ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง - คนหนึ่งฝัน คนหนึ่งแก้ คนหนึ่งไม่สนใจ


สวัสดีครับทุกท่าน

       สบายดีนะครับผม วันนี้ไปเจอคลิปหนึ่งน่าสนใจอีกแล้ว หากคุณได้ดูรับรองว่าอึ้งครับ เป็นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จริงๆ อาจจะไม่ใช่ปัญหาครับ เป็นเพียงการตอบสนองจากธรรมชาติจากการกระทำของผู้กระทำ ก็ว่าได้ครับ

       ยามที่เราสบาย ธรรมชาติสมบูรณ์ เราก็ช่วยลดปริมาณกันครับ แต่พอปริมาณหายไปจนกลายเป็นปัญหา เราก็สู้กัน แต่แก้ได้ไม่ง่ายเหมือนตอนลดปริมาณในตอนต้น มาดูผลจากการบรรเลงดีกว่าครับ

Taken From... http://www.youtube.com/watch?v=z-3VCYK_Mmc

       คุณดูแล้วรู้สึกอย่างไรครับ ผมเองดูแล้วพูดบ่ออกเลยครับ

ขอให้ทุกท่านสนุกในการอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เหลืออยู่ครับ เราสามารถทำได้สามทางคือ

  1. เสพเดินกันต่อไป
  2. สร้างเดินกันต่อไป
  3. เสพไปสร้างไป หรือสร้างไปเสพไป

แถมอีกอันครับผม (ถนนที่ชอบวิ่งเข้าหาเป่าเขา หรือถนนชอบตัดผ่านต้นไม้ใหญ่ครับ)

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=z-3VCYK_Mmc

 

       แถมที่จำลองไว้สองแฟ้มครับผม

บริเวณแหลมตาชี อ่าวปัตตานี จ.ปัตตานี

 

บริเวณการกัดเซาะที่ บ้านนาทับ จ.สงขลา

 

ขอบคุณมากครับ

เม้ง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 166626เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ธรรมชาติสร้างความสมดุลครับ

พวกมนุษย์ทั้งหลายจะทำอะไรก็ทำไป เดี๋ยวธรรมชาติจะมากวาดล้างเอง

ปัญหาการจัดการทรัพยากรมีทุกที่ครับ บนดอยก็บุกรุกป่า ชาวเลก็มีการบุกรุกเล ส่วนใหญ่ชาวบ้านไม่เท่าไหรครับ นั่นคือวิถีชีวิต อยู่กับธรรมชาติ แต่สิ่งที่เราห่วงคือ "นายทุน" นี่หละครับ น่าเป็นห่วงมาก เพราะทำลายกันมากด้วยเหตุผลทางธุรกิจ

 

ทางออกก็คือ ให้ชุมชนเข้มแข็งครับ แต่กระบวนการนั้นยากมาก

"เสพไปสร้างไป" ครับ  อยู่ที่เราจะจัดการอย่างไร มันมีสมดุลอยู่ มีวัฎจักรของธรรมชาติอยู่ หากเราใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีจิตสำนึกนะครับ

สวัสดีครับคุณเม้ง

ไม่ได้คุยกันนานมาก เห็น youtube video แล้ว ผมนึกถึงเรื่องที่เคยดูใน current tv ของทางอเมริกา เป็นสารคดีผลกระทบโลกร้อนในบังกลาเทศ ยลเห็นกันจะๆ ว่าน้ำทะเลมันเซาะฝั่งหนักแค่ไหน ภายในหนึ่งปีฝั่งพังทลายเป็นพื้นที่หลายสนามฟุตบอล ชาวบ้านก็ต้องถอยร่นมาเรื่อยๆ จนไม่มีแผ่นดินจะอยู่

ดูของทางบ้านเราก็น่าเป็นห่วงเหมือนกันนะครับ ผมคนสมุทรปราการด้วย เฮ้อ ผมก็ว่าต้องเสพไปสร้างไปเหมือนคุณจตุพรนั่นละครับ

 

ผมใส่ embed ลิงค์แต่ไม่แน่ใจว่ามันจะขึ้นหรือเปล่านะครับ ถ้าไม่ได้ก็ตามลิงค์นี้นะครับ

Bangladesh on the Brink

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่เหลียง คุณเอกจตุพร และคุณแว้บ ครับ

       ขอบคุณมากๆ นะครับ สำหรับความเห็นดีๆ ที่ห่วงใยต่อธรรมชาติและความเป็นอยู่นะครับ การกัดเซาะชายฝั่งว่าไปก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่เบื้องต้นของโลกเลยนะครับ เพียงแต่ชีวิตเราสั้นกว่าที่จะรับรู้อะไรได้มาก แต่ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงเยอะเลยทีเดียวครับ

       ดิน น้ำ ลม ไฟ มีผลต่อการกัดกร่อนด้วยกันทั้งสิ้นครับ

  • น้ำกินดิน
  • ลมกินดิน
  • ไฟกินดิน กินป่า
  • น้ำกินไฟ
  • ฯลฯ 
  • แต่ท้ายสุดแล้วก็อยู่ร่วมกันในส่วนผสมที่พอดี สร้างสมดุลใหม่

มดหนีน้ำ  คนหนีคลื่น  ก็คือคือกัน

เพียงแต่ว่าจะมากหรือน้อยเท่านั้น รุกล้ำมากก็กระทบมา รุกล้ำน้อยก็อาจจะกระทบน้อยกว่า

เมื่อธรรมชาติมีคำตอบให้ตรงนั้นเป็นอย่างนั้น ไฉนเราจึงต้องหาคำตอบใหม่ไปแทนที่คำตอบเก่า เพื่อสิ่งที่ดีกว่า หรือเพื่อชีวิตเราที่ดีกว่า?

คำตอบของที่หนึ่งที่ธรรมชาติสร้างให้ อาจจะไม่ใช่คำตอบหนึ่งของอีกที่หนึ่ง ป่วยกันตรงไหน ก็ใช้สมุนไพร ดินน้ำลมไฟ ตรงนั้นหล่ะรักษากันครับ หากไทยป่วย ไทยก็ต้องหาทางรักษาโรคกันเอง ไม่แผนใดก็แผนใด

แต่หากมองในภาพรวมโลกก็หนึ่งเดียวถึงกัน แต่ในความหนึ่งเดียวก็มี ชุมชนย่อยเสมอตามลำดับ ในเหมือนมีต่าง ในต่างมีเหมือน

สวัสดีครับ ขอบคุณครับ

 

P

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

 

เห็นชื่อบันทึกนี้แล้ว โพลงขึ้นมานิดหนึ่งว่าชื่อควรจะเพิ่มอีกวรรค เป็น...

  • คนหนึ่งฝัน คนหนึ่งแก้ คนหนึ่งไม่สนใจ
  • 5 5 5....

 

คนหนึ่งฝันฝันแล้ว           เร่งสร้าง

คนหนึ่งสร้างแต่สร้าง       ไม่แก้

คนหนึ่งซึ่งถูกจ้าง            มาเพื่อ ช่วยแก้

คนหนึ่งเลิกฝันแก้           จริงแท้ ไม่สน

 

เจริญพร

กราบนมัสการหลวงพี่ครับ

       กราบขอบพระคุณมากครับ เปลี่ยนชื่อบทความให้แล้วนะครับ

ทางใต้สบายดีกันนะครับผม

กราบขอบพระคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท