"ลำปลายมาศพัฒนา" ความหวังเพื่อความเป็นไทของการศึกษา


ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยง การคิดส่วนย่อยของสิ่งหนึ่งให้คมชัด กลายเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อมโยงของจักรวาล เดินไปให้พ้นวิธีคิดเเบบแยกส่วน(Fragmentation) ที่ทำให้โลกทัศน์ของผู้เรียนเเคบลง จนไม่สามารถเชื่อมโยงกับองค์ความรู้อื่นได้

ในงานปาฐกถา ดร.อุทัย ดุลยเกษม ที่ มสธ. ในวันที่ ๒๘ กพ. ๕๓ ที่ผ่านมามี ครูวิเชียร ไชยบัง เป็นองค์ปาฐก ครูวิเชียรผู้ที่มีผลงานและอุทิศตนด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ในชุมชน ในหัวข้อ “การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเสริมพลังชุมชน” 

Img_5768

ผมนั่งขบคิดต่อหลังจากที่ ผมนั่งฟังปาฐกถาในช่วงบ่าย...ว่าผมควรสะท้อนความคิดอย่างไร? กับสิ่งที่ครูวิเชียรได้บอกเล่า

ผมควรจะ เรียบเรียงจากสิ่งที่ได้ฟัง มาเล่าสู่ หรือผมควรจะ สังเคราะห์สิ่งที่ได้ฟังมาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผมขอเลือกวิธีการสังเคราะห์เล็กๆเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ


 

จะมีวิธีไหนบ้างที่เราจะปลุกความหลับไหลของโลก ณ วันนี้

การศึกษาที่เราคิดว่าเป็นความหวังกลับเป็นกุญเเจที่ปิดล็อคโดยความเป็นโรงเรียนในระบบ (De - Schooling) 

 

อย่างไรก็ตาม เราก็เห็นความหวังของการสร้างและใช้ความรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุข ปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ วิธีคิดต่อสิ่งที่อยู่รอบตัว ต่อธรรมชาติ และใคร่ครวญกับการเรียนรู้ใหม่ที่ไม่ใช่ "พันธนาการ" หากเเต่เป็น "ความอิสระ"เป็นสิทธิที่มนุษย์พึงได้รับ

 

ครูวิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา...พิสูจน์ให้เห็นว่า

ครูได้ทะลายกำแพงของอุปสรรคสำหรับการเรียนรู้ที่เเท้ ก็คือ "ความรู้เดิม"

ที่เป็นอุปสรรคสำคัญของคนที่อยู่ในระบบ สลัดความรู้เดิมให้ออกคิดใหม่ เปลี่ยนแปลงใหม่

แล้วจะได้เห็นในสิ่งที่อยากเห็น  เมื่อไหร่ก็ตามที่ยังติดอยู่ในระบบเดิม เราก็ไม่เห็นสิ่งใหม่

ที่ลำปลายมาศพัฒนา  จึงเป็นผลผลิตของการปฏิวัติความคิดเดิม ถอดสลักของระบบโรงเรียนเเละเรียนรู้ใหม่(Re - Learning) อย่างมีชีวิตชีวา

ที่ลำปลายมาศพัฒนา

 

- สร้างพื้นที่การเรียนรู้ (Space) สำหรับการเรียนรู้ที่ไพศาล

ห้องเรียนกลายเป็นข้อจำกัดการเรียนรู้ของเด็ก  กักบริเวณให้เด็กอยู่รวมกันทั้งวัน ครูเป็นผู้มีสิทธิ์ขาดในการกำหนดกระบวนการเรียนรู้ผ่านพื้นที่อันจำกัด ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เข้มข้น ลดทอนพลังของผู้เรียนลงตลอดเวลา

ธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์นัยหนึ่งก็คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว ผ่านการสังเกต สัมผัส  จากนั้นเราก็จะรวบรวมประสบการณ์ทั้งหมดเข้ามาคิด และเรียนรู้ คำถามก็คือ ห้องเรียนเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่?

เเละ..."ห้องเรียน" ที่ลำปลายมาศจึงหมายรวมถึงท้องทุ่ง และ พื้นที่รอบๆโรงเรียน ที่ไม่ได้ทิ้งตำราที่เป็นประสบการณ์หนึ่งที่จำเป็น เเต่เป็นการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของชุมชนที่เป็นวิถีชีวิตของเด็ก ที่หลากหลายไปด้วยประสบการณ์

 

 - สร้างบรรยากาศการเรียนร้  สร้างความกระหาย ใคร่รู้

ความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมระหว่างครูเเละเด็กนักเรียนทำให้บรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปด้วยความรักที่ทั่วถึง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจถูกทำให้หายไป 

การตั้งโจทย์ที่ท้าทายให้เด็กได้แสดงฝีมือ ประลองความคิด ทำให้กระบวนการเรียนรู้เป็นไปด้วยความสนุก เด็กๆจะตื่นเต้นไปกับการผจญภัยทางด้านความคิดเเละทดลองในสิ่งที่เขาร่วมกันคิด เมื่อเขาสบายใจได้ว่าสิ่งที่เขาลงมือทำนั้นไม่มีผิด ไม่มีถูก เเต่มีคำว่า "การเรียนรู้" เข้ามาเเทนที่ คุณครูเป็นเพียง ผู้เอื้อที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ หล่อเลี้ยงเเละปลุกกระบวนการเรียนรู้เหล่านั้นให้ตื่นขึ้น

 

 - ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยง การคิดส่วนย่อยของสิ่งหนึ่งให้คมชัด กลายเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อมโยงของจักรวาล เดินไปให้พ้นวิธีคิดเเบบแยกส่วน(Fragmentation) ที่ทำให้โลกทัศน์ของผู้เรียนเเคบลง จนไม่สามารถเชื่อมโยงกับองค์ความรู้อื่นได้

ที่ลำปลายมาศพัฒนามีการใช้โครงงาน (Project) เป็นการร้อยความคิดสร้างสรรค์ผ่านการลงมือทำ ไม่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ผลสรุปสุดท้ายของโครงงานได้ร้อยเอาองค์ความรู้ผ่านการปฏิบัติลงมือทำ เป็นโจทย์ที่ท้าทายให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพในการสร้างความรู้ เเละใช้ความรู้นั้น

อย่างไรก็ตาม ผมขอสรุปสาระสำคัญของวิธีคิด เเละอุดมการณ์ความเชื่อพื้นฐานในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา "มุ่งสู่การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์" ดังนี้ครับ

  • ให้ความสำคัญ เข้าใจพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กตามช่วงวัย
  • หัวใจสำคัญก็คือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้เเก่ผู้เรียนอย่างบูรณาการ
  • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครู "ครูต้องมีต้องมีคุณภาพ" มีคุณภาพในที่นี้คือ เข้าใจ ตระหนักถึงกระบวนการเรียนรู้ที่อิสระ ให้ความสำคัญกับประสบการณ์เชิงประจักษ์ เน้น "กระบวนการเรียนรู้" มากกว่า "การเรียนรู้"
  • เชื่อมั่นในศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม เชื่อว่า ทุกคนมีสิทธ์ที่จะเรียนรู้ เเละทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
  • กระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้ปกครองเเละเด็ก เรียนรู้ร่วมกัน
  • เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย ผ่านทุนทางสังคมที่รายล้อมเด็ก บูรณาการบนฐานวัฒนธรรม

ต้องขอบคุณ ครูวิเชียร ไชยบัง ที่ท่านให้โอกาสในการเรียนรู้ และสร้างเเรงบันดาลใจผ่านการบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นที่ลำปลายมาศพัฒนา...

ทั้งหมดคือ ความหวังที่ดูมีชีวิตชีวา สู่ความเป็นไท ของระบบการศึกษา

ขอคารวะครูด้วยใจครับ

 Dscf3796

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๑ มีค.๕๓

ศาลายา,มหิดล

 

 

 ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://www.lpmp.org/

 

หมายเลขบันทึก: 340992เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2010 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะ

  • ขอให้ผู้บริหารที่มีอยู่คิดให้ได้เพียงครึ่งหนึ่งของ ผอ.วิเชียรฯ  แลทำตามที่คิดด้วย
  • ถ้าผู้บริหารพร้อม..ครูก็พร้อมค่ะ
  • ขอขอบคุณน้องเอก  พี่รออ่านอยู่นะคะ  กำลังจะปิดเครื่อง มาพอดี

ครูวิเชียร พูดถูก และทำถูกมาตลอดแล้ว

โครงงานจะสะท้อนความสำเร็จของการเรียนรู้

และการพัฒนาที่จะลืมไม่ได้คือต้องควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรมให้ประจักษ์

โดยนำการปฏฺบัติจริง มาเป็นบทเรียนชีวิตที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้เรียน

ขอบคุณค่ะ

ลืมบอกว่าพี่ไปอมก๋อยมาแล้ว ชอบมาก

และจะกลับขึ้นไปร่วมกิจกรรมที่อมก๋อยอีกครั้งค่ะ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

หลายท่านคงอ่านเรื่องราวของ เเนวคิดการจัดการศึกษาของครูวิเชียร ผ่านทาง หนังสือ "โรงเรียนนอกกะลา" มาบ้างเเล้วนะครับ

บรรยากาศการปาฐกถาในวันนั้น ดูเป็นกันเองเเละอบอุ่นมาก ผมสรุปมาในส่วนที่ผมคิดจากที่ได้ฟัง เป็นแบบส้งเคราะห์เล็กๆครับ ขอบคุณมากครับครูคิม

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

รอติดตามอ่านเรื่องราวจากอมก๋อย จาก  ครูkrutoiting  ครับ...

ท่านเอกมีบทความดีๆ ให้อ่านเสมอ

ชีวิตกับการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

การเรียนรู้ มีทั้งบวกและลบ

เรียนเพื่อรู้ หรือเรียนเพื่อการเรียนรู้ ....................

ครูน้อย ๆ นอกกะลา

การเรียนรู้ไม่ใช้แค่การพูดตามตำรา พูดตามเนื้อหาที่คนพูดรู้หรือเข้าใจ แต่การเรียนรู้ยังรวมถึงการสัมผัสถึงข้างในกันและกัน เรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่นและเข้าใจในสรรพสิ่ง ดังนั้นหนังสือเพียงไม่กี่หน้า หรือห้องสี่เหลี่ยมเ็ล็ก ๆ ไม่สามารถทำให้คนแต่ละคนเข้าถึงความเป็นชีวิตได้้ เฉกเช่นการอ่านหนังสือ ถ้าหากผู้ที่อ่านมองเห็นแค่ความหมายของคำที่เขียน แต่ไม่ได้มองเห็นความหมายใต้ข้อความ ขอเป็นพลังที่จะขับเคลื่อนความปรารถนาดีให้ก่อเกิดกับมวลสรรพสิ่งรวมกับครูใหญ่และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ถ้าครูกลับมาประเมินผลการเรียนการสอนของตัวเองอย่างแท้จริงและมีพลัง..

ครู..จะรู้ว่า..จะทำอย่างไร..ที่จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพของตนเอง..

...ชื่นชม..คนที่ทำอุดมการณ์ให้เป็นจริง(ด้วยคน)ค่ะ..^^

อ่านแล้ว(แค่หนึ่งรอบ-ปกติ อ่านหลาย ๆ รอบค่ะ) คิดไปด้วยว่า..

ถ้าเด็ก ๆ หรือคนโต ๆ อย่างเรา

ได้เรียนรู้สื่งที่ตัวเองสนใจ-ฉันทะ

เกิดความเพียร-วิริยะ ขึ้นมาเอง

มีที่ปรึกษาหรือผู้รู้ นำ ให้แนวทาง

ไม่แบ่งแยก กำหนดวิธีการเรียน

ไม่ขีดเส้นใต้ หรือตีตรา ผู้เรียนว่า เก่ง ไม่เก่ง ตก ไม่ตก

ผลลัพธ์ วัดที่ผลงาน หรือ ความรู้ ความเข้าใจ ทำได้ ปฏิบัติได้..หรือ เพียง ได้เรียน

น่าจะเข้าข่าย การทลายกำแพงแห่งการเรียนรู้ นะคะ น้องเอก

 

อืม..

เขียนมายืดยาว จริง ๆ นั่งคิดถึงเรื่องที่ลูกพี่เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยตัวเขาเอง

และ..อิ อิ

สมัยเราเด็ก ๆ เรียนรู้การถักนิ้ตติ้ง น่ะค่ะ

มีความสุข ทำได้ทั้งวันทั้งคืน

ทำซ้ำ ๆ ลองผิดลองถูก..จน..

หาญกล้า ผลิต "ไม้นิ้ต-ทำมือ ทำเอง"

ว่าจะจดลิขสิทธิ์ ไม่ทันซะแล้ว...มีคน(แก๊ง) ไปเผยแพร่ให้แล้ว ค่ะ;P

 

 

      Dscf3796 

ทั้งหมดนี้คือ ความหวังที่ดูมีชีวิตชีวา(มากๆ)สู่ความเป็นไท ของระบบการศึกษา  ขอคารวะคุณครูทั้งสองด้วยใจครับ

สวัสดีครับ คุณ ชีวิตเอกเขนก
หัวใจสำคัญที่ผมสนใจตอนนี้คือ "กระบวนการเรียนรู้" ครับ งานที่ทำก็มุ่งไปทางด้านนี้เช่นกัน ในอนาคตขอหารือด้วยนะครับ

สวัสดีครับ

ผมเคยอ่านหนังสือ"โรงเรียนนอกกะลา"ของท่านผอ.

ต้องยกย่องท่านว่าเป็นผู้นำทางการศึกษาที่มีความกล้าหาญทางวิชาการ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

การปฏิรูปการศึกษารอบสองน่าเชิญท่านผอ.มาให้ข้อคิดเพื่อการปฏิรูป

ขอบคุณครับ ครูอ้อน ครูน้อย ๆ นอกกะลา [IP: 118.173.243.40]
มีโอกาสเรียนเชิญมาเขียนบันทึกใน gotoknowครับ โดยเฉพาะเรื่องราวของลำปลายมาศ ...ผมคิดว่าจะมีประโยชน์ต่อคุณครูในนี้มากเลยทีเดียวครับ :)

สวัสดีค่ะ

* เห็นด้วยกับพี่คิมค่ะ

* และขอเพิ่มที่ตัวครูผู้สอนด้วยค่ะ

* สุขกายสุขใจนะคะ

เขียนกันลืม

ที่ประเทศไทย  ผู้บริหารสถานศึกษามีส่วนสำคัญมากในการขับเคลื่อนการพัฒนา ดังนั้น หากผู้บริหารเป็นผู้ที่มีศักยภาพสูง รวมไปถึงมีคุณธรรม จริยธรรม - ธรรมาภิบาล การศึกษาในระดับพื้นฐานก็จะเคลื่อนไปได้ด้วยดีครับ...

อย่างไรก็ตามครับ ก็ขอให้กำลังใจครูทุกท่าน รักษาอุดมการณ์ของท่านไว้...ครับ

 

จตุพร

*** และอีกประเด็นหนึ่งที่มีผลอย่างมาก ในระดับการบริหาร คือ .... ...มีส่วนอย่างมากในปัจจุบัน...ทุกท่านก็ทราบดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท