วิจัยเพื่อท้องถิ่น กับวิธีวิทยาการวิจัย...ถอดบทเรียนงานติดอาวุธทางปัญญาให้ชุมชน


สิ่งที่โดดเด่นในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คือ การติดอาวุธทางปัญหาให้กับคนท้องถิ่น ...ตรงนี้ผมว่ายั่งยืนครับ

ผมเดินทางกลับมาบ้านเกิด ด้วยปริญญา ๑ ใบ และมีความคิด ความฝันที่จะพัฒนาถิ่นเกิด

ในเมื่อได้รับโอกาส ได้รับการบ่มเพาะ จนเติบใหญ่เป็นต้นกล้าที่พร้อมลงปลูกในป่าใหญ่ ...

เดินทางกลับมาบ้านครั้งนี้ จึงเต็มไปด้วยความหวังความฝัน ....

นั้นคือ ...ความรู้สึกเมื่อผมเรียนจบและเดินออกจากมหาวิทยาลัย

 


"สร้า้งสรรค์ ปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น"

 

เป็นสโลแกนของ สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย)  ช่างโดนใจผมจริง!!!

เอ...แล้วจะทำยังไงละ??? ถึงจะสร้า้งสรรค์ปัญญาได้...กระบวนการที่นำไปสู่คำตอบนั้นก็คือ "งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น" Community Based Research

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในความคิดผม ประกอบด้วย Concept ๒ อย่าง

คือ

๑.world view ที่แปลว่า "โลกทัศน์" หรือที่คุ้นชิน ที่เรียกว่า "กระบวนทัศน์" (Paradigm) 

๒. Method

 

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โลกทัศน์ที่สำคัญ...ที่สุดคือ เรามีทัศนะต่อสิ่งนั้นอย่างไร? เรามีทัศนะต่อชุมชนอย่างไร? หากเรามีทัศนะที่ผิดเสียแล้ว แทบจะไม่ต้องนึกถึง Method เลยครับ 

โลกทัศน์เป็นตัวกำหนดโจทย์วิจัยหรือ คำถามวิจัยด้วย 

ที่เราคุ้นชินตอนที่เรียน เรามักจะมองเลยไปที่  วิธีวิจัย(Method)   มากกว่า มีคนมักจะ ถามผมบ่อยครั้งว่า "คุณมีเครื่องมืออะไร?"  มากกว่าให้ความสำคัญเรื่อง โจทย์วิจัย

ส่วนใหญ่โจทย์เป็นอย่างไร ไม่สนใจ  สนใจแต่คำตอบที่แทบจะออกมาเป็นคำตอบบะหมี่สำเร็จรูปไปแล้ว บริโภคง่ายดี ไม่ต้องคิดมาก!!!

โลกทัศน์ World view เกี่ยวกับงานวิจัย ที่ผ่านมามุ่งแต่เรื่อง Need Assessment แต่ทุกวันนี้เราคุยกันมากเรื่อง Potential assessment

โจทย์งานวิจัยเราก็จะมุ่งหาสภาพของชุมชนในมิติต่างๆ ว่ามันเป็นอย่างไร? (Situation analysis)  ที่มักจะออกมาในรูปของ Discriptive research แต่งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ผมมองว่า เรามุ่งคำถามที่ว่า

"เราจะต่อยอด หรือพัฒนาต่อ ในศักยภาพของชุมชนที่มีได้อย่างไร?" น่าท้าทายมั้ยละครับ????

ขออย่างเดียวครับ อย่าไปติดนิยามการพัฒนาแบบเดิมๆ ที่ข้อสรุปมักออกมาว่า "ชาวบ้านไม่มีศักยภาพ"  ผมคิดว่า "มันเร็วไปที่จะด่วนสรุปแบบนั้น"

พลวัตรวิทยาการวิจัย งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

เพื่อตอบโจทย์ แบบที่ผมเขียนไป เราจึงต้องพยายามหาเงื่อนไข ที่ทำให้ชุมชนมีสภาพอย่างที่เป็นอยู่ สิ่งดีๆคืออะไร หาให้เจอ ...วิธีการที่เรานำมาใช้ คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครับ (Participatory Action Research : PAR) จะตัว P ตัวใหญ่ๆ หรือ อาจจะตัว R ตัวใหญ่ ตัวเล็ก- Par : paR : PaR ก็แล้วแต่ ขอให้มีเรื่อง "การมีส่วนร่วม"อย่างแท้จริง

อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในหลายๆบันทึกว่า

การมีส่วนร่วม เป็นทั้ง วิธีการ (Mean)และ เป้าหมาย( End)  

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่โดดเด่นอีกอย่างคือ 

"การพัฒนาศักยภาพคน"

ครับ ตรงนี้ผมถือว่าสำคัญมาก เป็นการ"ติดอาวุธทางปัญญาให้ชุมชน"

อย่างไรก็ตามครับ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น อาจจะไม่ใช่เรื่อง "โรแมนติค" แบบหลายๆคนเข้าใจ พี่เลี้ยง : RC มีบทบาทสำคัญครับ เป็นที่ปรึกษา เป็นคนช่วยเรื่องกระบวนการ เป็นเบื้องหลัง ช่วยคิด ช่วยก่อ ผลักดัน ในการสร้างสรรค์ปัญญาที่พวกเราคาดหวัง

ช่วยชุมชน ให้มี

กระบวนการคิดเชิงระบบ (System thinking) 

วิธีวิทยา อาจเป็นเรื่องที่มาทีหลังนะครับ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่

เรามีทัศนะอย่างไรกับคนท้องถิ่น?  เรามีทัศนะอย่างไรกับชุมชน?

 

หมายเลขบันทึก: 42398เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
     โดนใจเป็นอย่างมากครับ แต่น่าเสียดายที่ สกว.ท้องถิ่น ที่นี่เท่าที่ผมได้เคยรู้จัก เขามีอะไรที่เราคาดไม่ถึงและเชื่อมไม่ได้เลยครับ ได้ลองพยายามแล้ว แต่ไม่ทราบทำไมไม่สำเร็จครับ เรื่องนี้หากเปิดใจกว้าง ๆ ก็พอที่จะ ลปรร.กันได้อีกครับน้องจตุพร
     ขอชื่นชมบันทึกที่โดนใจในค่ำคืนนี้เป็นอย่างมากเลยครับ สำหรับบันทึกนี้

ขอบคุณครับพี่ชายขอบ

บางทีเป็นในส่วนของ Node ที่แยกตัวออกไปครับ แต่ละ Node ของ สกว. ก็แตกต่างกันไป

แต่ใน Concept การทำงานก็เป็นเรื่องของ "สร้า้งสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น" ชัดเจนอยู่แล้วครับ

ที่แม่ฮ่องสอนเราโชคดี ที่มี Node ที่มียุทธศาสตร์เชิงรุก ยุทธศาสตร์เชิงบุก และยุทธศาสตร์เชิงบู(บูรณาการ) ชัดเจน 

ให้กำลังใจครับพี่ ความตั้งใจดีๆสิ่งดีๆย่อมเชื่อมติดสิ่งดีๆ

วันนี้ผมยังให้เครดิต สกว.อยู่ เต็มที่ครับ 

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีผลข้างเคียงเชิงบวกมากกว่าที่เราคิดครับ โอเคว่าเป้าหมายหลักคือชุมชนท้องถิ่น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทีมวิจัยตลอดจนผู้คนมากหน้าหลายตาที่มีส่วนร่วมในการวิจัยได้ใช้กระบวนการนี้ขัดเกลาตัวเองไปด้วย จตุพรก็เป็นผลผลิตของงานวิจัยแบบนี้เช่นกัน ในเชิงนามธรรม งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจำนวนมากได้กลายเป็นวาทกรรมทางการเมือง ที่ตอบโต้ความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมบริโภคนิยม แม้คนที่ไม่ได้ทำงานวิจัย แต่ก็ได้รับผลพวงจากคุณูปการของงานนะครับ เพราะเราต่างอยู่ในโลกใบเดียวกัน งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ชื่ออาจจะเฉพาะเจาะจงว่าเป็นพื้นที่ชุมชนเล็กๆที่ใดที่หนึ่ง แต่หากพินิจดีๆแล้วจะเห็นว่ามันกระทบต่อคนในวงกว้าง ทั้งประเทศ หรือทั้งโลกเลย เพราะเป็นเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนที่คนจนๆพยายามต่อสู้ที่จะกำหนดชีวิตของตน ดังนี้ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่เราควรร่วมสนใจไม่ทางใดก็ทางหนึ่งครับ.......อ้อ ช่วงนี้บล็อคผมเงียบไป แต่ยังมีชีวิตนะครับ ผมเป็นคนเขียนช้า แต่จะกลับมาเขียนอยู่ ขอบคุณที่ติดตามนะครับ

แล้วงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์หรือไม่ หรือเป็นเพียงกิจกรรมที่มุ่งการติดอาวุธทางปัญญาซึงอาวุธอาจหล่นหายทันที่ที่คนภายนอกไม่เข้าไปเพราะขาดทุนอุดหนุนที่จุใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท