สมอง กับ...การเรียนรู้


แต่ก็อย่าลืมว่า ไม่เฉพาะ ๓ ประเด็นหลักที่ได้กล่าวมาเท่านั้นนะครับ ที่จะช่วยในกระบวนการพัฒนาสมองเด็ก ยังมี เรื่องของ อาหาร นมแม่ การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การป้องกันความเครียด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาสมองเด็ก ทั้งนั้น

          

              ผมได้รับการติดต่อจาก ผู้ประสานงานของ “มูลนิธิรักษ์เด็ก” ให้ไปคุยเรื่องของ “สมองกับการเรียนรู้” จึงเป็นโอกาสอันดี ที่ได้ค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำเององค์ความรู้ใหม่ไปร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมเวที


          กลุ่มเป้าหมายในเวทีดังกล่าว ทางผู้จัดบอกว่า เป็นกลุ่มของผู้เลี้ยงดูเด็ก (ผดด.)และบรรดาคุณครูปฐมวัย ดังนั้น การมุ่งเน้นและนำไปใช้โดยตรงก็จะเป็นกลุ่มเด็กปฐมวัยที่มีอายุ ตั้งแต่แรกเกิดถึงหกปี


          อย่างที่ได้เขียนในบันทึก เรื่องบางเรื่องที่เราอาจยังไม่รู้...เกี่ยวกับสมอง มาแล้ว เราทราบกันดีว่า มีผลวิจัยมากมายทำให้เราทราบว่า การพัฒนาสมองนั้นมีผลมาจากการเลี้ยงดู การส่งเสริม การสนับสนุนเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง พ่อแม่ (ร้อยละ ๔๐ – ๗๐) มากกว่าพันธุกรรม(ร้อยละ ๓๐ – ๖๐ )


          ประเด็นนี้ทำให้เราทราบว่า  การที่จะทำให้เด็กฉลาดนั้น อยู่ที่ “การจัดกระบวนการเรียนรู้” สำหรับเด็ก ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กเป็นสำคัญ


          ความเป็นจริงทางประสาทวิทยาเผยให้รู้ว่า ในวัย ๒ – ๓ ขวบแรกของชีวิต เด็กตัวเล็กๆ มีความสามารถที่จะเรียนรู้เกือบทุกสิ่งทุกอย่างได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่รู้ตัว ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และกระหายที่จะเรียนรู้วิชา ทักษะ ไปพร้อมกับการละเล่นต่างๆอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งหากการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นในวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว จะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก บางสิ่งบางอย่างอาจจะไม่สามารถทำได้เลย


          กระบวนการพัฒนาสมอง ที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ และจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาสมองเด็กได้ อยากจะขอแยกเป็นประเด็นหลักๆดังนี้ครับ

  • เล่นเพลินๆ...สมองพัฒนา

  • ดนตรี ลีลา พัฒนาสมอง

  • นิทาน สร้างความฉลาด


เล่นเพลินๆ...สมองพัฒนา

<p>
          สำหรับเด็ก “การเล่น” คือ การเรียนรู้ครับ การเล่นทำให้สมองเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นกับประสบการณ์และสิ่งกระตุ้นต่างๆที่สองได้รับ การเล่นของเด็ก จะเป็นการกระตุ้นสมองโดยตรง เด็กจะได้ฝึกใช้ความคิดต่างๆ เช่น การแก้ปัญหา จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เด็กก็จะคิดแก้ปัญหาเป็น มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ </p><p>มีงานวิจัยของ Kotulax ในปี       พ.ศ.๒๕๓๙ ได้นำเด็กมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พร้อมทั้งของเล่นเพื่อนเล่น อาหารดี เรียนรู้สิ่งต่างๆและการละเล่น พบว่า มีไอคิวมากกว่าอีกกลุ่มที่ตรงกันข้ามและสมองมีการทำงานมากขึ้น (ยืนยันจากเครื่องตรวจสมอง) และเขากล่าวว่า ไอคิวสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากกว่า ๒๐ แต้มได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการกระตุ้นต่างๆ หลักง่ายๆสำหรับการเล่นของลูกที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรใส่ใจ คือ</p><p>
          ของเล่นที่เลือกให้ลูกควรมีความหลากหลาย เหมาะกับวัย และพัฒนาการของลูกรวมถึงเรื่องความปลอดภัยด้วยนะครับ ส่วนความหลากหลายนี้ไม่ได้จำกัดแค่ชนิดของการเล่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงของเล่นที่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นได้หลากหลาย เพราะนั่นเท่ากับ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองเล่นวิธีใหม่ๆ ได้ลองผิดลองถูก นั่นหมายความว่า สมองเด็กกำลังทำงาน</p><p>
          ของเล่นที่เข้าลักษณะอย่างที่บอก เช่น ชุดหม้อข้าวหม้อแกง ชุดของเล่นประกอบการเล่นบทบาทสมมุติ บล็อกตัวไม้ ตัวต่อเลโก้ เป็นต้น</p><p>
          เล่นกลางแจ้งต้องไม่ขาด   เด็กในเมืองที่มีของเล่นราคาแพง มีเครื่องเล่นชั้นดี ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เด็กได้รับการพัฒนาได้ครบ โดยเฉพาะเด็กเล็กๆที่ต้องการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การได้ออกไปวิ่งเล่น เล่นเครื่องสนามเป็นประจำ จะช่วยให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งนั่นหมายถึง สมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวก็ได้พัฒนาไปด้วย</p><p>
          พ่อแม่ คือ เพื่อนเล่นและเป็นของเล่นชั้นดีให้กับลูกได้ การที่พ่อแม่ได้ร่วมเล่นกับลูก จะทำให้ลูกรู้สึกสนุก กระตือรือร้น มีสมาธิกับการเล่น และลูกยังได้ความภูมิใจ ความสุขที่มีพ่อแม่อยู่ด้วย ดังนั้นในโรงเรียนและศูนย์เลี้ยงเด็ก  บทบาทของครูและพี่เลี้ยงเด็กก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับพ่อแม่ของเด็กครับ
         
          ให้อิสระในการเล่นกับเด็ก  ให้เด็กได้จัดการการเล่นด้วยตนเอง อย่าไป         กะเกณฑ์กับลูกมากเกินไป ให้ลูกได้ทดลองหาวิธีเล่นด้วยตัวเขาเอง แล้วเราจะพบว่า เด็กทำได้ดีและสนุกกับการค้นคว้าหาวิธีการเล่นใหม่ๆ</p><p>  
ดนตรี ลีลา พัฒนาสมอง
          จังหวะ ท่วงทำนอง ความถี่ของดนตรี มีผลต่อการเชื่อมต่อกันของเส้นใยประสาท ซึ่งการเชื่อมต่อของใยประสาทนี้ ยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อการพัฒนาเครือข่ายสมองเด็กมากเท่านั้น นอกจากนี้ คุณทราบมั้ยครับว่า ดนตรี ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการจำ ทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และดีต่อสุขภาพใจของลูกด้วยครับ</p><p>
          ดนตรีเป็นเรื่องของเสียง ซึ่งเสียงของดนตรี จะมีความพิเศษกว่าเสียงอื่นๆ เพราะเสียงดนตรีจะมีระดับของความถี่ที่แตกต่างกัน ทำให้มีความหลากหลายของคลื่นเสียงมากกว่าเสียงชนิดอื่น และคลื่นของความถี่ที่หลากหลายเหล่านี้ก็จะไปสอดคล้องกับทฤษฎีทางด้านการพัฒนาการของสมองที่ว่า สมองจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อถูกกระตุ้นในจังหวะแรกๆของชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าต้องการกระตุ้นการฟังให้ได้เสียงครบทุกย่านความถี่ก็ต้องกระตุ้นด้วยความถี่ที่หลากหลาย</p><p>
          เคยอ่านเจอในงานเขียนชิ้นหนึ่งบอกว่า เสียงบรรเลงจากเครื่องดนตรีทางภาคอีสาน น่าจะสามารถที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาสมองมากที่สุด </p><p>
นิทานสร้างความฉลาด
          มีคนบอกว่า “อยากให้ลูกฉลาดต้องเล่านิทานให้ลูกฟัง” เป็นคำกล่าวที่เป็นความจริง   ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า ถ้าอยากให้ลูกฉลาด พ่อแม่ต้องเล่านิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ เพราะภาพและตัวหนังสือ บนหนังสือนิทาน คือ ภาษาอย่างหนึ่งครับ</p><p>
          เด็กมักจะมีคำถามและอยากให้พ่อแม่เล่าซ้ำ ยิ่งได้ถามมาก ฟังมาก ก็ยิ่งจะเพิ่มพูนความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น</p><p>
          การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง ลูกจะได้เรียนรู้เรื่อง ภาษาไปด้วยในตัว เพราะลูกได้ฟังทั้งรูปประโยค บทสนทนา การใช้ภาษาโต้ตอบ ด้วยความสนุกสนาน ซึ่งจะทำให้จำแม่นขึ้น</p><p>
          การที่ลูกได้ฟังเรื่องซ้ำๆหลายๆครั้ง จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในเรื่องราวมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นขั้นแรก ของการฝึกให้มีความคิดรวบยอดและการจับประเด็น เพราะความที่จำได้ทั้งเรื่องจะทำให้ลูกเห็นภาพรวมของเรื่องทั้งหมด ความอยากรู้อยากเห็นของลูกจะทำให้ลูกมีสมาธิจดจ่อกับเรื่องที่ฟัง ช่วยเสริมสร้างสมรรถนะในการฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ภาษา</p><p>
          เสียงเล่านิทานของพ่อแม่จะส่งเสริมให้ลูกสร้างจินตนาการ เป็นภาพไปทุกช่วงของเรื่อง ภาพเหล่านี้จะเกิดจากประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมของลูกบวกกับจินตนาการใหม่ที่ลูกสร้างขึ้นเอง ทำให้เกิดการรับรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน</p><p>
          บทสรุปหรือคติในนิทานจะช่วยขยายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรับรู้ภาษา ของลูกยิ่งขึ้นไปอีก</p><p>
          นิทานช่วยปลูกฝัง นิสัยรักการอ่านซึ่งเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญอีกขั้น ที่สำคัญที่สุด ความใกล้ชิดและความรู้สึกร่วมระหว่างพ่อแม่ผู้เล่ากับลูกซึ่งเป็นผู้ฟัง เป็นบรรยากาศที่ดีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของลูกอย่างยิ่ง</p><p>
          คุณครูและผู้เลี้ยงดูเด็ก ทำหน้าที่ บทบาทของพ่อแม่ของเด็กในขณะที่เด็กอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็ก  กระบวนการต่างๆก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี</p><h3>
         แต่ก็อย่าลืมว่า ไม่เฉพาะ ๓ ประเด็นหลักที่ได้กล่าวมาเท่านั้นนะครับ ที่จะช่วยในกระบวนการพัฒนาสมองเด็ก ยังมี เรื่องของ อาหาร นมแม่ การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การป้องกันความเครียด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาสมองเด็ก ทั้งนั้น</h3><h3>
 </h3><hr><p>  
จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เอกสารประกอบการนำเสนอ “กระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในเขตพื้นที่อำเภอปางมะผ้า”
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น สมองกับกระบวนเรียนรู้
ภายใต้โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่โรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย”
ดำเนินการโดย   มูลนิธิรักษ์เด็ก  (The Life Skills Development Foundation)
สนับสนุนโดย   บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และองค์การ เชฟ เดอะ ซิลเดร็น  (สหรัฐอเมริกา)
</p><p>
เอกสารอ้างอิงการเขียน :
          สมองและการเรียนรู้,หมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๓๑๗ กันยายน ๒๕๔๘,หน้า
๑๗ – ๒๖ ,สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน บจก.
          แผนที่นำทาง สร้างศักยภาพ สมองลูก,ชุดเสริมสร้างพัฒนาการและการศึกษา,บริษัทรักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป จำกัด,เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ </p><p> </p><p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 27100เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2006 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เป็นบทความที่ดีเช่นเคยค่ะ อยากให้ได้มีโอกาสเผยแพร่ไปในวงกว้าง เพราะมีประโยชฯมากสำหรับการพัฒนาเด็กไทยของเรา

2 ประเด็นแรกได้ใช้กับลูกๆทั้ง 3 มาแล้วและเห็นผลเป็นอย่างดี ส่วนประเด็นที่ 3 ไม่ได้ทำเพราะไม่ได้เริ่มตั้งแต่ตอนเค้าเล็กๆ และพอเค้าอ่านเป็นก็ชอบอ่านเองมากกว่า

จะช่วยเผยแพร่ความรู้ดีๆอย่างนี้ให้กระจายออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ

 

        การทำงานประเด็น "การพัฒนาสมอง" ยังไม่ได้ถูกให้ความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งจริงๆเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

          ประเด็นหลักๆ ๓ ประเด็น เป็นกิจกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของ สมอง เรามากครับ

           ประเด็นที่ ๓ ผมเห็นว่า ถึงแม้ จะอ่านเองได้ นะครับ หากมีเวลาพอ คุณแม่โอ๋-อโณ ควรที่จะเข้าไปทำบทบาท "ผู้เล่านิทาน"  ที่สนุกสนาน เพื่อลูกๆจะได้ ใกล้ชิด สัมผัส และ เห็นวิธีการออกเสียง และยังได้ฟังสำเนียง ของคุณแม่ด้วยครับ ก็อาจเรียกได้ว่า สามารถเพิ่ม "สมรรถนะสมองเด็ก" ได้ดีทีเดียวครับ

ตามมาอ่านบทความดีๆ จะได้นำไปขยายให้เพื่อนครูลองนำไปใช้ด้วยคงจะได้ผลดีมาก  ขอบคุณมากค่ะ

เมื่อได้ร่วมกันวิเคราะห์และถกประเด็นนี้...มีสิ่งที่เราได้ข้อสรุปและ...มาเพื่อ ลปรร. ในเรื่อง"สมองกับการเรียนรู้"...ว่า..

กระบวนการรู้คิดและความสำคัญของผู้เรียน ถือว่าการเรียนรู้เป็นผลของการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ การเรียนรู้ไม่จำเป็นจะต้องเริ่มด้วยการลองผิดลองถูกเสมอไป ผู้เรียนอาจจะเกิดการหยั่งรู้ในการแก้ไขปัญหาและแก้ปัญหาได้ทันที โดยไม่ต้องให้แรงเสริม

เมื่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในโครงสร้างสติปัญญา เป็นคำที่พีอาร์เจต์(P.R.J)ได้คิดค้นขึ้นโดยมีสมมติฐาน ว่า คนเรามีโครงสร้างสติปัญญามาตั้งแต่เกิด ในวัยทารกโครงสร้างสติปัญญายังไม่ซับซ้อน (Simple) เพราะยังไม่พัฒนาต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างสติปัญญามีการขยายและซับซ้อนมากขึ้น หน้าที่ของโรงเรียนก็คือ การช่วยเอื้อการขยายของโครงสร้างสติปัญญาของนักเรียน

หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การเรียนรู้จะเกิดจากการค้นพบ เนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อมและเกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบขึ้น

ขอบคุณ Dr.Ka-poom+คุณ"ชายขอบ"

            สองแรงแข็งขัน ช่วยกันให้ข้อเสนอแนะดีๆ ครับ ข้อเสนอแนะ/ข้อแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจเหล่านี้ เราจะนำเข้าไป ในเวทีของการพัฒนาศักยภาพพ่อแม่อาสา คุณครูปฐมวัย และผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่ทาง มูลนิธิรักษ์เด็ก จัดขึ้นที่อำเภอปางมะผ้า ในอีกไม่กี่วันนี้

              ผมขอยกข้อความที่น่าสนใจของข้อแลกเปลี่ยนข้างต้น มาให้เห็น เน้นย้ำอีกครั้งครับ

"...คนเรามีโครงสร้างสติปัญญามาตั้งแต่เกิด ในวัยทารกโครงสร้างสติปัญญายังไม่ซับซ้อน (Simple) เพราะยังไม่พัฒนาต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างสติปัญญามีการขยายและซับซ้อนมากขึ้น หน้าที่ของโรงเรียนก็คือ การช่วยเอื้อการขยายของโครงสร้างสติปัญญาของนักเรียน"

ตอนนี้คงเป็นหน้าที่ที่ทาง คุณครู พ่อแม่อาสา และผู้เลี้ยงดูเด็ก คงต้องช่วยกันคิดต่อ ว่า "เราจะสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กของเราได้อย่างไร"

ประเด็นที่น่าสนใจอีกก็คือ เด็กของพวกเราเป็นเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย โจทย์ที่น่าท้าทายก็คือ เราจะสามารถนำเอาองค์ความรู้ท้องถิ่นแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็กของเราอย่างไร?

การเดินทางของ "กระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปางมะผ้า " เชื่อว่าคงมีนวัตกรรมดีๆเกิดขึ้น

ซึ่งจะได้นำองค์ความรู้ ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับผู้รู้ ผู้สนใจ ใน gotoknow ต่อไป

ขอขอบคุณมากครับ

      ร้องเพลง"นิทานหิ่งห้อย"ที่ร้องโดยศุ  บูญเลี้ยงให้ลูกฟังมีเนื้อร้องว่า...เด็กน้อยได้ยินเรื่องราวเล่าขานมานาน  ว่าใครได้จับหิ่งห้อยมาเก็บเอาไว้ใต้หมอน  นอนคืนนั้นจะฝันดี  ฝันเห็นดวงดาวมากมาย  ฝันเห็นเจ้าชายเจ้าหญิง  ฝันแสนสวยงาม...พอร้องจบเค๊าก็ถามว่า " ทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่ที่ต้นลำพู ทำไมไม่มาอยู่ที่ต้นมะม่วงบ้าง" คำถามที่ทำให้คุณแม่อึ้งไปพักนึง(ตอบไม่ถูกเพราะไม่รู้จริงๆ)ใครพอจะมีคำตอบบ้างคะ...

ให้...คุณปอม   ครับ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

เพราะเป็นดังเช่น...หิ่งห้อย

แม้ได้ใกล้ชิด...ต้นลำพู...แสนรัก

เพียงได้เวียนวน อยู่ใกล้ ๆ

แต่มิอาจ...เข้าถึง...ซึ่ง...หัวใจ...ความรู้สึก...ได้เลย

ฉันเพียง...พยายามในแง่มุม...ที่คิดว่า...ดีงาม

แต่...แสงสว่างของฉัน...

กลับทำลาย....หัวใจ...ฉันเอง

หิ้งหอย...ที่ครั้งหนึ่ง...มีคนพยายามไขว่คว้า

แต่เมื่อได้มา...แสงสว่างในตัวฉัน...

คง...เล็กน้อย....

ไม่อาจ....ส่งถึง...กลางใจ...แม่น้ำ...ได้เลย

                                                      กานพูลริมคลอง

                                               http://pingfavilunda.net

       ขอโทษนะคะที่เข้ามาช้าไปหน่อย...เพราะเพิ่งกลับจากปฏิบัติธรรมที่วัดสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี(บ้านคุณHandy)พร้อมกับคุณไออุ่นและอาจารย์แม่(ดร.สาวิตรีและรศ.ดร.เพชรน้อย)ของคุณชายขอบ+คุณไออุ่น...รับส่วนบุญไว้ด้วยนะคะ...ขอบคุณจริงๆสำหรับบทกวี...ที่ดิฉันพยายามอ่านอย่างละเมียดละไมซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง...และเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า...แสงสว่างของฉัน...กลับทำลาย....หัวใจ...และตัวของ(ขอเพิ่ม)ฉันเอง...ถ้าฉันไม่มีอะไรน่าสนใจ..ฉันคงไม่โดนจับไปขังไว้ในกล่อง...ขาดอิสรภาพ...เหตุเพราะความงามของฉันนั่นเอง

คุณปอม

ผมขอ อนุโมทนาบุญกุศลด้วยนะครับ

ตามไปอ่านเรื่องของหิ่งห้อย กับหนุ่มช่างฝันที่ นี่ ครับ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ผมอยากไป สวนโมกข์ จังครับ เคยคุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ที่อยู่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานีว่ามีโอกาสดีๆว่างๆจะไปเยี่ยม

จนแล้วจนรอดก็ไม่มีเวลาว่างเอาเสียเลย...

* * * เรื่องของ "หิ่งห้อย" ทำให้รู้ว่าบางที "ความสวย" ก็อันตรายนะครับ

มีประโยชน์มากครับ อยากให้เข้าถึงระดับประถมด้วย ไม่เฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน

@ เห็นด้วยค่ะ..และการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย.โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล.จะช่วยให้เด็กๆมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในทุกๆด้าน @

 

                                  

มีประโยชน์มากครับสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท