13 เรื่องเล่าจาก อสม.ออนใต้ ตอนที่ 3 ... บบทบาทผู้เล่นตัวจริง


“ความสุขจากการทำงานของเขาไม่ได้อยู่ที่จุดหมายปลายทางของความสำเร็จของงาน แต่อยู่ระหว่างการทำงานต่างหาก”

         บันทึกนี้ต่อจาก บันทึกที่แล้ว   เมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำหน้าที่เป็นโค้ช  คอยให้คำชี้แนะ  และกำลังใจให้กับอสม.ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้เล่น   คราวนี้ก็คงต้องหันมามองว่า  แล้วทีมผู้เล่น  จะเล่นตามเกมที่โค้ชวางไว้อย่างไรให้ชนะ  ใครจะเป็นฝ่ายรุก  ใครจะเป็นฝ่ายตั้งรับ  และใครจะเล่นเป็นผู้ที่คอยสนับสนุนและให้กำลังใจ   ทำให้เกมเดินไปข้างหน้า  เพื่อให้ได้ผล Win Win Win  ตามความต้องการของโค้ช  ( ที่หยิบยื่นโอกาสให้ผู้เล่นๆได้ตามบทบาทอย่างเต็มที่)  และถูกใจท่านผู้ชม

        เปรียบผู้เล่นแต่ละคนในเกมกีฬา  เหมือนการทำงานของ อสม.  บันทึกนี้ผู้เขียนขอนำแนวคิดในการทำงานของแต่ละคนมาเล่าสู่กันฟัง  ว่าเขาเหล่าทำงานอย่างไร มีเทคนิคพิเศษอะไรบ้างที่แต่ละคนต่างนำมาใช้  เพื่อให้สามารถเข้าถึงชาวบ้าน    และสุดท้ายเป็นที่ยอมรับ  ซึ่งพอจะจับประเด็น ได้ดังนี้ ลองตามอ่านดูนะคะ 

       

        โดยเริ่มด้วยคำถามแรก...

อะไรคือความภาคภูมิใจที่เขาเหล่านั้นได้ทำให้กับชุมชน   ซึ่งแต่ละคนจะพรั่งพรูเล่าออกมา   แต่พอจะสรุปความได้ดังนี้

©     ภูมิใจ...ที่ได้ช่วยคนที่ติดเชื้อเอดส์ในชุมชน  ยอมรับว่าตัวเองเป็นและพร้อมที่จะเข้ารับการรักษา  ซึ่งทำให้คนไข้สามารถมีชีวิตได้จนถึงปัจจุบัน

©     ภูมิใจ...ที่ได้ช่วยผู้ที่มีปัญหาด้านจิตเวช  เข้ารับการรักษาและสามารถกลับมาทำมาหากินเลี้ยงตัวเองได้ในชุมชน

©     ภูมิใจ...ที่ชักชวนและชี้แนะให้ชาวบ้านหันมาปลูกผักปลอดสารพิษกินเองในหมู่บ้าน

©     ภูมิใจ... ที่สามารถให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพชาวบ้านได้  และเป็นที่ยอมรับ

©     ภูมิใจ... ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเชื่อใจ และไว้วางใจในการทำงาน

©     ภูมิใจ...ที่สามารถเอาความรู้ที่ได้จากการเป็น

 อสม. ไปดูแลคนในครอบครัวได้

          และสุดท้าย  คือ ภูมิใจที่ได้เป็น อสม.

 

           ต่อมาเป็นโจทย์ข้อที่ 2...

อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ไปถึงจุดนั้น   ซึ่งมีปัจจัยมากมายที่เขาเหล่านั้นนำมาใช้  เช่น

©     หมั่นพัฒนาตัวเอง   ใฝ่หาความรู้สม่ำเสมอ 

©     เรียนรู้จากการลงมือทำ  เมื่อได้เรื่องใหม่ๆมาก็จะนำมาบอกต่อกับชาวบ้านและลงมือทำเลย

©     ให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในชุมชน

©     หมั่นเข้าไปเยี่ยมเยือนชาวบ้าน

©     มีความสามัคคี  ทำงานเป็นทีม

©     ใจดี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

©     ครอบครัวเข้าใจ

©     กล้าคิด  กล้าทำ

©     มีจิตอาสา  เสียสละ  ทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทน

©     การได้รับโอกาสจากเจ้าหน้าที่และเพื่อน อสม.ด้วยกัน

©     อดทน

©     ต้องหมั่นประสานงาน

©     ผู้มีอิทธิพลในหมู่บ้านร่วมมือ  สนับสนุนเช่น กำนัน        

และคำถามสุดท้าย...  คือ

แล้วทำอย่างไร   ซึ่งแต่ละคนจะมีวิธีคล้ายๆกัน  ซึ่งพอจะจับประเด็นได้ดังนี้

ต้องสร้างการยอมรับ  โดยยึดหลัก...

1.  การสร้างศรัทธา  ด้วยการหมั่นเข้าหาชาวบ้าน  เยี่ยมเยือนถามทุกข์ สุข  และยื่นมือให้ความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้

2.  อดทน   ที่จะทำงานหนัก  เพราะเวลากลางวัน อสม.เหล่านี้ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ   แต่กลางคืนมาประชุมเพื่อทำงานให้ชุมชน

3.  มองโลกในแง่ดี  ทุกความคิดทุกการกระทำ  เพื่อประชาชน

4.  จิตอาสา ทำงานโดยไม่หวังค่าตอบแทน

         ค่อยๆทำค่อยๆปรับ เพราะทุกอย่างต้องอาศัยเวลา  เพราะเมื่อชาวบ้านยอมรับแล้ว  ขั้นต่อไป คือ

การสร้างความร่วมมือ  โดยยึดหลัก...

 1.  การทำงานเป็นทีม  เสมอภาค เคียงบ่าเคียงไหล่ระหว่างเจ้าหน้าที่ กับ อสม. 

2.  แบ่งงานตามความถนัด

3.  การให้โอกาสไม่ปิดกั้น

4.  อสม.รุ่นพี่คอยแนะนำและให้กำลังใจรุ่นน้อง

5.  สร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้าน  เป็นกันเอง

6.  การคืนข้อมูลด้านสุขภาพ  สิ่งแวดล้อม  สังคม  ให้ชาวบ้านได้รับรู้เกี่ยวกับพื้นที่ตัวเอง  

การก้าวข้ามอุปสรรค 

       อ้ายอ๊อดผู้ที่ทำหน้าที่เป็นโค้ช  บอกว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทุกงาน/โครงการ ที่มาลงที่ ต.ออนใต้มักได้ผล  เพราะ อสม.เหล่านั้นเขาเล่นตามเกม   ทำตามแผนที่วางไว้ร่วมกัน   และทุกครั้งหลังทำงานก็จะมานั่งล้อมวงคุยกันอย่างมีความสุข   ถึงแม้บางครั้งจะมีอุปสรรค ฝนจะตก  ไฟจะดับ ก็ตาม   เพื่อทบทวนร่วมกันว่า ...

  • เขาเริ่มลงมือทำจากอะไร

  • และมีปัญหาตรงไหน

  • แล้วแก้ไข..  ก้าวผ่านมาอย่างไร

  • ผลที่ได้ตามที่เราหวังหรือไม่

                             

         ผู้เขียนฟังแล้วรู้สึกไม่แปลกใจเลยว่าทำไมทุกงาน/โครงการเมื่อมาลงที่ ต.ออนใต้แล้วสำเร็จ  ...

        เพราะ อสม.ออนใต้  นำกระบวน การจัดการความรู้มาใช้ในการทำงานตั้งนานแล้วโดยไม่รู้ตัว  จึงไม่แปลกเลยที่เขาเหล่านั้นจะบอกว่า... 

“ความสุขจากการทำงานของเขาไม่ได้อยู่ที่จุดหมายปลายทางของความสำเร็จของงาน   แต่อยู่ระหว่างการทำงานต่างหาก”    

                   

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 365396เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2010 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • สวัสดีค่ะ
  • ตามภาพนี้ไปเพราะเจ้าหนูน้อย และน้องแมวหน้ารักใช่มั๊ยค่ะ วันนี้นำภาพนี้กลับมาอีกครั้ง และได้นำภาพน่ารัก ๆ มาเพิ่มให้อีกค่ะ ฮ่าๆๆๆๆๆ
  • ขอบคุณค่ะ

      

  • ขอบคุณ สอ.ออนใต้ ค่ะ
  • ที่ให้ความสำคัญ ของ กระบวนการทำงาน จริงๆ

ยินดีด้วยค่ะกับความสำเร็จของกระบวนการ KM ที่ดึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของการทำงานด้วยใจอย่างมีความสุข...

การทำงานแล้วมีความสุขนับว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนค้นพบเมื่อได้ทำโดยไม่หวังผลตอบแทน

เพราะความสุขจากการเป็นจิตอาสานั่นมันรู้สึกอิ่ม ..อิ่มใจค่ะ

ชอบประโยคนี้มากเลยค่ะ  "ความสุขจากการทำงานของเขาไม่ได้อยู่ที่จุดหมายปลายทางของความสำเร็จของงาน   แต่อยู่ระหว่างการทำงานต่างหาก”

สวัสดี ครับ

แวะมาอ่านบันทึกนี้แต่หัวค่ำเลย ครับ.. คุณมนัญญา

“ความสุขจากการทำงานของเขาไม่ได้อยู่ที่จุดหมายปลายทางของความสำเร็จของงาน   แต่อยู่ระหว่างการทำงานต่างหาก”  

ต้องอย่างนี้ ซิครับ...

มาเยี่ยมด้วยความระลึกถึง นะครับ

 

 

  • เชียร์ๆ
  • และเป็นกำลังใจให้ชาว อสม.นะคะ

P

ทำแบบเนียนไปกับเนื้องานของจริงค่ะ

โดยไม่รู้ตัว

ช่วงนี้ยุ่งไม่ค่อยได้เข้าไปคุย

วันนี้ก้ไปช่วยหมออ๊อด กับน้องยาคนสวยอีก

เฮ้อ...อิอิ  ต้องเนียนไปกับเนื้องาน

P

ถ้าทำไปปรับไป  มีความสุขค่ะ พี่ใหญ่

P

อสม.เขาไม่รู้หรอกว่าที่เขาทำนะ  เรียกว่า KM

แต่เขากลับรู้สึกว่า ทำแล้วดี  งานไม่มีปัญหา

ที่สำคัญ เขามีความสุขที่ได้มาพุดคุยกันหลังเลิกงาน

P

ไม่ให้น้อยหน้าก้ไปเยี่ยมแต่เช้าเลยเช่นกัน

อสม.ที่ทำงานด้วยใจ

เขาทำงานอย่างนี้แหละค่ะ

สวัสดีค่ะพี่เขี้ยว..มาเยี่ยมเอาช่วงทานข้าวเที่ยง ทานข้าวราดแกงเผื่อแล้วล่ะ..นอนดึกจังนะคะคงงานเยอะแร่ะ..มีความสุขมากมายทุกวันนะคะ..

งาน อสม.และงาน กศน. เป็นงานรุกช่วยคนทั้งนั้น ด้านหนึ่งช่วยสุขภาพ ด้านหนึ่งช่วยการศึกษาและอาชีพ ที่สำคัญคือล้วนแต่ "รุก"เข้าหาคน ศรัทธาในงาน ในคนทำงาน เป็นกำลังใจให้ครับ

โอ้โฮ! คุณเขี้ยวคะ คุณมนัญญาที่รัก มาอ่านบทความนี้ พี่สุ ได้มองเห็นภาพแล้วว่า โค้ชอ้ายออดแน่นอน จริงๆๆ สุดยอดแห่งการวางแผน  สุดยอดผู้นำกระบวนการ สุดยอดการจัดความรู้ สู่ อสม.  และเทคนิคการถึงชาวบ้าน และรู้จักใช้เวลาค่ำ หลังจากเลิกงาน พูดคุย กับ อสม. แม้แต่ผู้นำชุมชน มาปรึกษาหารือ  อย่างใกล้ชิด และเสมอต้นเสมอปลาย เกิดความรักความผูกพัน ช่วยกัน สร้างศรัทธา  แก่ชาวบ้านในท้องถิ่นตน รุ่นพี่ ก็แนะนำรุ่นน้องปรองดองกันไม่เกี่ยงกัน

-สุดท้าย ทุกงานทุกโครงการ ก็สำเร็จลงด้วยดี และทุกครั้งหลังทำงาน อสม.ทำงานมาแล้วเหนื่อยก็ยังได้ล้อมวงคุยกันอย่างสนุกสนาน พี่สุมองเห็นภาพแล้วคะ ทุกคนรักกัน ศรัทธากัน ศรัทธาโค้ชคะ ทุกคนรักโค้ชคะ  เพราะโค้ช จริงจัง จริงใจ ยินดีที่จะแก้ไข ยินดีที่ได้รับคำแนะนำ ยินดีที่จะเป็นผู้นำ  และยินดีทุกครั้งที่จะสรุปงาน  ขาดตกบกพร่องอะไร ทีม อสม. น้อมรับจะแก้ไข

-พี่สุว่า ถ้าประเทศไทย มีโค้ช แบบนี้ทั่วประเทศไทย พี่สุจะชื่นชม และยอมรับพี่สุ ก็คอยดู  อสม.ทางบ้านพี่สุอยู่คะ

- จากการอ่านนี้ พี่สุศรัทธา และยอมรับนะคะ สุดยอด อสม.คะ

-ความสำเร็จเหมือนดอกกล้วยไม้ ได้ออกดอกสมใจ แม้จะใช้เวลาคะ

               

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท