เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ วิพากษ์ "ร่างคู่มือแนวทางการดำเนินงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน"


วันนี้ผมถูกเชิญมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ(เขาเรียกแบบนี้ในเวที) เชิญมาเพื่อช่วยวิพากษ์การจัดทำ (ร่าง) คู่มือแนวทางการดำเนินงานเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน จัดโดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยที่มีอยู่เดิม และรวบรวมความรู้ ถอดบทเรียนประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตจากการพยายามพัฒนาการท่องเที่ยวทางเลือกของประเทศไทย

ผมได้รับเอกสารจากคณะวิจัยจาก มสธ.ไม่กี่วันก่อนเข้าร่วมเวทีและได้อ่านอย่างละเอียด (ตามคำร้องขอของผู้จัด) ด้วยความที่ผมเคยทำงานในแวดวงการท่องเที่ยว ผมจึงอ่านเอกสารชิ้นนี้อย่างเข้าใจ และคิดตามเนื้อหาที่นำเสนอได้ไม่ยากนัก เนื้อหาค่อนข้างเป็นวิชาการ เหมือน การทบทวนวรรณกรรมของนิสิตปริญญาโท มากกว่าจะเป็นคู่มือให้ชาวบ้านได้นำไปเป็นคู่มือพัฒนาชุมชนโดยใช้ “การท่องเที่ยว” เป็นเครื่องมือ ตามวัตถุประสงค์ของนักวิจัย

หากมองในมุมนักวิชาการ ผมให้คะแนนเกือบเต็ม...แต่หากมองการนำไปใช้เพื่อเป็นคู่มือให้กับชาวบ้าน ผลผลิตที่เราจะนำออกไปตามรูปแบบเอกสารที่อยู่ในมือผม ผมคิดว่า “ชาวบ้านไม่อ่านหรอกครับ...” ทั้งรูปแบบ เนื้อหาที่ยากต่อการเข้าใจ ศัพท์ทางวิขาการที่นักวิชาการคุ้นชิน แต่ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง ทฤษฏีเป็นดุ้นๆแข็งๆ ชาวบ้านจะแปลงไปใช้อย่างไร แต่ที่แน่ๆ ร่างฉบับนี้หลังจากเสร็จสิ้นเวทีนี้แล้ว  จะถูกจัดทำ แก้ไข ผลิตและกระจายแจกให้ชุมชนทั่วประเทศ

ต้องขอบคุณ สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว และ นักวิจัย จาก มสธ. ครับ ที่มีความตั้งใจ เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว และพยายามหากระบวนการรูปแบบในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ให้ชุมชนได้เรียนรู้ และพัฒนา...ความตั้งใจที่ดี เพื่อชุมชน ผมให้ใจเต็มที่กับวิธีคิดแบบนี้...

ก่อนวิพากษ์ในเวทีผมออกตัวว่า ต้องขออภัยที่พูดตรงๆ แต่การวิพากษ์ตรงไปตรงมา หมายถึง เราต้องการผลลัพธ์สุดท้ายเพื่อประโยชน์ของชุมชนจริงๆ

เราทำคู่มือ เพื่ออะไร?

·         เอกสาร คู่มือ เพื่อการเรียนรู้ แต่เรียนรู้แล้วปฏิบัติไม่ได้ ก็เกิดประโยชน์น้อย

·         เอกสาร คู่มือ เพื่อการเรียนรู้ และนำไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน แบบนี้สร้างพลังในการพัฒนามาก

ดังนั้น เราสร้าง เอกสาร คู่มือ เพื่อเป็น คู่มือ (เห็นได้ทั่วไป ไม่ค่อยมีใครหยิบอ่าน)

หรือ...

เราสร้าง เอกสาร คู่มือ เพื่อเอาไปใช้งาน อาจต้องตอบคำถามนี้ให้ชัดเจน

ในส่วนของเนื้อหา เอกสารได้กล่าวถึงเรื่องของ “เครือข่าย” ผมมองว่า เครือข่ายทางการนั้นตั้งง่ายๆ และ ล้มง่ายๆเช่นกัน แต่ที่ท้าทายไปกว่านั้น ผมอยากให้ตั้งต้นที่เครือข่ายที่มีอยู่เดิมแล้ว เข้มแข็งแล้วขยายผล แบบนี้ ง่ายกว่า และ ใช้ต้นทุนการทำงานที่ไม่มาก แต่ได้ผลดี ยั่งยืนกว่า

ส่วนกระบวนการการพัฒนาชุมชนด้านการท่องเที่ยว ผมมองว่าเราใช้ Case study ที่ประสบความสำเร็จในแต่ละบริบท (ประเภทท่องเที่ยว,ภูมิภาค) รวบรวมองค์ความรู้ ถอดบทเรียน สังเคราะห์ออกมาเขียนเป็นเรื่องราว ง่ายๆ มีรูปแบบการปฏิบัติที่ชุมชนอ่านแล้ว สามารถทำได้ กระบวนการนั้นขอให้เป็นกระบวนการกลางๆ เปิดโอกาสให้ชุมชนได้คิดกระบวนการที่เขาคิดเอง ลองผิด ลองถูกบ้าง เพื่อค้นหาทางเลือกที่ดีที่สุด เผลอๆเราจะได้ นวัตกรรมการพัฒนาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นพื้นที่ได้

จากประสบการณ์ที่ผมเคยทำงานเกี่ยวข้องด้าน การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ภาคเหนือ  และคลุกวงใน งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คู่มือที่จะเอื้อให้เกิดการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว ทั้งรูปแบบของ How to และ การเรียนรู้จากบทเรียนที่ดี (จาก ชุมชนต้นแบบ)  ผมขอแยกเป็น ๓ ประเด็นใหญ่ๆ

๑.    ประเด็นที่ ๑ คู่มือการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับให้เป็นชุมชนที่จัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชน(How to และ การถอดบทเรียน)

๒.    ประเด็นที่ ๒ คู่มือการพัฒนารูปแบบการตลาด สำหรับชุมชนที่จัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน(How to และ การถอดบทเรียน)

๓.    ประเด็นที่ ๓ คู่มือการสร้างและพัฒนาเครือข่าย สำหรับชุมชนที่จัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน(How to และ การถอดบทเรียน)

ที่แยกออกมาเป็น ๓ ประเด็น และ น่าจะมี ๓ เล่ม เพราะประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นใหญ่ ที่ทางภาคเหนือใช้เป็นประเด็นศึกษา-วิจัยเลยทีเดียว (ชุมชนท่องเที่ยว,การตลาด,เครือข่าย) 

ส่วนสภาพปัญหาที่นักวิจัยเขียนไว้ในคู่มือ  ---ผมมองว่าควรตัดออก เพราะปัญหาเป็นเรื่องที่เคลื่อนไหว ผันแปรไปตามสถานการณ์ข้างนอก เราจะพบปัญหาใหม่ๆตลอดเวลา

พี่เพียรเลิศ แห่ง ธกส. บอกว่า อยากให้ คู่มือนี้ บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนที่จัดการท่องเที่ยว ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ให้เข้าถึงอารมณ์ เช่น ความสำเร็จ อ่านแล้วทำให้ขนลุก หัวใจพองโต  หากล้มเหลว อ่านแล้วก็มีน้ำตา และเศร้า  เป็นงานเขียนที่มีชีวิต เอื้อต่อกระบวนการสร้างจิตสำนึกของคน  หากชี้ให้เห็นกระบวนการ ให้เป็นกระบวนการกว้างๆ เปิดโอกาสให้ชุมชนมีพื้นที่ในการร่วมคิด ร่วมสร้าง เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมแบบธรรมชาติ

ผมเองก็คาดหวังให้คู่มือเล่มนี้ เป็นคู่มือที่สร้างแรงบันดาลใจ เป็นคู่มือที่มีชีวิต  ใช้คำง่ายๆ เห็นขั้นตอนการปฏิบัติการที่ชัดเจน นำไปใช้ได้เลย ไม่ต้องตีความให้ยุ่งยาก ถึงจะเป็นคู่มือที่เป็นมิตรกับชุมชน และสร้างประโยชน์ต่อชุมชนโดยแท้จริง

โชคดีที่เวทีนี้ผมได้เจอคนคุ้นหน้า คุ้นตา ที่เคยทำงานร่วมกันในแวดวง “การท่องเที่ยว” หลายท่าน และหลายท่านก็เห็นพ้องกับสิ่งที่ผมคิดเห็นในบันทึกนี้

 

 

 


 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๑๑ ธ.ค.๕๑

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

หมายเลขบันทึก: 228787เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2008 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)
  • มาติดตามเรื่อง คู่มือครับ พี่เอก
  • สบายกายสบายใจนะครับ
  • อิอิ วันนี้ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยนะครับ
  • เท่ห์ไปเลย
  • เวลาผมเป็นวิทยากร ผมเรียกนักเรียนหรือผู้เข้าร่วมงานในค่ายว่า ผู้มีเกิบครับ ใครไม่มีเกิบน่าสงสารแย่ครับ
  • ไปปายมา กลับมาแล้วเอาความหนาวเย็นมาฝากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ไหมครับ อิอิ 

เก่ง

ดี

มีความสุข

พี่เอก ครับพี่น้องงงงงงงงงงง

สวัสดีครับหมอเอก

-มาช่วยสนับหนุน ยกมือเห็นด้วยกับคนเก่ง ๆ อย่างหมอเอกครับ

-รักษาสุขภาพด้วยนะครับ หนาวแล้วครับ

อ.Wasawat Deemarn

งานนี้ทำหน้าที่แทนชุมชนครับ...ดังนั้น เราจึงพูดตรงไป ตรงมา แต่ด้วยความที่ คณะนักวิจัย ท่านต้องการให้งานออกมาเพื่อชุมชน การยอมรับ ปรับแก้ ก็เป็นกระบวนการที่ทางคณะนักวิจัยต้องรับฟัง...น่าชื่นชมครับ

แต่คำว่า "จ๊าบ" นี่ กินความขนาดไหนกันครับ :)

 

น้องเอ๊ะครับ 

ทางคณะนักวิจัย เขาตั้งให้เป็นแบบนี้ครับ...แต่งานที่ส่งผลต่อชุมชน และหากผมถนัดละก็ ผมเต็มที่นะครับ ถือว่าได้มีโอกาสช่วยชุมชน ภายใต้ศักยภาพที่ผมพอมีบ้าง

สุขกาย สบายใจ ครับผม

น้อง ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

"พื้นที่ โฆษณา " ครับ

ขอบคุณครับ ...คำชื่นชมจากน้อง  :)

ขอบคุณมากครับ คุณครู KSU

เปลี่ยนรูปใหม่...ดูเท่ มากเลยครับครู

น่าสนใจครับเพื่อน...

        

เป็นกำลังใจในการทำงานครับผม...

ขอบคุณมากครับดิเรก...พรุ่งนี้เจอกันช่วงเย็นครับ

พอลล่าเห็นด้วยกับพี่นะ คู่มือ แนวทาง อิอิ ..สำหรับชาวบ้าน ไม่จำเป็น อิอิ

พอลล่า

อาจจะไม่ถึงขั้นไม่จำเป็นครับ แต่ให้ทำคู่มือ ง่ายๆ มีขั้นตอนกว้าง ปฏิบัติได้ ไม่ใช้ศัพท์สูง... :)

เรามักติดกรอบนักวิชาการไงครับ  ผมก็มีบ้างนะ ติดๆศัพท์ คิดว่าเขาเข้าใจ แต่จริงๆไม่เข้าใจ

เว้าง่าย เว้าซื่อๆ ดีกว่า ตรงไป ตรงมา แต่ กระบวนการต้องวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตรงนี้เองท้าทายในการพัฒนาชุมชน

คำตอบ ยั่งยืน หรือไม่ อยู่ที่การทำ KM การจัดกระบวนการเรียนรู้ครับผม

ขอเป็นกำลังใจให้แก่คนทำงาน การวิพากษ์รอบนี้คงได้เนื้อ สมแล้วที่เขาเรียกผู้ทรงคุณวุฒิ ไว้หนังสือผมเสร็จจะรบกวน วิพากษ์งานเขียนของผมบ้าง อิอิ ดูแลสุขภาพด้วยครับ

ไปเดิน ตลาดที่ เมืองทอง เดินผ่าน ที่ขายเสื้อผ้ามือสอง ฝุ่นของเสื้อผ้า ทำให้ผมจามไม่หยุดเลย...ต้องพึ่งยาแก้แพ้ครับ แปลกดี ...สะดุดก็เรื่องเล็กๆแบบไม่คิดฝันแบบนี้

น้องชายของผม ...น้องฟูอ้าจ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับผม

 

พี่เอก

  • เหมาะสมแล้วครับ ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ทำอะร หากเข้าใจว่า เป้าประสงค์คืออะไร
  • แล้วยึดมันไว้ เดินถูกทางแน่ๆครับ
  • ขอให้สำเร็จ โด่งดังๆ

ขอบคุณดิเรกครับ

เป็นกำลังใจให้การทำงานเช่นกันครับ

คุณขจร...

ขอเงียบๆดีกว่า อย่าโด่งดังเลยครับ...สบายใจกว่าครับผม

น้องเอกเขียนตรง ๆ ว่า

"แต่หากมองการนำไปใช้เพื่อเป็นคู่มือให้กับชาวบ้าน ผลผลิตที่เราจะนำออกไปตามรูปแบบเอกสารที่อยู่ในมือผม ผมคิดว่า “ชาวบ้านไม่อ่านหรอกครับ...” ทั้งรูปแบบ เนื้อหาที่ยากต่อการเข้าใจ ศัพท์ทางวิขาการที่นักวิชาการคุ้นชิน แต่ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง ทฤษฏีเป็นดุ้นๆแข็งๆ ชาวบ้านจะแปลงไปใช้อย่างไร แต่ที่แน่ๆ ร่างฉบับนี้หลังจากเสร็จสิ้นเวทีนี้แล้ว  จะถูกจัดทำ แก้ไข ผลิตและกระจายแจกให้ชุมชนทั่วประเทศ"

**        **          **         **        **        **

พี่ก็ขอ(แอบ)วิพากษ์ตรง ๆ บ้าง ว่าคล้าย ๆ โครงการณ์หลาย ๆ โครงการณ์ที่หน่วยงาน(ของเรา)เคยทำ จิปาถะ เป็นศัพท์แสงทางวิชาการ เป็นสิ่งที่เขียนขึ้นมายาก อ่านทำความเข้าใจยิ่งยาก ปฎิบัติตามยากเข้าไปใหญ่...

แล้ววันหนึ่งมันก็เลือนหายไป

เช่น เอกสารในหน่วยงานเกี่ยวกับ การควบคุมคุณภาพระบบไอเอส...เบอร์ต่าง ๆ

 

ตอนพี่สอนงานผู้ร่วมงาน เพื่อไม่ให้เขาเกร็งพี่เพียง ชูนิ้วห้านิ้ว

ที่ห้านิ้วเพราะพอดีมือคนเรามีห้านิ้วไง อิอิ

นิ้วโป้ง เรามีงานหลักอะไร

นิ้วชี้ เราต้องเรียนรู้และเข้าใจงานเราให้ถ่องแท้และเราฝันอยากให้มันมีผลงานที่ดี ถูกต้อง

นิ้วกลาง เราจึงต้องคิดก่อนทำ ทำอย่างที่คิด ทำจริง ๆ

นิ้วนาง เราต้องตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ต่อเนื่องบ้าง เหมือนสอบวัดผล หรือแข่งขันกับตัวเราเอง

นิ้วก้อย แล้วเราก็ต้องทำอย่างนี้เรื่อยไป

 

ไม่เคยพูดภาษาปะกิดให้เขาฟังกันหรอกค่ะ

เกี่ยวมั้ยเนี่ย ฮา

 

-ผมเป็นหมออนามัยที่อุบลครับ

-แอบอ่าน/ติดตามงานและความคิดของหมอเอกมานานแล้ว

-งดงามเป็นธรรมชาติ/เป็นอิสระจากข้อจำกัดบางอย่างของชีวิต(สักวันผมคงไปถึงบ้าง)

-ผมว่าหมอเอกก้าวพ้นนิยาม "นักวิชาการ" และหรือ "นักวิจัย" ที่เราคุ้นชิน

-หมอเอกได้นำปรัชญา/แนวคิด ของอาจารย์หมอประเวศ ไปสู่ปฏิบัติการทางสังคมได้งดงามและเป็นจริง สัมผัสได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เช่น กรณี "สังคมานุภาพ"

-ผมได้แอบรวบรวมจากบล๊อกนี้ สร้างยุทธศาสตร์อุบลสร้างสุข (กับท่าน ผวจ.อุบล และเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี)

-ขออนุญาตหมอเอกเป็นทางการด้วยนะครับ

อืมม "จ๊าบ" หมายถึง ..... (คิด ๆๆ)

การได้รับเกียรติเป็นตัวแทนของกลุ่มคนในวงการนั้น ๆ ด้วยไมตรีจิต

และคุณเอกได้ทำหน้าที่ได้ดีที่สุดเท่าที่คุณเอกจะมีอยู่ในตัว ครับ

(พอได้ ๆ)

สวัสดีครับ

แวะเข้ามามาดูคนเก่ง ๆ ทำงานกัน สบายดีนะครับ

it ought to be a good guideline for sustainable tourism indeed.

  • มาอ่านเรื่องดๆด้วยคน
  • เหมือนที่ว่าพอชื่อว่าคู่มือ
  • ไม่ยักกะเห็นใครหยิบมาอ่านเท่าไหร่
  • วันนี้พระจันทร์แจ่ม
  • เลยมาชวนน้องเอกไปดู
    • คืนนี้อย่าลืมออกไปดูดวงจันทร์ด้วยกัน
    • ตอน 23.00-24.00 น. นะ
    • ไปอ่านรายละเอียด
    • ที่นี่จ้า

เราสร้าง เอกสาร คู่มือ เพื่อเป็น คู่มือ (เห็นได้ทั่วไป ไม่ค่อยมีใครหยิบอ่าน)

ชอบมาก แสดงให้เห็นว่าความคิดนี้ได้ไตร่ตรอง แล้ว

อยากให้ปายจัดการตัวเอง ให้แก้ปัญหา การท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณค่า รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม และธรรมชาติที่งดงามเอาแบบ

เอกสารและข้อกำหนด เร่งเถอะ ไปมาแล้ว เศร้าใจกับนักท่องเที่ยว พวกเห็นแก่ตัว ทำปายมัวหมอง

ดูอย่างหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ น่ารักมาก พวกนักท่องเทียวอีกแบบ อยากเข้าไปสัมผัส ก็แพ้ภัยใจตัวเองกลับหัวรถออกเป็นแถว

พวกนี้เข้ามาชม ก็ไม่มีประโยชน์ ได้แต่เอาไปโม้อวดกัน แถมมาทำลายภาพพจน์เสียหาย

ไอ้พวกดูดทิ้งดูดทิ้งนี่น่ารังเกลียดจริง ต้องจับอบรมวิธีทิ้งซากก่อนเข้าปายดีไม๊ น้องเอก

ขอให้สำเร็จ ดังที่คิดหวัง เพื่อรักษษไว้ซึ่งสิ่งสวยงาม ของธรรมชาติ

สาธุ ขอให้พระคุ้มครอง นายทุน น่ธ น่ากลัวนะคะ

คนนี้เธออินมากๆ  บ่นทุกครั้งที่เห็นคนทิ้งขยะไม่เป็นที่ เผลอๆ เธอ ไม่ค้อนอย่างเดียวหันมาว๊ากกก คนข้างๆ ว่าสอนคนยังไงนี่

เห็นไม๊ ธรรมชาติเสียหมด นี่ก็นักฟังเพลง บ้าคอนเสริต์ ฝรั่งมาก็ไปดู แต่มาเห็นปายวันนี้ เธอบอกว่าน่าเศร้าใจ รุ่นต่อไปจะรู้มั๊ยว่าเคยมีปาย

ภาพธรรมชาติอย่างนี้ ขอเพียงเสียงหริ่งหรีด เรไร ไก่ป่า ธารนำไหล เสียงสนต้องลม เสียงกู่ป่า ชะนีร้อง ช้างบ่น

จะดีกว่าเสียงดนตรี ให้ไปหาฟังตามพับเอาเถิด หรือไม่ก็ทำห้องหับในบ้านตัวเองเองให้มัน มันไปเลยอยากได้บรรยากาศป่าก็ช่วยบอกให้ไปซื้อหามาใส่บ้านตัวเอง ตังมากนักก็ช่วยให้เขาบินไปฟังของแท้ให้สะใจไปเลย

ธรรมชาติถูกทำร้ายมามากแล้ว ขอเว้นไว้ที่ปายซักที่เถิด พี่น้อง

แวะมาทักทาย ยินดีและชื่นชมผลงานอยู่ด้วยปลื้มใจ กำลังชวนลูกศิษย์ชาวส่งเสริมสุขภาพเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้รู้ทั้งหลายอยู่ไม่รู้ว่าจะทำได้แค่ไหน

พี่หมอเล็กภูสุภา

อ่านข้อเสนอแนะพี่แล้ว ...อมยิ้มไปด้วยครับ

ใช่เลยครับ  บางครั้งเรามักติดอยู่ที่ "เปลือก" แทนที่จะเข้าหา "แก่น"ของงาน และ บางครั้งเรายึดความต้องการเราอย่างเหนียวเเน่น จนลืมไปว่า กลุ่มเป้าหมายเราจะเรียนรู้ พัฒนา อย่างไร?

ผมคิดว่า เรามาว่าตรงๆ  ชัดๆ บางครั้งการนำเสนอชัดเจน กระชับ ช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้นมากกว่าเดิมอีกครับ

ผมยอมรับว่าอดีต ผมก็เคยอารัมภบท ก่อนเข้าเรื่อง จนมากมาย อ่านสนุกแต่เนื้อหาน้อยๆ ครับ  :) (ทั้งนี้ต้องดูวัตถุประสงค์ชิ้นงาน)

งานเขียนวิชาการของผม ช่วงหลัง สั้น กระชับ มาก :)  ข้อเสียก็คือ บางทีก็ขาดสุนทรียะในการอ่านครับ

ขอบคุณพี่หมอเล็กมากๆครับ ที่ร่วมเติมเต็ม...

 

 

แวะมาเยี่ยมครับ...

  • เอกสารที่เอกส่งมาพี่ได้รับแล้วครับ..ขอบคุณมากนะครับ
  •  เปิดเมล์ดูหน่อยนะพี่ขอความรู้เชิงวิเคราะห์เพิ่มเติม(รายละเอียดอยู่ในเมล์นะ)
  • ดูแลสุขภาพด้วนนะครับ

สวัสดีค่ะ

* มาส่งความสุขปีใหม่ค่ะ

ช่วงนี้ยุ่ง ๆ ไม่ได้ติดตามกันเลยค่ะ ทั้งงานราษฎร์งานหลวง แต่คู่มืออีกหนึ่งที่น่าจัดทำก็คือ คู่มือการพัฒนาบุคลากรภายในชุมชนค่ะ อยากรู้ลึกถึงพลังความคิดของคนเหล่านั้นนะว่ามันจะแปลกจากคนปกติทั่วไปยังไงด้วยค่ะ (นำเสนอแลกเปลี่ยนนะ) เห็นก้าวหน้าไปไกลแล้วอยากฝากว่าอย่าลืมเครือข่ายที่ค่อย ๆ ก้าวเดินไปของภาคเหนือเราล่ะ มีช่องทางหางบประมาณด้านไหนด้าน อยากฝากอ้ายด้วยนะว่าฝากฝังเครือข่าย cbt ภาคเหนือเราด้วยนะค่ะ ตอนนี้เรากำลังเล็งเป้าหมายของบประมาณสนับสนุนอยู่ แต่ก็ติดขัดหลายอย่างเหมือนกัน ยังไงก็มาเยี่ยมกันบ้างนะค่ะ คิดถึงค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาสวัสดีปีใหม่
  • ปีใหม่ไปพักผ่อนที่ไหนเอ่ย
  • ถ้าคุณเอกกลับบ้านที่ปาย คงมีโอกาสได้เจอกันนะคะ
  • ปีใหม่นี้ จะไปเที่ยวปายค่ะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

บ้านส่วนใหญ่จะมีหลังคา หากไม่มีหลังคา เค้าก็จะเรียกว่าตึกมั้ง

สำนึกรักบ้านเกิด สำนึกรักหลังคาบ้านค่ะ

ชอบคำว่าคู่มือที่มีชีวิตจัง การติดยึดกับหลักวิชาการมากไปทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการปฏิบัติได้ เราต้องทำให้คู่มือมีชีวิตค่ะ

 ชุมชนออกกำลังกาย  วัยเด็ก  วัยรุ่น  วัยผู้ใหญ่  วัยผู้สูงอายุในชุมชนสัมพันธ์สุขบ้านจั่น  อ.เมือง  จ.  อุดรธานี   หนึ่งในชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่น่าทึ่งค่ะ

 

ขอบคุณทุกท่านมากเลยครับ ที่มาเติมเต็มบันทึก...

เอาเป็นว่า ผมขอรวบยอด "ขอบคุณ" ตรงนี้นะครับ  :)

แวะมาเยี่ยมค่ะ

เอาคะยอมาฝาก

 

ครูต้อยครับ

หากมีโอกาสอยากไปทำกิจกรรมร่วม กับครูต้อยที่โรงเรียนจังครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท