สังคมสันติสุขท่ามกลางความหลากหลาย - บทเรียนจากแม่ฮ่องสอน


ก่อนที่รัฐจะเข้าไปจัดการ ควรให้ชุมชนจัดการปัญหาด้วยตนเองก่อนเพราะเจ้าของปัญหาย่อมรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดี ซึ่งอาจจะมีทางออกอยู่แล้ว หรือขอเพียงพื้นที่พูดคุยเพื่อปรับความเข้าใจกันมีความเห็นร่วมที่จะดำเนินการ (Common ground for action) ที่สำคัญเราไม่ควรละเลยภูมิปัญญาของท้องถิ่น(Local Wisdom)ในการจัดการปัญหาของชุมชน

เป็นธรรมดาเรื่องของ ความขัดแย้ง (Conflict) ที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ สำคัญที่ว่า เราจะจัดการความขัดแย้งนั้นด้วยกระบวนการแบบไหน และเราคาดหวังผลลัพธ์อย่างไรกับความสัมพันธ์

Mhslahu

ชุมชนเล็กๆ เพิ่งยกฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ที่ไกลปืนเที่ยง ทุรกันดาร เราหลายคนให้นิยามว่า พื้นที่ชายแดน ผสมกับความลักษณะเป็นพื้นที่ชายขอบของประเทศไทยของเรา  สิ่งที่น่าสนใจคือ พื้นดังกล่าวมีความหลากหลายสูงทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ คน เชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะที่อำเภอปางมะผ้า มีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด ถึง ๗ กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ลาหู่(ดำ แดง) ปกาเกอญอ ม้ง  ลั๊วะ ไทยใหญ่ และคนเมืองพื้นราบ ร่วมอาศัยอยู่ด้วยกันในอย่างสงบสุข และเอื้ออาทร เรื่อยมา

 

อ้างอิงภาพจาก www.oknation.net.blog/dada

มีคำถามว่า เมื่อมีความแตกต่างหลากหลายมากขนาดนี้ มีปัญหาความขัดแย้งบ้างหรือไม่ ? คำถามนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจ เพราะธรรมชาติ ความหลากหลาย ความไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ไม่เป็นไปตามแนวทางกันได้ง่าย สิ่งที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือ พื้นที่ที่นี่มีกระบวนการจัดการความขัดแย้งอย่างไร? มีทุนอะไรที่ช่วยแก้ไข ป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น? นี่ต่างหากที่น่าสนใจสำหรับประเด็นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สมานฉันท์

ปัญหาความขัดแย้ง มุมมองจากที่ได้มีโอกาสทำงานในพื้นที่ ผมมองได้ใน ๒ ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้

ประเด็นแรก เป็นความขัดแย้งด้านความคิด  เป็นการขัดแย้งอันเกิดจากความคิดที่ต่างกัน ทางอุดมการณ์ระดับบุคคล ชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะกลุ่ม รวมไปถึงประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy) ที่ต้องมีการคัดเลือกตัวแทนเพื่อพัฒนาท้องถิ่น นับตั้งแต่ระดับ สว. สส. ลงมาถึง อบต. แม้กระทั่ง ผญบ.  การเมืองท้องถิ่นเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้ง เพราะเกิดการรวมพวกขึ้นในชุมชน มีชาวบ้านคนหนึ่งเคยคุยกับผมว่า การเมืองท้องถิ่นทำให้ชุมชนของพวกเขาเกิดความขัดแย้งกันมากขึ้น

ประเด็นที่สอง เป็นความขัดแย้งด้านการแย่งชิง (seize) ทรัพยากร ประเด็นนี้เป็นประเด็นความขัดแย้งที่คลาสสิค พื้นที่หลายๆพื้นที่มีความขัดแย้งประเภทนี้มาก และก่อให้เกิดความรุนแรง เสียหายมากหากไม่มีกระบวนการไกล่เกลี่ยที่ดีพอ ที่อำเภอเล็กๆแห่งนี้ก็มีประเด็นดังกล่าวอยู่ด้วย ไม่ว่าจะขัดแย้งโดยตรงกับรัฐ กรณี ชาวบ้านขัดแย้งกับหน่วยงานป่าไม้ ในการทำไร่ ทำสวนในพื้นที่หวงห้าม  การขัดแย้งกันในชุมชน และระหว่างชุมชนที่มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

ประเด็นใหญ่ๆที่ผมยกมา เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งในพื้นที่หลักๆ แต่ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งที่ขยายวงกว้างมากขึ้น คำถามต่อไปว่า แล้วชุมชนมีภูมิปัญญา หรือมีกระบวนการการจัดการความขัดแย้งอย่างไร?  ประเด็นนี้ทางนักวิชาการของสถาบันพระปกเกล้าเลียบๆเคียงๆถามผมเหมือนกันว่า ประสบการณ์จากพื้นที่ไหนบ้างที่ ใช้ ระบบทุนของท้องถิ่น มาใช้จัดการความขัดแย้ง เป็นการจัดการความขัดแย้งแบบไทยๆของเรา

ผมลองนั่งทบทวน ทุน ในพื้นที่ที่มีส่วนในการจัดการความขัดแย้ง ว่าน่าจะมีปัจจัยอะไรบ้าง

 

-          ระบบอาวุโส ที่ชุมชนยังให้ความสำคัญสูง ระบบแบบนี้จะช่วยในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับบุคคล ชุมชนได้

-          วัฒนธรรมในการพูดคุยที่เปิดใจ มุ่งเพื่อการแก้ไขปัญหาโดยให้ความสำคัญกับความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย เช่น ให้มานั่งตกลงกัน โดยมีผู้อาวุโส ผู้นำในระดับต่างๆในชุมชนมาเป็นสักขีพยาน

-          ลักษณะความเป็นเครือญาติสูง ในสังคมชนบท

-          การนับถือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ผี รุกขเทวดา ความเชื่อเหล่านี้ทำให้เกิดความยำเกรง การทำผิด การขัดแย้งนำไปสู่การถูกลงโทษโดยสิ่งเหนือธรรมชาติเหล่านี้ ความเชื่อแบบนี้ยังเข้มข้นในพื้นที่ชายขอบ และพื้นที่สูง

-          กระบวนการพัฒนาโดยรัฐที่มีระบบผู้นำทางการ รวมไปถึงการจัดการความขัดแย้งที่อาศัย กฏหมายบ้านเมือง เป็นทางเลือกสุดท้ายเพราะการตัดสินความขัดแย้งด้วยวิธีนี้แข็งเกินไป

 

อย่างไรก็ตามผมมองว่า ไม่มีใครชอบความขัดแย้ง เพราะนอกจากทำให้ความสุขลดลงแล้ว ยังมีผลกระทบด้านสังคมมากมาย คนเราต้องการความสุข สบาย ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินกันทั้งนั้น ทางออกที่เหมาะสมน่าจะเป็นอย่างไร?

-          ยอมรับความแตกต่าง มีมุมมองต่อความต่างว่าเราสามารถอยู่ร่วมกันได้ และความต่างสามารถเติมเต็มให้กันและกันได้

-          มีมุมมองที่กว้างต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม

-          ปลดปล่อย อคติ (Bias)ที่อยู่ในใจให้หมดไป ใช้ใจที่เป็นกลางในการมองปัญหาที่เกิดขึ้น และหาทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

-          มีพื้นที่พูดคุย พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ

 

สิ่งที่นำเสนอมาในบันทึกเป็นประสบการณ์จากพื้นที่ เน้นย้ำให้เห็นว่า ถึงแม้ความแตกต่าง ความหลากหลายมีมาก แต่นั่น ก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ที่ก่อให้เกิดความรุนแรงตามมา บทเรียนจากพื้นที่ที่แตกต่างแบบนี้ สามารถหยิบแง่มุมบางมุมมาใช้อธิบายและค้นหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ก่อนที่รัฐจะเข้าไปจัดการ ควรให้ชุมชนจัดการปัญหาด้วยตนเองก่อนเพราะเจ้าของปัญหาย่อมรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดี ซึ่งอาจจะมีทางออกอยู่แล้ว หรือขอเพียงพื้นที่พูดคุยเพื่อปรับความเข้าใจกันมีความเห็นร่วมที่จะดำเนินการ (Common ground for action) ที่สำคัญเราไม่ควรละเลยภูมิปัญญาของท้องถิ่น(Local Wisdom)ในการจัดการปัญหาของชุมชน

 


  

ร่วมรับฟังการสัมภาษณ์สดผมใน ประเด็น สัมภาษณ์สดวิทยุรัฐสภา ชุมชนสมานฉันท์สันติสุขบทเรียนจากพื้นที่ ได้

จากรายการรายการมุ่งสู่ประชาธิปไตยไปกับสถาบันพระปกเกล้านำเสนอความรู้ด้านการเมืองการปกครองส่งเสริมแนวทางตามระบอบประชาธิปไตย และกิจกรรมการดำเนินงานของสถาบันพระปกเกล้าผลงานทางวิชาการของนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า ในวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา ๒๐.๐๐ ๒๑.๐๐ น. วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑ นี้ครับ ผ่านทางสถานีวิทยุรัฐสภา http://www.radioparliament.net/index.php หรือ ทาง FM ๘๗.๕๐ MHz.

 

 

 อ้างอิงภาพจาก http://www.oknation.net.blog/dada

 

หมายเลขบันทึก: 184778เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2008 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (43)

คุณเอก กลับมาถึงบ้านปาย แล้วหรือคะ

- - หนุ่มน้อยชีพจรลงเท้า - - 

... การสร้างเอกภาพท่ามกลางความหลากหลายค่ะ  ....

- - Unity in Diversity  - - เป็นสิ่งน่าท้าทายนะคะ

- -  เป็นกำลังใจให้ค่ะ  - -

หวัดดีค่ะ...

- ไม่มีใครชอบความขัดแย้ง เพราะนอกจากทำให้ความสุขลดลง

   แล้ว   ยังมีผลกระทบด้านสังคมมากมาย  ใช่ค่ะ...แต่บางครั้ง

   การอยู่ร่วมกันก็คงต้องทำใจ

-  ปลดปล่อย อคติ ( Bias ) ที่อยู่ในใจให้หมดไป ใช้ใจที่เป็นกลาง    

    ในการมองปัญหาที่เกิดขึ้น และหาทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

    ดีค่ะ...

-   แวะมาอ่านข้อคิดดี ๆ ค่ะ

@ แวะมาอ่านค่ะ...แม่ฮ่องสอน  เป็นจังหวัดในดวงใจ  ที่อยากไปที่สุดในชีวิต...

ก้อ..ได้แต่หวังว่า  ซักวันนึง  จะได้ไปสัมผัส..กลิ่นไอแห่งธรรมชาติ และวัฒนธรรม  ณ ที่แห่งนี้   ซักครั้งในชีวิต  ก้อยังดี

                                                                    

 

ขอบคุณครับ อ. นายประจักษ์ ที่มาให้กำลังใจสม่ำเสมอ ผมพยายามเขียนประสบการณ์เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกัน

หากท่านมีข้อชี้แนะ เรียนเชิญ แลกเปลี่ยนได้นะครับผม

 

ส่วนใหญ่ผมอยู่ที่ กทม.ครับคุณ poo  และ เดินทางไปใต้บ่อยๆด้วยภาระงาน และอีกวันสองวันคงไปแถบโคราชครับ

เรื่องของ ปาย เรื่องของแม่ฮ่องสอน ในในความทรงจำเสมอ พร้อมเขียนได้ทันทีครับ หากมีประเด็นที่น่าสนใจ...แต่หากสถานการณ์ที่ update ต้องลงพื้นที่ ...ไม่ได้กลับบ้านมาเดือนครึ่งแล้วครับผม

ขอบคุณรูปภาพสวยๆครับ กำลังใจดีๆ

ขอบคุณครับ คุณ windy  สบายดีนะครับ

ทางโน้นเป็นยังไง มาเล่าสู่กันฟังหน่อยครับ ...

ยินดีเสมอสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับผม

*** อย่าลืมฟังวิทยุรัฐสภาคืนพรุ่งนี้นะครับผม

  • แวะมาอ่านเก็บเกี่ยวความรู้เรื่องปายค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่นำมาแบ่งปัน

ครู@..สายธาร..@ ไปเที่ยวได้นะครับ แม่ฮ่องสอน เมืองโรแมนติคในอ้อมกอดของขุนเขา และหมอกสวย ...เมืองไทยไม่ไปไม่รู้ มีของดีมากมาย

หากไปช่วงผมว่าง ผมจะเป็น "คนนำทาง" ให้นะครับผม

 

ภาพมาก่อนคอมเมนต์เดี๋ยวตามมาครับ...

 หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ ครับ

ไม่ได้เขียนเรื่อง "ปาย"เลยครับผมช่วงนี้ ประเด็นต่างๆไปโพกัสที่ ใต้หมด

ในบันทึกเก่าๆของผมครับ มีเรืองราวมากมายของเมืองปายไปหาอ่านได้

หากหมอไปเที่ยว อย่าลืม Blogger ของเราที่ปาย น้องหมอสุพัฒน์ หมอรอน และ หมอสมคบ (ผอ.รพ.)ที่ โรงพยาบาลปายนะครับ

เพื่อน Mr.Direct  ครับ

เอ...ภาพคุ้นๆนะครับผม ที่ไหนเนี่ย!!! ใครกันหนอพาไปเที่ยว ดูแล้วน่าไปเยือนอีกครั้งนะครับ

ภาพแต่ละภาพมีความหมายเสมอ

--------------

ภาพที่ บ้านใหม่ลีซู ที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ช่วง กพ. ๕๑ ที่ผ่านมา งานประเพณี "ปีใหม่กินวอ" หรือ กู่เฉียะ  ของพี่น้องลีซู

ขอบคุณเพื่อนมากครับ

อ่านแล้วก็น่าเห็นใจนะคะ..ชักเริ่มเครียดตามแล้วค่ะ..

ยังไงก็เอาใจช่วย..ถ้าเราไม่ท้อ..ทุกอย่างย่อมมีทางออกเสมอ..

เป็นกำลังใจให้ค่ะคุณเอก..อืม..นอกเรื่องนิดค่ะ..

วันก่อนคุยกะพี่ครูแอน..พาดพิงถึงคุณเอกด้วยค่ะ..อิอิ

พี่แอนเล่าเรื่องไก่เทพารอคุณเอก...จนหงอยเลยค่ะ..

ไม่ต้องกลัวว่านินทานะคะ..นินทาไปแล้วค่ะ.เอ๊ยไม่ใช่..ชมคุณเอกไปหลายเรื่องค่ะ..เช่น....ฯลฯ(แต่อย่าลืมหุบความบานของใบหน้าด้วยนะคะอิอิ ^^)

 

คุณครูแอ๊ว อย่าเครียดเลยครับ เราต้องยอมรับว่า "ความขัดเเย้ง" เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของชุมชน แต่น่าสนใจว่าเราจะมีกระบวนการจัดการอย่างไร? นี่น่าสนใจกว่า

ส่วนเรื่องเบาๆ...ผมลืม ไก่ทอดเทพา ได้ไงไม่รู้ น่าเคาะกระบาลคนหล่อจังครับ เพราะต้องรีบไปขึ้นเครื่องที่หาดใหญ่ เลยไม่ได้ไปรายงานตัวที่เทพาเลยครับ.. ต้องขออภัยพี่แอนครับ

เรื่องนินทา ผม..มาได้เลยครับ เอ๊ะ..บอกผมสักหน่อยได้มั้ยครับ อิอิ

ไม่บอกปล่อยให้งง..สนุกกว่าค่ะ..^^

...

 

 

ล้อเล่นค่ะ..(สนุกจริงๆ...))))

พวกเราก็คุยกันว่า..พี่แอนเจอกะใครบ้างแล้ว..พี่แอนก็บอกว่าเจอกะคุณเอก..คุณขจิตแล้วก็ฯ

แล้วพี่แอนก็บอกว่าคุณเอกคงจะไม่ลืมหรอกแต่อาจจะเกรงใจ.เลยไม่ได้แวะมา..ใช่ปะคะ?

แต่ที่นินทา เอ๊ย ชมน่ะ..เราชมคุณเอกว่าเป็นคนละเมียดละไม..ภาษาสวย..ถ่ายรูปงามน่ะค่ะ..เขียนบันทึกได้น่าอ่าน..

ฟังจบแล้ว..ก็จับๆอะไรไว้กันลอยด้วยนะคะ..เป็นห่วงค่ะ.อิอิ

สงสัยอะไรอีกมั๊ยคะ..หลับสบายแล้วใช่มั๊ยคะคราวนี้....^^

 

สวัสดีค่ะคุณเอก

ความขัดแย้งกับการเมืองกลายเป็นของคู่กันไปแล้วมั้งคะ

พี่อยู่ ตจว.จะฟังคุณเอกได้ทางสถานีไหนล่ะคะ

ส่งกำลังใจมาช่วยทำงานค่ะ

*** ดีค่ะ

*** ชอบภาพถ่ายมีสีสันมากค่ะ อยากค้นหา อยากไปเจอ ชาวเขาเหล่านี้อีกครั้งค่ะ

*** พี่อรเคยไปเที่ยวดอยเมื่อหลายปีก่อน บุกไปถึงบ้านบนดอยของเค้าเลยค่ะ ก็พบว่าบางเผ่าเค้ามีวิถีชีวิตที่เป็นคนเมืองมากๆ ขึ้นนะคะ มีของใช้ทันสมัยมากขึ้นค่ะ

หวัดดีครับน้องเอก

  • จริงครับไม่มีใครรู้ปัญหาดีเท่ากับคนในชุมชน..ควรให้ชุมชนร่วมกันแก้ปัญหาของตนเองก่อน ถึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตรงความต้องการของชุมชน
  • ความขัดแย้งเกิดขึ้นในชุมชนทุกวันนี้เพราะการแข่งขันทางการเมืองในทุกระดับ.....ขนาดพี่กับน้องยังไม่ถูกกันเลย
  • มาเป็นกำลังใจให้น้องเอกในการทำงานนะครับ

สวัสดีครับ คุณครูแอ๊ว

ต้องขอบคุณสาวสวยทั้งสองท่าน ครูแอนเทพา และ คุณครูแอ๊ว นะครับ ที่ทำให้วันเวลามีความสุข สนุกสนานเพิ่มมากขึ้น

การแลกเปลี่ยนกันใน Gortoknow เป้นเวทีหนึ่งที่เป็นเวทีเรียนรู้กับการจัดการความขัดเเย้งได้ดีไปด้วย เพราะความหลากหลายของสังคมนี่เอง ...

แต่ดีที่นี่เป็นพื้นที่ที่ใช้แลกเปลี่ยน บวกกับเติมมิตรภาพแบบเต็มๆ ความสัมพันธ์อันดีก็กระชับแน่นมากไปด้วย

การเขียนก็เหมือนมธุรสวาจา เขียนดี ก็หมายถึง การพูดจาที่ไพเราะอ่อนหวาน คนฟังก็ซาบซึ้งตรึงจิตครับ

คิดถึง สาวสวย ทั้งสองท่านครับ

แต่ไม่รู้สิครับ เขียนถึงสาวสวยสองท่าน แอบไปคิดถึง พี่สาว อ้อยควั้น ที่ยะลาไปด้วย ป่านนี้พี่อ้อยทำอะไรอยู่น้อ???

 

สวัสดีครับ อ.เอก

ที่ไหน ๆก็มีปัญหาครับ....โดยเฉพาะกับหัวใจที่มีปัญหา...ฮะ ฮะ !!

ช่วงนี้นายกระท้อนงานมาก ๆ เดินสาย ประชุม จัดงาน

เพิ่งกลับจาก ชม.

เขียนระหว่างรอไปหารืองานกับ ผอ.กศน.เรื่องโครงการแกนนำเยาวชนนอกโรงเรียน

หวัดดีอีกครั้งค่ะ...

เห็นที่จะอดฟัง วิทยุรัฐสภา แล้วค่ะ

หาคลื่นฟังไม่ได้...เสียดายจัง

ที่นี่คลื่นที่ฟังชัด  เห็นทีจะมีก็แต่คลื่นจากทะเลค่ะ

 

 พี่นกNU 11 

มีน้องชายคนหนึ่งเป็นชาวไทยภูเขา บอกผมเมื่อผมไปเยี่ยมเขาบนดอย เขาเล่าว่า ระบบการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ทำให้ชาวบ้านทะเลาะกันหมดเลย แบ่งเป็นกลุ่มๆ ตามฐานหัวคะแนน แม้กระทั่งญาติพี่น้องก็ยังทะเลาะกัน

ประเด็นนี้น่าเป็นห่วงครับ

พี่นกครับ อย่าลืมนะครับ อีกไม่ถึงชั่วโมงแล้ว อย่าลืมฟัง รายการสัมภาษณ์จากสถานีวิทยุรัฐสภา วันนี้นะครับ

ประเด็น "สังคมสันติสุข เรื่องเล่าจากชายแดนแม่ฮ่องสอน"

เวลา ๒๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑ นี้ครับ ผ่านทางสถานีวิทยุรัฐสภา http://www.radioparliament.net/index.php หรือ ทาง FM ๘๗.๕๐ MHz.

:))

พี่อร ครับP

ตามไปเที่ยวในบันทึกแล้วครับ รูปถ่ายสวยทำให้คิดถึงบรรยากาศเย็น สดชื่น มีโอกาสผมจะตามรอยไปบ้าง

นี่เพิ่งโทรคุยกับเครือข่ายทางพังงา ที่เกาะยาวน้อย หากเหนื่อยๆ ว่าจะแพ็คกระเป๋าหนีไปอยู่เกาะสักพัก น่าจะดีครับ

เจ้าของบ้านบอกว่า ให้บอกล่วงหน้าจะเตรียมกุ้ง หอย ปู ปลา ไว้เต็มพิกัด อาหารทะเลสดน่าจะอร่อยมากๆนะครับ

คิดถึงครับ

 

พี่อดิศักดิ์J.moragot

อีกไม่ถึงสิบห้านาทีข้างหน้า ผมกำลังจะสัมภาษณ์ออนไลน์ผ่านออนแอร์ ประเด็นนี้ครับ สิ่งที่อยากเน้นย้ำคือ การแก้ปัญหาโดยชุมชนเอง โดยรัฐเข้าไปพัฒนาศักยภาพ ดึงภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นทุนเดิม เข้ามาจัดการความขัดแย้งนั้นก่อนที่จะใช้ กม.หรือ กฏเกณฑ์ที่คนข้างนอกตั้งบังคับ ให้เป็นทางเลือกหลังๆ

ผมคิดว่า จริงๆความขัดเเย้งเป็นเรื่องที่ธรรมดามากๆ สิ่งที่น่าสนใจ เราควรมุ่งไปที่ว่า กระบวนการแก้ไขปัยหานั้นทำอย่างไร ถึง เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี...Win Win

ขอบคุณพี่อดิศักดิ์มากครับ

อย่าลืมฟังรายการสด ช่วง ๒๐.๐๐ น. นี้นะครับผม

ขอบคุณกำลังใจจากพี่ชายครับผม

 

 

กำลังฟังอยู่ค่ะคุณเอก

สถานีวิทยุรัฐสภาจังหวัดชัยนาท 65.25 MHz.

File เสียงบันทึกการสัมภาษณ์สด  สัมภาษณ์สดวิทยุรัฐสภา

 

***ขออภัยอาจไม่สมบูรณ์ เพราะขาดบางช่วง แต่ก็พอที่จะเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอได้ครับ

นำมาเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

Mr. Kraton Pai

สบายดีนะครับผม...

ให้กำลังใจการทำงานทุกย่างก้าวนะครับ รู้สึกงานคุณกระท้อนจะเยอะมากตามวันเวลา

อย่าท้อแท้ มีพลังกายใจที่เข้มแข็งครับ

 

สวัสดีครับ คุณ windy

ติดตามทาง internet ได้ครับ และ ผมได้บันทึกเสียงบางส่วนมาเก็บไว้ให้โหลดฟังด้วย "สัมภาษณ์สดวิทยุรัฐสภา"

มีประเด็นใดที่จะเสริมต่อเรียนเชิญครับผม

ขอบคุณครับ

--------------------------------------------------

*** ไฟล์เสียงอาจไม่สมบูรณ์นะครับ แต่ก็พอใช้ได้ครับ...ลองฟังดูนะครับ

สวัสดีครับ

  • แวะมาทักทาย
  • และมาดูบรรยากาศชาวเหนือเจ้า
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ   ครูโย่ง ที่มาทักทาย มาชมบรรยากาศชาวเหนือ ประเด็นในบันทึกนี้อาจหนักไปหน่อยนะครับผม

ขอบคุณมากครับ

  • หวัดดีจ้ะ...น้องเอก
  • แวะมาทักทายจ้ะ
  • สบายดีนะจ้ะน้องชาย
  • เล่นมาเงียบ ๆ ตกใจหมด เพิ่งกลับมาจากออกพื้นที่ นึกว่าหนุ่มที่ไหน อิอิ

สวัสดีค่ะ น้องจตุพร

ไม่ได้ทักทายกันนานเลย

พี่กำลังเขียนกลอนอยู่ที่เว็บไทยโพเอ็ม

บางกลอนไปลงในหนังสือต่วยตูน หนังสือเขาโทรมาบอกค่ะ

ขอให้ปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆค่ะ

สวัสดีครับพี่อ้อยอ้อยควั้น  คนสวยครับ

จะทำให้ "ประหลาดใจ" เลยแอบย่องไปสำนักงาน แต่เกือบเจอ โอกาสดีที่พี่อ้อย กับพี่ยาวกลับมาพอดี นี่เรียกว่า "บุญจัดสรร"

สบายดีนะครับ

เสียดายไม่ได้เที่ยวงานกาชาด เฉลิมฉลองเสาหลังเมือง

สวัสดีครับ พี่ไหมแก้ว

ดีใจด้วยนะครับ พี่ไหมแก้วแต่งกลอนได้เพราะมาก สมแล้วครับที่ถูกคัดเลือกนำไปลง นิตยสาร

ขอบคุณมากครับที่เป็นห่วงผมนะครับ

สบายดีนะครับ ดูแลสุขภาพด้วยครับ

ประเด็นขัดแย้งต่าง ๆ คงไม่เกิดขึ้น หากคำว่า "เงิน" ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ยิ่งเงินมีค่า ค่าของคนก็ลดน้อยลง ความขัดแย้งในพื้นที่ยังไงก็ยังเป็นชนเผ่าและสายเลือด ซึ่งแน่นอนง่ายต่อการไกล่เกลี่ย แต่เมื่อใดก็ตามมีบุคคลที่สามเข้าสอดแทรกสร้างความร้าวฉานเมื่อนั้นคำว่าชนเผ่าและสายเลือดมันก็เลือนหายไป

แลกเปลี่ยนเล็ก ๆ น้อย ๆ ค่ะ (พอมีเวลานิดหน่อยนะ อิอิ)

ขอบคุณน้องต่ายดอกไม้บานในใจเรา มากครับ

"ผลประโยชน์" ที่เป็น "เงิน" ทำลายคุณค่าของบางคนมามากแล้วครับ

ขอบคุณน้องที่มาช่วยสะท้อน สาเหตุความขัดแย้งของชุมชน แบบคนทำงานในพื้นที่

สบายดีนะครับ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

ภาพประกอบแต่ละเรื่องของคุณเอกงามจะนักทุกภาพเลยนะครับ

โดยเฉพาะภาพบ้านเรือนไทยที่อยุธยา สวยมาก ๆ

......

แวะมาทำยอดให้หนะ

ขอบคุณหลวงลุงมากครับ เป็นแฟนพันธุ์แท้เลยนะครับ ..เห็นวิธีเขียนและยกยอแล้ว รู้เลยว่าหลวงลุงคือใคร??

ขอบคุณมากครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท