"การเรียนรู้สู่สันติสุข" สัตยาไส - รุ่งอรุณ


ผมก็คิดว่า เราก็ยังไม่สิ้นหวังกันหรอก ในเมื่อเราทำในภาพใหญ่ของโรงเรียนทั้งหมดไม่ได้ แต่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของครูเกี่ยวกับการให้ความรู้ เป็นการสร้างความรู้ การบูรณาการสิ่งเหล่านี้เข้าไปในหลักสูตร-รายวิชา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ ท่ามกลางความไม่พร้อม ไม่เอื้อด้วยประการทั้งปวงของระบบการจัดการศึกษาของเราในขณะนี้

“การเรียนรู้สู่สันติสุข”  สัตยาไส-รุ่งอรุณ

ประเทศไทยกับการจัดการศึกษาที่ล้มเหลวเรื่อยมา เพราะเรามุ่งเน้นคนเก่ง  ระบบการศึกษาตามแนวทางตะวันตกต่อท่อมาให้เราได้ใช้รูปแบบที่คล้ายกัน เน้นการให้ความรู้วิชาการ เน้นการพัฒนาสมองเป็นหลัก ใช้วิธีการคิดวิเคราะห์ ในที่สุดคนเก่งเหล่านี้ก็เข้าสู่สนามแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย ผู้ชนะสามารถเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นโอกาสของชีวิตของผู้ชนะ เด็กที่อยู่ในเมืองหลวงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการกวดวิชา แต่เด็กๆในชนบทแทบจะไม่ได้สัมผัสการกวดวิชาเหมือนเด็กในเมือง เมื่อพูดเรื่องการสอบแข่งขัน เด็กชนบทก็แพ้ตั้งแต่คิดแล้ว

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา  ได้เน้นย้ำให้เห็นความล้มเหลว และความเจ็บปวดของระบบการศึกษาที่แบ่งแยกคนอย่างไม่เป็นธรรม ดร.อาจอง ได้บอกต่อว่าระบบการศึกษาแบบเดิมความเครียดสูง  เลยต้องเปลี่ยนวิธีคิด เน้น “ความดี” ก่อน คนดีจะไม่คิดแบบคนเก่ง คนดีจะคิดถึงส่วนรวมก่อนตนเอง เมื่อสร้างคนดีแล้วเชื่อว่าคนจะเก่งขึ้นมาเอง

อ้างอิงภาพจาก http://www.hotelier.in.th/fwmail/fwmailview.php?showmaster=1&fwid=100

 

โรงเรียนสัตยาไส ไม่เน้นวิชาการแต่ให้ความสำคัญกับความสุข กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กมีความสุข  “เมื่อเขาสุขแล้ว จะเก่งขึ้นมาเอง” ผลสัมฤทธิ์การเรียนของสัตยาไส นักเรียนชั้น ม.ปลาย สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ๑๐๐ %

....

มีคำถามว่า ทำไมถึงมาทำงานด้านการศึกษา?

รศ.ประภาภัทร ท่านตอบว่า “เพราะไม่รู้ว่ามันยากไง”  

รศ.ประภาภัทร นิยม อดีตอาจารย์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และต่อมาท่านได้ออกมาทำโรงเรียน ทำงานด้านการศึกษาระดับพื้นฐาน จึงพบว่าการทำงานด้านการให้การศึกษานั้น ยากและท้าทาย กว่าที่คิดไว้

เราหลับกันมานาน เราทำอย่างที่เคยทำ รู้เท่าที่รู้ สอนเท่าที่มีในหนังสือ ตำรา รูปแบบการจัดการศึกษาของเราแบบนี้นี่เอง ทำให้ระบบการศึกษาตอบโจทย์สังคมใหม่ๆไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็แปลกแยกออกไปจากวิถีชีวิตทุกขณะ

คนทำงานด้านการศึกษาในความคิดของ รศ.ประภาภัทร ท่านบอกว่า ต้องมี ๓ประเด็นนี้ คือ

        ๑. ต้องเคลื่อนไหวระดับจิตวิญญาณ

        ๒. ตื่นพอที่จะมองเห็น เห็นทั้งตัวเองและสังคม

        ๓. ตระหนักว่า ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่ง

ทำไมการศึกษาไม่ทำให้เรา “รู้” ตรงนี้สำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในสังคม การศึกษาไม่ได้ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้เลย ณ ถึงวันนี้เราต้องคิดไปข้างหน้าแล้วว่า เราจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร?  เราตื่นพอที่จะรู้ว่า สิ่งที่เราสอนอยู่ ว่า “มันไม่ใช่” การศึกษาทางเลือกจะกระตุ้นให้คนได้ตื่น เรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงนั้น

การจัดการศึกษาที่โรงเรียนร่งอรุณพยายามทำใน ๓ อย่าง

๑.     เปลี่ยนที่ตัวเราเอง (ครู) สร้างวิธีการเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง  ทั้งด้านวิธีคิด กระบวนทัศน์ การบ่มเพาะให้เข้าใจ ทัศนคติ มองเห็นความเชื่อมโยง หน้าที่ของนักการศึกษาคือ การบ่มเพาะการเรียนรู้ ประเทศไทยมีทุนด้านศาสนาที่มีพุทธศานาเป็นศาสนาประจำชาติ คุณค่า หรือทุนตรงนี้เป็นทุนที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านจิตวิญญา

๒.    ความรู้ที่เกิดจากสถานการณ์จริง ด้วยวิธีคิดที่ว่า เราจะเติบโตอย่างไร? เราจะอยู่กับคนอื่นอย่างไร? รู้เท่าทันอย่างไร?  โรงเรียนรุ่งอรุณ จึงพานักเรียนออกไปเรียนรู้ การจัดการหลักสูตรทุก Domain อยู่ในทุกวิชา ที่เราเรียกว่า “บูรณาการ” สอนการดูแลโลก สอนให้ลึกซึ้งถึงวิธีคิด

๓.    การสื่อสารที่เป็นสาระ   โรงเรียนรุ่งอรุณใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบ การแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้จากผู้อื่น เรียนรู้จากการสนทนา เป็นการสื่อสารที่มีสาระ นำความรู้ฝังลึกออกมานำเสนอ สร้างความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา

ทางออก ทางรอดการศึกษา

ดร.อาจอง ฝากในช่วงท้ายบอกว่า เราต้องช่วยกันตั้งแต่ ระดับอนุบาล – อุดมศึกษา สร้างคนดีตั้งแต่ระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานป้อนเข้าสู่มหาวิทยาลัย  หากทำเช่นนี้จะช่วยลดภาระมหาวิทยาลัยมากในการเริ่มต้นสร้างคน

ปัจจัย ๒ อย่างที่สัตยาไสให้ความสำคัญ ก็คือ การมีครูที่ดี ครูที่พูดทุกอย่างออกมาจากใจ (ภาษาใจ) สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ฟัง การฝึกสมาธิให้แก่เด็ก การทำสมาธิยกระดับจิตใจเด็กให้สูง รร.สัตยาไสให้เด็กนั่งสมาธิ ๙ ครั้งต่อวัน

รศ.ประภาภัทร ให้ข้อคิดเห็นในมุมของนโยบาย ท่านบอกว่า ต้องมาจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต้องเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย หากไม่มีคนเล็กคนน้อยก็เหนื่อยกันต่อไป

คุยเรื่องเเนวคิด แล้วลงสู่การปฏิบัติเป็นไปได้หรือ?

ที่โต๊ะอาหารกลางวันของงานสัมมนาในวันนั้น ผมนั่งพูดคุยประเด็นนี้ต่อกับ ผู้อำนวยการโรงเรียน ๔ – ๕ ท่านที่เข้ามาร่วมรับฟัง  ทุกท่านเห็นด้วยและเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ในความเป็นจริงนั้น การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาที่เน้นการสร้างมนุษย์ “สุข ดี เก่ง” ปัจจัยไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนแต่เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ผู้ปกครองด้วย(ทั้งค่านิยม,ความเชื่อ,ทัศนคติของสังคม)  นโยบายก็มีส่วนอย่างมาก โรงเรียนของท่านก็ต้องฝ่ากระแสเหล่านี้ไปให้ได้ หากมองภาพใหญ่ในขณะนี้ก็ตีบตันไปหมด...คิดได้ แต่ ทำยากจัง

ผมก็คิดว่า เราก็ยังไม่สิ้นหวังกันหรอก ในเมื่อเราทำในภาพใหญ่ของโรงเรียนทั้งหมดไม่ได้ แต่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของครูเกี่ยวกับการให้ความรู้ เป็นการสร้างความรู้ การบูรณาการสิ่งเหล่านี้เข้าไปในหลักสูตร-รายวิชา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ ท่ามกลางความไม่พร้อม ไม่เอื้อด้วยประการทั้งปวงของระบบการจัดการศึกษาของเราในขณะนี้

Img_5026

ผมคิดว่าเราทำได้ และในหลายๆโรงเรียนที่ผมได้ร่วมเรียนรู้ด้วยในเวทีต่างๆ ก็เห็นได้ว่า มีครูเพื่อศิษย์คิดนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆเป็นลักษณะ  Best Practice ขึ้นมา เพื่อมุ่งไปข้างหน้าสร้างคน “สุข ดี เก่ง” อยู่แล้ว (มีมากมายด้วย)

คิดต่อว่า เราจะให้สิ่งดีๆที่เราเรียกว่านวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ สื่อสารต่อสาธารณะได้อย่างไร? เราจะสร้างพื้นที่นี้อย่างไร? เราจะให้กำลังใจครูดีเหล่านี้ได้อย่างไร?

โจทย์นี้สามารถทำได้เลย แต่ผู้มีส่วนรับผิดชอบของประเทศต้องให้ความสำคัญด้วย

 

 


 

Panel Discussion on “learning for Peace”

Seminar –cum – Workshop on Transformative Learning : Higher Education Reform

At Siam City Hotel,Bangkok

16th December 2009

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ศาลายา

๒๐ ธค.๕๒

หมายเลขบันทึก: 321726เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2009 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

"คนดีจะไม่คิดแบบคนเก่ง คนดีจะคิดถึงส่วนรวมก่อนตนเอง เมื่อสร้างคนดีแล้วเชื่อว่าคนจะเก่งขึ้นมาเอง"

นักวิทยาศาสตร์สายบริสุทธิ์-สายนามธรรม เน้มความรัก ความเมตตา ความสุข ความดี

ได้ยินมานานมากวิทยาศาสตร์ต้องพิสูจน์ได้จับต้องได้ นอกนั้นเป็นอะไรไม่รู้

ปลูกฝังความเชื่อนี้จนลืมตัวเองปลูกฝังแต่การเอาชนะคนอื่นคือความดี

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะ
  • มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจเข้มแข็ง ให้มีแต่ความสุขตลอดปี และตลอดไปนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

นมัสการครับ พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ในช่วงหลังมีคิด คุย เรื่องของ เครือข่ายโยงใย ที่ไม่สามารถอธิบายได้โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย

อ.ดร.อาจอง ท่านก็เป็นผลผลิตของระบบการศึกษาที่เน้นความเก่ง เเต่บังเอิญท่านรู้จัก Meditation ก่อน เเละปฏิบัติสม่ำเสมอ กลับกลายเป็นส่งผลดีต่อตัวท่านเอง

โรงเรียนวิถีพุทธ เป็นกระบวนการพัฒนาหนึ่งของระบบการศึกษาไทย มีที่ทำถูกทางบ้าง ทำไปเรื่อยๆบ้าง ขึ้นป้ายแบบนั้นเองบ้าง ...

"ครู"  จึงเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญมากในการเปลี่ยนแปลงในประเด็นเหล่านี้ครับ

 

ขอบคุณ คุณ บุษรา   มากครับ สำหรับคำอวยพร ขอให้สิ่งดีๆนั้นกลับคืนสู่คุณบุษราเช่นกันครับผม :)

ได้อ่านหนังสือของดร.อาจอง เรื่อง "เปิดความคิด ชีวิตอัจฉริยะ."แล้วรู้สึกชื่นชมแนวทางการจัดการศึกษาของท่านมาก..เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการลงมือสร้างโรงเรียนตามแนวคิดของการพัฒนาคนให้สมบูรณ์ด้วยจิตวิญญาณที่ดี..

มีความหวังที่จะไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนของท่าน..ได้ข่าวว่ากำลังพัฒนาไปในระดับอุดมศึกษาด้วยยิ่งน่าสนใจ..ในการพัฒนาคนระยะยาว..น่าสนใจและน่าศึกษามากค่ะ..

..ขอบคุณบทความดีๆและเป็นกำลังใจให้กับการสร้างคนดี..ที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้ค่ะ..

(..คุณเอก..สบายดี..มีพลังเสมอนะคะ..)

^^

ชอบครับชัดเจนในการศึกษาที่ควรจะเป็นดี...ต้องปรับตั้งแต่อนุบาลครับ

  • อ่านบันทึกนี้แล้วรู้สึกเห็นความสันติสุขในวงการศึกษาขึ้นมารำไรเลยค่ะ ความดีเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังยิ่งกว่าความเก่ง เพราะความเก่งทำให้เราเน้นตัวเอง แต่ความดีทำให้เรามองเห็นความงามในตัวผู้อื่น
  • การเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนอื่นทำได้จริง ๆ ค่ะ หากทราบว่าเรามีอะไร ตรงไหนที่ควรจะเปลี่ยน เป็นแนวคิดที่ดีมากเลยค่ะ
  • ร่วมเป็นกำลังใจให้คนดีทำสิ่งดี ๆ เพื่อสังคมค่ะ
  • ผมเคยดูวีดีทัศน์ของกิจกรรมการเรียนการสอนโรงเรียนนี้แล้วครับคุณเอก
  • ความรู้สึกคือ อยากให้โรงเรียนทั่วประเทศเป็นอย่างนี้
  • อนาคต สังคมไทยคงไม่น่าเป็นห่วง
  • ขอบคุณครับ

ชื่นชมมานาน ครับ ดร.อาจอง

เชื่อครับ ว่าคนดี ที่เข้มแข็ง ในที่สุดแล้ว

จะเก่งขึ้นมาจนได้ครับ ช้านิด แต่ยั่งยืนครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาอ่านครั้งที่ ๒๐ ได้ค่ะ
  • ตอนแรกว่าจะพาน้องนัทไปเรียน ม.๓ ที่สัตยาไสนะคะ
  • แต่เขาไม่ไปค่ะ  บอกว่ารอจบ ม.๓ ก่อน
  • เขารับเสมอถ้าเด็กอยากเรียน  แต่ละปีจะมีเด็กย้ายไปต่างประเทศ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ สำหรับวิ่งดีๆ ที่นำมาเสนอ

แวะมาส่งภาพ "ดอกทิวลิปบาน" 1 ภาพ ตามคำขอเมื่อวานครับ ;)

จาก http://gotoknow.org/journals/wasawatdeemarn/entries/55229

จากงาน 40 ปีโครงการหลวง เชียงใหม่ ... ได้แค่นี้จริง ๆ ครับ ;)

  • อยากไปดูการจัดการศึกษาที่โรงเรียนสัตยาไสจังเลยค่ะ  และอยากให้ประเทศเรานำแบบอย่างที่ดีและประสบความสำเร็จนี้ไปใช้กันบ้างจัง
  • ขอบคุณที่กรุณาไปเยือนนะคะ

สวัสดีครับ อ.เอก

  • แม้ต้องการจะไปเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนการสอนที่สัตยาไส
  • แต่ยังให้เวลาในขณะนี้ไม่ได้
  • สบายดีนะครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์เอกขอให้มีความสุขตลอดไปนะครับแวะมาอ่านบันทึกดี ๆครับขอบคุณมากครับที่ให้โอกาสสำหรับผมท่ามกลางคนดีคนที่ไม่ดีจะเป็นคนดีได้ครับ

  • สวัสดีครับพี่เอก
  • เคยไปดูงานปีที่แล้วครับ
  • สัตยาไสเป็นแบบอย่างของโรงเรียนที่พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนที่แท้จริง
  • หัวใจคือผู้บริหาร และครูที่เป็นแบบอย่างครับ

ต้องเคลื่อนไหวระดับจิตวิญญาณ

คืออะไร รบกวนพี่ ขยายความหน่อยครับ

ชอบฟัง ดร.อาจอง ชุมสายฯ  เล่านิทานค่ะ...

ได้พูดคุยกับท่านและ อิ่มเอมในมากค่ะ

มีความสุขทุกวันนะคะ

 

  • โจทย์นี้สามารถทำได้เลย แต่ผู้มีส่วนรับผิดชอบของประเทศต้องให้ความสำคัญด้วย เห็นด้วยกับเนื้อหาสาระที่กล่าวมาทั้งหมด ปัญหาใหญ่ประการหนึ่ง เชื่อเช่นเดียวกันกับข้อสรุปของคุณเอกครับ
  • ทำให้นึกทบทวน อะไรบ้างที่เป็นเหตุ เท่าที่พอตอบตัวเองได้ขณะนี้ ผมว่า..
  • ผู้นำคนสำคัญขององค์กร หรือผู้บริหารระดับสูงมาจากนักการเมือง ทำให้หัวใจการทำงานไปอยู่ที่เสียงส่วนใหญ่เท่านั้น เสียงส่วนใหญ่มิได้หมายถึงความถูกต้องเสมอไปครับ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา
  • การบริหารแบบมีส่วนร่วมของศธ.ยังไม่เกิดขึ้นจริง คณะกรรมการชุดต่างๆ ตั้งแต่ระดับสูงเรื่อยมาจนถึงระดับโรงเรียน ยังไม่มีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบอย่างแท้จริง..แม้ตระหนักกันบ้างแล้วว่าเรื่องนี้สำคัญ(กฎหมายกำหนดให้บริหารในรูปคณะกรรมการ)
  • ให้สิทธิการบังคับบัญชามากเกินไป บางเหตุการณ์รู้ทั้งรู้ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ไม่สามารถตรวจสอบได้ ยิ่งถ้าเจ้านายชั้นถัดขึ้นไป รู้เห็นเป็นใจ กับความไม่เอาเรื่องไม่เอาราว หรือความไม่เอาไหนด้วยแล้ว การตรวจสอบแทบจะเป็นศูนย์เลยทีเดียว จริงอยู่งานด้านอื่นๆอาจจำเป็น ที่ต้องใช้ความเข้มแข็ง เด็ดขาด รวดเร็ว แต่งานจัดการศึกษาแล้ว ตรงกันข้าม การระดมสมอง ช่วยกันคิด ร่วมกันทำเท่านั้น จึงจะฝ่าวิกฤตินี้ได้ รวมทั้งต้องให้โอกาสตรวจสอบมากๆแก่ทุกๆฝ่ายด้วย 
  • ที่สำคัญกว่านั้น วิธีการบริหารจัดการดังกล่าว หมายถึง ไม่ว่าจะเป็นแบบสั่งการคนเดียว หรือร่วมกันคิดในรูปของคณะกรรมการ ก็จะเป็นแบบอย่างชั้นยอด ให้กับการจัดการเรียนการสอนของครูในชั้นเรียนไปโดยปริยาย ตัวครูเองเมื่อต้องตกอยู่ในสภาพแวดล้อมใด สภาพแวดล้อมนั้นจะกำหนดความรู้สึกนึกคิด หรือความเชื่อของครู ซึ่งจะส่งผลต่อวิธีการจัดการเรียนการสอน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..ผมเชื่ออย่างนั้นครับ
  • วัฒนธรรมไทยที่ต้องเชื่อ หรือต้องฟังผู้ใหญ่ไว้ก่อน ถ้าเด็กกว่าแล้ว แม้จะมีเหตุผลดี ก็ต้องเก็บๆไว้ ไม่งั้นถูกตราหน้าแน่ ว่าก้าวร้าว..
  • ชักอยากจะค้นเพิ่มเติม อยากจะเขียนให้เป็นเรื่องเป็นราว เป็นกิจจะลักษณะเสียแล้วล่ะครับ อาจลอง..ขอบคุณที่ทำให้ได้คิดต่อ
  • สวัสดีปีใหม่2553 ที่กำลังจะมาถึงครับ
  • สวัสดีค่ะน้องเอก พี่ได้อ่านความเห็นของการเสวนาหนนี้ในรายละเอียดมาแล้วจากหนังสือพิมพ์
  •  หนหนึ่งเคยไปทำ WS ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ ได้คุยกับครู  ได้เห็นนักเรียน พี่สนใจประทับใจปรัชญาของโรงเรียนแห่งนี้มาก
  • ในฐานะคนสนใจการศึกษา พี่มีความเห็นว่า  เรามีโรงเรียนไม่กี่แห่งที่เป็นต้นแบบ แบบ "สุดขั้ว" คือเปี่ยมล้นด้วยอุดมคติ  เดินหน้าไปได้  แต่มักเป็นโรงเรียนเล้กๆ ของคนกลุ่มเล้กๆ   เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยม  แต่การมีโรงเรียนแบบนั้นได้จำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์  มีครูที่ร่วมอุดมการณ์ คิดเหมือนกัน  มุ่งมั่น ชัดเจน มีผู้ปกครองที่เข้าใจและยินดีที่ได้เห็นลูกเรียนอย่างมีความสุขในโรงเรียนแบบนี้ 
  • พี่สงสัยว่า  ถ้าเราต้องการโรงเรียนแบบนี้สักครึ่งของประเทศ เราจะทำกันอย่างไร
  • พี่อยากเห็นจริงๆ ค่ะ   

สวัสดีครับ ทุกท่านที่เข้ามาให้ข้อคิดเห็นในบันทึกนี้

ผิดคาดครับ !!!

ผมคิดว่าบันทึกเเนวนี้ เป็นบันทึกที่ไม่น่าจะมีคนให้ความสนใจมากเท่าไหร่ เเต่เท่าที่ดูการตอบรับแล้วดีมาก บางส่วนก็เป็นคุณครูที่สนใจความก้าวหน้าเรื่องของการศึกษา หนาวร้อนกับเรื่องราวที่เขียนไปไม่ว่าสื่อไหนก็ตาม เพราะความเป็นครูที่สั่งสอนศิษย์ทุกวี่วัน สิ่งที่ท่านทำตามอุดมการณ์นั้น "โดดเดี่ยวหรือไม่"

 

คำว่า โดดเดี่ยว คำๆนี้ ผมได้รับฟังจากปากของคุณครูของโรงเรียนทางเลือกชื่อดังแห่งหนึ่งใน กทม. คำๆนี้ทำให้ผมนั่งคิดอยู่นานทีเดียว...

เพราะโรงเรียนทางเลือกที่มุ่งเน้นเป้าหมายการทำให้เด็ก สุข ดี เก่ง ในรูปแบบที่มีปัจจัยกระทบค่อนข้างน้อย (เพราะเป็นเอกชน บริหารตัวเอง ไม่รู้ผมเข้าใจถูกไหม) และผู้บริหารก็มีวิธีคิดในปรัชญาทางเลือกทางด้านการศึกษาเต็มที่...

หากครูได้เอ่ยคำว่า โดดเดี่ยว เราคงต้องดูในรายละเอียดว่า เกิดอะไรขึ้น...

แล้ว..โรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สพท. ทั่วประเทศ จะไม่ "โดดเดี่ยว" มากกว่าหรือ...

หากเราย้อนดูกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็น Main stream ของทั่วทั้งประเทศ เราพบเรื่องราวดีๆมากมาย เรามองเห็นครูเพื่อศิษย์อยู่ทุกแห่งหน  เราเห็นการบูรณาการหลักสูตรที่สุดเจ๋ง เห็นจิตวิญญาณของเรือจ้าง ที่น่ายกย่อง ตรงนี้เองไม่ใช่เรื่องใหม่และทำไม่ได้ แต่เราทำอยู่เเล้ว ผมจึงคิดว่า ก็ไม่โดดเดี่ยวเเละพื้นที่การนำเสนอตัวตนในการศึกษาใหม่ๆ จะเกิดขึ้นเเน่นอน ถึงเวลานั้นองค์ความรู้และความภาคภูมิใจของครูนอกจากที่มีจากการทำงานแล้ว ครูก็จะเป็นครูของแผ่นดิน...

ต้องขอบคุณทุกท่านมากครับที่มาร่วมให้ข้อเสนอแนะ ให้ความคิดเห็น

ขอบคุณมากครับ คุณครูแอ๊ว,ครูเสียงเล็กๆ فؤاد,ครูนายก้ามกุ้ง,เภสัชเอก นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม,ครูคิม,ครูศิริวรรณ,ครูWasawat Deemarn,ครูมนัสนันท์,ครูนเรศมันต์ และ ผอ.สมบูรณ์ โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก,ครูจักรกฤษณ์,ครูครูใจดี

 

ขอบคุณ สคส.สวยๆจาก น้องสุดสายป่าน

น้อง บีเวอร์ เป็นการโค้ดคำพูดของ ท่าน รศ.ประภาภัทร ออกมาครับ

ความเคลื่อนไหวทางจิตวิญญาณ นั้นผมเข้าใจว่าการเข้าใจปรัชญาการศึกษาที่ลุ่มลึก  รวมไปถึงการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ประณีต สร้างมนุษย์ให้อย่างสมบูรณ์

ครูต้องมีใจที่ใหญ่ มองเห็นความเชื่อมโยงของทุกสิ่ง มุ่งเน้นความเป็นบูรณาการ กาย ใจ จิต เข้าด้วยกัน

ดังนั้นการให้การศึกษา จึงเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวในระดับจิตวิญญาณ

ครู ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

เสียงสะท้อนของครู ตรงกับเนื้อหาการสนทนาของกลุ่มคุณครูที่ผมมักเข้าไปร่วมเรียนรู้ด้วยเสมอครับ ผมมองว่า ครูธนิตย์ได้สะท้อนทำให้บันทึกนี้สมบูรณ์มากขึ้น ในฐานะที่ครูทำงานด้านการศึกษาโดยตรง

เรื่องของการเมืองนั้น เป็นจุดอ่อนของการพัฒนาการศึกษามาโดยตลอด โดยเฉพาะการเปลี่ยนการพัฒนาที่ไม่ได้ทบทวนสิ่งที่ดีๆที่มีอยู่เดิม มุ่งเน้นนโยบายใหม่ๆที่ทำได้อย่างฉาบฉวย เป็นวิถีธรรมดาของการเมือง และครูเป็นฐานทางการเมืองที่น่าสนใจมากๆกลุ่มหนึ่งด้วย

การบริหารการมีส่วนร่วมของ ศธ.

  • การบริหารแบบมีส่วนร่วมของศธ.ยังไม่เกิดขึ้นจริง คณะกรรมการชุดต่างๆ ตั้งแต่ระดับสูงเรื่อยมาจนถึงระดับโรงเรียน ยังไม่มีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบอย่างแท้จริง..แม้ตระหนักกันบ้างแล้วว่าเรื่องนี้สำคัญ(กฎหมายกำหนดให้บริหารในรูปคณะกรรมการ)
  • คุณภาพของระบบการบังคับบัญชา คุณภาพของคน วิธีคิด ฯลฯ

  • ให้สิทธิการบังคับบัญชามากเกินไป บางเหตุการณ์รู้ทั้งรู้ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ไม่สามารถตรวจสอบได้ ยิ่งถ้าเจ้านายชั้นถัดขึ้นไป รู้เห็นเป็นใจ กับความไม่เอาเรื่องไม่เอาราว หรือความไม่เอาไหนด้วยแล้ว การตรวจสอบแทบจะเป็นศูนย์เลยทีเดียว จริงอยู่งานด้านอื่นๆอาจจำเป็น ที่ต้องใช้ความเข้มแข็ง เด็ดขาด รวดเร็ว แต่งานจัดการศึกษาแล้ว ตรงกันข้าม การระดมสมอง ช่วยกันคิด ร่วมกันทำเท่านั้น จึงจะฝ่าวิกฤตินี้ได้ รวมทั้งต้องให้โอกาสตรวจสอบมากๆแก่ทุกๆฝ่ายด้วย 
  • ที่สำคัญกว่านั้น วิธีการบริหารจัดการดังกล่าว หมายถึง ไม่ว่าจะเป็นแบบสั่งการคนเดียว หรือร่วมกันคิดในรูปของคณะกรรมการ ก็จะเป็นแบบอย่างชั้นยอด ให้กับการจัดการเรียนการสอนของครูในชั้นเรียนไปโดยปริยาย ตัวครูเองเมื่อต้องตกอยู่ในสภาพแวดล้อมใด สภาพแวดล้อมนั้นจะกำหนดความรู้สึกนึกคิด หรือความเชื่อของครู ซึ่งจะส่งผลต่อวิธีการจัดการเรียนการสอน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..ผมเชื่ออย่างนั้นครับ
  •  

    เห็นอาจารย์เขียนไว้หลายประเด็นน่าสนใจมากครับ ในฐานะที่อาจารย์อยู่ในระบบ หากมีโอกาสอยากให้เขียนเรียบเรียงเป็นเสียงสะท้อนออกมาจะมีประโยชน์มากเลยครับ

     

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ...

     

     

    พี่นุ้ย- nui

  • ในฐานะคนสนใจการศึกษา พี่มีความเห็นว่า  เรามีโรงเรียนไม่กี่แห่งที่เป็นต้นแบบ แบบ "สุดขั้ว" คือเปี่ยมล้นด้วยอุดมคติ  เดินหน้าไปได้  แต่มักเป็นโรงเรียนเล็กๆ ของคนกลุ่มเล็กๆ   เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยม  แต่การมีโรงเรียนแบบนั้นได้จำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์  มีครูที่ร่วมอุดมการณ์ คิดเหมือนกัน  มุ่งมั่น ชัดเจน มีผู้ปกครองที่เข้าใจและยินดีที่ได้เห็นลูกเรียนอย่างมีความสุขในโรงเรียนแบบนี้ 
  • พี่สงสัยว่า  ถ้าเราต้องการโรงเรียนแบบนี้สักครึ่งของประเทศ เราจะทำกันอย่างไร
  • พี่นุ้ยครับ...เป็นเรื่องที่เครือข่ายโรงเรียนทางเลือก และ ทางวงการการศึกษาผมคิดว่ากำลังขบคิดเรื่องนี้ครับ

    อย่างที่บอกนะครับว่าปัจจัยหลายปัจจัยแตกต่างกันมาก ระหว่างโรงเรียนทางเลือกที่มีอยู่ในขณะนี้ กับ โรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ

    สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ความคิดผมก็อย่างที่เขียนในบันทึกครับ

    ....ผมคิดว่าเราทำได้ และในหลายๆโรงเรียนที่ผมได้ร่วมเรียนรู้ด้วยในเวทีต่างๆ ก็เห็นได้ว่า มีครูเพื่อศิษย์คิดนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆเป็นลักษณะ  Best Practice ขึ้นมา เพื่อมุ่งไปข้างหน้าสร้างคน “สุข ดี เก่ง” อยู่แล้ว (มีมากมายด้วย)

    คิดต่อว่า เราจะให้สิ่งดีๆที่เราเรียกว่านวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ สื่อสารต่อสาธารณะได้อย่างไร? เราจะสร้างพื้นที่นี้อย่างไร? เราจะให้กำลังใจครูดีเหล่านี้ได้อย่างไร?

    โจทย์นี้สามารถทำได้เลย แต่ผู้มีส่วนรับผิดชอบของประเทศต้องให้ความสำคัญด้วย....

    และต้องการงานศึกษาวิจัยอย่างมากต่อการขับเคลื่อนการศึกษารูปแบบนี้

    นี่เป็นการศึกษาที่ตอบโจทย์การอยู่รอดของมนุษยชาติเลยทีเดียว

    มีครูเพื่อศิษย์คิดนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆเป็นลักษณะ  Best Practice ขึ้นมา เพื่อมุ่งไปข้างหน้าสร้างคน “สุข ดี เก่ง” อยู่แล้ว (มีมากมายด้วย)

    คิดต่อว่า เราจะให้สิ่งดีๆที่เราเรียกว่านวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ สื่อสารต่อสาธารณะได้อย่างไร? เราจะสร้างพื้นที่นี้อย่างไร? เราจะให้กำลังใจครูดีเหล่านี้ได้อย่างไร?

    เห็นด้วยครับ อ.เอก เราจะสื่อสารสร้างกระแสกับสังคมได้อย่างไร? จะให้กำลังใจครูดีเหล่านี้ได้อย่างไร?

    เรามักได้ยินกันเสมอครับว่า "สังคมต้องการคนดี" แต่คนดีที่เราต้องการจะไปหาที่ไหน ถ้าไม่ได้ผ่านกระบวนการบ่มเพาะมาตั้งแต่วัยเยาว์ผ่านการศึกษา แต่การศึกษาที่เรามีให้เยาวชนทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นเล็กของเราทุกวันนี้ เป็นไปเพื่อสร้างแรงงานให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยให้จุดหมายปลายทางกับเขาเหล่านั้นอยู่ที่ เงินเดือนดีๆ งานสบาย รถหรูๆ บ้านสวยๆ และความนับหน้าถือตาทางสังคม แล้วถ้าบางคนไปไม่ถึงปลายทางเหล่านั้น เขาจะทำอย่างไร หรือบางคนสำเร็จซึ่งสิ่งจุดหมายเหล่านั้นแล้ว เขาจะเอาอะไรต่อ การศึกษาที่จัดให้เขา....มีคำตอบให้หรือไม่? น่านับถือความคิดของ อาจารย์อาจองครับที่จะผลิต "มนุษย์" ให้กับสังคม เพราะสังคมที่ดีก็มาจากรากฐานของความเป็นมนุษย์ที่ดีในสังคม แต่ผมเชื่อครับว่า ยังมีนักการศึกษารุ่นเก่าบางคน กำลังจับตาดูว่า อาจารย์อาจอง จะไปได้สักกี่น้ำ.....

    • น้องเอกที่รัก พี่ตามมาอ่านคำตอบ
    • อือม...เชื่อใน "พลังและความมั่นใจ" ที่เต็มเปี่ยม
    • อนุโมทนาในความมุ่งมั่นของท่าน  เราต้องการคนแบบนี้  คนที่คิดว่า "การศึกษาต้องตอบโจทย์การอยู่รอดของมนุษยชาติ" คิดการใหญ่ ขอให้สำเร็จ
    • ไม่อยู่ในสถานะที่ช่วยเหลือได้ แต่ส่งใจมา  
    • ขอบคุณแทนคนไทยรุ่นหลาน...นานแค่ไหนก็จะรอจ๊ะ

                                         

    เห็นด้วยครับ อ.เอก เราจะสื่อสารสร้างกระแสกับสังคมได้อย่างไร? จะให้กำลังใจครูดีเหล่านี้ได้อย่างไร?

    สวัสดีครับพี่สุเทพ ไชยขันธุ์

    ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังมีโครงการ"ครูเพื่อศิษย์" ขึ้นมาครับ โครงการนี้ตอบวัตถุประสงค์การให้กำลังใจครูดี รวมไปถึงสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะว่าไปก็ CoPs ของครูเพื่อศิษย์ครับ

    ส่วนเเนวโน้มของทั้ง สกอ. และ สพฐ. ก็ให้ความสนใจเเละพูดคุยกันในประเด็นนี้มากขึ้นช่วงหลังครับ

    เรามักได้ยินกันเสมอครับว่า "สังคมต้องการคนดี" แต่คนดีที่เราต้องการจะไปหาที่ไหน ถ้าไม่ได้ผ่านกระบวนการบ่มเพาะมาตั้งแต่วัยเยาว์ผ่านการศึกษา แต่การศึกษาที่เรามีให้เยาวชนทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นเล็กของเราทุกวันนี้ เป็นไปเพื่อสร้างแรงงานให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยให้จุดหมายปลายทางกับเขาเหล่านั้นอยู่ที่ เงินเดือนดีๆ งานสบาย รถหรูๆ บ้านสวยๆ และความนับหน้าถือตาทางสังคม แล้วถ้าบางคนไปไม่ถึงปลายทางเหล่านั้น เขาจะทำอย่างไร หรือบางคนสำเร็จซึ่งสิ่งจุดหมายเหล่านั้นแล้ว เขาจะเอาอะไรต่อ การศึกษาที่จัดให้เขา....มีคำตอบให้หรือไม่? น่านับถือความคิดของ อาจารย์อาจองครับที่จะผลิต "มนุษย์" ให้กับสังคม เพราะสังคมที่ดีก็มาจากรากฐานของความเป็นมนุษย์ที่ดีในสังคม แต่ผมเชื่อครับว่า ยังมีนักการศึกษารุ่นเก่าบางคน กำลังจับตาดูว่า อาจารย์อาจอง จะไปได้สักกี่น้ำ.....

    สวัสดี คุณ ฝนแสนห่าครับ ทั้งหมดมันคือปัญหาหละครับ เราต้องการผลผลิตแต่ กระบวนการผลิตคนดีเราไม่ได้ตอบสนองคนดีเเละเก่ง

    เปิดสถาบัน สถานศึกษา เยอะเเยะ คนที่จบระดับ ป.โท เยอะเเยะ แม้กระทั่งปริญญาเอกที่มีมากขึ้น การเติบโตของบัณฑิตเหล่านี้ กลับแปรผันตรงกันข้ามกับการแก้ไขปัญหาคุณธรรม จริยธรรม

    ตอนนี้ก็มีความพยายามครับ ทั้งในส่วนของ กระทรวง ทบวง กรม ที่ดูเเลประเด็นการศึกษา แต่อาจช้าหน่อยครับ การทำงานครั้งนี้อาจเริ่มจากจุดเล็ก แล้วค่อยขยายออกไป ด้วยการศึกษากระเเสหลักมันฝังรากลึก ค่อยๆถอนครับ

    ก็คงต้องให้กำลังใจคนทำงาน รวมถึงตัวเราเองด้วย เริ่มจากการบ่มเพาะจากครอบครัว แม้แต่การบ่มเพาะการเรียนรู้ข้างในของตัวเอง

    หลายครั้งการนั่งก่นด่าความมืดก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น จุดเทียนคนละเล่ม ก็สว่างไสว

    ขอบคุณครับ

    พี่nui

  • น้องเอกที่รัก พี่ตามมาอ่านคำตอบ
  • อือม...เชื่อใน "พลังและความมั่นใจ" ที่เต็มเปี่ยม
  • อนุโมทนาในความมุ่งมั่นของท่าน  เราต้องการคนแบบนี้  คนที่คิดว่า "การศึกษาต้องตอบโจทย์การอยู่รอดของมนุษยชาติ" คิดการใหญ่ ขอให้สำเร็จ
  • ไม่อยู่ในสถานะที่ช่วยเหลือได้ แต่ส่งใจมา  
  • ขอบคุณแทนคนไทยรุ่นหลาน...นานแค่ไหนก็จะรอจ๊ะ
  • พี่ นุ้ย

    การขับเคลื่อนครั้งนี้ ผู้ใหญ่ก็ต้องชัดใน Concept และ ลงไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม การเคลื่อนครั้งนี้ยังต้องการงานศึกษา วิจัย อีกมากครับ

    ผมเองก็ทำงาน(เรื่องเรียน) เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ แม้ว่าจะฉีกออกจากความถนัดบ้าง แต่ชอบและรักที่จะทำครับ

     "การศึกษาต้องตอบโจทย์การอยู่รอดของมนุษยชาติ"

    ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

    http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท