Talkative Picture


การใช้รูปภาพในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

Talkative Picture

ก็ผ่านช่วงแรกไปเรียบร้อยแล้วสำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระหว่างวันที่ 25 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ณ วิถีไทยรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี กระผมก็ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วยและได้รับรู้ความสามารถของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในช่วงชั้นที่ 1 2 ผมเองไม่เคยทำการสอนในช่วงชั้นนี้มาก่อน ได้แต่เคยถูกสอนมาเท่านั้น  และทุกวันนี้ก็ยังจดจำและประทับใจในความรู้ความสามารถที่ครูของผมอบรมสั่งสอนผมมาตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 4  โรงเรียนวัดสามหน่อ (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนวัดหน่อสุวรรณ) ซึ่งไม่มีครูสอนภาษาอังกฤษเลย ต่อมาตอนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็มีครูหนุ่ม ๆ ขาว ๆ หน้าตาดี ๆ มาบรรจุใหม่ ผมและเพื่อน ๆ ดีใจได้คุณครูคนใหม่ ไม่รู้เหมือนกันว่าเด็กเลี้ยงควายพื้นเพแถบนั้นรู้ว่ามีวิชาภาษาอังกฤษได้อย่างไร ถึงได้ชวนกันไปถามคุณครูว่าสอนภาษาอังกฤษได้หรือเปล่า  ตั้งแต่บัดนั้นก็มีเด็กกลุ่มหนึ่งเรียนภาษาอังกฤษตอนเย็นแทนการรีบกลับบ้านไปเลี้ยงควาย แถมตอนจบประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกด้วย รูปนั้นได้บ่งบอกถึงความตั้งใจทั้งการเรียนและการถ่ายรูปเป็นอย่างยิ่งเพราะเต๊ะท่าเม้มปากซะแน่นเลย (หล่ออยู่คนเดียว ไม่เคยถ่ายรูปมาก่อน ขอบคุณครับคุณครู)

                ต่อมาก็สอบได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสุวรรณภูมิ (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนสุพรรณภูมิ)ประถมศึกษาปีที่ 5 7 คราวนี้ได้เรียนภาษาอังกฤษอย่างจริงจังเต็มเวลา เรียนด้วยหนังสือ E.T.S. (English for Thai Students) และ หนังสือ Oxford (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) ก็เช่นเดียวกัน คุณครูที่สอนก็ให้ทั้งความรู้ ความรัก ความเมตตา ทำให้ยิ่งรักภาษาอังกฤษมากขึ้นอีก

                พิมพ์ไปพิมพ์มายังไม่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เลย มีแต่เล่าความหลัง ขอย้อนกลับมาที่การประชุมเลยนะครับ การประชุมครั้งนี้ได้นำกิจกรรมเล็ก ๆ คือ การนำรูปภาพมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยตั้งใจตั้งชื่อเสียเก๋ว่า “Talkative Picture” คำว่า talkative เป็นคำ adjective แปลว่า

Talking a lot ดังตัวอย่างว่า She's a lively, talkative person. ส่วน picture ก็แปลว่า รูปภาพ รวมความว่า รูปภาพช่างพูดผมก็จะนำรูปภาพมาใช้ในการเรียนการสอน ช่วยเสริมสร้างหรือกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน ถ้าได้ผล(หรือรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง เรียกว่า โดน) นักเรียนก็จะเป็นฝ่ายคิดคำถาม คิดคนเดียวไม่พอ เพื่อน ๆ ของเขาก็ช่วยกันถามด้วย บางครั้งครูก็ไม่รู้จะตอบใครก่อนดี เพราะแย่งกันถาม (ถามเป็นภาษาไทยนะครับ) ก็เลยค่อย ๆ ฝึกให้ถามเป็นภาษาอังกฤษทีละคำถาม ๆ สลับกันไป ถามผิดถามถูก ก็พยายามพูดถูก ๆ ให้นักเรียนฟัง  เขาฟังเข้าใจ  เขาก็แก้ไขบ้าง ไม่แก้ไขบ้าง ก็ปล่อยไปก่อน เพราะตอนนี้ต้องการให้นักเรียนพูดภาษาอังกฤษ (มุ่งเน้นที่ความคิด ความคล่อง fluency ไม่มุ่งเน้นความแม่นยำถูกต้องมากนัก accuracy)

                ระหว่างที่ถามมา ตอบไปนี้ ก็เขียนคำสำคัญ  หรือ  เป็นประโยค ลงบนกระดานดำ   บนกระดาษแผ่นโต ๆ หรือ พิมพ์ขึ้นจอโปรเจกเตอร์ แล้วแต่จะมีอุปกรณ์ชนิดใด เพื่อให้เห็นทั่ว ๆ กัน พร้อมกับใช้เทคนิคการตั้งคำถามว่าคำนี้สะกดอย่างไร หรือ ประโยคที่เพื่อนนักเรียนเขียนถูกหรือผิด เพื่อนช่วยคิดช่วยแก้ไข (สุดท้ายไม่ได้จริง ๆ ก็ครูช่วยนำทางให้ถูกต้อง) คำที่ 1 คำที่ 2 ...ประโยคที่ 1 ประโยคที่ 2 ... ถามมา ตอบไป พูดหรืออ่านให้ฟังซ้ำ ๆ ให้นักเรียนพูดตาม จบคำถามนี้แล้ว ก็หาวิธีการให้นักเรียนคนอื่น ๆ ถามบ้าง สลับกันไปมา ฟัง พูด เขียน อ่าน ตามความเหมาะสมกับเวลาและแผนการจัดการเรียนรู้ ว่าจะใช้กิจกรรมนี้ในการนำเข้าสู่บทเรียน (Warm up) หรือ ว่าจะใช้สอนจนครบกระบวนการ น่าจะมีสักวันที่นักเรียนของผมและของท่านพูดได้คล่องเหมือนเจ้าของภาษา... But the question is “When?”  ไม่เป็นไรครับ...ใจเย็น ๆ

                สรุปได้ว่าเทคนิคนี้สิ่งสำคัญ คือ

                1. การเลือกรูปภาพที่จะทำให้นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับเนื้อหา (ถ้าจำเป็นต้องสอนตามตำรา)

                2. ใช้คำถามได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                3. พูดสะกิดเพื่อแก้ไข (Restate.)

                4. เขียนไว้เพื่อให้เห็น (Write it on.)

                5.  เน้นการพูด การฟัง การอ่านตาม (Emphasize on speaking, listening, and reading.)

                6. ถามไป ถามมา จนครบ (Ask and answer as many questions as …)

                7. เขียนให้จบเท่าที่ถามได้ (Copy or write it again.)

                8. อ่านตรวจแก้ไขโดยเพื่อน ๆ (Check by peer first.)

                9. และย้ำเตือนไม่ให้เลือนด้วยครู (Proofread by the teacher again and display them all.)

                เขียนไปเขียนมาเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษจะติด ๆ ไปทางกลอน ผมใช้สอนและจากการสังเกตพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นช่างคิดช่างถามมากกว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังสัยเหมือนกันว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย น่าจะกลัวถามผิด ๆ ถูก แต่เทคนิคนี้ก็ยังใช้ได้ดีอยู่  และถ้าคิดว่ามีประโยชน์ก็ลองนำไปทดลองดูนะครับ พบกันใหม่ในวันที่ 3 4 สิงหาคม 2551 ที่เก่า เวลาเดิม ครับ

Prayut  Phunbua : Talkative Picture

The purpose of this teaching technique is mainly to enhance students to practice thinking and speaking by using interesting pictures- one at a time, to draw students’ attention while a teacher is presenting new comprehensible language input.

This technique process is begun with the teacher’s consideration of choosing a very strange -but so familiar- picture to the students’ background knowledge. The picture should be suitable or relevant to the topics or themes if the teaching must be exactly based on the curriculum. If it is not too rigid, any picture can be chosen to attract students’ interests.

  Then persuade or engage them to think and ask as many questions as they could while the teacher help them write speak out or ask the students to spell some difficult words simultaneously - on the blackboard or other kinds of materials or media to show their thoughts and try to help them to clarify their thoughts if they cannot express fluently by restating and completing their questions-and if necessary, sentence patterns should be presented or introduced before running this activity. This step always engages the students’ thinking on the picture and lets them explore many ideas of the picture. The teacher does answer their questions.

  After that let the students take turn asking questions about the picture until they cannot go on. Practice them to read aloud. Explain or express more ideas about their picture investigations. And let them copy – only for the non-advance classes, or let them write short story about the picture – for the advance classes. Therefore, they have to elaborate their own thoughts.

  Finally let them exchange their writing, read, and evaluate. Thus they are able to learn a lot more of their friends’ ideas from the same picture. The teacher then proofread once before exhibit all of their work.

  The result of applying this technique depends directly upon the students’ background language abilities. However, I always find that “Talkative Picture” makes “Talkative Students” in some extent.

 

Prayut  Phunbua, M.Ed.

Bangliwitthaya School, Songphinong, Suphanburi

Suphanburi Educational Service Area 2

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 197942เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ในที่สุดครูประยุทธ ก็มีเวลาเล่าเรื่องให้ฟังแล้ว

อ่านแล้วน่าติดตามมาก

ชอบใจที่พี่ประยุทธชอบครูคนอื่นว่า "ครู ....เช่น ครูชูศักดิ์

เพราะว่าอะไรรู้มั๊ย

คงไม่ผิดหรอกที่จะบอกว่าครูประยุทธมีจิตวิญญาณความเป็นครูอยู่เต็มหัวใจ

สวัสดีครับ

  • เป็นเทคนิควิธีสอนที่ดีมาก มีประโยชน์มากครับ
  • ครูสุจะขออนุญาตนำไปใช้นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • พี่ผมเข้ามาดู
  • รบกวนเปลี่ยนคำหลัก เป็น ภาษาอังกฤษสุพรรณบุรี  ด้วยครับ
  • จะได้มารวมกัน
  • ขอชื่นชม การเขียนของพี่
  • ดีใจมากๆๆ
  • รออ่านตั้งนาน
  • เขียนแล้วยังหาไม่เจออีก
  • อ่านแล้วได้ประโยชน์มากๆ
  • มาเขียนบ่อยๆนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครู

  • ยินดีมากๆที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ที่สำคัญกว่านั้น..ได้ร่วมกันทำประโยชน์ต่อวิชาชีพครูของเราค่ะ

เป็นครู สำคัญอยู่ที่ใจ ใช่เงินทอง

คนอื่นมองไม่เห็น เราเป็นอยู่

หากแต่ถ้าเราเห็นเป็นคนครู

ยกมือไหว้เทิดทูลไว้ก่อนใคร

ขอเคารพความเป็นครูที่ทุกท่านมีอยู่ และขอเป็นกำลังใจให้คุณครูที่มีใจรักในการสอนมีศิลธรรมความดีอยู่เต็มเปี่ยม พวกเราระลึกถึงคุณท่านเสมอ

เขียนดีจังค่ะ พี่ประยุทธ ไว้มีโอกาสคงได้เจอคนเก่งๆแบบพี่อีกนะคะ

  • กว่าจะเข้าเรื่อง  ย้อนความหลังตั้งนาน
  • เค้าก็รู้น่ะซีว่า  ส.ว.
  • เทคนิคน่าสนใจมากค่ะ  ขอนำไปใช้บ้างนะ
  • เขียนดี  มาเขียนอีกนะ

นี่แหละครับครูคุณภาพของบางลี่วิทยาอีกคนหนึ่ง...ประยุทธ พันธ์บัว เรื่องเจ้าบทเจ้ากลอน ก็ต้องยกให้บางลี่เขาอีกแหละครับ

  • เอามาฝากอาจารย์
  • ให้คิดถึงเพื่อนๆๆเล่น
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆๆ

งานเขียนคุณภาพระดับ ห้าดาวจริง ๆ ค่ะพี่ประยุทธ

หนูขอยืม 9 steps นี้ไปใสช้บ้างนะคะ

  • กว่าจะหาพบ
  • พบแล้วจากรูปในขั้วโลก
  • ไม่แน่ใจ
  • ต้องดูแฟนคลับ
  • ฮ่าฮ่าฮ่า...ใช่แน่แล้ว
  • บันทึกดีมาก

หวัดดีอาจารย์

  • พี่ครับ
  • ตารางกิจกรรมครับ

กำหนดการกิจกรรมบูรณาการการสอนอย่างไรให้นักเรียนมีความสุข

ณ โรงเรียนวัดสระยายโสม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

วันที่ 13-14 สิงหาคม 2554

วันที่ 13 สิงหาคม 2554

08.00-08.30  -ลงทะเบียน

08.30-09.00  - พิธีเปิด

09.00-10.30  - ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล

                       และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์      ผอ.โรงเรียนบ้านหนองผือ     

                     -ครูพี่เลี้ยงที่สอนดีและนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  แบ่งฐาน 5 ฐาน

                     -นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมแบ่งเป็นกลุ่มเข้าฐาน 5 ฐานการเรียนรู้ (เริ่มฐานที1)

10.30-10.45 - เบรกเช้า

10.45-12.00  - ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดลและ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์     

-นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 2

12.00-13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.00     -ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล

                        และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสังเกตหรือร่วมกิจกรรมจากฐานการ

                        เรียนรู้

-นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 3        

14.0 0-15.00 --ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล

                        และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสังเกตหรือร่วมกิจกรรมจากฐานการ

                        เรียนรู้

-นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 4

15.00-16.00 –ครูร่วมสรุปกิจกรรมและให้ข้อมูลย้อนกลับ(Reflection)การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเรียนการสอนกับทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ผอ.โรงเรียนบ้านหนองผือ 

และกิจกรรมจากฐานการเรียนรู้

        -นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 5                        

16.00-16.30 -นักเรียนให้ข้อมูลย้อนกลับ

16.30            -จบกิจกรรม

วันที่ 14 สิงหาคม 2554

09.00-10.30  -นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ที่ 1 กับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

10.30-10.45 – เบรกเช้า

 

10.45-12.00  -นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 2

 

12.00-13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน

 

13.00-14.00  -นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 3           

14.0 0-15.00 -นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 4

15.00-16.00 –นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ฐานที่ 5                                   

16.00-16.30 -นักเรียนให้ข้อมูลย้อนกลับ (Reflection)และสรุปบทเรียนจากกิจกรรมที่ได้

                      เรียนรู้

16.30            -จบกิจกรรม

 

 

ครูเข้าร่วมกิจกรรมและสังเกตการณ์ จำนวน 130  คน

ครูพี่เลี้ยงและนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

  1. นางสาวอำพร วุฒิฐิโก

http://www.gotoknow.org/blog/glueykai/436830

 

2. นางสาวธัญยดา ทาเอื้อ

3.นางสาวรัตนาภรณ์ เชยชิด

4.นางสาวกรพินธุ์ บุญเลิศ

5.นางสาวณัฐนรี สงวนสุข

6.นายวศิน ชูมณี

 http://www.gotoknow.org/profiles/users/wasinchumanee

 

7. นายมงคล สีส้มซ่า

8.นายธเนศ เจริญทรัพย์

 http://www.gotoknow.org/profiles/users/tcharoensub

 

 

อาจารย์ที่เชิญเป็นวิทยากร

  1. อาจารย์ประยุทธ พันธุ์บัว โรงเรียนบางลี่ http://www.gotoknow.org/blog/mryutki/197942

 

2. อาจารย์กัญญาพัชร เกตุแก้ว โรงเรียนบรรหารแจ่มใส 1

http://www.gotoknow.org/blog/kanyapat/196980

 

  1. อาจารย์พิณวดี บัวแตง โรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์"
  2. อาจารย์ สุมาลี อนันตสุข โรงเรียนวัดทับกระดาน
  3. อาจารย์กฤษณา ถาวรพรหม โรงเรียนวัดกกม่วง

http://www.gotoknow.org/blog/kritsananok/202682

 

 

สถาบันอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

       1) ณัฐพัชร์ ทองคำ

       http://www.gotoknow.org/profiles/users/nattapach


2) เริงวิชญ์ นิลโคตร

       http://www.gotoknow.org/profiles/users/silwit


3) กานต์ จันทวงษ์

       http://www.gotoknow.org/blog/betterforlife


4)ผศ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ที่ คณะสังคมฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

       http://www.gotoknow.org/profiles/users/wiratkmsr

 

 

โรงเรียนบ้านหนองผือ

       5) ผอ.ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

รบกวนขออีเมลล์อาจารย์หน่อยค่ะ จะส่งหนังเชิญวิทยากรค่ายจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขที่โรงเรียนวัดสระยายโสมไปให้ค่ะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ

นายประยุทธ พันธุ์บัว

คุณ นวรัตน์ กรุณาติดต่อได้ตาม e-mail ได้เลยครับ ขอบคุณครับ

นายประยุทธ พันธุ์บัว

คุณ นวรัตน์ กรุณาติดต่อได้ที่ [email protected] ครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท