กระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมองเด็ก


การทำให้สมองเรียนรู้ได้ดีในห้องเรียน คือ การลดความเครียดในห้องเรียนให้มากที่สุด

                 ว่าด้วยเรื่องของกระบวนการพัฒนาสมอง ในเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างคุณครูปฐมวัยและผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิรักษ์เด็ก ประเด็นที่เป็นหัวใจของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในครั้งนี้ จะโฟกัส อยู่ที่ การจัด“กระบวนการการเรียนรู้” ที่เอื้อต่อการพัฒนาสมองเด็ก
การทำให้สมองเรียนรู้ได้ดีในห้องเรียน คือ การลดความเครียดในห้องเรียนให้มากที่สุด ดังนี้

  • เล่นดนตรีที่สนุกสนานมีความสุข
  • การให้เด็กนั่งสมาธิก่อนเรียน หรือเมื่อรู้สึกเครียด หรือระหว่างชั่วโมงสอน พักสายตาสัก ๕ นาที
  • ไม่ถือโกรธเมื่อเด็กทำผิดพลาดเล็กๆน้อยๆและฟังเหตุผลเด็กก่อนจะดุด่าว่ากล่าว “ครูใจดี”
    จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อลดความเครียด
  • การเรียน การสอน การทำการบ้าน ที่สนุกสนานมีความสุข ไร้แรงกดดัน ให้เด็กรู้ว่าครู พ่อแม่ เข้าใจความรู้สึกเด็ก
  • มีการเคลื่อนไหว ยืดเส้นยืดสาย แสดงละครที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
  • ให้เด็กได้แสดงออก เขียนเรื่องและย่อความ
  • ให้เด็กแสดงออก ถึงความต้องการและความรู้สึก
  • ไม่ควรเรียนวิชาที่ซ้ำๆซากๆ ที่เด็กเบื่อหน่ายหรือยากจนเกินไป และไม่เกิดประโยชน์
  • ดูแลตนเองไม่ให้มีอารมณ์เครียด เพื่อไม่ให้มีผลต่อเด็ก
  • แสงสี เสียงดนตรี และการเคลื่อนไหว ทำให้ความจำเกิดขึ้นได้ดี
  • มีเวลาให้นำความรู้ที่ได้เรียนนั้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ทดลองจริง ปฏิบัติจริง


              เพราะฉะนั้น ครู พ่อแม่ ต้องนึกตลอดเวลาว่า สมองเด็กกำลังเจริญเติบโต และต้องคำนึงถึงว่า เด็กต้องใช้เวลาอยู่กับครูนานมากกว่าพ่อแม่ ซึ่งแสดงว่า สมองส่วนใหญ่ล้วนแต่มีผลจากครู และคำนึงว่า สมองเด็กต้องการหาสิ่งใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ มาเรียนเสมอ ต้องการตัวกระตุ้น แต่ไม่ใช่วิชาการมากมายซ้ำซากเกินไป จนทำให้เด็กมีความทุกข์ โดยให้ความรู้เฉพาะที่ใช้ได้ประโยชน์จริงๆ ไม่ซ้ำๆซากๆ  ต้องมีความพอดีในการให้ความรู้เด็ก การทำกิจกรรม การออกกำลังกาย และการพักผ่อน และเราต้องดูสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ อารมณ์ของครู/พ่อแม่ ที่จะมีผลต่อสมองเด็กและการเรียนรู้


จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เอกสารประกอบการนำเสนอ “กระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในเขตพื้นที่อำเภอปางมะผ้า”
ประเด็น สมองกับกระบวนเรียนรู้
ภายใต้โครงการ          “เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่โรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย”
ดำเนินการโดย            มูลนิธิรักษ์เด็ก  (The Life Skills Development Foundation)
สนับสนุนโดย   บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และองค์การ เชฟ เดอะ ซิลเดร็น (สหรัฐอเมริกา)
เอกสารอ้างอิงการเขียน : สมองและการเรียนรู้,หมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๓๑๗ กันยายน ๒๕๔๘,หน้า๒๕,สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน บจก.

***ภาพประกอบจาก http://www.siamza.com

คำสำคัญ (Tags): #brain#based#learning
หมายเลขบันทึก: 27101เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2006 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ได้ความรู้ดีจัง  ขอบคุณค่ะ

          ช่วงหลังมาผมสนใจเรื่องราวของ "สมอง " การพัฒนาสมองเพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต คุณครูAW สนใจก็สามารถติดตามอ่านได้ในบนทึกที่ผมเขียนขึ้นมาบ่อยๆ อีก ๒-๓ วัน ผมจะเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรื่อง "เทคนิคการเล่านิทานสำหรับเด็ก" หากมีเรื่องน่าสนใจจะนำมาแลกเปลี่ยนกันครับ...

บันทึกที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมอง ที่ผมเคยเขียนไว้

 

 

ตามมาชื่นชมค่ะ ทำดีต่อไปนะคะ มีคนเป็นกำลังใจและคอย"ลุ้น"อยู่ค่ะ

ขอบคุณ คุณครู AW และ  คุณ โอ๋-อโณ ครับ

       ...เพราะสนใจ ความมหัศจรรย์ของ "สมอง" แท้ๆเชียวครับ เลยทำให้ผมต้องค้นคว้า เรื่อง "การดูแลเด็ก"  ไปโดยปริยาย  เป็นโอกาสดีที่ได้เรียนรู้ พยายามจะหาเนื้อหา -ความรู้ ประเด็นดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนสม่ำเสมอครับ

 

ตามมา ลปรร. อีกบันทึกนะคะ...พอดีเป็นประเด็นที่ดิฉันกับคุณ"ชายขอบ"ได้ร่วมกันศึกษาวิจัย...ภายใต้โครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน...เกี่ยวกับกระบวนการทางปัญญาของ"มนุษย์"...หากเมื่อได้เริ่มตั้งแต่วัยเด็กย่อมจะเป็นรากฐานที่สำคัญ...ได้ยิ่ง...

สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คือ ครูควรจะเข้าใจพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเด็กและจัดสภาพสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้ตามขั้นพัฒนาการเชาว์ปัญญาของตน หรือใช้วิธีการที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยเด็กจะสามารถเรียนรู้ได้

วิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการค้นพบความรู้ขึ้นกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน ซึ่งคล้ายคลึงกับขั้นพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของพีอาเจต์ขั้นพัฒนาการที่บรูเนอร์เสนอมี 3 ขั้น คือ Enactive, Iconic, Symbolic ฉะนั้นวิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการค้นพบความรู้ แบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังต่อไปนี้
1. วิธีการที่เรียกว่า เอนแอคทีป (Enactive Mode)  ซึ่งเป็นวิธีการที่มปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการสัมผัสจับต้องด้วยมือผลักดึง รวมทั้งการที่เด็กใช้ปากกับวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ข้อสำคัญที่สุดก็คือการกระทำของเด็กเอง
2. วิธีการที่เรียกว่า ไอคอนนิค (Inconic Mode) เมื่อเด็กสามารถที่จะสร้างจินตนาการหรือมโนภาพ(Imagery) ขึ้นในใจได้ ก็จะสามารถที่จะรู้จักโลกโดย Inconic Mode เด็กในวัยนี้จะใช้รูปภาพแทนของจริง โดยไม่จำเป็นจะต้องแตะต้องหรือสัมผัสของจริง นอกจากนี้เด็กจะสามารถจะรู้จักสิ่งของจากภาพ แม้ว่าจะมีขนาดแะสีเปลี่ยนไป เด็กที่มีอายุประมาณ 5 – 8 ปี จะใช้ Inconic Mode
3. วิธีการที่ใชสัญลักษณ์ หรือ Symbolic Mode วิธการนี้ผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนมีความสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือความคิดรวบยอดที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรม จึงสามารถที่จะสร้างสมมุติฐาน และพิสูจน์ว่าสมมุติฐานถูกหรือผิดได้
บรูเนอร์กล่าวว่า แม้ว่าวิธีการของผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนโดยการค้นพบจะมี 3 วิธี และขึ้นอยู่กับวัยของผู้เรียนก็ตาม แต่ในชีวิตจริงไม่ได้หมายความผู้ใหญ่จะพ้นจากการคิดขึ้น Enactive หรือขั้น Iconic อย่างเด็ดขาดเพียงแต่ว่าผู้ใหญ่จะใช้สัญลักษณ์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนทักษะบางอย่าง เช่น การขับรถ ผู้เรียนยังจะต้องลงมือทำ และมีประสบการณ์เหมือนขั้น Enactive

ขอบคุณ Dr.Ka-poom+คุณ"ชายขอบ"

             สองแรงแข็งขัน ช่วยกันให้ข้อเสนอแนะดีๆ ครับ ข้อเสนอแนะ/ข้อแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจเหล่านี้ เราจะนำเข้าไป ในเวทีของการพัฒนาศักยภาพพ่อแม่อาสา คุณครูปฐมวัย และผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่ทาง มูลนิธิรักษ์เด็ก จัดขึ้นที่อำเภอปางมะผ้า ในอีกไม่กี่วันนี้

ขอขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท