ความขัดเเย้ง ??? ในกลุ่มชาติพันธุ์ อาข่า , ลีซู


วันนี้เรามี “ทางเลือก” ในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งน้อยมาก เราใช้วิธีการเดิมๆ ที่บางครั้งผมก็มองว่าได้กลิ่นอายฝรั่งมากเกินไป ไม่เหมาะกับคนไทย หรือไม่ก็เป็นวิธีการที่แข็งๆ ไม่ตอบสนองกับปัญหาเอาเสียเลย

สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยของเรา ครั้งแล้วครั้งเล่า เกิดจากหลากหลายปัจจัย บางครั้งก็ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน บางครั้งก็ด้วยเหตุผลที่เบาบาง แต่ เส้นกั้นระหว่างความอดทนและจิตสำนึกของผู้คนน้อยลงไป ประเด็นไหนๆก็สามารถนำไปสู่ความขัดแย้งใหญ่โตได้ ไม่ยากนัก...

ได้มีโอกาสสนทนากับ นักวิชาการของสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เราพูดคุยกันถึงประเด็นการศึกษาที่จะสนับสนุนการพัฒนาการจัดการความขัดแย้งในสังคม ซึ่งวันนี้เรามี “ทางเลือก” ในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งน้อยมาก เราใช้วิธีการเดิมๆ ที่บางครั้งผมก็มองว่าได้กลิ่นอายฝรั่งมากเกินไป ไม่เหมาะกับคนไทย หรือไม่ก็เป็นวิธีการที่แข็งๆ ไม่ตอบสนองกับปัญหาเอาเสียเลย

ประเด็นที่เราคุยมีอยู่ว่า เราตั้งคำถามว่า สังคมไทยมีกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างไร? มุ่งลงไปในชนบท ในชนเผ่า กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ พวกเขาเหล่านั้น มีกระบวนการจัดการปัญหา ข้อขัดแย้งอย่างไร ? ประเด็นคำถามนี้ ผมมองว่า จะสามารถให้เราเข้าถึงวิธีการที่ชุมชนได้ใช้จัดการตนเอง เพื่อให้สังคมเล็กๆของพวกเขาปกติสุข เรียกง่ายๆว่า องค์ความรู้ด้านการจัดการความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์มีอย่างไรบ้าง?

ได้คำถาม เราก็คุยกันต่อถึง เป้าหมาย  ...ผมนำเสนอ ๒ กลุ่ม ชาติพันธุ์ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู  และ กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ทางภาคเหนือ..

ถามว่าทำไมเลือก ๒ กลุ่มชาติพันธุ์ ในขณะที่ทางภาคเหนือของเรามีกลุ่มชาติพันธุ์มากมาย ...เรื่องนี้มีคำตอบครับ

กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู เป็นกลุ่มชนเผ่าที่ผมเคยทำงานอย่างใกล้ชิดมาก่อน และ ในชุมชนของชาวลีซูเองก็มีปัญหาความขัดแย้งมากมาย ตั้งแต่เรื่องเล็กไปถึงเรื่องใหญ่ๆ  และก็มีการจัดการกับปัญหาเหล่านี้โดยกระบวนการของชนเผ่าเอง และที่ภาคเหนือยังมีเครือขายกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่เข้มแข็งพอสมควร ฐานข้อมูลทางวิชาการที่ทาง IMPECT. (INTER MOUNTAIN PEOPLES EDUCATION AND CULTURE IN THAILAND) ได้ศึกษาเบื้องต้นและเชิงลึกไว้ เป็นข้อมูลที่พร้อมสำหรับนักวิจัยที่จะเข้าไปเรียนรู้และต่อยอดได้

กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า  เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีมากเป็นอันดับที่ ๔ ของประเทศไทย (ในข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย) และข้อที่น่าสนใจก็คือ มีเครือข่าย ที่เรียกตัวเองว่า “สมาคมอาข่าแห่งประเทศไทย” ที่เข้มแข็ง เช่นเดียวกับกลุ่มลีซู มีฐานข้อมูลทางวิชาการที่พร้อมจะต่อยอดได้ จากการลงพื้นที่เบื้องต้นเราพบว่า มีหมู่บ้านอาข่ากว่า ๕๐  เปอร์เซ็นต์ที่ยังมีการใช้จารีตดั้งเดิม และมีกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระดับชุมชนผ่านสภาผู้อาวุโส เป็นลักษณะของการไกล่เกลี่ย โดยผู้ไกล่เกลี่ยที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยธรรมชาติ

 Chiangrai33

ที่สำคัญทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ ผมมีโอกาสได้รู้จัก คุณนิวัฒน์ ตามี่ หนุ่มใหญ่ชนเผ่าลีซู ที่ทำงานเคี่ยวกรำงานพัฒนาสังคม เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ คอยให้คำปรึกษาในการทำงานศึกษาในครั้งนี้ และ กลุ่มอาข่า ก็มีพี่อาทู่ หรือคุณไกรสิทธิ์ สิทธิโชดก เป็นผู้อำนวยการสมาคมอาข่าแห่งประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาและแนะนำพร้อมประสานงานให้...

Dscf4204

คุณนิวัฒน์ ตามี่ ด้านซ้ายมือสุด ติดกับผม

การเดินทางไปเก็บข้อมูลรอบแรก มีเรื่องราวที่น่าสนใจและประทับใจมาก เราวางแผนกันเป็นอย่างดีสำหรับการเดินทาง ใช้เวลา สองถึงสามวันในการเก็บข้อมูลไปเหนือ (เชียงใหม่ เชียงราย) และเดินทางไปพบกลุ่มเป้าหมาย

อาจารย์นักวิจัยด้านสันติวิธีสองท่านจากสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า (อ.ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ,อ.ชลัท ประเทืองรัตนา)และผมในฐานะที่ปรึกษาโครงการศึกษาฯ  เราเดินทางจาก กทม.โดยเครื่องบิน ถึงเชียงใหม่ เพื่อพบ คุณนิวัฒน์ ตามี่ จากนั้น ก็เช่ารถ(ขับเอง) เป็น Jazz สีขาวป้ายแดง จากเชียงใหม่ถึงเชียงราย (โชคดีครับ ที่บริษัทรถเช่า ให้คืนรถได้ที่สนามบินเชียงรายในวันกลับ)  เราจึงมีพาหนะใช้ตลอดทุกเส้นทาง นอนเชียงใหม่ ๑ คืน นอนเชียงราย ๑ คืน (รวมแล้ว เราทำงาน ๓ วัน ๒ คืน)  จากนั้นก็ขึ้นเครื่องกลับ กทม. ที่เชียงราย

ในเวลาที่เราวางแผนการทำงานนี้ ...สามารถไปเจอกับกลุ่มเป้าหมายได้ รวมถึง เดินทางไปในพื้นที่ได้ด้วย ถือว่าใช้เวลาไปอย่างคุ้มค่ามาก

Dscf42163

พี่อาทู่  คุณไกรสิทธิ์ สิทธิโชดก ผู้อำนวยการสมาคมอาข่าแห่งประเทศไทย

สิ่งที่น่าสนใจคือการพูดคุยระหว่างทีมงานศึกษาวิจัย กับ ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นทั้งผู้ให้ข้อมูลและผู้ประสานงาน เราพบว่า ทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ มีกระบวนการจัดการความขัดแย้งในชุมชนที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน (อาจเพราะความคล้ายกันทางทางชาติพันธุ์) ที่ทั้งสองกลุ่มมาจากทิเบต ใช้ภาษากลุ่มเดียวกันคือ ทิเบต – โลโล

Chiangrai11

เบื้องต้นขอสรุปกระบวนการจัดการความขัดแย้งของ ๒ กลุ่มชาติพันธุ์ (ลีซู – อาข่า) ที่คล้ายคลึงกันดังนี้

·         สิ่งที่กำกับความประพฤติของคนในชุมชนในกลุ่มที่นับถือพุทธ- ผี คือ การเชื่อในสิ่งลี้ลับ การให้ยำเกรงและความศรัทธาต่อผีและ เทวดา

·         มี ผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) ระดับชุมชนที่คอยเจรจาไกล่เกลี่ย ข้อขัดแย้งเล็กน้อย ให้ยอมความ และให้เสร็จสิ้น ยุติความขัดแย้ง (พบได้ในทั้งสองกลุ่ม ลีซู – อาข่า)

·         มีสภาผู้อาวุโส ที่ประกอบด้วย หมอผี(ลีซู –อาข่า),หมอเมอผะ(หมอเมืองลีซู),ผู้เฒ่าชาย หญิง,ผู้เชี่ยวชาญพิธีกรรม วัฒนธรรมในชุมชน,ผู้เชี่ยวชาญอาชีพ (ตีเหล็ก,จักสาน,เกษตร) ที่คอยเป็นสภาอันศักดิ์สิทธิ์ในชุมชนสำหรับการตัดสินปัญหาระดับชุมชนให้เรียบร้อย และสร้างความสมานฉันท์

·         มีกลุ่มการเมืองสมัยใหม่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน,อบต. ,ผรส.,ชรบ.,ที่เป็นกลุ่มผู้มีการศึกษาที่ถูกคัดเลือกเป็นผู้นำทางการ กลุ่มนี้มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ลีซู ยอมรับนำสภาผู้อาวุโสเข้าไปในบทบาทการตัดสินข้อพิพาท ร่วมกันกับกลุ่มการเมืองสมัยใหม่ แต่กลุ่มอาข่าพบปัญหาการละทิ้งจารีตเดิมทำให้การยอมรับสภาผู้อาวุโสน้อยลงไป หรือถูกลดบทบาทลงไป

·         การใช้รูปแบบการตัดสินคดีความโดยตำรวจ และศาล  พบได้ในกรณีข้อขัดแย้งที่ไม่สามารถตัดสินปัญหาโดยชุมชนได้

อย่างไรก็ตาม ...การเดินทางเพื่อเรียนรู้และเก็บข้อมูลครั้งนี้เป็นเพียงครั้งแรกเท่านั้นครับ  แต่เราก็ได้พบเรื่องราวที่น่าสนใจ บางส่าวนก็จะได้นำมาเขียนในโครงร่างงานวิจัยเพื่ออ้างอิง รวมไปถึงทำกรอบการศึกษาให้ชัดมากขึ้น

P1040512

Chiangrai12

ในร้านกาแฟที่เชียงราย...  ผมและอาจารย์ที่เป็นนักวิจัย  ได้ถกกันพอสมควร ถึง ผลของงานศึกษา วิจัย ว่าจะนำไปใช้กับสังคมใหญ่ได้หรือไม่อย่างไร? (ผมชอบบรรยากาศการ Discuss แบบนี้มากครับ)  บรรยากาศสบายๆในร้านกาแฟ กับประเด็นพูดคุยที่เข้มพอที่จะคุยกันนานๆ

ผมมองว่า การศึกษานี้เป็นทางเลือกในการแสวงหา รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย ผลลัพธ์ที่ได้ตรงๆคือ การฟื้นองค์ความรู้เดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะ “การจัดการความขัดแย้ง” ซึ่งในความคิดผมน่าสนใจมาก ประเด็นต่อมาผมมองว่า สังคมไทยก็จะได้เรียนรู้กับผลการศึกษานี้ และมีการประยุกต์ใช้กระบวนการบางอย่างได้  ...

เพื่ออะไร? ก็เพื่อตอบโจทย์ที่ผมเกริ่นมาข้างต้นว่า  สังคมไทยเรามีทางเลือกในการจัดการความขัดแย้งน้อยมาก บางครั้ง เครื่องมือ – กระบวนการเองก็แปลกแยกไปจากสังคมไทยมากเกินไป การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งไม่ค่อยประสบความสำเร็จ บานปลายและปัญหาลุกลามขึ้นเรื่อยๆ

การเก็บข้อมูลที่ภาคเหนือครั้งนี้ เป็นครั้งแรกเท่านั้นเองครับ เราวางแผนการทำงานไว้ ๖ เดือนเพื่อศึกษาเชิงประเด็นให้ลึกรวมถึงเข้าพื้นที่ มีเรื่องราวที่น่าสนใจที่เป็นองค์ความรู้ดีๆของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองกลุ่มมากมาย ผมจะทยอยนำมาเล่าสู่กันฟังเรื่อยๆครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 238735เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

แวะมาอ่านค่ะ

ชอบดูภาพบรรยากาศ และอ่านเรื่องราววิถีชีวิตคนดอย ค่ะ

มีความสุข ปลอดภัยในการทำงานนะคะ

ขอสิ่งดีๆ...มีแด่ผืนแผ่นดินไทยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ ครู  @..สายธาร..@  มาเร็วมากครับ กำลังลงรูปกิจกรรม ...ว่างๆผมจะนำรูปภาพการลงพื้นที่มาให้ชมอีกมากมายครับ  :)

ขอบคุณทั้งแนวคิด และการทำงาน พี่ครูต้อยขอนำไปศึกษาแนวทางในการทำงานของจิตอาสาพาไป ขอบคุณค่ะ

krutoi

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับผม งานนี้เป็นงานศึกษาเชิงประเด็น ที่ เราตีกรอบเลือก ๒ กลุ่มชาติพันธุ์....

เราสามารรถแลกเปลี่ยนกระบวนการทำงานกันได้ ผ่านบันทึกครับ :)

 

  • สวัสดีค่ะคุณเอก
  • แวะมาอ่าน และขอบคุณที่มีส่วนช่วยเผยแพร่ เจาะลึกวิถีชนเผ่า บ้านเราค่ะ
  • ที่อ.เมือง มีกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าน้อยมากค่ะ

ชอบดูชีวิตคนบนดอยมากได้ข้อติดหลายๆอย่าง อาทิตย์ที่แล้วพี่สาวไปปายและแม่ฮ่องสอนมาถ่ายรูปแม้ว มูเซอ มาให้ดู เห็นแล้วอยากไปดูบ้าง

เห็นน้องทำงานแล้วพี่ชื่นชมนะขอให้ทุกก้าวย่างเพื่อสังคมที่นัองไปปลอดภัยเสมอ

@ สวัสดีครับคุณ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

@ ตามมาเรียนรู้ "กระบวนการจัดการความขัดแย้งของ ๒ กลุ่มชาติพันธุ์"

@ ถ้ากรณี "การจัดการความขัดแย้งในองค์กร" พอจะมีแนวทาง กระบวนการ คำแนะนำหรือหนังสือดีดีหรือเปล่า

@ ขอบพระคุณครับ

พี่เอื้องแซะ

วันนี้ก็นั่งคิด ประเด็นเพื่อทำโครงร่าง...ก็พยายามมองปัญหา ศักยภาพ บ้านของเราให้ทะลุ- - -แต่ยังคิดประเด็นไม่ออก

ผมต้องทำโครงร่างวิจัยโดยด่วน เพื่อประกอบกับการเรียน คิดไว้ ทั้งที่ภาคใต้ และภาคเหนือ (บ้านเรา) เลยตกลงใจว่า ขอทำงานที่บ้านเราน่าจะดีกว่า

ขอบคุณครับที่มาทักทายครับ :)

สวัสดีค่ะ

มาขอร่วมเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

ดีจังเลยค่ะ....

เป็นกำลังใจให้ในการทำงานนะคะ

พี่วินนี่

ติดตามเรื่องราว การทำงานของ พวกเราชาว" สำนักสันติวิธี และธรรมาภิบาล" พระปกเกล้า  บันทึกนี้เป็นบันทึกเปิดงาน มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายเลยครับ ผมจะหาโอกาสนำมาเสนออย่างต่อเนื่องครับ

ขอบคุณมากๆครับ ให้ให้กำลังใจเสมอๆครับ

คุณไทบ้านผำ

ส่งที่อยู่ที่สามารถส่งสิ่งของทางไปรณีย์ได้ มาที่ผมครับ (ทางอีเมล) ผมจะจัดส่งเอกสาร และหนังสือไปให้ครับ

 

คุณครู เทียนน้อย

ได้กำลังใจดีๆจากคุณครู ผมมีพลังขึ้นมาอีกเพียบเลยครับ :)

คุณครู เทียนน้อย

ได้กำลังใจดีๆจากคุณครู ผมมีพลังขึ้นมาอีกเพียบเลยครับ :)

@ สวัสดีคุณ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

@ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

ยินดีครับ คุณไทบ้านผำ เพื่อร่วมด้วยช่วยกัน พัฒนาสังคมเรา ให้ยุติความรุนแรง และสานเสวนา ให้เมืองไทย สังคมไทย เกิดความสมานฉันท์ ความสุข...สถาพร  :)

ข้อมูลชาวไทยภูเขาในประเทศไทย

http://en.wikipedia.org/wiki/Hill_tribe_(Thailand)

Akha

The Akha are closely related to the Hani of China's Yunnan province, They are also known derogatorily in Thai as the Gaw or the E-gaw, the Akha are one of the dominant cultural influences in the area. There are two to three million Akha and Akha-Hani in total, 70,000 of whom live in Thailand. The Akha speak a language in the Lolo/Yi branch of the Tibeto-Burman language group, but have no traditional written language.

Although many Akha, especially younger people, profess Christianity, Akha Zang (The Akha Way) still runs deep in their consciousness. The Akha Way, a prescribed lifestyle derived from religious chants, combines animism, ancestor worship, and a deep relationship with the land. The Akha Way emphasizes rituals in everyday life and stresses strong family ties; every Akha male can recount his genealogy back over fifty generations to the first Akha, Sm Mi O.

Lisu

The Lisu people (Chinese:  : lìsù zú) are a Tibeto-Burman ethnic group who inhabit the mountainous regions of Burma (Myanmar), Southwest China, Thailand, and the Indian state of Arunachal Pradesh (China claims as South Tibet).

About 730,000 live in Lijiang, Baoshan, Nujiang and Dehong prefectures in the Yunnan Province of China. The Lisu form one of the 56 ethnic groups officially recognized by the People's Republic of China. In Burma, the Lisu are known as one of the seven Kachin minority groups and an estimated population of 350,000 Lisu live in Kachin and Shan State in Burma. Approximately 55,000 live in Thailand, where they are one of the six main hill tribes. They mainly inhabit the remote country areas[citation needed]

อ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Lisu_people

สวัสดีครับ เอก

ชาติพันธ์ทางบ้านเรา

พวกเขาอ่อนไหวมาก ๆ

มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ทั้งภายใน ภายนอกเร็วมาก ๆ

ปัจจัยสำคัญ .....หนีให้พ้นจากความลำบากทั้งหลาย "ความจน"

สวัสดีคะคุณเอก

ตามมาอ่านและศึกษาคะ ขออ่านทบทวนอีกซักครั้งก่อนนะคะ พี่ประกายยังไม่เข้าใจ ความรู้ด้านนี้น้อยมากคะ

พี่หมอMr. Kraton Pai

พูดถึงเรื่อง กลุ่มชาติพันธุ์ที่บ้านเรา ...บ่ายวันนี้มีโอกาสได้สนทนากับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านแนะนำเรื่อง ประเด็นที่ผมจะทำ proposal สำหรับประกอบการเรียน..

ผมคิดถึงประเด็น การย้ายถิ่น การสมรสกับชาวต่างชาติของชนเผ่า..

ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลน่าจะดีกว่า เพราะเรามี ทุนอยู่บ้างแล้ว ...หัวข้อProposal ที่ผมคิดจะก้าวหน้าไปอย่างไร จะขอปรึกษาบ้างนะครับ..

:)

สวัสดีครับ พี่ ประกาย~natachoei ที่~natadee  ยินดีครับ ผมเองก็ศึกษาไปเรื่อยๆ เรียนรู้ไปเรื่อยๆเช่นกันครับ

  • เวลาดึงข้อมูลจากผู้นำที่ติดอยู่กับโครงสร้าง ข้อมูลที่ได้อาจจะแหว่งไป คือมันไม่รอบด้านนะครับ ไม่ใช่ว่าผู้นำเผ่าไม่เก่งนะครับ แต่ในแง่การวิจัย ความเห็นอาจจะเป็นคนละเรื่องกับความรู้ และความจริง ซึ่งตรงนี้เอกกับทีมอาจจะมีวิธีจัดการอยู่แล้ว
  • ส่วนตัวผมคิดว่า ประเด็น gender เป็นอีกด้านที่การไกล่เกลี่ยน่าจะพูดถึงด้วยนะครับ คือวิธีไกล่เกลี่ยของหญิงและชายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันอาจจะเหมือนกันบางเรื่อง และต่างกันบางเรื่อง รวมทั้งอาจจะขัดกันบางเรื่องก็ได้
  • ผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์มีบทบาทแค่ไหน อย่างไรในการไกล่เกลี่ยเรื่องต่างๆ อันนี้ผมสนใจนะครับ อยากจะให้ช่วยคิด ค้นหากันต่อ เพราะข้อมูลที่เอกกับคณะทำมีประโยชน์มาก
  • อีกประการหนึ่ง ผมไม่ค่อยเชื่อนะครับว่า ชุมชนจะมีอำนาจในการจัดการปัญหาได้อย่างเป็นเอกภาพ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ซับซ้อนและถูกแทรกแซงจากอำนาจ และ "ความรู้" ภายนอกมากมาย
  • ผมอยากเห็นงานวิจัยที่สะท้อนภาพความวุ่นวายเหล่านี้ออกมาพร้อมๆกับฉายแววของศักยภาพและความง่อยเปลี้ยเสียขาของผู้นำ รวมทั้งคนชายขอบ ทั้งหญิง และเด็ก เยาวชน ในการจัดการปัญหาในเงื่อนไขต่างๆครับ
  • ไม่รู้ว่าขอมากไปหรือเปล่า แต่ผมว่าในเวลาอย่างนี้... เอกสามารถ
  • เอาใจช่วยนะครับ

มาอ่านเป็นความรู้ค่ะ

โลกของพี่..แคบ..ไม่เคยเดินทางไปไหนไกล ๆ
เรื่องชนเผ่าอะไรแบบนี้ไม่ค่อยทราบ 

อยากฮึด..ออกเดินทางกับเขาบ้างก็..อืม..รออีกนิด

อาศัยได้จากการอ่าน
แต่จะเหมือนเดินทางจริงหรือ..

 

เขียนเรื่อย ๆ นะคะ
มีคนตั้งตารออ่านค่ะ

สวัสดีค่ะพี่เอก

ปิดเทอมนี้เตรียมขึ้นดอยค่ะ

เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

มีความสุขกับการทำงานนะคะ

พี่วิสุทธิ์ (ยอดดอย) ขอยกยอดการเเลกเปลี่ยนของพี่ไปก่อนนะ  ผมมีประเด็นจะคุยกับพี่เยอะเลย  ผมต้องขอบคุณข้อเสนอแนะของพี่มากๆครับ...รอว่างๆจะมาคุยยาวๆ :)

พี่หมอเล็ก  ผมทำหน้าที่ เป็นผู้นำข่าวสารมาให้ทุกท่านได้อ่านครับ ทุกย่างก้าวที่เดินออกไปมีความรู้มากมาย...ติดตามอ่านผมก็ดีใจมากๆแล้วครับ

น้องเทียนน้อย  ขอให้มีความสุขกับการทำงาน และการเดินทางนะครับ :)

ขอบคุณท่าน พ.ต.ท.ชาญเดช  วันนี้ผมไปร่วมงานที่วัดในเขต กทม.ฯ นี่หละครับ จะเอาบุญมาฝากทุกท่าน

--------------------------------------------------------------

ขอประชาสัมพันธ์ข่าวดีๆ

วันพรุ่งนี้  วันที่ 9 ก.พ. 52 ทางสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า จะเป็นเจ้าภาพ โครงการไถ่ชีวิต โคกระบือ

-----------------------------------------------------------------

สถาบันพระปกเกล้า ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมบริจาคเงินเพื่อไถ่ชีวิตโค-กระบือ  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันมาฆบูชา

ในวันจันทร์ที่  9 กุมภาพันธ์ 2552 ตั้งแต่เวลา 14.00 นาฬิกา

ณ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 0-25277830-9 และ www.kpi.ac.th

---------------------------------------------------------------

และวันนี้ ผมมีนัดกับ ครูเสือ  เพื่อร่วมงานบุญในครั้งนี้ด้วย

ผมชอบอ่านเรื่องชาติพันธุ์ของกลุ่มคนมาก  และกำลังคิดที่จะศึกษาต่อในทาง "วัฒนธรรมศาสตร์"  อย่างน้อยก็เรียนรู้และศึกษาชาติพันธุ์ในอีสานให้แจ่มชัดมากขึ้น

ผมชอบเรื่องเกี่ยวกับคติชนวิทยามาก  หลายเรื่องสะท้อนนัยยะทางความคิดความศรัทธาอย่างน่าสนใจ

ตอนนี้ซื้อหนังสือ "ผีอีสาน"  มาอ่านให้น้องดินและน้องแดนฟัง  พวกเขาสนใจมาก  แต่เล่าให้ฟังแบบสนุกๆ  ไม่ให้เขากลัว ..

อย่างน้อยก็จะได้เรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง

....

สุขภาพแข็งแรง - นะครับ

 

คุณพนัส

ผมคิดถึง ดิน และ แดน ที่บังคับ ผมให้เล่าเรื่องราวละคร "อังกอร์" ที่ผมไม่เคยดู ในคราร่วมเดินทางครานั้น และผมก็เฉไฉไปเรื่อย

คิดแล้วอมยิ้มครับ ..

-------------------------

ดูแลสุขภาพนะครับ :)

P ชอบจังที่คุณแผ่นดินอ่านหนังสือแบบนี้ให้ลูกฟัง
ดิฉันมีเพื่อนแล้ว...

ตอนลูกเด็ก ๆ ดิฉันดัดแปลง ความสุขของกะทิ เล่าให้เขาฟังเป็นนิทานก่อนนอน จนเป็นเรื่องโปรดของเขา

เจ้าชายน้อยก็เคย แต่ดัดแปลง ตัดต่อ เอามาแค่บางส่วน

ต้นส้มแสนรักด้วย

อ้อมีอีก..ผีเสื้อและดอกไม้, ชั่วนิรันดร์, ลอร์ด ออฟ เดอะริงฯลฯ

เรื่องหลังนี่ ตอนหลังลูกสามารถ อ่านเองแล้วค่ะ

 

อิ อิ ขออนุญาตเจ้าบ้านใช้พื้นที่....: )

ชอบแนวที่คุณเอกคิด มาเล่าแบ่งปัน สะท้อนมุมมอง และที่น้องยอดดอยได้มาขยายเปิดมุมที่ชวนให้ติดตามศึกษา สิ่งเหล่านี้คงทำให้นักวิชาการที่ติดทฤษฎีตะวันตกได้ฉุกคิดถึงบริบทสังคมระดับพื้นที่และประเทศให้มากขึ้น แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้มีโอกาสทำประโยชน์ด้วยการปฏิบัติจริงอย่างคุณเอกและน้องยอดดอย ก็ขอชื่นชมและให้กำลังใจกับคนตั้งใจทำงานเพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติเช่นนี้ค่ะ

ไม่รู้ว่าคนในเมืองจะมองพวกเรา(คนดอย)ยังไงครับ คนดอยก็มีความรู้สึก มีความคิดเหมือนคนเมืองนะครับ ก็ดีใจนะครับที่พี่ๆทำวิจัยสำรวจเกี่ยวกับเรา และยัง เห็นเราเป็นคนไทยคนหนึ่ง ก็ดีใจครับ

เป็นเรื่องดี่ที่จะทำการศึกษาเก็บข้อมูลครับ ถ้าอยากได้ข้อมูลที่เป็นเชิงลึกจริงๆและมากที่สุด คุณควรเข้าเมืองตาลิ่วแล้วลิ่วตาตามนะครับ รับรองได้ของงแท้

ขอบคุณครับ คุณเด็กดอย แปกเเซม และ จันฟันดี

กระบวนการของงานวิจัยประเด็นนี้ กำลังอยู่ในช่วงสังเคราะห์งาน หลัจากที่ผมและทีมเดินทางไป ภูลังกามาไม่กี่วันนี้ เพื่อไปพบพูดคุยเก็บข้อมูล กับ กลุ่มชาติพันธุ์ อิ้ว เมี่ยน

ยังไงผมจะนำเสนอเรื่องราวงานวิจัยลงในบล็อกเพื่อประโยชน์สำหรับสังคมต่อไปครับ

ดีค่ะ

เป็นวิจัยที่น่าสนใจมากเลยน่ะค่ะ

น้องมีโอกาศได้สัมภาษณ์พี่อาทู่ด้วยพี่เขาเก่งมากๆๆๆๆๆๆๆๆ

สังคมไทยอยู่ในจุดที่ต่างมุ่งเอาชนะกัน โดยไม่คำนึงถึงว่าชนะแล้วประเทศได้อะไร สังคมได้อะไร... เรียกว่าเรามาถึงจุดที่เห็นแก่ตัวครอบงำไปทั่ว เดิมสังคมชนบทก็เคยยากจนมามากกว่านี้นักแล้ว เราก็ไม่พบว่าความขัดแย้งมากมายเพียงนี้มาก่อน

1. นักการเมือง 2. ผู้มีอำนาจหรือเป็นใหญ่ในสังคม ประกอบด้วย นักธุรกิจใหญ่ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่ ให้คิดถึงสังคมบ้าง ถ้าบ้านเมืองเดือดร้อนพวกท่านจะสุขอยู่ได้ก็ร้ายเต็มที่แล้วคร้าบ..........

แนวทางแก้ความเหลื่อมล้ำคือกฎหมายต้องเป็นธรรมกับคนทุกระดับ ปัจจุบันเราได้ยินแต่ว่า คุกมีไว้ขังคนจน เป็นคนจนมันน่าสมเพชอะไรอย่างนี้ แก้ระบบยุติธรรมก่อนเถอะ แล้วอะไร ๆ จะดีขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท