การเรียนรู้จากภายใน (Inside out) ในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น


กระนั้นก็ตามงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะช่วยให้ชุมชนก้าวไปตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน หากปราศจากการมีส่วนร่วมที่แท้จริงจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กระบวนการเรียนรู้ของคนท้องถิ่น เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีการผลิต การใช้ความรู้ตลอดเวลา ด้วยเพราะความรู้เป็นเครื่องมือในการนำพาชีวิตไปข้างหน้าความรู้จะทรงพลังขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับ วิธีการใช้ความรู้นั้นอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพสูงสุดในวันที่กระบวนการสร้างความรู้ภายนอกอ่อนแรง และไม่เอื้อ ไม่สอดคล้องกับท้องถิ่น กระบวนการพัฒนาก็หยุดชะงัก หรือไม่ก็ช้าจนไม่ทันการ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center"> <p align="left">ความสนุกสนานของการโล้ชิงช้าจีนยูนนานบ้านสันติชล อ.ปาย เป็นเสมือนการหมุนรอบเกลียวความรู้ที่มีแรงเหวี่ยงจากคนท้องถิ่น สนุกสนานและเป็นธรรมชาติ</p> <p align="left"> </p>  </div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จึงเหมือนเป็นเครื่องมือที่เป็นธรรมชาติช่วยให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีและใช้ความรู้ท้องถิ่นที่มากมายหลากหลายได้อย่างเต็มที่ ภายใต้บรรยากาศการร่วมมือ ร่วมใจ คิดเอง ทำเอง แก้ปัญหาเอง…เป็นธรรมชาติของสังคมที่พัฒนา</p><p> </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การให้โอกาส ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ใครๆก็ต้องการ เพราะความไม่พร้อมในตัวตนของสิ่งๆเดียว การให้โอกาสได้พัฒนา ได้คิด เพื่อการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้โอกาส ให้ชุมชนคิดวิเคราะห์ ทดลองกับปัญหาปัจจุบัน และวางแผนกับอนาคตของตนเอง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การเรียนรู้จากภายใน (Inside out) เป็นการเรียนรู้ที่ชุมชนจะต้องคิดค้นหาจากภายในชุมชน ภายในบุคคลซึ่งเป็นปัจเจกของชุมชน ตลอดจนการฟื้นความรู้จากภายใน รู้จักตนเอง (คนเหนือเรียก “ฮู้คิง”) รู้จักทรัพยากร  รู้จักภูมิปัญญา สุดท้ายมานั่งคุยร่วมกันว่าเราจะพัฒนาชุมชนของเราได้อย่างไร เมื่อเรารู้ตัวเองดีเช่นนี้ “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การตัดสินใจ ภายใต้ศักยภาพ ความพร้อมที่มีของชุมชน ทำให้การดำเนินการพัฒนาเป็นไปอย่างมีระบบ  ผ่านการวิเคราะห์คิดร่วมกัน…ผลจะเป็นอย่างไรนั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วหน้า หากไม่เป็นไปตามที่ต้องการ พร้อมที่จะแสวงหากระบวนการ วิธีการใหม่ เพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุด คำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน  นอกเหนือจากนั้นคือ “ความสุข” ที่เป็นแบบชุมชนต้องการ</p><p> </p><p> </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กระนั้นก็ตามงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะช่วยให้ชุมชนก้าวไปตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน หากปราศจากการมีส่วนร่วมที่แท้จริงจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง</p><p> </p><p> </p><ul>

  • ชุมชนท้องถิ่น : จัดการปัญหาด้วยตนเอง
  • นักวิจัย: เข้าใจว่างานวิจัยไปเริ่มงานที่  “ชุมชน”
  • นักพัฒนา : เริ่มงานพัฒนาจากชุมชน
  • แหล่งทุนวิจัย : อาจเป็น สกว. หรือ องค์กรใดๆ เข้าไปในรูปของกระบวนการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การทำงานสอดคล้องประสานกันตามบทบาท และกระบวนการที่เข้าใจความเป็นธรรมชาติ การให้โอกาสและการเคารพศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ ตลอดจนความรัก เอื้ออาทรที่พึงมีให้กันและกัน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p>ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็น ปัจจัยที่นำมาซึ่งความสำเร็จ ในการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน </p><p> </p><p> </p><p> </p><p> </p>

    หมายเลขบันทึก: 75229เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (22)

    คุณจตุพร  พอจะมีเรื่องเล่ากรณีของคนที่เกิดการเรียนรู้จากภายในมาเล่าบ้างไหมครับ

    อยากจะขอเรียนรู้ด้วยจริงๆ   พูดง่ายๆ คือจะขอเป็นนนักเรียนในเรื่องนี้ด้วยครับ   ผมเชื่อว่าคุณจตุพรต้องมีแน่ๆเลย

    อย่าลืมนะครับมีนักเรียนรออยู่

    • สวัสดีเจ้าอ้ายจตุพร
    • น้องบ่อเคยหันชิงช้าเหมือนในภาพเลยเจ้า ถ้าได้ไปลองนั่งคงม่วนแต๊นะเจ้า
    • อยากทำวิจัยชุมชน(ในอีสาน)  ขอคำแนะนำจากอ้ายโตยเน่อเจ้า  ที่ใดเปิ้นให้ทุน แล้วควรจะทำเรื่องอันหยังเจ้า ขออ้ายหื้อคำตอบไปที่อีเมล์นะเจ้า
    • ขอบคุณอ้ายนักนักเจ้า
    • และปีหน้าน้องมีโครงการจะเรียนต่อ ป.เอก สาขาวัฒนธรรมศาสตร์เจ้า  น้องเลยอยากเตรียมหัวข้อวิจัยไว้โตยนะเจ้า  ขอคำแนะนำอ้ายโตยเน่อเจ้า หื้ออ้ายตอบทางอีเมล์นะเจ้า
    • ขอบคุณอ้ายนักนักเจ้า

    อาจารย์ค่ะ เครื่องเล่นของจีนยูนนานน่าจะสนุกนะค่ะ

    เรื่องการพัฒนาชุมชนได้แนวคิดเพิ่มขึ้นมาอีก ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

    อาจารย์ Tawat ครับ

    เรื่อง"การเรียนรู้จากภายใน" ผมสนใจมากครับ เพราะเป็นการสังเคราะห์ตนเอง โดยการประมวลจากทุกสิ่งที่เป็นการเป็นอยู่ชีวิต

    เป็นโจทย์ที่ยากในการนำเสนอครับ แต่ก็น่าสนใจมาก

    ผมเคยเขียนมาหลายครั้ง เกี่ยวกับการเรียนรู้ภายใน ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของตัวผมเอง เป็นพัฒนาการของตนเอง เพราะอะไรหรือครับ? เพราะผมรู้ว่าผมก้าวมาอย่างไร เรียนรู้อย่างไร สุดท้ายผมนำไปใช้กับชีวิตผมอย่างไร

    อาจจะ Bias หรือเปล่า ...ผมมองว่าก็มีบ้าง แต่นั่นก็เป็นความจริงที่ผมอยากนำเสนอ

    สำหรับการทำงานกับคน ผมก็เห็นความเปลี่ยนแปลง แต่ผมเองก็ยากที่จะถอดตัวตนของเขาออกมาให้ตรงกับสิ่งที่เขาเป็นอยู่

    เห็นปรากฏการณ์บ้างแต่ก็ผิวเผิน หรือ เปลือก...

    ผมจะพยายามครับ ผมมี Case ในใจ ถอดบทเรียนทั้งตัวเองและบุคคลที่ผมรู้จักและเฝ้ามองเขาอยู่

    ไม่นานครับ..อาจารย์

    น้องอ้อ อ้อ - สุชานาถ

    สำหรับรายละเอียดเรื่อง CBR* ผมจะส่งให้ทางอีเมลล์นะครับ

    แต่ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับว่า หากต้องการทำงานวิจัย และร่วมเรียนรู้กระบวนการวิจัย มีแหล่งทุนมากมายเลยครับ ทั้งทุนจากสถาบันเอง ทุนจาก สกว. ที่ผมได้รับบ่อยๆ

    ยังไงก็ตามเรื่องของ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นไปเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยเน้นประเด็นการพัฒนาคนท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัย ส่วนหนึ่งเราเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง แต่จะเป็นพี่เลี้ยงระดับใด ดูพื้นที่อีกทีครับ

    เรื่อง"วัฒนธรรม" น่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะภาคอีสานที่มีวัฒนาธรรมที่หลากหลายและทรงคุณค่า ที่มหาสารคาม กาฬสินธ์ ใกล้ๆ น้องอ้อ ผมคิดว่ามีประเด็นที่น่าศึกษา และร่วมเรียนรู้มาก(เน้น..ว่ามาก) ครับ

    Blogger หลายๆท่านที่คลุกคลีในวงการ"วัฒนธรรม" เช่น ดร.อุทัย(umi) คุณออต ท่านเหล่านี้เป็นที่ปรึกษาได้ดีเลยครับ

    หากประเด็นการศึกษา ก็มีท่านเม็กดำ ๑ ที่กำลังทำอยู่ในหลายๆประเด็น รวมทั้งเป็น RC ในพื้นที่ด้วย

    แนวเกษตร(ซึ่งเป็นวัฒนธรรมด้านอาชีพ)  ก็มีท่าน ดร.แสวง รวยสูงเนิน ท่านครูบา แห่งมหาชีวาลัยอีสาน

    เห็นมั้ยครับว่า เราโชคดีที่ได้เรียนรู้ ในสายใยของ Gotoknow ครับ

     

    * CBR : Community Based Research

    คุณ Chah

    จริงๆ ชุมชนจีนยูนนานแม่ฮ่องสอน เรามีการละเล่นที่สนุกสนานหลายอย่างครับ เช่นลูกข่าง โยนลูกช่วง  เป็นต้น

    หากมีโอกาสได้มาเยี่ยมช่วงตรุษจีน นี้ก็มีโอกาสได้ชมครับ

    สำหรับแนวคิดต่างๆ ผมเพียงหยิบประเด็นเล็ก ประเด็นน้อย ออกมาเขียนเพื่อให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

    เมื่อไหร่จะมี Blog ของคุณ Chah สักทีครับ!!! รออยู่ครับผม

      หิ่งห้อยหายเงียบไปนานเป็นคนโชคดีเรื่องงานค่ะ จะมีมาตลอดเวลา ได้คิด วางแผน บริหารจัดการ เสร็จเรื่องนั้นต่อเรื่องนี้ วันนี้ได้อ่านวิจัยท้องถิ่นของอาจารย์ นี่ละ กระบวนการวิจัยแบบ PAR ตัวจริงใช่ไหมคะ พี่ฟังวิทยากรพูดเรื่องการวิจัยแบบPAR หลายครั้งก็ค่อยๆทำความเข้าใจมาเรื่อยๆ และได้มีประสบการณ์ทำกับทีมงาน ล่าสุดได้ฟังวิทยากรพูดเรื่องนี้อีก ท่านบอกว่า จะเป็น PR(Participatory Research) AR(Action Research) หรือPAR(Participatory Action Research) ก็ต้องดูกระบวนการวิจัยแต่อะไรก็สู้การเรียนรู้จากการลงปฏิบัติจริงไม่ได้ นะอาจารย์ ช่วงนี้อากาศกลับมาเย็นอีกครั้ง คิดถึงเด็กและคนแก่ และดีใจที่เราได้ให้ผ้าห่มกันหนาวไป ขอบคุณค่ะ

    อาจารย์ หิ่งห้อย

    อาจารย์มองโลกในมุมบวกเสมอ มีงานเยอะอาจารย์ได้มองต่ามุมว่าโชคดี ในขณะหลายท่าน เริ่มบ่นอุบในใจ...ต่างกันตรงนี้นะครับ

    งานวิจัยแบบ PAR

    มีหลากหลายกระบวนการครับ แต่หัวใจก็คือ "การมีส่วนร่วม" แต่จะระดับใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหากระบวนการของงานครับ

    ตัว P หรือ p

    ตัว A หรือ a

    ตัว R หรือ r

    ตัวไหนเล็กตัวไหนใหญ่ แล้วแต่กระบวนการที่ลงไป ครับ

    หลากหลายครับ แต่ยังไงก็ตามผมคิดว่า ขอเป็นกระบวนการที่เน้นความเป็นธรรมชาติ และเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

    อากาศหนาวมาอีกครั้ง...ผมกำลังนึกว่า เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่บรรดาผู้เอื้อเฟื้อ และที่ท่านอาจารย์หิ่งห้อยได้ได้ร่วมด้วยช่วยกัน จะได้ใช้ประโยชน์สูงสุดนะครับ

    อาจารย์สุขสบายดีนะครับผม

    • สวัสดีครับคุณเอก
    • ก่อนหน้านี้, นานและนานมาก  ผมเคยได้อ่านและเคยเห็นภาพการโล้ชิงช้าฯ นี้  แต่ก็ไม่แจ่มชัดและมีชีวิตชีวาเท่าภาพนี้
    • ชุมชนท้องถิ่น : จัดการปัญหาด้วยตนเอง  เป็นกระบวนทัศน์ที่ดีและถือว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาท้องถิ่นโดยแท้
    • เท่าที่ทราบ  มีงานวิจัยหลายชิ้นประสบความสำเร็จในเชิงเนื้อหาและการสังเคราะห์ข้อมูล แต่เมื่อผ่านพ้นวิถีวิจัย ชุมชนก็กลับเข้าสู่สภาพเดิม  เพียงเพราะปัญหาความต่อเนื่อง ขาดการสานต่อ หรือแม้แต่ปัญหาของชุมชนที่ไม่เคยชินกับการต้องลงมือต่อยอดกระบวนการได้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะการบูรณาการระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเครื่องมืออันเป็นวิชาการสมัยใหม่  จนทำให้การพัฒนาชุมชนสะดุด หรือชะงักงันอยู่บ่อยครั้ง
    • กระนั้น, ผมก็เชื่อว่าปัญหาเหล่านี้คุณเอก พบเจอและเอาชนะมาแล้วมากต่อมาก
    • ไม่ว่ายุคสมัยใด  "การมีส่วนร่วม"  ดูจะเป็นทางออกและความหวังที่ไม่รู้จบสำหรับการพัฒนาท้องถิ่น ..(ใช่ไหมครับคุณเอก)
    • ขอบคุณครับ

    อากาศหนาวมาอีกแล้วนะคะ ... ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ

     

     คุณ  แผ่นดิน 

    การมีส่วนร่วมเป็นทั้ง วิธีการและเป้าหมาย ของงานพัฒนา และงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม หรือ ที่เรียกว่า "ประชาพิจัย" (ดร.เสรี พงศ์พิศ)

    ในที่สุดแล้วผมว่า ชุมชนต้องพึ่งตนเอง และเดินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงครับ เพราะไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่านี้ ...เราหวังจากอะไรได้ครับ คุณแผ่นดิน และที่ครูบา บอกว่า แค่จะหาข้าวสารกรอกหม้อ เรายังหายากแล้วครับ ช่องว่างและโอกาสระหว่างคนรวยคนจนต่างกันมากเลยครับ

    งานวิจัย...ที่ทำในท้องถิ่น ผมคิดว่า ช่วงหลังเราเน้นเรื่องการพัฒนาศักยภาพคนมากขึ้น ที่เกิดปรากฏการณ์งานวิจัยจบ งานก็ไม่ได้รับการสานต่อ ก็อาจเกิดจากงานวิจัยนั้นไม่ได้พัฒนาศักยภาพคนท้องถิ่น ไม่ได้ให้คนท้องถิ่นมองงานวิจัยเป็นเครื่องมือ...เมื่อจบก็จบตามเวลา

    งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเน้น "การสร้างคน" การสร้างนักวิจัยชาวบ้านครับ แนวทางนี้หละ ผมว่า ชาวบ้านพึ่งตนเอง โดยใช้ปัญญานำ

    ขอบคุณ คุณแผ่นดินมากครับ ที่เป็นกัลยาณมิตร ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกๆประเด็น แม้จะหลากหลายและแตกต่าง

    เรียนรู้ร่วมกันนะครับ

     

    (รูปใหม่สื่อความหมายของเดินทางตามหาฝัน)

    อาจารย์หมอนนทลี

    ขอบคุณอาจารย์ครับ...

    อากาศหนาวมาอีกแล้ว สำหรับคนมีคู่ และใกล้วาเลนไทน์แล้ว เป็นเรื่องที่ดีนะครับ

    - ผมอยากเล่นโล้ชิงช้าบ้างครับ - ดูเหมือนเป็นความหลากหลายในความเป็นหนึ่ง (จากภาพ) - รอยยิ้ม น่าจะหมายถึงความสุขที่เราสัมผัสได้ - เห็นทีต้องจัดการงานที่มีอยู่ ไปหารอยยิ้มในป่าเขาลำเนาไพรบ้างแล้วกระมัง

    ผมว่า ถ้าชุมชนทำทั้ง Inside out และ มีคนช่วยกรอง Outside inได้ ระบบการวิจัยและพัฒนาจะสมบูรณ์ครับ

    ตอนนี้มีแต่คนทับถม และซ้ำเติม เลยต้องทำ inside out ไปก่อนครับ

    ระบบของคุณจตุพร มีนักวิชาการช่วยเติมให้หรือเปล่าครับ (ไม่นับซ้ำเติมนะครับ)

    • ขอบคุณครับคุณเอก  ผมมีองค์ความรู้เรื่อง "วิจัย" เพิ่มขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อยจากบันทึกของคุณเอกนี่แหละ
    • ขอบคุณอีกครั้งครับ

     

    อาจารย์ นม.

    ต้องตัดใจ ...ให้ตัวเองว่างเว้น วางงานหลัง และแบกเป้มาในทันทีครับ หากตั้งเป็นโครงการไว้ ก็จะล้มบ่อยๆ

    อากาศดีๆช่วงหนาว (กพ.ก็ยังหนาว) บรรยากาศดีครับ

    เรียนเชิญครับ...

     

    อาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

    ในกระบวนการเรียนรู้มีทั้ง outside in  ครับ นอกจากจะเรียนรู้ตนเอง ก็ต้องรู้เรื่องของโลกไปพร้อมๆกันด้วย

    เรื่อง "กรอง" จากกระแสจากภายนอกค่อนข้างยากครับ แต่กระบวนการพัฒนาก็จะช่วยให้ท้องถิ่นรู้เท่าทัน เพราะกระแสมันแรงมากครับ

    หากอาจารย์หมายถึง Outside in ที่ข้างนอกทำเพื่อหลอกล่อคนข้างใน ...ผมพอที่จะเห็นการพยายามปฏิเสธของท้องถิ่นที่พร้อมและพัฒนาจากกระบวนงานวิจัยบ้างครับ..เป็นเรื่องที่น่ายินดี

    แต่ก็เป็นหมู่บ้านส่วนน้อยในสังคมเท่านั้น

    นั่นคือ พลังของปัญญา ที่เกิดขึ้นในชุมชนครับ

    คุณ แผ่นดิน

    เรียกว่าเป็น "งานวิจัยทางเลือก" นะครับผม :)

    ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนครับ

     

     

    ขอบคุณ อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง

    ผมไปเที่ยวเพชรบูรณ์ และพิษณุโลกมาครับ เลยมาสายบ้าง แต่ก็รีบมาอ่านบันทึกครับ

    ขอบคุณครับอาจารย์

    เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องใช้ความเข้าถึง  เข้าใจ  และใส่ใจ  ผมกำลังค้นหาวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีส่วนร่วม  ถ้าได้ความรู้ดีๆนำมาเผยแพร่ต่อไปครับ

    น้อง  ปริวัตร เขื่อนแก้ว

    น่าสนใจมากครับ ในงานวิทยานิพนธ์ของน้อง หากดำเนินการ และสรุป ทยอยเขียนบันทึกออกมาจะเป็นประโยชน์แก่ท่านอื่นๆมากครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท