การบูรณาการในธรรมชาติเกิดมานานแล้ว เมื่อไหร่ถึงเวลาบูรณาการนโยบาย


การบูรณาการในธรรมชาติเกิดมานานแล้ว เมื่อไหร่ถึงเวลาบูรณาการนโยบาย

สวัสดีครับทุกท่าน

       สบายดีกันดีทุกท่านนะครับ วันนี้เห็น อ.ขจิต ยกตัวอย่าง เรื่องการบูรณาการขึ้นมาในบทความนี้ มีความรู้ในสาขาอย่างเดียว...คงไม่พอ(integrate (v.)) ตามไปอ่านได้นะครับ เป็นตัวอย่างภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการบูรณาการ

      ผมว่าในหนึ่งร้อยคน คงมีเกินครึ่งที่รู้จักคำว่า บูรณาการ หรืออย่างน้อยคงได้ยิน หากสุ่มคนขึ้นมาอย่างการกระจาย...แต่จะมีการเข้าใจถึงแก่นของคำว่า การบูรณาการขนาดไหนนั้น ก็อยู่ที่ตัวท่านเองนั่นหล่ะครับ เพราะผมก็ไม่ได้เข้าใจทั้งหมดครับ

      บางทีคำนี้ อาจจะเป็นยาขมของนักวิชาการ หรือนักวิจัยหลายๆ คนครับ ตลอดทั้งคนทำงานในชุมชน ที่ผมบอกว่ายาขมก็คือ ด้วยการที่ว่าธรรมชาตินั้นบูรณาการตัวเองให้เข้ากัน เกี่ยวเนื่องเกี่ยวข้องมานาน แต่คนนั้นเพิ่งมาคิดเรื่องนโยบายแล้วมองภาพรวมไม่ออก เห็นคนอื่นๆ จะบูรณาการ ต่างประเทศบูรณาการ เราก็จะบูฯ กับเค้าบ้าง เอา..เอาไงก็เอา บูฯ ก็บูฯ

      คุณเคยสังเกตไหม อย่างยกตัวอย่างง่ายๆ การขับขี่รถมอร์เตอร์ไซต์ก็ต้องบูรณาการการทำงาน ร่วมกันของทุกๆ ชิ้นส่วนเพื่อจะให้รถขับไปได้โดยไม่กระตุก ไปถึงเป้าหมายได้ และผลเสียที่ผลิตออกมาต่อสิ่งแวดล้อมก็ต้องไปด้วยกันได้ เกื้อกูลกันได้ ไม่ส่งผลเสียที่ทำให้เกิดมลพิษที่มากจนเกินไป

      ธรรมชาติได้แสดงตัวอย่างการบูรณาการให้เราเห็นกันง่ายๆ ตัวอย่างเช่น น้ำในสระ ในทะเล น้ำบนยอดภูเขาหิมาลัย น้ำที่ขั้วโลก น้ำในก้อนเมฆ หยดน้ำค้างในใบไม้ ก็ล้วนเป็นน้ำเดียวกัน บูรณาการให้เชื่อมถึงกันได้ เพียงแต่ปรับเปลี่ยนสภาพตามแวดล้อมและสถานที่ปัจจัยแค่นั้น

      ธรรมชาติให้คำตอบไว้หมดแล้ว...บูรณาการการใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้แบบธรรมชาติ ด้วยตัวเองมาแสนนาน แม้แต่การเกิดฟ้าผ่า ก็เป็นการเพิ่มปุ๋ยให้พื้นดินเลยครับ นี่คือธรรมชาติ เค้ารู้ว่าเค้าทำอะไร ปัญหาเกิดเค้าจะปรับตัวอย่างไร การบูรณาการหลายๆ อย่างเข้าร่วมกันนั้น คือคำตอบในธรรมชาติ ที่มีมานานแสนนาน

     จนกว่าอริสโตเติลมาตั้ง วิชาปรัชญา ซึ่งเป็นวิชาที่รวมทุกอย่างไว้ด้วยกันมากมายในวิชาสาขาเดียวกัน นับว่าเป็นการบูรณาการที่สมบูรณ์ จนการเปลี่ยนแปลงและการค้นพบความรู้จากธรรมชาติ มากขึ้น วิวัฒนาการ พัฒนาการมากขึ้น วิชาต่างๆ ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความจำเพาะเจาะจงในวิชานั้นๆ เติบโตและมุ่งศึกษาไปในทางนั้น จนมาถึงบัดนี้ มันแทบจะหาความสัมพันธ์กันไม่ได้ ว่าแต่ละวิชาสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะเรามองไม่ออกเองต่างหาก อย่างเช่น วิชาคณิตศาสตร์ กับจิตวิทยา ปรัชญา สังคมศึกษา ก็เคยเป็นสิ่งเดียวกัน จนมาทุกวันนี้ มองกันเป็นคนละเรื่อง หาความสัมพันธ์กันไม่เจอทั้งๆที่เกี่ยวโยงกันแน่นแฟ้น... จนนักวิชาการ นักวิจัย ก็มึนปวดหัวตึบ ว่าปัญหาที่เจอๆ กันอยู่นั้น แก้ไขตัวคนเดียว ไม่ได้แล้วซิ ปัญหารถติดใน กทม. ก็เกี่ยวโยงกับหลายๆ ปัญหา

 

The image “http://202.12.97.98/images/about_p1.gif” cannot be displayed, because it contains errors.
ภาพจาก http://202.12.97.98/about_thai.asp

 

      เลยเกิดการรวมสาขาวิชาย่อยๆ ที่คิดว่ามันไม่เข้ากัน หรือมองไม่ออกกันให้กลับไปสู่การบูรณาการของท่านอริสโตเิติลกันใหม่ รวมเรียกกันว่า การบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็น Interdisciplinary, Multidisciplinary การบูรณาการเชิงสหสาขา หรือ การบูรณาการเชิงพหุสาขา ก็ตาม เลยมีการจับ วิชาต่างๆ คนในหลายๆ สาขา มาคุยกัน โอ้แม่เจ้า...ไม่ใช่จะคุยกันง่ายๆ  เชิญนักชีววิทยา (ผู้ที่ไม่ค่อยจะชอบคำนวณ) มานั่งคุยกับนักคณิตศาสตร์ (ผู้ที่ไม่ค่อยชอบท่องจำ) คุณคิดว่าเค้าสองสาขานี้จะคุยกันได้หรือครับ กว่าจะเปิดใจคุยกันได้นั้น กระัอักเลือดเลยหล่ะครับ เพราะต่างคนต่างมองกันคนละทาง มองยอดภูเขากันคนละลูก.... กว่าจะให้สองสาขานี้คุยกันได้ แทบใช้เวลากันนานแสนนาน ในขณะที่ต่างประเทศกว่าจะคุยกันได้รู้เรื่อง และทำวิจัยร่วมกันได้  ก็ใช่ว่าทุกที่จะคุยกันได้และทำวิจัยกันได้ทั้งหมด

       ย้อนมามองเมืองไทยเรา การทะเลาะกันในสาขาต่างๆ กัน มองกันคนละแนว จนขัดขาทำงานร่วมกันไม่ได้ บูรณาการร่วมกันไม่ได้ ก็นี่หล่ะปัญหาในการพัฒนาประเทศ ทั้งๆที่รู้ว่า การบูรณาการ บูฯกันไปมา เป็นสิ่งที่ดี แต่ทำงานด้วยกันไม่ได้ ประสานความคิดร่วมกันไม่ได้ แล้วจะเกิดการบูรณาการกันได้อย่างไร ละครั้บ...เจ้านาย....

       อย่างการวิจัยก็เช่นกันครับ...มีการบอกให้ทำวิจัยกันเชิงบูรณาการ ทำงานวิจัยร่วมกันหลายๆ สาขาเพื่อหาคำตอบแก้ปัญหาร่วมกันนั่นก็หมายความว่าคนทำวิจัยต้องหลายๆ คน อย่างน้อยก็มากกว่าหนึ่งคนแน่นอนครับ มองภาพแล้วสวยหรูนะครับ ผมเคยเห็นโปสเตอร์งานวิจัยของบางสถาบัน เขียนชื่อไว้สิบคน ว้าาาวว...นี่หล่ะบูรณาการจริง เพราะจะมีจากหลายๆ สถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้องมาทำวิจัยร่วมกัน....

       แต่ผมก็ทราบว่ามาในเมืองไทยเรา ก็มีการสนับสนุนให้ทำวิจัยบูรณาการเช่นกันครับ เพราะเราก็ต้องการจะบูรณาการด้วยกันซึ่งก็ดีมากๆ ครับ แต่พอได้ยินมาอีกว่า นักวิชาการเองก็อยากจะต้องขอผลงานทางวิชาการด้วย แต่ว่ากันว่า จะต้องทำงานวิจัยอย่างน้อย 50% ของงานวิจัยนั้นๆ จึงจะนำไปขอผลงานหลักๆ นั่นก็หมายถึงว่า ต้องทำกันสองคนหรือคนเดียว หากทำสามคน จะหารแบ่งผลงานกันก็เจอปัญหากันอีก น้ำหนักน้อย ในการพิจารณา.... ผมเห็นตรงเหมือนจะมีความขัดแย้งกัน ไม่แน่ใจว่าระดับนโยบายหรือกฏกันแน่ครับ... ผมเลยมึนว่าตกลงจะบูรณาการหรือว่าจะจับคู่กันทำวิจัย หรือทำคนเดียวตัวเดียว ผู้เดียวกันแน่ เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งทางวิชาการพร้อมๆ กับการทำวิจัย....และส่งผลต่อส่วนรวมด้วย..... ว่าไปแล้วชาวบ้าน เกษตรกร ต้องการอะไรจากพวกเรานักวิชาการกันแน่ เค้าต้องการจะชื่นชมเราที่ได้เป็นนักวิชาการมีตำแหน่ง หรือเค้าต้องการผลงานของการวิจัยกันแน่... 

      เมื่อไหร่ที่จะให้หลายๆ อย่างมันสอดคล้องกันแบบบูรณาการเชิงนโยบายกัน ให้ทำอะไรก็ราบรื่น ต่อเนื่องอย่างที่ธรรมชาติเป็นได้ไหมหนอครับ........

การบูรณาการในธรรมชาติเกิดมานานแล้ว เมื่อไหร่ถึงเวลาบูรณาการนโยบาย 

      บทความนี้ เขียนขึ้นมาไม่มีเจตนาจะว่าใคร...เพียงความขัดแย้งในหัวผมแต่เพียงผู้เดียวที่มองแล้วว่า....ทางออกควรจะเป็นอย่างไร...อะไรคือบูรณาการที่แท้จริง...บูฯ กันมา บูฯ กันไป ท้ายสุดจะเป็นอย่างไร.....

กราบขออภัยหากการบ่นนี้ไปกระทบความรู้สึกในทางลบของท่านนะครับ

ขอแสดงความนับถือครับ

เม้ง 

      
 

หมายเลขบันทึก: 130763เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • ดีใจที่ได้อ่านเรื่องแบบนี้
  • เพราะการศึกษาบ้านเรามันแยกส่วนไงละ
  • ต่างคนต่างทำ
  • บางอย่างทำไม่ได้เพราะแย่งกันทำ
  • ระเบียบระบบราชการบ้านเรามันล้าสมัยด้วย
  • เคยเห็นไหมว่าถ้าเป็นงานวิจัยต้องเป็นชื่อแรกด้วย ถึงจะขอทุนวิจัยได้
  • สรุปมันจะได้ทำงานวิจัยร่วมกันไหมไม่เข้าใจ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ที่ทำให้ได้รับความคิดดีๆๆน้องบ่าว
  • ตามหนุ่มข้างบนมาคะ
  • ใช่แล้วคะ..เราต้องมาเรื่มบู..ทั้งระบบคะ
  • ทำแบบครึ่งๆ กลางๆ กล้าๆ กลัวๆ ไม่ได้ผลคะ
  • ต้องเริ่มให้ทุกฝ่าย สมานไมตรี ประสานสัมพันธ์คะ..งานถึงจะราบรื่น
  • แต่ไม่รู้เป็นอย่างไร...ทำงานกลุ่มทีไร เกี่ยงกันทุกที...นะคะ
  • น่าสงสารเด็กนักเรียนคะ..ถูกพวกครูจับมาบู ซะงง...การจะมาบูกันได้ต้องมีความรู้เรื่องนั้นๆด้วยคะ..แต่เด็กไม่ได้รู้ทั้งหมด..หรือไม่ค่อยแสวงหาความรู้เพิ่ม..เลยไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่คะ
  • ได้รับเมล์แล้วคะ..ขอบคุณนะคะ

ชอบมาก กับประโยคนี้การบูรณาการในธรรมชาติเกิดมานานแล้ว เมื่อไหร่ถึงเวลาบูรณาการนโยบาย นั่นน่ะสิค่ะเมื่อไหร่กัน?????

P
1. ขจิต ฝอยทอง

 

สวัสดีครับพี่บ่าว

  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม
  • หากมีการแยกส่วนแล้วมีกำแพงกั้นระหว่างส่วนยิ่งหนักครับ โดยเฉพาะกำแพงใจ แบบนี้ทำงานไม่ได้แน่นอนครับ
  • หากเราศึกษาน้ำ เราจะเห็นว่าน้ำตกจากฟ้ามีทั้งตรงและเฉียง
  • ตกลงมาแล้วก็มีการซึมลงดินแล้วหากน้ำในดินอิ่มแล้วก็มีการไหลในแนวนอนอีก
  • น้ำใต้ดินในช่วงก่อนอิ่มตัวก็ไหลลงในแนวแรงโน้มถ่วน แต่ลงไปลึกๆ จะไหลแบบแนวระนาบ
  • จะเห็นว่าน้ำก็มีการบูรณาการตัวเองให้สอดคล้องกับสิ่งที่เค้าเป็นตามคุณสมบัติของเค้า
  • จริงๆ คนเรา ได้ชื่อว่า คน หมายถึงการรวมหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ไม่น่าจะแยกส่วนเลย เพราะความหมายก็บอกอยู่ว่า คน คนให้เข้ากัน เพื่อบูรณาการไงครับ ท่านพี่บ่าว
  • ขอบคุณพี่บ่าวมากๆ นะครับ ที่มาร่วมสนุกครับ

บูรณาการมีหลายระดับครับ

มีตั้งแต่นำอย่างน้อยสองปัจจัยเข้ามาทำให้มันกลมกลืนกัน

โดยเน้น

การแก้จุดโหว่ ที่มีทุกอย่างเกือบครบ

ขาดเพียงหนึ่ง

แต่หนึ่งที่เอามาต้องสอดประสานกับที่มีอยู่เดิม

อันนี้ไม่ยากเท่าไหร่

หรือ

การน้ำสองสิ่งเข้ามารวมกัน ผสมผสานกันให้เข้ากัน เพื่อเดินไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

อันนี้แหละยาก

เพราะต่างฝ่ายต่างมีเป้า

ที่อาจต่างกัน

มีทางเดินที่ต่างกัน

แล้วจะให้มารวมกัน ยากส์ จริงๆ

แล้วจะยิ่งยาก ถ้ามีหลายภาคี

อีกแนวหนึ่งคือการคิดแบบบูรณาการ ในคนหนึ่ง ที่ต้องพยายามสอดประสานหลักการต่างๆ พร้อมๆกัน

อันนี้ก็ยากพอสมควร ถ้าไม่ชัดเจนในเนื้อหา แต่จะง่าย ถ้าชัด

แบบที่ ๔ ซับซ้อนขี้นไปอีก

ที่แต่ละคนต้องบูรณาการของตัวเองให้ได้ ก่อนจะไปบูรณาการกับคนอื่น และต้องไปบูรณาการเชิงวิธีการและเป้าหมายอีก

ซึ่งจะซับซ้อนในแต่ละขั้นตอน และมีหลายขั้นตอนที่จะต้องบูรณาการเชิงเวลา และเชิงสถานที่ เชิงทรัพยากร เชิงสังคม เชิงเป้าหมายการพัฒนาอีกหลายชั้น

และบางทีต้องทำพร้อมๆกัน

ต้องการทั้ง harddisk ram cpu ที่เข้ากันพอดี

ขัดกันก็ไม่ได้

นี้แหละที่ว่าบูรณาการมันยาก

ในธรรมชาติใช้เวลา และเป้าหมายร่วมเดียวกัน

แต่เราคิดว่าไม่มีเวลาและเป้าหมายแฝงต่างกันครับ

เลยยากกำลังยี่สิบ ครับ

 

555 ตอนแรกนึกว่าเขียนเรื่องเกี่ยวกับ ม.บูฯ
P
2. naree suwan

 

สวัสดีครับคุณนารี

  • ขอบคุณมากครับผม ขอบคุณพี่บ่าวด้วยครับ
  • ในสมองของคนเราก็มีหลายๆ อย่างใช่ไหมครับ เอาง่ายๆ ก็มีสมองอยู่สองซีก ซ้ายขวา ก็เก็บฐานข้อมูลที่ต่างๆ ถามว่าเราจะบริหารอย่างไร เพื่อให้สมองสองซีกนี้ทำงานร่วมกัน บูรณาการสมองทั้งสองซีกกันก่อนในตัวเรา...
  • เมื่อเราบูรณาการตรงนี้ได้ เราจะเข้าใจต่อการบูรณาการคนสองคนให้ทำงานร่วมกันได้ ถ่ายเทแลกเปลี่ยนกันเองตามหลักของความร้อน หรือการถ่ายเทพลังงาน
  • หากเราเองยังสับสน...พอเอาไปถ่ายทอดเราก็สับสนเด็กก็สับสน สับกันสนกันสนุกเลยหล่ะครับ...ผมก็ต้องฝึกในตัวเองอีกเยอะเลยครับผม...
  • การทำงานกลุ่มอาจจะต้องแชร์ใจ กาย ร่วมกันครับ หากแชร์ร่วมกันไ่ม่ได้ก็ไม่เกิดเป็นงานกลุ่มแน่นอน...
  • คนต้องฝึกร่วมกันคิด ร่วมกันจูนคลื่นสมอง คลื่นใจนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
P
3. ครูแอน

 

สวัสดีครับคุณครูแอน

  • ขอบคุณมากๆ ครับ คุณครูสบายดีไหมครับผม
  • ทำขนมเป็นไงบ้างครับ มีลูกค้าเยอะไหมครับ ท่าทางจะมีลูกค้าใน g2k สนใจจะเป็นลูกค้าเยอะครับผม น่าสนใจดีนะครับ ทำกิจกรรมกับเด็กๆ ในชุมชน
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่สนใจประโยคการบูรณาการครับ เราคงต้องร่วมมือกันประสานและำทำความเข้าใจกันนะครับ
  • การออกกฏอะไรบางครั้งกระทบกับระบบอื่นๆ หลายๆ อย่างครับ หากเราคิดให้รอบคอบกันก็คงจะดีครับ
  • การบูรณาการก็เริ่มได้ตั้งแต่ตัวเราในหัวเรา ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป วันหนึ่งจะเป็นฐานที่มั่นคงเองครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ สนุกกับการสอนเด็กๆ นะครับผม
P
5. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

 

สวัสดีครับท่าน อ.แสวง

  •  ขอบคุณท่านอาจารย์มากครับ ที่นำระดับของการบูรณาการมาแบ่งแยกให้เห็นนะครับ
  • การบูรณาการสมองซีกซ้ายขวา และเอาสิ่งที่อยู่ในแต่ละซีกมาผสมกัน ด้วยสะพานเชื่อมที่ดี ให้เกิดการบูรณาการกันของสิ่งที่รู้ๆ มาโยงเชื่อมเป็นสิ่งเดียวกัน
  • มองให้ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของการเชื่อมสัมพันธ์
  • การจัดการบริหาร เชื่อมโยง เพื่อรวมเรื่องต่างๆ เข้าด้วยกันในการแก้ปัญหาบางอย่าง หรือใช้เป็นการอธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้นั้น จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลพื้นฐานในแต่ละเรื่องแล้วค้นหากุญแจหลักๆ ที่จะเชื่อมสิ่งสองสิ่งนั้นให้เข้ากันได้ กลายเป็นการพังทลายกำแพงที่กั้นออกให้พังทลายลงไป กลายเป็นห้องใหญ่ห้องเดียวกัน แล้วค้นหากุญแจไปเรื่อยๆ จนกว่าห้องต่างๆ จะกลายเป็นห้องโถงใหญ่
  • หากสามารถจะพังทลายฝาที่กั้นแต่ละด้านออกไปได้ ก็จะดีมากๆ ครับ
  • ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆ นะครับ
P
6. Little Jazz \(^o^)/

 

สวัสดีครับน้องซาน

  •  ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมครับ
  • มีความสุขในวันคล้ายวันเกิดนะครับผม มีความสุขในการทำงานต่างๆ ตลอดจนเป็นเครือข่ายสำคัญของการพัฒนาชุมชนแห่งนี้ต่อไปนะครับ
  • ขอบคุณมากๆครับน้อง
  • สวัสดีครับคุณเม้ง
  • กรณีที่นโยบายไปทาง ปฎิบัติไปทาง เป็นเรื่องตลกที่พบบ่อย จนไม่ควรแปลกใจอีกต่อไป
  • การขับเคลื่อนการวิจัยบูรณาการ เป็นตัวอย่างสุดคลาสสิกของการไม่บูรณาการ ที่น่าจะได้รางวัล อิ๊ก โนเบล
  • "...จงทำวิจัยร่วมกับคนอื่น"
  • "...จงมีส่วนในงานวิจัยเกินครึ่งเสมอ"
  • "...จงไม่ทำวิจัยแบบเบี้ยหัวแตก"
  • แหลงได้หรอย ฟังแล้วได้แรงอก

 ....

 แปลเป็นภาษาบ้าน ๆ ว่า

"ควรทำไม่เกิน 2 คนเสมอ"

P
11. wwibul

 

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆ เลยครับอ่านแล้วโดนจริงๆ นะครับ
  • ผมขออนุญาตยกมาอีกรอบแล้วย้ำอีกรอบนะครับ
  • การขับเคลื่อนการวิจัยบูรณาการ เป็นตัวอย่างสุดคลาสสิกของการไม่บูรณาการ ที่น่าจะได้รางวัล อิ๊ก โนเบล
  • "...จงทำวิจัยร่วมกับคนอื่น"
  • "...จงมีส่วนในงานวิจัยเกินครึ่งเสมอ"
  • "...จงไม่ทำวิจัยแบบเบี้ยหัวแตก"
  • แหลงได้หรอย ฟังแล้วได้แรงอก
  • "ควรทำไม่เกิน 2 คนเสมอ"
  • อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในจุดด้อยที่เราทำกันเป็นทีม หรือมีแต่การส่งเสริมแต่เจอความขัดแย้งอื่นที่ไม่ค่อยเือื้อ
  • หันมาทำงานวิจัยเป็นทีม เน้นศรัทธาวิจัยนำ เอาเป้าหมายของประโยชน์ต่อสังคมเป็นหลักดีกว่าครับ สิ่งดีๆ อื่นๆ จะตามมาเองครับ จึงขอยก สิ่งนี้มาอีกรอบครับ
  • The image “http://www.schuai.net/register/KingRama8th2005/kingmahidol.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

  • น่าจะเป็นสัจนิรันดร์ สำหรับคนที่ทำจริงๆ ครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

เบิร์ดชอบความเห็นของทุกๆท่านในบันทึกนี้ คม ชัด ลึก ้ดีเลยล่ะค่ะ โดยเฉพาะของ อ. แสวงและ อ. wwibul

" บูรณาการ " ก็คงเหมือนคำอีกหลายๆคำที่กลายเป็นมนตราในการท่องบ่นเพื่อความดูดีจนลืมคิดถึงรากฐานและ " ความจำเป็น " ที่ต้องมีคำๆนี้

เบิร์ดอยากจะชวนตั้งคำถามว่า " บูรณาการทำไม ? "... " ทำไมเราต้องสนใจศึกษา ค้นคว้าทักษะเกี่ยวกับการบูรณาการ ? " ..และ " เราจะคิดและทำโดยไม่บูรณาการได้หรือไม่ ? "

หากเรายังตอบไม่ได้ว่าจะเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ " บูรณาการ " ไปทำไม .. และตัวเราเองยังมองไม่เห็นความหมาย และความสำคัญที่แท้จริง  การบูรณาการก็จะเป็นเพียงความรู้ที่ได้แต่พูดออกมาแต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้..

ในระยะเป็นสิบปีที่ผ่านมาเบิร์ดสังเกตุเห็นว่าสังคมไทยจะมีกระแสความสนใจเป็นบางเรื่อง และเป็นพักๆเหมือนเป็นแฟชั่นและหายไปโดยที่ยังไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ำมาพูดกันอย่างแท้จริงได้ เช่นเรื่องการทำงานเชิงพหุภาคี  การสร้างประชาคม  การพัฒนาทุนทางสังคม  แม้กระทั่งงานวิจัยเครือข่ายต่างๆ ทำให้เบิร์ดเป็นห่วงว่าความสนใจต่อเรื่องการบูรณาการก็อาจจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกันน่ะค่ะ..

สำหรับตัวเบิร์ดเอง  เบิร์ดมองว่าเคล็ดลับแห่งการบูรณาการอยู่ที่กระบวนการพัฒนาศักยภาพภายในตัวตนของเรา  เป็นเรื่องพัฒนาจิตให้เป็น มนุษย์ที่แท้  น่ะค่ะ เพราะมนุษย์นี่เองคือแหล่งกำเนิดของการบูรณาการ  เนื่องจากการบูรณาการเป็นระบบธรรมชาติ มนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  และมนุษย์กับโลกก็ไม่ได้แยกออกจากกัน..

วันนี้เริ่มตื้อๆ แล้วจะเข้ามาต่อใหม่ค่ะ..ขอบคุณนะคะที่พูดถึงเรื่องนี้้เพราะอึดอัดมานานเหมือนกัน 

 

 

 

 

P
13. เบิร์ด

 

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่มาช่วยเขย่าให้คำว่าบูรณาการแตกกระจายครับ จะได้ตกตะกอนกันใหม่อีกครั้งนะครับ
  • หากเรายอมรับว่า ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนสัมพันธ์กัน เกี่ยวเนื่องกันเสมอ
  • และเราเข้าใจในความสัมพันธ์เหล่านั้น เรียนรู้เพื่อนอยู่ร่วม ทำความเข้าใจ สร้างสมดุลให้เกิดแล้ว
  • ผมว่าคำว่า บูรณาการไม่จำเป็นใดๆ เลยครับ
  • ไ่ม่จำเป็นจะต้องมีเลย เพราะสิ่งที่เป็นอยู่มันบูรณาการอยู่แล้วในระบบธรรมชาติใช่ไหมครับ
  • แต่สิ่งที่เราเป็นคือ คนเราต้องเรียนรู้ เราเข้าไม่ถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหมด และไม่สามารถจะเข้าใจได้ทั้งหมดว่า อะไรสัมพันธ์กับสิ่งใด อย่างไรบ้าง มองไม่ทะลุเราก็จะอาจจะสร้างปัญหาได้ หากมีการคิดและทำอะไรขึ้นการ
  • คนเราเรียนรู้กันได้หลากหลายในสาขาวิชา ด้วยคำว่าการแยกสาขาวิชานั้นเป็นการตั้งกำแพงแล้วว่า วิชานั้นวิชานี้ ทั้งๆ ที่มันเชื่อมโยงกันตามแบบของมัน ตามหลักและเหตุผลของมันใช่ไหมครับ
  • บูรณาการจริงๆ แล้วต้องจัดการในตัวเองครับเป็นสิ่งเริ่มต้น เพราะหากบูฯ ในตัวเองไม่ได้แล้วจะไปบูฯ ข้างนอกก็อาจจะลำบากครับ แม้ในระบบคิดเรายังมีความขัดแย้งแบ่งกลุ่มอยู่อีกมากมายเลยครับ เพียงแต่การประสานบริหารสมองซ้ายขวาให้สมดุล ใช้ประยุกต์ร่วมกันให้เป็นเกิดเป็นเกลียวแห่งปัญญาเป็นหนึ่งเดียวก็ทำได้ จริงๆ หากเราไม่ได้มาคิดแบ่งสมองซีกซ้ายขวาตั้งแต่แรก เราก็คิดหลายๆ อย่างได้ชัดขึ้น ไม่ต้องไปแบ่งเลย ว่าคนเรามีสมองสองซีก
  • ก็มีสมองเดียวนี้หล่ะ มีหลายๆ อย่างรวมกัน คิดทั้งศาสตร์ที่มีทุกๆ ศาสตร์ร่วมกัน ปัญญาก็เกิดร่วมกัน
  • ธรรมชาติก็ไม่เคยจะแบ่งแยกว่าอะไร ผมเคยพูดไว้ในบทความต้นๆ เสมอว่า ธรรมชาติไม่เคยคิดจะแบ่งอาณาเขตรั้วบ้านเลย ว่านี่ประเทศไทย เขมร ลาว พม่า อากาศไม่เคยเลยครับ ที่จะแบ่งแยก เราเผาป่าท้ายที่สุดอากาศก็รวมกัน ผมถึงบอกว่า เราผายลมที่นี่ อาจจะมีผลต่อการเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นได้ หากผีเสื้อกระพือปีกที่อเมริกา ทำให้เกิดเฮอริเคนที่อีกที่หนึ่ง
  • ดังนั้น บูรณาการหลักๆ มันอยู่ในระบบคิดครับ คือ การบูรณาการทางความคิดนั่นเอง เพราะหากไม่ผ่านขั้นตอนนี้ อยากที่คนสองคนจะคุยกันได้ เดินจูงมือเดินไปทางเส้นเดียวกันได้
  • การบูรณาการเลยมีความสำคัญในการคิดในระบบคิดของตัวเองและผู้อื่นๆ ร่วมกัน จะว่าอีกนัยหนึ่ง ก็เหมือนกับการเข้าใจเขาเข้าใจเรา เข้าใจชุมชน แล้วปรับอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว
  • ขอบคุณมากๆ นะครับที่มาช่วยทำให้ผมกวนน้ำเพื่อหาตะกอน แต่ไม่แน่ใจว่าที่พูดมาจะมีการตกตะกอนบ้างหรือไม่ครับ
  • รบกวนคุณเบิร์ดมาช่วยบรรเลงกันต่อนะครับผม ขอบคุณล่วงหน้าครับผม ดีไหมครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

บูรณาการจริงๆ แล้วต้องจัดการในตัวเองครับเป็นสิ่งเริ่มต้น เพราะหากบูฯ ในตัวเองไม่ได้แล้วจะไปบูฯ ข้างนอกก็อาจจะลำบากครับ

เป๊ะค่ะ..แจ็คพอตแตกเลย

งั้นเบิร์ดเสนอมุมมองในสิ่งที่เบิร์ดเห็นจากการบู ฯ ทั้งหลายที่ผ่านมาให้ทัศนานะคะ 

เบิร์ดสังเกตเห็นว่า " ภาพของการบู ฯ " ในสมองของคนส่วนหนึ่งนั้นมีลักษณะเป็นภาพของ " การนำชิ้นส่วนต่างๆมากองรวมกันแล้วก็คิดว่าชิ้นส่วนที่กองรวมกันนี้จะกลายเป็นเครื่องจักรที่ทำงานได้ "้ น่ะค่ะ และคนที่คิดอย่างนี้มักจะนิยมเอาหน่วยงานต่างๆมาประชุมกัน แล้วเรียกว่า " ทำงานอย่างบู ฯ " ซึ่งแท้จริงแล้วถึงแม้ชิ้นส่วนของเครื่องจักรนั้นจะครบทุกชิ้น  แต่ชิ้นส่วนเหล่านั้นไม่ได้มีการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน  ไม่ได้เชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์ให้เกิดคุณภาพใหม่ของการปฏิบัติ ชิ้นส่วนเหล่านั้นก็เปรียบเสมือนกองของเศษเครื่องจักรที่ไม่ทำงานนั่นแหละค่ะ

มาความคิดที่สองเกี่ยวกับการบู ฯ กันค่ะ มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่มองว่าการบู ฯ จะเกิดขึ้นหลังจากนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบกันเป็นเครื่องจักร ที่สามารถขับเคลื่อนให้ทำงานได้  เหมือนการประกอบรถยนต์น่ะค่ะ เอาพวงมาลัย เกียร์ เพลา เครื่อง ฯลฯ มาประกอบกัน ซึ่งเป็นภาพของการบู ฯ แบบกลไกที่ไม่มีชีวิต เป็นภาพของระบบที่มีลักษณะจำกัด ปรับตัวเองไม่ได้  เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองไม่ได้่ ก็รถยนต์แม้จะประกอบจนวิ่งได้แต่ก็เป็นการบูรณาการแบบสถิตย์นิ่งนี่คะ  ไม่มีชีวิต ไม่มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมไทยและสังคมโลกที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

ภาพ 2 ภาพนี่จะเป็นภาพที่อยู่ในความคิดของคนส่วนใหญ่มากๆเลยล่ะค่ะ  เพราะเราจะอยู่ภายใต้กระบวนทัศน์แบบเก่่าที่มองปัญหาแบบแยกส่วน

 แต่ถ้าเราบู ฯ แบบระบบที่มีชีวิตล่ะคะ จะเป็นยังไง ?

เป็นแบบที่คุณเม้งตอบไงคะ ..เริ่มที่ตัวเรา.. เอาให้เห็นชัดเลยนะคะ..เรามาดูจากการงอกของเมล็ดพืชกันค่ะ ( คุยกับนักสร้างภาพจำลองของต้นไม้ก็ต้องเอาแบบนี้แหละค่ะ )

เมล็ดพืชเล็กๆย่อมไม่สามารถงอกงามได้ตามลำพัง การงอกของเค้าต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่ด้วย เช่น ดิน น้ำ อากาศ แสง และแร่ธาตุต่างๆ ตัวเมล็ดเองมีหน้าที่เป็น " แหล่ง " ( Place ) ที่เป็นองค์รวมให้เกิดการบูฯของการเจริญเติบโต

เมื่อเมล็ดนี้เริ่มผลิดอก ออกผล เป็นต้นไม้ เมล็ดก็เป็น " ผู้จัดการ " ( organize ) ให้เกิดกระบวนการเจริญเติบโต ( Generate  Growth ) เช่นเดียวกับระบบชีวิตที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องไงคะ..

การบูรณาการจึงเป็นเรื่องของการ " รู้ลึกซึ้ง " ถึงสรรพสิ่งที่เป็นพลวัตร  เป็นเรื่องของระบบชีวิตที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง แบบที่คุณเม้งว่าไว้นั่นแหละค่ะ..ตัวเราคือผู้เชื่อมโยงกับสรรพสิ่งทั้งตัวเรา  คนรอบข้าง   สังคม   ธรรมชาติ ..และจักรวาล  เราจึงต้อง " เรียนรู้ " ในการเดินทางเข้าสู่ตัวตนของเราอย่างแท้จริง

เอาแค่นี้่ก่๋อนนะคะ วันนี้มึนมาหลายเรื่องเลยค่ะ แต่สนุกกับบันทึกนี้จริงๆ ขอบคุณมากๆนะคะที่เขียน 

 

 

 

 

 

 

 

 

P
15. เบิร์ด

 

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • สบายดีไหมครับ ขอบคุณมากๆ เลยนะครับที่มาต่อยอดไว้ต่อให้ผมได้แตกยอดต่อนะครับ
  • ตามที่คุณเิบิร์ดได้ยกตัวอย่างการเอา ชิ้นส่วนต่างๆ มากองๆ กันแล้วพยายามประกอบทำให้เครื่องจักรนั้นทำงานได้ มองๆ ไปก็เหมือนว่าจะเอาสิ่งที่มีมารวมกัน เสมือนว่าเป็นการรวมกันแบบบูรณาการ  แต่สิ่งที่ขาดคือความเป็นธรรมชาติของสิ่งที่ประกอบขึ้นมา เพราะนำเอามาจากสิ่งที่มีในตอนนั้น และยังมีสิ่งที่ขาดๆ ด้วยที่ไม่มีในตอนนั้น การบูรณาการแบบนี้ อาจจะมีบางส่วนแหว่งหายไป
  • ผมเลยจะขออนุญาตมั่วสองแนวทางสำหรับการบูรณาการ ผมมองว่าเราจำเป็นต้องบูรณาการในเรื่องของโครงสร้างและเรื่องของบทบาทหรือกระบวนการ Structural and Functional Integration ในเรื่องของต้นไม้ก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีทั้งโครงสร้างและโปรเซสภายในที่เกิดการบูรณาการตั้งแต่กระบวนการภายในดิน ก่อนจะมีการดูดน้ำอาหารเข้าราก เข้าไปแล้วลำเลียงไปที่ส่วนไหนบ้าง ไปปรุงอาหารที่ตรงไหน ได้อาหารแล้วส่งอาหารไปไหนบ้าง ไปสร้างหรือไปซ่อมแซม แล้วปลดปล่อยอะไรให้กับสิ่งแวดล้อมอีกบ้างเพื่อดึงจากสิ่งแวดล้อมใหม่เข้ามาเป็นการโยงใย ระหว่างโครงสร้างและโปรเซสเข้าด้วยกัน ให้สิ่งนั้นๆ มีชีวิต
  • รถยนต์ก็เช่นกัน มีแต่โครงสร้างไม่มีโปรเซสก็วิ่งไม่ได้ ดังนั้น โครงสร้างและฟังก์ชัน มีความจำเป็นมากๆ จำเป็นตั้งแต่ภายในของเราคือ โครงสร้างของความคิดเชิงบูรณาการ และนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ โปรเซสในการคิดโยงใยให้โครงสร้างเหล่านั้นที่เรามีในระบบคิดมาเชื่อมโยงกันได้ ให้ก่อเกิดเป็นการบูรณาแท้จริง
  • การเห็นตัวอย่าง สัมผัสกับธรรมชาติเป็นระบบหนึ่งที่นำไปสู่การบูรณาการธรรมชาติเข้ากับระบบคิดเพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจระหว่างตัวเรากับสิ่งรอบตัว
  • การบูรณาการเมื่อเกิดแล้วปัญหาตามมาจะลดลงเพราะว่าระบบทุกอย่างสัมพันธ์กัน ไม่ขัดแย้งกัน เมื่อไม่ขัดแ้ย้งก็นำไปสู่ภาวะที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปได้ครับ
  • ข้อสำคัญคือ .... เราจะทำอย่างไรให้ระบบคิดของเรามีโครงสร้างที่ดีและเชื่อมโยงโปรเซสที่ดีเข้ากันได้อย่างมีประสิทธิภาพในระบบคิดภายใน ก่อนจะนำไปใช้ในวาระต่อไป
  • ขอบคุณมากนะคับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท