ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ ประเด็นที่น่าสนใจเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ คือ ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงความรู้ เนื่องจากประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงและมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ แตกต่างกัน

สวัสดีค่ะ สมาชิก GotoKnow.org ทุกท่าน

สถิติน่าสนใจ

สถิติการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

  • จำนวนคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปที่ใช้คอมพิวเตอร์ (ปี 2551) ร้อยละ 28.2
  • จำนวนคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปที่ใช้อินเทอร์เน็ต (ปี 2551) ร้อยละ 18.2
  • จำนวนครัวเรือนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ (ปี 2551) ร้อยละ 24.8 
  • จำนวนครัวเรือนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (ปี 2551) ร้อยละ 8.6

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สถิติด้านการเข้าถึงความรู้ในประเทศไทย

  • จำนวนคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปที่อ่านหนังสือ (ปี 2551) ร้อยละ 66.3
  • คนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือ (ปี 2551) เฉลี่ย 39 นาที/วันการอ่านหนังสือของเด็กเล็ก (ปี 2551) ร้อยละ 36

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำทางความรู้ ด้วยเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ

ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Divide)

ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงความรู้ เนื่องจากประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงและมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • เด็กประเทศพัฒนาแล้วใช้อินเทอร์เน็ตศึกษาหาความรู้ที่บ้าน ในขณะที่เด็กในประเทศกำลังพัฒนาบางคนยังไม่มีคอมพิวเตอร์
  • วัยรุ่นนิยมใช้คอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในการหาคู่รัก และเสพสิ่งอนาจาร มากกว่าใช้หาความรู้

ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ (Knowledge Divide)

ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ คือ ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้มีโอกาสและผู้ขาดโอกาสในการเข้าถึงและจัดการความรู้ เนื่องด้วยปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ การศึกษา ความเชื่อ เศรษฐกิจ ชนชั้นทางสังคม และอื่นๆ รวมทั้ง

  • การขาดแคลนเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อื่น
  • การขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อื่น
  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้ต่างๆ อย่างไม่ถูกต้อง
  • การขาดความสนใจในการเรียนรู้

ตัวอย่างความเหลื่อมล้ำทางความรู้ (Knowledge Divide)

  • สาวโรงงานแห่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการรับรอง เพื่อทำให้ผิวขาวขึ้น ด้วยความรู้เท่าไม่ถึง ทำให้เกิดอาการแพ้หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์
  • มีสถานศึกษากระจายรองรับเด็ก ๆ ในเขตเมืองมากมาย แต่ยังมีเด็กในชนบทบางคนต้องเดินเท้าหลายสิบกิโลเมตร เพื่อไปโรงเรียน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

  • ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

ครอบคลุมอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ความแพร่หลายของการใช้คอมพิวเตอร์ และการใช้อินเทอร์เน็ต

  • ปัจจัยด้านลักษณะประชากร

เช่น รายได้ ระดับการศึกษา ลักษณะการดำรงชีวิต ลักษณะของเชื้อชาติและวัฒนธรรม ฯลฯ

  • นโยบายภาครัฐ

นโยบายในการพัฒนาประเทศส่งผลต่อปัจจัยด้านต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้
ฯลฯ

การลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางความรู้ในประเทศไทยมานานแล้ว และมีพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อลดปัญหาเหล่านี้ เช่น มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหน่วยงานให้ความสนใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น

  • โครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร
  • โครงการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
  • โครงการส่งเสริมการพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึง
  • ฯลฯ

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

การลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ระดับสากล

ปัจจุบันองค์การ United Nation Educational Science and Cultural Organization (UNESCO) ได้ดำเนินการเพื่อลด Digital Divide โดยใช้แนวทางการดำเนินงานดังต่อไปนี้

  • การส่งเสริมการเข้าถึงความรู้ (Access to Knowledge) เช่น

- การสนับสนุนด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี
- การพัฒนาศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน เป็นต้น

  • การพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อการนำความรู้ไปใช้ (Capacity Building) เช่น

- การพัฒนาทักษะการใช้ ICT เพื่อการศึกษา
- การพัฒนาศักยภาพในการอ่านและเขียนของเยาวชน เป็นต้น

  • การพัฒนาเนื้อหาความรู้ (Content Development) เช่น

- การเขียนบล็อกเพื่อการพัฒนางาน พัฒนาชุมชน
- การจัดทำวิทยุและวิดีโอออนไลน์ เป็นต้น

  • การพัฒนาสื่อเพื่อการเผยแพร่ความรู้ (Media Development) เช่น

- การสร้างสื่อการสอน
- การอบรมพัฒนาผู้สื่อข่าวและนักจัดรายการ เป็นต้น

  • การส่งเสริมอิสรภาพในการเผยแพร่ความรู้ (Freedom of Expression) เช่น

- การจัดทำกฎหมายสื่อ
- การใช้สื่อเพื่อสร้างสมานฉันท์ เป็นต้น

  • การพัฒนาคลังความรู้เพื่อการเผยแพร่อย่างทั่วถึง (Memory of the World) เช่น

- การรวบรวมจัดทำสื่อเอกสารและหนังสือเก่าที่มีคุณค่าในรูปแบบดิจิตอลที่เข้าถึงและส่งต่อได้ง่าย เป็นต้น
ฯลฯ

ที่มา : United Nation Educational Science and Cultural Organization (UNESCO)

เพราะทุกสิ่งที่คุณทำ คือ ส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้

ทั้งหมดนี้เป็นข้อความที่ทางทีมงานได้สรุปประเด็นเอาไว้ค่ะ เพื่อให้ง่ายต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ การ "เขียน และ ขุดเรื่องเล่าของเราชาว GotoKnow กับ การลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้" ค่ะ

ปล.  digital divide เป็นส่วนหนึ่งของความเหลื่อมล้ำทางความรู้

ปล.อีกครั้ง ประเด็นในการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ คือ ความเหลื่อมล้ำทางความรู้และแนวทางการแก้ไขค่ะ

ปล.อีกหน หากท่านใดไม่แน่ใจว่าใช่ความเหลื่อมล้ำทางความรู้หรือไม่ และไม่ประสงค์จะใส่คำนี้จนกว่าจะมั่นใจ สามารถแจ้งลิงก์ไว้ได้ค่ะ จะตามไปอ่านทุกๆ เรื่องค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 258548เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

สวัสดี ... เจ้าหนูช่างคิด น้อง สี่ซี่ :)

แวะมาตรวจคำที่ไม่แน่ใจ

Digital Divide ใช้ภาษาไทยว่า ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ ?

คำภาษาไทยใช้ "การเข้าถึงความรู้" นั่นหมายความว่า ทุกกรณี ไม่เฉพาะเจาะจง เทคโนโลยี ใช่เปล่า ?

เด็กประเทศพัฒนาแล้วใช้ อินเตอร์เน็ต ศึกษาหาความรู้ที่บ้าน  ...

มีคำผิดพลาดครับ

ไปแหละ :) ... ผ่านมาเฉย ๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

แวะมาอีกนะค่ะ

สี่แก้ไขแล้วค่ะ พอไหวรึเปล่าค่ะ

อาจารย์ค่ะยกมือขออธิบายค่ะ ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ คือ ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ด้วยเหตุปัจจัยทั้งหมดค่ะ และวิธีช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ทั้งหมดค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อยู่ที่การใช้คำภาษาไทย ครับ :) ... บริบทของคำ Digital Divide ควรแปลว่า ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ จริง ๆ หรือครับ ถ้าใช่ก็ OK ครับ .... :)

สวัสดีค่ะน้องสี่ พี่อิงแวะมาเรียนรู้เรื่อง Digital Divide ค่ะ ซึ่งคิดว่าตัวเองยังไม่ชัดเจนนัก ต้องอาศัยเรียนรู้จากน้อง ๆ ในโกทูโนนี่แหละค่ะ ยอมรับว่าตนเองยังมีความเหลื่อมล้ำทางด้านความรู้อยู่ค่ะ  น่าจะมาจากความไม่ค่อยเอาใจใส่ของตนเองเป้นหลักใหญ่ค่ะ แต่ G2K เป็นสื่อสำคัญที่ทำให้พี่อิงลด ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงได้เยอะมาค่ะ ขอบคุณน้องสี่มากค่ะ

สวีสดีค่ะอาจารย์

สี่เปลี่ยนแล้วนะค่ะ เป็น

ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Divide) เนื่องจากปรึกษากันอย่างหนักค่ะ

คิดว่าน่าจะเหมาะแล้ว ถ้าอย่างไร อ.ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูอิง

ศึกษาไปพร้อมๆ กันนะค่ะ ทุกอย่างต้องการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

ไม่มีใครถูกผิดเสมอไปค่ะ เพียงแต่ต่างคนต่างมีเหตุผล การสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยไม่มีอคติ และเปิดใจยอมรับยอมเป็นเรื่องดีค่ะ

แต่คิดต่างแล้วห้ามโกรธ ห้ามใช้อารมณ์ ไม่อย่างนั้นอาจจะทะเลาะกันได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

:) ... เอาแค่รอยยิ้มไปแล้วกัน ... :)

ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทีมงานทั้งหมดครับ

เค้าแค่ผ่านทางมาเฉย ๆ แล้วชะแว่บ ๆ

อาจารย์Wasawat Deemarn

มาชะแว่บเช่นกันค่ะ อย่าเพิ่งเบื่อนะค่ะ

ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Divide) ต้องแจ้งว่าเกิดจากการระดมความคิดของทีมงานเท่านั้น ว่าควรจะใช้คำดังกล่าว แต่ไม่เคยผ่านการพิจารณ์โดยวงการวิชาการค่ะ

เพราะฉะนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อต่อยอดต่อไป สำคัญมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เห็นว่า...ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Divide)...เหมาะกว่า คำเดิมค่ะ
และส่วนตัว การเขียนบันทึก ที่นี่ ก็คงเป็นส่วนหนึ่ง ของประสบการณ์ ของข้อมูล และความคิดเห็น ของตัวเองไปแล้วนะคะ แม้จะเขียนไม่มาก ก็เถอะ
(จริงๆอยากเขียนมากๆ แต่ไม่มีเวลาค่ะ ทั้งทำงาน และทั้ง สอนเด็กที่บ้าน ไม่ให้เขามีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ค่ะ)
บันทึกนี้ สรุปได้อย่างชัดเจนดีค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดี ครับ คุณ P

ผมเข้ามาอ่าน

ความเหลื่อมล้ำทางความรู้ ประเด็นที่น่าสนใจเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เห็น อาจารย์ P
มานั่งอยู่ที่นี่ ด้วย ขออ่าน อย่างเดียว นะครับ 

เห็นว่า...ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Divide)...เหมาะกว่า คำเดิมค่ะ
และส่วนตัว การเขียนบันทึก ที่นี่ ก็คงเป็นส่วนหนึ่ง ของประสบการณ์ ของข้อมูล และความคิดเห็น ของตัวเองไปแล้วนะคะ แม้จะเขียนไม่มาก ก็เถอะ
(จริงๆอยากเขียนมากๆ แต่ไม่มีเวลาค่ะ ทั้งทำงาน และทั้ง สอนเด็กที่บ้าน ไม่ให้เขามีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ค่ะ)
บันทึกนี้ สรุปได้อย่างชัดเจนดีค่ะ ขอบคุณค่ะ

ไม่เบื่อครับ ... ชอบเข้ามาอ่านวิธีการคิดของแต่ละคนครับ ... ให้เราสามารถแตกความรู้และวิธีคิดของเราได้ดี ... บางทีก็เหมือน "ป่วน" แบบน่ารัก ว่าม่ะ :)

ขอบคุณ คุณ แสงแห่งความดี ที่แอบมาชะแว่บ ๆ ครับ

นะจ๊ะ น้อง สี่ซี่ ... ระวังคิ้วชนกันหนา อิ อิ

สวัสดีค่ะพี่Sasinand

ขอบคุณค่ะ

สี่ชอบอ่านที่พี่Sasinand เขียนค่ะ

ลดความไม่รู้ของสี่หลายอย่างเลยค่ะ

สี่ไม่ค่อยรู้ข้อมูลเศรษฐกิจ การเมืองเท่าใดค่ะ ส่วนใหญ่อ่านข่าวสุขภาพเป็นหลัก ก็ได้อาศัยอนุทินของพี่Sasinand และบันทึกของหลายๆ ท่านพอจะทำให้รู้เรื่องอื่นๆ ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี

อ๋อ เป็นแฟนพันธุ์แท้อาจารย์Wasawat Deemarn นี่เอง

อาจารย์Wasawat Deemarn เจ้า มีแฟนพันธุ์แท้เพิ่มแล้วเจ้า

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

คิ้วผูกกันหลายรอบแล้วค่ะ ^__^

ขอบคุณค่ะ

สิ่งสำคัญอยู่ที่ "ความเข้าใจ นำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์" มั้ยเอ่ย

ชื่อเสียงเรียงนามเปลี่ยนแปลงได้ แต่เนื้อแท้ข้างในทำอย่างไรก็ไม่สามารถเปลี่ยน

ชื่อ - นามสกุลคนก็ยังเปลี่ยนได้ ชื่อสิ่งของต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปได้ แต่เรารู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร นำไปใช้อย่างไร นั่นคือสิ่งสำคัญ

เพียงทุกท่านเข้าใจ ถือว่าเป็นผลสำเร็จ ประเด็นอยู่ที่ว่า เข้าใจหรือแล้วยัง??"

 

"แห้ว" กลายเป็น "สมหวัง"

"ลั่นทม" กลายเป็น "ลีลาวดี"

"ยาม้า" กลายเป็น "ยาบ้า"

"แฟลตเคหะฯ" กลายเป็น "แฟลตเอื้ออาทร"

"นายสมชาย" กลายเป็น "นายรัฐกิจ"

"นางสาวสมศรี" กลายเป็น "นางสาวอรปรีดา"

 

เริ่มรู้สึกสนุกซะแล้วสิ!!!

 

 

สวัสดีค่ะเกต(Jarinya)

มุมมองความคิด แตกต่าง หลากหลาย ไม่ผิด ตราบใดที่ยังอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล มิใช่อารณ์

เราเถียงกันคนละมุม อย่างไร ก็ไม่มีใครผิดใครถูก

การพูดคุยกับเรื่องชื่อเสียงเรียงนาม ในที่นี้ คือ Digital Divide นั้น เป็นการหาข้อตกลงใจร่วมกันของสมาชิกใน Gotoknow ที่สนใจในประเด็นนี้ และกำลังจะเข้าร่วม Gotoknow Forum ที่ทางทีมงานกำลังจะจัดขึ้นเพื่อระดมความคิดในเรื่องดังกล่าว

ดังนั้น จากคำสำคัญที่ว่า Digital Divide เป็นคำที่ยังไม่มีการบัญญัติภาษาไทยอย่างเป็นทางการ จึงต้องมาคิดร่วมกันว่า ควรจะใช้ภาษาไทยคำใดที่ชัดเจนในบริบท ขอบเขต ความเป็นจริงมากที่สุด

อันจะทำให้สมาชิกของ Gotoknow มีความเข้าใจเหมือนกันและตรงกันในประเด็นคิดดังกล่าวครับ หากมีความเข้าใจไม่ตรงกัน ผิดเพี้ยน หลงประเด็นอยู่ คุยกันกี่ครั้งก็คุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะเป็นคนละเรื่องเดียวกัน ครับ

ส่วนอนาคตจะมีการเปลี่ยนชื่อ นามสกุลอย่างไรนั้น ก็ต้องแล้วแต่ข้อตกลงของที่ประชุมต่อไป เพราะอย่างไร "เนื้อแท้" เราทุกคนได้ทำความเข้าใจตรงกันและพร้อมกันไปแล้ว

ลองทบทวนใหม่ตั้งแต่ต้นครับว่า เรากำลังคุยในประเด็นนี้ใช่หรือไม่ ... ถ้าไม่ใช่ ก็แสดงว่า ผิดประเด็นที่คุยกัน ... ผมก็จะปิดตัวเองที่นี่เลย

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

ทำไมจะโกยแล้วละค่ะ ไม่คิดช่วยศิษย์แล้วเหรอค่ะ

หรือสี่เข้าไปป่วนมากไปรึเปล่าค่ะ ^__^

ความคิดแตกต่าง มองคนละมุม ไม่ผิดใช่ไหมค่ะ

อาจารย์คนไม่มีรากเคยให้ข้อคิดว่าหากโลกนี้ใครๆ ก็เออ ออ ตามกัน ก็ไม่มีอะไรแตกต่าง ไม่มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้น

ที่สำคัญสี่ว่าไม่ทำให้เจอกัลยาณมิตรด้วยค่ะ เพราะมิตรที่ดีย่อมต้องตักเตือนกัน ย่อมให้อภัยกัน และเติมเต็มความรู้แก่กันและกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องสี่ซี่

  • ฝากให้อ่านด้านหน้า..ประชาสัมพันธ์ค่ะ
  • http://www.wittayasamphan.net/
  • เขียนบันทึกเยี่ยมด้วยก็ได้นะคะ

สวัสดีค่ะคุณครูคิม

แวะไปทักทายเรียบร้อย และฝากชื่อไว้แล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

น้องสี่ซี่

พี่เขียนตามความเข้าใจ เรื่อง พยาบาล..อยากก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำทางความรู้ 

เป็นความรู้สึกมานานแล้วว่า เราจะก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำทางความรู้ได้ทันไหม และเราจะช่วยกันอย่างไร ในวัยที่กลางเก่ากลางใหม่แบบพวกพี่

ลองไปตรวจงานหน่อยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะพี่แก้ว

สี่จะรีบตามไปค่ะ

ขอถามนอกรอบค่ะพี่แก้ว : กิจกรรมมอบตุ๊กตาให้น้องๆ ที่ป่วยนะค่ะมีตลอดหรือเปล่าค่ะ หรือมีแค่วันที่ 9 นี้เท่านั้นค่ะ เผอิญว่าสี่เอาตุ๊กตามาจากบ้าน ตัวเล็กๆ ประมาณ 7-8 ตัว ค่ะแต่ช่วงนี้ยังไม่สะดวกส่งเลยค่ะ ไม่ทราบว่าส่งหลังจากนี้ได้หรือไม่ค่ะ

นอกจากนี้ยังมีตัวใหญ่อีกหลายตัว ไม่ทราบว่าทาง รพ.จะรับไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะน้องสี่
  • พี่คิมไม่ได้ขโมยมานะคะ
  • ขอคุณเอกเขาแล้วค่ะ..บอกว่าขอมาให้น้องสี่
  • อีกไม่กี่วันก็ได้เจอกันแล้วนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครูคิม

ขอบคุณค่ะ เอาเป็นว่าสี่ยึดเลยนะค่ะ ^__^

แล้วเจอกันค่ะ

รักและคิดถึงค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2552

ความเหลื่อมล้ำทางความรู้

ในความคิดเห็นของผมเอง ความเหลื่อมล้ำทางความรู้นั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละปัจเจกบุคคล ไม่สามารถไปบังคับกันได้ การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ สนใจของแต่ละบุคคล ตามความสมัครใจ มีความแตกต่างที่หลากหลายกันออกไป ไม่เหมือนหรือซ้ำแบบกัน จากประสบการณ์จริง ที่ประสบจากที่ทำงาน พอสรุปสภาพของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางความรู้ ดังนี้

1.ศักยภาพ และทักษะ

ศักยภาพและทักษะของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับแรก ปรากฎว่า เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ จะว่าเป็นเรื่องใหม่ก็ว่าใหม่ จะว่าไม่ใหม่ก็ไม่ใหม่ ขึ้นอยู่ที่แต่ละบุคลจะคิด แต่สำหรับผมมองว่า ปัญหามันเกิดจากการไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของเราเองเป็นสำคัญ คนที่ไม่ยอมรับ จะบ่นว่าเป็นเรื่องที่ยาก ถูกบังคับ(เหมือนถูกจับไปขังคุกอะไรทำนองนั้น) เมื่อ 7 ปี ที่แล้ว ผมก็ไม่ยอมรับเหมือนกัน เนื่องจากสมัยนั้นประสบกับปัญหาความไม่พร้อมของอุปกรณ์ และทักษะของเราเอง แต่ระยะหลังต้องพยายามเรียนรู้ อันเนื่องมาจากถูกบีบคั้นจากการทำงาน จึงเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น หากเรารู้จักใช้ประโยชน์จากมัน สมัยก่อน ใช้อีเมลไม่เป็น ใช้อีแหม๋ว (ชื่อน้องที่ทำงาน) แทน บางครั้งมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่น ติดต่อประสานงาน บอกว่าได้ส่งข้อมูลมาให้ทางอีเมลแล้ว เราถามเขาว่า อีเมล คือ อะไร เชยจริงๆ ปัจจุบันการทำงานของผม ได้อาศัยเทคโนโลยีดังกล่าวมาช่วยได้มาก แรกๆ ก็ถามน้องๆ ผู้รู้ก่อน ปัจจุบันแซงหน้าน้องไปหลายเมตรแล้ว  เนื่องจากเราได้นำไปใช้งานจริงๆ แต่น้องบางคนใช้เล่นแต่เกมส์ และ chat คุยกับเพื่อน ตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีช่วยการทำงาน ที่บางท่านอาจจะมองว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ใครๆ เขาก็ทำเป็นกันแล้ว แต่สำหรับผมถือว่าเป็นเรื่องใหม่ของเรา คือ การจัดทำรายงาน เพิ่งมาหัดใช้ Microsoft word เมื่อปลายปีที่แล้ว ตอนไปอบรมที่ออสเตรเลีย ต้องทำรายงานส่งอาจารย์ เกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่ก็พยายามลองใช้ ถึงได้รู้ว่าไม่ยากอย่างที่คิด ปัจจุบันผมยอมรับว่า ตัวเองยังไม่มีความรู้เรื่อง การจัดการความรู้เลย สมัครเป็นสมาชิก gotoknow ปีกว่าแล้ว แต่ไม่ค่อยได้เข้าไปใช้งาน เห็นสมาชิกหลายท่าน ส่งข้อคิดเห็นต่างๆ แถมมีรูปประกอบ เห็นแล้วยังอิจฉาว่า เก่งจริงๆ ทำได้อย่างไร เพิ่งมาตื่นตัว จากแรงกระตุ้น จากการจัดงานเสวนาครั้งนี้ ส่งใบสมัครเข้าร่วม งานตั้งแต่ต้นเดือน เปิดดูรายชื่อทุกวันด้วยใจจดใจจ่อ ปรากฎว่า ทางเว็บไซด์ แจ้งว่าปิดรับสมัครแล้ว ทำให้ใจหล่นไปถึงอยู่ที่ตาตุ่ม  นึกว่าคงหมดหวังแล้ว เนื่องจากไม่มีชื่อปรากฎ เพิ่งมาเปิดดูเมื่อไม่กี่วันด้วยความไม่ตั้งใจ ปรากฏมีชื่อให้เข้าร่วมงาน ดีใจมากๆ ยิ่งกว่าถูกหวยเสียอีก แอบร้องไชโยอยู่ในใจคนเดียว หากตะโกนดังๆ คนอื่นจะหาว่าเราบ้า ผมมีความคาดหวังว่า จะนำความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาการจัดองค์ความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่สำนักงานฯ รับผิดชอบอยู่ เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้างต่อไป

2. กัลยาณมิตร หมายถึง เพื่อน หรือเครือข่ายที่นำความรู้มาให้ ก็มีส่วนสำคัญมาก ความรู้เรื่อง เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก หากจะให้เราไปตามมัน มันก็ยิ่งหนีไปไกล ตามไม่ทันหรอก ผมยึดหลักเทคโนโลยีเพียงพอ หมายถึง เลือกใช้ตามความเหมาะสมในการใช้งานของเรา อย่าไปลุ่มหลงมันมาก เหมือนกับมันเป็นวัตถุ ยิ่งตามก็ยิ่งเหนื่อย แถมเสียเงินเสียไปซื้อมา แต่ใช้ไม่คุ้มค่า ตัวอย่างเช่น ที่ทำงานของผม 2 ปี ที่แล้ว ซื้อ notebook แจกบุคลากรระดับผู้บริหารระดับกลาง เลือกซื้อรุ่นใหม่ล่าสุด core to dual สมัยนี้คงเก่าแล้ว เครื่องละ 5 หมื่น ปรากฎว่า เหมือนดั่งสุภาษิตที่ว่า ลิงได้แหวน บางคนรับไปแล้ว บ่นว่าเป็นภาระต้องเก็บรักษา กลัวหาย ตอนหลังยกให้ลูกน้องใช้ ก็ยังดี บางคนใช้สำหรับเล่นเกมส์เท่านั้น ตูละหน่าย แล้วก็มาบ่นว่าตัวเองไม่พร้อม ต้องโทษตัวเองว่า ไม่ยอมเรียนรู้เอง บางคนจบสาขาที่เรียนแสนยาก ยากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์เสียอีก แต่ดั่งคำสอนของพระสงฆ์ดังๆ บางรูป สอนว่า เพราะจิตของเรา ไปปิดกั้นตัวเอง ว่า เราทำไม่ได้ มันก็ทำไม่ได้ไปจนตาย หากเปลี่ยนความคิดว่า เราต้องทำได้ มันก็ต้องทำได้

3. อายุ ที่ทำงานผม กลุ่มบุคคลที่อายุเกิน 45 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะไม่ยอมเปิดใจเพื่อจะรับการพัฒนาในเรื่องดังกล่าว บ่นว่าแก่ หรืออาวุโสบ้าง แต่บางเรื่อง ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุเช่น การไปเที่ยวในสถานบันเทิงต่างๆ กลับให้เหตุผลว่า อายุเป็นเพียงตัวเลข เสียนี่ จริงๆ อายุเป็นเพียงตัวเลข จริงอย่างที่คิด เมื่อ 2 ปี ที่แล้ว ผมไปอบรมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดความประทับใจ ต่อวิทยากรท่านหนึ่ง ขอเอ่ยนามครับ ท่านผู้นั้น คือ ท่านคัมร์ภี แก้วเจริญ (หากจำชื่อผิดขออภัยด้วย) อดีตอัยการสูงสุด ตอนนั้นท่านเกษียนแล้ว แต่ท่านบรรยายเรื่องกฎหมาย โดยนำ website ที่ทำขึ้นด้วยตนเอง ขึ้นจอสอนพวกเรา ผมสอบถามท่านว่าไปเรียนจากที่ใดมา ท่านบอกว่า เรียนด้วยตนเอง ถามลูกบ้าง นับจากวันนั้นเป็นต้นมา ผมเชื่อมั่นว่า อายุเป็นเพียงตัว แต่เพียงบางเรื่องเท่านั้นนะ ผู้อาวุโสทั้งหลายอย่าหลงดีใจนะจ้ะ  วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อนครับ หากมีเวลา และนึกอะไรใหม่ๆ ได้ จะเขียนเพิ่มเติมให้

ฉลอง- สิ่งแวดล้อม

การเรียนรู้

เมื่อวานได้ไปกราบพระที่นับถือ ท่านบรรยายธรรมให้ฟัง พอสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเรียน การศึกษา ดังนี้

"เรียนให้เห็นคุณค่า  ศึกษาให้เห็นประโยชน์" ไม่ใช่สักแต่ว่าเรียน เพื่อให้ได้ปริญญา แต่ไม่ได้ตระหนักว่า ได้ความรู้อะไร ที่จะนำไปใช้ในการทำงาน และการครองชีวิต  การเรียนรู้ในปัจจุบัน มีแหล่งเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบมากมาย ให้เราเลือกเรียนรู้ได้ตามต้องการ ขึ้นอยู่ว่าเราจะใส่ใจเพียงไร    

     ฉลอง- สิ่งแวดล้อม

 

เห็นด้วยครับ กับคำว่า ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Divide)... หากเรามองประเด็นการเข้าถึงความรู้ หัวข้อมันจะกว้างเกินไปเนื่องจากการเข้าถึงความรู้มีมากมายหลายวิธี และหลายแหล่งความรู้

ประเด็นที่เน้น การเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยสารสนเทศ ตรงประเด็นที่สุด เนื่องจาก gotoknow เป็นการเข้าถึง และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ด้วยการอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศตรงๆ เลยครับ

ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

ความเลื่อมล้ำทุก ๆ ทาง เกิดจากความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เราเองครับ ไม่ว่าจะเป็นความเลื่อมล้ำทางการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง สุขภาวะ สังคมใดมีความเห็นแก่ตัวน้อยมีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือตนเองร่วมกัน มาก มองความมั่งคงที่อยู่นอกระบบเงินตรา เช่น ความเป็นพี่เป็นน้อง ความเมตตากรุณาต่อเพื่อนในชุมชน การรู้จักให้การแบ่งปันสิ่งของและน้ำใจ การเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ความสามัคคีของหมู่คณะ การรู้จักให้อภัยอย่างมีเหตุผล ถ้าชุมชนใดสังคมใด พยายามสะสมความมั่งคั่งที่ไม่ใช่ระบบเงินตรา สังคมนั้นก็จะมีความเหลื่อมล้ำน้อยลง ความขัดแย้งก็น้อยเช่นกัน แต่สังคม ชุมชน คน ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ถูกสอน ให้เป็นผู้เอาตัวรอด สอนให้ชนะ สอนให้แข่งขันกันอย่างเสรี จนในที่สุดก็ขาดคุณธรรม สั่งสมความมั่งคั่งในรูปของเงินตรา และวัตถุ ขาดน้ำใจ ขาดความเมตตา ธุระไม่ใช่ ทำงานที่มีผลตอบเป็นเงินตรา ไม่ได้เงินไม่ทำ หรือได้น้อยก็ไม่อยากทำ จนกลายเป็นสังคมตัวใครตัวมัน บูชาทฤษฎีของชาลดาวิน ผู้ชนะเท่านั้นที่จะอยู่รอด(ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล จนถึงขั้นทุจริต คดโกง และทำร้าย และทำลายล้างก็มี) และผสมผสานกับทฤษฎีของอาดัม สมิธ ทางเศรษฐกิจทุนนิยม+เสรีนิยม คนมีทุนเงินและทรัพย์สิน รวมถึงปัจจัยการผลิตเท่านั้นที่จะได้รับความนิยม และมีความเสรี ที่จะทำอะไรก็ได้ที่ตนคิดจะทำ บางคนร่ำรวยมาก ๆ สามารถทำสิ่งผิดให้เป็นถูก ทำสิ่งถูกให้เป็นผิดก็มีให้เห็นในสังคม จากเหตุผลส่วนหนึ่งที่กล่าวมา ทำให้คนยิ่งสะสม เงินทอง วัตถุ เพื่อความสนุก สะดวก สบาย คิดว่าเงินเท่านั้นที่จะทำให้มีความสุข แต่ส่วนใหญ่เป็นความสุขที่ตามมาด้วยปัญหามากมาย ครับ สิ่งที่ผมเจออยู่ในชีวิตประจำวันขณะนี้ก็คือ

อาหารแพง

ที่อยู่อาศัยแพง

พลังงานแพง

ค่าเรียนพิเศษแพง กลัวลูกสู้คนเมืองไม่ได้

ตำรา หนังสือ ดี ๆ แพง

ห้องสมุดสาธารณะมีหนังสือน้อย หนังสือเก่าๆ แย่งกันยืมอ่าน

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีตำรา หนังสือดี ๆ ค่าบำรุงแพง ประชาชนทั่วไปเข้าไม่ถึง

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ไม่ได้เรียนต่อมีเยอะ

เด็กและคนไทยที่ยังเข้าไม่ถึงสื่อ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต ยังมีอีกมาก

และเด็ก ๆ เข้าถึงสื่อเหล่านี้ได้ส่วนมากก็คือ ติดเกม และถูกมอมเมา

ค่าแรงต่ำสำหรับผู้ไม่มีการศึกษา ไม่มีวุฒิ ทำงานกันทั้งบ้าน เดือนหนึ่งได้รายได้น้อยกว่าผู้มีความรู้ทำคนเดียว คนงานรับจ้างแรงงานทำขนมทั้งวัน 8 ชั่วโมง ได้รายได้วันไม่เกิน 180 บาทอาจารย์มาบรรยายให้ความรู้เรื่องทำขนม ชั่วโมงละ 2000 บาท ผู้มีความรู้ นักวิชาการ อาจารย์ นักธุรกิจ มีรายได้หลายทาง รายได้ห่างกันมากครับ สังคมบ้านเรา

อ่านข้อความข้างล่างนี้แลัวทำให้ผมสบายใจขึ้นครับ

"สิ่งที่ติดตามร่างผู้ตายไปนั้นมีอยู่สามประการ

หนึ่งคือลูกเมีย

หนึ่งคือทรัพย์สิน

และอีกหนึ่งคือผลแห่งกรรมที่ทำไว้

สองในสามหันหลังกลับและเหลือไว้เพียงหนึ่งเดียว

ที่หวนกลับคือลูกเมียและทรัพย์สิน

ส่วนที่คงอยู่คู่คนตาย

เพียงหนึ่งเดียวย่อมเป็นผลแห่งกรรมของตน”

(บุคอรีและมุสลิม)

มนุษย์เรามักชอบสะสมและแก่งแย่ง ชิงดี เพื่อให้ได้ซึ่งทรัพย์สินเงินทอง

ลาภ ยศ ตำแหน่ง สรรเสริญ และสุขทางโลก (กิน กาม เกียรติ)

บางคนถึงกับทำลายล้างผู้อื่น คิดทำทุจริต คดโกง ทำในสิ่งที่ผิดทำนองครองธรรม

ขาดสติ และจิตสำนึกที่ดี ต่อสังคมส่วนรวม บางคนทำไม่ได้สมดังใจหวัง

ที่อยากจะได้ ก็ถึงกับทำร้ายตนเองก็มี นับวันแต่จะมีทุกข์

สังคมวุ่นวายมาขึ้นถ้าทุกคนคิดแต่จะได้ ไม่ยอมเสียสละบ้าง

การเสียสละคือการรู้จักให้ เป็นการให้อย่างมีสติ คือมีศรัทธาก็ทำบุญทำกุศลโดยไม่เกิดกำลังทรัพย์ปัญญาของตน

รู้จักคำว่าพอ รู้จักคำว่าให้ รู้จักคำว่าแบ่งปัน ค่อยทำ ค่อยฝึก

ชีวิตจะเป็นสุขเย็น มากกว่าความสุขจากการสะสม เพราะความสุขที่แท้จริงคือความสุขที่ไม่ตามมาด้วยความทุกข์และปัญหา

เงิน ทรัพย์สมบัติ ส่งเราได้แค่เพียงโรงพยาบาล ร้านหมอ

ลูกคู่สมรส ญาติ เพื่อน ส่งเราได้แค่เพียง เชิงตะกอน หรือหลุมฝังศพ

การกระทำกรรมดี หรือกรรมไม่ดีต่างหากที่เราทำ

จะติดตามไปส่งเราและอยู่กับเรา

“เศรษฐี ตามอุดมคติทางศาสนาพุทธ แปลว่า มีความประเสริฐที่สุด

ประเสริฐตรงเศรษฐีนั้นมีธรรมะ รู้ว่าการงานนี้เป็นธรรมะ ก็สนุกในการทำงาน

ก็เลยผลิตได้มาก ครั้นได้มาก แต่กิน - ใช้แต่พอดี มันก็เหลือมาก

เมื่อเหลือมากก็เอาไปช่วยผู้อื่น

สรุปว่า ผลิตมาก กินใช้แต่พอดี เหลือช่วยผู้อื่น

ฉะนั้น ชาวไร่ชาวนาก็เป็นเศรษฐีได้

ถ้าทำนาทำไร่เต็มความสามารถ

มันก็กินไม่หมด กินแต่พอดี ยิ่งไม่หมด เหลือก็ช่วยผู้อื่น”

(ท่านพุทธทาส)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท