BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ตรรกศาสตร์ : หลักสยาทวาทของปรัชญาเชน


สยาวาทของปรัชญาเชน

เมื่อตรรกศาสตร์ของอริสโตเติลถูกโจมตีว่าเป็น hard logic คือ มีความแข็งกระด้างเกินไป ขาดความยืดหยุ่นเพราะมี แต่ จริงหรือเท็จ ตามความจำเป็น และยากในการนำมาประยุตก์ใช้ นั่นคือ ความเจริญเติบโตของการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์โดยเน้น จริงหรือเท็จตามความน่าจะเป็น ซึ่งมีความหยืดหยุ่นมากกว่า...

การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์โดยอาศัยความน่าจะเป็นนี้ จะเห็นได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอด นั่นคือ ความรู้ใหม่จะเกิดขึ้นมาแทนความรู้เก่าเสมอ (อันที่จริง ความรู้ ตามนัยนี้ เป็นเพียง ความเชื่อ เท่านั้น)

ผู้เขียนมีความเห็นว่าความรู้หรือความเชื่อตามนัยวิทยาศาสตร์ทำนองนี้ ตรงกับความเห็นเรื่องการยืนยันหรือคัดค้านของปรัชญาเชน อินเดีย ซึ่งเรียกว่า หลักสยาทวาท โดยบอกว่า การจะยืนยันหรือคัดค้านสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม เราควรจะมีคำว่า อาจจะ  อยู่ด้วยเพื่อจะได้ไม่ผูกมัดตัวเอง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง เพราะหลายสิ่งหลายอย่างอาจมีเหตุผลใหม่มาสนับสนุน หรือเปลี่ยนแปลงไป ไม่ดำรงอยู่ดังเช่นเดิมก็ได้..

หลักสยาทวาทของปรัชญาเชน มี ๗ ประการ ดังนี้

๑. อาจเป็นไปได้

๒. อาจเป็นไปไม่ได้

๓. อาจเป็นไปได้และอาจเป็นไปไม่ได้

๔. อาจอธิบายไม่ได้

๕. อาจเป็นไปได้และอาจอธิบายไม่ได้

๖. อาจเป็นไปไม่ได้และอาจอธิบายไม่ได้

๗. อาจเป็นไปได้ อาจเป็นไปไม่ได้ และอาจอธิบายไม่ได้

ตามหลักสยาทวาทเหล่านี้ จะเห็นได้ว่ามีความอะลุ่มอะล่วยสูง ไม่บ่งชี้ว่าสิ่งใดจริงหรือเท็จอย่างจำเป็นหรือตายตัวแบบตรรกศาสตร์ของอริสโตเติล ...

และอาจกล่าวได้ว่าความเห็นทำนองนี้ใกล้เคียงกับกลุ่มนักคิดที่คัดค้านหลักการของอริสโตเติลในปัจจุบัน 

หมายเลขบันทึก: 77826เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ที่เห็นและเป็นไป ทุกอย่างในโลกนี้หาความแน่นอนไม่ได้ อาจเป็นได้ อาจเป็นไปไม่ได้ดังพระคุณเจ้าว่าไว้แท้ ๆ ...นมัสการครับ

อาจารย์วันพิชิต

ยินดีครับ...

สำนวนเพลงไทย มันบ่แน่ดอกนาย...ของเราลึกซึ้งกว่านะครับ

เจริญพร

 

สายลมเหงาแห่งขุนเขา

ผมชอบความเห็นนี้มากๆครับ พระคุณเจ้า ผมได้เคยอ่านบทความ เรื่อง ตรรกศาสตร์สมานฉันต์  ก็พูดถึงเรื่องการใช้ตรรกศาสตร์ที่มีความอะลุ่มอะล่วยซึ่งน่าจะเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์เรา เพื่อให้เกิดสันติได้แท้จริง

ขออ้างอิงบทความด้วยนะครับผม

http://www.jitwiwat.org/docs/articles/051001_chonnapa.htm

ขอนมัสการครับ

 

ไม่มีรูป
สายลมเหงาแห่งขุนเขา
เจริญพร

ผมก็ไม่ชอบความคิดแบบอริสโตเติลครับพระอาจารย์ การฟันธงไปแบบนั้น เหมาะสำหรับโลกที่ไม่ซับซ้อน

การปฏิเสธว่าไม่ใช่-ไม่ถูกต้อง-ไม่ได้นั้น ผู้พูดจะต้องรู้ทุกอย่างว่าไม่มีทางอื่นอีกแล้ว จึงจะพูดว่า "ไม่" ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ

โดยนัยนี้ หลักสยาทวาทสมเหตุผลกว่าโลกของอริสโตเติลมากครับ

น่าสนใจมากค่ะท่าน จะขออนุญาตเอาไปใช้ในการสอนนะคะ

ไม่มีรูป paradee

 

  • อนุโมทนา...

เจริญพร

เรียนถามท่าน อาจารย์

เรียนถามถึงหลักปฏิบัติของปรัชญาเชนหน่อยครับ มีอะไรบ้าง และคำศัพท์คำว่า สังวระ และนิระชรา แปลว่าอะไร ท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ จะนำไปใช้ประกอบการเรียนและสอบด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

ไม่มีรูปเรียนถามท่าน อาจารย์

 

  • แนะนำหนังสือ ปรัชญาอินเดีย ของ อดิศักดิ์ ทองบุญ

เจริญพร

ผมอย่ากให้ทำข้อมูลมากกว่านี้หน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท