ปลูกคน ควรจะ ใส่ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์ ดีกว่ากันครับ


สวัสดีครับทุกท่าน

          จากที่เคยได้พูดคุยกันในบันทึกของคุณ Conductor บทความ เกร็ดประวัติศาสตร์ Google กับบรรยากาศการเรียน ผมได้ให้ความเห็นท่อนหนึ่งเกี่ยวกับการศึกษาไทยว่า

  • ผมชักอยากจะเทียบการศึกษาไทย เหมือนการใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปแล้วทุกทีครับ หรือเหมือนการให้น้ำเกลือผู้ป่วยเลยครับ เป็นการเคี้ยวให้แล้วก็ป้อนให้ จนปากไม่ค่อยได้เคี้ยว น้ำย่อยในปากไม่ค่อยได้ทำงาน กรามไม่ค่อยได้ขยับ จนอาจจะส่งผลให้สมองไม่คิดจะสั่งการเลยก็ได้ครับ หากปล่อยไว้นานๆ

  • สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ มีใครกล้ายกรั้วของสถาบันการศึกษาออกบ้างครับ แบบไม่มีรั้วกั้นนะครับ นั่นคือ  สถาบันการศึกษา ชุมชน แหล่งส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และครอบครัว ผนึกกำลังเข้าหากันนะครับ เด็กต้องเรียนรู้จากที่ต่างๆ เหล่านี้ มากกว่าอยู่ในห้อง หรือในหนังสือที่ครูท่องได้หมดทุกตัวอักษรแล้ว มันต้องเกิดสิ่งใหม่ที่ต่อยอดจากหนังสือเรียนเหล่านั้น ในการทำให้เกิดการคิด การเคี้ยว การหลั่งสารย่อยในปาก ย่อยในสมอง ก่อนแล้วจะส่งผลให้เกิดการต่อยอดต่อไปได้ครับ

  • หนังสือเรียนแต่ละบทน่าจะมีส่วนต่อยอด ฝังอยู่ด้วยครับ ที่ทำให้เกิดการนำไปพูดคุยต่อ นอกห้องเรียน ระหว่างเพื่อนถึงเพื่อน ครูถึงครู และครูถึงเด็ก เด็กถึงพ่อแม่ แม่พ่อถึงชุมชน ชุมชนถึงวัด วัดถึงโรงเรียน วนเวียนการต่อยอดครับ

คุณคิดกันอย่างไรบ้างครับ

หันมาดูกันตั้งแต่ที่บ้านเลยครับ ว่าปลูกเด็กแต่ละคน ใส่ปุ๋ยอะไรกันแน่ ระหว่างปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์

ก่อนอื่นทำความเข้าใจก่อนนะครับ ว่าปุ๋ยอินทรีย์เป็นอย่างไร ปุ๋ยเคมีเป็นอย่างไร

ปุ๋ยอินทรีย์ ประกอบไปด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ได้แก่พืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย หรือซากพืชซากสัตว์ครับ ที่ต้องการย่อยสลาย ก่อนที่จะนำไปใช้ได้ จะต้องมีกระบวนการย่อยเกิดขึ้น หากเป็นพืชพืชก็ต้องให้จุลินทรีย์ในดินช่วยย่อยซากพวกนี้ก่อน หากเทียบกับการกินข้าวของคน ก็คงเหมือนกับการกินข้าวอาหารเข้าไปแล้วย่อยด้วยระบบย่อยภายใน หากเทียบกับการได้มาซึ่งปัญญาหรือความรู้ก็ต้องผ่านระบบคิดมาก่อนจะเกิดเป็นปัญญา จะให้สรุปสั้นๆ ปุ๋ยอินทรีย์ ก็คือ ปุ๋ยที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ในปุ๋ย นั่นเอง

ปุ๋ยเคมี ประกอบไปด้วยการผสมสารอาหารที่สำคัญ ที่พร้อมที่จะนำไปใช้ ไม่ต้องมีการย่อยสลาย เพราะพร้อมอยู่แล้ว เกิดการแตกตัวก็เป็นไอออนได้เลย สำหรับพืชก็ปล่อยเข้ารากขนอ่อน หรือรากฝอย ก็ดูดซึมได้เลยครับ ต้องให้ให้ถูกที่ด้วยครับ หากเป็นคน ก็ประมาณการให้น้ำเกลือ ต้องจิ้มให้ถูกเส้นเลือดด้วยครับ นำไปใช้ได้เลย ไม่ต้องย่อย การสร้างปัญญาความรู้ ก็การเฉลยให้เลย ไม่ต้องผ่านระบบคิด ไม่มีการบ่มให้ปัญญาประทุในระบบคิด สรุปก็คือ ปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยที่ไม่มีชีวิต ไม่มีสิ่งมีชีวิตผสมอยู่ในปุ๋ย มีแต่ธาตุทางเคมีประกอบอยู่

เห็นอย่างนี้แล้วคุณคิดว่าอย่างไรครับ ถามว่า

  • การให้ของคุณหล่ะครับ เป็นการให้แบบปุ๋ยเคมี หรืออินทรีย์ ต่อผู้รับ การให้แบบไหนที่ยั่งยืนกว่ากัน

ขอบคุณมากครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 102631เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • สวัสดีครับ
  • ผมว่าทางที่ดีควรปล่อยให้ไปเป็นตามธรรมชาติบ้าง  เพราะเร่งปุ๋ยมากมักจะออกดอกไวครับ
  • ขอบคุณครับ  สวัสดี
P

สวัสดีครับพี่แท๊ฟส์

  • ไม่เจอกันนาน สบายดีไหมครับพี่ ดื่มน้ำชากันก่อนครับ
  • ขอบคุณมากเลยครับ ปล่อยให้เขี่ยๆ หากินกันตามธรรมชาติบ้างก็ดีครับ ก็คือเป็นการค้นหาปุ๋ยอินทรีย์ใช่หรือเปล่าครับ จิกกินดินเข้าไปบ้าง กรวดทรายเข้าไปบ้าง ก็มีข้อดีต่อระบบย่อยด้วยใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากครับ

พี่หนิงก็ไม่ได้ใส่ปุ๋ยอ่ะค่ะ ทำนองเดียวกับคุณ TAFS
ไม่อยากจะเร่ง  แต่อยากให้ใส่ใจ  และรดด้วยน้ำใจ นะคะ

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาเยี่ยมเยียน  ยินดีที่ได้ ลปรร.ครับ
  • อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้ต้องผมต้องกลับไปคิดต่อนะครับ
P

สวัสดีครับพี่หนิง

  • ไม่ใส่ปุ๋ยเลยหรือครับพี่ แล้วกินอะไรครับ
  • กินข้าว กินผัก กินแกง ก็คือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือเปล่าครับ
  • ให้น้ำเกลือ หายใจเอาอากาศเข้าไป ก็คือใส่ปุ๋ยเคมี หรือเปล่าครับ
  • ท้ายที่สุดแล้ว เข้าสู่เส้นเลือด เป็นสารอาหารในเส้นเลือดเหมือนๆ กันครับ มีสารอาหารเหมือนกัน
  • หากต้นไม้ ใส่ปุ๋ยคอก ก็คือการให้ปุ๋ยอินทรีย์ พืชต้องใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อย กว่าจะได้ ไนเตรด ที่พืชดูดซึมได้ใช่ไหมครับ
  • ใส่ NPK เข้าไปสูตร 16-20-0, 15-15-15 หรืออื่นๆ อันนี้ก็ต้องใส่ให้ถูกที่ครับ ใส่ผิดเวลาก็คงหายเกลี้ยงใช่ไหมครับ เผลอๆ ระเหยหมดไม่ทันได้ดูดซึมครับ
  • แต่ก็จริงอย่าที่พี่ว่าครับ ต้องปล่อยให้วิ่งเล่นบ้างครับ ตามธรรมชาติ....นั่นคือการช่วยระบบย่อยหรือเปล่าครับ
  • อิๆ ถกกันต่อนะครับ คือมันประยุกต์ได้เยอะในหัวข้อนี้ครับ
  • เหมือนกับการสอนหนังสือ หรือการทำวิจัย หรือการเรียนรู้ ปฏิบัติ เราอ่านแล้วทำตามหนังสือที่เค้าเฉลย เอาไว้ หรือว่าเราควรจะคิดให้ลึกๆ หากแนวทางเหตุผล
  • หรือเหมือนการแก้ปัญหาอะไรซักอย่าง เช่นรถติด ซื้อปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศมา หมดไปหลายล้าน เอามาใส่แล้ว อ้าวแล้วกัน โมเดลไม่เข้ากัน พังเลยครับ เสียดุลกันไป
  • หรือว่าไทยควรจะทำเองคิดเองใช้เอง แก้ไขปัญหาเอง ดีครับ อิๆๆๆ
  • ชักจะลากไปไกลครับพี่ ช่วยดึงผมหน่อยครับ อิๆๆๆ
  • ท่านอื่นว่าอย่างไรบ้างครับ
P

สวัสดีครับพี่หนิง

ตกแก่นสำคัญของพี่ไปครับ 

 แต่อยากให้ใส่ใจ  และรดด้วยน้ำใจ นะคะ

  • เด็ดมากครับ ใส่ใจ รดด้วยน้ำใจ ใส่ปุ๋ยไม่ใส่น้ำ ก็ไม่มีตัวทำละลายใช่ไหมครับ
  • ถูกต้องที่สุดเลยครับ เหมือนกับกินข้าวลืมกินน้ำเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับพี่
P

สวัสดีครับพี่ยุทธ

  • ขอบพระคุณมากครับ ที่ให้เกียรติมาเยี่ยมครับ
  • ร่วมถกครับ เพราะผมก็มือสมัครเล่นนะครับ ได้ต่อยอดคิดต่อ เชิญร่วมโต้ได้เลยนะครับ ด้วยความยินดีทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้นนะครับ
  • ขอบพระคุณมากๆ นะครับ

เอามาฝากนะครับ เปรียบเทียบกันเองนะครับ
จากปุ๋ยที่บำรุงต้นไม้ บำรุงคน และบำรุงสมอง 

จาก http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/or3.htm

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อพืชก็ต้องผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพเสียก่อน มีวัตถุหลายประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้

ข้อดี – ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์ มีดังนี้

 

(1) ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์

    1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง
  ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
    2. อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสีย
  น้อยกว่าปุ๋ยเคมี
    3. เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ
  มีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช
    4. ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน
  ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 

(2) ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์

    1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
    2. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
    3. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
   

4. หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก

    5. ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรท
  ในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
    6. การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น
  จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝนระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้
    7. มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืช
  และวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดภายหลังได้
    8. ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง
  เมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจกรรมลดลง จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน
    9. ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก
    10. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก ตามอาคารบ้านเรือน
  ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท
    11. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน
  จากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง จะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ
    12. ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการใส่มากกว่า
 

เอามาฝากนะครับ เปรียบเทียบกันเองนะครับ
จากปุ๋ยที่บำรุงต้นไม้ บำรุงคน และบำรุงสมอง 

จาก http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/or3.htm

ปุ๋ยเคมี

เราซื้อปุ๋ยเคมี เพราะเราต้องการนำธาตุอาหารที่มอยู่ในปุ๋ยนั้นให้แก่พืช ปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากน้อยเท่าใด ดูได้จากตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย ซึ่งเรียกว่า สูตรปุ๋ย

สูตรปุ๋ย ประกอบด้วยตัวเลข ค่า มีขีดขั้นระหว่างตัวเลขแต่ละค่า เช่น 16-16-8 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละค่าจะแทนความหมายดังนี้

- ตัวเลขค่าแรกคือ 16 แทนเนื้อธาตุไนโตรเจนแสดงว่า ในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุไนโตรเจน 16 กิโลกรัม

- ตัวเลขต่อมาคือ 16 แทนเนื้อธาตุฟอสฟอรัส แสดงว่าในจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุฟอสฟอรัส 16 กิโลกรัม

-ตัวเลขสุดท้ายคือ 8 แทนเนื้อธาตุโพแทสเซียม แสดงว่าในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุโพแทสเซียม 8 กิโลกรัม

ปุ๋ยปลอม

ปุ๋ยปลอม คือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารพืชไม่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบ เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ถ้าวิเคราะห์แล้วมีธาตุไนโตรเจนไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 16) เนื้อธาตุฟอสฟอรัสไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 16) หรือเนื้อธาตุโพแทสเซียมไม่ถึง 7.2 เปอร์เซ็นต์ (7.2 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 8) อย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าปุ๋ยสูตรนี้เป็น ปุ๋ยปลอม

ถ้าปุ๋ยกระสอบใด มีปริมาณเนื้อธาตุมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ครบปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบแสดงว่าปุ๋ยกระสอบนั้นเป็นปุ๋ญเคมีผิดมาตรฐาน

วิธีเก็บตัวอย่างปุ๋ย

การเก็บตัวอย่างปุ๋ยมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

    1. เทปุ๋ยทั้งกระสอบลงบนผ้าพลาสติกที่แห้งสะอาดคลุกเคล้าให้ปุ๋ยเข้ากันเป็นอย่างดี
    2. ใช้แผ่นไม้แบ่งปุ๋ยออกเป็น 4 ส่วน
    3. นำปุ๋ย 2 ส่วนที่อยู่ตรงกันข้ามมาคลุกเคล้ากันใหม่และแบ่งอออกเป็น 4 ส่วนอีกครั้งหนึ่ง
    4. ทำซ้ำข้อ 3 จนเห็นว่าเมื่อแบ่งปุ๋ยออกเป็น 4 ส่วนแล้ว แต่ละส่วนหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ตักปุ๋ย 1 ส่วน ใส่ในถุงพลาสติกที่แห้งและสะอาด
    5. เขียนรายละเอียดของตัวอย่างปุ๋ย ได้แก่ สูตร ตราเลขทะเบียน ผู้ผลิตหรือผู้นำส่ง สถานที่ผลิต ใส่ถุงพลาสติกเล็กๆ แล้วใส่ลงในถุงตัวอย่างปุ๋ยพร้อมรัดปากถุงให้แน่น
    6. ส่งตัวอย่างปุ๋ยไปยัง สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดเพื่อตรวจสอบต่อไป

การตรวจปุ๋ย

ปุ๋ยปลอมตรวจสอบได้ยากมากด้วยตาเปล่า หรือเพียงการสัมผัส การตรวจสอบที่ให้ได้ผลแน่นอนต้องทำโดยวิธีการทางเคมีในห้องปฏิบัติการ

เครื่องมือตรวจสอบปุ๋ยปลอมอย่างง่ายสำหรับการตรวจสอบในภาคสนามนั้น ใช้สำหรับการตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น ให้ผลเพียงคร่าวๆ และไม่สามารถนำผลการตรวจสอบมาใช้เพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายได้

เมื่อสงสัยว่าเป็นปุ๋ยปลอม ควรเก็บตัวอย่างปุ๋ยตามวิธีการที่แนะนำอย่างเคร่งครัด แล้วส่งไปยังสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัด ในท้องถิ่นเพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบต่อไป

คำแนะนำในการเลือกซื้อปุ๋ย

ในการเลือกซื้อปุ๋ยมีคำแนะนำดังนี้

1.ก่อนซื้อควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อตัดสินใจว่า ควรจะซื้อปุ๋ยสูตรใด ตราใด จำนวนเท่าใด

2. ควรซื้อโดยการรวมกลุ่มกันซื้อจากบริษัทที่ไว้ใจได้ โดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ประสานงานให้

3. หากจำเป็นต้องการซื้อรายย่อย ควรดำเนินการดังนี้

3.1 บอกสูตร ตรา และจำนวนที่ต้องการแก่ผู้ขาย

3.2 ตรวจสอบข้อความบนกระสอบปุ๋ยว่าเป็นปุ๋ยชนิดใดต้องการหรือไม่

3.3 ตรวจสอบสภาพกระสอบว่า ใหม่และเรียบร้อยไม่มีรอยฉีกขาด หรือรอยเย็บใหม่

3.4 ตรวจสอบดุว่าแต่ละกระสอบมีน้ำหนักครบ 50 กิโลกรัมหรือไม่

3.5 ขอเอกสารกำกับปุ๋ย และใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายด้วย

โทษของการผลิตและการจำหน่ายปุ๋ยปลอม

การผลิตหรือจำหน่ายปุ๋ยเคมีปลอม มีโทษทั้งจำทั้งปรับดังนี้

มาตรา 62 ” ผู้ใดผลิตปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา 63 ” ผู้ใดขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปี ถึง สิบปี และปรับตั้งแต่ สามหมื่นบาท ถึง หนึ่งแสนบาท

พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518

 ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับดินและปุ๋ยนะครับ http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/index.htm

 แล้วหากจะบำรุงคน หรือบำรุงสมองหล่ะครับ ควรจะใส่ปุ๋ยสูตรอะไรดีครับ

ปุ๋ยเคมี จะใส่สูตรอะไรดีครับ

ปุ๋ยอินทรีย์ หล่ะครับ จะต้องใส่อย่างไรดี เพื่อจะให้บำรุงสมองได้ดีและเพียงพอ

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต้องใจเย็น อย่างน้อย 3 ปีถึงเห็นผล
จากการไปสัมมนาได้เจอคุณลุงทองเหมาะ มีวาทะเด็ดอยู่ว่า ทำเพื่อไม่ต้องทำ  คือถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์เนี่ยคือต้องทำ  แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อดินดีแล้วก้ไม่ต้องทำ  คุณลุงบอกว่า ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ปีสองปีแรกต้องไถ  แต่เมื่อปีที่สามแล้ว เมื่อดินดีแล้วไม่ต้องไถก็ได้  ผมไม่แสดงความคิดเห็นเรื่องการศึกษานะครับ 

P

สวัสดีครับโส

  • เห็นด้วยประการครับ
  • ทำเพื่อไม่ต้องทำ หรือทำเพื่อให้ทำน้อยลงครับ คล้ายๆ กับ
  • วันนี้ลำบากวันหน้าสบาย หรือประมาณ
  • ทำวันนี้ที่ยากๆ เพื่อวันหน้าที่จะได้เดินสบายขึ้นครับ
  • น้าผมเคยพูดเอาไว้ว่า การไถดินตากแดด ก็เหมือนกับการเปลือยดิน เปลือยพระแม่ธรณี เป็นสิ่งไม่ดี หากจะไถพรวนแบบนั้น ควรจะมีซังข้าวหรือฟางข้าวมาปิด ว่าแล้วก็ถูกของน้าเค้าครับ
  • แต่หากดินดี แน่นอนว่าดินมีอากาศ ดินมีอากาศจุลินทรีย์ก็อยู่ได้ ดินก็จะร่วนซุยเอง 
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สู้ต่อไปครับ เพื่อ กสิกรรมธรรมชาติ ครับ

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

  • วาทะของเม้งเด็ดมากอะค่ะ    "การศึกษาไทย เหมือนการใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปทุกที"  สงสัยจะจริง...  คือว่าเด็กทุกวันนี้ออกจะแข็งๆอยู่   : )
  • พี่แอมป์เอาลิ้งก์ที่เกี่ยวกับการศึกษา  เรื่อง ธรรมะกับการศึกษา  นี้มาฝากนะคะ   เผื่อเม้งเอาไว้ค่อยฟังตอนว่างๆ    (...ตอนว่างๆจริงๆนะคะจะได้ไม่เสียเวลาทำงาน)  : )
  • บทบรรยายธรรม โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) นี้ มีความน่าสนใจหลายประการ  แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือวิธีตอบปัญหา   
  • โดยส่วนตัวพี่แอมป์ไม่ใคร่รู้เรื่องธรรมะอย่างลึกซึ้ง    แต่สนใจหลักคิดในการตอบปัญหา  และวิธีให้เหตุผลที่แยบคาย 
  • โดยเฉพาะเรื่องปรากฏการณ์และเหตุการณ์ปัจจุบัน  ที่ต้องอาศัยการคิดด้วยวิจารณญาณขั้นสูง   หากคำตอบสมแก่เหตุปัจจัย   ฟังแล้วรู้สึกสมเหตุสมผล   ก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่าควรค่าแก่การฟัง   
  • แถมลิ้งก์นี้  มาด้วยอีกลิ้งก์ค่ะ   ถ้าเม้งเคยฟังหรือเคยผ่านตามาแล้ว    พี่แอมป์ก็ขออภัยมณีที่เอามะพร้าวมาขายสวนสมรมนะคะ   : )
P

สวัสดีครับพี่แอมป์

  • สบายดีไหมครับ 
  • ขอบคุณพี่แอมป์มากๆ เลยครับ ผมยังไม่เคยฟังมาก่อนเลยนะครับในอาหารสมองทั้งสองเมนูนี้ครับ นับว่าเป็นลาภสมองของผมจริงๆ นะครับ
  • จะฟังและคิดพิจารณาให้มากๆ เลยครับ
  • รักษาสุขภาพนะครับพี่
  • ขอบคุณพี่อีกครั้งนะครับ กำลังดาวโหลดทุกจานอาหารครับ แล้วจะรายงานผลครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท