มีลูกอยากให้เรียนกับครูเก่งๆ พอลูกเรียนเก่งๆแต่กลับให้เรียนอย่างอื่น แล้วจะหาครูเก่งๆ ที่ไหนครับ


ประโยคนี้ จริงๆ ไม่ได้จะหมายความว่า การเป็นครูที่เก่งจะต้องเรียนเก่งนะครับ คุณครูเก่งคือ ต้องคิดเก่ง แนะเก่ง นำเก่ง ถ่ายทอดเก่ง โดยเฉพาะเรื่องของการถ่ายทอด เป็นสิ่งสำคัญมากๆ ครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

            วันนี้มาเข้าสู่เรื่องเกี่ยวกับการศึกษาอีกนะครับ จากหัวเรื่องที่ว่า

มีลูกอยากให้เรียนกับครูเก่งๆ พอลูกเรียนเก่งๆ แต่กลับให้เรียนอย่างอื่น แล้วจะหาครูเก่งๆ ที่ไหนครับ

ประโยคนี้ จริงๆ ไม่ได้จะหมายความว่า การเป็นครูที่เก่งจะต้องเรียนเก่งนะครับ คุณครูเก่งคือ ต้องคิดเก่ง แนะเก่ง นำเก่ง ถ่ายทอดเก่ง โดยเฉพาะเรื่องของการถ่ายทอด เป็นสิ่งสำคัญมากๆ ครับ

ผมเคยถกเรื่องเหล่านี้ มานานและต่อเนื่องกับเพื่อนๆ อาจารย์ และหลายๆ ท่านจากอาชีพต่างๆ เรื่องที่มาของครู คุณครูในเมืองไทย มาจากไหน ใครอยากจะเป็นครู การอยู่รอดของคุณครู ทำไมคนเหล่านั้นต้องมาเป็นครู หากมีสาขาอื่นหรือมีทางเลือกอื่น จะมีคนอยากมาเป็นครูไหม ก่อนที่เราจะไปเลือกอาชีพที่ดี เราก็อยากจะเรียนกับคุณครูที่เก่งๆ หรือพ่อแม่ก็อยากจะให้เข้าสถาบันการศึกษาที่เลิศ อันดับหนึ่ง ชั้นนำในพื้นที่ ประจำ อำเภอ จังหวัด ภาค ประเทศ สาขา ทวีป โลก กาแลกซี่ (อิๆ ยิ้มๆ)

คุณมองประเด็นนี้อย่างไรครับ เรื่องการพัฒนาชาติ ต้องพัฒนาสมองของชาติ จะพัฒนาสมองของชาติ ก็ต้องพัฒนาครู

โอกาสในการกระจายการศึกษา ทั้งผู้ให้การศึกษาและผู้มารับการศึกษา หรือผู้ปฏิบัติการศึกษาแบบสามัญชน ในชุมชน เป็นอย่างไรบ้างครับ ในเมืองไทย

เชิญร่วมแสดงความเห็นกันไว้นะครับ

ขอบคุณมากๆ เลยครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 92926เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2007 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)

ผมว่าจะไปเตะบอลซะหน่อยแต่คุณตั้งประเด็นได้ซะไม่อยากปิดคอม.  ตรงเป๊ะกับความคิดผม  หรือว่านี่คือการนั่งจิบชาคุยกันข้ามประเทศหรือนี่

 

ผมคิดทฤษฎีได้อันนึง  เล่น ๆ นะ 

        ทฤษฎีเด็กหลังห้อง

* ตั้งแต่เล็กจนโตถ้าเราเปรียบสังคมเราเป็นห้องเรียน

* คุณว่าผู้คนที่คุณรู้จักเขาโตขึ้นเป็นไรกันบ้าง

* อาจเทียบเคียงไม่ได้ทุกกรณีนะแต่ว่าที่ผมคิด มันมีส่วนถูกไหม

1.เด็กหน้าห้องเรียนเก่งก็มักเป็นแพทย์ เป็นนักวิชาการใหญ่ ๆ

2. เด็กกลางห้อง  มักเรียนทางสังคมทางปกครอง หรือศิลปะ  การสร้างสรรค์ต่าง ๆ

3. เด็กหลังห้องเรียนมั่งไม่เรียนมั่ง เป็นเจ้าของกิจการใหญ่เพราะพวกนี้มักร่ำรวย  แต่พวกไม่รวยเกเรด้วย พวกนี้หลายคนเป็นตำรวจนักเรียนพลแฮะ

4. พวกนักเลง ใช้อิทธิพล ก็มักได้เป็นผู้นำทางการเมือง เพราะเครือญาติครอบครัวเขามีพื้นฐานดี

    พูดแบบทีเล่นทีจริงไปก็แล้วกันไม่มีอะไรยืนยันได้ เอาหนุก ๆ นะคุณ

        แต่มันก็ตอบว่าทำไมคนเรียนเก่ง ๆ ไม่เห็นอยากเป็นครูเลยซักนิด  ส่วนใหญ่สอบอะไรไม่ได้ถึงไปเรียนวิทยาลัยครูนะ  สังคมตอนสิบกว่าปีที่แล้ว    ก็คงไม่มีอะไรที่มากไปกว่าแรงจูงใจทางการเงิน  และหน้าตาทางสังคมที่สะท้อนค่านิยมผู้คนแต่ละยุค  แต่เชื่อเหอะไม่พ้นเรื่องเงินตรา และหน้าตา

         ตอนนั้นผมอยากเป็นนักเรียนนายร้อยชิบเป๋งแต่พอพฤษภาทมิฬ ผม ไม่อยากเลย ผมอยากเป็นนักวิชาการเกษตรที่อยู่ในทุ่งในไร่กว้าง  ๆ และคิดอยากพัฒนาการเกษตร แต่ถึงไงก็เหอะผมก็มีค่านิยมอยากทำงานราชการแบบที่พ่อผมปลูกความคิดมาแต่เกิดอยู่ดี   แต่ตอนนี้ปัจจุบันผมจะเป็นอะไรก็ได้ที่ช่วยสังคมบ้าง ดูแลตัวเองได้ และผมจะกลับไปเป็นเกษตรกรตามอย่าง จิตวิญญาณของผมที่เคยอาศัยเกิดและโตกลางทุ่งนาและกลิ่นรวงข้าว

P

สวัสดีครับผม

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ที่เข้ามาร่วมประเด็นนี้กันต่อครับ
  • แต่ผมว่าคุณไปเตะบอลก่อนก็ดีครับผม เดี๋ยวจะไม่ได้ออกกำลังกายครับ ส่วนตรงนี้ถกกันได้ตลอดครับ ไม่ว่าเราอยู่ตรงไหน หากใจคิดดี เราจะถึงกันหมดครับผม
  • ผมคิดในเรื่องประเด็นนี้มานานแล้วครับ ว่าเราจะได้ครูมาอย่างไร แบบที่อยากเป็นครูจริงๆ หรือมีความสุขในการถ่ายทอดนะครับ มีความสุขเมื่อให้ความรู้ไปแล้ว เด็กเข้าใจ ท้าทายในการสอนเด็ก พอเด็กเข้าใจแล้วเราจะอิ่มใจ และนี่ก็คือความรู้สึกของผมที่สังเกตตัวเองมา
  • ผมเคยยืนวันหนึ่ง นานมากเลย ตั้งแต่ เก้าโมงเช้าถึงสี่ทุ่ม กลับไปกินข้าวเย็นตอนห้าทุ่ม เกือบตาย เมื่อฝ่าเท้ามากๆ ครับ แต่สบายใจ ยิ้มได้ สุขใจที่ได้ให้ความรู้หรือสิ่งที่เราพอจะมีให้เค้าเข้าใจกัน
  • ใครเป็นครูหรือผู้ฝึกอบรมอยู่ก็คงคิดแบบนี้ครับ ผมก็เริ่มทำงานด้วยเงินเดือนแค่นั้น ตามที่ทราบกัน แต่ผมว่าหากเราจะรวย เราต้องรวยภายในมากกว่าเงินทอง ถึงจะได้ชื่อว่ารวยจริง
  • แต่เรื่องเงินทองนี่ผมเลิกคิดไปนานแล้ว เพราะชีวิตนี้ไม่ขอรวยครับ ขอแค่พออยู่ได้แบบธรรมดา มีข้าวกินก็หรูแล้วครับ เพราะปวดหัวครับ ต้องนับเงินทุกวัน แบบนี้เหนื่อยครับ อิๆ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
P

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่ให้ยกตัวอย่างให้เห็นอะไรหลายๆ อย่างในบรรยากาศห้องเรียนครับ และโยงไปถึงอาชีพต่างๆนะครับ
  • ทฤษฏีหลังห้อง ของคุณน่าสนใจดีครับ ทำให้เห็นแววของเด็กที่นั่งในห้องเรียนกันอยู่ว่าแต่ละคนจะเป็นอะไรกัน ไม่แน่อาจจะเอาไปประยุกต์ในการใช้สอนได้นะครับ
  • ผมว่านั่นหล่ะครับ ความหลากหลายในชั้นเรียน ในสังคมหรือชุมชน ก็ตาม แต่ละคนไม่ว่าจะนั่งหน้าชั้น กลาง หรือหลังห้องก็ล้วนอยู่ในสังคมเดียวกัน ติดต่อสื่อสารกัน ทำให้ห้องเรียนเงียบสงบได้ หรือทำให้ห้องเรียนน่าอยู่ได้ครับ และพอเด็กเหล่านั้นออกจากห้องเรียนไป ก็ไปเจอสังคมที่ใหญ่ขึ้น ก็น่าจะอยู่ร่วมกันได้เช่นกันใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ

ดี น้องบ่าวเม้ง

     เด็กที่ดีในวันนี้ คือผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า ถ้าเด็กผีๆบ้าๆ  ก็จะเปง....มา  ในวันต่อไป  เอ้ยย  เกี่ยวกันมั้ยนี่ 

     ประชากรของประเทศเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่คอยขับเคลื่อนประเทศให้ไปสู่ความเป็นเลิศ  หากฟันเฟืองไม่สมบูรณ์ ไม่แข็งแรง ปล่อยให้สนิมมาเกาะกิน แถมยังไม่สามัคคีกันทำงาน หมุนกันไปคนละทาง แล้วประเทศจะเป็นอย่างไร  ครูน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาและฟื้นฟูสภาพของฟันเฟืองเหล่านั้น  คอยหยอดน้ำมัน คอยดูแลรักษาฟันเฟืองเหล่านั้นทำงานได้ดี

     เพราะฉะนั้นการที่ใครจะทำอะไรกับสิ่งๆนั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นอย่างดี  มีเจตนาที่ดีในการกระทำ มีความหวังกับความสำเร็จของสิ่งที่กระทำ นั่นไม่ใช่รางวัลหรือสิ่งตอบแทน แต่เป็นความภาคภูมิใจจากผลของการกระทำ

     ครูก็เช่นกันครับจะสอนใครต้องรู้ดีกว่าผู้เรียน ตอบปัญหาให้เขาได้ มีความหวังกับความสำเร็จของเขา สำคัญสุดคือมีจิตสำนึกที่ดีในการให้อย่างไม่หวังสิ่งใดตอบแทน

       

     ครับเข้าเรื่อง

บรรทัดสุดท้ายม่ายเอาครับพี่น้อง
P

สวัสดีครับพี่บ่าว

  • ขอบคุณมากครับ เข้ามาจิบชากันก่อนครับ พี่สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับคำนิยามดีๆ และคุณสมบัติดีๆ เกี่ยวกับคุณครูนะครับ ตลอดจนการเปรียบเทียบฟันเฟืองและการบำรุงรักษาให้ฟันเฟืองวิ่งเดินหน้าไปได้ครับ
  • ฟันเฟืองแต่ละตัวก็ต้องหมั่นตรวจสอบตัวเองด้วยใช่ไหมครับ ต้องไม่หมุนผิดทาง หมุนผิดเมื่อไหร่ อาจจะได้ฟังแหว่งหรือเปล่าครับ
  • เมื่อฟันเฟืองเหล่านั้นหมุนไปตามระบบ เครื่องจักรระบบใหญ่ก็คงเดินไปได้อย่างสบายและคงถึงเป้าหมายอย่างที่สุดใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ

มีคนอยากเป็นครูเยอะค่ะ แต่ปัญหาคือ ถ่ายทอดไม่เป็น ตอนที่พี่ เรียนอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ม. 4 นะคะ ไม่ได้นินทาครูนะ มีอยู่คน พูดอมพะนำ วิชาพีชคณิต พูดอะไรก็ไม่รู้ตลอด นักเรียนไม่ค่อยเข้าใจ  แต่ไปขวนขวาย ทำความเข้าใจเอง เอาเอง เอาตัวรอดกันไปได้

พอขึ้นม.5 อาจารย์คณิตศาสตร์ คนใหม่ สุดยอด เข้าใจหมดเลย การสอนต้องสอนเป็นด้วยนะ บางคน รู้มาก แต่สอนไม่เก่ง แล้วคณิตศาสตร์อยู่ที่ความเข้าใจนะ

อาจารย์คณิตศาสตร์เตรียมอุดม ไม่ให้ลูกพี่ท่องหนังสือก่อนสอบ 1 วัน ให้ดุหนังการ์ตูน หรือเล่นอะไรสนุกๆ วันสอบ หัวโล่ง จะทำได้เอง เพราะอาจารย์สอนไปหมดแล้ว ต้องทำได้ แต่อย่าหมกมุ่น ดูหนังสือเกินไป ลูกพี่เขาชอบคณิตศาสตร์มากเลย ได้ครูดี

สวัสดีค่ะคุณเม้ง...

          จริงๆ ไม่ได้จะหมายความว่า การเป็นครูที่เก่งจะต้องเรียนเก่งนะครับ คุณครูเก่งคือ ต้องคิดเก่ง แนะเก่ง นำเก่ง ถ่ายทอดเก่ง โดยเฉพาะเรื่องของการถ่ายทอด เป็นสิ่งสำคัญมากๆ ครับ

          ใช่ค่ะ ครูเก่งไม่จำเป็นต้องเคยเป็นคนเรียนเก่งมาก่อน เก่งปานกลาง...พอ...อาศัยว่าต้องเป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียน โดยเฉพาะเทคนิคในการถ่ายทอดความรู้

          เราเคยพบว่ามีครูที่เก่งมากในเรื่องหลักความรู้ แต่สอนไม่เป็นผลสำเร็จเพราะถ่ายทอดไม่เป็น อธิบายไม่รู้เรื่อง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เป็น หนักไปกว่านั้นคือไม่เข้าใจและไม่เข้าถึงนักเรียนของเขาเอง

          อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีโอกาสสร้างบุญกุศลได้อย่างสูง เพราะอบรมสั่งสอนคนไม่รู้...ให้รู้...ด้อยปัญญา...ให้มีปัญญา  แต่ก็เป็นอาชีพที่สร้างบาปได้หนักหนาสาหัสสากรรจ์เช่นเดียวกัน หากครูไม่ใส่ใจ ไม่จริงใจในอาชีพครู 

          มีคนบอกว่าทุกวันนี้ระบบทำให้คนเบื่อ ครูดี ๆ เขาเออรี่กันไปเยอะแล้ว และยังมีครูอีกส่วนหนึ่ง (ไม่อยากบอกว่าเยอะ เพราะไม่มีตัวเลขยืนยันได้แน่ชัด) อยากจะเลิกสอนไปก็มี แต่อาจป็นเพราะอายุยังไม่ถึงเกณฑ์เออรี่รีไทล์ หรือบางคนเกณฑ์อายุได้แล้ว แต่นึกว่าถ้าลาออกไป ลูกเต้ายังอยู่ในวัยเรียนยังต้องใช้เงิน ก็ทน ๆ อยู่ไปก่อน ออกไปก็ไม่รู้จะไปทำอะไรกิน กลุ่มนี้ก็จะสอนไปวัน ๆ ดันให้พัฒนากันอย่างไร...ก็ไม่แล้ว

          หลายปัจจัยที่ทำให้คุณภาพการศึกษาตกต่ำ ครูเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งค่ะ ครูดี ๆ น้อยลง ก็ทำให้การสอนดี ๆ น้อยลง ส่งผลให้เด็กดี ๆ น้อยลงไปด้วยค่ะ

สวัสดีมากๆท่านเม้ง

  • น้อรก 
  • ประเด็นการศึกษา เป็นประเด็นที่ถูกต้องที่สุด
  • บ้านเมืองเราทุกวันนี้ถกเถียงไม่ตกฝาก เหตุเพราะมาตรฐานการรับรู้เข้าใจแตกต่างกันมาก
  • ระดับการศึกษาชั้นฐานรากไม่มีคุณภาพ
  • ระดับการสอน ก็ไม่มีคุณภาพเช่นกัน
  • ดีแล้วครับที่เปิดประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่พวกเราจะต้องมุ่งเน้นอย่างไม่ต้องลังเลสงสัยเลย
  • เชิญเถิดครับ
  • ถ้าจะให้ดี น่าจะเชิญท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์เข้ามาร่วมแจมด้วย

ดีน้องบ่าว

      เท่น้องว่ามาโถกต้องเลยพี่น้อง  ไอเดียบรรเจิดจริงน้องบ่าวเรา

P

สวัสดีครับคุณ sasinanda

  • ขอบคุณคุณพี่มากๆ นะครับที่มาให้ความเห็นในเรื่องนี้ พร้อมประสบการณ์ตัวเองด้วยครับ
  • ผมเคยมีท่านอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านเรียนคณิตศาสตร์ได้ศูนย์ หรือติด F มาก่อน แต่ตอนนี้ท่านมาสอนวิชาที่ท่านได้ติด F นั่นหล่ะครับ ท่านสอนได้ดีมากครับ
  • ทำให้ท่านเข้าใจดีครับ ว่าวิธีการสอนให้เด็กที่ไม่เข้าใจ หรือพูดอย่างไรให้เด็กเข้าใจง่ายๆ ที่สุดครับ
  • ผมมองว่าสมองคนเราก็เหมือนที่ใส่ของหรือภาชนะใส่ของที่แตกต่างๆ กันครับ บางสมองก็เหมาะจะใส่ในเรื่องแตกต่างกัน บางสมองก็ใส่ได้เนื้อหาเหมือนกัน แต่วิธีการใส่อาจจะต่างๆ กันไปครับ
  • ดังนั้นผู้สอนก็ต้องมองถึงผู้รับด้วย พร้อมตัวอย่างรอบตัวประกอบให้มองเห็นความสำคัญครับ ว่าแต่ละเรื่องคืออะไรใส่อย่างไรให้เหมาะกับวัย กับคน
  • ขอบคุณมากๆนะครับ

อีกหิด  น้องบ่าว

น้องโร้จัก หนูนุ้ยคุ้ยข่าว หรือเปล่า

        คนนี้การศึกษาไม่มากหรอกครับ แต่ทักษะเทคนิค วิธีการถ่ายทอดสุดยอด แม้หน่วยงานระดับจังหวัดยังเชิญไปเป็ยวิทยากรเกี่ยวกับทักษะในการถ่ายทอดอยู่เสมอๆครับ

      น่าเสียดายคนที่มีความรู้ดี เยอะ ทั้งประสบการณ์ก็สูงแต่ถ่ายทอดไม่ได้เหมือนไม่มีสัญญาณดาวเทียม  มันช่างน่าท้อใจแทนเขาเหล่านั้นจริงๆ

      ขออภัยนะครับผมได้ไม่ได้นำครูบาอาจารย์มานินทาว่าร้าย  เพียงอยากบอกว่าบางท่านสอนโดยให้ดูตามเอกสารแล้วบรรยายตามนั้น  มุกก็ไม่มี เปรียบเทียบก็ไม่เป็น  เพราะฉะนั้นท่านเหล่านั้นน่าจะผันตัวเองไปให้ตรงทางของตัวเองจึงน่าจะสร้างประโยชน์จากความสามารถของท่านให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะครับ 

                               ด้วยความเคารพ

                                  แสงตะวัน

P

สวัสดีครับคุณปวีณา

  • พี่สบายดีนะครับ ผมไม่ได้เข้าไปแลกเปลี่ยนกับพี่เลย มัววุ่นๆ อยู่เหมือนกันครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ สำหรับความเห็นที่โดนหลายๆ ประเด็นเลยครับ
  • มองๆ แล้วเหมือนแรงจูงใจที่จะให้คนเป็นครูไม่ค่อยมีหรือเปล่าครับ หรือว่าอย่างไรครับ
  • ขณะที่คนมองถึงการเกษียณก่อนอายุขัยของราชการ กลับทำให้ผมมองต่อไปว่า น่าจะมีระบบการต่ออายุขัยทางราชการด้วยซ้ำ เพราะว่าแต่ละคนที่มีคุณภาพ อยากให้ท่านอยู่กับระบบไปนานๆครับ หรือว่าแม้จะเกษียณไปแล้ว ผมว่าอาจจะขอเชิญท่านมาสอนต่อก็ได้ หากท่านสมัครใจครับ ผมเสียดายน้ำกะทิในสมองของท่านนะครับ ที่กว่าจะคั้นออกมาเป็นหยดยอดเยี่ยมนั่น ไม่ใช่ใช้เวลาแค่สองสามปี
  • หลายๆ คนที่เข้ามาเพราะว่ารักอาชีพนี้นะครับ มีความสุขที่เข้ามาแล้วได้ถ่ายทอดให้เด็กๆ มีหลายคนที่เข้ามาเพราะอยากทำงานสอน
  • หลายคนเข้ามาเพราะได้สิทธิพิเศษ หลายคนเข้ามาเพราะมีหน้ามีตาเพราะได้รับเกียรติทางสังคม หลายคนเข้ามาเพราะว่ามีสิทธิเช่นได้เป็นอาจารย์กู้(ยืม) และเหตุผลอื่นๆ ตามรูปแบบ
  • แต่ไม่ว่าจะเข้ามาด้วยเหตุผลใดก็ตาม ทุกคนก็ร่วมกันสร้างสรรค์งานการสอนกันได้เต็มที่ครับ
  • สอนโดยไม่เห็นแก่เงินเป็นที่ตั้ง สอนเพราะอยากจะให้ความสุข ส่วนเงินเดือนมาสนับสนุนเองตามวาระและโอกาส
  • ผมเคยมองหลักการถ่ายทอดและหลักการรับจากเด็กครับ หากเล่นกฏ 50% นั่นคือ คุณครูให้นักเรียนมา 100% แต่ นักเรียนรับได้ 50% แล้วหากนำความรู้ที่ได้นั้นไปถ่ายทอดต่อ เด็กก็จะรับได้อีก 50% อีกครับ นั่นคือ เด็กจะได้รับเนื้อหาน้อยลงไปเรื่อย ดังนั้น ก่อนถ่ายทอดครูต้องเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปก่อน ตลอดจนเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็กๆ ด้วย
  • แต่หากคุณครูเอาเวลาออกไปทำอย่างอื่น ประกอบธุรกิจอื่น เพื่อความอยู่รอดทางปากท้องในครอบครัวของครูเอง ก็อาจจะมีผลต่อการเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหาย พาลจะตอนไปสอนอาจจะทำอารมณ์การเรียนในห้องให้ขุ่นมัวหมองได้อีกครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับพี่
P

สวัสดีครับคุณสิทธิรักษ์

  • ดีใจจังครับ ได้เจอคุณแล้วเหมือนกัน ขอโทษด้วยครับ ปล่อยให้นั่งจิบชาอยู่คนเดียวสองวัน
  • แต่ผมได้อ่านบทความคุณตั้งแต่แรกแล้วครับ
  • น้อรก ครับผม
  • อาจจะรบกวนคุณช่วยเชิญท่าน ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ ด้วยได้ไหมครับ คงได้รับเกียรติอย่างยิ่งครับ ตลอดจนท่านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณครูหรือไม่ก็ตาม ผมว่าประเทศเราเช่นเดียวกัน ทุกคนมีส่วนร่วมทั้งหมด
  • ประเด็นการศึกษาเป็นเรื่องที่หนักที่สุดนะครับ และสำคัญที่สุด ผมเชื่อว่าเรื่องนี้หากเอาให้จริงจัง น่าจะแก้ปัญหาอื่นๆ ได้เยอะเลยครับ เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดเพราะระบบตรงนี้ไม่พร้อมครับ
  • แต่ย้ำนะครับ ว่าการศึกษาที่ผมมองนี้มากกว่าการศึกษาในสถาบันการศึกษา ผมอยากให้รวมถึงการลงไปสอนในพื้นที่แนะนำ แนะแนวการศึกษาแบบกลุ่มอิสระด้วยครับ แต่มีองค์ความรู้พร้อมกับความจริงใจที่อยากจะถ่ายทอดให้กับกลุ่มคนด้วยครับ
  • เพราะการศึกษานั้นมีความหมายกว้างมากกว่าการนั่งเรียนในชั้นเรียน หรือการได้มาซึ่งใบปริญญาครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ เอ้า โพรสท์
  • พักนี้ไม่ค่อยสบายเท่าไรนะคะ งานเยอะมากจนกลัวงานจะทับตาย...ทำไม่ชนะงานสักที...บางวันก็เครียดมาก..เครียดน้อยต่างกันไป...วันนี้ไม่เท่าไร...พอได้อยู่ค่ะ
  • ส่วนใหญ่บันทึกของพี่จะเป็นแนวนำเสนอเรื่องดี ๆ ของคุณครู อ่านแล้วมักมีกำลังใจ แต่วันนี้เป็นอีกอารมณ์ที่อยากสะท้อนแง่มุมของความเป็นจริงบ้าง จึงดูเหมือนแห้งแล้งแรงจูงใจของคนเป็นครู
  • ครูไม่น้อย ที่ไม่ได้ยอมอยู่เฉย พยายามขวนขวายใฝ่รู้ พัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้น
  • ถ้าคุณเม้งเห็นว่าการที่ครูเอาเวลาสอนไปประกอบธุรกิจอื่น มีผลต่อการเติมเต็มให้กับเด็ก...เช่นนั้น...ครูที่ใช้เวลาของนักเรียนไปประกอบธุระอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจ ก็เป็นเหตุแห่งผลนี้ได้เช่นกัน เป็นเรื่องน่าคิดสำหรับคนเป็นครูที่มีวิถีเช่นนั้นค่ะ
  • ขอบคุณคุณเม้งด้วยเช่นกันค่ะ ที่เปิดประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาให้ครูทั้งหลายมีเวทีแลกเปลี่ยนกัน
P

สวัสดีครับพี่

  • ขอบคุณมากครับ ที่เอารายการมาแนะนำ ผมยังไม่เคยได้ดูเลยครับ
  • แต่เหมือนว่าเคยจะได้ยินครับ รบกวนรายละเอียด้วยนะครับ ไม่ได้ตามข่าวทางทีวีมานานพอสมควรครับ และหนังสือพิมพ์ครับ
  • ผมชอบดูหนังตะลุง (เชิญนั่งซิค่ะคุณลุง) ได้ทั้งมุกฮา เด็ดๆ และที่ชัดๆ คือได้ความรู้แบบพื้นบ้านครับ แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะดับสูญไปจากปักษ์ใต้ครับ หวังว่าจะมีคนถ่ายทอดแล้วรักษ์ให้คงอยู่ครับ
  • ผมว่าการถ่ายทอดของนายหนังตะลุงนี่ไม่ธรรมดาเลยครับ ควรจะให้ ดร.กับทุกๆ คนเลยครับ ผมว่าการถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ เช่น แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยผ่านลงไปทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน หนังตะลุง มโนราห์ เพลงบอก ลำตัด ลิเก บทเพลง การแสดง หลายๆ อย่าง น่าจะเกิดประโยชน์มากๆ
  • การถ่ายทอดผ่านกระบวนการสอน พูดคุย ก็ทำได้ครับ
  • คุณครูเองก็สามารถทำได้ เพราะว่าแต่ละกลุ่มก็จะมีกลุ่มเป้าหมายในการถ่ายทอดที่แตกต่างๆกันไปครับ
  • วกมาที่การได้มาซึ่งครูอีกครับ พี่คิดว่า เราจะมีแนวทางในการได้มาซึ่งแรงจูงใจในการเป็นครูอย่างไร บ้างครับ
  • หรือท่านผู้ใดมีประสบการณ์ ว่าทำไมท่านเข้ามาเป็นครู ด้วยสิ่งที่น่าสนใจ รบกวนบอกเล่าเก้าสิบเอ็ด เอาไว้ด้วยนะครับ อาจจะเป็นพระคุณอย่างสูงในการเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้นะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
P

สวัสดีครับพี่ปวีณา

  • ยังไงก็ขอให้สู้ต่อไปนะครับ
  • เรื่องการประกอบธุรกิจของคุณครู ไม่ว่าจะเป็นอาชีพเสริมหรือหลักก็แล้วแต่ ไม่ได้เป็นความผิดนะครับ เพราะเราต้องเข้าใจเรื่องค่าตอบแทนที่ท่านคุณครูได้รับนะครับ ไม่พอกินหรอกครับ แต่ละชีวิตมีพื้นฐานที่ต่างๆ กันไป ดังนั้น หากมีลูกซักสองสามคน แต่ละคนก็อยู่ไม่ไหวในสภาพทางบ้านที่แตกต่างๆ กัน ดังนั้น ท่านเหล่านั้นก็ต้องหาทางออกโดยการทำอย่างอื่นเสริมนะครับ
  • ผมถามเพื่อนที่พม่านะครับ เค้าได้รับเงินเดือนในการเป็นครูกัน เพียง 15 ดอลล่าร์นะครับ สำหรับโปรเฟสเซอร์อาจจะมากขึ้นหน่อย เช่น 60 ดอลลาร์ต่อเดือนครับ เวียดนามก็เช่นเดียวกัน แต่อาจจะมากกว่านี้อีกหน่อยครับ
  • หากไปดู มาเลย์ กับ เกาหลีก็น่าสนใจเหมือนกันครับ
  • เรื่องเหล่านี้ผมว่า คงอยู่ที่แนวทางของผู้บริหารประเทศครับ ผมอยากจะทราบเหมือนกันครับ ว่าหากเงินเดือนครูมีผลตอบแทนเหมือนหมอ วิศวะ การศึกษาไทยจะดีขึ้นไหม ทำให้น่าคิดเช่นกัน
  • การสร้างแรงจูงใจเด็กที่เรียนในระดับดีและให้ความสนใจต่อการเรียนต่อเนื่อง จากการมองจากอาจารย์ผู้สอน แล้วสร้างแรงจูงใจให้เค้ามาเป็นครู และสอดคล้องตามความต้องการของตัวเค้าด้วยก็คงจะดีไม่น้อยเลยครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
    • แปลกแต่จริง  ระบบการศึกษาของไทยเรา  เป็นการผลิตมนุษย์ให้เป็นมนุษย์เงินเดือน  มนุษย์สำนักงาน  มนุษย์ข้าราชการ  และอื่นๆทำนองนี้  
    • กรอบความคิดทั้งหมดไปทางนั้น  ผมเองก็หนีไม่พ้นกระแสนี้ไปได้
    • บางคนบอกว่าประเทศเราร่ำรวยทรัพยากรธรรมชาติ  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  ในอ่าวมีแก๊ส  
    • มีชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ  
    • เราเป็นชาวตะวันออก  ใช้วิถีชีวิตแบบตะวันออก 
    • แต่การศึกษาของเราไปคัดลอกเอามาจากตะวันตก  หรือไม่ก็มีกลิ่นอายตะวันตกอยู่มาก
    • ไม่ก็ตั้งหน้าตั้งตา  หาทุน  หรือให้ทุนไปเรียนกันที่ตะวันตกเลย 
    • อาจารย์มหาวิทยาลัย  ส่วนใหญ่ก็น่าจะจบมาจากตะวันตกกันแทบทั้งสิ้นด้วยเหมือนกัน
    • ผมมองว่าการศึกษาเป็นแบบองค์รวมทั้งประเทศนะ 
    • หากมีคนจำนวนหนึ่งยังไม่ได้รับโอกาส  หรือยังมืดบอดอยู่  เราอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมได้รับผลนั้นด้วย  ต้องเป็นแบบแม็กโครคือได้รับการศึกษาเท่าๆกันทั้งหมด
    • ประเทศเราก็มิได้เอาจริงเอาจังทั้งระบบเกี่ยวกับการเกษตร หรือทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีดังว่า  
    • ว่ากันว่าหากญี่ปุ่นกับสิงคโปร์  พร้อมใจกันถอนทุนและเรียกหนี้คืนหมด   ประเทศไทยจะลำบากทันทีเลย
    • ผมว่าทั้งครูและนักเรียน  ต้องมีทั้งความฉลาดทางสมองและฉลาดทางอารมณ์  ประกอบกันอย่างสมดุลย์ด้วย  ซึ่งสำคัญมากทีเดียว
    • เอ๊ะ นี่ผมถ่ายทอดเป็นหรือเปล่านี่ครับ  สวัสดี

 

ถ้า demand เยอะจริง ราคา (ซึ่งอาจจะหมายถึงค่าจ้าง ค่าตอบแทน) ก็ต้องสูงไปด้วย  คนก็อยากจะมาทำเอง? ถ้าในประเทศขาดก็ import ได้?

สวัสดีครับคุณเม้ง เยอรมัน

  • ครูบางคนสอนเก่ง สอนดี แต่กั๊กวิชาเอาไว้ให้เด็กตามไปเรียนพิเศษ เพราะเงินเดือนครูน้อย ต้องทำแบบนี้ เอ! ผมพูดตรงเกินไปหรือเปล่านี่
  • แต่ครูที่บ้านผมสั่งหลีกเลี่ยงสอนพิเศษเด็ดขาด  ขนาดมีคนมาเชิญไปสอนและผู้ปกครองมาขอร้องให้สอนยังบอกไปว่า"สอนในชั่วโมงเรียนให้เต็มที่แล้ว"
  • อันนี้เราจะไปว่าเขามิได้เพราะมันเป็นสิทธิส่วนตัวเขานะครับ
P

สวัสดีครับคุณแท็ฟส์

  • อิๆ ขอบคุณมากๆ เลยครับพี่
  • ตอบได้โดนใจ เลยเช่นกันครับ
  • ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  ในอ่าวมีแก๊ส  
  • กำลังจะเปลี่ยนไปเป็น ... ในน้ำมีปลา ในนาสวนยางรุมร้าว ในอ่าวมีโลหะหนักครับ
  • สวนยางรุมร้าวนี้ เป็นบางพื้นที่นะครับ แต่บางที่พื้นก็ยกร่องปลูกกันจนไม่ลืมหูลืมตาเลยครับ (ตรงนี้ห่วงจริงๆ) ไว้กลับไปบ้านก่อน จะถ่ายมานำเสนอครับ
  • สำหรับการเรียนรู้ จริงๆ แล้วศึกษาให้รู้ไว้ ไม่ว่าจะตกหรือออกนะครับ เพียงแต่ต้องมีรากเหง้าของเราด้วยครับ ไม่ใช่จะถอนรากถอนโคนครับ หรือดึงความคิดมาทั้งดุ้น มาไว้ที่ไทยแล้วปักเสาเข็มที่ได้มาจากการร่ำเรียนลงไปทั้งดุ้นโดยลืมรากเกษตรของเราครับ
  • เรียนรู้ไว้ ก็ไม่เสียหายครับ แต่อย่าเน้นทุนนิยมมากไปครับ ธุรกิจการศึกษาอย่างหนึ่งที่ต้องพึงระวัง
  • ผมตอนนี้ เรียน ปริญญาเอก อยู่จ่ายเทอมละ ไม่ถึงห้าพันบาทครับ เป็นค่าธรรมเนียมนะครับ
  • ถูกกว่า เด็กแรกเข้าอนุบาลหรือเปล่าครับ...หรือว่าประถมศึกษาหรือเปล่าครับ
  • นี่คือการศึกษาที่ให้ฟรี ให้คนได้มีโอกาสเรียน
  • ผมเคยคิดเล่นๆ ว่า หากประเทศมหาอำนาจ ไปจอดเรือไว้ที่อ่าวไทย แล้วประกาศ ณ ตอนเที่ยงวัน ว่าเราจะยึดเมืองไทยแล้ว นับแต่บัดนี้
  • เราจะเป็นอย่างไรครับ แต่นี่ตอนนี้เราโดนแทรกซึมทั้งหลายๆ อย่าง ลองวิเคราะห์กันดูนะครับ ว่ามีอะไรบ้างที่เราสูญเสียไป ลองคิดดูครับ เว้นแต่ว่าเราไม่ยึดติด ก็ปล่อยว่า มองว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลง อันนี้ก็จะเป็นอีกอย่าง แต่หากจะพัฒนาคนในชาติ ก็ต้องเริ่มคิดแล้วลงมือทำกันจริงจัง ก่อนจะไม่เหลือตอซังเข้าให้เห็นกันในทุ่งนาครับ
  • เมื่อวานผมแกงส้มกุ้งฝอยที่เยอรมัน ต่อไปคนไทยจะมีโอกาสได้เห็นกุ้งฝอยจากทุ่งนาไหมครับ
  • คุณคิดว่าต่อไป คนไทยจะได้กินต้มยำกุ้งไหมครับ
  • อิๆๆ ว่าไปชักจะออกนอกเรื่องครับผม แต่นั่นคือล้วนเกี่ยวกับการศึกษาทั้งนั้นครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
P

สวัสดีครับน้องบ่าววีร์

  • สบายดีนะครับป๋ม ไม่ได้เข้าไปทักทายเลยครับ ยังมั่ววุ่นๆ อยู่ครับ แต่เข้าไปอ่านอยู่นะครับ
  • เรื่องอัตราครูปัจจุบันนี้ ไม่แน่ใจว่ามีมากหรือน้อยครับ ส่วนค่าครองชีพก็อย่างที่ทราบกันครับ ผมหล่ะเห็นใจครูในระดับอนุบาลประถม จริงๆ ครับ มัธยมก็คงเช่นกัน ในมหาวิทยาลัยก็คงเช่นกัน แต่มีลู่ทางมากกว่าในการจะทำมาหากิน
  • แล้วครูบนดอยหล่ะครับ ใครอยากจะไปบ้างครับ แล้วเด็กบนยอดดอยหล่ะครับ
  • แล้วโรงเรียนบนดอย หล่ะครับ แบบไกลๆ ออกไปจากเมือง เป็นกันอย่างไรหนอ
  • ค่านิยมบ้านเราต่างกันไปครับ อีกอย่างหากเราเรียนเพราะเราลงทุน ก็ต้องอยากทำงานที่แบบถอนทุนคืนเช่นกันครับ (อาจจะไม่ทั้งหมด) เพราะหลายคนก็ต้องกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาครับ
  • หากนำเข้าจากต่างชาติหรือครับ.....ก็ต้องจ่ายแพงขึ้นครับ เสียน้อยเสียยาก... เพราะจริงๆ แล้วก็มีคนเรียนจบมาบ้าง ใช้ทรัพยากรบุคคลในไทย ก็คงได้ในหลายๆ เรื่อง แม้ว่าจะไม่ทั้งหมดครบทุกสาขาก็ตาม หากจำเป็นต้องใช้ความรู้
  • อยากทราบจัง หากให้ปราชญ์ ชาวบ้าน เชิญท่านเหล่านั้น ไปสอนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ด้วยไปเลยครับ ในหลายๆ สาขาที่เกี่ยวข้อง
  • ผมว่าน่าจะสนุกครับ คุณบ่าววีร์ ว่าพรือมั่งครับ
  • ขอบคุณมากเลยครับผม
P

สวัสดีครับคุณสะมะนึกะ

  • ครูบางคนสอนเก่ง สอนดี แต่กั๊กวิชาเอาไว้ให้เด็กตามไปเรียนพิเศษ เพราะเงินเดือนครูน้อย ต้องทำแบบนี้ เอ! ผมพูดตรงเกินไปหรือเปล่านี่
    • ขอบคุณมากนะครับ สำหรับความเห็นทุกอย่างครับ
    • อิๆๆ สอนดีกั๊กเอาไว้ อิๆ นั่นเป็นการทำตลาดครับ เทคนิคอย่างหนึ่งเพื่อการอยู่รอดไงครับ
    • เพราะยังไง คนเราหากท้องร้อง ก็คงคุมสมาธิยากเช่นกันครับ เหมือนเด็กๆไง ครับ เค้าไม่สนใจหรอกครับ ว่าจะต้องไปเรียน หากเค้าไม่มีอะไรกินในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะเด็กที่ต้องเลี้ยงดู ปู่ย่าตายาย ที่นอนป่วยอยู่ ที่พ่อแม่ทิ้งไว้ให้อยู่กับบ้านนะครับ เด็กต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดครับ
    • เค้าจะให้ความสำคัญกับการศึกษาก็ตอนที่เค้ามีกิน ท้องอิ่มนะครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ

     สวัสดีครับพี่เม้ง

    สบายดีนะครับพี่  

    ผมคิดว่าครูอาจารย์นั้นไม่จำเป็นต้องเรียนเก่งครับ คนเราเรียนเก่ง ไม่ได้แปลว่าสอนเก่ง

    คนที่สอนเก่งคือคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย แล้วไปหาคำตอบที่ถูกต้องพร้อมกับวิธีมาได้ครับ ผมคิดว่าคนพวกนี้น่าจะถ่ายทอดเก่งกว่าครับ ก็เพราะความไม่รู้เรื่องอะไรเลยนี่แหละครับ ที่ทำให้เขารู้ว่า แล้วนักเรียนจะไม่รู้เรื่องตรงไหน ในเมื่อตัวเองก็เคยไม่รู้เรื่องมาแล้ว

    ผมเคยสอนเลขให้น้อง สอนให้ตายยังไง น้องผมก็ไม่เข้าใจ ในขณะที่ผมมองว่ามันง่ายนิดเดียว แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็ไม่เคยมองมุมกลับครับว่า แล้วมันยากตรงไหนที่ทำให้น้องผมไม่เข้าใจ

    ผมกำลังคิดต่อไปว่า เรื่องเงินและผลตอบแทนมีผลต่อการเป็นครูจริงๆหรือเปล่า

    ปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะที่เมืองไทยนะครับ หลายๆประเทศก็เกิด เรากำลังจะบอกว่าที่ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เวียดนาม นั้นเงินเดือนครูนั้นมากเป็นระดับแนวหน้า ผมกำลังสงสัยว่าแล้วจริงๆ เงินและผลตอบแทนนั้นทำให้คนอยากเป็นครูกันจริงๆหรือเปล่า

    แล้วถ้าเป็นเช่นนั้นจริง จิตวิญญาณของความเป็นครูนั้น จะไปอยู่ตรงไหนครับ อ้อ แล้วก็จิตวิญญาณความเป็นครูนั้นคืออะไรด้วยครับ

    เรื่องครูกับการทำงานพิเศษที่ไม่ใช่การสอนและไม่ใช่การวิจัย ผมคิดว่าเราผูกคำพูดและความคิดนี้ไว้กับเงินเดือนและผลตอบแทนมากเกินไปครับ เราคิดว่า เพราะเงินเดือนน้อย ทำให้ครูต้องไปทำงานพิเศษและไม่มีเวลาเตรียมการสอน และอื่นๆ ทำให้คุณภาพของนักเรียนตกลง มันก็อาจจะจริงนะครับ แต่เราคิดว่าการขึ้นเงินเดือนครูแล้วจะทำให้ตรงนี้ลดไปหรือเปล่า ผมว่าตรงนี้มากกว่าที่น่าสนใจนะครับ ถ้าเงินเดือนเพิ่มขึ้น เราจะได้ครูที่มีคุณภาพจริงหรือเปล่า

    สำหรับผมครูอาจารย์คืออาชีพที่น่ายกย่องเสมอครับ ผมคิดว่าครูคือคนที่สามารถสอนอะไรให้ได้มากกว่าในตำรา ผมว่าครูที่เก่งคือคนที่สามารถเชื่อมโยงความเป็นไปในโลกให้เข้ากับบทเรียนได้อย่างไม่น่าเบื่อ

    คนที่เรียนเลขทุกคน คงไม่ได้จะมานั่งเขียนโปรแกรม เป็นวิศวกร

    คนที่เรียนชีวะทุกคน ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นหมอ หรือเภสัชกร

    คนที่เรียนฟิสิกส์ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปทำงานด้านฟิสิกส์ เดี๋ยวนี้คนจบปริญญาเอกฟิสิกส์หรือคณิตศาสตร์ไปทำงานเป็น Quant (พวกนักวิเคราะห์การเงินก็เยอะแยะ)

    ผมไม่ทราบจริงๆครับว่าความล้มเหลวนั้นมาจากไหน แต่ผมคิดว่าส่วนหนึ่งนั้นมาจากการที่เราสร้างหลักสูตรที่ไม่ได้เรื่องครับ เราไม่ได้สร้างหลักสูตรที่จูงใจ ให้เด็กไขว่คว้าไปหาคำตอบ

    ผมไม่ทราบว่าพี่เคยอ่านหนังสือพวก management บ้างไหมครับ ที่จะมี teaser หรือพูดถึงเคสบางเคสที่สัมพันธ์กับบทเรียน แต่หนังสือเมืองไทยนั้นไม่มี

    ทำไมเราต้องเรียนกฏของนิวตัน ทำไมเราต้องรู้เรื่องคลื่น แสง ทำไมเราต้องเรียนควอนตัม ในฟิสิกส์

    ทำไมเราต้องเรียนจำนวนเฉพาะ หรม ครน ตรีโกณ ความน่าจะเป็น สถิติ เวคเตอร์ จำนวนเชิงซ้อน หรือแม้กระทั่งแคลคูลลัส ในคณิตศาสตร์

    ถ้าผมไม่อยากเป็นวิศวกร ถ้าผมแค่อยากเป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจ หรือ ผมแค่อยากเป็นเหมือนพ่อผม ทำไมผมต้องเรียนวิชาพวกนี้

    ถ้าเราหาคำตอบพวกนี้ให้เด็กได้ ผมว่าเราก็สามารถที่จะสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน ครูที่มีคุณภาพ ให้กับเด็กขึ้นมาได้ครับ สิ่งสำคัญที่สุด คือความอยากรู้ครับ ทำยังไง ให้เราสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับความอยากรู้ของเด็กได้ หรือถ้าไม่ได้ ทำอย่างไรให้เรากระตุ้นให้เด็กอยากรู้ได้

    อาชญากรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลกคือการฆาตกรรมความอยากรู้อยากเห็นของเด็กครับ

     

    • สวัสดีตอนเช้าครับท่านช่วย
    • ตามมาตอบสนองบางประเด็นแน่ะ
    • นั่นแหละ  คุณพูดเองนะว่าปริญญาเอกที่เยอรมัน  ค่าเรียนถูกขนาดไหน 
    • ในเมืองไทยบางคนอาจนึกไม่ออกว่า  การที่รัฐสนับสนุนและให้การศึกษาเท่าเทียมกันเป็นอย่างไร?   ที่อเมริกาและที่ซิดนีย์ห้องสมุดบางแห่งเขาเปิดตลอด ๒๔ ชม.เลย
    • ตอนนี้ลูกชายผมจะหาที่เข้าเรียน  ม.๑  ค่าเทอมมันแพงกว่าของคุณ ๑๐ เท่า  ถ้าเป็นนานาชาติ(อยากให้ลูกไม่ต้องมาทรมานเรียนภาษาอังกฤษตอนแก่เหมือนพ่อเพิ่มอีก)  มากกว่า ๒ เท่าขึ้นไป
    • ที่พูดๆกันน่ะ   ผมบอกว่า  มันเป็นภาพลวงตานะในประเทศไทย
    • ผมมีเพื่อนรุ่นพี่ชาวญี่ปุ่น   เป็นครูและอาจารย์นมหาวิทยาลัยหลายคน   เงินเดือนและสวัสดิการเขาสูงมากๆ  คือ  สามารถเลี้ยงลูกเมียได้ทั้งครอบครัว  แถมเหลือมาเลี้ยงข้าวผมอีก  
    • แต่การคัดสรรวางไว้สูงมากๆ   เพราะต้องไปสอนคนให้เป็นมนุษย์
    • บ้านเราการศึกษา  บรรดานักวิชาเกินท่านทำให้มันเละ  ยังไม่เลิกจนบัดนี้
    • หนี้สินแบบเปอร์เซ็นต์เทท  ครูมีหนี้สินมากที่สุดในบรรดาข้าราชการด้วยกันทั้งหมด  ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท  
    • ผมว่านี่มันสะท้อนอะไรบางอย่างไหม?
    • การเกษตรที่ผมพูดถึง  คือ  พูดง่ายๆว่า 
    • อิสราเอล   เขาสามารถทำทะเลทรายให้เขียวได้  เขาตั้งประเทศรอบใหม่มาเมื่อไม่นานนี่เอง  
    • เรายังต้องไปเรียนจากเขา  เสียค่าเครื่องบินให้นักวิชาเกิน  ไปเที่ยว เอ้ย  ไปศึกษาดูงานเขา
    • คือ  อยากจะเป็นพ่อค้า  แต่ดูหน้าเป็นเกษตรกร   รักพี่เสียดายน้อง  
    • เราพูดว่าเป็นเกษตร  เป็นครัวของโลก   ทำไมเราไม่วางระยะยาว  ให้มันสุดยอดเกษตรไปเลย 
    • เดี๋ยวนี้กระแดะกันมาจับจอบ  เสียม  เป็นเกษตรพอเพียงกันเป็นว่าเล่น  
    • มหาวิทยาลัยเกษตร(ผมเชื่อว่าเป็นความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในอดีตพยายามทำให้เกษตรรุ่งเรือง) 
    • คุณไปดูเวลานี้ที่  คณะเกษตรที่เป็นเกษตร  จะสู้คณะอื่นๆได้ไหม   ผมผ่านเกษตรบางเขนทุกวัน  มันไม่เป็นเช่นนั้นะครับท่านช่วยที่เคารพ
    • สวัสดี

    หวัดดีครับทุกท่าน แล้วก็น้องบ่าว

    ขอแจมด้วยหิดนึง-ขอบ่นด้วยคน

    พอดีว่า อยู่คณะเกษตรฯ อยู่ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ตอนนี้อยู่มา 13 ปีแล้วครับ

    มีอาจารย์บางท่านตอนที่ผมเข้ามา จบแค่ ป.ตรี หรือ ป.โท จากนั้นหลวงก็หาทุนให้ไปเรียนต่อ ส่วนใหญ่จะจบ เอก กันหมดแล้ว และเกินครึ่งหนึ่ง ไปจบมาจากนอกประเทศ ที่เรียนดังๆ ทังเพ เหมือนกับครูบ่าว ตอนนี้น่ะแหละ

    แต่ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ 13 ปีล่วงมาแล้ว ไม่เคยเห็นว่า ลูกของอาจารย์เหล่านั้น จะให้ลูกมาเรียนในคณะฯที่พ่อ-แม่ เขาสอน เขาเป็น คณบดี (คณะ-บ่-ดี ตามภาษาอีสานก็คือคณะไม่ดี แหงะๆๆ) หรือเป็นผู้บริหารสายงานอื่นๆ เลย (หรือลูกไม่อยากมาเรียนก็ไม่ทราบได้)

    จากนั้นพวกคณ(บ่ดี) หรือ ผู้บ่-ริหาร เหล่านั้นก็เที่ยวมาประกาศ ขอความร่วมมือให้หาเด็กมาเรียนกับมหาวิทยาลัยเราให้เย่อะๆ (555 ไม่รู้ไปขอความร่วมมือกับลูกตัวเองบ้างหรือปล่าว)

    ในที่นี้ก็เห็นใจ และเข้าใจครูหลายๆท่านที่คิดดี ทำดีอยู่ครับ แต่ถ้าให้เข้มข้นมากกว่านั้น ก็ต้องกล้าที่จะพิสูจน์ให้คนอื้นเขาเห็นว่าตัวเองดีจริง จนกล้าที่จะเอาลูกตัวเองมาเรียนในสถานศึกษาที่ตัวเองอยู่ (พอดีว่า มหาวิทาลัยที่ผมอยู่ เป็นมหาวิทยาลัยบ้านนอกนะครับ ถ้าเป็น ม.ใหญ่ๆ ในเมืองหลวงอาจจะไม่เป็นแบบที่ผมว่าก็ได้ )

    หรือว่าคนอื่นคิดว่าปรือครับ น้องบ่าวเม้งล่ะ ถ้ามีลูกจะใด้ลูกจะให้เรียนที่ไหนครับ

    ครูดี ๆ หาอยากค่ะ หนูว่าจะตั้งชื่อครูใหม่ เป็นคนหาอยากค่ะ ส่วนมากจะเป็นพวกรับจ้างสอนมากกว่า  เอาความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งคิดว่าตัวเองได้ตำแหน่งครูแล้วตัวเองเก่งทุกอย่าง ครูโง่เด็กก็โง่ทั้งชาติมาเป็นใหญ่เป็นโตก็ทำให้ประเทศชาติโง่ แต่ลองมามองครูที่เป็นครูจากการกระทำ การสอน  การทำ  หนูเจอได้เห็นได้  หนูอยู่กับครูหลายระดับค่ะ ตั้งแต่พ่อครู พี่ครู  ลูกครู น้องครู     น้องกิ่งค่ะ

    ประเทศที่คนในชาติขาดมิตทางสังคม  ก็จะคิดแบบผิวเผินอย่างนี้แหละ ตัดสินใจโดยเอาความคิดที่นึกว่าตนเองจะได้ประโยชน์ คนวางนโยบายก็ใจบอด มองไม่เห็นแนวทางสร้างชาติที่แท้จริง

    P

    สวัสดีครับน้องต้น

    • อาชญากรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลกคือการฆาตกรรมความอยากรู้อยากเห็นของเด็กครับ
    • ขอบคุณต้นมากเลยนะครับ ชอบจริงๆ ครับ ประโยคท้ายสุดนี่
    • จริงๆ แล้ว เงินเดือนหรือรายได้กับการเป็นครูมันไม่ควรจะยึดติดกันเป็นตัวแน่นแฟ้นกว่าอุดมการณ์หรอกครับ โดยหลายคนกล่าวว่า อุดมการณ์นั้นกินไม่ได้ พี่เลยโพสต์ไว้ที่นี่ ครับ อุดมการณ์กินไม่ได้ จริงหรือ แล้วอะไรครับกินได้
    • น้องต้นลองวิเคราะห์ดูครับ ตามหัวข้อเลยครับ ว่าการได้มาซึ่งครูนั้น หรือกระบวนการผลิตครูนั้นเป็นอย่างไรในประเทศเรา กระบวนการรับและการถ่ายทอดเป็นอย่างไร
    • ตอนพี่เรียนอยู่ปริญญาโท กลับไปบ้าน เด็กๆในหมู่บ้าน จะเอาหนังสือคณิตศาสตร์ ม.ปลาย มาหาพี่ แล้วก็เล่าความเป็นมาเรื่องปัญหาให้ฟังในห้องเรียน ว่าเกิดอะไรขึ้น ผมเองก็ต้องฟังหูไว้หู แต่เด็กสามสี่คนนั้น ก็พูดกันเสียงเดียวว่า คุณครูไม่รู้ไปโมโหใครมา เข้ามาในห้องไม่ถึงห้านาทีก็ต่อว่านักเรียนแล้วก็เดินออกจากห้องไปเลย ซึ่งเป็นคาบวิชาคณิตศาสตร์
    • ตอนที่เราเริ่มจะสอนเรื่องที่เด็กอยากรู้ เราสามารถจิ้มลงไปจุดเริ่มต้นของเนื้อหาบทนั้นดูก็ได้ ว่าเด็กเข้าถึงจุดตรงนั้นหรือเปล่า
    • ผมเชื่อว่าการเรียนที่ไม่มีการยกตัวอย่างหรือการนำเข้าสู่บทเรียน จะเป็นการเรียนที่ไม่น่าดึงดูใจนักเรียนเลย เว้นแต่ว่านักเรียนเหล่านั้นจะทราบถึงการนำไปใช้แล้ว
    • เหมือนตอนที่เราอยากรู้อะไรแล้ว เราไปค้นหาตอนที่อยากจะรู้ จะทำให้ต่อมอยากรู้มันแตกฉานเร็วขึ้นครับ
    • แต่อาจจะแล้วแต่นิสัยคนด้วยครับ บางคนชอบให้ป้อน บางคนอยากจะตักกินเอง บางคนอยากจะผสมอาหารในจานให้ได้สัดส่วนในแต่ละคำเอง บางคนอยากจะปรุงอาหารเอง ต่างๆ นานาครับ
    • เรื่องการทำงานพิเศษ หรือวิจัย หรืองานนอกเหนือการสอน อันนี้ก็เป็นสิทธิ์ของคุณครูทั้งหลายครับ อยู่ที่การจัดการตัวเองครับ ซึ่งแต่ละคนจะทราบดีอยู่แล้วครับ ว่าจะทำไปเพื่อเสริมรายได้หรือว่า อยากเรียนรู้ หรือว่าหาประสบการณ์เพิ่ม หรือการสอนพิเศษเพิ่มดังที่บางท่านยกตัวอย่างมาแล้ว
    • แต่จำนวนไม่ได้น้อยที่รายได้ไม่เพียงพอครับที่จะเลี้ยงครอบครัว หรือมีสิทธิ์กู้ยืมก็เจอปัญหาต้องคืนอีกเช่นกัน เพราะนี่คือปัญหาจริงที่เกิดส่วนหนึ่งแม้จะไม่ทั้งหมดครับ
    • เอาง่ายๆ เลยครับ พี่เองตอนเรียน ป. โท มีเงินเดือน ระดับข้าราชการปริญญาตรี 6360 บาทนะครับ สอบได้มาเรียนโท แต่ไม่มีทุนติดตัวมาเลย มาเรียนที่ กทม. ถามว่าจะเพียงพอไหมครับ กับการเรียน ป โท
    • ผมกู้เงินซื้อคอมพ์ ผ่อนเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท จ่ายค่า กบข. อีก สี่ห้าร้อย ผมเหลือเงินอยู่ประมาณ สี่พันบาทในบัญชี แต่ละเดือน ที่มาช่วยหล่อเลี้ยงใน กทม.
    • ถามว่า หาก สี่พันนี้คือ ค่าหอพัก ซึ่งผมก็จ่ายเดือนละ 3500 บาท เหลืออีกประมาณห้าร้อยกว่าๆ
    • ถามต่อว่า ค่าเทอม  ค่ากิน ผมอยู่ที่ไหนครับ
    • อันนี้ไม่ใช่การสอนนะครับ แต่ประเด็นเรื่องนี้ เรื่องการดิ้นรนเพื่อให้ได้เงินมาเลี้ยงให้ประทังชีพได้
    • ผมเคยตั้งเอาไว้ว่า ผมจะไม่ขอเงินจากที่บ้านอีกต่อไป ตั้งแต่แรกเข้าปริญญาโท ผมบอกว่าชีวิตนี้ผมจะฝากชีวิตไว้กับการศึกษาและทำงานให้กับประเทศ ผมรบกวนที่บ้านมามากแล้ว หากอยากจะให้ผมมีโอกาสช่วยเหลือและทำงานเพื่อประเทศ ก็ขอให้ผมได้ทุนเพื่อหล่อเลี้ยงให้ผมจบด้วยเถิด จะได้ทำงานวิจัยให้เต็มที่
    • หลายๆ เรื่องมาประกอบเข้ากัน ทำให้ผมไปสมัครทุนของ อ.ดร.แถบ นีละนิธิ ที่จุฬา ผมโชคดีไป เพราะได้ทุนนี้ มาช่วยค่าเทอม เทอมละหมื่นสองพันบาท สามเทอม ที่เหลือจนจบ
    • แล้วค่ากินผมหล่ะครับ....ก็โชคดีอีกแล้วครับ ได้ไปช่วยทำงานเป็นผู้ช่วยสอนและวิจัยให้กับท่านอาจารย์ที่ปรึกษา ผมก็ได้เดือนละสี่พันบาท จำนวนสองปี
    • นั่นคือประสบการณ์ของผม คือขอแค่หล่อเลี้ยงได้ครับ ผมพยายามไม่มองว่าเงินมันสำคัญ แต่บางครั้งมันจำเป็น เพราะมันคือปากท้อง
    • มองกลับไปสู่คุณครูอีกก็เช่นกัน ในขณะที่สอนหนังสือ แล้วมีลูกคนสองคน ผมว่าปัญหาอื่นก็ตามมาเช่นกันครับ
    • แต่นั่นก็อย่างที่ต้นถามนะครับ
      ว่า หากเพิ่มเงินเดือนแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นหรือ พี่ก็ไม่เชื่อหรอกครับ หากไม่รู้จักพอ....  เพราะอาชีพครูคงต้องมีจิตวิญญาณฝังอยู่ด้วยครับ ไม่งั้นสมัยก่อน คุณครูที่สอนกันนะครับ เงินเดือนน้อยครับ แต่สอนด้วยอุดมการณ์หนักๆ ผมจะชอบฟังตอนที่คุณพ่อเล่าเรื่องให้ฟัง ไม่รู้ว่าท่านจำกันได้อย่างไร ที่คุณครูของท่านสอน ท่านยังท่องจำได้หรือ จำได้หมดเลย
    • สำหรับเรื่องการสอน การเรียนนั้น เรียนอย่างหนึ่งได้ทำงานอย่างหนึ่ง อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาครับ แต่ในเนื้อหาไม่ว่าจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยว แต่กระบวนการเชื่อมต่อเข้าหากัน จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกันครับ
    • เพราะเป้าหมายในการเรียน ต้องการจะให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญญาเป็น ปัญหาที่อยู่ในห้องเรียนมันเป็นแค่ทดลอง หรือจำลองเท่านั้น เพื่อให้เดินออกจากห้องเรียนแล้วใช้กระบวนการคิดนำไปปรับใช้ หรือว่าเรียนรู้ปรับใช้ในห้องเรียนในครั้งต่อไป ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนให้คนอื่นรับทราบในการถ่ายเทประสบการณ์กันด้วยครับ
    • ตอนนี้หลักสูตรต่างๆ ในเมืองไทย เราเน้นไปทางไหนครับ เยอรมันเคยวิกฤตอยู่ช่วงหนึ่งครับ คือ หากเด็กมาเรียนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ได้น้อยลงเมื่อเทียบกับสาขาทางเศรษฐศาสตร์ การบัญชี การตลาด เพราะเด็กคิดว่า ทำไมต้องเรียนในสิ่งที่ยากกว่า ทั้งๆที่จบออกมาเงินเดือนก็ไม่ต่างกันมาก หรืออาจจะสูงกว่าอีกสาขาพวกนี้ด้วยซ้ำ
    • บางภาควิชาจำเป็นต้องยุบ แล้วรวมกับสาขาอื่นด้วยครับ สำหรับบางพื้นที่
    • ปัญหาอยู่ที่ว่า แนวการศึกษาหรือระดับนโยบายของประเทศจะวางแผนอย่างไร ในการตั้งเป้าการพัฒนาคนในแต่ละสาขา ที่ขาดแคลนแล้วให้เค้าไปอยู่ในส่วนองค์กรต่างๆ อย่างไรครับ
    • หากมองถึงโอกาสการได้รับรู้ เรียนรู้ของเด็ก บนดอย ในตัวอำเภอ จังหวัด ในเมืองหลวง หรือสลัม โอกาสเรียนของเด็กเหล่านี้ เท่าหรือต่างกันครับ
    • อีกปัจจัยที่สำคัญมากๆ คือ แรงเสริมของพ่อแม่ในการสร้างแรงจูงใจให้ลูกอยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากเรียนนั่นเรียนนี่ ตรงนี้ก็มีทั้งประโยชน์และปัญหาครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ อาจจะมีอะไรตกหล่นค่อยเข้ามาเสริมอีกทีนะครับ พี่เขียนไปตามใจนำพาครับผม ขอบคุณต้นมากๆ เลยครับ
    P

    สวัสดีครับพี่แท็ฟส์

    • ขอบคุณมากครับ ที่ให้มุมมองที่น่าสนใจครับ
    • สำหรับการศึกษา ที่ผมมอง คือ มีธุรกิจการศึกษากับ การให้ฟรีทางการศึกษาครับ อันนี้ก็ตามที่เห็นกันอยู่ครับ แต่ต่อไปในเยอรมันก็จะเริ่มเก็บค่าเล่าเรียนแล้วด้วยครับ สำหรับ ระดับตรีโท แต่ ป เอก ยังเหมือนเดิมครับ (โดยเฉลี่ยนเทอมละ สองหมื่นห้าพันบาทไทย)
    • ส่วนเรื่องการเกษตรนั้น กับอิสราเอล นั้น เค้ารู้ไงครับ ว่าพืชต้องการอะไร พืชที่จะปลูก จะปลูกอะไร ปลูกพืชในทะเลทราย หรือปลูกในรางน้ำ หรือปลูกในอากาศ ก็ทำได้ทั้งนั้นครับ อยู่ที่ว่าจะเข้าใจหรือเปล่า รู้นิสัยของต้นพืชหรือเปล่า หากเอาเข้าจริงก็ทำได้ครับ พูดเรื่องนี้ทีไรทำให้ผมนึกถึงปัญหาในเมืองไทยที่บอกว่า อีสานเราทำไม่ได้ ปลูกไม่ได้ ผมเองยังไม่เคยไปอีสานหรอกครับ แต่ผมคิดว่ามันต้องทำได้ซิ
    • เรามีดินนะครับ ไม่ใช่ทะเลทราย จะปลูกพืชบนดินหากไม่ได้เรียนรู้เรื่องดินและปุ๋ย ธาตุอาหารพืชทั้ง 16 ตัว (มีแค่สิบหกตัวแค่นั้นนะครับ แล้วที่มีประโยชน์สุดๆ ก็มีไม่กี่ตัวที่จำเป็นหลักๆ โดยแบ่งเป็นธาตุอาหารหลัก รอง และเสริม) หากขาดตัวไหนเราก็ตรวจสอบได้หมดใช่ไหมครับ อันนี้ กรมส่งเสริมเกษตร คงตอบได้หมดอยู่แล้วครับ ว่าพื้นที่ไหนจะปลูกอะไร ดินเป็นอย่างไรเหมาะอย่างไร โยงไปถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการวางแผนร่วมกับการส่งออก ก็ว่าไปครับ
    • สำหรับเรื่องหนี้สินครูนั้น ครูเองก็ต้องรู้จักประมาณตนด้วยครับ ตอนนี้ที่หนักเข้าไปคือค่าภาษีสังคมครับ คือ มีงานศพ งานบวช งานเลี้ยงน้ำชา แต่งงาน ....และอื่นๆ อีกมากมาย นี่ขนาดที่บ้านผมเป็นแค่ชาวนาตัวดำๆ ไม่มียศอะไรในสังคมเลยนะครับ บางเดือน ฟาดเข้าไป 20-30 งาน แต่ละงานอย่างน้อยก็หนึ่งร้อยบาทเป็นอย่างต่ำ รวมๆ เข้าไป ไม่ต่ำกว่าสามพันบาท แล้วรายได้เข้ามาหล่ะครับ จากไหน ปลูกผักไปขายเพื่อมานั่งงาน หรือทำบุญใช่ไหมครับ
    • กรีดยางทำยางก้อนไปขายได้เงินมาเอาไปทำบุญในงานต่างๆ
    • หากเราจัดการเรื่องพวกนี้ไม่ได้ เราจะอยู่ได้อย่างไรครับ แล้วหากครูเป็นผู้มีหน้ามีตาในสังคม คนอื่นมาบอกงาน ก็ต้องไปอีก เดี๋ยวคนอื่นว่าใจไม่ถึง ต้องรักษาหน้าอีกครับ ส่วนหนึ่งหนี้เหล่านี้ ก็มาจากภาษีสังคมที่เกาะกรังเข้าเป็นสนิทถาวรด้วยส่วนหนึ่ง
    • หากมองต่อเรื่องภาษีสังคม ไปยังคนที่ทำงาน อบต. หรือทำงานส่วนรวม เงินเดือนเค้าได้รับแค่ไหนครับ ค่าภาษีสังคมเท่าไหร่ จุดเหล่านี้ก็นำไปสู่การโกงกินได้ง่ายมากๆ เลยครับ ต่อให้มีทั้งฝ่ายสภา หรือฝ่ายบริหารก็ตามครับ
    • คนบริหาร อบต. มีระดับภูมิการศึกษาที่ต่างกันมากครับ บางที่จบปริญญาโทนะครับ บางที่ก็จบตามรูปแบบครับ แล้วแต่ว่าการได้มาในการเลือกเพราะอะไร เรื่องนี้ให้คุณลองมองย้อนไปยังรอบบ้านของคุณดูครับ มองซักช่วงหนึ่ง สี่ห้าปี ผมเชื่อว่าได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
    P

    สวัสดีครับพี่แดง

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่ช่วยสะท้อนเพิ่มขึ้นนะครับ ในด้านเกษตรและการศึกษา ตลอดจนมุก บ่ ทั้งหลายครับ
    • บ้านเราหากจะพูดกันให้ตรงๆ แล้ว ผมว่าเราใกล้เกลือกินด่างนะครับ แต่หากเราใกล้สบู่เราจะกินเกลือแทน
    • ผมมาอยู่นี่ริจะกินแกงไตปลา ห้าๆ ไม่กินอาหารเยอรมัน ห้าๆๆ ยอมแพ้จริงๆ ครับ ผมหน่ะคิดถึงแกงน้ำเคย น้ำชุบ บ้านเรานี่หล่ะครับ หรอยจังหู้
    • หากผมมีลูกหรือครับ ผมจะให้เรียนในโรงเรียนใกล้บ้านนี่หล่ะ ผมเชื่ออยู่ว่า ตั้งแต่ ประถม ถึง ม.ต้น นั้น เรียนที่ไหนก็เหมือนๆ กัน อยู่ที่ว่า เราจะเอาใจใส่ลูกแค่ไหนมากกว่าครับ
    • ผมอาจจะทำเหมือนที่พ่อผมเคยทำกับผมส่วนหนึ่ง ในการเป็นครูและเพื่อนกับลูกในการเรียนรู้ครับ อีกอย่างไม่มีเงินส่งไปเรียนที่ไกลๆ หรอกครับ เว้นแต่ลูกจะดิ้นรนจนสอบได้เอง อันนี้ก็นับว่าเป็นบุญของเค้า เราทำได้แค่กำลังใจและแรงแนะนำตามที่เค้ามีแนวทาง ให้เค้าเลือกและตัดสินใจเอง  ผมเองไม่เคยบอกว่าให้น้องๆ ผมไปเรียนนั่นนี่เลยครับ เพียงแต่บอกให้เค้าคิดเอง แล้วเรียนที่ใกล้บ้านนี่หล่ะครับ
    • ตอนนี้เรามีข้อดีคือ เรามีมหาวิทยาลัย มากที่สุดในโลกแล้วมั้งครับ หลังจากที่เรายกฐานะสถาบันราชภัฏให้เป็นมหาวิทยาลัย ผมว่าที่เรากังวลเรื่องคุณภาพ อันนี้ก็ต้องเร่งกันทำให้คุณภาพกระจายและพัฒนานะครับ ข้อดีอีกข้อก็คือว่า มีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศแล้ว เด็กๆจะเรียนที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องแย่งกันไปเรียนที่ กทม. ให้ดูดสูบควันพิษกัน
    • หลักของการกระจายคนให้อยู่ทั่วๆ ไป ไม่แออัดครับ กระจายการศึกษา แต่ตราบใดก็ตาม เอาการศึกษาไปผูกกับธุรกิจ การศึกษาก็จะพังทันที หมายถึงผูกกับการทำธุรกิจนะครับ ที่ว่าพังนี้คือการเอาธุรกิจนำนะครับ แต่หากผูกแล้วเอาการศึกษานำ ก็จะอยู่ได้ แต่ในความคิดของผมคือ

      การศึกษาต้องให้ฟรี และต้องทำให้ผู้ให้พร้อมจะให้คนอื่น ฟรีด้วย และทำให้การให้ฟรีนี้มีคุณค่า
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับพี่
    ไม่มีรูป
    พัทยา เพียพยัคฆ์

    สวัสดีครับน้องกิ่ง

    • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่มาเสริมกันต่อครับ
    • พี่ว่าทุกสาขาอาชีพก็คงมีคนผสม ปะปนเช่นกันครับ เพียงแต่ครูคือผู้สร้างครับ คือสร้างคนให้เป็นมนุษย์ หรือว่าจะสร้างมนุษย์ให้เป็นคน หรือสร้างสัตว์ให้เป็นคน (หากคนคือสัตว์สังคมนะครับ)
    • แต่สร้างนี้ หมายถึงสร้างองค์ความรู้ให้เกิดกับตัวเอง แล้วต้องให้ด้วยครับ หรือถ่ายทอดให้เกิดกับคนที่รับฟัง หรือคนที่มารับรู้ด้วยครับ
    • เพราะฉะนั้น คนไหนที่สร้างแล้วก็ให้อย่างบริสุทธิ์ใจ ก็เป็นครูได้ครับ ครูด้วยใจ แต่ไม่ใช่ครูด้วยตำแหน่งครับ
    • มีหลายๆ อย่าง หลายๆ ปัญหาในบ้านเรา หากเราได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องของสังคมบ้าง ก็เป็นการทำให้ใจเราหันมาทางนี้มากกว่า จะคิดว่า วันนี้จะทำกำไรได้เท่าไหร่ วันนี้ขาดทุกแสนล้าน
    • วันนี้กำไรสามล้าน ขายคอมพ์ได้ห้าร้อยตัว
    • คนเราหลากหลายครับ บางทีพี่คิดว่า หากคนที่รวยหนักๆ ขาดทุนวันหล่ะหมื่นล้านครั้งหนึ่ง กับชาวบ้านที่หารายได้วันละสิบบาท หรือไม่มีรายได้ ไร้ข้าวสารกรอกหม้อ นี่ใครจะตายก่อนกัน
    • ดังนั้น เวลามีใครไปซื้อเสียงชาวบ้านที่เค้ารอคอยชะตากรรม เค้าจะรู้สึกว่าคนเหล่านั้นมีพระคุณเพราะทำให้เค้ารอดตาย การให้ค่าตอบแทนด้วยการใส่เสียงให้เค้า มันมีค่าน้อยมากๆ หากเทียบกับการได้มีชีวิตเพิ่มมาอีกหนึ่งมื้อสองมื้อ นี่คือที่มาของการซื้อเสียงขายเสียง ซึ่งก็โยงใยกับการศึกษาเช่นกันครับ
    • ดังนั้น ปัญหาในโลกนี้ แก้ได้ด้วยการศึกษาครับ ฟันธง...... อิๆๆ (ลองเอาไปคิดเล่นๆ ครับ)
    P

    กราบสวัสดีท่านครู

    • ประเทศที่คนในชาติขาดมิตรทางสังคม  ก็จะคิดแบบผิวเผินอย่างนี้แหละ ตัดสินใจโดยเอาความคิดที่นึกว่าตนเองจะได้ประโยชน์ คนวางนโยบายก็ใจบอด มองไม่เห็นแนวทางสร้างชาติที่แท้จริง
    • กราบขอบพระคุณท่านครูมากๆ นะครับ ที่มาช่วยเติมเต็ม และได้คำว่า บอดๆ หลายๆ อย่างครับ
    • คนวางใจบอด คนทำตามตาบอด การศึกษาสมองบอดด้วยแล้วละก็ แย่เลยครับ
    • ผมไม่รู้ว่าต่อไปเราจะเป็นกันอย่างไร ประเทศไทยเป็นของทุกคนนะครับ หากจะพัฒนาชาติก็ต้องพัฒนาการศึกษาครับ การศึกษานี้คือตั้งแต่ครอบครัวชุมชุม ยันเรือรบนะครับ
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ
    • สวัสดีครับทุกท่าน
    • ผมไปเจอบทความหนึ่งของท่านบล็อกเกอร์กิตติมศักดิ์ P “โรงเรียนในฝัน” ที่เป็นความจริง และทำมาแล้ว 15 ปี ของท่านไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
    • อ่านแล้วดีมากๆ นะครับ นับว่าฝันที่เป็นจริงเลยทีเดียวครับ
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ
    • สวัสดีครับ
    • ขอตามมาเก็บบางประเด็น  ให้กาแฟนี้หมดถ้วยไปเลยนะครับ
    • การไปหาองค์ความรู้ที่สุดยอดของโลกนี้  มันไม่ผิดหรอก  ตักษิลาไหนดี  ก็ด้นดั้นไปเสาะหามา  อย่างที่เยอรมันนี้  สิ่งที่เกิดกับการศึกษาไทยที่ผ่านมา  และ  เวลานี้  ไม่ได้สอนให้เราเข้าใจตัวเอง  เข้าใจชาติ  มีความภาคภูมิใจ  คิดและคัดลอกระบบเขามา 
    • เรียนจบเรากลับห่างจากชาติกำเหนิดตนเอง  จากชาวนากลับไปเป็นชาวที่ดีเลิศอีกไม่ได้ เป็นต้น 
    • แต่ไปเพิ่มพลังความรู้  ให้ไปขูดรีดคนด้อยกว่ามากขึ้น  เพิ่งมาคิดได้  เมื่อแผน๘ นี่เองว่าคนนั้นสำคัญ  เป็นต้น
    • โอเน็ตเอเน็ต  ภาษาไทย  ไม่มีปัญญาผลิตออกมาใช้  ให้คนหนุ่มคนสาวเขาฝัง  ในภาษาไทยของเรา  เว้นแต่มันใหม่จริงๆมาจากสากลก็พอยอมรับได้   
    • สิ่งนี้ดูเหมือนเล็กน้อย  แต่สำคัญครับ  ในหลวง  พระราชินี  ท่านทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทย  แล้วนักวิชาเกินที่กระทรวงเขาเอาหัวไปไว้ไหน   หรือนั่งฟังตอนท่านตรัสก็ยิ้มเท่านั้น 
    • นี่เป็นตัวอย่าง
    • กรุงเทพฯ  ไม่ใช่ประเทศไทยนะครับ  
    • ที่อาจารย์เม้งพูดเรื่องธุรกิจการศึกษา  ต้องยอมรับว่าการศึกษาก็คือ  การลงทุนชนิดหนึ่ง  
    • แต่ที่ผมเสนอแนะนั้น  คือ  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  รัฐมีหน้าที่อย่างเต็มที่ที่จะให้ทุกคนเข้าถึงให้ได้  
    • แต่ธุรกิจการศึกษานั้นให้เป็นทางเลือก  ใครอยากจ่ายเงิน  แล้วได้ความรู้ก็เชิญ   แต่นี่มันมีช่องว่างมากจริงๆ
    • สวัสดี
    P

    สวัสดีครับพี่แท็ฟส์

    • ขอบคุณมากครับที่ยกประเด็นที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ เรื่องการไปร่ำเรียนจากที่ยอดๆ มานะครับ
    • ตราบใดก็ตามที่ส่งคนไปเรียนต่างประเทศ แล้วกลับมาโดยจะเอายกมาทั้งระบบมาครอบใส่ในประเทศของเรา โดยลืมการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับนิสัย วัฒนธรรม รากเหง้าของคนไทย ระบบนั้น ก็พัง เผลอๆ จะพังทั้งประเทศครับ
    • ไปเรียนมาได้นะครับ แต่ต้องเอามาประยุกต์ใช้ แล้วต้องคิดและก็คิด ซ้ำๆ ถึงผลกระทบ ไม่งั้นเจอปัญหาแน่นอน
    • เช่นกฏหมายครับ คนไทยส่งมาให้เรียนกฏหมายต่างชาติก็เยอะครับ แต่ไม่ได้หมายความว่า กลับไปแล้วจะเอาทั้งดุ้นไปใช้นะครับ หากไม่มีการปรับใช้ ก็นั่งแก้ไปแก้มาอยู่นี่หล่ะครับ เพราะคนที่เรียนมาเรียนจากที่เดียวกัน จากไทยเหมือนกัน กลับไปก็ยังเถียงกันอยู่เลยครับ เพราะคนเราต่างไงครับ แต่สิ่งสำคัญคือ หากวางเป้าที่เป็นธรรมต่อส่วนรวมผมก็เชื่อเหลือเกินว่า สิ่งดีๆ จะออกมา โดยไม่คิดว่าข้าเสียหน้า เอ็งหน้าแตก หรือเสียผลประโยชน์ครับ
    • เรื่องเทคโนโลยีก็เหมือนกันครับ คุณคิดหรือครับ ว่าที่ซื้อมานั้นมันจะใช้การได้ดีทั้งหมด ทุกกระบวนความทุกๆด้าน เพราะความละเอียดมันต่างๆ กันครับ และที่สำคัญคือ คนใช้เทคโนโลยีต่างๆ คนกันครับ วางไว้ที่ภูมิประเทศต่างกัน ก็ย่อมต่างๆ กันครับ
    • ไม่ต้องเรียนจบนอกหรอกครับ ที่ลืมชาวนา ผมว่า แค่จบตรี ก็ทำนาไม่เป็นกันแล้วครับ มีกี่เปอร์เซนต์ครับ ที่จบตรีแล้วทำนาได้ ไม่ต้องไปทำจริงหรอกครับ แค่คุณตั้งข้อสอบก่อนสมัครเข้าทำงานนะครับ ว่าจงเล่าวิธีการทำนาน้ำลึกมา พร้อมการบำรุงรักษา  ลองเช็คดูครับ ว่าจะมีกี่คนที่ทำได้ ตอบได้
    • การเรียนสูงๆ และหากต้องการจะร่ำรวยทำได้ไม่ยากเลยครับ คือรวยแต่เงินทองนะครับ ส่วนใจนั้นไม่รับประกันในเรื่องนี้ครับ
    • วันก่อนผมพาแขกไปเดินในเมือง ผมคิดเล่นๆ ว่า ธุรกิจทุกวันนี้ เล่นอยู่แต่กับเรื่องภายนอก กายสัมผัสทั้งสิ้น ทำอย่างไรให้ ติดลิ้น ตา หู จมูก สัมผัส แล้วนำมาสู่การติดใจ แล้วเค้าก็หากินได้ตลอดชีวิตแล้ว โดยใส่บริการที่ดีลงไป ก็กินได้ตลอดแล้ว
    • สิ่งที่ผมมองแล้วชัดเรื่องการได้มาก กับก่อนการได้มา ผมชอบสังเกตการหาเสียงของคนเล่นการเมืองครับ ผมชอบดูเวลาท่านเหล่านี้ไปพบประชาชนก่อนการเลือกตั้งครับ แต่ละท่านไหว้แทบตักครับ แทบจะกราบเท้า อ่อนน้อมถ่อมตนมากๆ ครับ แต่พอท่านๆ ได้เข้าไปแล้ว ประชาชนคนที่ท่านไหว้เข้าไปแทบจะกราบลงที่ตัก ต้องการจะพบท่าน หรือขอพูดเรื่องประเด็นความเดือดร้อน ประชาชนเหล่านั้น ต้องรวมพลังกัน เพื่อต้องประท้วง ถึงจะได้มีโอกาสพูดคุย แล้วประชาชนต้องกราบแทบเท้าท่านเหล่านั้นแทน อันนี้ผมเห็นมานานแล้ว จนผมรู้สึกระอาไปแล้ว
    • ส่วนเรื่องคนไทยนั้น หากพูดกันตรงๆ คือ ศรัทธาในคำสอนของพระองค์ท่านเสมอ ผมเชื่ออย่างนี้นะครับ แต่....ย้ำว่าแต่...ไม่ได้เอาไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะผู้บริหารประเทศต้องพร้อมที่จะทำเรื่องเหล่านี้ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชน ลงแนวทางตามนโยบายลงมา แล้วทำให้เห็นจริง ต้องมีคนย่อยแนวทางให้กับประชาชนในระดับที่ปฏิบัติเองได้ด้วยครับ แล้วจะเข้าถึงแก่นคำสอน
    • กทม. ไม่ใช่ประเทศไทย ผมเห็นด้วยนะครับ แต่สิ่งที่เราทำตอนนี้คือ หากไม่มี กทม.ประเทศไทยจะอยู่ได้ไหม ผมว่าประเทศสั่นคลอนเลยนะครับ หากไม่มี กทม. ถามว่าทำไม (ตอบคือ ก็เรารวมทุกอย่างไว้ที่ กทม.เป็นศูนย์กลาง)
    • สำหรับธุรกิจการศึกษา เรื่องนี้ ผมว่าต้องฟรี อย่างน้อย ก็ ม.ปลาย
    • เราต้องให้การศึกษาฟรีถึงระดับ ม.ปลาย หรือ ปวช. ต้องให้ทุกคนจบให้ได้เป็นมาตรฐาน ไม่มีการแบ่งแยกใดๆ นั่นคือสิ่งที่ผมหวังเอาไว้ในชีวิตผม ว่าผมอยากเห็นแบบนั้นครับ
    • ขอบคุณพี่มากๆ เลยนะครับ ใครเห็นเป็นอย่างไรก็เชิญฝากไว้ได้นะครับ

    สวัสดีค่ะคุณเม้ง

    ครูที่เก่งในความเห็นของเบิร์ดคือต้อง " รู้..ทำ ( และ ธรรม )..นำ..แนะ " ได้ค่ะ..

    .." ครู " เป็นอาชีพที่มีเกียรติ เป็นอาชีพที่คนยกมือไหว้..การดำรงสถานะของครูจึงต้องสมเกียรติ สมศักดิ์ศรี ซึ่งต้องกอรปไปด้วยภูมิรู้  ภูมิธรรม และภูมิฐาน ( มีหลักการ เชื่อถือได้ ) ....แต่เกียรติภูมิของครูปัจจุบันเริ่มเลือนหายไป ..การเลือนหายของสิ่งใดก็ตามมักเกิดจาก " ตัวของสิ่งนั้น " และ " สิ่งแวดล้อม ...การรู้จักตนเองตามความเป็นจริง พอเหมาะ พอประมาณน่าจะเป็นเกราะที่ดีที่สุดในการดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบัน..และ..การเชิดชูเกียรติครูในสังคมไทยก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำ

    การผลิตครู..ก็ต่างไปจากอดีต สมัยที่แม่เบิร์ดเป็นครูมี 2 แบบคือเป็นนักเรียนทุน ( ต้องเก่ง ) และไปสมัครสอบโรงเรียนฝึกหัดครู ..ซึ่งเป็นความหมายตรงตามตัวคือออกมาเป็น " ครู " จริงๆ ..เป็นการคัดคนที่ " ตั้งใจเป็นครู " มาตั้งแต่แรก..ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏที่เบิร์ดมองไม่ออกว่าจะผลิต " ครู " แบบเดิมได้อย่างไร

    คุณภาพคน..ก็ต่าง สมัยก่อนจบ ม.8 ( ม.6 ปัจจุบัน ) ก็เป็นครูสอนคนให้ได้ดีได้แล้ว เพราะเก่งวิชา มีคุณธรรมและเก่งการถ่ายทอด..ปัจจุบันไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเหมือนกันค่ะ..

    นโยบายก็ต่าง..เปลี่ยนไปมา..คนที่กำหนดนโยบายก็ไม่รู้จักการศึกษา..คนที่รู้จักการศึกษาก็ไม่กล้าคัดค้านนโยบาย..การเมืองในกระทรวงก็มากมาย ผู้บริหารเองก็หนีไม่พ้นวังวนของ " อำนาจ "..ก่อนเป็นกับหลังเป็นต่างกันเยอะเลยนะคะ..การเปลี่ยนแปลงโดยดึงการศึกษาออกมาเป็นอิสระน่าจะลองดูเหมือนกันค่ะ เพราะน่าจะง่ายกว่าการทำให้นักการเมืองรู้จักการศึกษา..แถมกระทรวงศึกษา ฯ ก็เป็นกระทรวงที่ไม่ค่อยมีใครอยากได้อยู่แล้ว อิ อิ ^ ^

    ค่าตอบแทน..ควรให้ " อยู่ได้ "..ซึ่งข้อนี้มีหลายฝ่ายขยับกันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ( มีค่าตอบแทนครูและเปลี่ยนแท่งเงินเดือน ) คราวนี้คงขึ้นอยู่กับ " ครู " แล้วล่ะค่ะว่าจะอยู่อย่างไร ?

    ระบบการศึกษา..โรงเรียน..เรามองข้ามกระบวนการเรียนรู้..เพราะเราสนใจสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนมากกว่าสนใจว่าเด็กเรียนอย่างไร เค้ามีความสุขมั้ย..มันก็เลยมีสิ่งที่ต้องเรียนเต็มไปหมด มากซะจนเด็กไม่อยากเรียน เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเด็กไม่ต้องการความรู้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนมีปัญหา ! ...ปัญหาในโรงเรียนทุกวันนี้ไม่ใช่อยู่ที่ความรู้แต่เป็นการอยู่ร่วมกันที่เป็นโทษระหว่างครูกับนักเรียน..ครูก็ถูกกดดันด้วยนโยบายต่างๆ เด็กก็ถูกกดดันด้วยศักดิ์ศรีของโรงเรียน..โรงเรียนจึงเป็นที่ที่กดดันให้ผู้ที่อยู่ไม่มีความสุข

    เกรด..เป็นตัวตัดสินชีวิต ?..การเรียนที่มุ่งความสำเร็จไปที่ตัวเลขเป็นการเรียนที่ดีที่สุดแล้วอย่างนั้นเหรอคะ ? ชีวิตประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีอื่นหรือไม่....มาดูตัวอย่างกันค่ะสมัยที่เราสอบเอ็นสะท้าน..พวกเก่งๆ เกรดสูงๆเป็นหมอ วิศวะ..พวกที่เรียนกลางๆไปรัฐศาสตร์ พอจบมา..หมอเป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด คนที่เรียนกลางๆเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เวลายืนคนที่เรียนเก่งต้องอยู่หลังผู้ว่า ฯ นะเจ้าคะ..และคนที่เค้าไม่ได้เรียนแต่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จในชีวิตก็มี เป็นนักการเมืองที่พวกเรียนเก่งๆต้องก้มหัวให้ก็มาก..เกรดสำคัญอย่างที่คิดจริงหรือ ?..เพราะฉะนั้นสอนที่กระบวนการได้มาซึ่งความรู้และจิตใจร่วมด้วยจะดีกว่าการสอนความรู้เพียงอย่างเดียวมั้ยคะ ?  ( เหมือน ร.ร.สัตยาไสยของท่านไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม  ที่คุณเม้งทำลิ้งค์มาให้เข้าไปอ่าน..ตอนนี้เห็นมีโรงเรียนวิถีพุทธอยู่นะคะ คงต้องรอผู้รู้เข้ามาแลกเปลี่ยนกันต่อไป )..กระบวนการศึกษาไทยน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกเยอะค่ะ..

    อาจดูว่าทุกอย่างคือปัญหา..แต่ปัญหาก็มีไว้เพื่อแก้ไขถ้าเราไม่กระเทาะปัญหาและเริ่มแก้ไขที่ตัวเรา..ที่กลุ่มเรา..ที่สังคมเรา แล้วเมื่อไหร่ปัญหาเหล่านี้จะเบาบางลง..

    งานนี้ปูพรมเต็มพื้นที่เลยค่ะ.. ( มีเป้าหมาย อิ อิ ^ ^ )

     

    P

    สวัสดีครับคุณเบิร์ด

    • ขอบคุณมากครับคุณเบิร์ด คุณตอบได้สุดยอดอีกแล้ว แบบว่าโดนขั้วที่ช่อมะม่วงเลย แบบนี้ผมก็ได้กินมะม่วงน้ำปลาหวานอีกแล้วซิครับ (พูดแล้วน้ำลายไหล)
    • คุณตอบได้ตรงกับความเป็นจริงที่เป็นจริง..หลายๆ ประเด็น ผมเลยได้นำเสนอบทความไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า ให้แยกการศึกษาออกจากการเมืองมาดีหรือไม่ เพื่อจะได้สร้างการศึกษากันใหม่ แล้วส่งคนดีไปไว้ที่องค์กรต่างๆ ตลอดทั้งการศึกษาสร้างชุมชนที่ดีให้เกิด ให้มีวัคซีนป้องกันเงินฟาดหัว ใส่หมวกกันน็อคแจกฟรีทุกคน
    • แล้วอาจจะดีขึ้น เพราะตอนนี้การเมืองไปแทรกอยู่ทุกรูขุมขนของสังคม จนแยกไม่ออก ทั้งๆ ที่การศึกษาน่าจะคุมประเทศทั้งหมด ไม่ใช่การเมืองเอาเงินมาคุมประเทศ (อาจจะผิดนะครับ นี่ที่ผมมองนะครับ)
    • ค่าตอบแทน หากมีการให้ค่าตอบแทนครูที่สูง แล้วครูยังทำตัวไม่ดี ก็เปิดให้มีการสอบครูใหม่ทั่วประเทศ คือสอบครูที่มีอยู่แล้วคัดออก เอาไว้ที่มีคุณภาพที่สามารถ รู้ ทำ นำ แนะ อย่างที่คุณเบิร์ดว่านั่นหล่ะครับ คัดออกแล้วหาคนใหม่ที่มีคุณภาพมาแทนครับ หากตรงไหนในการศึกษามีการเมืองมากนัก ก็ปลดออก โดยให้ครูดีนำพาประเทศ สร้างคนกันจริงจัง โดยมีนักวิชาการให้เยอะขึ้น ไม่ใช่นักวิชาเกิน (อย่างที่พี่แท็ฟส์บอกมา) นะครับ
    • แล้วนักวิชาการ นักวิจัย ก็มีบทบาทในการพัฒนาชาติ แบบสร้างงานวิจัยที่นำไปใช้ เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนและรัฐ อย่างแท้จริง และมีบทบาทต่อการพัฒนาชาติ และเศรษฐกิจชาติด้วย หากทำได้แบบนี้ ผมเชื่อว่าคนระดับโปรเฟสเซอร์ก็สามารถจะชี้นำนักการเมืองให้เดินไปในทางที่ถูกที่ควรได้ ไม่ใช่ให้นักการเมืองมาด่านักการศึกษา แบบไร้เหตุผลอย่างที่เคยเป็นมา แต่หากนักวิชาเกินไม่ได้เรื่อง ก็สมควรได้รับการต่อว่าเช่นกัน และต้องยอมรับกันได้ด้วย
    • จริงๆ แล้วปัญหามันต้องมีนั่นหล่ะครับ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะต้องสร้างปัญหา เพราะหากสร้างกันทุกคน แล้วไม่มีเวลาในการค้นหาปัญหาเพื่อมาแก้ปัญหา คราวนี้หล่ะครับ เหมือนวัวพันหลักเลยครับ ในที่สุดก็ล้มทั้งยืนครับ
    • ขอบคุณมากนะครับ เราต้องทำในส่วนที่เราทำได้ก่อนครับ แล้วค่อยๆ ขยายแรงกระเพื่อมออกไปครับ

     

    • กะว่าจะสิ้นสุดการแลกเปลี่ยน  แต่ดันมีอีกสองประเด็น  มิฉะนั้นจะนอนไม่หลับอีก
    • ผมว่าโกทูโนนี่  มีประโยชน์และน่ารักจริงๆ  ข้อคิดเห็นของท่านต่างๆที่แสดงมานั้น  ล้วนแล้วแต่ดีมีประโยชน์ทั้งนั้น  ผมแอบอ่านตะลุยทุกคนเลย  ขออภัยท่านเม้งด้วย
    • ก่อนมีแผนพัฒนาชาติ(ขอเรียกย่อนะ) ๒๕๐๔  หลังแผนชาติมา  การพัฒนารวมศูนย์อยู่ที่ กทม.  ทฤษฎีเมืองหลัก  เมืองรอง  ใช้ไม่ได้เลยกับกรณีประเทศไทย 
    • แล้วไม่ให้มันมีปัญหาหมักหมมที่นี่ได้อย่างไร    เชียงใหม่ทั้งจังหวัด  ก็ใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เท่าเขตบางรักเขตเดียวของกทม.ผมว่านะ 
    • เมื่อทุกอย่างมันมีโอกาสที่นี่  ชาวชนบทก็ทะลักเข้ามา  ตอนนี้แถมพม่า  เขมร  ลาว  และอื่นๆอีก
    • หากเปรียบประเทศไทย  เป็นร่างกายคน  กทม.เป็นหัว  มนุษย์คนนี้จะหัวโตมากๆ  แขนขาลีบ  เป็นมนุษย์ประหลาดน่าดู
    • ฉะนั้นเราจะห้ามนักแสวงโชคไม่ให้เข้ามากทม.ไม่ได้หรอก  นอกจากจะหยุดสร้างที่ กทม.แล้วกระจายไปตามเมืองต่างๆให้มีขนาดเศรษฐกิจทัดเทียมกัน  ใกล้เคียงกัน  พี่น้องชนบทเขาไม่อยากมาหรอกสูดควันพิษ  มาดมน้ำเน่า
    • เรื่องการศึกษาความจริงเห็นด้วยกันแต่แรกก็จบแล้ว 
    • แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้ว  การศึกษาพื้นฐาน  จนถึงมัธยมนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง   เพราะเขายังเด็กอยู่  ต้องให้เต็มที่ให้หมดเลย  หากรักประเทศไทยจริง 
    • ต่อจากนั้นเขาโตมีความคิดที่จะตัดสินใจได้บ้างแล้ว  เขาจะมีทาง  หรือทำงานหาทุนเรียน  หรือไม่เรียนก็มีพื้นความรู้แล้ว  อันนี้จะทำให้สังคมผาสุกร่วมกันได้ไม่มากก็น้อย  
    • เราลงทุนด้านอื่นๆเยอะแยะ  แต่เราต้องไม่ลืมคน  ดูงบการศึกษาก็เยอะจริง  เมื่อเข้าไปดูใกล้กลายเป็นเงินเดือนบุคลากรและค่าบริหารไปเสียฉิบ
    • เรื่องภาษาอังกฤษ  อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ(ประเด็นนี้ขอแถมฝากไว้ในบล็อคนี้เป็นที่ระลึก)  ว่าประเทศไทยจะเอาอะไรแน่  ทำไมไม่ทำให้มันเข้มข้นใช้การได้ไปเลย 
    • แม่บ้านที่ไปทำงานฮ่องกง  สิงค์โปร์  อย่างอื่นเก่งหมด  สู้ฟิลิปปินส์ไม่ได้คือเรื่องภาษาอังกฤษเท่านั้น  นี่เป็นตัวอย่างๆ 
    • ตอนเย็นนี้(๒๙ เม.ย.)ผมเจอวัยรุ่น ๖-๗ คนรุมจะช่วยฝรั่งสองคน  ผมผ่านมาเห็นไม่ได้การ  จึงเข้าไปถาม  นักเรียนวัยรุ่นเหล่านั้น  ไม่รู้ว่าฝรั่งนั้นเขาว่าอะไร 
    • โถ!กะอีแค่  เขาจะไปถนนข้าวสาร  ว่าจะไปขึ้นเมล์มุมใดของอนุสาวรีย์ชัยฯ  ผมอธิบายเสร็จ  ฝรั่งขอบคุณ  ผมแล้ว  ผมอีก  เหมือนโชคดีอะไรทำนองนั้น   
    • ผมแกล้งหันไปถามน้องว่า  ฝรั่งว่าอะไร  เขาส่ายหัวกันเป็นแถว   นี่มันอะไรกัน  นี่ใจกลางเมืองหลวงเลยนะ 
    • โลกปัจจุบันไม่ได้แล้วครับเฉพาะภาษาไทย  หากเราจะขึ้นสู่สากล
    • ผมหลับสบายล่ะ  ท่านเม้ง
    • สวัสดี
    P

    สวัสดีครับพี่แท็ฟส์

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ผมดีใจนะครับที่ทำให้พี่นอนไม่หลับหากไม่ได้ บริจาคอาหารสมองให้ผมกินเป็นมื้อเย็นก่อนพี่จะนอนหลับให้ฝันหวาน
    • เห็นด้วยทุกประการอีกแล้วครับ ว่ากันด้วยเรื่องแผนชาติ ผมไม่ได้เข้าใจไรมากหรอกครับ เพราะแผนจะเขียนให้สวยอย่างไรก็ได้ครับ แต่ผมมองที่ผลของแผนมากกว่า ไม่รู้ว่าจะเป็นผลหรือแผลนะครับ
    • หากเทียบ กทม.เป็นหัวคน ประเทศไทยเป็นคน ผมว่าสมองคนก็แน่นน่าดูนะครับ เซลล์เม็ดเลือดคนวิ่งกันสนุกครับ ต้องมีไฟแดงตามสามสี่แยกต่างๆหรือเปล่าครับ
    • หากเราลดหัวให้เล็กๆ ลงหน่อย ปล่อยให้เลือดไหลเวียนไปที่ปลายนิ้วบ้าง ไหลไปตามข้อศอกบ้าง ก็คงดีครับ เราไม่ต้องมานั่งเสียเวลา เม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวแออัดกันที่หัว เพราะเนื้อเยื่อที่อยู่ไกลสมองก็ทำหน้าที่ได้เต็มที่ มีเลือดมาหล่อเลี้ยงตลอด เลือดก็ได้รับอากาศตลอดและทั่วร่างกายอยู่ตลอดเวลา ตาตุ่มก็ไม่ต้องวิ่งไปสอบเข้าที่สมอง เข่าก็ไม่ต้องวิ่งไปหากหน้าผาก ต่างชิ้นส่วนก็ทำหน้าที่ของตัวเองไปตามกลไก
    • สำหรับเรื่องภาษาอังกฤษนั้น เราเรียนกันมานานครับ แต่ใช้การไม่ได้ครับ เพราะเรียนแล้วไม่ได้ใช้ จะถึงเวลาจะใช้มันก็ง่อยเสียแล้วครับ
    • หากไทยแน่ใจจริง ก็ต้องทำให้เหมือนจีน ที่ทำให้คนอังกฤษหันมาให้ลูกตัวเองมาเรียนภาษาจีน นั่นหล่ะใหญ่จริง เพราะเราสอนกันมาแบบไม่ได้กล้าให้พูด ไม่ได้นำมาให้ใช้กันจริงครับ อีกอย่างที่ผมเห็นและเจอเองคือว่า เราไม่มั่นใจที่จะพูดนะครับ เกรงว่าจะผิดหรือถูก พูดแล้วกลัวเพื่อนล้อ กลัวเพื่อนว่าดัดจริต เลยไม่กล้าแสดงออกด้วย
    • ส่วนฝรั่งเค้าเน้นแต่จะเอาความหมายที่พยายามฟังเพื่อทำความเข้าใจให้มากที่สุด เค้าไม่เน้นว่าสำเนียงจะต้องได้
    • ผมเองเสียงทองแดง คุยอังกฤษแบบทองแดง แต่มั่นใจครับ ไม่เข้าใจก็คุยใหม่ สำเนียงเราไม่ได้เหมือนฝรั่งเพราะลิ้นเราเป็นคนละเบอร์กันกับฝรั่ง อยู่ที่ว่าเรากล้าหรือเปล่า
    • ขอให้พี่หลับฝันดีนะครับ หากมีอะไรตกๆหล่นๆ ก็หยิบมาคุยกันอีกนะครับ
    • การศึกษาไทยจะได้ดี ก็ต่อเมื่อคนไทยร่วมกันทำด้วยเจตนาที่ดีครับ

    "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่สอง
    ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง
    ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง
    ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์"
    ...มหิดล...

    สวัสดีครับ

    สวัสดีค่ะ น้องเม้ง

         พี่แอมป์ตามอ่านบันทึกเรื่องครูกับเรื่องการศึกษาทั้งสองบันทึกของน้องเม้ง    มาสองวันแล้ว  โอ้ชอบมาก  ทุกท่านให้ความเห็นดีมากๆเลยค่ะ   ประทับใจมาก     ขออนุญาตร่วมนำเสนอดูตามที่เคยอ่านๆฟังๆมานะคะ  ผิดถูกอย่างไรได้โปรดชี้แนะ เพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการร่วมกันต่อไป

    1. ความคาดหวังในตัวครู
        ในที่นี้ขอมอง ครู เป็นสองภาพนะคะ  คือภาพแบบที่คาดหวัง กับภาพแบบที่เป็นจริง  (ที่ใช้คำว่า ภาพ  เพราะ คือ สิ่ง ที่เรา มอง)
        จากสภาพจริงของโรงเรียน (ตามมุมมองส่วนตัว) พี่แอมป์คิดว่าในโรงเรียนมีคุณครูหลายแบบ ทั้งแบบครูในอุดมคติสมบูรณ์แบบ  ไล่ระดับมาจนถึงขาดความเป็นครูในอุดมคติ  ประมาณนี้นะคะ 
         ครูในอุดมคติในที่นี้ หลักๆคือ คิดเก่ง แนะเก่ง นำเก่ง ถ่ายทอดเก่ง (และก็คงมีมิติอื่นตามภาวะที่เหมาะสมในความเป็นครูด้วยนะคะ)
          ทีนี้เมื่อครูเก่งๆมีไม่พอ มีไม่ครบ เราจะไปหาครูเก่งๆมาจากที่ไหน  คือสมมุติว่าตอนนี้ยังหาไม่ได้

           จึงขอพูดเฉพาะมุมมองผู้เรียนนะคะ  และนี่คือผู้เรียนในอุดมคติ :)
           ผู้เรียนในอุดมคติ  เข้าใจว่ามนุษย์ที่เป็นครู  ไม่ใช่มนุษย์สมบูรณ์แบบเสมอไป  แต่เป็นมนุษย์ชุดที่ช่วยให้เราได้เรียนรู้  และจะสามารถเรียนรู้จากครูเท่าที่มีอยู่ได้  
            สมมุติว่า เลือกไม่ได้แล้วจริงๆ   ผู้เรียนในอุดมคติ  ก็จะได้เรียนรู้ ปรับตัว ปรับใจ  และเข้าใจ ที่จะเรียนรู้จากผู้สอนอย่างเต็มที่  เท่าที่เขาจะ "แนะให้"หรือ  "สอนให้"เราได้   และฝึกตนเองให้”เรียนรู้”จากครูได้ทุกรูปแบบ   
            เปลี่ยนเขาไม่ได้  แต่ปรับที่ตัวเองได้
           มิได้แปลว่ายอมจำนนกับคุณภาพที่ไม่ถึงมาตรฐานนะคะ แต่แปลว่าในภาวะนี้ ยังพอมีวิธีปรับใจและแก้ไขเฉพาะหน้าได้  หากผู้เรียนพัฒนาไปถึงขั้น  กล้าหาความรู้ด้วยตนเอง  โดยไม่ต้องรอคำตอบของครู และกล้าที่จะนำความรู้ มาคุยกับครูในห้องเรียนได้(อย่างฉลาดและรู้เท่าทันวัฒนธรรมครูไทย)
            จะได้ลดวัฒนธรรมพึ่งครู และเพิ่มวัฒนธรรมพึ่งตนเองได้ด้วย

    2.ผลกระทบจากระบบ ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาในตัวครู
         มาถึงระบบการศึกษาไทย ซึ่งมีหลายองค์ประกอบในปัจจุบัน เมื่อรวมกันเข้าแล้วก็กลายเป็นสึนามิทางการศึกษา
         สามารถทำให้ถึงแก่วิกฤติภัยลึกซึ้งถึงระดับฐานรากได้อย่างน่าหวาดหวั่นมาก  และทำให้ความเป็นครูในอุดมคติ มีความเสี่ยงสูงต่อการแตกสลายพ่ายพินาศไปมากขึ้น

          องค์ประกอบเหล่านี้ มีเรื่องใหญ่ที่ทราบกันดีอยู่แล้วมากมาย  แต่เรื่องที่ทำลายขวัญและกำลังใจของครูในปัจจุบันได้ดีที่สุด คือการให้คุณให้โทษครูโดยผลงานที่นับได้  ทั้งที่การวัด การประเมินการเรียนการสอน   ซึ่งมีมิติและองค์ประกอบเชิงคุณภาพที่นับไม่ได้อยู่มาก   ถ้าไม่มองให้รอบ ไม่มองให้ครบ  ก็จะประเมินไปตามสภาพที่ไม่จริง  คืออันนี้น่าเศร้ามาก

           ขณะเดียวกันก็มีวิถีวัฒนธรรม หรือค่านิยม  (ขอประทานโทษนะคะ)  ที่ทุบทำลายได้ยากและสร้างให้เกิดความแตกต่าง อันเป็นช่องว่างและอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ในการ 

            หนึ่ง   สร้างครูให้เก่ง  สอง    เปิดโอกาสให้ครูเก่งๆได้ทำงานเต็มศักยภาพ  และสาม   เป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายครูเก่งในอุดมคติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

         หากพอมีเวลา  อยากเรียนเชิญแวะไปที่วิชาการด็อตคอม  ที่กระทู้  จริงหรือ ที่เด็กป.6 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และกระทู้ ประเมินอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์   อาจจะได้ประเด็นเพิ่มขึ้น  อ่านแล้วได้เข้าใจเพื่อนครูมากขึ้นอีกในหลายๆเรื่อง
         และได้ข้อคิดว่า เพื่อเห็นแก่สวรรค์ในอกของเรา  หากวันนี้เรายังเปลี่ยนแปลงสิ่งอื่นไม่ได้ ก็ต้องรีบปรับที่ใจเราก่อน ทำได้มั่งไม่ได้มั่งก็ว่ากันไป  
          แต่เหนือสิ่งอื่นใด... หน้าที่ของเรา เราต้องทำเต็มความสามารถเสมอ

    3. ความคาดหวังในกระบวนการสร้างครู (ครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยม)
         ประมวลจากที่อ่าน  ฟัง  ดู และรวมถึงคลุกวงใน(อยู่ในพื้นที่ผลิตครู  แต่ยังไม่ได้ย้ายไปอยู่คณะครุฯ)  คิดว่าครูต้องผ่านอย่างน้อยสองกระบวนการนะคะ  คือ 3.1 กระบวนการสร้างคน (=การศึกษา) คือ ทำคนให้เป็นคน (ตามทฤษฎีที่ว่า  คนเหมือนกัน  แต่คนไม่เหมือนกัน)
     และพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ และตามรูปศัพท์ที่แปลได้ว่า มนุษย์ คือผู้มีใจสูง
    3.2 กระบวนการสร้างครู (=การผลิตครู) คือ ผ่านการทำคนให้เป็นคน พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ แล้วก็ทำมนุษย์คนนั้นให้เป็นครู โดยเป็นที่เชื่อมือกันเป็นกระบวนการอันประณีต

          สถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครูทุกสถาบัน  (เชื่อว่า)ย่อมเพียรพยายามสร้างคนให้เป็นครูอย่างประณีต
    และผลผลิตเหล่านี้จำนวนหนึ่งก็เข้าระบบการสอบคัดเลือกเป็นครูในระบบราชการ จำนวนมากก็เป็นครูเอกชนต่างๆ  และอีกจำนวนมากก็เป็นครูอัตราจ้าง
          คือเป็นคุณครูที่ได้บรรจุ    กับคุณครูที่อยู่ตามสัญญาที่มีกำหนดหมดอายุ 
          ในขณะเดียวกัน ช่วงหนึ่ง ก็เอื้อให้รับผู้ที่ไม่มีวุฒิครู เข้าเป็นครูในระบบได้หากสอบผ่าน (พี่แอมป์ก็ผ่านเข้าระบบมาได้อย่างหวุดหวิดโดยวิธีนี้)

          ต่อไปนี้เป็นคำถาม ซึ่งติดอยู่ในใจพี่แอมป์มาเนิ่นนาน  และเป็นแรงผลักดันให้ฝึกเด็กเรื่องการรู้เท่าทันการสื่อสาร (เพราะตอนนี้ยังไม่มีปัญญาทำอย่างอื่น  :)  )
    1. การศึกษาระดับอนุบาล  โดยเฉพาะระบบการเรียนการสอน เราต้องช่วยกันเพิ่มหรือปรับอะไรบ้าง
    2. ผู้สอนในระดับอนุบาล  ที่จบการศึกษาปริญญาตรีแล้ว ผู้เกี่ยวข้องควรช่วยสนับสนุนการปรับสมรรถนะให้คุณครู  อย่างไรบ้าง  (คุณครูเหล่านี้กำลังช่วยทำหน้าที่แทนเราทุกคน ดูแลอนาคตของชาติ) 
    3. การปรับวิธีคิดในกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาล   ควรสนับสนุนให้มีครูระดับปริญญาเอกในโรงเรียนอนุบาล  ประถม และมัธยม มากขึ้นหรือไม่   อันนี้พูดในภาพรวมนะคะ  เพราะโรงเรียนที่มีแนวคิดเฉพาะ มีปริบทเอื้อให้ ก็คงทำไปแล้ว

          ที่กล่าวดังนี้    มิได้เน้นไปที่ความรู้หรือวิชานะคะ แต่เน้นที่การสร้างวิธีคิด  และการ "กล้าปรับวิธีคิด"ในการเรียนการสอน  คือด้วยว่าค่านิยมของสังคมไทยเป็นเข่นนี้  ทำให้ต้องหาวิธีสร้างพลังการต่อรองและพลังความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
          <ทั้งนี้ต้องระวังผลข้างเคียง คืออัตตา อันเป็นธรรมชาติของการรู้สึกว่ามีความรู้เหนือผู้อื่นนะคะ 
    แต่ถ้าเรา(คือผู้มีความรู้)เข้าใจและรู้เท่าทันความรู้เสียแล้ว  ก็จะเห็นความรู้เป็นเรื่องปกติ  คือรู้ว่าเมื่อไปเรียนเข้าก็ย่อมรู้  เราก็จะสบายใจดี  ดังนี้เป็นต้น >

            สภาพการศึกษาไทยนั้น เมื่อมองจากมุมหนึ่ง  อาจกล่าวได้ว่าว่าปริญญาตรีเน้นที่ความรู้เป็นแท่งๆ
    จากนั้นปริญญาโทให้ต่อยอดแท่งความรู้ พอถึงปริญญาเอกก็สร้างแท่งใหม่มาได้อีกแท่ง  แบบที่ลงมาคุยกันข้างล่างได้ยาก :)  ส่วนปริญญาเอกอีกชุดหนึ่งก็บอกรู้ว่าอันความรู้เป็นแท่งๆนั้นทำให้คนแยกส่วน  จงมาเรียนรู้แบบองค์รวมเทอญ  พอกลับโรงเรียน(คือมหาวิทยาลัย) ก็เลยจัดเข้าพวกตามวิธีคิดเดิมไม่ได้ ต้องไปตั้งแท่งใหม่เอ๊ยพวกใหม่อีกพวกหนึ่ง อะไรอย่างนี้เป็นต้น :)
           ขออภัยด้วยเถิดนะคะ  อันนี้ก็ว่าไปตามประสาเท่าที่รู้มาแคบเห็นมาน้อย   และจะดีใจเป็นอย่างยิ่งหากความจริงมิได้เป็นเช่นที่ว่ามานี้

          ทีนี้   พอไปสอนเด็กๆ  เราสอนเด็กระดับใด  ความรู้แท่งๆของเราก็จะเหลือเท่าเด็กระดับนั้น
          ขณะเดียวกัน  อะไรบางอย่างจะค่อยๆกลืนเราเข้าไป  ไฟอุดมการณ์อันเคยลุกโชติข่วงชัชวาล ก็ค่อยๆมอดลงๆ........  ไม่ทราบว่าเพื่อนๆครูจะเคยรู้สึกเช่นนี้ด้วยหรือไม่นะคะ  ความรู้สึกอย่างนี้ ทำให้คิดต่อและตั้งคำถามไล่ลำดับกลับไปว่า
         1.   ถ้าทำได้   เราจะปรับกระบวนการเรียนการสอนเพื่อสร้างระบบคิด ทั้งสี่ระดับ ให้สอดคล้องประสานเป็นทองแผ่นเดียวกัน ได้อย่างไรบ้าง  แบบส่งไม้ต่อมือกันได้ฉับไว  ไม่หลุดมือไปให้ใจเสียและเสียใจกันเป็นช่วงๆ  เหมือนที่เป็นอยู่ตอนนี้
         2. ขณะนี้  ระดับอนุบาล  ระดับประถม ระดับมัธยม มีการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง  คุณครูต้องการอะไรบ้าง ที่จะสนับสนุนให้การสร้างลูกหลานของไทย มีคุณภาพอย่างแท้จริง
         3. ขณะนี้  การสร้างคุณภาพครู ระดับอนุบาล  ระดับประถม ระดับมัธยม ติดตันอยู่ตรงไหน ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เราจะช่วยกันได้อย่างไรบ้าง
        4.ขณะนี้ระดับอุดมศึกษา (เริ่มเข้าตัว :) ) ได้(กล้า)สร้างระบบ "เชื่อม"  กับระดับพื้นฐาน เพื่อส่งไม้ต่อมืออย่างไรบ้าง  ที่จะสอดคล้องกับการช่วยแก้ปัญหาการศึกษาของชาติทั้งระบบ  ณ ปัจจุบัน อย่างแท้จริง 
        5.ขณะนี้  ระบบคัดคนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย  เป็นที่ยอมรับได้หรือยัง  ถ้าระบบยังถูกตั้งคำถาม  จะช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทางจิตใจลูกหลานของเราได้อย่างไรบ้าง 
         คิดเข้าประเด็นอีกรึปล่าวก็ไม่รู้เนี่ย  บ่นซะยาวเป็นไมล์  คือว่ารอน้องเบิร์ดมาข่วยเชื่อมให้ดีกว่าอะค่ะ...  
     
    ปล. ที่สุดของสุดท้ายนี้  น้องเม้งคะ  นึกถึงที่เคยดูหนังจีนทีวีอะค่ะ  คือหลังจากประลองวิทยายุทธกันเรียบร้อยแล้ว   ตานี้เราก็มาคารวะสองจอกเป็นพี่น้องกัน  อิอิ  :)    มีชามะนาวด้วยป่าวคะ ?

    P

    สวัสดีครับพี่แอมป์

    • ขอบคุณมากๆ ครับพี่ ศรัทธาในปลายนิ้วและสมองของพี่จริงๆ นะครับ ได้เนื้อหาแบบว่าสุดๆครับ ตลอดจนคำถามที่อันทำมาให้ปวดเซลล์ประสาทตุ๊บๆ เลย
    • เอาเป็นว่าคาราวะสองจอก เป็นพี่น้องร่วมสาบานทางการศึกษาเลยครับ
    • ไว้กลับไปที่นคร จะขอชนชามหนมจีนซักห้าจานสิบจาน จะได้ไหมครับ มาดวลหนมจีนกันจะได้ไหมครับ
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ

     

    สวัสดีครับคุณ

    P

    เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net ---------> http://www.schuai.net

     

    • มีเรื่องจริงมาเล่า...อาจสะท้อนสิ่งที่คุณเม้งเล่ามาได้
    • นานหลายปี (ราว 10-20 ปี) มาแล้ว ผมเคยดูข่าวว่า ที่อีสาน มีโรงเรียนเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง โนเนมมาก ส่งภาพวาดของเด็กนักเรียนไปคว้ารางวัลระดับโลกมาได้หลายชิ้น
    • ที่น่าแปลกใจคือ เด็กที่คว้ารางวัล ไม่ใช่เด็กเพียงคนเดียว แต่เป็นเด็กหลายคน
    • และเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ผมก็ทราบข่าวว่า เกิดปรากฎการณ์คล้าย ๆ กันที่ในภาคใต้ คืออำเภอเดียว กวาดรางวัลระดับชาติได้มากผิดปรกติ
    • การที่เด็กเก่งมาก ๆ  ไปกระจุกอยู่รายรอบครูคนเดียว ถือเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่น่าบังเอิญเป็นไปได้ทางสถิติ เพราะเด็กเก่ง ไม่ได้มีการกระจายแบบสุ่มไปทั่วประเทศ
    มีอีกเรื่องมาเล่า คราวนี้อยู่ฟากตรงกันข้าม
    • มีคนที่ผมรู้จัก เขาทำ thesis ระดับบัณฑิตศึกษา
    • เขาเป็นคนที่เก่งมาก แต่ขาดความมั่นใจในตัวเอง
    • วันหนึ่ง มีอาจารย์คนหนึ่ง คุยกับเขาว่าเขาทำ thesis เรื่องอะไร เขาก็เล่าให้ฟัง
    • อาจารย์ท่านนั้นบอกเขาว่า "ทำไปทำไม ? ไม่เห็นได้ประโยชน์เลย"
    • ผลคือ เครียด เขาเกิดความรู้สึกขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรง ไม่สานต่องาน จนเสียเวลาไปนานมาก กว่าอาจารย์ที่ปรึกษาจะคุ้ยหาต้นตอของปัญหาออก  และจำใจเปลี่ยนหัวข้อเพื่อให้ทำเสร็จทันก่อนครบกำหนด
    • นี่ก็เป็นอีกฟากหนึ่งของกรณีตอนต้น
    P

    สวัสดีครับท่านอาจารย์

    • กราบขอบพระคุณมากๆ เลยครับ
    • การมีตัวอย่างแบบนี้ ผมถือว่าเป็นอาหารสมองและชี้อะไรได้หลายอย่างเลยครับ
    • ผมพูดเสมอว่า ในโรงเรียนโนเนม แบบต่างจังหวัด แต่ละที่จะไม่ค่อยแตกต่างกัน ในระดับประถม ม.ต้น เรียนที่ไหนก็ได้ ใกล้ๆ บ้าน
    • แต่ปัจจุบันผมไม่ค่อยแน่ใจที่จะสรุปในเรื่องนี้นักครับ แต่ผมยังเชื่ออย่างนั้น ผมอยากให้เด็กเรียนที่ไหนก็ได้ ที่ได้รับสิ่งดีๆ จากครูเช่นเดียวกัน โดยที่เด็กไม่ต้องไปกระจุกกันตามโรงเรียนดังๆ เด่นๆ ของตัวเมือง จังหวัด หรือประเทศ เมืองหลวง
    • ผมยังคิดถึงระดับบูรณาการของเด็กมากกว่านะครับ
    • สำหรับเรื่องการทำวิจัยนี้ อันนี้ชัดครับ แรงจูงใจ คำถามที่จะทำลายกำลังใจ ฟาดฟันลงไปทีเดียว จอดเลย..... หากครูตีศิษย์ ด้วยความปรารถนาดี แนะนำในทางที่ดีได้ เด็กจะไปได้มีแรงจูงใจที่ดีได้ สร้างสิ่งที่ดีได้ใช่ไหมครับ
    • ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆ เลยนะครับ ที่นำตัวอย่างสองด้านมาเสนอครับ เป็นประโยชน์มากๆ นะครับ
    • มีความสุขในการทำงานนะครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท