"คิเบาะ เดะบือ" งานวิจัยที่น่ารักของชุมชนบนดอย


กระบวนการศึกษาวิจัย ในการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ผมเชื่อว่า ชาวบ้านได้เรียนรู้กระบวนการ วิเคราะห์ตนเอง เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ...ไม่ว่าเป็นปัญหาใดๆที่เกิดขึ้นในชุมชน

ผมได้หนังสือประสบการณ์วิจัยจากพื้นที่ จากน้องๆทีมงานเครือข่ายความรู้ สกว.สำนักงานภาค  เป็นหนังสือเกี่ยวกับ การเก็บประสบการณ์งานวิจัยจากพื้นที่

"โครงการวิจัยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการให้ป่าไผ่มีหนอนไม้ไผ่ (คิเบาะ) และในน้ำมีกบ (เดะบือ) ชุมชนแม่ยางส้าน หมู่ ๘ ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่"

เป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก ผมอ่านรวดเดียวจบ เพราะชอบชื่อหนังสือ หน้าปก และกระบวนการวิจัยที่อยู่ในเล่ม

งานวิจัยใช้คิเบาะ และ เดะบือ เป็นตัวเดินเรื่อง เพื่อเป็นกุศโลบาย ให้คนในชุมชนรักป่า หวงแหนป่าของพวกเขา...เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ู          รูุปนี้ถ่ายโดยพะตี่อาศรี ศรีโย บ้านห้วยฮี้ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า ที่มาพร้อมกับความเจริญ สายน้ำเริ่มเหือดหายไป สัตว์ป่าเริ่มสูญพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่อยู่คู่กับวิถีชุมชน เช่นกบ และหนอนไม้ใผ่เริ่มสูญหายไป

 

คิเบาะ "หนอนไม่ไผ่" ภาพจาก www.lannafood.com 

 

ทำให้พี่น้องปกาเกอญอเริ่มตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยสัตว์ทั้งสองประเภทเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติรอบๆชุมชน

มีคำกล่าวของคนปกาเกอญอ ที่ว่า

"เอาะทีเกอะตอที เอาะก่อเกอตอก่อ เอาะคิเบาะ เกอะตอคีเบาะ เอาะเดะบือ เกอะตอเดะบือ"

แปลว่า "กินน้ำต้องรู้จักรักษาน้ำ กินหนอนไม้ไผ่ต้องรู้จักรักษาต้นไผ่ กินกบเดะบือ ต้องรู้จักรักษาห้วยหนองน้ำ"

ความคิดของทีมงานวิจัยในชุมชน เป็นจุดก่อเกิด ให้เกิดโครงการวิจัย ที่น่ารัก โดยมีชาวบ้านเป็นนักวิจัย เรียนรู้ธรรมชาติที่อยูู่รอบตัว

เป็นงานวิจัยชิ้นเล็กๆไม่ได้ใช้งบประมาณมากมาย แต่ทว่ายิ่งใหญ่ ในความรู้สึกของพี่น้องบ้านแม่ยางส้าน เป็นการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอดของพวกเขา และผืนป่าอันเป็นชีวิตของพวกเขา

กระบวนการศึกษาวิจัย ในการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ผมเชื่อว่า ชาวบ้านได้เรียนรู้กระบวนการ วิเคราะห์ตนเอง เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ...ไม่ว่าเป็นปัญหาใดๆที่เกิดขึ้นในชุมชน

เป็นความงดงามของกระบวนการทางปัญญากลางป่า อำเภอแม่แจ่ม

 

 

หมายเลขบันทึก: 47318เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 07:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ชอบงานวิจัยแบบนี้
  • เป็นงานวิจัยที่มีชีวิต
  • ฝากความคิดถึงไปยังพี่น้องปกากะญอด้วยครับผม
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีคะ....สายแล้วจึงได้เข้ามาทักทาย

บันทึกของคุณเอก...หากรวมเล่มเมื่อไหร่บอกหน่อยนะคะ...กะปุมจะขอจับจองเป็นคนต้นๆ...เลยคะ เพราะอ่านง่าย สบายๆ แต่มีสาระเยอะมากเลย...

....

เหมือนมานั่งอ่านหนั่งสือ อสท. เลยคะ

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

  เข้ามาเยี่ยมค่ะ

  • ชอบงานวิจัยแบบนี้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

อาจารย์ ดร.ขจิต

รู้สึกว่าอาจารย์จะผูกพันกับพี่น้องปกากะญอ พอสมควรนะครับ

กลุ่มชาติพันธุ์นี้มีสิ่งดี ที่เป็นภูมิปัญญาที่งดงามหลากหลายมากครับ ช่วงหลังผมจะมีงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นทำกับปกากะญอ หลายชิ้นครับ...ขอบคุณครับ

Dr.Ka - Poom

ขอบคุณครับ ที่อ่านแล้วผ่อนคลายได้ สาระ ผมต้องการให้ทุกท่านที่มาอ่านบันทึกผม ได้ทั้งความเพลิดเพลินและสาระ ..สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ใน Blog - Gotoknow.ครับ

หากมีอะไรที่ผมขาดตกบกพร่องไป...แนะนำผมด้วยครับ

ขอบคุณครับ

น้องพิไล สาว ม.อุบล

จริงๆที่อีสานมีของดี ภูมิปัญญาที่น่าสนใจมากมายครับ น้องพิไลเป็นหนึ่งในนักพัฒนาที่จะสานต่องานดีๆที่อีสานครับ

ผมเชื่อว่า...น้องพิไล จะทำได้ดีครับ 

................................... 

 ขอบพระคุณทั้งสามท่านครับ

 

ได้เห็นบักทึกหน้านี้เมื่อ 31 ส.ค.   และแนวคิดที่มีคุณคุณค่าในบันทึก http://gotoknow.org/blog/thaikm/29351

จึงร้อยคำ.. ด้วยนับถือและศรัทธาความดีงามในหัวใจของทุกท่าน..

 

ขอบคุณครับ คุณ dendelion

ผมตามLink ไป โชคดีเหมือนเจอของดีที่ อาจารย์หมอเขียนไว้นานแล้ว และผมยังไม่ได้อ่านครับ

ขอบคุณที่ช่วยหาให้เจอครับ

นับถือและศรัทธาในหัวใจอันดีงามของคุณ dendelion และทุกท่านในGotoknow 

ร้อยคำไว้.. ได้ดังนี้ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์จตุพร..สำหรับความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาที่งดงามของเพื่อนชาวปกาเกอญอที่น่าศึกษาค่ะ

 

ส่วนนี้ของอาจารย์จตุพรค่ะ  ขอบคุณค่ะสำหรับบันทึกงามๆ(ภาษาล้านนา) หลายบันทึก..

อยากชื่นชมความงามตามบันทึก
ให้หวนนึกมิตรภาพงามไม่หมองเก่า
เป็นคุณค่าชีวิตที่รับเอา
มาเติมเข้าให้ชีวีมีชีวา

งามป่าเขางามใบไม้งามธรรมชาติ
งามดั่งวาดงามมุ่งมาดงามสรรหา
งามชุมชนงามผู้คนงามวิญญา
งามคุณค่างามต่อใจงามไม่เลือน

ขออนุญาตต่อยอดดังนี้ค่ะ..

คุณ dendelion 

วันนี้ผมเตรียมเอกสาร ในวันรุ่งขึ้นผมจะไปบ้านจีนรุ่งอรุณ เพื่อไปเตรียม และดูความเรียบร้อย ชุมชนก่อนที่ทาง สกว.จะเข้าไปประเมิน เพื่อส่งโครงการวิจัย ที่บ้านรุ่งอรุณเป็นโครงการวิจัยเด่นครับ

งานนี้เป็นความภูมิใจของพวกเรา...ที่นำมาบอกครับ 

ผมชอบภาพดอกหญ้า ในโทนสีฟ้าสดใส ดูมีชีวิตชีวา และมีความหมายดีเหลือเกิน

ขอบคุณครับกำลังใจที่มีให้ตลอดเวลา

สู้ๆๆ ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท