จับภาพ KM คนนอกระบบ : เมืองปาย แม่ฮ่องสอน (๒)


การปรับเปลี่ยนบทบาทของ กศน. ในเรื่องการจัดการศึกษา อาจต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเป้าไป ในเรื่องการจัดการความรู้ของชุมชน ตามปรัชญา "การศึกษาตลอดชีวิต"

มาต่อตอนที่ ๒ ตอน "จับภาพ KM คนนอกระบบ แม่ฮ่องสอน (๒)"

 

หลังจากที่พวกเรา ไปที่ ศบอ.ปายแล้ว ได้สัมภาษณ์ท่านหัวหน้า ศบอ.ปาย และได้แลกเปลี่ยนกับ บรรรดาอาจารย์ที่นี่แล้ว พอเห็นกระบวนการที่วางแผนการแก้จนอย่างน่าสนใจ...สิ่งหนึ่งที่ประจักษ์ชัด

ท่าน หน.ศบอ. บอกว่า ต้องลงไปดูในพื้นที่จริง ที่บ้านโป่ง ต.เวียงเหนือ อ.ปาย ว่าตรงนั้นมี "ของดีที่อยากอวด"

อาจารย์สุรินทร์ หมูคำ ได้พา ไปที่ บ้านโป่ง ตามคำท้าทาย ในช่วงเย็นย่ำของวัน..

บรรยากาศช่วงเย็นที่ปาย ยังคงสงบร่มเย็น เห็นภาพวิถีชาวบ้านตลอดสองข้างทาง วิถีที่ไม่เร่งรีบแบบนี้ คนเมืองคงอิจฉาพวกเรา

ไม่นานพวกเราก็มาถึง บ้านพ่อกำนัน เห็นอาจารย์สุรินทร์ บอกว่า ได้นัดพบปะชาวบ้านกันที่นี่ อาจารย์ผุสดี ช้ามะเริง อาจารย์ กศน.ที่ทำงานคลุกคลีกับชุมชนที่นี่ เดินทางเข้ามาสมทบ ชาวบ้านทยอยเข้ามาสบทบเรื่อยๆ วงสนทนาก็เริ่มต้นขึ้น

 

"ของดีที่อยากอวดของชุมชน ก็คือ การสร้า้งอาชีพที่เหมาะสมกับชุมชนที่นี่  ถึงแม้จะไม่ได้รายได้เพิ่มเติมอะไรมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ ชุมชนลดรายจ่าย และ มีกระบวนการคิด อาชีพอื่นๆที่สามารถจะสร้า้งมูลค่าเพิ่มจากผลผลิต จากทุนที่พวกเขามีอยู่ " อาจารยผุสดี เอ่ยถึง..เรื่องราวเบื้องต้นให้พวกเราฟัง

อาจารย์ผุสดี ช้ามะเริง (ครูแตน) กำลังเล่ารายละเอียดของกระบวนการให้พวกเราฟัง

ที่บ้านโป่ง มีกลุ่มอาชีพ เพาะเห็ดฟาง และกลุ่มเย็บเสื้อไต(ไทยใหญ่) เป็นกลุ่มหลักๆสองกลุ่ม ที่มีการผลักดันจาก ศบอ. ภายใต้ความต้องการของกลุ่มชุมชนเอง

พี่สาวคนหนึ่ง ในวงสนทนา เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มบอกว่า "อยากทดลองทำดู ตอนแรกก็ไม่ค่อยมั่นใจ แต่อาจารย์ผุสดี ท่านได้มาแนะนำเรื่อง การเพาะเห็ด เราก็มองว่า เห็ดเป็นอาหารที่เราชอบกิน และที่สำคัญเรารับเห็ดพวกนี้จากเชียงใหม่ หากเราไม่ได้ปลูก เพาะ เอง ก็เลยสนใจทดลองทำดู

ตอนแรก ทำแปลงเห็ดฟาง ได้สองวัน ก็มาดู สี่วันก็มาดูอีก ไม่มีเห็ดขึ้น ก็เริ่มท้อใจ แต่พอวันที่ เจ็ดเริ่มมีเห็ดเล็กๆแทรกขึ้นมา ให้เห็นพวกเราดีใจกันมากเลย ก็เลยบอกให้อาจารย์ผุสดีมาถ่ายรูป เพราะความดีใจ ไปทางไหนก็มีคนคุยเรื่องเห็ด

สมัยก่อนก็มีเวลาว่างเยอะ ไม่ได้ทำอะไร ตอนนี้ทุกบ้านที่เป็นสมาชิก ก็เพาะเห็ดได้มีเห็ดขายบ้างกินบ้าง พี่คิดว่าดีมากเลย.."

พี่สาวคุยให้ฟังอย่างตื่นเต้น เรื่อง "ความสำเร็จในการเพาะเห็ดฟาง"

อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่กระบวนการที่อาจารย์ผุสดีนำลงไปในชุมชน น่าสนใจ เพราะก่อนที่จะคิดอาชีพต่างๆลงไป มีการพูดคุยกับชาวบ้านอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง ดูงานก็หลายครั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจทดลองทำดู..ไม่ลองไม่รู้ อาจารย์บอกอย่างนั้

จากเพาะเห็ดฟาง สู่ การเย็บผ้าไทยใหญ

กลุ่มเย็บผ้าไตใหญ่ ก็เป็นสมาชิกของชุมชนที่มีความสนใจที่คล้ายคลึงกันอีกกลุ่มหนึ่ง ปัจจุบันการเย็บเสื้อไต ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เหตุเพราะ การเย็บ การปักใช้เวลามาก กว่าจะได้เสื้อ ๑ ตัว ผู้ตัดเย็บและปัก ต้องอาศัยทักษะ มาก...กลุ่มนี้จึงจำกัดเฉพาะสมาชิกไม่กี่คนที่สนใจ

ทั้งสองกิจกรรม เป็นเหมือนการเริ่มต้น ที่ชาวบ้านคิดกิจกรรมแก้จนขึ้นมา โดยมี ศบอ.ปาย เป็นผู้สนับสนุนกระบวนการ

หากถอดกระบวนการโดยละเอียดแล้ว ความมีชีวิตชีวา ในการทำกิจกรรมในหมู่บ้าน ชุมชน กศน.มีบทบาทเป็นอย่างมาก

การปรับเปลี่ยนบทบาทของ กศน. ในเรื่องการจัดการศึกษา อาจต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเป้าไป ในเรื่องการจัดการความรู้ของชุมชน ตามปรัชญา "การศึกษาตลอดชีวิต"

เรื่องราวดีๆยังมีอีกมาก ที่ คนนอกระบบ ที่ปายได้สรรค์สร้าง...ในโอกาสหน้าจะได้นำมาเล่าสู่กันฟังอีก

"น้อยก็หนึ่ง

เล็กแต่งาม

ศบอ.ปาย "

 

 

หมายเลขบันทึก: 45146เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2006 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

 พี่สาวที่เล่าเรื่องการเพาะเห็ดชื่อ คุณอู๊ด  (พรทิพย์  แสงเขิ่ง)   ค่ะ  

ขอบคุณ "สารถี" มิตรผู้อารีย์แห่งเมืองปาย ที่ทำให้เราเห็น "KM" ที่แทรกอยู่ในบริบทต่าง ๆ ของวิถีปาย 

ขอขอบคุณอีกครั้งนะคะ

สำหรับหนุ่มปายหัวใจโบยบินคนนี้

 

 

พี่ตุ่ม KMI

ถึงกรุงเทพแล้วเหรอครับ...!!!

ไม่รู้จะเข็ดแม่ฮ่องสอนหรือยัง ที่พาตะลุยน้ำ ข้ามดอย

ขอบคุณครับ สำหรับ ชื่อพี่สาว ที่เล่าเรื่องเพาะเห็ด ผมลืมถามพี่เขาครับ มัวแต่สนใจเรื่องอื่นๆ

ยินดีครับ ที่ได้แลกเปลี่ยน

ไม่เข็ดค่ะ  มีเวลาเมื่อไหร่ต้องหาโอกาสไปอีกแน่ ประสบการณ์ดี ๆ อย่างนี้ใช่จะได้สัมผัสกันได้ง่าย ๆ เดี๋ยวรอฟิตร่างกายให้ดีกว่านี้ จะกลับไปปีนเขา เข้าถ้ำ ตามคำเชื้อเชิญของ "เพื่อน"ชนเผ่าที่ปางมะผ้า 

แม้ได้รู้จักพบกันเพียงไม่นาน  ต้นมิตรภาพก็เริ่มเบ่งบาน ชักชวนอยู่ในใจให้หาโอกาสมาเยี่ยมเยือน.....

ฮั่นแน่...แอบไปปิ้งหนุ่มดอยเข้าแล้วละสิ พี่เรา...

ที่แน่ๆเรากำลังจะมี การรวมชาว Blog ที่ปาย คาดว่าน่าจะปลายปีนี้

ปลายฝนต้นหนาวครับ ...

คิดว่าพี่ตุ่มและ พี่น้อง สคส. คงจะมาเยือนพวกเราอีกครั้งนะครับ 

ชวน อาจารย์ ดร.ประพนธ์ มาด้วยครับ บอกว่า แฟนๆเรียกร้องครับ 

  • KM เนียนอยู่ในสิ่งที่ทำ..เห็นด้วยกับคุณครูครับว่า ...ไม่ลองไม่รู้
  • เมื่อไม่รู้ก็ต้องทำ ...
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน

ใช่แล้วครับพี่วีรยุทธ

ไม่ลองเราไม่รู้ เมื่ออยากรู้ก็ต้องทำ เป็นการเรียนรู้ รู้แลเวนำมาพัฒนาที่ถูกทิศถูกทาง

ขอบคุณครับพี่วีรยุทธ

เชียงใหม่ในวันที่ ๗ ก.ย.หาก ผมทันผมจะไปที่ มรภ.ชม.ครับ

  • น้องเอก พี่ขอยืนยันมิตรภาพที่เกิดขึ้นระหว่างตัวเรากับคนสคส.ว่า
  • มิตรภาพมอบไว้ด้วยใจรัก
  • ผูกสมัครตรึงแน่นดังแผ่นหิน
  • ตราบเมื่อใดฟ้ายังอยู่คู่กับดิน
  • มิตรภาพก็ไม่สิ้นไปจากกัน

สวัสดีครับพี่เล็ก

การทำงานที่มีอุดมการณ์ที่คล้ายกัน มิตรภาพก็ เชื่อมกันอย่างรวดเร็ว...

จากที่ได้สัมผัส และพูดคุย ผมคิดว่า...โชคดี และยินดีที่ได้รู้จักและร่วมกันสร้างสรรค์สังคม

ขอบคุณครับ

ขอบคุณผู้ที่มีส่วนทุกท่าน....... 

เห็นภาพการทำงานของครู กศน. ครูผุสดี ช้ามะเริง แล้วชื่นใจมากเลยค่ะ ที่ทำงานเสียสละทุ่มเทให้กับชุมชน

"เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

การแก้ไขปัญหาความยากจนไม่ต้องใจร้อนค่ะ ก็ค่อยๆแก้ไป แต่ยังชุมชนต้องมีความสุขกับกระบวนการ

ให้กำลังใจครู ที่ ศบอ.ปาย ทุกท่านนะค่ะ 

ชาญศักดิ์ วิริยะสกุลพงษ์

"น้อยก็หนึ่ง น้อยนั้นงาม"

ให้กำลังใจกับความตั้งใจของคุณครูด้วยครับ  และให้กำลังใจอาจารย์จตุพร เขียนบันทึกดีๆอีกเรื่อยๆนะครับ

ขอบคุณคุณรัดเกล้า และคุณชาญศักดิ์ วิริยะสกุลพงษ์ ครับ

จะรับฝากกำลังใจต่อให้ คุณครูผุสดี ช้ามะเริง  ครับ 

หากได้แวะเวียนมาเมืองปาย มีโอกาสดีๆจะได้แนะนำให้รู้จักกับกระบวนการทำงานที่เนียนอยู่ในเนื้อ KM คนนอกระบบ ศบอ.ปาย แม่ฮ่องสอน

เห็นความตั้งใจของบรรดา "คนนอกระบบ" ที่นี่แล้ว รู้สึกมีพลังใจครับ

ผมกำลังจะไปช่วยเรื่อง ของการพัฒนาโจทย์วิจัย ในชุมชน ร่วมกับคุณครู กลุ่มนี้ครับ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท