SHA Conference & Contest : การถอดบทเรียน...สิ่งน่ารู้ในการนำองค์กรสู่ความยั่งยืน


ผลของการถอดบทเรียน เราก็ได้ “บทเรียน” และบทเรียนนั้นเป็นของสดใหม่มีพลัง แต่ก็เพียงชั่วคราว บทเรียนในวันนี้ วันพรุ่งนี้อาจจะมีพลังน้อยลง ดังนั้นจำเป็นต้องมีวัฒนธรรมการถอดบทเรียนสม่ำเสมอในองค์กร

ในเวที SHA Conference & Contest  ปีนี้ ใช้ Theme “ความงามและความหมาย...นิยามใหม่ของงานคุณภาพ” โดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) วันที่ ๑๕ – ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ

ผมมีโอกาสไปพูดคุยประเด็น “การถอดบทเรียน” เช่นเคย เพราะทำหน้าที่ผู้ถอดบทเรียน SHAให้กับ สรพ.มุมมองจนไปถึงผลผลึกของการถอดบทเรียนจึงอยู่ในความสนใจของคนทำงานว่า เมื่อถอดบทเรียนแล้ว ได้เห็นอะไรบ้าง?  บทเรียนเหล่านั้นสามารถประยุกต์ใช้ในองค์กรอื่นๆได้อย่างไร?

ในเวทีที่โรงแรม อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ใน session “การถอดบทเรียน...สิ่งน่ารู้ในการนำองค์กรสู่ความยั่งยืน”

   

นายเเพทย์วราวุธ สุรพฤกษ์

  

นายเเพทย์สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์

------------------------------------------------------------------------------------------

มีผู้ร่วมเสวนา คือ นายแพทย์วราวุธ สุรพฤกษ์,ผม เเละนายแพทย์สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ใช้เวลาประมาณ ชั่วโมงเศษในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวที ผ่านการนำเสนอ พูดคุยบนเวที

ผมคิดว่าหลายท่าน หลายโรงพยาบาลเลยทีเดียว โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่ผมมีโอกาสเข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย ได้แก่ รพ.รามัน,รพ.กะพ้อ,รพ.อุบลรัตน์ และ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย  ก็อยากจะฟังเรื่องราวของตนเองเหมือนกันว่าผู้ถอดบทเรียนจะสะท้อนอะไรบ้าง

ซึ่งส่วนหนึ่งผมก็ได้สรุปให้ฟังไปแล้วบ้างเล็กน้อยในโรงพยาบาล แต่บทเรียนที่ผ่านการสังเคราะห์ เขียน นำเสนอ ตอนนี้ก็ยังไม่เสร็จเรียบร้อยดี เป้าหมายต่อไปก็คือ HA forum ในปีหน้า (อีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้) น่าจะได้เห็นหนังสือถอดบทเรียนที่เป็นงานสังเคราะห์เพื่อให้ได้เรียนรู้กัน นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของผลงานทางด้านเอกสาร

ส่วนมุมมองที่สรุปประเด็นได้ก่อนไม่ว่าจะความรู้สึกที่ดีต่อโรงพยาบาลที่ผมมีโอกาสเข้าไปเรียนรู้ ความรู้สึกที่ดีงามกับผู้คนในโรงพยาบาลเหล่านั้น ยังคงตราตรึงอยู่เสมอๆ

ผมเคยเปรยกับคนใกล้ชิดว่า ผมอยากทำดีให้ได้เหมือนคนทำงานในโรงพยาบาลเหล่านั้น ผมโชคดีที่ได้มีโอกาสสัมผัสเรื่องราวดีงาม ได้รู้จักคนทำงานทุ่มเท พลังของความรักที่บุคลากรทางการแพทย์มีต่อคนไข้ของพวกเขา ดังนั้นเวลาที่ผมไปเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ผมกลับมาก็ได้พลังกลับมาสานต่องานของตัวเองทุกๆครั้ง

สำหรับมุมมองการถอดบทเรียน...ในงาน SHA Conference & Contest  

ผมแบ่งการนำเสนอออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ “การถอดบทเรียนคืออะไร?” ประเด็นต่อมาโพกัสไปที่ “มุมมองคนนอกระบบที่มองระบบสุขภาพ” และประเด็นสุดท้าย “การก้าวต่อ ปัจจัยความสำเร็จที่ได้จากการถอดบทเรียนคืออะไรบ้าง?”

การนำเสนอจะไม่เน้นเรื่องวิธีวิทยาการถอดบทเรียนแต่ก็เกริ่นให้ผู้เข้าร่วมรับฟังได้รู้ว่า “บทเรียน”นั้นได้มาอย่างไร? กว้างๆ และผมคิดว่าประเด็นที่กว้างๆ คือ กระบวนการถอดบทเรียนมีองค์ประกอบเบื้องต้นคือ  “บรรยากาศที่สร้างสรรค์ เป็นธรรมชาติ มิตรภาพ ปลอดภัย และมีความสุข” นี่เป็นกระบวนการที่เปิดให้นักถอดบทเรียนสร้างวิธีวิทยาใหม่ๆที่ดีกว่ายิ่งขึ้นไป บุคคลสำคัญในการถอดบทเรียนก็คือ คุณ FA หรือ Facilitator ที่ต้องเป็นผู้รังสรรค์บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ทั้งหมด รวมไปถึงการ “ตั้งประเด็น เข้าสู่ประเด็น จับประเด็น คลี่คลายประเด็นและสะท้อนประเด็นกลับ”  ผลของการถอดบทเรียน เราก็ได้ “บทเรียน” และบทเรียนนั้นเป็นของสดใหม่มีพลัง แต่ก็เพียงชั่วคราว บทเรียนในวันนี้ วันพรุ่งนี้อาจจะมีพลังน้อยลง ดังนั้นจำเป็นต้องมีวัฒนธรรมการถอดบทเรียนสม่ำเสมอในองค์กร

มุมมองงานพัฒนาคุณภาพผ่านสายตาคนนอกระบบสุขภาพ ตรงนี้หมายถึง มุมมองผ่านตัวผมเอง ที่มองระบบสุขภาพอย่างไร?

คน :

ต้นทุนที่มีคุณค่า คนในสายสุขภาพ ถือว่าเป็นกลุ่มที่มี IQ ค่อนข้างดี และกลุ่มนี้เองเมื่อได้มาทำงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิต การทำงานเพื่อการ “ให้” วิถีการทำงานก็กล่อมเกลาทำให้คนในระบบเป็นบุคคลที่ถูกพัฒนาทางด้านในผ่านการทำงานตลอดเวลา พลังความรู้ กับพลังความดีจึงผสานพลังบวก

ระบบที่ซับซ้อน :

ผมมองว่าระบบใดๆก็ตามล้วนซับซ้อน และ ระบบสุขภาพก็ซับซ้อนไม่แพ้ระบบอื่นๆ ยังไม่พอในความซับซ้อนจำเป็นจัดระบบด้วยงานพัฒนาคุณภาพ คลี่คลายความยุ่งเหยิง ไปสู่ความง่าย การทะลุผ่านความโกลาหลไปสู่ความง่ายนี่เองทำให้งานทางด้านสุขภาพ ผลิตนวัตกรรมใหม่ๆออกมามากมาย

กระบวนการพัฒนาคุณภาพ :

เป็นการปรับเปลี่ยนสู่สมดุล นับจากวันเริ่มมี HA จนถึงวันนี้ กระบวนการพัฒนาคุณภาพก็เปลี่ยนแปลง ปรับระบบเรื่องมา เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย

ไม่ว่าจะเป็น สรพ.ที่พยายามคิดกระบวนการ ทักษะใหม่ๆ ที่มาช่วยให้งานพัฒนาคุณภาพขับเคลื่อนไปอย่างมีพลังและมีชีวิตชีวา

ในระดับ รพ.ก็ค้นตัวตนกันขนานใหญ่ เมื่อพบจุดแข็งของตัวเอง ก็ขยายจุดแข็ง ทบทวนจุดอ่อน ก้าวต่อไปอย่างน่าชื่นใจ

ในระดับปัจเจกก็พัฒนาตัวตนอย่างไม่ลดละด้วยความเป็นบุคลากรสายสุขภาพที่ถูกกล่อมเกลาทางสังคมผ่านการงานส่วนหนึ่ง และจากทักษะ โอกาสในการพัฒนาที่ทางองค์กรให้โอกาสคนออกไปพัฒนาทักษะต่างๆ

ปัจเจกที่ดี เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่เข้มแข็ง”

ดังนั้นเมื่อคนที่ดี มีคุณภาพ องค์กรก็เป็นองค์กรคุณภาพเช่นเดียวกัน

การก้าวไป :

ผมมองว่า หากจะขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพให้ได้ดีนั้น ต้อง “เปิดใจ ยกระดับ ปรับตัว” 

เข้าใจว่าการพัฒนาคุณภาพเป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องสอดคล้องกับ บริบทขององค์กร สอดคล้องกับสถานการณ์รอบตัวที่เปลี่ยนไปให้เท่าทัน

ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

 

ผู้นำ :

มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งกระบวนการนำและการบริหารที่สอดคล้องสมดุล การผสมผสานศาสตร์และศิลป์ และการร่วมมือกับการแข่งขัน ที่ใช้เป็นกลวิธีขับเคลื่อนองค์กรอย่างพอเหมาะพอดี

Facilitator:

ผมมองว่า “ทีมนำ” มีบทบาทเป็น FA ในโรงพยาบาลหนึ่งๆ โดยธรรมชาติ และ FA เหล่านี้มีทักษะการนำ ทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว Facilitator จึงเป็นขุมพลังที่มีคุณค่าขององค์กร”

 และหากจะยกระดับกลุ่มนี้ผมมองไปถึงการเป็น Change Facilitator ไปถึงระดับที่สามารถเปลี่ยนแปลง (Change) ตัวเองจากด้านในและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กรไปด้วย

ทุนประเดิม :

ในโรงพยาบาลเราคุ้นชินกับกระบวนการพัฒนาคุณภาพที่เข้ามาผ่านตัวย่อต่างๆ นับตั้งแต่ TQM,5ส จนถึง HA และSHA ในปัจจุบัน ทั้งหมดเหล่านี้เป็น “ทุนประเดิม” ที่เราต่อยอดจนกระทั่งเกิดภาพของความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม เช่น accredit ผ่าน เป็นต้น

วิธีคิดอื่นๆที่สำคัญ :

ได้แก่ แนวคิดเรื่องการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanized Health Care), แนวคิดองค์กรที่มีชีวิต (Living Organization), แนวคิดเรื่องนวัตกรรม(Innovation),การสร้างวิสัยทัศน์ที่ดีพอ (Good Enough Vision) การออกแบบระบบที่สอดคล้องกับสถานการณ์ หรือบริบท

จากแนวคิด สู่การปฏิบัติ

  • ระบบที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่น สมดุล ระหว่าง บริบท กับ มาตรฐาน (ที่เป็นเพียงแนวทางการตัดสินใจ) 
  • การวางระบบ การเชื่อมต่อระหว่างระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) กับการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ (Management for Performance Excellence)
  • การพัฒนาบนฐานความรู้ (Knowledge based)
  • การแสวงหากระบวนการทำงานที่ง่ายกว่า
  • การเทียบเคียง (Benchmarking) เข้าใจ เท่าทัน ทั้ง บริบท วิธีการ เป้าหมาย
  • การพัฒนามิติด้านจิตวิญญาณ (Spirituality)
  • การเยียวยาด้วยเรื่องเล่า(Narrative Medicine)
  • AI : Appreciative Inquiry สำรวจและหาแก่นสารทางด้านบวก (Positive Core) เปิดใจมองหาศักยภาพ การปรับเปลี่ยนอย่างมีชีวิตชีวา
  • ผัสสะและสุนทรียภาพ (Aesthetics) เยียวยาและปลุกปลอบ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของ SHA

หากจะกระชับให้เห็นชัดเจนมากขึ้น (จากประสบการณ์ค้นพบจากการเข้าไปเรียนรู้ ๔ รพ.) ผมสังเคราะห์ออกมาดังนี้

  • การสร้างวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ วัฒนธรรมครอบครัว วัฒนธรรมการจัดการความรู้
  • ทีมงาน TEAM  : “TALENT wins the game, but TEAM wins the championship” (ไมเคิล จอร์แดน)
  • การประยุกต์ใช้ LEAN, R2R และอ่านเพิ่มเติม Lean คืออะไร ,Lean Management SystemLEAN and Seamless
  • การดึงเอาเครือข่ายนอกโรงพยาบาล มาเป็นกัลยาณมิตร และช่วยกันในการพัฒนาระบบสุขภาพ ซึ่งก็หมายความถึงการพัฒนาระบบคุณภาพของโรงพยาบาลไปด้วย

  • กระบวนการจัดการความรู้ ทำให้การขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพมีพลังอย่างมาก

     

     

    อย่างไรก็ตาม ผมฝากทิ้งท้ายไว้ก่อนจบ session ในวันนี้ว่า

    คุณภาพนั้นเป็น 'วิถี' เเละเราจะทำคุณภาพอย่างไร ก็คงต้องตอบว่า ' ทำในแบบของเรา' เหมาะสมกับองค์กร เเละมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล เพียงพอในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีคุณภาพ 

     

    จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

    โรงเเรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค,กรุงเทพฯ

    ๑๖/๑๒/๕๓

     

     

หมายเลขบันทึก: 414299เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

รีบกลับ กทม.เพราะมีงานนี้ใช่ไหมคะ

ให้ปัญญากับคนรอบข้างและสังคม

  • การสร้างวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ วัฒนธรรมครอบครัว วัฒนธรรมการจัดการความรู้
  • "วัฒนธรรม" เป็นสิ่งที่ดีงาม   การสร้างวัฒนธรรมหลายๆอย่างจึงควรริเริ่มค่ะ จะได้มีคนสานต่อไปเรื่อยๆและหลากหลายค่ะ

     

    ครับพี่นก

    ช่วงที่ผมอยู่ที่ปาย(กลับไปเยี่ยมบ้าน) ก็นั่งทำการบ้านอีกเยอะเลย ทั้งเตรียมงานของน้องสาวไปด้วย...

    ทำงานตลอดเวลาก็ว่าได้ครับ

    พี่สบายดีนะครับ มีโอกาสคงได้เเลกเปลี่ยนกันอีกครับ :)

    ชอบคำพูดนี้คะ

    "คุณภาพนั้นเป็น “วิถี” จะทำคุณภาพอย่างไร ก็ต้องตอบว่า ทำในแบบของเรา เหมาะสมกับองค์กร และมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล"

    เพราะที่ทำอยู่ ก็ทำในแบบของ เรา รพ.ของเรา วิถีชีวิตของเราเอง

    ขอบคุณครับ พี่เจษฏา

    ผมดีใจที่ได้เจอพี่ที่งาน SHA วันนี้นะครับ...

    พี่น่ารัก ร่าเริงเสมอ เห็นพลังในตัวพี่เสมอเวลาเจอกัน

    ขอให้พลังนั้นสถิตย์อยู่กับท่านนะครับ :)

    สวัสดีค่ะน้องเอก

    • กลับจากปายแล้วเหรอคะ ไปไม่กี่วัน
    • มีงานด่วนนี้เอง
    • สองวันที่ผ่านมาบริหารเวลาไม่ลงตัว เลยยังไม่ได้อ่านบันทึกของน้องเอก          (ที่ปายหน่ะ เดี๋ยวจะไปอ่านย้อนหลัง)
    • จะมาบอกด้วยว่า พี่ตาลขออนุญาต นำภาพนี้ไปประกอบบันทึก
    • ๑๐ บล็อกเกอร์ยอดเยี่ยมในดวงใจอิงจันทร์  ค่ะ

    ภาพนี้ถ่ายกับ พี่อังคณา นีละไพจิตร เมื่อคราไปที่มาเลเซียครับ ..

    //////////////////////////////////

    พี่ตาลครับ

    ขอบคุณครับสำหรับมิตรภาพที่งดงามผ่านการ AI ผ่านบันทึก รวมไปถึงการได่มีโอกาสพูดคุย เจอตัวเป็นๆมาเเล้ว

    พี่ตาลเป็นครูที่ความมุ่งมั่นมาก...

    ผมขอให้กำลังใจนะครับ

    สวัสดีค่ะ

          มารับเอาสิ่งดีๆที่นำองค์กรสู่ความยั่งยืนค่ะ..ชอบประโยคนี้จังค่ะ.....

                “เปิดใจ ยกระดับ ปรับตัว”  เข้าใจว่าการพัฒนาคุณภาพเป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องสอดคล้องกับ บริบทขององค์กร สอดคล้องกับสถานการณ์รอบตัวที่เปลี่ยนไปให้เท่าทัน.

                คงมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปนะคะ....

           

    เข้ามาซึมซับ พลังแห่งความงดงาม สำหรับเช้านี้  .....ใช่เลยเรื่องที่ต้องทำก่อนเรื่องการถอดบทเรียน  ที่ต้องฝึก.....และนำมาใช้

     

    ถ่ายทอดออกมาให้เห็นภาพ  อย่างมีพลัง  เหมือนได้ไปเข้าร่วม วงชิม SHA ด้วยเลย

     

    ยอดเยี่ยมจริงๆ

     

    นำภาพบรรยากาศมาประกอบครับ

    สวัสดีครับ คุณมาตายี

    ระบบการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานสาธารณสุข หากถอดบทเรียน ออกมาเเล้วผมคิดว่าหน่วยงานอื่นๆ(นอกเหนือหน่วยงานสุขภาพ) ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยครับ

     

    สวัสดี ครับ คุณจตุพร

    ชื่นชมคุณ นะครับ

    มองมุมไหน ...ก็เก่งทุกมุม

    มีความสุขในหน้าที่การงานและเรื่องส่วนตัว ทุก ๆ เรื่อง นะครับ

     

    ผมอยากเห็นผลงานการถอดบทเรียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร (เชิงรูปธรรมซักครั้ง)เพราะที่ผ่านมาพูดกันเสียส่วนใหญ่เป็นวิทยาทานครับ

    ชื่นชมและขอซึมซับเรื่อง การถอดบทเรียน ที่พี่แก้วเคยพยายามทำความเข้าใจ

    อ่านแล้ว ทำให้รู้เรื่องดีขึ้นค่ะ

    ขอบคุณที่มอบสิ่งดีดีให้บุคลากรสุขภาพเสมอ...

    คุณค่าของบทความ สะท้อนคุณค่าของผู้เขียน ไม่ได้แวะมาเยี่ยมเยียนกันนานคิดถึงครับ น้องจตุพร

    พี่อุ้มบุญ...

    บันทึกหลังจากเสร็จเวทีครับ อยากให้คนที่รออ่านได้เรียนรู้ไปด้วยกัน ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่เราต้องเรียนรู้ ดังนั้นก็ต้องจัดการความรู้ สร้างเเละใช้ความรู้กันไปเรื่อยๆ

    ขอบคุณครับ

    ขอบคุณ อ.หมอ JJ ครับ

    ผมไปอ่านบันทึกที่อาจารย์สรุปอย่างรวดเร็วข้างเวทีเเล้ว ต้องขอบคุณมากๆครับ

    กระชับ เเละ เข้าใจได้ง่าย :)

    คุณเเสง ครับ

    ขอบคุณสำหรับคำชมนะครับ อย่างไรผมคิดว่า คนในวงการสุขภาพทำงานคุณภาพกันจริงจัง หากมีส่วนบ้างในกระบวนการนี้ เป็นเรื่องที่ผมภาคภูมิใจครับ

    ดร.ปัญญา ครับ

    เป็น "รูปธรรม" นี่หมายความลึก ตื้น ขนาดไหนครับ...

    ธรรมดาของบทเรียน หรือ ผลผลึกความรู้เองก็เป็นเพียงชุดความรู้ที่สะท้อนเข้าไปในระบบ ส่วนรูปธรรมในการต่อยอด หรือ ประยุกต์ใช้ ก็คงเเล้วเเต่องค์กรนั้นๆเเล้ว ปัจจัยที่ผลักดันทำให้เกิดรูปธรรมนั้น งานถอดบทเรียน เป็นเพียง ฟันเฟืองหนึ่ง เท่านั้นครับ

    หากมองระบบอย่างเปิดใจ เราก็จะรู้ว่าความสำเร็จกระบวนการใดๆก็ตามที่พยายามทำกันให้ระบบมันเคลื่อน ทั้งหมดล้วนเชื่อมโยงกัน คิดเป็นส่วน เลือกดูเพียงบางส่วน ก็อาจไม่มองไม่เห็นความสำเร็จที่เเท้จริงได้

    ส่วนถอดบทเรียนที่มีผลทันที ที่เราทำกันในวงเรียนรู้ ก็เป็นการ AAR ที่สะท้อนให้คนทำงานได้เห็นตัวตนในทันที แบบนี้เรียกรูปธรรม ในความหมายของ ดร.ปัญญา ไหมครับ...

     

     

    ขอบคุณครับ พี่แก้ว ครับ

    สิ่งดีๆในวงการสุขภาพมีมากมายครับที่ให้เราได้เรียนรู้ ผมคงจะเป็นผู้ช่วยถ่ายทอดได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น...

    ในวันที่พูดคุยที่ อิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค คุยเรื่องวิธีวิทยาเพียงเกริ่นๆครับ เน้น เรื่องของการสร้างบรรยากาศในการถอดบทเรียน เเละ คนเป็น Facilitator ที่ทำหน้าถอดบทเรียน... สองปัจจัยที่สำคัญ ส่วนรูปแบบนั้นผมคิดว่าสร้างสรรค์กันเอาเองครับผม

    ขอบคุณครับครู พิสูจน์ ครูเพื่อศิษย์

    เมื่อวานผมพูดคุยเรื่องครูเพื่อศิษย์ ที่ งานวิชาการของมหิดล ทำให้ผมคิดถึงครูหลายๆท่าน รวมทั้ง ครูพิสูจน์ด้วย 

    นานพอสมควรทีเดียวครับที่ครูเงียบหายไป ไม่รู้ว่าที่โรงเรียนของครูก้าวหน้าไปถึงไหนเเล้ว หากมีโอกาสได้จับงานครูเพื่อศิษย์อีกครั้ง ผมต้องไปตามหาครูถึงที่โรงเรียนเลยครับ

     

    Blogger "ยายธี" เท่มากๆครับ 

    เจอที่งาน SHA

    Blgger จินตหรา (พูลลาภ)ตอนอายุเลยหลักสี่

    "ป้าแดง"

    อ่านไปอ่านไป เหมือนเสียงน้องเอก ก้องอยู่ในหูตลอดเลย....

    ป้าแดง ไม่ใช่จินตรานะคะ ป้าแดง เป็น สาวมาด เมกกะแดนซ์ค่ะ อิอิอิ

    ปล. เลนส์ตัวใหม่ ของน้องเอก เป็นแรงบันดาลใจให้ป้าแดง คงต้องไปใช้บริการ วุฒิศักดิ์คลินิก แล้วละค่ะ อิอิอิ

    ไม่นะครับ..
    ป้าแดง สวยใส ขนาดนี้..ผมว่าหายากนะครับ เมื่ออายุเดินทาง เเต่ยังสดใสได้ขนาดนี้

    คุณภาพนั้นเป็น 'วิถี' เเละเราจะทำคุณภาพอย่างไร ก็คงต้องตอบว่า ' ทำในแบบของเรา' เหมาะสมกับองค์กร เเละมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล เพียงพอในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีคุณภาพ

    ขอบคุณครับคุณเอก..

    คุณค่าของบทเรียนเริ่มต้นตั้งแต่มีคน "ตั้งใจ" ค้นหามันแล้ว

    ส่วนจะออกมาเป็นหนังสือ เป็นเวป เป็นสิ่งตีพิมพ์ หรือหล่อหลอมเปลี่ยนวิถีชีวิตคนกี่หมื่นกี่แสนคน ตรงนั้นก็เป็น "ขั้นต่างๆ" ของการเดินทางของประสบการณ์

    การใช้สติ สมาธิ "ค้นหาอะไรดี" เป็นกิจกรรมภาวนาที่ดี เกิดทักษะที่ดีมากมายหลายประการ เวลาผมสอนน้องๆ นศพ. จึงมักจะขอให้เขาลองใช้เวลาสักพักหนึ่งเสมอ ไม่ต้องเขียนมาส่ง ไม่ต้องการ evidence เพราะเราไม่ได้ต้องการจะ judge ประเมิน หรือให้คะแนนใคร เพียงแต่อยากให้เขาได้ลอง ได้ลิ้มรส อะไรบ้าง

    การถอดบทเรียนยังเป็นการแสดงความคารวะ ความอ่อนน้อม ของตนเอง ต่อประสบการณ์เบื้องหน้า ต่อคนที่เกี่ยวข้อง เป็นการสร้างจรรยาที่ดี สร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยั้งยืน เสริมทักษะการห้อยแขวน ไม่ด่วนตัดสิน

    กิจกรรมการถอดบทเรียนจึงไม่ได้แต่เฉพาะกระดาษ A4 ไม่กี่หน้า แต่เป็นเสมือนการทำภาวนา ทั้งกายภาวนา สติ เวทนา จิต และธรรม

    จึงขอขอบคุณน้องเอก และใครก็ตามทีี่อุทิศเวลาของตนในการทำกิจกรรมอันเป็นสิิริมงคลนี้ ไม่ว่าจะออกมาเป็นเล่ม เป็นรูป หรือไม่ก็ตามครับ

    นั่งอ่านงาน SHA จากBlogหลายๆท่านที่เขียน ได้เรียนรู้สิ่งดีๆมากมาย

     พี่Kumfun จากรพ.สองไปร่วมงานHASด้วย เวทีหมอโกมาตร 

    บอกว่ารอบนี้เสียดายไม่ได้ทักทาย ถ่ายรูปกับน้องเอก

     

    สุดยอดค่ะ อาจารย์เอก พี่เจี๊ยบขออนุญาต นำไปแปะใน Facebook นะคะ

    ขอบคุณเรื่องราวดีดีที่สามารถไปไปใช้ต่อได้ครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท