BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

คดียุบพรรคกับตรรกศาสตร์


คดียุบพรรคกับตรรกศาสตร์

ผู้เขียนฟังการพิจารณามาตั้งแต่เริ่มแรก เพราะไม่จบง่าย พักหลังก็เลยฟังบ้าง หลับบ้าง และเปิดให้มีเสียงเป็นเพื่อนบ้าง... ประมาณนั้น

ตามนัยตรรกศาสตร์ มีประเด็นเรื่อง การให้เหตุผลที่พิจารณาในแง่เนื้อหา (Argumentation Materially  Considered) ซึ่งจำแนกการศึกษาเป็นหลายนัย... นัยหนึ่งก็คือ การให้เหตุผลแบบวาทศิลป์ (Rheterical Argumentation) ซึ่งจำแนกออกเป็น ๓ แบบ กล่าวคือ

  • แบบการเมือง (Political)
  • แบบพิธีรีตอง (Ceremonial)
  • แบบพูดในศาล (Juridical)

แบบการเมือง เป็นการพูดหรือการเขียนที่หวังผลในอนาคต ซึ่งปัจจุบันนี้ รายการวิทยุโทรทัศน์ การโพสต์ตาม web ต่างๆ หรือการผลัดกันขึ้นไปพูดของกลุ่มกดดันทางการเมืองตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามหลวง เป็นต้น ต่างสงเคราะห์อยู่ในแบบนี้

แบบพิธีรีตอง เป็นการพูดหรือการเขียนที่หวังผลในขณะนั้น เช่น การกล่าวหรือการอ่านรายงานในที่ประชุม การกล่าวต้อนรับ การกล่าวปิดประชุม หรือการแสดงธรรมเทศนา เป็นต้น ต่างสงเคราะห์อยู่ในแบบนี้

แบบพูดในศาล เป็นการพูดหรือการเขียนที่หวังผลในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และคดียุบพรรค ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่นี้ จัดเป็นตัวอย่างได้ดี

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตนั้น รู้เพียงบางคน มีหลักฐานเพียงบางอย่างเท่านั้น กล่าวคือ ไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริงหมดทุกอย่าง และไม่สามารถย้อนรอยกลับไปในอดีตได้... แต่เมื่อต้องการอ้างเหตุผลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเหล่านั้น ในทางตรรกศาสตร์เรียกว่า วาทศิลป์แบบการพูดในศาล

คดียุบพรรคก็เช่นเดียวกัน ฝ่ายผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง ต่างก็ใช้เหตุผล ตุลาการก็ใช้เหตุผล ซึ่งผลการตัดสินจะเป็นไปอย่างไรก็ตาม...

แต่ นักตรรกศาสตร์ถือว่า ความจริงต้องมีเหตุผล แต่เหตุผลมิใช่ความจริง    

หมายเลขบันทึก: 99762เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2007 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นมัสการ.. ความจริงต้องมีเหตุผล แต่เหตุผลไม่ใช่ความจริง(งงเหมือนกันนะครับ) ผมเข้าใจอย่างนี้ใช่ใหมครับ คือ ผมมองในประเด็นของการที่จะให้คนเชื่อว่าเรื่องที่พูดเป็นความจริง ก็จะต้องมีเหตุผลประกอบให้คนอื่นเชื่อได้ว่าจริง โดยที่ที่เหตุผลที่ยกมาอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ อย่างเรื่องวาทศิลป์ที่พูดกันในศาล ผมเคยได้ยินทนายเขาพูดกันว่าเขาจะยกเอาเหตุผลอะไรมาก็ได้ที่ทำให้คำพูดของเขาเป็นจริง ผมเข้าใจอย่างนี้ไม่ทราบว่าตรงประเด็นใหมครับ
ไม่มีรูป
small man

...ประมาณนั้น...

เจริญพร

ผมขอพูดในทัศนรัฐศาสตร์ การเมือง ต้องกฎระเบียบที่ชอบของสังคมที่มีหลักธรรมมะครองใจ คดียุบพรรคการเมืองเพื่อสนองหลัก กฎระเบียบสังคมในยุคพวกหนึ่งแต่พวกหนึ่งไม่ต้องการ เพราะวัฒนธรรมความเชื่อของคนในสังคมไทยแยกไป 3 ระดับที่ชัดเจนคือ 1.สังคมชนชั้นสูง 2.สังคมคนชั้นกลางและ3.สังคมคนชั้นรากหญ้า

หมายเลขหนึ่งคุณลักษณะ ชอบเป็นนายคนเคารพศักดิ์ศรีตนเองมาก มีทรัพย์มากต้องการความสะดวกสะบาย ชอบส่วนตัวไม่อยูใต้อำนาจใคร ฯ

หมายเลขสองคุณลักษณะ ชอบสอพลอ สะดวกสะบาย ทรัพย์พยายามหาเพิ่มทุกวิถี เพื่อขึ้นระดับหนึ่ง ศักดิ์ศรีไม่มาก ชอบพวกมากลากไป สำนึกดีมีตามกระแส ใช้จ่ายสูง   โลภจริตมากฯลฯ

หมายเลขสามคุณลักษณะ ชอบใช้จ่ายไม่คิดหน้าคิดหลัง  ปล่อยชีวิตไม่มีหางเสือ สนุกกับการเสพ (อบายมุก สม) เป็นลูกน้องไม่ยุ่งกับใคร สอพลอ  โออวด ไม่คิดอะไรรอบคอบ รายได้น้อย  ฯลฯ

สังคมไทยมีคน 65 ล้านกว่าแล้วผู้มีสิทธิการเมืองสามารถไปเลือกตั้งได้ประมาณ  40 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นคนประเภท 2และ 3เท่ากับ 80%  หนทางการกระผิดมากสูงจึงต้องยุบพรรคนั้นแหล และต้องมีอีก เพราะทุกพรรคจะไม่มีคนดี(บริสุทธิ์อยู่)ที่จับไม่ได้เพราะกระแสหมายเลขหนึ่งให้ท้าย ส่งเสริม ควบคุมอยู่ นี่แหละชาติไทยตามจริงครับท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท