กระบวนการไปสู่เป้าหมาย "การท่องเที่ยวโดยชุมชน"


กระบวนการสำคัญ...หากกระบวนการดี เป้าหมายก็จะสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

จากเวทีพูดคุยกับกลุ่ม "สนุก"ภายใต้การนำทีมโดยท่านคณบดี ีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ผมได้คุยถึงเรื่องราวของกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น และการใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนของตนเอง

ประเด็นที่เราคุยกันก็คือ "กระบวนการท่องเที่ยวโดยชุมชน" อันเป็นวัตถุประสงค์หลักๆของผู้มาศึกษาดูงานเครือข่ายการท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอนนั่นเอง

ผมให้ข้อแลกเปลี่ยนกับกลุ่มที่มาศึกษาดูงาน เกี่ยวกับความสำคัญ ของ  กระบวนการเพื่อการนำไปสู่เป้าหมาย ที่แม่ฮ่องสอนเราได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ว่ามีทิศทางใด หรือกระบวนการที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้นั้น ต้องใช้กระบวนการควบคู่กันไปทั้งสองทาง คือ

 

  1. ด้านงานวิจัย เพื่อสร้างความรู้ - จัดการระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานพัฒนา

  2. ด้านงานพัฒนา เพื่อให้เกิดเครือข่ายการจัดการ ต้องสนับสุนให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่เป็น "หนึ่งเดียว" ซึ่งกรณีของกลุ่ม "สนุก" น่าจะทำได้ไม่ยากนัก เพราะเป็นกลุ่มจังหวัดที่มียุทธศาสตร์จังหวัดที่ชัดเจนด้านการท่องเที่ยวเปิดประตูสู่อินโดจีน

  3. การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมและสร้างเป้าหมายร่วมกัน

  4. การปรับวิธีคิด(กระบวนทัศน์) ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันที่ชัดเจนในความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้งในส่วนของ ชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่น (โดยเฉพาะ อบต./เทศบาล)หน่วยงานภาครัฐและอื่นๆ

  5. การพัฒนาตน/ชุมชน/องค์กรของผู้ปฏิบัติภายใต้หน่วยงานองค์กรต่างๆ

  6. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม จัดการข้อมูล บุคคล พื้นที่ องค์กร ตลาด

  7. การสร้างกลไกการจัดการที่มีวิธีคิดเชิงระบบในการจัดการ

ทั้ง 7 ข้อเป็น “กระบวนการ” ที่สำคัญนำไปสู่เป้าหมาย “การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน” ได้ คิดว่ากระบวนการหลักๆดังกล่าว จะเป็นแนวทางในการดำเนินงาน พัฒนาการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ได้ …เป็นบทเรียนจากแม่ฮ่องสอนครับ
<p> </p>

หมายเลขบันทึก: 39640เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • น่าสนใจดีครับ
  • รอดูอยู่อย่างใจจดจ่อ

อาจารย์ขจิตครับ

ทางชาวบ้านในเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่แม่ฮ่องสอนเรายังมีปัญหาเรื่อง "ภาษาอังกฤษ" ถ้ามีอาจารย์ใจดีสักคน มาช่วยสอน น่าจะดีนะครับ อาจารย์ :) 

  • อยากไปช่วยครับ
  • ถ้าเป็นช่วงปิดเทอม ยินดีไปให้ทันที่ครับน้อง อยากทราบว่าผู้เรียนระดับใด ต้องการให้ช่วยเรื่องการพูด การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใช่ไหม

ใช่ครับ อาจารย์ขจิตครับ

ชุมชนต้องการเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับ การสนทนากับนักท่องเที่ยว แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวง่ายๆพอเข้าใจครับ(เพราะที่แม่ฮ่องสอนมีนักท่องเที่ยวต่างชาติค่อนข้างเยอะครับ)

ยินดีและดีใจมากครับ... 

  • ต้องการให้สอนชุมชนที่ไหนครับ
  • จะได้ศึกษาข้อมูลไว้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ผู้เข้าร่วมมีประมาณเท่าไร อายุประมาณเท่าไรสินค้าหรือสิ่งที่ชุมชนต้องการอยากให้ชาวต่างประเทศรู้จักคืออะไรจะได้เตรียมเอกสารให้ครับ
  • ขอบคุณครับน้องจตุพร

อาจารย์ขจิตครับ

ที่แม่ฮ่องสอนเรามีชุมชนท่องเที่ยว หลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เรามีเวทีการพัฒนาศักยภาพ"คน" บ่อยครั้ง แต่ประเด็นนี้เราขาดจริงๆครับ ประเด็นเรื่องของ"การสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ"

เราจะประชุมกลุ่มที่เป็นแกนนำครับ ว่าเราจะจัดเวทีพัฒนาศักยภาพเมื่อไหร่..และประเด็นนี้เป็นประเด็นแรกๆ

กระบวนการอาจเป็นการเข้าค่ายนะครับ อาจารย์ ผมมองว่า อาจารย์และวิทยากรท่านอื่นๆ ก็ไม่สะดวกที่จะอยู่นานๆ แต่หากเป็นการ จัด ประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ การทำประชุมเชิงปฏิบัติการในชุมชนเลย ก็น่าจะได้เบสิคในการนำไปใช้ได้ครับ

ผมจะหารือกับทีมงาน ในวันที่ ๒๕ ก.ค. ที่จะถึงนี้ครับ

เราจะมีการประชุมงานวิจัย สังเคราะห์การท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน กันครับ

ขอบคุณอาจารย์มากนะครับผม

  • ถ้าเป็นไปได้ประมาณกันยายนจะดีมากครับ
  • ใช้เวลาประมาณ 3 วันหรือแล้วแต่น้องเห็นสะดวกนะครับ เป็นการเข้าค่ายฝึกการพูด การแนะนำสิ่งที่เป็นคำอธิบายพื้นฐานก็ดี พี่มี อาสาสมัครอเมริกันที่สนิทกัน ถ้าเขาว่างจะชวนไปด้วย

อาจารย์ขจิต

หลังจากที่หารือกับทีมงานแล้ว ผมจะติดต่ออาจารย์ไป และเเจ้งให้ทราบในรายละเอียดครับ

ขอบคุณครับ 

จากการเรียนรู้ร่วมกันงัยคะ ที่อาจจะช่วยให้พัฒนาทางด้านภาษา หรือแม้กระทั่งทักษะอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น บางที่อาจเป็นไปได้ไหมคะ ที่จะเรียนรู้จากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นอกจากจะมาแสวงหาความรู้จากชุมชน อาจมีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มยังต้องการที่จะเสนอความรู้แก่ชุมชนด้วย โดยอาจจะ Offer เงื่อนพิเศษ แก่นักท่องเที่ยวเหล่านั้น เพราะการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ ระหว่างผู้เยื่ยมเยีอน กับเจ้าของถิ่นจะทำให้เกิดความซึมซับ จดจำได้ และสนุกในการเรียนรู้ (Learning) ไม่ใช่ เรียน (Studying)  หรือไม่ก็อีกวิธีคือวิเคราะห์ Steak holders ทั้งทางตรง และทางอ้อม ว่ามีกลุ่มไหนบ้างที่มีความเชี่ยวชาญที่จะให้ความรู้ในอบรมและพัฒนา บุคลากรในชุมชนให้เกิดความเชี่ยวชาญขึ้นได้ และสุดท้ายก็เกิดการพัฒนางานขึ้น

ถูกต้องครับ คุณสุชาดา

การที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวในชุมชน เกิดการปะทะสังสรรค์ทางสังคม วัฒนธรรมขึ้นมาทันที "ภาษา" ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีการถ่ายเทความรู้ระหว่างกัน

แม่ค้าที่ อ.ปาย พูดภาษาอังกฤษได้น่ารักครับ ผมเคยนั่งฟังเขาพูด และอมยิ้มไปด้วยครับ

เราคิดเรื่องการเสริมทักษะบ้าง ในส่วนที่ชุมชนขาดและต้องพัฒนาตามความต้องการของชุมชน

ขอบคุณนะครับที่ช่วยให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์

ติดตามกันไปนานๆครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท