งานวิจัย การจัดการความรู้ท้องถิ่น "กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู"


ภูมิปัญญาท้องถิ่น...วิถีชีวิต องค์ความรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่นำมาแลกเปลี่ยน เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน

ย้อนหลังไปหลายปี...

ผมได้มีโอกาสไปศึกษา วิจัย บนดอยสูงกับพี่น้องลีซู ในเขตอำเภอปางมะผ้า หมู่บ้านที่ผมไป ผมใช้วิธีการเดินเท้าเข้าไป นานกว่า ครึ่งวัน ยิ่งในช่วงฤดูฝนที่ถนนหนทางลำบาก(มาก) ผมจดจำชีวิตช่วงนั้นได้ดี

ผมทำงานศึกษาวิจัย ประเด็น "ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงหลังคลอด ชาวลีซู" (Local wisdom in the Self health care of Lisu Postpartum)

การศึกษาวิจัยครั้งนั้นมุ่งที่จะศึกษา ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ทางด้านสุขภาพ ตลอดจนค้นหารูปแบบในการสืบทอดองค์ความรู้ของชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ตามแหล่งที่มาของข้อมูลทั้งแหล่งความรู้ที่ฝังลึกที่อยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) และแหล่งความรู้ที่ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge) จะมีกระบวนการใด? จะมีรูปแบบใด?ที่เหมาะสมในการนำองค์ความรู้ที่ได้เพื่อจะสืบทอดและ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge Sharing) ไม่ให้องค์ความรู้นั้นสูญหายไป

ดังนั้นการศึกษาต้องศึกษาให้ครอบคลุมทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม(Cultural landscape)และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนลีซู ตลอดจนแสดงให้เห็น ความเป็นตัวตนของลีซู (Lisu Identity)และการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นงานศึกษาและพัฒนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยใช้องค์ความรู้เดิม ศักยภาพของชนเผ่าที่มีอยู่ ในกระบวนการศึกษา

ผมได้ใช้ชีวิตร่วมกับพี่น้องชนเผ่า ไปสวนไปไร่ เก็บข้อมูล โดยเฉพาะหญิงหลังคลอดที่เป็น "นางเอก" ของเรื่องนี้

เกิดเป็นหญิงหลังคลอดชาวลีซู ค่อนข้างโชคดีครับ....โชคดี ยังไง???

ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ สามีจะดูแลปรนนิบัติภรรยา ดูแลเรื่องอาหารการกิน สามีจะเลี้ยงไก่ตอนตัวอ้วนๆไว้๑ฝูงใหญ่ (ทั้งหมดจะเป็นอาหารภรรยาของตน ช่วงอยู่ไฟ)

ใกล้คลอด สามีจะลงดอยไปหาซื้อไข่ไก่มาเก็บตุนไว้ ครั้งละหลายๆแผง (ที่ผมสังเกตบ้านหนึ่ง ๕ - ๖ แผง) และเข้าป่าไปเก็บสมุนไพร บางตัวที่หายากในป่าลึก เพื่อ ใช้ในการอบตัวหลังคลอด

พอคลอดเสร็จ สามีก็ไปหาสมุนไพรสดๆ มาเพิ่มอีก รวมเป็นสมุนไพรชุดใหญ่ ถึง ๑๗ ตัวยา ด้วยกัน (รายละเอียดใน Thesis ของผม) นำมาอบสมุนไพร หลังจากอยู่ไฟครั้งแรกที่เคร่งครัด ๗ วัน จากนั้นอยู่ต่ออีกให้ครบ ๑ เดือน ระหว่างที่อยู่ไฟนี้ หญิงหลังคลอดชาวลีซูจะอบอุ่นมาก สามีจะดูแลใกล้ชิด ทั้งเรื่องการปรุงอาหาร การดูแลเพื่อความสุขสบายโดยทั่วไป(สุขภาพจิตดีมาก)

ผักชนิดหนึ่ง ที่ผมสังเกตุเห็นหญิงหลังคลอดทุกคนจะนำมาปรุงเป็นอาหารระหว่างอยู่ไฟ บนดอยเรียก "ผักขม" เป็นผักที่ขึ้นตามไร่ สวนของลีซู สีเขียวจัด รสขมๆนิดหน่อย ใช้ต้ม นึ่ง จิ้มน้ำพริกก็อร่อย สามีสุดที่รักก็เพียรเชือดไก่ให้ภรรยากินวันละตัวๆ ปรุงอาหารใส่ไข่เป็นส่วนประกอบ ปรุงรสด้วยเกลือ เห็นภาพการปรนนิบัติภรรยาแล้ว ...น่าชื่นใจ

...นี่เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่า จากบนดอย เป็นองค์ความรู้ท้องถิ่นที่ บุคลากรทางการแพทย์ควรที่จะเข้ามาเรียนรู้ และต่อยอดองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพ จิตสังคมของหญิงหลังคลอด เพื่อการนำไปเรียนรู้ และเข้าใจคนท้องถิ่น ที่ผ่านมามีผู้ศึกษา เรื่องดังกล่าวไม่มากนัก...

มีประเด็นอื่นๆอีกมากมายที่น่าสนใจ หลังจากที่ผมจบ และได้ Thesis ขึ้นมา ๑ เล่ม ได้องค์ความรู้ที่มีคุณค่า(มาก)...

ทาง สกว.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เห็นความสำคัญ เลยช่วยต่อยอด งานให้เป็นงานวิจัย เชิงปฏิบัติการ (PAR) เพื่อนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ผมได้ทำงานวิจัยต่อเนื่องคือ "โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นทางด้านสุขภาพ ชาวลีซู" ได้รับสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตอนนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ...

จะได้นำองค์ความรู้ดีๆ มาเขียนบันทึกเพื่อเผยแพร่และต่อยอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนกับทุกท่านต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 41100เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • น่าชื่นใจมากครับ
  • ถึงไม่ลังเลใจที่จะไปช่วย
  • ขอชื่นชมครับ ด้วยเกียรติแห่งมิตร

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมากเลยค่ะ  อยากติดตามอ่านฉบับเต็ม ไม่ทราบว่าจะหาอ่านได้ที่ไหนค่ะ   หากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปช่วยแจ้งด้วยนะค่ะ

ขอบคุณมากครับ ที่สนใจครับ 

Thesis มีที่หอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครับส่วนงานวิจัยต่อเนื่อง เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ เอกสารน่าจะอยู่ที่ สกว.

ปลายปีจะมีหนังสือ ที่เกี่ยวข้องออกมาแล้วครับ ผมกำลังเรียบเรียงอยู่ ...

ผมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งครับ 

เป็นงานวิจัยท่ดีมากๆเลยคะและคิดว่าหากหลายๆคนที่ได้มาอ่านคงจะอยากทำวิจัยมากยิ่งขึ้น...ซึ่งการนำภูมิปัญญามาใช้และมานำเสนอให้อีกหลายๆคนที่ยังไมรู้...น่าทึ่งจริงๆคะอยากอ่านวิจัยเต็มรูปแบ..หาหท่านผู้จัดทำมีเวลาอยากให้งานวิจัยฉบับเต็มรูปแบบลงทางเน็ตด้วยคะ..ขอบคุณคะ

สวัสดีครับ คุณตางอู และคุณหมอเล็ก จริยา

ในส่วน Thesis มีการนำเสนอออนไลน์ในเวปของ มช.ครับ และส่วนหนึ่งผมได้เขียนหนังสือวางตลาดส่วนหนึ่งครับ

ขอบคุณครับผม

มาขอเรียนรู้ด้วยครับ

ขอบคุณครับ คุณ  ตาหยู   ถือโอกาสพรวนบันทึกเก่าๆไปด้วยครับ

 

 

ผมจะทำวิจัยการพัฒนางานในสถานศึกษา(ขั้นพื้นฐาน) มีแนวคิดที่นำKM มาใช้ในงานวิจัย จึงอยากขอแนวคิดจากท่านเล่าสู่กันฟังหน่อย ขอขอบคุณในความกรุณา

อยากให้พี่จตุพร วิจัยเรื่องสุขภาวะของลีซูบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท