ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า กับการเกษตร


ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า

           สวัสดีครับทุกท่าน พอดีผมกำลังค้นหางานเกี่ยวกับ ฟ้าแลบ อยู่ครับ เจอบันทึกหนึ่งดีๆ ในความเห็นจากลิงก์นี้นะครับ http://board.dserver.org/w/wwwt/00000106.html เผื่อจะทำความเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%


เมื่อ พ.ศ. 2295 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อเบญจามิน แฟรงคลิน ได้พิสูจน์ให้รู้กันแน่นอนว่า ในก้อนเมฆมีประจุไฟฟ้า หรืออำนาจไฟฟ้า โดยการปล่อยว่าวขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เขาพบว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลไปตามสายว่ายแล้วกระโดดไปยังมือของเขา

การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่ามีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นในก้อนเมฆในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เมฆบางก้อนมีประจุไฟฟ้าบวก แต่บางก้อนมี ประจุไฟฟ้าลบ เมื่อเมฆมีประจุไฟฟ้าต่างกันมาอยู่ใกล้กัน จะทำให้ประจุไฟฟ้าจากเมฆก้อนหนึ่งกระโดดไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง

การกระโดดนี้จะทำให้เกิดประกายไฟขี้น เรียกประกายไฟนี้ว่า "ฟ้าแลบ" ขณะที่เกิดประกายไฟจะมีเสียงด้วย เรียกว่า "ฟ้าร้อง"

บางครั้งประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆอยู่ใกล้พื้นดิน มากกว่าเมฆก้อนอื่น มันจะกระโดดลงสู่พื้นดินซึ่งอันตรายมาก ตึกสูงๆ หรือต้นไม้สูง ที่ถูกไฟฟ้าในก้อนเมฆกระโดดเข้าไปใส่ จะเกิดอันตรายเพราะกระแสไฟฟ้ามีความรุนแรงมาก เรียกว่า "ฟ้าผ่า" ดังนั้น ในขณะที่ฝนตก ไม่ควรไปยืนใต้ต้นไม้ใหญ่ๆ เพื่อป้องกันอันตราย และบนตึกสูงๆ ควรจะมีสายล่อฟ้าเอาไว้

ฟ้าแลบไม่ได้มีแต่ผลเสียเพียงอย่างเดียว แต่ผลพลอยได้ของการเกิดพายุฟ้าคะนอง คือ การเพิ่มพูนปริมาณของสารประกอบไนโตรเจนให้แก่ดิน โดยมีการคาดการณ์ไว้ว่า ฟ้าแลบครั้งหนึ่งจะทำให้ธาตุไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่จำนวน 1 ไร่ ในเวลาหนึ่งปี และเมื่อคิดคำนวณ ทั้งโลก พบว่าจะมีธาตุไนโตรเจนตกลงมายังโลกทั้งสิ้น 770 ล้านตัน

ในขณะที่เกิดฟ้าแลบ พลังงานบางส่วนที่เกิดจากฟ้าแลบ จะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจน เกิดเป็นสารประกอบไนตริกออกไซต์ สารประกอบไนตริกออกไซต์จะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไปเป็นไนโตรออกไซต์ ซึ่งจัดว่าเป็นสารที่มีการละลายได้ดีในน้ำฝน และจะเปลี่ยนเป็นกรดดินประสิว ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อตกลงมาแล้วจะไปรวมตัวกับสารเคมีอื่นๆ บนพื้นโลก กลับกลายเป็นแคลเซียมไนเตรทในที่สุด

แคลเซียมไนเตรท เป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับพืช ดังนั้นการเกิดฟ้าแลบฟ้าคะนองนอกจากจะช่วยให้พื้นดินชุ่มฉ่ำแล้ว ยังช่วยเพิ่มปุ๋ยให้กับพืชด้วย

  

จาก : GTW - 23/11/2001 17:23

จาก : พุฒิกร วรรณไพโรจน์ - -
[email protected] - 19/11/2004 09:20
โฮมเพจ :
http://pramool.com

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

ขอบพระคุณมากครับ

เม้ง

หมายเลขบันทึก: 108290เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • การจะเกิดฝนฟ้าได้ง่าย มันก็ต้องสร้างเมฆกันก่อนหากเมฆไม่มี ฝนมันก็ตกบ่ได้
  • ดังนั้น จะสร้างเมฆก็ต้องมีไอน้ำใช่ไหมกั๊บ ให้ไอน้ำลอยสู่อากาศ
  • ป่าไม้ก็เป็นตัวหนึ่งที่ช่วยดูดน้ำสู่การสร้างเมฆ
  • กรณีไม่มีน้ำผิวดินในหนองบ่อ คลองบึง ต้นไม้ช่วยสร้างไอน้ำเพื่อสร้างเมฆ ดูดน้ำเข้าลำต้น ปล่อยออกทางปากใบ กลายเป็นไอลอยสู่ชั้นบรรยากาศ
  • เพื่อให้ฝนตกลงมาวนเวียนครบวงจร หากมีเมฆหลายๆ ก้อนวิ่งไปหา ชนกัน ก็เกิดฟ้าแลบได้ เกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฝนตกลงมา ก็เพิ่มปุ๋ยให้ดินต่อไปได้

  • ดังนั้นเกษตรกร ชาวนา ชาวสวน ก็รักฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ได้นะครับ เกิดประโยชน์ด้วย เพียงแต่เราต้องเข้าใจเค้า ว่าตรงไหนเราควรระวัง ควรป้องกัน ควรปลอดภัย

  • ขอบคุณมากคับ

ความรู้เพิ่มเติม
        การเกิดไฟฟ้าแลบ  เมื่อประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่  จากเมฆก้อนหนึ่ง ผ่านอากาศไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่งหรือประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ภายในเมฆก้อนเดียวกัน  จะเกิด แสงสว่างเป็นสานในอากาศระหว่างก้อนเมฆหรือภายในก้อนเมฆเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ฟ้าแลบ  ถ้าประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ระหว่างเมฆกับพ้นดิน จะเกิดแสงสว่าง เป็นสายระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน เช่นเดียวกันเราเรียกปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ว่า  ฟ้าผ่า  ฟ้าผ่าจะสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน หรือเป็นอันตรายถึงแก่ ชีวิต ต่อคน ต้นไม้ สัตว์ที่อยู่ตรงตำแหน่งที่เกิดฟ้าผ่าได้

Night scenes-1

การเกิดฟ้าร้อง  การเกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่าเป็นผลให้อากาศบริเวณที่เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่าร้อนมากและขยายตัวอย่างรวดเร็วไปกระทบอากาศที่อยู่ถัดๆไป  เป็นเหตุให้เกิดเสียงดัง เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า  ฟ้าร้อง

ข้อมูลดีๆ จาก...http://www.dlf.ac.th/dltv/dltv-uploads/libs/html/1743/path_1/path_1.htm

1. แล้วปรากฎการณ์ที่ฟ้าแลบจากดินขึ้นสู่ท้องฟ้าเกิดจากอะไร
2. พื้นที่ที่ฟ้าผ่าใส่บ่อยๆ เกิดจากอะไรคะ เช่น พื้นที่บริเวณหนองโสน หรือบึงพระรามที่ตั้งของเขตพระราชฐานสมัยอยุธยา (ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็ถูกฟ้าผ่าเป็นประจำ จนชาวบ้านรู้กันว่า ถ้าฝนตกอย่าไปแถวนั้น เดี๋ยวจะถูกฟ้าผ่า)

น้องชายฝากถาม เขาอยากทราบค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ
P
สวัสดีครับคุณซูซาน
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับคำถาม ผมก็เริ่มค้นๆ ตั้งแต่เมื่อคืนครับ น่าสนใจมากครับ คือผมต้องการจะปรับใช้ระบบที่สร้างขึ้นมา ในการสร้างฟ้าแลบในสามมิตินะครับ ก็เลยค้นๆ อยู่เหมือนกันครับ

1. แล้วปรากฎการณ์ที่ฟ้าแลบจากดินขึ้นสู่ท้องฟ้าเกิดจากอะไร

  •  การเกิดฟ้าแลบมีหลายๆ สาเหตุเลยนะครับ ผมแนะนำให้ไปดูภาพวีดีโอนี้ก่อนนะครับ ทำให้รู้จักในเบื้องต้นนะครับ
  • ฟ้าผ่าไม่จำเป็นต้องเกิดท่ามกลางพายุฝนแต่เพียงอย่างเดียว    เถ้าภูเขาไฟ   ลมทอร์นาโด   หิมะ และพายุทราย   ก็สามารถเกิดได้ทั้งสิ้น   ยังมีฟ้าผ่าอีกหลายประเภท ในปี  1989   นักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นบนชั้นบรรยากาศของโลก  มีการถ่ายภาพไว้  ฟ้าผ่านี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว  100  กิโลเมตรต่อชั่วโมง   น่าประหลาดใจมาก  แต่ยังไม่เท่ากับฟ้าผ่าทางเหนือของอินเดียในปี  2002   มีคนเห็นลูกไฟลอยไปมาเหนือพื้นดิน   มีเสียงฟู่เกิดขึ้นโดยรอบ  บางคนบอกว่าเป็นเพียงอนุภาคซิลิคอนลุกไหม้ไฟ  คลิกครับ  (windows media  3.3 MB)


2. พื้นที่ที่ฟ้าผ่าใส่บ่อยๆ เกิดจากอะไรคะ เช่น พื้นที่บริเวณหนองโสน หรือบึงพระรามที่ตั้งของเขตพระราชฐานสมัยอยุธยา (ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็ถูกฟ้าผ่าเป็นประจำ จนชาวบ้านรู้กันว่า ถ้าฝนตกอย่าไปแถวนั้น เดี๋ยวจะถูกฟ้าผ่า)

  • สำหรับพื้นที่ที่เกิดฟ้าผ่าบ่อยๆ คงต้องดูนะคับ ว่าเค้าอยู่สูงจากระดับอื่นหรือไม่ เช่นหากในละแวกนั้นอยู่สูงที่สุด ก็โอกาสในการโดนผ่าจะสูงด้วยครับ เช่นต้นไม้สูง ตึกอาคารสูงๆ
  • เริ่มต้นกันที่เมฆนะครับ ในภาวะฝนฟ้าคะนอง เมฆจะมีความหนาแน่นในบริเวณครับ จะเกิดการชนกันของเมฆทำให้มีการถ่ายเทของประจุระหว่างเมฆด้วยครับ ดังนั้นเราจะเห็นการชนกันแล้วเกิดเป็นแสงครับ และเมฆก็จะมียอดเมฆและฐานเมฆครับ ยอดเมฆจะเป็นขั้วประจุไฟฟ้าบวกครับ ส่วนฐานเมฆ(ด้านล่างของเมฆ) จะเป็นประจุลบครับ ในขณะเดียวกันในภาวะที่เกิดขึ้น สภาพพื้นดินจะเป็นขั้วบวกด้วย แล้วจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประจุกัน คือ ขั้วลบด้านบนจะวิ่งเข้ามาจูบพื้นดิน โดยมันจะวิ่งไปผ่านความชื้นในอากาศ สำหรับเงื่อนไขนี่ผมยังค้นไม่ได้ลึกๆนะครับ แต่หลักๆคือมันจะวิ่งลงดิน เมื่อเส้นไหนลงถึงพื้นก่อนมันก็จะมีการแลกเปลี่ยนถ่ายเทประจุกันครับ จะทำให้เราเห็นว่า ลำแสงไหนที่มันต่อกับดินมันจะเป็นลำแสงใหญ่กว่าบางเส้นที่ไม่ลงดิน หากไม่ลงดินมันจะใหญ่ไปสู่เส้นเล็กๆ แต่หากเชื่อมดินได้แล้วมันก็จะแลกเปลี่ยนประจุกันอย่างดูดดื่มครับ จนกว่าจะปรับเข้าสู่สภาพสมดุลของมันนะครับ
  • ส่วนตำแหน่งที่ลงที่สูงๆ ผมเชื่อว่าเพราะว่าต้นไม้จะเปียก และโดยเฉพาะตรงไหนที่มีโลหะอยู่มันจะเป็นตัวล่อเพื่อจะไหลลงดิน ในท้องนาที่เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่า จะเกิดกับต้นไม้สูงเช่น ต้นตาลโตนด เราจะมักเจอต้นตาลโหนดยอดด้วน (ไม่มียอด ก็ตายครับ)
  • ผมต้องศึกษาเพิ่มเติมนะครับ หากท่านอื่นทราบละเอียดกว่านี้ เชิญร่วมสนทนาด้วยนะครับ หรือท่านอื่นๆ จะฝากคำถามไว้ก็ได้ครับ ศึกษาไปพร้อมๆ กันนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
VDO Clip น่าสนใจมาก โดยเฉพาะปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นที่อินเดีย สารคดีชุดนี้น่าดูจัง เดี๋ยวจะลองไปหาซื้อดูดีกว่าว่ามีขายมั้ย

เคยได้ยินมาว่าถ้าเราเห็นฟ้าแลบแล้วนับ 1 2 3 ถึงได้ยินเสียงฟ้าร้อง แสดงว่าศูนย์กลางพายุห่างออกไป 3 กิโลเมตร ไม่ทราบว่าที่รู้มานี่ถูกต้องหรือเปล่าคะ วินาทีละกิโลเมตร คำนวณกันยังไงระหว่างความเร็วแสงกับความเร็วเสียง รบกวนอีกคำถามนะคะ
P

สวัสดีครับคุณซูซาน

  • วีดีโอชุดนั้นน่าสนใจมากๆ ครับ ทำให้เราเข้าใจอะไรขึ้นเพียบเลย และเค้ามีเครื่องมือที่น่าสนใจครับ ผมชอบส่วนที่เกิดที่เป็นสีแดงน้ำเงินนะครับ มันอยู่เหนือชั้นเมฆแต่อยู่ใต้ชั้นความสูงดาวเทียม ต้องลองหาดูนะครับทำให้เข้าใจมากขึ้นครับ หากได้ดูทั้งชุดครับ สำหรับผม อิ่มได้นานเลยครับ หากได้เสพความรู้แบบนี้ครับ โดยเฉพาะเอามาประยุกต์ใช้ด้วย รากงอกเลยครับ อิๆๆ
  • สำหรับการคำนวณแสงและเสียงนั้น การเดินทางก็มี แสง เสียง ผ่านอากาศ แล้วตัวรับก็ของเราคือ สายตา และหูฟังนะคับ
  • ซึ่งเราทราบกันว่า แสงจะเดินทางด้วย 300 ล้านเมตร ต่อวินาที เร็วดีไหมครับ ส่วนเสียงนั้น ความเร็วต่ำกว่าเยอะมากครับ เช่น
  • ความเร็วเสียง(เมตร/วินาที) = 331 +(0.6 x อุณหภูมิองศาเซลเซียส) ที่ อุณหภูมิ 21 องศา => ความเร็วเสียง = 343 เมตร/วินาที หรือ 1234.8 กม./ชั่วโมง
  • ความเร็วของเสียงจะเห็นว่าช้ากว่ากันมากครับ
  • ปกติสูตรง่ายๆ ที่เราใช้กันในการคำนวณก็คือ
  • ระยะทางในการเคลื่อนที่ได้ = ความเร็วของวัตถุ x เวลาในการเคลื่อนที่
  • ดังนั้น การคำนวณ ก็ลองเทียบๆ กันดูนะครับ จากสองสูตร แล้วเทียบเวลา โดยคำนวณดูว่าเวลากับเสียงมันห่างกันเท่าไหร่ครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
ขอบคุณค่ะ จะลองคำนวณดู ทิ้งวิชาคณิตศาสตร์มานาน ชักจะลืม เรื่องที่คุณเม้งชอบในคลิปตรงกับที่น้องชายชอบเลยค่ะ เขาบอกว่ามันดูเหมือนฟ้าผ่าขึ้นไปในอวกาศ ถ้าหาซื้อชุดนี้ได้จะส่งไปให้สนใจมั้ยคะ เผื่อจะมีประโยชน์สำหรับเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ ไม่ทราบว่าคุณเม้งมีหรือยัง (วันนี้เสี่ยมาเองค่า ^ ^) ถ้าหาได้จะมาบอกอีกทีนะคะ
P

สวัสดีครับคุณซูซาน

  • ขอบคุณมากเลยครับ ผมยังไม่มีครับ พอดีดูตามที่มีในคลิปตัวอย่างในเว็บนั้นนะครับ มีคลิปเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การทดลอง น่าสนใจมากๆ เลยครับ
  • ผมรู้สึกดีใจมากเลยครับ ที่เมืองไทย นำสื่อเหล่านี้ มาสอนเด็กๆ หากเราเพิ่มการต่อยอดเข้าไปจะดีมากๆ เลยครับ
  • หากผมทำจำลองสามมิติฟ้าแลบได้จะเอามาให้ดูกันนะครับ
  • มีคำถามอะไรฝากไว้ได้นะครับ จะได้ช่วยกันศึกษาครับ ตอนนี้ผมอยากจะทราบเงื่อนไขในการวิ่งไปของเส้นฟ้าแลบ ว่ามันรู้ได้อย่างไรว่าจะวิ่งไปทางไหน
  • ขอบคุณมากครับ
การเกิดฟ้าผ่า                                                             ที่มา... ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคนิค องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย


"ฟ้าผ่า" เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยเริ่มจากการก่อตัวของเมฆฟ้าผ่า (Cumulonimbus Cloud) ที่มีทั้งประจุบวกและลบอยู่ในก้อนเมฆ เมื่อการสะสมประจุมากขึ้นก็ทำให้ศักดาไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินมีการพัฒนา เพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุดที่ทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าปริมาณมหาศาลระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินที่เรียกว่าฟ้าผ่า กระบวนการดังกล่าวมีขั้นตอนดังนี้คือ


1. เริ่มก่อตัวของประจุไฟฟ้าทั้งประจุบวก (P) และประจุลบ (N) ภายในก้อนเมฆฟ้าผ่า 2. การถ่ายเทประจุบวกและลบภายในก้อนเมฆชั้นต่างๆ โดยชั้นที่ ไม่เกิดความแปรปรวนจะแสดงศักย์ไฟฟ้าเป็นบวก และชั้นที่อยู่ต่ำ เกิดความแปรปรวนจะแสดงศักย์ไฟฟ้าเป็นลบและเคลื่อนตัวต่ำลง ตามแรงดึงดูดของโลก
3. ที่ฐานก้อนเมฆแสดงศักย์ไฟฟ้าเป็นลบเคลื่อน ตัวต่ำลงสู่พื้นดินที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวก มากกว่า 4. เมื่อก้อนเมฆเคลื่อนตัวลงต่ำทำให้ความต่างศักย์ระหว่างก้อนเมฆ กับพื้นดินเพิ่มสูงขึ้น
5. เกิด step leader ขึ้น มีศักย์ไฟฟ้าเป็นลบ เคลื่อนที่ลงสู่พื้นดินที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวก 6. เกิด upward streamers ขึ้น มีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกเคลื่อนที่ เข้าหา step leader ที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นลบ
7. step leader เคลื่อนที่ชนกับ upward streamers เกิด lightning channel current ขึ้นและกระแสจะเริ่มไหล 8. ประจุบวกที่พื้นดินซึ่งมีจำนวนมากเคลื่อนที่ขึ้นสู่ก้อนเมฆที่มีประจุ บวกน้อยกว่าเรียกกระบวนการนี้ว่า return stroke ซึ่งจะมี กระแสไหล
9. ศักย์ไฟฟ้าบริเวณฐานก้อนเมฆพยายามถ่าย ประจุ เพื่อกลับสู่สภาวะสมดุลเรียกกระบวนการ นี้ว่า J & K phenomena 10. ศักย์ไฟฟ้าลบที่อยู่สูงกว่า ส่งถ่ายประจุลบมายัง ฐานก้อนเมฆ ซึ่งแสดงศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกมากกว่า เกิดเป็นลำแสงเรียกว่า Dart leader ถ้าการส่งถ่ายยังเหลือศักย์ไฟฟ้าลบอยู่บริเวณฐานก้อน เมฆมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับพื้นดินจะทำให้เกิด ฟ้าผ่าซ้ำได้

จากรูปจะพบว่าขั้นตอนที่ 8 จะมีกระแสฟ้าผ่าไหลสูงสุดซึ่งเหมาะสมที่จะวัดค่ากระแสและนำมากำหนดค่าความต้านทาน ระหว่างแท่งกราวด์กับ remote earth เพื่อใช้ในการออกแบบระบบกราวด์ของระบบล่อฟ้าต่อไป

บทความดีๆ จาก http://www.nectec.or.th/courseware/electrical/lightning/ln1.html

 

สวัสดีครับ

เพื่อนเม้ง

เป็นบทความที่ดีมากครับ ทำให้เข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น

จากภาพนี้ เราเห็นความต่างของขั้วบวกและลบ จนทำให้เกิดประจุ อธิบายได้ชัด

หวัดดีคะ
  • นำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาฝากคะ ว่าทำไมฟ้าถึงชอบผ่าตึกสูงๆ หรือต้นไม้  หลักๆเพราะความต้านทานนะ
  • คือหลักการของฟ้าผ่าก้อหลักการเดียวกับกระแสไฟฟ้า คือถ้าความต้านทานน้อยประจุก้อส่งผ่านได้ดี ถ้าความต้านทานมากประจุก้อผ่านได้น้อย นั้นคือ สายฟ้าจะวิ่งไปหาตำแหน่งที่มีความต้านทานที่ต่ำกว่า
  • ทีนี้ช่องว่างระหว่างอากาศโดยตัวอากาศเองเป็นฉนวนอยู่แล้ว ยิ่งระยะทางมากความต้านทานก้อยิ่งมากขึ้นด้วย นี่คือเหตุผลว่าทำไมฟ้าถึงชอบผ่าตึกสูงๆ
  • ส่วนต้นไม้นี่ เหตุผลคือความชื้นหรือน้ำ น้ำซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวนำ  ซึ่งคุณสมบัติของตัวนำคือความต้านทานจะตำ ดังนั้นยิ่งถ้ามีความชื้นสูงความต้านทานก้อยิ่งต่ำ ฟ้าเลยชอบผ่าต้นไม้  อันนี้ก้อเป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมฟ้าถึงชอบผ่าผ่าได้อีกด้วย แต่ก้อไม่เสมอไปนะว่าฝนตกแล้วฟ้าต้องผ่า 
  • สรุปคือฟ้าผ่าเค้าไม่ได้ชอบต้นไม้หรือตึกสูงอะไรหรอกคะ ฟ้าเค้าชอบความต้านทานต่ำๆคะ ที่ไหนมีความต้านทานต่ำที่นั้นเลยอันตรายคะ  อิๆๆๆๆ

พิมพ์ผิดแก้นิดหนึ่งนะ

ส่วนต้นไม้นี่ เหตุผลคือความชื้นหรือน้ำ น้ำซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวนำ  ซึ่งคุณสมบัติของตัวนำคือความต้านทานจะต่ำ ดังนั้นยิ่งถ้ามีความชื้นสูงความต้านทานก้อยิ่งต่ำ ฟ้าเลยชอบผ่าต้นไม้  อันนี้ก้อเป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมฟ้าถึงชอบผ่าเวลาฝนตกได้อีกด้วย แต่ก้อไม่เสมอไปนะว่าฝนตกแล้วฟ้าต้องผ่า

P

สวัสดีครับเพื่อนเอก

  • ขอบคุณมากเลยครับเพื่อน กำลังศึกษาทำความเข้าใจอยู่เหมือนกันครับผม
  • ขอบคุณมากครับ
ไม่มีรูป
ลี

สวัสดีครับน้องลี

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่ช่วยหาคำตอบมาฝาก ให้ทำความเข้าใจร่วมกันนะครับ
  • พร้อมกับช่วยค้นหา คำตอบที่สงสัยให้ด้วยครับ ตอนนี้กำลังเชื่อมโยงกันอยู่กับระบบเพื่อเขียนโปรแกรมครับ ได้ผลแล้วจะเอามาแสดงให้ดูกันนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

รัชดาภรณ์ ชมมาลี รัก วรัญญา เข็มเงิน นะ

poppylovesunty*-*+-+ +_+ *_*

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท