กระบวนการค้นหาช้างเผือก - โรงเรียนตามโครงการ Humanized Educare


กระบวนการค้นหาช้างเผือก

ตามโครงการ Mapping โรงเรียนที่มีการเรียนการสอน Humanized Educare ถือว่าเป็นทั้งโอกาสและธรรมะจัดสรรที่ทำให้ผมได้ลงไปสัมผัสโรงเรียนเล็กๆ ที่อยู่ต่างจังหวัด  ได้เข้าไปเรียนรู้กระบวนการที่ทางโรงเรียนได้สร้างสรรค์เพื่อกล่อมเกลาเยาวชน ด้วยวิธีการ รูปแบบที่หลากหลาย และมีเป้าหมายคือการทำให้ผู้เรียน “สุข ดี และเก่ง”

ในช่วงปีก่อนทางมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ได้พัฒนางานทางด้านสุขภาพ ประเด็น หัวใจของความเป็นมนุษย์ Humanized health care  หรือการแพทย์ที่คำนึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการและผู้รับบริการสามารถพัฒนาจิต หรือ พัฒนาสุขภาวะทางปัญญาได้ การใช้ การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่ช่วยเปิดพื้นที่ให้กับคนทำงานได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวดีๆ กระบวนการจิตอาสา ทำให้เรื่องราวและบรรยากาศดีงามเหล่านี้ยกระดับจิต รวมถึงสร้างพลัง แรงบันดาลใจให้ผู้คนเชื่อมั่นในความดี

จาก Setting โรงพยาบาล สู่ โรงเรียน

ภายใต้ฐานคิด เดียวกันคือ เลือกโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนมีความสุข ผู้สอนก็มีความสุข และจะให้ครบภาพของการพัฒนาแบบองค์รวม ชุมชนที่อยู่รอบข้างก็มีความสุขในการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียน เป้าหมายที่มุ่งคัดเลือกเป็นโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็น Main stream ของโรงเรียนทั่วทั้งประเทศ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

ปัญหาที่เราควรเข้าใจ

ระบบการศึกษาของเรา ต้องยอมรับว่าเป็นทั้งโจทย์และจำเลยในเวลาเดียว และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยตรงก็คือ “ครู” เป็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ตลอดจนผู้ถูกกล่าวหาในฐานะผู้เป็นแม่พิมพ์ของชาติ ผลิตมันสมองของประเทศ ระบบการศึกษาของเราได้สร้างคนเก่งมากมาย แต่สร้างคนเข้าใจไว้น้อย

เรามีคนเก่งเต็มประเทศ แต่คนที่ตระหนักด้านจิตสังคมหาไม่ค่อยมี ดังนั้นเก่งแต่ไม่สร้างสรรค์มีมากขึ้น ตามระบบการศึกษาในสังคมปรนัย

มีคำถามที่ท้าทายว่า เรามีครูเชี่ยวชาญมากขึ้น เรามี ด็อกเตอร์ และตำแหน่งทางวิชาการ (ศ,ร.ศ,ผ.ศ,) มากมายล้นมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยก็เพิ่มปริมาณมากขึ้น ตรงกันข้ามกับมาตรฐานความดีงามของสังคม,ทุนปัญญามวลรวมของประเทศ ที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาโดยตรงกับดิ่งลงเหว แบบกู่ไม่กลับ

ระบบการศึกษาจึงเป็นเพียงช่องทางการทำมาหากินมากกว่าที่จะถูกกำกับไว้ด้วยอุดมการณ์ทางการศึกษา

วัฒนธรรมที่ผูกยึด

“หางส่าย แต่หัวไม่ไป" ระบบการเมืองในวัฒนธรรมวงการศึกษาทำอะไรไม่ได้มาก เป็นปัจจัยที่ลดทอนพลังของคุณครูลงไปอย่างต่อเนื่อง  ในโรงเรียนเล็กๆ เองก็ได้ผลกระทบจากข้างบน ตั้งแต่ระดับเขต  การนิเทศของศึกษานิเทศก์ นโนบายจากกระทรวงศึกษาธิการ ที่ขาดความเข้าใจบริบทของการจัดการศึกษาเพื่อสร้างจิตใต้สำนึกของคน  จนทำให้โรงเรียนเล็กๆเหล่านั้นขยับตัวไม่ได้ ต้องก้มหน้าก้มตาทำตามนโยบายอย่างเสียไม่ได้ เพราะมีตัวชี้วัดกำกับ คิดออกนอกกรอบไม่ได้ ตายลูกเดียว  เหมือนเดินอยู่ซอกตึกสูงที่ขนาบสองข้าง มองซ้ายก็ตึก มองขวาก็ตึก อึดอัดไปหมด  มองขึ้นบนฟ้าก็เห็นเดือนเห็นตะวันบ้าง แต่ไม่รู้ว่าจะไปถึงได้ยังไง เพราะทางเดินที่ถูกจำกัด บังคับให้เดินตามทาง...

คิดใหม่ ทำงานกับระบบการศึกษา

เปลี่ยนวิธีคิดใหม่...เมื่อทำมหภาคไม่ได้ ก็ทำเรื่องเล็กๆ ให้ดี แล้วขยายผล การ Mapping โรงเรียนที่มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนามิติจิตปัญญา เราคาดหวังถึงพลังที่จะเป็นเเรงกระเพื่อมวงการการศึกษาในอนาคต  ด้วยการค้นหาของดี สร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยน บูรณาการพลังดีๆ จากจุดเล็กๆ สร้างเป็นเครือข่าย คิดว่าน่าจะเป็นทางออกของปัญหาการศึกษา อาจต้องใช้เวลาแต่น่าจะเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนในการสร้าง กระบวนการทางปัญญาให้เกิดขึ้น เริ่มจากหนึ่ง เชื่อมโยงเครือข่ายสานพลังด้วยความดีงาม และนวัตกรรมการศึกษาเล็กๆงามๆ ฉายภาพให้ชัด สร้างแรงบันดาลใจ และเป็นต้นแบบโรงเรียนอื่นๆในโอกาสต่อไป

ค้นหา...ช้างเผือก เล็กนั้นงาม

ช้างเผือกอยู่ในป่า น้อยคนนักจะได้ยล ผมก็เป็นคนที่คอยค้นหาสิ่งดีๆเหล่านอกจากเอกสารที่ได้มาจาก กระทรวงศึกษาธิการ ,สพท. ที่มีทั้ง เอกสารครูดีในดวงใจ ,รายชื่อ ผลงานโรงเรียนวิถีพุทธ และส่วนหนึ่งผมสืบค้นมาจากเวป ว่าด้วยเรื่องราวดีๆของโรงเรียนต่างๆเหล่านี้ที่ออกเผยแพร่สู่สาธาณะชน แต่ก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ของจริง ก็คงต้องลงไปสัมผัสด้วยตนเองเพื่อยืนยันกับเอกสารอีกครั้ง การค้นหาที่ดูได้ผลก็คือ การใช้วิธี Snowball การสอบถามจากคนที่รู้จัก เครือข่ายที่เคยทำงานร่วมกันมา สอบถามโรงเรียนที่มีลักษณะดังกล่าว จากทั่วประเทศก็ช่วยให้ได้เข้าถึงโรงเรียนดีๆอีกวิธีการหนึ่ง

 

Criteria ที่ตั้งไว้

ได้มีการตั้งเกณฑ์การค้นหาโรงเรียนที่มีลักษณะเข้ากับ Humanized Educare ผมขออ้างอิงจาก อีเมลของ นายแพทย์ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์ ที่ท่านได้ส่งมาให้

         ๑.        เป็นโรงเรียนหรือมีบางหน่วยที่มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา

        ๒.        กระบวนการเรียนรู้นั้นช่วยให้นักเรียนมองเห็นคุณค่าทั้งของตนเองและชุมชน

        ๓.        กระบวนการเรียนรู้นั้นช่วยให้นักเรียนเคารพความเป็นมนุษย์ทั้งของตนเองและผู้อื่น

        ๔.        กระบวนการเรียนรู้นั้นช่วยให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียน

 

เป็นเกณฑ์กว้างๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการลงพื้นที่ดูของจริง สัมผัสด้วยตา  “จับจิต ด้วยใจ”  ถือว่าเป็นภารกิจสำคัญของการคัดเลือกที่ผม ใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจร่วมกับ Criteria ที่กล่าวมาข้างต้นด้วย

โรงเรียนที่ได้คัดเลือกไว้เบื้องต้นก็มี

         ๑.        โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๐ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

        ๒.        โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จังหวัดน่าน   อ.เมือง จ.น่าน

        ๓.        โรงเรียนวิทยสัมพันธ์ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

        ๔.        โรงเรียนบ้านห้วยเฮี้ย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

        ๕.        โรงเรียนวัดกระบังมังคลาราม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

         ๖.        โรงเรียนบ้านเปือย อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี

        ๗.        โรงเรียนหนองตาบ่ง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

        ๘.        โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม อ.อุ้มผาง จ.ตาก

กำลังดูข้อมูลโรงเรียนทางภาคใต้ ,ภาคตะวันออก ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลครับ

โรงเรียนเหล่านี้ผมกำลังวางแผนเดินทางไปเก็บข้อมูลให้ครบทุกโรงเรียน เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ เรียบเรียงนำเสนอเพื่อทำการคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป

 

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๒๗ มี.ค.๕๒

นนทบุรี

--------------------------------------------------------------------------------------------

เขียนบันทึกเพิ่มเติม ๑๙.๓๕ น. ที่ อุบลราชธานี

ได้รับเพิ่มเติมข้อมูลจาก ท่านรองsmall man~natadee 
และอาจารย์ Wasawat Deemarn

  • โรงเรียนบ่อไร่ จ.ตราด
  • โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
  • โรงเรียนวัดควนมีด อ.จะนะ จ.สงขลา

หมายเลขบันทึก: 251275เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2009 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)
  • รู้จักโรงเรียนนี้ครับ
  •         ๗.        โรงเรียนหนองตาบ่ง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

  • อดีตผู้บริหาร
  • นามสกุลเดียวกัน ฮ่าๆๆ
  • อ้าวนึกว่าน้องเอกไปโรงเรียนควนมีดด้วย
  • โรงเรียนนี้น่าสนใจ
  • ตอนอยู่ภาคใต้
  • มีเครือข่ายชุมชนที่นี่
  • มาให้กำลังใจก่อนครับ

 

สนใจโรงเรียนวัดควนมีดครับ แต่ผมไม่มีข้อมูลเลยครับ หากพี่ขจิตมีขอความกรุณาด้วยนะครับ

 

  • กำลังจะออกจากบ้านไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ แวะมาทักทาย
  • แตะ..ไว้ก่อนนะคะ จะกลับมากอ่านอย่างตั้งใจ ...
  • ระลึกถึงเสมอค่ะ

คุณเอกครับ

     ถ้ากรุณาที่ตราด   ขอเป็นโรงเรียนบ่อไร่วิทยาคมครับ

     ผมได้พูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียนแล้วครับ  ท่านยินดีครับ

     และที่โรงเรียนนี้  คุณครูหลายท่านน่ารักครับ

              ฝากไว้ให้พิจารณาด้วย

                           ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ

  • ยังสุขสบายดีนะครับ
  • เกือบลืม แสดงความยินดีด้วยนะครับ สำหรับรางวัลสุดคะนึงตลึงๆ :-) (คงยังไม่สาย เพราะเพิ่งเข้ามาใช้บริการ)

ตะโกนในใจครับว่า ... "โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่" ... โรงเรียนที่สอนเด็กทำนา"

http://www.banrongkheelek.com

:)...

มีอะไรให้ช่วยก็บอกนะครับ...เผื่อมีโอกาสได้ช่วยพี่ในการเดินทางเก็บข้อมูลโรงเรียนในภาคใต้ ครับ ยังไงก็อย่าลืมดูแลสุขภาพนะครับพี่ชาย

โครงการดี ๆ กับโรงเรียนที่ "ใช่"...

เป็นกำลังใจให้ครับ...

สวัสดีค่ะ

  • มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • รักษาสุขภาพนะน้องเอก..

ยอดเยี่ยมมากคะ ช้างเผือกน้อยคนจะได้ยลจริงๆคะ...เป็นกำลังใจให้คะ..เพราะเชื่อว่าช้างเผือกยังไม่มีคนเห็นอีกมากคะ

 

ขอให้ค้นพบช้างเผือกที่สง่างามนะคะ  

แม่พิมพ์ทั้งหลายคงมีโอกาสได้ออกจากซอกตึกสูงตระหง่าน ที่ไม่รู้ว่าจะถล่มลงมาทับเมื่อไร 

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • สบายดีนะค่ะ  รักษาสุขภาพบ้างนะ

 

อาจารย์ Sila Phu-Chaya

ช่วงนี้มีบันทึกใหม่ๆจากอาจารย์หลายบันทึกด้วยกันที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการพัฒนามิติจิตปัญญา น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คงต้องขอความกรุณามาเเลกเปลี่ยนในบันทึกผมบ่อยๆนะครับ

ท่านรอง small man~natadee  ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลโรงเรียนที่ท่านรองได้กรุณา ติดต่อไว้เป็นเบื้องต้น

น่าสนใจมากครับ ผมอยากได้เบอร์โทรศัพท์ และ ผู้ที่สามารถติดต่อได้ครับ

อาจารย์เอก นมินทร์ (นม.)

ยังคิดถึงอาจารย์เหมือนเดิมนะครับ สุข สบายดีหรือเปล่าครับ ขอบคุณนะครับสำหรับข้อความแสดงความยินดี รางวัลนี้สำหรับทุกคนด้วยนะครับ

อาจารย์Wasawat Deemarn

ต้องขอบคุณมากครับ ที่ช่วยแนะนำโรงเรียนให้นะครับ จะเข้าไปชมเวปที่ให้มาโดยพลันครับ วันน้ผมอยู่ที่อุบลราชธานีครับ มาเก็บข้อมูลที่ โรงเรียนบ้านเปือย อ.น้ำยืน เรื่องราวดีๆ คอยอ่านจากบันทึกนะครับผม

:) ขอบคุณเสียงตะโกนในใจที่ได้ยินมาถึงผม

อาจารย์Wasawat Deemarn

ต้องขอบคุณมาก ที่ช่วยแนะนำโรงเรียนให้นะครับ จะเข้าไปชมเวปที่ให้มาโดยพลัน วันนี้ผมอยู่ที่อุบลราชธานีครับ มาเก็บข้อมูลที่ โรงเรียนบ้านเปือย อ.น้ำยืน เรื่องราวดีๆ คอยอ่านจากบันทึกนะครับผม

:) ขอบคุณเสียงตะโกนในใจที่ได้ยินมาถึงผม

สวัสดีคะคุณเอก

พี่คิมเล่าให้ฟังว่ากระบวนการทำงานของคุณเอก

ทำให้พี่คิมและนักเรียนได้รับสิ่งดี ๆ

เสียงเล็กๆ ฟูอ้าจ

พี่ขอบใจมากนะครับที่ให้กำลังพี่เสมอมา ในการเดินทางไปเก็บข้อมูลที่ใต้ คงต้องรีบกวนน้องเเน่ๆครับ

อยากเจอน้องด้วยครับ

สวัสดีค่ะ พี่เอก...

แวะมาทักทายค่ะ....ขอเป็นกำลังใจให้พี่เอนะค่ะ...

แต่สะดุดตรงนี้ค่ะ

"โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่" ... โรงเรียนที่สอนเด็กทำนา"

อยากเห็นจังเลยค่ะ

น่าสนใจค่ะ....ตั้งแต่เล็กจนโตก้อยเคยได้ยินพ่อแม่จะสอนลูกว่าต้องเรียนให้สูงๆจะได้ไม่ต้องมาทำไร่ทำนา (เพราะความรักกลัวลูกๆจะลำบาก) แต่ทั้งที่จริงอาชีพทำนาเป็นอาชีพที่น่าเชิดชูค่ะ มีบุญคุณต่อคนในชาติ.....

ตามน้องก้อยมาค่ะ

มาเพิ่มอีก 1 กำลังใจ

 

 

ส่งกำลังใจมาให้ทุกโรงเรียนที่ผลิตช้างเผือก ค่ะ

ท่าน ผอ.วีรศักดิ์  วรรณรัตน์   ผอ. โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม  ตราด

081-9969543..ครับ

               ขอบคุณครับ

สวัสดีครับน้องเอก

ขอเป็นกำลังใจให้น้องเอกในการทำงานเพื่อสังคมนะครับ  แม้จะเจอกันเพี่ยงไม่นาน แต่ก็รับฟังการถ่ายทอดจากพี่ครูนินและพี่ครูคิมครับ

  • เป็นโครงการที่มีประโยชน์มากเลยค่ะ
  • ขอส่งภาพนี้แทนความรู้สึกทั้งหมดค่ะ Made to order...
  • เพื่อคุณเอกสำหรับโครงการนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

พวกเรามีความยินดีและภาคภูมิใจมากค่ะ  ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากคุณเอกและมูลนิธิฯ ที่เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษา เพื่อความงอกงามของเด็ก

มาแวะ รู้จักโรงเรียนไม่มากค่ะ

ความคิดนี้ดีจังเลยค่ะ จะตามอ่านเรื่อย ๆ ;P

สวัสดีค่ะน้องเอก..จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • วันที่ ๑๒-๑๖ พฤษภาคม โรงเรียนจะจัดกิจกรรม  Humanized Edu  Care ค่ะ
  • วันนี้ช่วยกันคิดวางแผน..อย่างเมามันมาก ๆ
  • คุณเอกจะไปช่วยกันไหมคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท