โรคความดันโลหิตสูงควรพบแพทย์สาขาใด ?


เริ่มต้นชื่อบันทึกนี้ เพราะว่ากำลังนั่งหาข้อมูลอยู่ค่ะว่า สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น ควรรักษากับแพทย์สาขาใด

ลองหาคำตอบ

จากการค้นหาจาก Google ด้วยคำว่า "ความดันโลหิตสูง พบแพทย์" และลองเลือกอ่านข้อมูลจากผลการค้นหาประมาณ 6-7 ลิงก์ ก็ยังไม่เจอคำตอบที่พยายามหาค่ะ ตอนแรกเข้าใจว่าน่าจะมีข้อมูลการพบแพทย์สาขาที่ควรไปตรวจรักษาอยู่ในหน้าแรก (หรือดิฉันอ่านไม่ดี) แต่ก็ไม่เจอนะคะ ก็เลยมีข้อสงสัยว่าแล้วผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวจะทราบได้อย่างไรว่าควรตรวจกับแพทย์สาขาใด

จริงๆ แล้วผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องหาข้อมูลก่อนก็ได้ใช่ไหมคะ เราสามารถไปโรงพยาบาลและแจ้งเจ้าหน้าที่ได้เลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเรามีข้อมูลอยู่แล้วก็น่าจะเป็นการดีนะคะ

ขอคำแนะนำ

ดิฉันก็เลยคิดว่าลองมาเขียนบันทึกเพื่อให้ผู้อ่านที่มีประสบการณ์หรือผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้่องท่านด้านนี้ที่แวะเข้ามาอ่าน ได้มาลองแลกเปลี่ยนหรือให้คำแนะนำไว้ค่ะ

เพื่อว่ากรณีที่มีผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยต้องการหาข้อมูล แล้ว search มาเจอบันทึกนี้ ดิฉันก็หวังไว้ว่าหลายๆ ท่านน่าจะได้คำตอบที่อยากรู้เหมือนดิฉัน

ขอข้อแนะนำเพิ่มเติม เพิ่มเมื่อวันจันทร์ที่ 12 มกราคม 2551 เวลา 12.51

ตอนนี้ได้ข้อคิดเห็นที่ได้มีการแลกเปลี่ยนไว้ ซึ่งแนะนำว่าควรหาคุณหมออายุรกรรม ซึ่งจากความคิดเห็นนั้นควรตรวจรักษากับคุณหมออายุรกรรมหัวใจ หรือ ไต หรือมีแพทย์อายุรกรรมด้านอื่นอีกไหมค่ะ? ดิฉันจึงอยากให้ท่านผู้อ่านแวะมาแลกเปลี่ยนกันเพิ่มเติมค่ะ

เนื่องจากความแตกต่างของการรักษากับคุณหมออายุรกรรมหัวใจ หรือ ไต หรือแพทย์อายุรกรรมด้านอื่นนั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร หรือด้วยความชำนาญในด้านที่แตกต่างในการดูแลผู้ป่วยจะเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยค่ะ และจากความคิดเห็นนั้นได้มีการแสดงเหตุผลของคำแนะนำไว้แล้ว ซึ่งก็น่าสนใจทีเดียวค่ะ

หากพอมีเวลา รบกวนแลกเปลี่ยนกันสักนิดนึงนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 234694เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2009 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2014 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เล่นกันสนุกๆ

ผมชอบแนะนำไป พบแพทย์ท่านอื่นๆ ก่อน หากไม่ค่อยชอบใจ ก็ค่อยมาหาผม ทีหลัง

ผมได้เปรียบเล็กน้อย

เรื่อง ความดัน ไม่ง่ายอย่างที่คิด จะเลือกแพทย์

หลักง่ายๆ คือ 1 ทานยาแล้ว ความดันลดลงดี หรือไม่

2 เลือกใช้ยาเหมาะสมหรือไม่

3 แนะนำ ผป เชื่อถือ ทำตามได้หรือไม่

บางหมอเก่งวิชา แต่พูดไม่เก่ง บางหมอเก่งสารพัดโรค เป็นศ. แต่ไม่เก่งโรคความดัน

ความรู้ ยาความดัน เปลี่ยนแปลงไปมาก เราจะรู้ความเสี่ยง ก็ตอนที่เราได้พบแพทย์จริงว่า ใช่คนที่เหมาะ กับ ผป หรือไม่ ทั้งด้านมนุษยสัมพันธุ์ และ วิชา

ได้หมอแก่ ก็อาจจะดีตรง ประสบการณ์บางอย่าง แต่ ยาอาจจะตกรุ่น

ได้หมอหนุ่ม ก็จะได้ วิชาการใหม่ ๆ และ มีแนวโน้มใช้ยาใหม่ ๆ ซึ่งก็ไม่แน่ว่า จะดีสมราคาที่แพง ตามความใหม่ นอกจากนี้ หมอหนุ่ม ก็อาจจะขาดบางอย่างที่หมอแก่ มี

เช่น หมอแก่ อาจจะแนะนำ เรื่องการดูแลตนเอง ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน ได้ ขณะที่หมอหนุ่มๆ อาจจะโห่ไล่ ความโบราณ

บางที่ ต้องทำใจ เลือกหมอ คล้ายเลือกร้าน ขนมจีน ล่ะครับ ทั้งคุณภาพ รสชาติ บริการ ราคา คือ ต้องลองเอง หรือ สืบจากคนอื่นๆ เจ้าไหน หรอยครบเครื่อง

ผมมีแนวโน้ม เชียร์ หมอโรคไต รักษาความดัน เพราะผลเสียของการรักษา ความดันไม่เก่ง คือ ไตวาย และ หัวใจ สมอง แต่ หมอหัวใจ และ หมอสมอง อาจจะไม่ถนัดตามผป ความดัน เพราะไม่ท้าทาย เท่า โรคตรงๆของเขา

ส่วนหมอโรคไต เบื่อการล้างไต ผป จึงสนใจ รักษาความดัน เพื่อป้องกันไม่ให่ไตวาย และ จะพลอยป้องกัน หัวใจ และสมองไปด้วย

นี่เป็นความเห็นส่วนตัว น่ะครับ ไม่ยืนยัน การเปรียบเทียบความสามารถแต่ละหมอได้ แต่ว่ากันจากดูยาที่หมอๆ เขาใช้ยากัน หมอโรคไต ใช้ยา คล้ายกับที่ผมชอบใช้

รู้ๆกันว่า ใครเขียน ไม่กล้าเอ่ยนาม

พี่พูดในฐานะ..เป็นญาติคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก็แล้วกันนะคะ

ถ้าเริ่มปวดศีรษะ  วัดความดันแล้วสูง ไปหาหมอ หมอจะตรวจว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูงจริงไหม  ดูจากเอกซเรย์  หัวใจโตนิดหน่อยน่าจะจริง หมอให้ยาลดความดันมากิน  ถ้าเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ก็เปลี่ยนยาได้

รักษาไปเรื่อยๆ  ความดันไม่ค่อยลด ก็เปลี่ยนเป็นหมอที่ชำนาญโรคไต  เพราะหมอจะปรับยาให้และควบคุมความดันได้ ที่สำคัญหมอจะรู้วิธีป้องกันไตเสื่อมด้วย  เพราะโรคความดันเป็นนานๆ จะไตเสีย  อาจต้องล้างไต ซึ่งทรมานมาก

สรุป น่าจะรักษากับหมอที่รักษาโรคไตดีกว่านะคะ

พบอายุรแพทย์ทั่วไปก่อนได้จ๊ะ คุณมะปราง

ความดันโลหิตสูงร้อยละ15 มาจากสาเหตุต่างๆ หนึ่งในนั้นมากที่สุดเกี่ยวกันไต

แต่อีกร้อยละ85 ไม่ทราบสาเหตุ

การรักษาอยู่ที่การใช้ยา ปรับพฤติกรรมชีวิต และการติดตามอาการสม่ำเสมอเพื่อควบคุมและค้นหาโรคแทรกซ้อนทั้งด้านหัวใจ เส้นโลหิตสมอง ไต ระบบต่อมไร้ท่อ ส่วนตัวจุดนี้เบื้องต้นจึงควรพบแพทย์อายุรกรรมทั่วไปก่อนต่อเมื่อค้นพบความเกี่ยวข้องกับอวัยวะใด ค่อยพบผู้เชี่ยวชาญสาขานั้นๆอีกครั้ง

หวังว่าคงเป็นประโยชน์

พาคนไข้ไปโรงพยาบาลด้วยนะ

ส่งคนไข้ทางe mail หมอตรวจไม่ถูกนะจ๊ะ

ว่าแต่ว่า ใครคือคนไข้เอ่ย อิ อิ

ถ้าเป็นครั้งแรก หรือสงสัยว่าจะเป็น

  • น่าจะไปหาหมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาลหรือศุนย์อนามัยใกล้บ้าน เพื่อวัดความดันว่าสูงหรือไม่ แต่การวัดความดันเวลาไปหาหมอในโรงพยาบาลแบบนั้น มักจะได้ค่าที่อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะสถานที่ หน้าตาคุณหมอ อาจทำให้เราความดันขึ้น เรียกว่า white coat effect  เพราะฉะนั้น ความดันจะต้องวัดตรวจสอบซ้ำหลายครั้ง และต้องนั่งพักก่อนสักครู่ก่อนวัด
  • เลือกหมอที่ไว้ใจได้ ว่าจะไม่หยิบยื่นโรคให้เราโดยไม่จำเป็น
  • ควรเป็นหมอหรือพยาบาลที่มีเวลาพูดคุยอธิบายและตอบคำถามได้ว่า ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ผมคิดว่าสำคัญไม่น้อยกว่าการใช้ยาควบคุม
  • ควรเป็นโรงพยาบาลหรือศูนย์อนามัยที่เราไปสะดวก ใกล้บ้าน เพราะจะต้องติดตามเป็นระยะ ไม่ค่อยแนะนำว่าจะต้องมาที่โรงพยาบาลใหญ่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เพราะมักไม่มีเวลา และการเดินทางไปตรวจซ้ำๆ ทำได้ยากกว่าสถานที่ใกล้บ้าน
  • อย่าคิดว่า จะเอาโรคไปให้หมอรักษาให้หายเท่านั้น เราต้องดูแลสุขภาพเองด้วย

แวะมาสวัสดีตอนเช้าจ้า..ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน

ต้องขอบคุณมากๆ ค่ะที่แวะมาแลกเปลี่ยนกันค่ะ

ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ต่อคนไข้และญาติคนไข้อีกหลายๆ ท่านเลยค่ะ เช่น เรื่องไต ไม่ทราบมาก่อนเลยว่าการเป็นความดันโลหิตสูงจะมีผลกระทบต่อไตด้วย

ขอบคุณทุกคำแนะนำนะคะ เดี๋ยวแว้บมาตอบความคิดเห็นใหม่อีกรอบค่ะ ต้องไปประชุมก่อนแล้วค่ะ

 

 

พบแพทย์อายุรกรรมดีสุดครับ เพราะเป็นโรคทางอายุรกรรม

  • พี่ชายเป็นหมอนวดกดจุดโบราณ ด้วยนะครับ จึงขอตอบว่า
  • ความดันสูงสังเกตอันแรกคือ
  • ตื่นนอนตอนเช้ารู้สึกปวดศีรษะง่ายและเป็นบ่อยๆ
  • จับชีพจร มักจะพบว่าเต้นแรง อยู่เสมอ
  • ตรงตาขาว อาจจะมีเส้นเลือดฝอยสีแดงมากขึ้น
  • ผู้ป่วยปวดศีรษะง่าย
  • มีอาการของโรคอื่น ๆ แทรกซ้อน เช่น
  • ปวดบั้นเอว เพราะไตทำงานหนัก
  • ปวดบ่า เพราะอาการปวดกำเริบถึงบ่า ต่อไปจะถึงท้ายทอย กระหม่อม และลงขมับนะครับ
  • ควรบำบัดตนเองก่อนเลย ได้แก่
  • เวลานอนให้นอนหมอนสูง อย่ายกเท้าสูงกว่าลำตัว
  • ลดอาหารเค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง อารมณ์เครียด
  • ความดันไม่เป็นตัวโรคแต่เป็นพื้นฐานทำให้เกิดโรคตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต หัวใจ ทำงานหนักขึ้นแล้วรุนแรงถึงขั้นไตวาย หัวใจวายได้ เบาหวาน ฯลฯ ตามมาทั้งนั้น
  • ดังนั้นเวลาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
  • จึงมักถูกรักษาแบบแยกส่วน เช่น รักษาโรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ครับ
  • ถ้าผู้ป่วยไม่เป็นมาก พี่ชายจะบำบัดโดยการแนะนำการดูแลตนเอง ร่วมกับการนวดกดจุดครับ ถ้าอาการเป็นมาก ก็จะแนะนำให้พบแพทย์ครับ

พี่ชาย ชยพร แอคะรัจน์

ขอสนับสนุนความเห็นของอาจารย์เต็มศักดิ์ครับ ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยครับ

เนื่องจากสุขภาพของเราไม่เหมือนกับรถยนต์ครับ ที่พอถึงเวลาซ่อม เราเอารถเข้าอู่ ช่างก็ซ่อมออกมาได้ ส่วนจะซ่อมดีไม่ดีขึ้นอยู่กับฝีมือและความชำนาญของช่างซ่อมอู่นั้นๆ

แต่สุขภาพของเราเอง ถึงแม้แพทย์จะสั่งยาวิเศษแค่ไหนก็ตาม ถ้าผู้ป่วยไม่หยิบยาเข้าปาก หรือหยิบยาเข้าปากแล้วแต่ยังกินอาหารเค็ม และกินอาหารที่มีไขมันสูงอยู่ ก็ไช่ว่ายาจะช่วยรักษาได้

สุดท้ายคนที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการรักษาคือตัวผู้ป่วยเอง ยกตัวอย่างผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ให้เห็นชัดเจนขึ้นนะครับ ถ้าผู้ป่วยไม่เลิกบุหรี่ก็ไม่สามารถชะลออาการของโรคได้

ขอแชร์ประสบการณ์ค่ะ เป็นความดันสูงทั้งๆที่อายุยังน้อย (คุณหมอเรียก HT in the young)

คุณหมอจะแนะนำให้งดอาหารเค็มก่อน จากนั้น 1 อาทิตย์ให้ไปวัดความดันอีกครั้ง

แต่ความดันก็ยังไม่ลด

คุณหมอก็นัดใหม่อีกวันค่ะ ให้อดอาหาร-น้ำ หลังสองทุ่มมาก่อน เพื่อเจาะเลือดตรวจไขมัน + น้ำตาลในเลือด น้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว ตรวจคลื่นหัวใจ x-rayดูว่าหัวใจโตหรือเปล่า ดูไต ว่าทำงานผิดปกติไหม

ถ้าทุกอย่างปกติก็เจาะเลือดเพิ่ม (เจอไป 4 หลอดค่ะ)เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นๆ เช่น ฮอร์โมน ต่อมไร้ท่อ ฯลฯ

ก่อนคุณหมอจะวินิจฉัย เพื่อจ่ายยาลดความดันค่ะ

ตรวจที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ค่ะ คุณหมอตรวจละเอียดมาก ก่อนจะวินิจฉัยและจ่ายยา โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกทึ่งมากกับการตรวจของที่นี่มากเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน

ได้อ่านความคิดเห็นที่ทุกท่านมาแนะนำเพิ่มเติม เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากๆ เลยนะคะ

สำหรับการดูแลตัวเองเรื่องอาหารและการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญจริงๆ ค่ะ เพราะทานยาเข้าไปช่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญคือเกิดจากปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม

สำหรับเรื่องความดัน ที่ได้เขียนบันทึกขึ้นมานั้น เพราะพ่อและแม่ เป็นความดันทั้งคู่เลยค่ะก็เลยอยากมาแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยอย่างดิฉันด้วยค่ะ

พี่ชยพร ค่ะ หากพอมีเวลาอยากให้เขียนบันทึกแนะนำเรื่องการนวดกดจุดจังค่ะ ไม่ทราบว่าผู้ป่วยหรือญาติสามารถทำให้ได้ไหมคะ

สวัสดีค่ะ

     โรคความดันโลหิตสูง  พบแพทย์ สาขาใด พี่ดาไม่แน่ใจสาขาทางแพทย์ แต่หมอที่ตรวจรักษา ที่ถูกโรคมากที่สุด คือหมอรักษาโรคหัวใจ เพราะหากความดันไม่ปรกติ หัวใจจะทำงานหนัก หรือหากไม่กินยาประจำ โอกาสที่จะเป็นโรคห้วใจโตสูงมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท