เด็กสองแสนคนหายไปไหน ใครตอบได้ช่วยบอกทีครับ (การศึกษา)


เป็นข้อมูลการวิเคราะห์สภาพอัตราการคงอยู่ของนักเรียน ในช่วง 12 ปีการศึกษาติดตามจาก ป.1 - ม.6 ว่ามีการหายไปในแต่ละช่วงอย่างไรบ้าง ลองมาอ่านภาพกันดูก่อนนะครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

         วันนี้มาถกกันต่อไปเรื่องการศึกษานะครับ เรามาขลุกที่การศึกษาพื้นฐานกันก่อนนะครับ ผมมีข้อมูลในอดีตมาให้ท่านดูกันนะครับ แล้วลองค้นหาคำตอบดูนะครับ จากชื่อบทความข้างต้น ว่า เด็กสองแสนคนหายไปไหน ใครตอบได้ช่วยบอกทีครับ

         ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลดูเหมือนจะเก่าไปหน่อยครับ แต่ผมหาข้อมูลใหม่ไม่เจอ แต่ยังไงผมก็ว่ายังเจอปัญหาอยู่ดีในตอนนี้ ก็คงเป็นปัญหาคล้ายๆ กันครับ แม้ว่าจำนวเด็กที่หายไป จะลดจากสองแสนคน เหลือ หนึ่งแสนคนก็ตาม

         เป็นข้อมูลการวิเคราะห์สภาพอัตราการคงอยู่ของนักเรียน ในช่วง 12 ปีการศึกษาติดตามจาก ป.1 - ม.6 ว่ามีการหายไปในแต่ละช่วงอย่างไรบ้าง ลองมาอ่านภาพกันดูก่อนนะครับ

เด็กสองแสนคนหายไปไหน

เป็นไงบ้างครับ เมื่อปี 2529 คุณจะเห็นว่าเด็กที่เข้า ป. 1 มี 1,344,302 คน แล้วจบ ป. 6 เพียง 1,108,378 คน ดูเหมือนว่า จำนวนอัตราการคงอยู่จะเกิน 80% ก็ตาม แต่....ย้ำอีกแล้วครับ แต่....เด็กที่หายไปหล่ะครับ สองแสนกว่าคน หายไปไหน ถามว่าหายไปไหน หลุดไปตั้งแต่ตอนไหน เกิดอะไรขึ้นกับพวกเค้า สองแสนคนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ตรงไหนมากน้อยแค่ไหน หายไปทำไม ทำไม เค้าไม่มีอะไรกิน หรือว่าเค้ามีปัญหาอะไร เค้าต้องหาเลี้ยงครอบครัว เค้าไม่มีเงินมาเรียน เค้าไม่มีเวลาได้คิดถึงการศึกษา เค้า....เค้า... เค้าเป็นอย่างไร บ้างหนอ ... ผมคิดถึงเค้าจังเลย.....

         นี่ไม่ได้พูดถึงที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ใน 80% ที่รอดมาจาก ป.6 นะครับ ว่ามีอยู่เท่าไหร่ในนั้น

         แล้วสิ่งที่คุณเห็นนี้ ใครมีข้อมูลปัจจุบันเอามาตีให้ทราบกันหน่อยนะครับ คิดว่าจะเห็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ

         แล้วนี่เราถึงเวลาแล้วยังครับ........ที่จะเอาจริงกับการศึกษา......เราพร้อมแค่ไหนที่จะให้เด็กที่เข้าเรียน ป.1 สามารถจบ ม.3 ได้มากกว่า 95% หรือ จบ. ม. 6 มากกว่า 90%

         หากไม่พร้อมเราจะทำอย่างไร แล้วใครควรจะตระหนักในเรื่องนี้ เราต้องการจะพัฒนาชาติไม่ใช่หรือ จะพัฒนาหัวสมองใช่ไหมครับ แล้วคุณคิดว่ามันถึงเวลาแล้วหรือยังครับ

          ขอบคุณทุกๆ ความเห็นนะครับ......สิ่งที่พวกเราช่วยเหลือกันตอนนี้ ก็แค่อณูหนึ่งของจักรวาลนะครับ พวกเราอยู่กันที่เยอรมันก็ไม่ได้จะทิ้งเรื่องนี้ แต่ที่ช่วยสนับสนุนให้เด็กที่จบ ป.6 ได้เรียนต่อ ม.ต้น ทั้งสามปีต่อเนื่องผ่านมูลนิธิ ดร.เทียมโชควัฒนา ในการให้ทุนเด็กเรียนต่อ ปีละ 2000 บาท ต่อคนต่อปี นั้นมันอาจจะน้อยนิด แต่ก็ช่วยลดหรือยืดการได้เรียนต่อของเด็กได้อีกนิดหนึ่ง

         ภาพต่อไปนี้เป็นจำนวนน้องนักเรียนที่พวกเราดูแลกันอยู่ครับ

จำนวนนักเรียนในโครงการบริจาค ในเยอรมัน

สำหรับปีนี้ ก็มีนักเรียน ผ่านการพิจารณามาจำนวน ห้าร้อยกว่าคน ซึ่งมูลนิธิ จะให้การช่วยเหลือจำนวน สามร้อยคน ดังนั้น นักเรียนที่เกินมา ก็ต้องเร่งพิจารณากันต่อว่าทางกลุ่มจะช่วยได้กี่คนครับ

อ่านข้อมูลและกิจกรรมของพวกเราที่ผ่านมาได้จาก www.schuai.net

และกิจกรรมเพิ่มเติมได้จาก www.schuai.net/borijak/activities2006

ท่านลองวิเคราะห์กันดูครับ ว่าน้องๆ ที่หายไปในชั้น ประถมศึกษา นั้นหายไปไหน

ขอบคุณมากๆ นะครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 93208เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2007 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)
  • สวัสดีทุกท่านครับ
  • ถามต่อว่า เด็กสองแสนคนเหล่านั้น ที่มีอายุในช่วง 25 ถึง 28 ปีในวันนี้ อยู่ที่ไหนกันบ้างหนอ ทำอะไรกันอยู่บ้างครับ มีความเห็นกับประเด็นนี้อย่างไร
  • ขอบคุณมากๆ ครับ
  • น้องเม้งพี่พบแล้วคนหนึ่งที่หายไป เขาอยู่ที่ http://gotoknow.org/blog/dongluang-1/82515
  • เป็นข้อเท็จจริงที่เราต้องยอมรับ แต่ผู้รับผิดชอบท่านคงบอกว่าทำเต็มที่แล้ว
  • พี่ว่าบ้านเราไม่ได้ทำเชิงรุก เช่นรัฐมีระบบรองรับหมดแล้วว่าหากเรียนต่อไม่ได้เพราะอย่างนั้นอย่างนี้ก็มีระบบ กศน. มีวิทยาลัยชุมชน มีมหาวิทยาลัยชีวิต มี...แต่เป็นระบบที่นั่วคอยเด็กมาสมัครเรียนต่างหาก ระบบของเราไม่ได้มีฐานข้อมูลแล้วใช้ฐานข้อมูลนั้นตามตัวเด็กมาเข้าระบบอื่นๆ
  • เป็นความเห็นส่วนตัวที่อาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงก้ได้
  • กรณีที่ยกตัวอย่างนั้นก็เห็นว่า เด็กต้องออกจากโรงเรียนไปอย่างไม่เต็มใจแต่ความจำเป็นในชีวิตต้องออกไปหาเงินเลี้ยงแม่ ??
  • หากเราทำเชิงรุก ระบบฐานข้อมูลจะช่วยติดตามตัวเด็กที่หายออกไปจากระบบแล้วหน่วยงานใดที่รับผิดชอบก็ตามไปดูว่ามีเหตุผลกลใดจึงไม่เรียน  หากตามพบแก้ได้ก็แก้ หากเพราะเหตุผลอย่างกรณีที่พบก็นาที่จะมีสวัสดิการของรับเข้ามาดูแล
  • มิเช่นนั้นเด็หเกล่านี้เสี่ยวต่อการเป็นปัญหาสังคมต่อไปอย่างมาก
  • ประเด็นดีมากครับน้องเม้ง 
  • ผมชื่นชมแนวคิดของบันทึกนี้เอามาก ๆ
  • เรียกได้ว่าโดนอย่างจัง
  • เราพูดสวยหรูเสมอว่าการพัฒนาชีวิต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางการศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและสังคม
  • แต่เราก็รู้สึกเสมอว่า...ไม่ว่ายุคสมัยใดก็ยังทำอย่างที่พูดกันไม่ได้เสียทั้งหมด
  • ในอดีต  เวลาที่เด็กไม่มาเรียน  ผมยังติดตากับภาพครูในโรงเรียนเทียวตระเวนมาเยี่ยมดู - มาติดตามอย่างต่อเนื่องและคุ้นเคย  แต่ทุกวันนี้ปรากฏการณ์ในชุมชนเช่นนี้ก็หาแทบไม่เจอแล้วครับ
  • กรณีเข้ามาเรียนแล้วเรียนไม่รอด...โดยเฉพาะในกลุ่มที่ "ไม่มีใจ"  ผมเสียดายโอกาสอันดีนี้มาก    เพราะเสียดายที่ใครอีกหลายคนที่มีใจแต่ไม่มีความพร้อมไม่ได้รับโอกาสเช่นนี้บ้าง
  • ขอบคุณครับ
P

สวัสดีครับพี่บางทราย

  • ขอบคุณพี่มากๆ เลยครับ ที่นำท่านที่พี่พบมาใส่ไว้ให้รับทราบกันนะครับ
  • ผมก็เข้าใจว่าระบบหน่ะมีปัญหาได้ เป็นเรื่องธรรมดา แต่เราก็สร้างระบบและเราพัฒนาระบบให้ดีได้เพราะเราสร้างขึ้นมาครับ
  • เรื่องฐานข้อมูลอันนี้ผมว่าประเทศเรายังอ่อนในเรื่องนี้มากๆ นะครับ แล้วข้อมูลที่เราเก็บกันมันซ้ำซ้อนเกินไป แล้วพอจะติดตามเอาจริงๆ ก็จะเจอปัญหา หากมีการติดตามจริงๆ จากกระทรวงให้เป็นระบบที่ชัดเจนเรื่องการศึกษา ทุกอย่างจะดำเนินไปได้
  • ต่อให้ระดับที่มีปัญหาแบบเฉียบพลัน ก็ถามฐานข้อมูล ดึงคนที่เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ขึ้นมาเพื่อมารวมกันปรึกษาหารือเรื่องต่างๆ ก็ทำได้ครับ
  • ผมเห็นด้วยกับพี่ทุกประการเรื่องฐานข้อมูลครับ ไม่งั้นเราจะเจอปัญหาหลายๆ อย่างครับ ผมเองก็รับฟังปัญหา ความเป็นไปส่วนหนึ่งครับ แต่ก็เพียงน้อยนิดครับ
  • ขอบคุณพี่มากๆ เลยนะครับ โชคดีในการทำงานนะครับ ขอเป็นกำลังให้พี่ตลอดไปครับ

ตามประสบการณ์บางส่วน พ่อแม่เด็กรับจ้างทั่วไป ทั่วราชอาณาจักร์ เอาลูกได้วย ถาทว่าทำไมไม่ให้ลูกเรียนหนังสือ เขาบอกว่า ต้องทำมาหากิน ไม่มีใครดูแล ไม่ใช่ประเด็นไม่มีที่เรียน เรื่องปากท้องมาก่อนค่ะ

P

สวัสดีครับพี่แผ่นดิน

  • ขอบคุณพี่มากนะครับ ที่เข้ามาร่วมแสดงความเห็นที่มีคุณค่ายิ่งครับ
  • ผมได้พูดคุยกับท่าน อาจารย์ ดร. สายฤดี วรกิจโภคาทร ผู้ประสานงานของ มูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา (ท่านที่จัดรายการรักลูกให้ถูกทางนะครับ) ท่านบอกว่า เด็กยากจนไม่มี แต่เด็กเหล่านี้แร้นแค้น ทำให้เราทราบว่าเด็กเค้ามีอาการหนักมากๆ
  • บางคนต้องไปรับจ้างเลี้ยงควาย เด็กเค้าไม่สนใจหรอกครับ ว่าจะได้ทุนเรียนหรือไม่ แต่เด็กเค้าสนใจว่า เค้าจะมีอะไรกินมื้อเย็นนี้ เค้าต้องทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว นั่นคือทุกคนที่ปกติครบสามสิบสอง ทุกคนต้องทำงาน
  • เมื่อท้องอิ่ม ถึงจะได้มีโอกาสคิดเรื่องการเรียน
  • พวกเราติดตามเด็กด้วยการเขียนจดหมายถึงน้อง ได้รับทราบถึงความเป็นอยู่ที่เค้าเป็นหลายๆ อย่างครับ สิ่งที่พวกเราให้ได้คือกำลังใจครับ สร้างแรงจูงใจให้เกิดในชีวิตการต่อสู้ของน้อง แต่นั่นคือคนที่ได้รับทุนครับ
  • แล้วคนที่ไม่ได้รับทุนหล่ะครับ เค้าอยู่ไหนครับ
  • ขอบคุณพี่มากครับ
ไม่มีรูป
sasinanda

สวัสดีครับคุณพี่

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • ใช่แล้วครับเรื่องปากท้องมาก่อนครับ เมื่อท้องอิ่มเรื่องอื่นจะตามมาครับ
  • เพราะเรื่องปากท้องคือเรื่องรายวัน การศึกษาอาจจะเป็นเรื่องที่ไกลออกไป แล้วได้ผลช้ากว่า แต่หากได้ผลแล้วดอกของการศึกษาจะอยู่นานครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • จบม.ต้นแล้ว เด็กบางคนเรียนสายอาชีพอ่ะค่ะ
  • บางคนก็ไปทำงานด้วยวุฒิ ป. 6  หรือ วุฒิ ม.3  เพราะปัญหา  ปากท้องแหละค่ะ 
  • ไม่ใช่ไม่มีทุนเรียนอย่างเดียวหรอกนะคะ   พี่เคยเจอเด็กและผู้ปกครองที่ปฏิเสธทุนเรียนต่อ  เพราะถ้าเขาไปโรงเรียน  ซึ่งในระดับสูงขึ้นมักจะต้องเดินทางไปเรียนไกลบ้านกว่าระดับประถม   ก็จะไม่มีคนทำงานช่วยทางบ้านและเลี้ยงน้องค่ะ

 

P

สวัสดีครับพี่หนิง

  • ขอบคุณมากๆ นะครับพี่ ที่มาช่วยเติมเต็มข้อมูลครับ
  • มีนักเรียนหลายคนอย่างที่พี่ว่าครับ ใน ม.ต้น ที่ต้องจ่ายค่าใช้จ่าย ไปและกลับวันละ 12 บาท ในการจ่ายเป็นค่ารถ ซึ่งหลายคนลำบากในเรื่องนี้ด้วยครับ และโรงเรียนอยู่ไกลห่างจาก ร.ร. ในระดับ ประถมเช่นกันครับ
  • ส่วนเด็กที่ผมสนใจมากๆ คือเด็กที่หายไปสองแสนคน ในการที่ไม่ได้จบ ป. 6 นะครับ และส่วนหนึ่งก็หายไปหลังจากจบ ป.6 ครับ ผมว่าน่าสนใจทุกระดับเลยครับ โดยเฉพาะทางแยก หัวเลี้ยวหัวต่อ ของการต่อระดับที่สูงขึ้นไปนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

บันทึกนี้ทำให้เบิร์ดนิ่ง..เพราะเป็นคำถามที่จนถึงเดี๋ยวนี้เบิร์ดก็หาคำตอบให้ครอบคลุมทั้งหมดไม่ได้..

มีเด็กหลายคนที่เรียนร่วมไม่ได้ในระบบปกติ แต่ตามพรบ.การศึกษาที่กำหนดให้เด็กอยากเรียนต้องได้เรียน..จึงมีครูพิเศษใน ร.ร ปกติเพื่อสอนกลุ่มเด็กพิเศษแต่ก็เป็นเพียงภาพ ( ในบาง ร.ร ) ซึ่งเมื่อครบถึง ป.6 ( ที่เด็กถูกส่งผ่านเพื่อให้ผ่านระบบการศึกษาเท่านั้น ) เด็กก็หายไป..

บางคนก็เป็นปัญหาเรื่องความแร้นแค้นที่ไม่มีแม้แต่ข้าวจะกิน..

บางคนก็เป็นเรื่องการย้ายตามผู้ปกครองที่ต้องรับจ้างไปเรื่อยๆ..

บางคนก็เป็นเรื่องผู้ปกครองตามใจเด็ก ( บังคับไม่ได้ )..ลูกไม่อยากเรียนก็ไม่ต้องไป ร.ร จนเคยตัว..

บางคนก็เป็นการถูกละเมิดทางเพศ..

บางคนก็เป็นการถูกกระทำทารุณกรรม..

บางคนก็ป่วยทางจิต หรือทางกาย..

บางคน...ถูกล่อลวง  ลักพา  ขอทาน

บางคน...เป็นต่างด้าว

บางคน...ไม่มีทะเบียนบ้าน

บางคน...ตาย

บางคน...พิการ

บางคน...ถูกทอดทิ้ง

บางคน...เร่ร่อน หนีออกจากบ้าน

บางคน...ถูกจับ

บางคน...ค้ายา

บางคน...เสพยา

บางคน...ขายบริการทางเพศ

บางคน................................

เบิร์ดเห็นด้วยเลยว่าระบบข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ...ถ้าเราสามารถเชื่อมข้อมูลได้ตั้งแต่แรกเกิด - ตายน่าจะดีนะคะ..

และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือสังคมที่เป็นระดับหมู่บ้าน..ตำบล ครอบครัวที่ต้องดูแลซึ่งกันและกัน..

ระบบที่รัฐคิดขึ้นมารองรับมีมากมายค่ะ..อบต.มีหน้าที่ดูแลว่าทุกคนได้รับสิทธิที่พึงมีพึงได้หรือยัง..พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็ต้องดูแล..สาธารณสุข..ศึกษา ฯ ..ตำรวจ..มหาดไทย..วัด...ศาสนาทั้ง 14 กระทรวงหลักมีหน้าที่ตรงนี้หมด..แต่................

ราชการเหมาะกับการกำกับดูแล แต่อาจไม่เหมาะกับการลงไปทำเอง ( เพราะทำไม่เป็น ) ..ถ้าเชื่อมทุกระบบทั้งภาครัฐและเอกชนได้ก็น่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้เยอะค่ะ..

เพียงใครมีหน้าที่อะไรก็ทำไป..ทำอย่างเต็มที่..คำถามของคุณเม้งก็น่าจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนกว่านี้และเด็กน่าจะได้รับการดูแลที่ดีขึ้น..

ทุนการศึกษา..การศึกษาแบบให้เปล่า..คุณครูข้างถนน...การศึกษานอกโรงเรียน..ขจัดความยากจน..ชุมชนพึ่งตนเอง..วิสาหกิจชุมชน...ที่ทำกิน...ดิน..น้ำ..ป่า..สุขภาพ..การป้องกันโรค...จริยธรรม...ศีลธรรม   ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องทำ ทำ ทำและทำทั้งสิ้น

คงไม่มีเพียงคำตอบเดียวสำหรับคำถามนี้น่ะค่ะ..แต่ทุกคำตอบคงไปสิ้นสุดที่จุดเดียวกันคือ " ลงมือทำ " ทั้งช่วยกันทำและร่วมกันทำด้วยธรรม.. แล้วแต่ว่าใครเกี่ยวข้องตรงส่วนไหน และทุกคนล้วนสามารถช่วยกันได้เท่าที่มีแรงคิด  แรงกาย แรงใจ  จะทำ..เหมือนที่คุณเม้ง เพื่อนและมูลนิธิ ดร.เทียม  โชควัฒนาช่วยกันให้โอกาสกับเด็กๆ ซึ่งก็เป็นอีกแรงที่ช่วยค้ำจุนสังคมไม่ให้ทรุดไปกว่านี้........

ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ทำให้ความคิดรวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งค่ะ..

 

 

 

 

แวะกลับมาอ่านเจอของคุณเบิร์ด  ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ  ดีใจที่มีคำว่า เด็กพิเศษและพิการ อยู่ด้วย เย้เย้

P

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • ได้อ่านที่คุณเบิร์ดเขียนมา แบบว่าอยากเสกให้คุณเบิร์ดและท่านๆ คนอื่น มาเจอกันซักทีจังเลยครับ จะได้ถกกันให้ถึงเครื่องแกงเลยครับ
  • สิ่งที่คุณรวมมาทั้งหมดคือความจริงที่ใช่เลย และต้องการ การทำด้วยธรรม เหมือนที่คุณว่านั่นหล่ะครับ
  • เรื่องฐานข้อมูลนี้ก็เช่นกันครับ ผมเพิ่งทราบว่า ฐานข้อมูลที่ทางหมู่บ้านหรือเจ้าหน้าที่รัฐในระดับล่างเก็บนั้น เชื่อไหมว่า บางคน แก่แล้วนะครับ แต่คำนำหน้านาม ยังเป็น ด.ช. อยู่เลย แต่คำว่า ด.ช. นั่น มีส่วนทำให้เค้ามีการคิดไม่ซื่อของเจ้าหน้าที่ในการคดกันอีกครับ เพราะหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมากับคนนั้น เค้าก็จ่ายให้ในอัตราที่ต่ำกว่า ส่วนยอดเงินที่เหลือไปก็ไม่รู้หายไปไหน
  • หากเราทำระบบฐานข้อมูลคนให้มีชีวิตด้วย นั่นคือ ให้มีการเปลี่ยนคำนำหน้าไปตามอายุเวลาของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือตัวอายุของข้อมูลโดยเพิ่มอายุไปให้เรื่อยๆ เปลี่ยนคำนำหน้านามให้อัตโนมัติ แล้วอัพเดตได้ทุกที่ ด้วยคนคนนั้น มีการอัพเดตว่าอยู่บริเวณไหนเมื่อมีการใช้บัตรต่างๆ และอะไรก็แล้วแต่ แจ้งย้ายอะไรให้สะดวก ทำกันทั้งประเทศไปเลย
  • สิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้นในสังคมนี้ครับ
  • ส่วนปัญหามากๆ มายนั้นต้องช่วยกัน ตามที่แต่ละคนช่วยได้ ช่วยกันเท่าที่ทำได้ เท่าที่พอมีแรง เหนื่อยหมดแรงก็พักให้หายเหนื่อยแล้วลุยกันต่อไปครับ ขอให้มีเครือข่ายทีดีต่อๆ ไปนะครับ
  • ผมขอร่วมวงด้วยคนนะครับ ขอบคุณมากๆ นะครับ
P

สวัสดีครับพี่หนิง

  • ผมดีใจนะคับที่พี่สาวคนนี้ สู้เพื่อคนพิการ
  • ทำดีต่อไปนะครับ ขอเป็นกำลังใจให้ตลอดไปนะครับ
  • แล้วผมจะประชาสัมพันธ์ให้ทางนี้ด้วยส่วนหนึ่งครับ
  • ผมยังโหลดแฟ้มพี่ไม่ได้เลยครับ ช้ามากครับ

สวัสดีครับแวะมาทักทาย ความรู้ไม่ถึงครับ

P

สวัสดีครับท่านประสงค์

  • ขอบคุณมากครับ ที่แวะมาทักทายครับ เชิญนั่งจิบชาตะไคร้กันก่อนครับ
  • หากท่านความรู้ไม่ถึง แล้วใครจะถึงหล่ะครับ ท่านถ่อมตัวอีกแล้วครับ
  • ท่านเป็นผู้มีประสบการณ์ ผมก็เข้าไปเยี่ยมท่านอยู่เหมือนกันครับ แต่ไม่ได้ฝากรอยไว้ครับ
  • ความรู้ท่านคิดคืออะไรครับ ผมเองยังต้องเรียนรู้จากพระอรหันต์ที่บ้านของผมอีกเยอะเหมือนกัน แม้ว่าท่านจะเรียนไม่จบ ป.1 แต่ท่านก็ไม่ธรรมดาในสายตาผมครับ แม้บางทีท่านจะน้อยใจแต่ท่านก็คือ ศาสตราจารย์ของผมเลยครับ
  • ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ ในบทความพื้นที่นี้ ไม่มีการแบ่งแยกระดับความรู้ครับ อีกอย่างไม่รู้เหมือนกันว่าจะเอาอะไรมาแบ่งระดับความรู้ระหว่างบุคคล ผมยังหาเกณฑ์แบ่งไม่ได้เลยครับ แล้วไม่จำเป็นต้องแบ่งด้วย เพราะไม่ใช่สาระ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
เอ...หรือว่า  จะต้องหาที่ up ใหม่อีกแล้วเนี่ย...อ.เม้งมีอะไรแนะนำไหมคะ
P

สวัสดีครับพี่หนิง

  • ผมจะทดสอบอีกครั้งนะครับ
  • ตอนนี้เปิดแล้วมันนิ่งไปเลยครับ
  • ขอบคุณมากๆนะครับ หากแฟ้มไม่ใหญ่มาก พี่อาจจะซิพไว้แล้วทำลิงก์ด้านล่างนั่นให้ด้วย ให้ดาวโหลดไปเก็บไว้ก็ได้ครับ จะดีมากๆ เลยครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • มาทักทายครับผม
  • สบายดีไหม
P
สบายดีครับพี่บ่าว พี่บ่าวหละครับ พรือมั่ง หวางนี้ บายดีหม้าย ขอห้ายโชคดีศรีเมืองมุกดาหารตลอดไปนะครับ

สวัสดีค่ะพี่เม้ง  สองแสนหนูเป็นหนึ่งในจำนวนสองแสนคนค่ะ  55555555555555555555   จะดีใจหรือเสียใจดีค่ะ

เห็นด้วยกับเรื่องระบบข้อมูลที่ยังไม่ดีครับในเมืองไทย

ที่จริงน่าคิดนะครับว่าเข้าป.1 มาแล้วแสดงว่าเขาก็ตั้งใจจะเข้ามาเรียนนะ   แต่ทำไมไม่จบป. 6

1. เด็กย้ายตามผู้ปกครองแล้ว ข้อมูลในโรงเรียนนั้นไม่ได้ออนไลน์ ลิ้งค์กัน

2. ก็ออกไปนอกระบบการศึกษาเลย ตัวเลขนี้น่าจะมีอยู่นะอย่างจำนวนเด็กเร่ร่อนเป็นต้น

เท่าที่ผมทำงานอยู่ในพื้นที่หนึ่งในอีสานก็มีแค่ 2 เหตุนี้ ล่ะครับ ส่วนใหญ่เป็นข้อ 1 มากกว่าส่วนข้อ 2 น้อยมากมาก   แต่ที่ภาคเหนือในพื้นที่สูงอาจเป็นไปได้

ข้อมูลเหล่านี้กระทรวงศึกษาน่าจะมีนะครับ สำคัญมากเหล่านักวิชาการศึกษาน่าจะวิเคราะห์ออกมาด้วย

ไม่มีรูป
พัทยา เพียพยัคฆ์

สวัสดีครับน้องกิ่ง

  • ดีจังครับ พี่ได้เจอหนึ่งในสองแสนนั้นแล้วสองคน แต่คิดว่าที่ได้เจอแล้วตอนนี้ คิดว่าน่าประทับใจนะครับ
  • เราต้องดีใจนะครับ ว่านี่สิ่งที่เราผ่านมาได้ครับ เรามีข้อจำกัดแตกต่างกันในตัวคนเราแต่ละคน แต่เราไม่ได้ท้อถอยที่จะยอมแพ้กับปัญหาเหล่านั้นใช่ไหมครับ
  • สู้ต่อไปนะครับ หากมีปัญหาก็เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้ที่นี่ตลอดเวลาครับ
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับคุณสุมิตรชัย

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ
  • ผมก็ได้ข้อมูลนี้ที่เอามาให้ดูที่ล่าสุดครับ ผมเข้าไปดูยังหาปัจจุบันไม่ได้ จะลองสอบถามไปอีกที แต่คิดว่ายังเจอปัญหาเหล่านี้อยู่ครับ เพียงแต่จำนวนการคงอยู่อาจจะมีมากขึ้นกว่าเดิมครับ
  • ขอบคุณมากครับ

น่านซิครับ เด็กหายไปไหน ??? ไม่ใช่น้อยๆ

และนี่ก็สะท้อนให้เห็น คุณภาพชีวิต และการศึกษาของคนไทย

ถ้านักการเมืองไม่งี่เงากันเหมือนทุกวันนี้ ประเทศไทยคงเจริญไปนานแล้ว

บ่น บ่น บ่น...  

 

P

สวัสดีครับคุณ bunpot

  • ผมจำท่าน ส.ว. ท่านหนึ่งจากอีสานพูดว่า สิ่งที่ที่นักการเมืองลืมที่จะให้พี่น้องอีสานคือ การศึกษา ผมไม่รู้ว่าความหมายลึกๆ คืออะไร
  • เราควรจะเล่นเอาจริงครับ ไม่ใช่เพียงเล่นๆ
  • และการศึกษาไม่ใช่เรื่องเล่น เพราะหากเล่นแล้วจะเปลือง
  • ขอบคุณมากนะครับ

คุณเม้งครับ

  • ผมไม่ทราบว่าตกหล่นบทความนี้ได้อย่างไร
  • การศึกษาเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
  • นักการเมืองทั้งหลายหวังพึ่งไม่ได้อย่างแน่นอน
  • การศืกษาไม่สามารถสร้างกระแสประชานิยมได้อย่างรวดเร็ว
  • การศืกษาไม่สามารถเป็นรูปธรรมให้จับต้องได้
  • การศืกษาไม่สามารถสร้างอำนาจให้กับนักการเมืองได้ (รวมถึงพวกอิทธิพลท้องถื่น)
  • การพัฒนาการศืกษาต้องใช้เวลายาวนาน
  • และอื่นๆอีกมากมาย
  • ขอจิบชาก่อนครับ  เหนื่อย 

 

P

สวัสดีครับคุณสิทธิรักษ์

  • ขอบคุณมากนะครับ จิบชาก่อนครับ วันนี้ชาอะไรดีครับ....น้อรก...
  • อยากจะเชิญคุณไปอ่าน อันนี้นะครับ การศึกษากับการเมืองควรรวมหรือแยกกันบริหาร คุณคิดอย่างไร
  • การศึกษารัฐต้องให้กับคนเพื่อให้คนที่ได้รับไปสร้างการศึกษาให้กับคนรุ่นต่อๆ ไปครับ หากทำได้แบบนี้ จะยั่งยืน รัฐเองจะหายเหนื่อยครับ
  • แต่ผู้บริหารต้องใจกว้างพอที่จะเปิดให้อภิปราย เพราะการได้เข้ามาทำงานเพื่อส่วนรวมแล้ว ต้องเปิดใจให้วิจารณ์และฟังให้มากๆ ครับ ด้วยเฉพาะเสียงจากคนส่วนใหญ่ที่อยู่บนรากฐานของคุณธรรม ยุติธรรม
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีคุณเม้ง

เนื่องจากพรุ่งนี้เป็นวันแรงงาน วันนี้ได้อ่านหนังสือพิมพ์ ข่าวจากกระทรวงแรงงานเขาบอกว่านักศึกษาที่จบปริญญา ประมาณ 300,000 อาจจะต้องตกงาน หรือคนที่มีงานทำก็ต้องประคองตัวเอง เพราะงานเริ่มหายากแล้ว ฟังแล้วรู้สึกว้าเหว่มาก ๆ  ไม่รู้การจบของนักศึกษา เดี๋ยวนี้ปริมาณ เพิ่มมากขึ้น แต่คุณภาพเริ่มลดลงมาก ๆ

200,000 คนที่หายไป ก็มีจากหลายสาเหตุค่ะ จริง ๆ เห็นด้วยกับคุณเบิร์ดมาก ๆ ค่ะ เธอเขียนไว้ดีพอสมควร ยืมความเห็นก็แล้วกันค่ะ

P

สวัสดีครับคุณราณี

  • ขอบคุณมากเลยครับสำหรับข้อมูลครับ
  • ผมเองไม่ค่อยชอบคำว่า ตกงาน ซักเท่าไหร่นะครับ
  • คำว่าตกงาน นี้มีความหมายว่าอย่างไรครับ ตกเพราะไม่ได้ทำงานอย่างที่หวัง หรือว่าตกงานเพราะเลือกงาน หรือว่าเรียนปริญญากันแล้วทำนา ทำไร่ ทำสวนไม่เป็นกันแล้วครับ (เอ ตรงไปหรือเปล่าหนอครับ)
  • ผมเองเชื่อเสมอว่า หากไม่เลือกงาน เมืองไทยยังมีงานให้ทำเพียบครับ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย เกษตรกรรม ที่เรียนจบกันไป จำเป็นไหมว่าจะต้องได้ทำงานในสาขาที่เรียนไป หากคำตอบว่าจำเป็น แสดงว่า การกระจายเรื่องด้านการเรียนและการพัฒนางาน ในบ้านเราแย่มากๆ เพราะผลิตคนมาอย่างไรให้ตกงาน
  • เหมือนๆ กับปลูกผักทางเกษตรแล้วไม่มีตลาดส่งออกเลยครับ
  • แต่หากใครเรียนจบ แล้วไม่เลือกงาน ฝึกประสบการณ์ ประยุกต์สิ่งที่เรียนแล้วไปทำในสิ่งที่ทำได้ ให้เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง ก็ไม่มีปัญหา ไม่ตกแน่นอนครับ งาน
  • เพื่อนผมจบตรีหลายๆ คนไปกรีดยาง ทำนา ทำสวนอยู่ตอนนี้ครับ ผมว่านั่นหล่ะยั่งยืน ปกครองตัวเอง ใช้ความรู้ให้เข้าท่า เข้าที่เข้าทาง
  • มีโปรเฟสเซอร์ท่านหนึ่งที่ออสเตรเลียลาออกจากงาน ไปทำเกษตรกรรมที่บ้าน ทำแบบนักวิศวะ ใช้วิศวกรรมไปประยุกต์ใช้
  • ผมเองก็อยากเห็นจำนวนคนตกงานเยอะๆ เหมือนกันครับ ตามที่เค้าทำนายไว้ครับ เผื่อจะได้เกษตรกร กลับไปทำนา ทำสวน พัฒนาการเกษตรของไทยให้ก้าวไปอีกครับ เรียนจบ ป.ตรีแล้ว ก็ไปฝึกทำนาทำสวนซักปีสองปี ก็คงพัฒนาเครื่องมืออะไรได้บ้างนะครับ เพราะเค้าให้เรียน ป.ตรี ไปเพื่อ คิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็น ไม่ได้เพื่อป้อนเอกชนอย่างเดียวครับ
  • ดังนั้นตกงานกันเยอะ จะทำให้มีการวางแผนกันมากขึ้นครับ ว่าเวลาเรียนหนังสือ อย่างเรียนตามแฟชั่น อย่าเรียนตามที่เห่อๆ กัน เพราะว่า ประเทศมีความซับซ้อน ต้องมีจำนวนหลากหลายสาขาอาชีพ ทุกคนจะไปทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนหมด ใครจะปลูกข้าว ทำนา ทำสวนกันหล่ะครับ ใช่ไหมครับ
  • ผมยังอยากจะกลับไปทำนาเลยครับ หายมานานแต่ผมก็คือเกษตรกร คนหนึ่งนะครับ ที่ไม่ได้สลัดทิ้งออกจาตัวผมไปเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับผม ที่จี้จุดให้ผมได้ถ่ายทอดจุดนี้ออกมา ห้าๆๆๆๆๆๆ
  • ส่วนเรื่อง สองแสนคนนั้น หากเอาไปรวมกับสามแสนคนนั้น หล่ะครับ เราจะได้ว่าอย่างไรครับ
  • แต่ผมเชื่อว่า สองแสนคนนั้น เค้าไม่ตกงานนะครับ เพราะเค้าหางานจนทำได้แน่นอนครับ ผมเชื่ออย่างนั้นครับ
  • แต่เอ .... การที่จบ ปริญญาตรี แล้วไปทำนา ทำสวน นี้เค้าจะนับว่าตกงานด้วยไหมครับ.....
  • ขอบคุณมากครับ คุณราณีสบายดีนะครับ อิๆๆๆๆ
จะมีสักกีคนที่อยากทำการเกษตรค่ะ ที่มหาวิทยาลัยเด็กเรียนสายเกษตร หรือสัตวบาล หายไป หรือ ลดฮวบฮาบ (เคยสอนค่ะวิชาสินเชื่อการเกษตร) เพราะเด็กไม่อยากทำงานเหมือนพ่อแม่ เพราะพวกเขาติดสบาย ไม่ชอบความลำบาก ไม่ค่อยอดทนกับความเหนื่อยค่ะ อยากได้งานทำแบบนั่งโต๊ะ แต่ก็ไม่มีความรู้มาก หรือมีความรู้ไม่ค่อยตรงกับสายงานค่ะ และที่สำคัญ เด็กสมัยนี้ขาดความอดทนค่ะ ไม่ค่อยสู้งาน นี่คือจุดเปลี่ยนของสังคมสมัยนี้ จะมีสักกี่คนค่ะ คิดจะยึดอาชีพดั้งเดิมของพ่อแม่ พูดจากความเป็นจริง นะค่ะ เพราะสัมภาษณ์นักศึกษาที่ขอทุน 99% ไม่ชอบการเกษตร ทุกคนมุ่งถีบตัวเองทั้งงั้นค่ะไปสู่ระบบอุตสาหกรรมไม่ใช่ เกษตรกรรม ส่วนที่ถามว่าจบปริญญาตรีแล้วทำนาทำสวนถือว่าไม่ตกงานค่ะ เป็นกิจการของครอบครัว
P

สวัสดีครับคุณราณี

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ น่าสนใจที่สุดครับ จากข้อมูลที่คุณให้เพิ่มเติมครับ
  • ผมกำลังคิดว่าต่อไปเราต้องยืมหม้อหุงข้าวจีนและเวียดนาม กัมพูชา และลาว กันแน่ๆ ครับ หากเป็นแบบนี้
  • ต้องหากุศโลบายที่ดีครับ ในการสร้างแรงจูงใจให้คนหันมาสนใจเกษตรกรรมครับ
  • ไว้ให้ราคาข้าว กิโลกรัมละห้าร้อยบาทก่อนครับ ผมว่าถึงเวลานั้น น่าจะมีคนสนใจเกษตรกรรมบ้างครับ
  • อิๆๆ ขอบคุณมากนะครับป๋ม
อิ อิ เห็นจะจริงค่ะ อะไรที่แพง คนก็จะเฮโลไปปลูกกัน สักพักสินค้าก็ล้นตลาด สงสัยต้องสอนเรื่องการวางแผนการทำการเกษตรแบบยั่งยืนกันนะค่ะเนี่ย

สวัสดีครับท่านเม้ง

  • เข้าไปดูแล้ว
  • เป็นไปได้ยากที่จะให้แยกการเมืองกับการศึกษา
  • ถ้างบประมาณยังให้นักการเมืองจัดการ
  • เห็นด้วยกับครูบา สุทธินันท์
  • ถ้าเป็นไปได้ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
  • แยกงบประมาณการศึกษาในสัดส่วนที่สมดุลย์(แยกออกจากงบประมาณแผ่นดิน)
  • ให้มีคณะจัดสรรงบประมาณการศึกษาในหน่วยงานที่เหมาะสม
  • ให้มีการจัดตั้งองค์กรดูแลงบประมาณทั่วประเทศ
  • อื่นๆ
  • แล้วจิบชาต่อ น้อรก
P

สวัสดีครับ

  • จริงๆ เรามีองค์กรจัดการเรื่องพวกนี้อยู่ทั่วประเทศนะครับ ในการจัดการว่าที่ไหนควรจะปลูกอะไร มีดินเป็นอย่างไร เหมาะกับพืชตัวไหน แต่ขาดการเชื่อมโยงที่แท้จริงกับการตลาดนะครับ ก็เลยเกิดเหตุการณ์รถสิบล้อมันสำปะหลังปิดถนน และเหตุการณ์อื่นๆ นะครับ
  • ผมเชื่อว่าชาวบ้าน เกษตรกรก็ยินดีจะฟังนะครับ หากปลูกแล้วมีการรับซื้อมีตลาดให้ เมืองไทยมีข้อดีที่เรามีดินอุดมสมบูรณ์มากๆ นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับ

  • อิๆ ขอบคุณมากครับผม จิบชา น้อรก
  • ถกกันตามสภาพนะครับ วาดฝันไปดูครับ
  • สิ่งที่ผมคิดมันเป็นอะไรที่ไกลเกินเอื้อมครับ แต่ไม่ต้องแยกหรอกครับ จริงๆ แล้ว หากทุกคนรู้หน้าที่และทำงานเชิงจิตสาธารณะ คุณว่าไหม
  • เพราะปัญหามันจะไม่เกิดเลย เกิดก็ถกกันตามเหตุและผลที่ดี ทุกอย่างก็จะอยู่ด้วยกันได้ใช่ไหมครับ
  • แต่โครงสร้างคงซับซ้อนมากครับ การขยับทั้งระบบคงต้องใช้เวลาครับ ผมเองไม่ทราบครับ ประสบการณ์ยังน้อยครับผม
  • น้อรก....ครับผม

สวัสดีครับ

  • ประเด็นนี้ถกมาพอสมควร
  • พวกท่านๆกำลังถกกันที่รายละเอียด
  • พวกเรากำลังมุ่งเน้นใน ซอฟแวร์
  • ทำไมพวกเราไม่มุ่งไปที่ ฮาร์ดแวร์
  • ลองเปิดประเด็นซิครับ
  • เข้าใจว่าคงได้ผลพอสมควร
  • เล่นชาอีกจอก
  • น้อรก ชักเครียด !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
P

สวัสดีครับ

  •  ขอบคุณมากๆ นะครับ 
  • จริงๆ แล้วอยากจะถกเนื้อๆ เหมือนกันครับ
  • มันเสียอยู่นิดเดียวที่ประเทศเราไม่ได้เป็นเหมือนเครื่องคอมพ์ครับ ไม่งั้นผมสั่งฟอร์แมตไปแล้วครับ
  • แล้วมาเริ่มกันใหม่ในติดตั้งระบบบูทกันใหม่ครับ มีไวรัสตอนไหนลบทิ้งทันทีครับ
  • เอ้าวว  น้อรกครับ

อีกครั้งครับ

ฮาร์ดแวร์ที่ผมว่า ไม่ใช่ที่คุณเข้าใจ  ผมคงหมายถึง ตัวกฏหมายสูงสุด คือ ตัวรัฐธรรมนูญ

เอ้าวววววว   น้อรกกกกกก ครับ

P

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณมากครับ
  • กฏหมายสูงสุด ตอนนี้ก็เจอปัญหาอยู่ใช่ไหมครับ
  • จะลองนำเสนอกันดูไหมครับ ว่าจะทำอย่างไร
  • ผมว่าหากนำเสนอแล้วมีผลจริงๆ ก็คงดีมากๆ เลยครับ
  • ลองเริ่มๆ กันดูครับผม ผมเองไม่ถนัดนักครับด้านนี้
ตามมาอ่านเพราะยังคาใจอยู่เล็กน้อยค่ะ คุณสิทธิรักษ์บอกว่าต้องแก้ที่ตัวกฎหมายสูงสุด แล้วใครจะเข้าไปทำค่ะ คนทำเขาจะเห็นปัญหาอย่างที่เราเห็นหรือไม่ ราณีไม่ค่อยแน่ใจซักเท่าไร สงสัยต้องขยายประเด็นให้อีกหน่อยแล้วคุณเม้ง อิ อิ
P

สวัสดีครับ

  • เอารัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษามาวางกันเลยครับ ใครมีข้อมูลตอนนี้เอามาถกกันเลยครับ
  • ให้เป็นงานใหญ่ใน G2K ไปเลยดีไหมครับ ต้องตีวงกว้างไปเลยครับ หรือจะถกวงเล็กแล้วค่อยขยายใหญ่ครับก็ได้ครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดี หลายๆครั้งครับ

  • ขอบคุณครับที่สนใจ คุณราณี ดีใจมากครับ
  • เรดติ้ง คุณเม้งดี เปิดประเด็นที่ผมเสนอครับ
  • ภาวะการศืกษา ของประเทศ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ถกกันมา ขมวดเข้าเป็นประเด็น
  • นำไปสู่การบรรจุเข้าใน รัฐธรรมนูญ
  • อาจจะช้าไปบ้าง แต่คิดว่ามีผลครับ
  • ชาว g2k  มีผู้ที่ทำงานในรัฐบาลค่อนข้างมาก
  • ลองดูซิครับ
  • ลองเปิดประเด็นดู 
  • คุณครุใน g2k ก็ไม่น้อยครับ
  • ขอบคุณครับ
P

สวัสดีครับ

  • เป็นการลองเสนอประเด็นกันก่อนดีไหมครับ ว่าประเด็นที่เราต้องการจะพัฒนาการศึกษามีอะไรบ้าง
  • เอาประเด็นที่เป็นแก่นสาร หรือมองจากปัญหาไปสู่แนวทางเพื่อเข้าสู่การปรับใช้และบรรจุให้อยู่ใน รธน. ต่อไป
  • จะลองหา รธน. ฉบับปี 2540 มาดูกันก่อนไหมครับ ผมไม่แน่ใจว่าตอนนี้ร่างในทางด้านการศึกษาเป็นอย่างไรบ้าง ไปถึงไหนแล้วครับ
  • หากมีข้อมูลตรงนี้พอ แล้วเอามาคุยกันจริงๆ น่าจะตกสะเก็ดบ้างครับ แล้วเชิญชวนชาว G2K ทั้งในและนอกมาร่วมถกกัน ผมเชื่อว่า นักการศึกษาใน G2K พร้อมที่จะเห็นพลังเหล่านี้เกิดขึ้นนะครับ ก็น่าจะเป็นพลังทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกันครับ
  • คุณว่าอย่างไรบ้างครับ เสนอกันมาได้เลยครับ
  • อ้าวววว น้อรก.......

สวัสดีครับคุณเม้ง

ขอบคุณมากครับ ชาว g2k ลองศืกษาและแลกเปลี่ยนกันครับ 

P

สวัสดีครับคุณสิทธิรักษ์

  • คือปัญหาหลักที่ผมมองคือ มันไม่ได้จะอยู่ที่ตัวธรรมนูญ หรือข้อบัญญัติหรอกนะครับ แต่หากตรงไหนไม่สอดคล้องก็ปรับแก้กันได้ เพราะผมว่าหลักการหน่ะเขียนไว้ได้ดี แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าการ เอาไปปรับใช้ หรือใช้จริงนี่ซิครับ คือปัญหา
  • เพราะอย่างที่ว่าว่าการศึกษาไปจอดที่ปัญหาการเป็นอยู่ของพี่น้องมากกว่า..... เพราะว่าปัจจัยพื้นฐานยังไม่พร้อมนะครับ ว่าด้วยการ กิน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค นะครับ เค้ายังขาดตรงนี้นะครับ ดังนั้นการศึกษามันยังไม่ได้เอามาคิดนะครับ
  • แค่เรื่องกินอยู่นี่ก็หนักแล้วครับ คุณลองไปดาวโหลดคลิปวีซีดีของกลุ่มบริจาคที่พวกเรานักเรียนไทยในเยอรมันทำกันนะครับ คุณอาจจะเห็นอะไรบางอย่างในคลิปนั้นครับ อยู่ที่ด้านขวานะครับของหน้านี้นะครับ
  • click ขวา Save As ที่นี่ครับ ก็ได้นะครับ
  • เด็กเหล่านี้คือเด็กที่ได้รับทุน เค้าจะถ่ายรูปคู่กับที่บ้านของเค้าตอนที่กรรมการประสานงานลงไปเยี่ยมเด็กนะครับ
  • เหมือนที่เราบัญญัติธรรมนูญกิจกรรมนักศึกษาไงครับ แต่บัญญัติแล้วสวย แต่เด็กไม่ทำกิจกรรมเลยครับ แสดงว่ามีจุดบอดอยู่ตรงไหนซักที่
  • แต่ยังไง เรื่องหลักของกฏหมายก็ต้องพิจารณากันนะครับ
  • ตอนนี้ผมคิดอีกอย่าง อย่างที่ตอนนี้เราให้การศึกษาภาคบังคับอยู่ที่ เก้าปีใช่ไหมครับ แต่ค่าเฉลี่ยของการศึกษา ไม่ได้อยู่ถึง เก้าปีนะครับ
  • หากเราตั้งไว้ ถึง 12 ปี ไม่แน่ค่าเฉลี่ยอาจจะถึง เก้าปี ม.3 ก็ได้ครับ
  • หรือว่า ตั้งไว้ ป ตรี ไปเลย เด็กจะได้เรียนกัน 12 ปี
  • แต่ว่าไป ก็ ต้องเร่งเรื่องการจัดการคุณภาพครับ เพราะปริมาณไร้คุณภาพ ก็ไร้ค่า ได้แค่การพล็อดกราฟได้สวยๆ เท่านั้นครับ แต่ความหมายใต้แผ่นกราฟนั่นซิครับ น่าคิด
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ

  • บางครั้งพวกเราพวกเราอาจเห็นว่า รัฐธรรมนูญ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
  • รัฐธรรมนูญเขียนร่างจนดีก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้
  • เราต้องสรุปได้ว่าปัญหาการศึกษาสมควรแก้ไขไหม เร่งด่วนไหม เหตุผลเพียงพอหรือไม่
  • ถ้าเราสรุปได้ตรงกันว่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องรีบแก้ไข ก็มาดูกันว่า สามารถจะแก้ไขในเส้นทางไหน
  • บัญญัติในรัฐธรรมนูญ แล้วทำไมแก้ไขไม่ได้
  • เราต้องทำความเข้าใจว่าทำไมถึงไม่ได้
  • ผู้ใช้อำนาจ ไม่นำมาปรับใช้ให้ได้ผล  ทำไม?
  • ปัญหาการศึกษา ในสายตานักการเมืองไม่ใช่เป้าหมายแรกในการแก้ปัญหา
  • ไม่สามารถสร้างกระแสประชานิยมได้
  • ทำให้ผมคิดถึงเรื่อง สภาการศึกษา
  • ทำไมจะต้อง คิดถึง สภาการศึกษา
  • พวกเราลองมาถกกันดู
  • ดูว่าพอมีแนวทางในการแก้ปัญหาการศึกษา อย่างมีความเป็นไปได้หรือไม่
  • ขอบคุณมากๆครับ  น้องเม้งพลังแรง
  • น้อรก

 

P

สวัสดีครับพี่สิทธิรักษ์

  • ขอบคุณมากนะครับ สำหรับข้อคิดเห็นดีๆ ตลอดมาครับ มาร่วมกันตลอดไปนะครับ
  • ผมว่าคงต้องทบทวนบทบาทและหน้าที่ของระดับกลุ่มผู้มีหน้าที่ทุกๆ ภาคส่วนครับ
  • หากระดับบริหารมีการย่อยบทบัญญัติทั้งหมด ผมเชื่อว่านำไปสู่ทางที่ดีเสมอครับ เพราะอ่านแล้วก็มีแต่สิ่งดีๆ เป็นส่วนใหญ่ครับ และให้โอกาสกับกลุ่มคนทุกๆ กลุ่มให้มีการศึกษานะครับ เราติดที่การปฏิบัติมันไม่เป็นไปตามเป้าหมายครับ
  • การประเมินผลต้องให้คนพร้อมกันมองครับ ไม่ใช่ประเมินจากกลุ่มผู้ปฏิบัติหรือผู้บริหารแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งครับ ประเมินแล้วต้องเอามาคุยกันให้ทราบครับ ว่าเป็นอย่างไร แม้ว่าจะล้มเหลวก็ไม่น่าจะเสียหายอะไรใช่ไหมครับ เพราะยังมีทางออกที่จะทำต่อไปได้ แก้ไขปรับปรุงช่วยๆกันมอง
  • หากบทบัญญัติถูกนำไปใช้จริง และเกิดประสิทธิภาพ บทบัญญัติจะทรงคุณค่าทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติเลย นั่นคือ ได้ทั้งรากได้ทั้งผล

    เพราะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ ขาดทฤษฏีก็ไร้ราก ขาดปฏิบัติก็ไร้ผล
  • ความตั้งใจมุ่งมั่น คิดและก็คิด ทำให้เต็มลูกสูบของหัวใจที่มี ผมเชื่อว่าทำได้ครับ
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท