]

หมายเลขบันทึก: 333964เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2010 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เป็นเรื่องบังเอิญมาก
  • เมื่อ รศ ดร วัชระ เป็นหลวงพี่ผมสมัยเป็นเด็กวัดที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม กาญจนบุรี
  • ตอนนั้นท่านไปเรียนที่อินเดีย ท่านเจ้าคุณไพบูลย์ท่านส่งไปเรียน
  • เอาบทวามที่เคยเขียนมาฝากครับ
  • ขอบคุณครับ เดินทางปลอดภัยครับ

นมัสการพระคุณเจ้า

  • ประเด็นน่าสนใจมาก
  • จะรอติดตามอ่านเพื่อเรียนรู้บทความเหล่านั้นเจ้าคะ
  • ขอแนะนำโรงเรียน ICU บนดอยค่ะ
    http://gotoknow.org/blog/krukimgtk/333955

กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

  • ดีใจและปลื้มใจที่ได้เจอพระคุณเจ้า 
  • กราบขอบพระคุณสำหรับหนังสือธรรมะนะคะ

กราบนมัสการพระคุณเจ้าธรรมหรรษา

ได้มีโอกาสนมัสการท่าน ที่ค่ายจิตอาสา

ในโอกาสต่อไปจะได้ทำงานร่วมกับพระคุณเจ้าค่ะ

อาจารย์ ดร.ขจิต ครูคิม ครูมนัสนันท์ และครูหน้าตาดี

  • ธรรมะัจัดสรรให้พวกเราได้มีโอกาสไปพบกันเพื่อมอบของขวัญแก่เด็กๆ ในโรงเรียนของผอ.พรชัย
  • ดีใจที่ได้รู้จักพวกเรา ซึ่งแต่ละท่านล้วนเป็นนักจิตอาสาที่พยายามหยิบยื่นสิ่งดีๆ ให้แก่สังคมไทยที่เราอาศัยอยู่
  • อาตมาเื่ชื่อว่า มีพี่ๆ น้องๆ อีกหลายท่านกำลังทำงานเช่นที่พวกเราได้ทำ และมีอีกหลายกำลังตัดสินใจทำในสิ่งที่พวกเราทำ
  • สรุปคือ ทำสักนิด ดีกว่าคิดที่จะนำสักหน่อย
  • เจริญพร

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

มารับความรู้ค่ะ

จะติดตามเติมเต็มให้ตัวเอง

กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ

 

ครูต้อยติ่ง

  • แบ่งปันความรู้ระหว่างกันและกัน
  • รบกวนครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับบทความให้พวกเราอ่านบ้างน่ะ
  • เจริญพร

เป็นหลักสูตรที่ดีค่ะ ช่วยพัฒนาทักษะด้านการเขียน มีแหล่งให้เผยแพร่ด้วย จัดอีกนะคะ

เสียดายมากสมัครแล้ว จ่ายตังค์แล้ว แต่เวลาเรียนช่วงเช้าวันเสาร์ ไม่สะดวกเพราะต้องทำงานประจำ หากเป็นภาคบ่ายและภาคค่ำจะเป้็นการดีไม่น้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท