ระหว่างซื้อ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เข้ามา กับติดตั้ง พีซีคลัสเตอร์ อะไรเหมาะกับไทยในตอนนี้กว่ากัน


ไม่งั้นเราจะเจอปัญหาการมีเครื่องมือ เพียงแค่ไว้โชว์และอวดกันว่าตนมี ซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์ใดๆ เลยต่อสังคมไทย ผมเชื่อว่าทุกท่านที่ใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ก็พยายามเร่งกันทำงานเพื่อทำให้ระบบมีประโยชน์มากขึ้น มากกว่าการปล่อยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ กินพลังงานไฟฟ้าไปโดยเปล่าประโยชน์นะครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

         วันนี้ผมชวนพวกท่านมาทำความรู้จักกับศัพท์สองคำคือ

  • ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และ

  • พีซีคลัสเตอร์

คำสองข้อนี้ เป็นยอดแห่งคอมพิวเตอร์ เลยหล่ะครับ โดยที่ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จะเกิดมาก่อนครับ สร้างโดยต่างชาติครับ และพีซีคลัสเตอร์ก็เกิดที่ต่างประเทศเช่นกันครับ แต่ตัวซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นั้น จะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่บรรจุไปด้วยพลังสมอง พลังในการคำนวณสูง โดยมีจำนวนซีพียูมากมาย เช่น 128 ตัว หรือ 512 ตัว ในตู้ใหญ่ๆ ตู้หนึ่ง แต่ราคานั้นมหาศาลครับ ใครจะตั้งงบซื้อกันซักที ต้องต้องวางกันที่ ร้อยล้านขึ้นไปครับ

 ส่วนพีซีคลัสเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันนี่หล่ะครับ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยที่เราจะต้องเอาเครื่องเหล่านั้นมาต่อเชื่อมกันให้รู้จักกัน และมีตัวแม่ข่ายในการรับงานแล้วส่งงานไปเพื่อสั่งให้เครื่องลูกข่ายทำงานร่วมกัน เป็นเหมือนกับว่า ทำงานแบ่งงานกันทำ ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น เรามีเงินซักหนึ่งล้าน ซื้อเครื่องพีซีเครื่องละ สองหมื่นห้าพันบาท เราอาจจะซื้อคอมพิวเตอร์มาได้ประมาณ สี่สิบเครื่อง

แล้วเอามาเชื่อมต่อกัน ร่วมกันทำงานแบ่งงานกันทำ จะทำให้งานนั้นเร็วกว่างานที่ใช้เครื่องเดียวคำนวณ เกือบ 40 เท่า (ในทางปฏิบัติคงไม่ถึงเพราะว่ามีการสูญเสียศักยภาพทางด้านการส่งข้อมูลด้วยครับ)

แต่หากเราซื้อ supercomputer จำนวน 40 ซีพียูในเครื่องเดียวกัน ราคาคงไม่ใช่หนึ่งล้านเป็นแน่ๆ ครับ

แต่การมี supercomputer นั้น หากมีเงินแล้วที่สำคัญ คนมีความรู้พอจะดีมากๆ คือใช้เป็นสร้างเป็น เขียนโปรแกรมเป็น รู้ว่าซื้อมาเพื่อให้ทำอะไร ก็จะเกิดประโยชน์กับชาติไม่น้อยครับ เพราะศักยภาพของ supercomputer นั้นยอดเยี่ยมครับ แต่ราคาสูงครับ ดังนั้น ทางออกหนึ่งที่ต่างประเทศนิยมใช้กันคือ การทำพีซีคลัสเตอร์ครับ โดยใช้การบริหารงานส่วนพีซี (บุคคล) มาทำการบริหารให้มีการคำนวณตามกฏระเบียบนะครับ แล้วจะได้งานที่มีศักยภาพไม่แพ้ supercomputer เลย

ต่อมาภายหลัง เมื่อคนพูดถึง พีซีคลัสเตอร์ PC Cluster ก็จะรวมไปถึงซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเช่นกันครับ

อย่างที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กที่เยอรมัน ตอนนี้ก็มีอยู่จำนวน 512 ซีพียูครับ ซึ่งนับว่ายอดครับ แต่ที่สำคัญคือ เค้ามีงานรันบนเครื่องนี้เต็มไปหมดครับ เพราะคนเขียนโปรแกรมก็ต้องคิดกันนะครับ และต้องบริหารซีพียูได้ด้วยนะครับ

ผมเลยถามว่า บ้านเราเมืองไทย ตอนนี้เรื่อง พีซีคลัสเตอร์ เดินไปอย่างไรบ้างครับ หากจะซื้อซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เราพร้อมหรือเปล่า แล้วมันแพงเกินไปหรือเปล่า ทางออกที่ดีคืออะไรครับ

มีโปรแกรมอะไรบ้างตอนนี้ที่ใช้กันในเมืองไทยตอนนี้ แล้วมีการประยุกต์ในการใช้งานด้านใดบ้างครับ

ทั้งนี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ หรือพีซีคลัสเตอร์ล้วนเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น แต่สิ่งสำคัญคือ การทำงานในด้านที่จะนำมาสู่การบูรณาการให้เข้ากันระหว่างสาขาต่างๆ นักโมเดลลิ่ง นักจำลอง คอมพิวเตอร์ นักคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา สังคมวิทยา นักพัฒนาชุมชน สื่อสารมวลชน และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหา ให้หันมาร่วมมือกันอย่างจริงๆ ว่าด้วยเรื่องการบริหารคน เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และการเตรียมคนให้พร้อม ก่อนจะมีอุปกรณ์เหล่านี้ด้วยครับ

ไม่งั้นเราจะเจอปัญหาการมีเครื่องมือ เพียงแค่ไว้โชว์และอวดกันว่าตนมี ซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์ใดๆ เลยต่อสังคมไทย ผมเชื่อว่าทุกท่านที่ใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ก็พยายามเร่งกันทำงานเพื่อทำให้ระบบมีประโยชน์มากขึ้น มากกว่าการปล่อยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ กินพลังงานไฟฟ้าไปโดยเปล่าประโยชน์นะครับ  

 เชิญท่านบรรเลงครับผม

ขอบคุณมากนะครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

ปล.อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Supercomputer สำหรับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ครับ

คำสำคัญ (Tags): #pc cluster#supercompter#thailand
หมายเลขบันทึก: 92003เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2007 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

สวัสดีครับคุณเม้ง  เยอรมัน ตอนนี้เมืองไทย 16.25น.

  • ผมยังไม่ค่อยสันทัดกับระบบคอมพิวเตอร์ครับ  จึงไม่ขอบรรเลง  ขอเป็นกองเชี้ยร์ดีกว่าครับ....เอ้า...โยกว้าย...โยกขวา...เด้ง

 

P

สวัสดีครับคุณสะมะนึกะ

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ อิๆ ไงวันนี้มาเป็นกองเชียร์หล่ะครับ
  • เขียนไว้เพื่อให้ตรวจสอบสมรรถภาพกันนะครับ เพราะหลายๆ อย่างที่เราทำกัน บางทีเราลืมครับ ผมก็เขียนไว้เตือนสติผมด้วยครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ โชคดีครับ
คนไม่ค่อยรู้อะไร
ตอนนี้ก็คงต้องการคนเขียนโปรแกรมที่จะมาควบคุมการทำงานของเครื่อง PC ทั้งหลายในกลุ่มหรือคลัสเตอร์นั้นๆ เพื่อให้พวกธุรกิจนำไปใช้งาน
ไม่มีรูป
คนไม่ค่อยรู้อะไร

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณมากครับที่เข้ามา ร่วมแสดงความเห็นนะครับ เชิญนั่งจิบน้ำชาก่อนนะครับ เอาชาอะไรดีครับ ชาตะไคร้ไหมครับ
  • ครับผม เรื่องคนเขียนโปรแกรม คงต้องสร้างคนสอนคน กันนะครับ จริงๆ แล้วการเขียนโปรแกรมในการบริหารเครื่องพีซีในคลัสเตอร์นั้น เหมือนกันเลยครับ กับการบริหารงานบุคคล ว่าเราจะบริหารคนได้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพงานมากที่สุด
  • หากผู้บริหารบริหารไม่ดี ก็เหมือนโปรแกรมเมอร์ เขียนโปรแกรมไม่ดีนั่นหล่ะครับ เช่นบริหารให้เครื่องคอมพิวเตอร์พูดมากไป ประชุมอย่างเดียว ไม่ได้คำนวณเลย อะไรทำนองนี้ งานก็ไม่เกิดครับ
  • ผมเห็นสองประเด็นเรื่องการบริหารคน กับการบริหารเครื่องแล้วเปรียบเทียบทุกทฤษฏีได้ตรงเผงๆ เลยครับ
  • เช่นเค้าบอกว่า ประสิทธิภาพในการทำงาน คำนวณได้จาก เวลาในการคำนวณ หารด้วยเวลาในการติดต่อสื่อสาร
  • นั่นคือเทียบได้กับการบริหารคน ก็เช่นเดียวกัน หากเวลาในการทำงาน น้อยกว่าเวลาในการประชุม งานที่ได้ก็จะน้อยด้วย นั่นคือประสิทธิภาพในการทำงานก็ลดลงด้วยครับ
  • มีอะไรให้น่าสนใจอีกเพียบเลยครับผม
  • สำหรับการเขียนโปรแกรมในเรื่องการนำไปสู่การนำให้นักธุรกิจไปใช้งานนั้น คงต้องดูครับ ว่าเป็นงานอะไรด้วยครับ แล้วงานแต่ละงาน ก็อาจจะเหมาะกับการคำนวณแบบคลัสเตอร์ แต่บางงาน ก็ไม่เหมาะครับ คงต้องดูว่าจะทำอะไรเป็นหลักนะครับ
  • มีอะไรเขียนไว้อีกนะครับผม ว่าตัวอย่างงานที่ว่าคืออะไร คำนวณอย่างไร แล้วทำอะไรในรายละเอียดของการคำนวณครับ แล้วจะได้แนวทางที่ดีว่า จะใช้อะไรให้เหมาะกับงานกับคนด้วยครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม

คุณ เม้ง ครับ

เปิดประเด็นวันนี้ ผมไปลำบากครับ ไม่สันทัด เลยขอเข้ามาทักทายเฉยๆ

P

สวัสดีครับคุณสิทธิรักษ์

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่เข้ามาทักทาย
  • มองว่าทุกอย่างเกี่ยวข้องกันนะครับ แล้วจะไปได้ด้วยกันหมดเลยครับ
  • จริงเรื่องที่ผมยกตัวอย่างนี่ คือ สัจธรรมนะครับ
  • มองพีซีหนึ่งเครื่องคือหนึ่งคน หนึ่งสมองครับ
  • คลัสเตอร์ ก็คือการรวมพลังสมองเหล่านั้น มาช่วยกันคิดแก้ปัญหาชาตินะครับ
  • ทำให้ชาติเราอยู่ได้ เพราะมีศักยภาพของสมองเหล่านั้นที่ได้รับการบริหารอย่างดีครับ
  • เพียงแต่การบริหารในระดับที่เหนือกว่าจะทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
  • จริงๆแล้วระบบมันเกิดได้ก็เพราะคนนะครับ คนที่นิยามสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาก็เพราะพยายามเลียนแบบคนครับ ในการทำงานร่วมกัน แต่คนมีปัจจัยเยอะมากกว่าคอมครับ เพราะคอมพ์ทำตามที่สั่งเอาไว้ในโปรแกรม ส่วนคนไม่ได้ทำตาม ไม่ได้ถูกโปรแกรม เว้นแต่จะโปรแกรมตัวเอง หรือมีกฏหมายมาบังคับในโปรแกรมต่างๆ นั่นคือ ที่มาของปัญหาใช่ไหมครับ เพราะคนรักอิสระ
  • ลองต่อยอดดูนะครับผม ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ที่อยู่ร่วมกันตลอดมานะครับ

คุณเม้ง  เยอรมันครับ  ตอนนี้เมืองไทย 71.00น.แต่อากาศยังร้อนอยู่

  • ผมอยากให้ลูกสาวคนเล็กเรียนด้านคอมพิวเตอร์โดยตรง จะเริ่มเรียนหลักสูตรไหนครับ...
  • ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.3  เรียนอยู่ รร.หอวัง ครับ
  • จบ ม.3 แล้วเรียนต่อที่ไหนดีครับ..เกี่ยวกับคอม.โดยตรงนี่ครับ
ขอโทษครับเวลาเมืองไทย 17.00น.ครับ

คุณเม้ง

คุณรู้ไม๊ผมกำลังนั่งจิบน้ำชาอยู่ (ชาอูหลง) เด็กหนุ่มที่ไฟแรงหนึ่งแรง เลยคิดว่าถ้ามีคนอย่างคุณอีก 10 อีก  100  อีก  1000 อีก 10000 และ อีก อีก   ประเทศไทยจะไปถึงไหน โอ้ พระเจ้า 

P

สวัสดีครับ

  • ต้องดูก่อนนะครับ ว่าเด็กเค้าชอบอะไรครับ คือให้การสนับสนุนเค้าในทางที่เค้าชอบนะครับ ผมเน้นในความต้องการของเด็กมาก่อนนะครับ
  • ต่อมาก็เสริมให้ตรงที่เค้าต้องการครับ เพราะสมองคนเราและนิสัยบางครั้งหากทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบจะเป็นการฝืนแล้วจะเบื่อเอาในตอนสุดท้ายนะครับ
  • แต่หากน้องเค้าชอบคอมพ์ และรักการควบคุมคอมพ์ก็คงทำได้นะครับ แต่ว่าผมเชื่อว่ามีหลายๆ อย่างให้ทำตอนนี้ในเรื่องคอมพ์ เพราะว่าทุกสาขาจะเกี่ยวข้องหมดแล้วครับ เพียงแต่ว่าเราจะเป็นผู้ควบคุม ผู้สร้าง หรือผู้ใช้ นะครับ
  • สำหรับสถานที่เรียน ผมว่าเรียนที่ไหนก็ได้ครับ เน้นการเรียนและความตั้งใจของลูกเป็นสำคัญ ม.ต้น ม.ปลาย ผมว่าไม่ต่างกันมากครับ ไม่จำเป็นต้องเข้าที่ดีเลิศเสมอไปครับ ผมเชื่อว่าหากเราให้แรงเสริม แรงจูงใจให้ถูกจุด รับรองได้ว่าน้อง จะเดินไปในทางที่เค้ารัก อย่างสมัครใจ
  • แล้วเราก็ไม่ต้องห่วงคอยจ้ำจี้จ้ำไช เลยครับ เพราะเค้าเดินในทางที่รัก มีแรงจูงใจคอยนำทาง คอยหนุน ได้แรงหนุนจากคุณพ่อแม่ที่ดีอย่างพี่กับครูอ้อยอีก ไม่น่ากังวลเลยครับ
  • การเรียนจะสำเร็จแล้วนั่น ผมว่า ครู  เด็ก และสื่อ สำคัญมากกว่าชื่อของโรงเรียนนะครับ
  • มีอะไรเมล์มาได้นะครับ ขอบคุณมากๆนะครับ

ขอบคุณมากครับคุณเม้ง  เยอรมัน

  • คงมีเวลาตัดสินใจอีกหนึ่งปีครับ  ว่าจะต่อสายสามัญหรือสายอาชีพโดยตรงเลย
  • กับเมืองไทยแวะมาทานผัดหมี่โคราชนะครับ
P

สวัสดีครับคุณสิทธิรักษ์

  • ว้าว จิบอยู่แถวไหนครับเนี่ย....ยิ้มๆ
  • ผมเองก็ต้องพัฒนาในตัวซีพียูของผมเหมือนกันครับ คือต้องอัพเกรดทั้งกายใจและความรู้ครับ
  • คอมพ์บางเครื่องเวลาเสีย แล้วเอาไปซ่อม หรือเราแก้หาจุดบกพร่องในเบื้องต้น อาการของมันก็จะต่างๆ กันออกไปครับ ร้อยเครื่องอาจจะมีปัญหาแตกต่างกันมากมายใช่ไหมครับ
  • แต่หากซ่อมแล้วออกมาดี แก้ได้ตรงปัญหา พอเอามาคำนวณ ก็ได้คำตอบเท่ากันเสมอ ในรุ่นและศักยภาพที่เท่ากัน
  • ในคลัสเตอร์เองก็เช่นกันครับ เวลาคำนวณๆ ไป เผลอๆ จะมีเครื่องหนึ่งเดี้ยงไปกลางคัน ถามว่า เราจะจัดการอย่างไร อันนี้นักคอมพ์ก็ต้องคิดหาทางกันไป
  • เทียบได้กับ การที่นั่งทำงานด้วยกันในห้องประชุมนะครับ ดันมีคนหนึ่งเป็นลมไป ก็จะแก้ปัญหาอย่างไรให้การประชุมเป็นไปได้ หรือว่าเผลอๆ ใครไม่พอใจขึ้นมา เดินออกนอกห้องประชุมเฉยเลยครับ อิๆๆ
  • เวลาผมเรียนวิชานี้ เรื่องคลัสเตอร์ในตอน ป.โท ทำให้ผมนึกถึงการบริหารทุกทุกๆคาบไปครับ เวลานั่งเขียนโปรแกรมสั่งให้ โปรเซสแต่ละตัวทำงาน นี่ต้องมานั่งฝึกคิดว่าจะส่งงานให้เค้าคำนวณกันอย่างไรหนอ ทางนี้ดีหรือไม่ดีหนอ ต้องหาแนวทางที่คิดว่าดีที่สุด ให้เค้าแล้วก็สั่งไปในโปรแกรม
  • ตอนนี้ที่เมืองไทยก็มีหลายๆ ที่นะครับ ที่ทำกันอยู่ โชคดีตอนนั้นผมก็ได้เรียนในช่วงแรกๆ ด้วยของวิชานี้ เมื่อประมาณ แปดปีที่แล้วครับ
  • ได้เรียนกับท่าน อ. ภุชงค์ จาก ม.เกษตร นะครับ ซึ่งตอนนี้ก็คงเป็นบิดาคลัสเตอร์ของเมืองไทยไปแล้วมั้งครับ อิๆ (พาดพิงอาจารย์ซะหน่อยครับ) กลับไปคงต้องไปขออัพเดตสมองกันอีกครับ
  • จริงๆ แล้วเรื่อง พีซีคลัสเตอร์นี่หล่ะครับ ที่ทำให้ผมได้หันมาทำงานเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา แล้วจะค่อยเขียนเล่าไว้ให้ฟังในอนาคตครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ วันหนึ่งคงได้มีโอกาสชนถ้วยชาด้วยกันบ้างครับ
P

สวัสดีครับพี่

  • สายอาชีพวิ่งไปสู่การทำงานให้เร็วขึ้นครับ
  • สายสามัญ วิ่งไปสู่การเรียนรู้แบบสูงๆ ขึ้นไปนะครับ (เหมือนผมนี่ไงครับ เรียนมาครึ่งชีวิตแล้ว ฮ่าๆๆ)
  • แต่ยังไงก็ดีทั้งสองทางก็ดีครับ อยู่ที่ว่ามีเป้าหมายอย่างไรครับ
  • มีโอกาสได้กินหมี่แน่ๆ เลยครับ เพราะเห็นภาพที่บ้านท่านครูมาแล้วครับผม
  • ขอบคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีครับพี่เม้ง 

  • สบายดีมั้ยครับ ตอนนี้เลยเวลาน้ำ้ชาแล้วครับ  พี่  น่าจะถึงเวลาอาหารเย็นแล้ววววววววว
  • ไม่ได้เข้ามาอ่านหลายวันแล้วครับ
  • ตอนนี้เลยต้องอ่านย้อนหลัง ฮ่ะๆ  ต้องupdate ข่าวซะหน่อย
  • ก่อนอื่นต้องแสดงควา่มยินดีกับพี่อีกครั้งนะครับ ที่สร้างชื่อให้กับคนไทย และประเทศไทยอีกครั้ง
  • เยี่ยมมากเลยครับ กลับมาเมืองไทยเร็วๆ นะครับ เจ้า software จะได้พัฒนาไปอีกเยอะๆ
  • ผมเองก็สนใจ ระบบ cluster อยู่เหมือนกันครับ อยากลอง set เองดูครับ เพราะว่าเวลา run Model จะได้เร็วมั่กๆๆๆ  พี่เองเคยจักการระบบหรือยังครับ มีอะไรจะแนะนำบ้างมั้นครับ ผมได้เคยอ่านโครงการ Thai Grid อันนีก็น่าสนใจนะครับ มช. เองก็เชื่อมต่อ แต่ว่าอยู่ไนขั้นทดสอบ เห็นว่ามีหลายระดับ ไม่รู้ว่าบรรดา user อย่างผมจะมีโอกาสใช้หรือเปล่าก็ม่ายรู้ เฮ้อ!
  • กำลังมองหา PC เก่าๆ สัก 3 ตัวมาลอง set ดูครับ
  •  ติดเสียแต่ว่าตอนนี้มีเวลาน้อยไปหน่อย ต้องเตรียมตัวสอบ defence Thesis อ่ะครับ  คงต้องรอๆ ไปก่อน  หลังจากผ่านเมื่อไหร่จะลองทำดูครับ
  • Enjoy eating  na krup.

 

 

 

ไม่มีรูป
ยะ

สวัสดีครับน้องยะ

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับผม
  • พี่เพิ่งจะบ่ายโมงครับ
  • สำหรับเรื่องพีซีคลัสเตอร์ พี่ก็เคยเซทมาเมื่อประมาณตอนเรียนโท ที่จุฬา นะครับในปี 1999 นะครับ แล้วก็เขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการถ่ายเทประจุของไฮโดรเจน Charge Transfer ซึ่งกรณีที่รันบนเครื่องเดียว ต้องใช้เวลา ประมาณ แปดชั่วโมงในการรันครับ แต่หากเอาจะใช้รันด้วยคลัสเตอร์จะเร็วขึ้นครับ ก็เป็นจุดเริ่มต้นนะครับ
  • เคยลองเอาความรู้นี้ ไปเซท ที่ ปัตตานี เหมือนกันครับ ระบบทำงานได้ดีครับ เพื่อทดสอบให้เห็นว่าระบบทำงานได้ครับ แต่ก็บุคลากรยังไม่พร้อมนะครับ
  • แล้วก็ได้ฝึกเขียนวิธีการทางด้านนี้อยู่พอสมควรครับ พี่เขียนวิธีการติดตั้งไว้คร่าวๆ ตั้งแต่ที่ตอนมาเรียนที่นี่ใหม่ๆ นะครับ ลองไปอ่านดูนะครับ เข้าไปได้ที่นี่ครับ
  • www.somporn.net  คลิก --> More other projects....more animations.... จากนั้นคลิกรูปคนใส่แว่นตาดำที่ประกอบด้วย 0,1 เข้าไปจะเห็นเมนูทางด้านซ้ายครับ
  • ก็จะเห็นเมนู Parallel Processing นะครับ ลิงก์นี้หล่ะครับ ที่ทำให้พี่ได้มีโอกาสทำงานทางด้านอุตุนิยมวิทยาครับ
  • หรือว่าเข้าตรงๆ ที่นี่ก็ได้ครับ http://www.iwr.uni-heidelberg.de/groups/ngg/People/schuai/Somporn.NET/indexmain.html
  • เพราะ ดร.วัฒนาไปทำวิจัยที่ประเทศกรีก ตอนนั้นครับ แล้วค้นพบลิงก์นี้ เลยได้มาเจอกันแล้วทำงานร่วมกัน ไว้จะเขียนความเป็นมาซักบทความครับ
  • เรื่องการทำ Thai grid พี่ว่าดีแล้วครับ แต่ต้องทำให้เกิดกันจริงๆ แล้วต้องสร้างคนในการทำงานวิจัยด้วยครับ พัฒนาทั้งกริด และงานที่จะรันด้วยครับ คงต้องทำกันให้ชัดเจน พี่กะว่าจะไปเปิดสาขาที่ปัตตานีด้วย (ฮ่าๆ ใครจะลงไปเรียนกับพี่ไหม อิๆ)
  • ตอนนี้เตรียมพัฒนาพลังสมองไว้ให้ดีนะครับ จะได้ทำอะไรเพียบตรึมครับ หากเราเน้นงานเพื่อชาติมาก่อน เงินหล่อเลี้ยงตัวเราพี่ว่า งานนั้นจะมีคุณค่าครับ แต่ก็ต้องมีทางเดินสายกลางที่เหมาะสมครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ กลับไปคงได้ทำอะไรอีกเยอะครับ
ไม่มีรูป
ยะ
  • สำหรับการติดที่พี่เขียนไว้นะครับ เป็นการใช้ MPI library นะครับ สำหรับการรัน น้องจะติดตั้งบนพีซีเครื่องเดียวก่อนก็ได้นะครับ แล้วเขียนโปรแกรมรันบนเครื่องเดียวก่อนนะครับ โดยไม่ต้องมีคลัสเตอร์จริงก็ได้ครับ
  • พอโปรแกรมผ่านแล้วก็ค่อยเอาไปรันบนคลัสเตอร์ครับ เพราะการรัน มันจะเป็นการจำลอง process ขึ้นมากครับ ไม่เกี่ยวกับว่าจะมี cpu กี่ตัวครับ แต่ MPI จะจัดการเรื่องการแจกจ่ายให้เครื่องลูกอีกทีนะครับ
  • หากสนใจจริง ทดสอบติดตั้งดูครับ แล้วเขียนบล็อกที่นี่ มาโพสต์ไว้ก็ได้ครับ พี่จะยินดีเข้าไปช่วยดูให้ คอมเม้นต์ให้นะครับ
  • แต่ขอให้ทำจริงๆ และต่อเนื่องครับ แล้วน้องจะได้รับประโยชน์จริงจังนะครับ
  • ทำอะไรก็ได้ครับ ทำให้หัวใจเต็มร้อยเลยครับ รับรองผลจะได้มาเต็มเม็ดครับ
  • สู้ๆ นะครับ
  • ขอบคุณครับพี่ very fast respond มากเลยนะครับ
  • ขอโทษครับ ผมก็มัวแต่มองนาฬิกาตัวเอง ลืมคิดไปว่าพี่อยู่เยอรมัน ฮ่ะๆ ไม่ว่ากันนะครับ
  • พี่ใช้ ลินุกซ์ ดิสตริบิวชันไหน ในการเซทครับ
    ตอนนี้ตัวที่ผมใช้อยู่เป็นของ OpenSUSE 10.1 แต่ว่าเป็นแบบ single CPU นะครับ ในส่วนของ Model รันบนตัวนี่ไม่มีปัญหาครับ ติดแต่าว่าช้ามาก ถ้้าต้อง grid cell ละเอียดๆ  แต่ว่าตัว Model เขา recommend เจ้าตัว Fedora ครับ ผมเคยลองเอามาลงกับ Laptop Compaq 905AP มันมองไม่เห็น DVD-Rom พยายามปล้ำกับเจ้า Fedora มาหลาย Version แล้วครับ แต่ก็ไม่ Work  แต่ถ้าเป็น OpenSUSE 10.1 ไม่มีปัญหาอะไรครับ ลงง่าย set ง่าย เท่าที่จำได้ เจ้ากิ้งก่าเขียวตัวนี้เป็นของเยอรมันมั่งครับ
  • เท่าที่หาอ่านดูจาก internet ถ้าจะ เซท Cluster ต้องใช้ OpenSUSE version SERVER จึงจะ support ระบบ Cluster ครับ อันนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ครับ
  • ท่าน ดร.วัฒนา ก็ Run MM5 Model ผ่าน ระบบ Cluster หรือว่า เป็น Supercomputer ครับ เป็น ของอุตุนิยมวิทยาทางทะเลเองเลยหรือเปล่าครับ หรือว่า Run  ผ่าน ของกรมอุตุฯ  ผมเคยเข้าไปอ่าน www ของกรมอุตุฯ รู้สึกว่าคนที่ Run ท่านชื่อ คุณบุญเลิศ ไม่รู้ว่าพี่เม้งรู้จักหรือเปล่าครับ
  • ถ้าผมจะขอไปลงเรียนด้วยจะได้มั้ยครับ (ฮ่ะๆๆ) อยู่่ที่ไหนๆ ก็ไทยด้วยกัน ผมก็คนนครครับ แต่เป็นนครปฐม ฮ่ะๆๆๆ
ไม่มีรูป
ยะ

สวัสดีครับ

  • พี่ก็ใช้ SuSE ครับ แต่ตอนนี้ลง OpenSuSE แต่ก็ยังไม่ได้ลง MPI ไว้เลยครับ เคยทดสอบใน SuSE เวอร์ชั่นเก่าๆ นะครับ
  • ใช่แล้วครับ SuSE เป็นของเยอรมันครับ พี่ชอบเพราะว่ามันใช้ง่ายในความเห็นของพี่ครับ แต่ตอนนี้มีหลายๆ ค่ายครับ เลิกใช้กันตามใจชอบครับ อิๆ
  • ลองไปปรึกษา ท่าน อ.ภุชงค์ ดูซิครับ ในการของรันโมเดล คงไม่น่าจะมีปัญหา พี่ก็เคยเอาโปรแกรมพี่ไปขอรันตอน เรียนด้วยครับ เพราะตอนนั้นพี่ติดตั้งบนเครื่อง 486 นะครับ สี่เครื่องที่จุฬา
  • ส่วน ดร.วัฒนา ใช้อยู่ตอนนี้ ใช้พีซีคลัสเตอรืครับ แค่สี่ตัวเองนะครับ น้องคิดดูครับ ว่าศักยภาพประมาณไหน ในการรันโมเดลอากาศ ใช้เครื่องแค่สี่ตัวเพื่อชาติ ทำกันด้วยใจครับ ศรัทธาวิจัยครับ แต่เห็นบอกว่าตอนนี้มีเพิ่มมาอีกห้าเครื่องครับ
  • งานที่พี่ทำตอนนี้อยู่บน ซีพียูเดียวครับ แต่ต่อไปก็คงนำไปใช้บนคลัสเตอร์ด้วยครับ เน้นขุดดินเองนี่หล่ะครับ หนักหน่อยแต่อย่างน้อยก็รู้ว่าโครงสร้างดินอย่างไร จะได้บ้านอยู่นานๆ หน่อยครับ
  • ซื้อบ้านสำเร็จรูปมาก็ใครจะไปรู้ว่าโครงสร้างเป็นไง เน้นการสร้างบ้านเองดีกว่าครับ ผิดพลาดก็แก้ไขได้ครับ ใช่ไหมครับ
  • ไว้พี่จะทำวิชาออกมาครับ หากเป็นไปได้ ต้องดูก่อนนะครับ อาจจะเปิดให้เรียนรู้กันทางเนทนี่หล่ะครับ เว้นแต่ว่ามีหลักสูตร ป โท ที่ชัดเจนก็คงไปเยี่ยมเยียนกันได้ที่ปัตตานีครับ เรียนรู้และทำวิจัยร่วมกัน ลองมาบ้าเพื่อชาติกันซักครั้ง ลองดูไหมครับ ว่าอุดมการณ์กินไม่ได้ จริงหรือเปล่าครับ ผมเองไม่ค่อยเชื่อว่า กินไม่ได้ แต่พี่ว่ามันกินได้ อิๆ
  • เดี๋ยวจะลองตั้งประเด็นดูครับ อิๆ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • พี่ครับ ท่าน อ.ภุชงค์ นี้ท่านอยู่ที่ไหนครับ อยู่่ภาควิช่าคณิตศาสตร์ประยุกต์ที่จุฬาเหรอครับ
  • โฮ้ พี่ใช้ทรัพยากรคุมมากเลยใช้มย้นครับ  ดีครับ จะได้รู้ตั้งแต่รากหญ้า ไม่อยากใช้คำนี้เลย  เอาเป็นคำอื่นี้ดีกว่า จะได้รู้ตั้งแต่เป็นก่อนวุ้นเลยใช้มั้ยครับ (ฮิิๆ)
  • ส่วนท่านดร.วัฒนา ก็สุดยอดนะครับ มีแค่ 4 เครื่อง แต่ run ความเป็นอยู่รอดของชาวเลเมืองไทย สุดยอดครับ
  • ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ครับ ที่พี่บอกว่าขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการถ่ายเทประจุของไฮโดรเจน Charge Transfer เป็นแบบไหนเหรอครับ ผมเองก็เคยรัน โปรมแกม GEANT4 ซึ่งเป็นโปรมแกมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางบรรยากาศเลยนะครับ  แต่เกี่ยวกับทางด้าน nuclear, particle physics คือเราต้องการจะดูว่า target ที่เราเลือกนำมาใช้ในการออกแบบเตาปฏิกรณ์ Fusion มีค่า double cross section เป็นยัง่ ยิ่งถ้าใช้กับพวกพลังงานสูงๆ  material พวกนี้ต้องเป็นยังไง อะไรประมาณนี้แหละครับ เจ้า GEANT4 ตัวนี้เป็นของ CERN ครับ รันบน linux เหมือนกัน ใช้ OpenGL ในการ display แต่ว่าผมไม่ได้เขียนโปรแกมเองนะครับ ผมเอา source มา compile เท่านั้น แล้วก้ออกแบบการวางตำแหน่งของหัววัดรั้งสีให้สอดคล้องกันกับที่ห้อง lab แล้วก็ run ผมมีประสบการณ์ในการรัน นาน 27 วัน หลังจากนั้นไฟที่มช.ก็ดับ เฮ้อ! เศร้าเลยครับ แต้ส่ก้สนุกดี
  • โม้มากหน่อยแล้วครับ เอาไว้ผมสอบ defence thesis เสร็จแล้วผมจะกลับมาปรึกษาใหม่นะครับ
  • ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับพี่ ฮ่ะๆๆๆ (มัดเมือชกแล้วนะครับ)
ไม่มีรูป
ยะ

สวัสดีครับน้องยะ

  • อ.ดร. ภุชงค์ ท่านอยู่ที่คณะวิศวะกรรมที่ ม.เกษตรศาสตร์นะครับ
  • เรื่อง Charge Transfer เป็นการอยากจะทราบว่า การเปลี่ยนแปลงของไฮโดรเจน H (ประกอบไปได้ H+ และ อิเลคตรอนที่หมุนอยู่รอบๆ H+ นะครับ หมุนอยู่ที่หนึ่ง) ทีนี้เราจะโยน H+ เข้าไปยัง H อะตอมนั้นครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
  • สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มีเป็นไปได้สามวิธีคือ
  • Charge Transfer คือเกิดการถ่ายเทหรือสลับอิเลคตรอนที่หมุนอยู่ที่ H+ เดิม เปลี่ยนมาที่ H+ที่เพิ่งโยนเข้าไปใส่นะครับ
  • Impact Ionization กรณีนี้คือ จะมีการแตกกระเด็นของสามไอออน ต่างไอออนต่างกระจายครับ
  • No change ไม่มีอะไรเกิดขึ้นนะครับ
  • ทั้งสามกรณีนี้ เป็นการพิจารณาว่า โอกาสในการเกิดกรณีต่างๆ เท่าไหร่ครับ หากเราโยน H+ เข้าไปซักพันล้านครั้ง ห้าๆๆๆ เอาให้มากๆ จะได้สนุกครับ แต่ยิ่งมากๆ ก็คำนวณบานเลยครับ
  • แค่รอบหนึ่งก็ใช้เวลานานครับ
  • สำหรับการแสดงผลนั้น ตอนนั้นไม่ได้ใช้การแสดงผลครับ
  • การแสดงผลต่อไป จากผลของการคำนวณแบบคลัสเตอร์ทำได้โดยการแสดงผลแบบแชร์ผลกันก็ได้ครับ เช่นแสดงผลจากที่ตัวเองได้ผลแล้วมาแสดงออกหน้าจอเดียวกันครับ
  • หรือไม่ก็ใช้เครื่องแม่แสดงผลแต่เครื่องต้องแรงๆ หน่อยอาจจะแสดงผลผ่าน GPUs พร้อมคำนวณบนการ์ดจอ ด้วยครับ
  • ยังมีอะไรให้เล่นอีกเยอะครับ หากสนุกนะครับ บริหารสมองไว้ให้ดีนะครับ
  • ขอให้โชคดีในการสอบนะครับผม เป็นกำลังให้นะครับผม
  • ขอบคุณมากๆนะครับ

ไว้พี่จะทำวิชาออกมาครับ หากเป็นไปได้ ต้องดูก่อนนะครับ อาจจะเปิดให้เรียนรู้กันทางเนทนี่หล่ะครับ เว้นแต่ว่ามีหลักสูตร ป โท ที่ชัดเจนก็คงไปเยี่ยมเยียนกันได้ที่ปัตตานีครับ เรียนรู้และทำวิจัยร่วมกัน ลองมาบ้าเพื่อชาติกันซักครั้ง ลองดูไหมครับ ว่าอุดมการณ์กินไม่ได้ จริงหรือเปล่าครับ ผมเองไม่ค่อยเชื่อว่า กินไม่ได้ แต่พี่ว่ามันกินได้ อิๆ

 

 

เมื่อไหร่หละครับ

ผมคอยมา เกือบ 6 ปีแล้วครับ ตั้งเรียน Mathematical Modeling กับพี่ ก็เคย พี่จบมาสอน ป.โทเลย 

P

สวัสดีครับน้อง

  • ไว้เจอกันเร็วๆ นี้ครับ
  • โชคดีนะครับผม ไว้เรียนกับพี่แบบไม่มี ในปริญญาก็ได้ครับ จริงๆแล้วใบปริญญานั้นแค่กระดาษเท่านั้น แม้ว่าคนจะนิยมกันครับ
  • คุณค่ามันอยู่ในความคิดของคนเป็นสำคัญครับ และสิ่งที่ได้ทำออกมานะครับ
  • การศึกษาหากให้สุดยอดคือ ศึกษาด้วยตนเองนะครับ แล้วเข้าถึง เข้าใจ พัฒนา เริ่มจากตนเองนะครับ แล้วสัจธรรมจะเกิดครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

คุณยะ: เข้าใจว่าคุณบุญเลิศอยู่อีกฝ่ายหนึ่งครับ

คุณสมพร: ไม่สนใจ GPU หรือครับ 

P

สวัสดีครับคุณ Conductor

  • ดีใจครับที่เห็นคุณ ที่นี่ครับผม ยินดีต้อนรับนะครับ
  • ผมสนใจมากๆ นะครับ GPUs Parallel Programming ตอนนี้ รอหาโอกาสเหมาะครับ ที่จะได้เครื่องโนตบุคซักตัวครับ ที่รันพวกนี้ได้ครับ เพราะตัวที่ใช้อยู่ Programming GPUs ไม่ได้ครับ
  • พอดีมันเป็นเทคโนโลยีใหม่ครับ ที่มหาวิทยาลัยที่นี่ ตอนนี้ก็เพิ่งจะรู้จักกันครับ ผมก็ได้ พูดในคาบสัมมนาไว้เหมือนกันครับ อยากให้เกิดในเมืองไทยด้วยนะครับ
  • เหมาะมากๆ ครับ ตอนนี้ ผมต้องไปเขียนโปรแกรมบนอีกเครื่องครับ ถึงจะรันได้ครับ คือนอกจาก Graphics อย่างเดียวแล้วสามารถจะคำนวณในด้านปัญหาทั่วไปๆ ได้อีกด้วยครับ
  • แต่ผมกำลังคิดว่า คำนวณระบบใหญ่ๆ GPUs ยังมีขีดจำกัดอยู่นะครับ คือคงต้องให้ PC Cluster เป็นผู้คำนวณงานหลัก แล้วให้เครื่องแม่ที่อยู่ในคลัสเตอร์ นั่นเป็นผู้ประมวลผลอีกรอบแล้วส่งบางส่วนไปคำนวณบน GPUs ด้วยครับ
  • น่าสนใจมากๆ นะครับ ต้องทดลองทำก่อนครับ ผมมีโคดตัวอย่างอยู่ หรือว่าใครสนใจ ไปดาวโหลดมาใช้จาก NVidia ก็ได้นะครับ ผมใช้ Cg Library รันบนการ์ดจอของ NVidia, ATI นะครับ แต่หากใครจะซื้อผมแนะนำ NVidia ครับ เพราะคิดว่ายังไปได้ไกลมากๆ ครับ พร้อมกันนี้ คนออกแบบก็เล่นและสร้าง OpenGL มาด้วยครับผม
  • คุณบุญเลิศผมได้ยินแต่ชื่อครับ แต่ยังไม่ได้เจอเป็นการส่วนตัวนะครับ
  • ตอนนี้มีอีกตัวครับที่ออกมาใหม่คือ PPU ลองค้นหาดูนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
  • http://64-bit-computers.com/tyanpsc-t-650-qx.html
  • http://www.netcafethai.com/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=637&mode=thread&order=0&thold=0
  • ช่วงนี้เวลาน้อยครับพี่ ไม่ค่อยได้แวะเข้ามาคุยด้วย ต้องพยายามทำงานให้เท่ากับคน 2-3 คน
  • Personal Supercomputer spec ใกล้เคียงรึเปล่าครับ ไม่แน่ใจ แต่ราคาคงพอหาซื้อได้
  • อยากคุยอีกเยอะแต่เวลาไม่พอแล้วครับ
  • ผมว่ามีเงินก็ซื้อตามความเหมาะสมได้ทุกอย่างครับ แต่สิ่งที่ซื้อไม่ได้คือปริมาณงานจากมนุษย์ คนขยันก็ขยันไป คนไม่ทำก็มีเยอะ
  • ต่อให้มีเงินเป็นล้านก็ซื้อที่ๆ คนขยันทำงานเหมือน supercomputer ไม่ได้ครับ
  • เพราะพอว่างก็อยากพัก ยิ่งไม่ใช่งานของตัวเองก็ยิ่งไม่อยากช่วย load อยู่คนเดียว
  • บ้านเราก็งี้ ผมว่าถ้ามีเงินว่าจะไปทำสวน เปิดร้าน ทำธุรกิจเล็กๆ น้อยดีกว่า
  • ทำงาน 2-3 cpu(1คน=1cpu=8 ชม/วัน) ต่อวันก็ท้าทายดี พยายามอยากจะเหนือกว่าที่เป็นอยู่แต่ก็ฝืนตัวเองเกิน แต่ทำได้ก็พอสนุก บางทีอะไรไม่ดีกระทบก็หมดไฟ

อ่านแล้วนึกถึง google เลยครับ

สำหรับเมืองไทยตอนนี้ คิดว่าเหมาะกับ พีซีคลัสเตอร์ มากกว่าครับ

 

 

P

สวัสดีครับน้องถา

  • ขอบคุณมากเลยครับที่เข้ามาเสริมได้หลายๆ อย่างตรงจุดเลยครับ
  • เรื่อง supercomputer เรามีได้หากมีเงินครับ แต่กำลังสมอง การใช้ ต่อยอด เขียนสิ่งใหม่เพิ่มเติม ตรงนี้หล่ะครับ สำคัญ เราต้องทำให้ได้มากกว่า รันงานตัวอย่าง แล้วกดปุ่ม F1,F2,....., Enter ครับ
  • หน่วยงานต้องสร้างคนให้เขียนโปรแกรมเป็นแล้วใช้ให้คุ้มค่าครับ สร้างคนใหม่ทดแทนคนเก่าด้วยครับ
  • ยังไงก็ต้องดูแลตัวเองด้วยครับ เราจะรับโหลดหนักคนเดียวตลอดไปก็ไม่ดีครับ ต้องแชร์โหลดให้เท่าๆ กัน เหมือน load balancing ใน คลัสเตอร์ไงครับ
  • ยังไงก็สู้ๆ นะครับ ไฟไม่หมดครับ หากใจเราสู้ แต่หากใจถอยก็เป็นการเริ่มต้นของอาการหมดไฟ
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับคุณ bunpot

  • ขอบคุณมากนะคับที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันนะครับ
  • ครับผม กูเกิลจ้าวพลังแห่งการค้นหาและให้บริการครับ
  • คงต้องเตรียมคนให้พร้อมครับ สำหรับการใช้คลัสเตอร์ครับ เพราะใช้พลังเยอะเหมือนกันครับ
  • การทำงานเชิงบูรณาการอาจจะทำให้ไทยก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในเรื่องการแก้ปัญหาหลายๆ อย่าง หรือการเตือนภัยด้วยส่วนหนึ่งครับ
  • มีการคำนวณทางวิทยาศาสตร์อีกมากครับในไทยที่ต้องพัฒนาครับ
  • ขอบคุณมากครับ
หวัดดีครับครูเม้ง เมืองไทยเราตอนนี้อย่างว่าแต่ ซุปเปอร์คอมฯเลย เอาแค่พีซีคลัสเตอร์ให้ไหวก่อนก็แล้วกันครับ เพราะหลายๆ หน่วยงานแค่การใช้งานของพีซีเองยังไม่คุ้มค่ากับเงินที่ต้องใช้ไปเลยครับ และศักยภาพของพีซี สมัยนี้ก็สูงมากอยู่แล้ว เมื่อไทยเราตอนนี้ไม่ได้ขาดซุปเปอร์คอมฯ หรอกครับ เขาดคนมากกว่า  ทำอย่างไรถึงจะสร้างคนที่เก่งขึ้นมาให้ได้เย่อะๆ ครับ ยกตัวอย่างองค์กรที่ผมอยู่ตอนนี้ เครื่อง พีซี มีไม่น้อยกว่า 1 พันเครื่อง ถ้านำมาต่อให้เป็นคลัสเตอร์กัน ก็คงได้ กำลังมหาศาล แต่ ถามว่า กำลังที่ได้มากับกำลังของคนที่อยู่ในองค์การตอนนี้มันสมดุลกันไหม ตอบว่า ยังห่างไกลมากครับ คงต้องพัฒนาคนให้มากกว่านี้อีกนานแล้วค่อยตั้งงบซื้อซุปเปอร์ฯ น่ะครับ ซื้อมาตอนนี้เสียดายเงินภาษี (ว่ะ) แค่ใช้เครื่องพีซี ที่มีอยู่ตอนนี้ให้ได้สักครึ่งนึงของประสิทธิภาพที่มีอยู่ก็บญแล้วครับน้องเม้ง
P

สวัสดีครับพี่แดง

  • เห็นด้วยนะครับ ว่าเรายังไม่พร้อมเรื่องบุคลากรเท่าที่ควรครับ เรื่องงานวิจัยที่จะต้องนำสิ่งเหล่านี้ที่ต้องนำไปใช้
  • เราจะสร้างคนอย่างไร ให้พร้อมเสมอ เพราะประเทศจะอยู่ได้ คงไม่ใช่แค่เศรษฐกิจอย่างเดียว
  • การคำนวณในเรื่องการป้องกันภัย การคาดการณ์ เฝ้าระวังเตือนภัยล่วงหน้า
  • และหลายๆ เรื่อง หลายๆ อย่างครับ ที่จำเป็นมาก เรื่องงานวิจัยที่นำมาสู่การป้องความเสียหายที่เกิดจากความไม่เข้าใจธรรมชาติ
  • การสร้างบุคลากรและการทำอย่างจริงๆ ศรัทธาวิจัยนำ ธุรกิจการวิจัย
  • พอพี่พูดถึงเรื่องการซื้อคอมพ์แล้วใช้ไม่คุ้มค่า ทำให้ผมนึกถึงในอดีตที่ซื้อเครื่องคิดเลขเครื่องละหนึ่งพันบาทแต่เราใช้แค่ ประมาณ หนึ่งร้อยบาท บวกลบคูณหาร คิดเปอร์เซนต์ ทั้งๆที่เครื่องคิดเลขตอนนั้นมีกำลังในการคิดหรือโปรแกรมได้ด้วยครับ
  • ขอบคุณพี่แดงมากๆ นะครับ

ตอนนี้ อ. ภุชงค์ ทำนี่อยู่ครับ www.thaigrid.net

สนใจเรื่อง cluster อยู่เหมือนกันครับ ถ้ามีโอกาศจะทำ thesis เกี่ยวกะเรื่องนี้ แต่คิดหัวข้อยากจัง

ไม่มีรูป
ปลาวาฬทราย

สวัสดีครับคุณทราย

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ที่เอาข้อมูลท่านอาจารย์มาบอกให้ทราบครับ
  • หากสนใจก็ไม่ต้องลังเลครับ ทำเลยครับ ไปพูดคุยกันท่านอาจารย์ ดูครับ แล้วแต่ว่าจะพัฒนาที่ตัว กริดหรือว่าจะพัฒนาที่ตัวงานประยุกต์ โปรแกรมในการคำนวณ จับกับปัญหาต่างๆ ตามที่ต้องการนะครับ หรือสิ่งที่คุณทำอยู่ตอนนี้คับ
  • หากเราเรียนอย่างมีเป้าหมาย เราจะได้อะไรมากขึ้น เป็นชิ้นงานและกระทบต่อระบบมากขึ้นนะครับ
  • ขอเป็นกำลังใจครับ

ดีครับพี่เม้ง

     ผมเป็นทหารผู้น้อยอะครับ  ก็เรียนจมมาทางด้านคอมพิวเตอร์ครับ  มีความสนใจ pc cluster มากครับแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจหลักการทำงานและเนื้อหาด้านนี้มีแต่ภาษาอังกฤษครับ  อิอิ  ผมไม่ค่อยสันทัดอะครับ  มีภาษาไทยเรื่องเกี่ยวกับด้าน pc cluster ไหมครับจะเป็นพระคุญยิ่งครับ  ขอบคุณล่วงหน้าครับ

                            NaiTum 

 

 

 

สวัสดีครับน้อง NaiTum,

  • พี่เคยเขียนภาษาไทยไว้เป็นคู่มือการติดตั้ง แปลจากชุดภาษาอังกฤษในหน้านี้นะครับ http://www.iwr.uni-heidelberg.de/groups/ngg/People/schuai/Somporn.NET/indexmain.html
  • น้องคลิกที่ Parallel Processing นะครับ แต่ลิงก์ภาษาไทยขาดไปครับ
  • อาจจะต้องศึกษาเป็นภาษาอังกฤษไปก่อนนะครับ ทดลองอ่านเนื้อหาเบื้องต้นก่อนนะครับ แล้วก็ลองมาติดตั้งดูในเครื่อง PC Linux แล้วลองรันโปรแกรมตัวอย่างที่เค้าให้มาติดกับ MPI ดูก่อนนะครับ
  • พื้นฐานที่ควรมีคือ ภาษาซี แนวทางการเขียนโปรแกรมด้วยไลบรารี่ MPI (Message Passing Interface) หรือจะใช้ตัวอื่นที่ขั้นสูงกว่าก็ได้นะครับ แต่พี่ว่า MPI มันติดดินดีครับ
  • ทดลองดูนะครับ สำหรับภาษาอังกฤษ คงหนีไม่พ้นนะครับ หากยังไม่แข็งแรงอ่านไปจนกว่าจะเข้าใจนะครับ แล้วท้ายที่สุดเราจะเข้าใจครับ
  • ฝึกๆ ไว้นะครับ เพราะไทยเราจะได้รอบรู้ ส่วนรู้แล้ว เราจะเขียนออกมาเป็นภาษาอะไรอีกเรื่องหนึ่งครับ จะเขียนเป็นภาษาไทยก็ได้ ให้คนอื่นได้รู้ด้วยนะครับ แต่หากจะให้กว้างขวางก็ภาษาอังกฤษนี่หล่ะครับ ผิดพลาดกันได้ครับ แก้ไขได้ครับผม
  • ขอให้โชคดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท